ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การที่เรามีความรู้สึกทั้งรักและทั้งเกลียดกับใครสักคนมักจะทำให้เกิดความสับสนและทำให้คุณรู้สึกอึดอัด เหนื่อย และกลืนไม่เข้าคายไม่ออก คำที่ว่า “ทั้งรักและทั้งเกลียด” นั้นคือการมีความรู้สึกกับคนหรือสถานการณ์ใดๆ ที่หลากหลายและย้อนแย้งซึ่งกันและกัน ความรู้สึกแบบนี้มักจะเกิดขึ้นในช่วงที่คุณได้เจอกับคนใหม่ๆ สถานการณ์ใหม่ๆ พฤติกรรมใหม่ๆ หรือข้อมูลใหม่ๆ การมีความรู้สึกที่ขัดแย้งกันนั้นไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับความสัมพันธ์แบบโรแมนติกหรือความสัมพันธ์แบบใหม่เท่านั้น ความรู้สึกเหล่านี้ยังสามารถเกิดขึ้นกับเพื่อน คนในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน หรือคนที่คุณรู้สึกดีด้วยเช่นกัน ตัวอย่างอาจจะเป็นว่าเมื่อคุณรักและชื่นชมเพื่อนสนิทของคุณเพราะเธอเป็นคนที่ใจดีและอ่อนโยน แต่คุณก็รู้สึกอิจฉาลึกๆ ในใจ เพราะเธอนั้นมีคนรักใคร่และคอยดึงดูดคนรอบข้างอยู่เสมอ ในการรับมือกับความรู้สึกทั้งรักทั้งเกลียดกับใครสักคนนั้น คุณต้องค้นหาความรู้สึกของตัวเอง มองหาวิธีแก้ปัญหา และขอความช่วยเหลือถ้าคุณต้องการ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ค้นหาความรู้สึกของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ใช้รูปแบบการกำหนดปัญหา ทางเลือก และสถานการณ์ (Problem Identification, Choices, Consequences: PICC) เพื่อจัดระเบียบความรู้สึกของตัวเอง [1] ขั้นตอนแรกก็คือค้นหาความรู้สึกทั้งหมดที่คุณมีต่อคนๆ นั้น ตัวอย่างความรู้สึกที่คุณมีก็อาจจะเป็น อยากทำลาย ไม่แน่ใจ ละอายใจ และอื่นๆ
    • ทำรายการเขียนถึงความรู้สึกทั้งหมดที่คุณค้นพบ ดูให้ดีว่าคุณไม่ได้แยกประเภทความรู้สึกนี้เป็นดีหรือร้ายเหมือนกับการแยกข้อดีและข้อเสีย แค่เขียนความรู้สึกเหล่านั้นลงไป เพราะความรู้สึกไม่ใช่สิ่งที่ “ดีหรือร้าย” สิ่งเหล่านี้ต่างมีจุดประสงค์ของตัวเอง
    • ตัวอย่างเช่น ความรู้สึกที่มีต่อเพื่อนร่วมงานหรือคนรู้จักอาจจะเป็นความรู้สึกสับสน เคารพ น้อยใจ หรือโมโห
    • ความรู้สึกกับคนที่ใกล้ชิดกับคุณ เช่นเพื่อนรักของคุณหรือคนในครอบครัว อาจจะมีความรู้สึก รัก ผิดหวัง รำคาญ สบายใจ หรืออื่นๆ
  2. การค้นหาความรู้สึกอาจจะทำได้ยาก ดังนั้น การเริ่มต้นด้วยสถานการณ์ที่คุณจำได้แล้วค่อยใส่ความรู้สึกลงไปก็อาจจะช่วยได้ คิดถึงช่วงเวลาที่คุณเพิ่งจะใช้ร่วมกันกับคนๆ นั้น แล้วเขียนรายการแสดงความรู้สึกของตัวเองในช่วงเวลาดังกล่าว
    • คุณอาจจะพบว่าความรู้สึกที่คุณค้นพบนั้นไม่ใช่เกิดขึ้นเพราะเป็นคนๆ นั้นหรือเป็นความสัมพันธ์นั้น แต่เป็นสถานการณ์ที่คุณอยู่กับเขาหรือสิ่งที่พวกเขาพูดหรือทำมากกว่า
    • ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะไปเดทแรกและมีความประทับใจแรกที่ดี จากนั้นคู่เดทของคุณพาคุณไปงานปาร์ตี้ที่คุณไม่รู้จักใครเลย ทำให้คุณรู้สึกอัดอัดและไม่สบายใจ ด้วยตัวอย่างนี้ สถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคยทำให้คุณรู้สึกอึดอัด ไม่จำเป็นต้องเป็นเพราะคนๆ นั้นทั้งหมด
  3. อาจจะมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้คุณรู้สึกแบบนั้น ซึ่งอาจจะไม่ใช่ความผิดของคนๆ นั้นทั้งหมด พยายามค้นหาว่าแหล่งกำเนิดของอารมณ์นั้นๆ คืออะไร
    • การค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดความรู้สึกมีความเฉพาะตัวมากกว่าการกำหนดสถานการณ์ ลองคิดถึงช่วงเวลาที่คุณรู้สึกแบบนั้น แล้วค้นหาว่าสิ่งที่พูดหรือทำทันทีเป็นอันดับแรก
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณจำความรู้สึกถูกปฏิเสธในช่วงระหว่างเดทได้ คุณอาจจะย้อนความจำว่าคุณสังเกตเห็นคู่เดทของคุณเดินออกห่างไประหว่างกำลังเดินอยู่ นี่อาจจะเป็นแหล่งกำเนิดของความรู้สึกถูกปฏิเสธก็เป็นได้
    • ให้ทำแบบนี้ในความรู้สึกหรือสถานการณ์ถัดไปในรายการที่เขียนไว้ แล้วเขียนสิ่งที่คุณคิดว่าเป็นแหล่งกำเนิดของความรู้สึกนั้นลงไป
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

แยกแยะความรู้สึกออกจากคนๆ นั้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อคุณได้ค้นพบความรู้สึกที่มีต่อคนๆ นั้นและคุณพบช่วงเวลาที่คุณรู้สึกแบบนั้นแล้ว คุณต้องขุดไปให้ถึงรากลึกของความรู้สึกเหล่านั้น ความรู้สึกทั้งรักทั้งเกลียดอาจจะมีสาเหตุแตกต่างกันไป การเข้าใจสาเหตุจะช่วยให้คุณแก้ปัญหาความรู้สึกนี้ได้
  2. สาเหตุทั่วไปที่บอกว่าทำไมเราถึงรู้สึกทั้งรักทั้งเกลียดกับคนๆ หนึ่งก็คือ คนๆ นั้นทำให้เรานึกถึงเหตุการณ์ในอดีต คุณอาจจะกำหนดคุณสมบัติหรือคาดหวังกับคนใหม่โดยไม่รู้ตัว ทั้งนี้เกิดจากความสัมพันธ์และประสบการณ์ของเราในอดีต ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งที่เรียกว่า “การโอนถ่ายความรู้สึก” (Transference) [3] หัวหน้าของคุณอาจจะทำให้คุณนึกถึงคุณครูที่ดุเฮี๊ยบตอนประถมศึกษาที่ 1 ดังนั้น คุณจะไม่ชอบทำตามสิ่งที่หัวหน้าบอกเอาไว้
    • คิดถึงผู้คนในชีวิตที่ทำให้คุณรู้สึกแบบเดียวกับที่คุณรู้สึกกับคนใหม่ ลองดูให้คุณเจออะไรที่เหมือนกันบ้าง
  3. คนๆ นั้นปฏิบัติกับคุณด้วยความเคารพหรือไม่ เขากระทำรุนแรงต่อคุณหรือไม่ เมื่อใครสักคนปฏิบัติกับคุณอย่างดีในนาทีแรกแล้วทำตัวหยาบคายในตอนหลัง คุณจะรู้สึกสับสนกับความรู้สึกของตัวเอง ลองคิดดูว่าเขาปฏิบัติกับคุณอย่างไร คุณมีความรู้สึกทั้งรักทั้งเกลียดเมื่อคนอื่นๆ ปฏิบัติกับคุณแบบนี้หรือไม่
  4. การค้นหาความรู้สึกของตัวเองว่าอาจจะสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับคนอื่นๆ นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญในการเข้าใจวิธีรับมือกับความรู้สึกทั้งรักทั้งเกลียด เมื่อคุณแยกความรู้สึกของตัวเองออกจากความรู้สึกที่เขามอบให้คุณแล้วนั้น คุณอาจจะสามารถค้นพบความรู้สึกที่แท้จริงของคุณได้ในที่สุด
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

หาวิธีแก้ปัญหา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เขียนตัวเลือกที่เป็นไปได้ที่คุณจะสร้างมันขึ้นมา. ในตอนนี้คุณคงมีความคิดดีๆ เกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆ ที่คุณมีต่อคนๆ นั้น คุณสามารถพิจารณาตัวเลือกของคุณเอง แล้วเขียนทุกวิธีที่คุณอาจจะตอบสนองต่อสถานการณ์นี้ แม้ว่าตัวเลือกของคุณจะไม่สมบูรณ์แบบ ก็ให้เขียนลงไป การทำแบบนี้จะช่วยให้คุณมองเห็นภาพรวมของตัวเลือกของคุณ ยกตัวอย่างเช่น รายชื่อของเพื่อนร่วมงานหรือคนรู้จักอาจจะเป็นแบบนี้
    • ความรู้สึก: สับสน
    • สถานการณ์: ฉันได้รับการชมเชยจากเพื่อนหลังจากทำโครงงานสำเร็จ แต่คนๆ นั้นกลับวิจารณ์ฉันในชั่วโมงถัดมา
    • หนทางที่เป็นไปได้: 1.เข้าหาคนๆ นั้น 2.เก็บเรื่องนี้ไว้ไม่บอกใคร 3.พูดคุยเรื่องนี้กับพ่อแม่ 4.จับกลุ่มนินทา 5.ฟ้องคุณครู และอื่นๆ
  2. หลังจากที่ทำแบบนี้กับตัวเลือกอื่นๆ ให้เขียนสถานการณ์ที่เป็นไปได้หรือผลลัพธ์ที่คุณคิดได้ลงไป รายการของคุณอาจจะเป็นแบบนี้
    • ทางเลือก: เข้าหาเพื่อนเพื่อพูดคุยเรื่องปัญหา
      • เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น: เพื่อนโกรธ
      • เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น: เพื่อนเข้าใจความหมายของเราเป็นอย่างดี
      • เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น: ฉันรู้สึกไม่มั่นใจที่จะบอกว่าสถานการณ์นั้นส่งผลต่อฉันอย่างไร
    • ทางเลือก: เก็บไว้ไม่บอกใคร
      • เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น: ปัญหาจะยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ
      • เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น: ปัญหาอาจจะหายไปเอง
      • เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น: ปัญหาจะยังรบกวนฉันอยู่
    • ทางเลือก: พูดคุยกับพ่อแม่
      • เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น: ฉันจะรู้สึกดีขึ้นกับสถานการณ์นี้
      • เหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้น: ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
  3. ประเมินผลที่อาจจะได้รับ คิดถึงระดับความสบายใจต่อผลลัพธ์แต่ละอย่าง พิจารณาว่าคุณจะรู้สึกอย่างไรเมื่อเลือกตัวเลือกนั้น จากนั้นพิจารณาว่าคนอื่นๆ จะรู้สึกอย่างไร
  4. จากตัวเลือกทั้งหมดนั้น ให้เลือกทางเลือกที่คุณรู้สึกสบายใจที่สุด ซึ่งควรจะเป็นทางเลือกที่ให้ผลลัพธ์ดีที่สุดทั้งต่อตัวเองและคนที่เกี่ยวข้อง เริ่มต้นจากตัวเลือกที่ให้ผลลัพธ์ที่คุณต้องการควบคู่ไปกับสถานการณ์ที่คุณเต็มใจที่จะเผชิญหน้า
    • ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีของเพื่อน การเริ่มต้นด้วยการนินทาอาจจะไม่ใช่วิธีที่ดี ผลที่ได้รับอาจจะเจ็บปวดหรือทำให้ความสัมพันธ์แตกหักกัน ในช่วงเวลาแบบนี้ คุณอาจจะเลือกที่จะเก็บเอาไว้ในใจก่อน เพื่อนของคุณอาจจะเจอเรื่องร้ายๆ มาแล้วเอามาลงที่คุณ หรือบางทีคุณอาจจะรู้สึกอ่อนไหวในตอนนั้นก็เป็นได้
    • เตรียมพร้อมกับสถานการณ์ที่คุณเขียนไว้ด้านบน
  5. ถ้าคุณพบว่าการเก็บเอาไว้ในใจไม่ได้ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่คุณต้องการหรือคาดหวังเอาไว้ ให้กลับไปดูรายการที่เขียนว่าแล้วลองใช้วิธีอื่น ดูให้ดีว่าสิ่งที่คุณเลือกนั้นเป็นตัวเลือกที่เคารพทั้งตัวคุณและคนอื่นที่คุณต้องการรับมือ
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

มองหาความช่วยเหลือ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การมีคนที่มองปัญหาจากภายนอกในขณะที่คุณกำลังมองหาตัวเลือกและสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ก็ช่วยได้เช่นกัน ลองถามเพื่อนเพื่อช่วยกันคิดสร้างรายการขึ้นมา
  2. ไปพบที่ปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์เฉพาะ. การอธิบายและค้นหาอารมณ์นั้นเป็นสิ่งที่ซับซ้อน นอกจากนี้ยังเป็นกระบวนการที่น่าเจ็บปวด ด้วยเหตุผลที่เองที่ว่าทำไมคนส่วนใหญ่มักไปแก้ปัญหาแบบนี้ด้วยวิธีจิตบำบัด นักบำบัดได้รับการฝึกฝนมาเพื่อช่วยให้คุณก้าวผ่านกระบวนการสร้างความชัดเจนทางอารมณ์ที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น นอกจากนี้พวกเขายังมีความสามารถในการสังเกตแง่มุมที่ไม่เกี่ยวข้องกันที่เราอาจจะมองข้ามไป ความอ่อนไหวสามารถทำให้เรารู้ว่าอารมณ์ที่คุณรู้สึกจริงๆ นั้นคืออะไร
  3. ถ้าคุณพบว่าตัวเองเจอกับสถานการณ์ที่คุณแก้ไขไม่ได้อย่างต่อเนื่อง ให้พบกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้เขาช่วยคุณผ่านรูปแบบปัญหาแบบนี้ไปให้ได้ คุณอาจจะต้องความช่วยเหลือถ้าคุณรู้สึกว่าวิธีแก้ปัญหาของคุณนั้นไม่ก่อให้เกิดผลใดๆ
    • นอกจากนี้ ถ้าคุณพบว่าคนๆ นั้นหรือสถานการณ์นั้นดึงความรู้สึกในอดีตกลับมา คุณอาจจะต้องการหาผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยคุณในการจัดการความรู้สึก นักบำบัดสามารถช่วยค้นหาอารมณ์ซับซ้อนในตัวคุณได้ แม้ว่าความรู้สึกนั้นจะพบได้ยากก็ตาม นักบำบัดสามารถช่วยคุณสร้างทักษะเพื่อแก้ไขปัญหาให้เกิดผลที่เคารพต่อทุกคนที่เกี่ยวข้อง
    โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Lecroy 2008
  2. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/self-esteem/art-20047976?pg=2
  3. https://www.psychologytoday.com/blog/in-therapy/201206/clients-guide-transference
  4. LeCroy, Craig W. (2008). Handbook of evidenced-based treatment manuals for children and adolescents (2nd ed.). Oxford: Oxford University Press.

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 11,142 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา