ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการฟันโยกในเด็กเป็นเรื่องปกติ แม้ว่าอาจจะน่ารำคาญไปบ้าง แต่นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งของการเติบโต ฟันอาจจะดึงออกได้ยาก และอาจจะใช้เวลากว่าจะหลุด เด็กบางคนกลัวที่จะดึงฟันตัวเอง คุณควรให้กำลังใจเขาและบอกว่าทุกคนก็ต้องผ่านช่วงนี้เหมือนกันทั้งนั้นแหละ แต่ถ้าเด็กไม่กลัวที่จะดึงฟันออก ก็อย่าให้เขาฝืนดึง แม้ว่ามันจะน่ารำคาญ แต่โดยปกติแล้วก็ไม่ใช่อาการร้ายแรงที่ต้องกังวล ในทางกลับกัน อาการฟันแท้โยกอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพฟัน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจจากทันตแพทย์โดยเร็ว แม้ว่าจะเป็นการดีที่สุดถ้ารอให้ฟันน้ำนมของเด็กหลุดออกเองตามธรรมชาติ แต่ก็มีบางวิธีที่จะช่วยให้ฟันหลุดได้ แต่สำหรับฟันแท้ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ไหนก็ตาม ก็ไม่ควรพยายามถอนฟันออกด้วยตัวเอง รากของฟันแท้หยั่งลึกกว่าฟันน้ำนมมาก คุณจะเจ็บมากและอาจติดเชื้อได้หากพยายามถอนฟันออกด้วยตัวเอง ควรปรึกษาทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนจะพยายามถอนฟันด้วยตัวเอง และโปรดจำไว้ อย่า ฝืนดึงฟันมากไป เพราะจะทำให้เจ็บและมีเลือดออกมาก

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ดึงฟันน้ำนมออก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เป็นเรื่องปกติที่ฟันน้ำนมของเด็กจะเริ่มหลุดเมื่ออายุประมาณ 6 ปี และเมื่ออายุได้ 12 หรือ 13 ปี เด็กส่วนใหญ่ก็จะไม่มีฟันน้ำนมเหลือแล้ว ไม่ว่าฟันลูกคุณจะเพิ่งเคยหลุดเป็นครั้งแรก หรือเคยหลุดก่อนหน้านี้มาสองสามซี่แล้วก็ตาม คุณก็ไม่ควรเร่งให้มันหลุดเร็วขึ้นด้วยการดึงหรือกระตุกอย่างแรง [1]
    • ฟันจะหลุดออกเองตามธรรมชาติ และการดึงมันออกก่อนเวลาอันควรจะเสี่ยงต่อการบาดเจ็บและการติดเชื้อได้ จริงๆ แล้วการดึงฟันออกก่อนเวลาไม่ได้ทำให้รู้สึกดีขึ้น แต่จะทำให้รู้สึกแย่ลงต่างหาก
    • รักษาความสะอาดตรงบริเวณที่ฟันโยกให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยการแปรงฟันตามปกติ ใช้ไหมขัดฟัน และใช้น้ำยาบ้วนปาก
    • คุณสามารถดุนฟันด้วยลิ้นอย่างระมัดระวังได้ แต่ควรใช้แค่ลิ้นเท่านั้น ไม่มีอะไรเสียหายที่จะดุนฟันด้วยลิ้นตามปกติเพื่อให้มันโยกมากขึ้น เมื่อมันใกล้จะหลุดแล้ว คุณก็สามารถดุนมันกลับ และโยกมันไปข้างหน้าด้วยนิ้วได้ แต่อย่าดันหรือดึงมันแรง [2]
  2. สำหรับการเร่งให้ฟันโยกมากขึ้น ให้ลองกินแครอท แอปเปิล หรืออาหารกรอบๆ เพื่อช่วยให้ฟันค่อยๆ โยกมากขึ้น มันอาจจะหลุดออกมาเองโดยที่คุณไม่ทันรู้ตัวก็ได้
  3. หากฟันไม่โยกมากขึ้น หรือผ่านไป 2-3 เดือนแล้วแต่ฟันยังไม่หลุด คุณก็ควรจะปรึกษาทันตแพทย์ว่าควรจะถอนฟันออกหรือรอจนกว่ามันจะหลุดเอง [3]
    • หลังจากปรึกษากับทันตแพทย์แล้ว คุณก็ควรทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
  4. หากมีเลือดออกหลังจากที่ฟันหลุดแล้ว ก็ให้ประคบก้อนสำลีที่เหงือกอย่างเบามือ
    • ฟันที่หลุดเองจะไม่ทำให้มีเลือดออกมานัก หากมีเลือดออกมาก ก็ให้ประคบเหงือกด้วยผ้า ก้อนสำลี หรือทิชชู่จนกว่าเลือดจะหยุด และบ้วนปากให้ทั่วด้วยน้ำเกลือ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

วินิจฉัยปัญหาฟันโยกในผู้ใหญ่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาการฟันโยกในผู้ใหญ่เป็นสัญญาณที่ไม่ดี และอาจมีสาเหตุจากปัจจัยบางอย่าง การรู้สาเหตุของอาการจะสามารถช่วยให้คุณปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม หากคุณไม่สามารถหาสาเหตุได้หรือมีความกังวลใจในเรื่องอื่น ก็ให้ปรึกษาทันตแพทย์ [4]
    • อาการฟันโยกมักจะเป็นผลมาจากโรคเหงือกอักเสบ และการติดเชื้อที่เกิดจากการดูแลช่องปากที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทั้งอาการฟันโยกและเหงือกร่นเป็นอาการที่เกิดจากโรคเหงือกอักเสบทั้งคู่
    • การสบฟันผิดปกติ ซึ่งเป็นอาการที่ฟันสบกันผิดมุมเมื่อเคี้ยว ก็อาจเป็นสาเหตุของฟันโยกได้ อาการสบฟันผิดปกติสามารถรักษาได้ด้วยการจัดฟันและ/หรือครอบฟัน
    • การกัดฟันบ่อยๆ (มักจะเป็นช่วงที่นอนหลับ) ก็อาจจะทำให้ฟันโยกได้ ทันตแพทย์สามารถรักษาอาการได้ด้วยการพิมพ์เครื่องป้องกันฟันสำหรับใส่ตอนกลางคืนให้คุณใช้เวลานอนหลับ
    • อาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาหรืออุบัติเหตุก็อาจเป็นสาเหตุของฟันโยกได้ แต่ในกรณีส่วนใหญ่ฟันโยกจะกลับมามั่นคงได้เองหากคุณรักษาสุขภาพช่องปากดีพอ หากคุณมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ก็ให้ปรึกษาทันตแพทย์
  2. ฟันโยกอาจเป็นอาการของโรคที่จำเป็นต้องถอนฟันออก และอาการปวดฟันก็อาจจะเป็นสัญญาณของปัญหาช่องปากที่ร้ายแรงซึ่งทันตแพทย์ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ
    • หากคุณรู้สึกปวดฟันชั่วขณะเวลากินของร้อนหรือเย็น อาการปวดฟันก็อาจเป็นสัญญาณของฟันผุเล็กน้อย เหงือกร่น หรือฟันที่อุดไว้หลุด ซึ่งโดยปกติแล้วอาการเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาที่ต้องรักษาเร่งด่วน [5]
    • แต่ถ้าหลังจากกินของร้อนหรือเย็นแล้วยังมีอาการปวดฟันอยู่นานกว่า 30 วินาที คุณก็ควรไปพบทันตแพทย์ เพราะมันอาจจะเป็นสัญญาณของปัญหาใหญ่ได้ [6]
    • หากคุณรู้สึกปวดฟันอย่างรุนแรงเมื่อกินอาหารที่มีน้ำตาล อาการปวดก็อาจจะเป็นสัญญาณของฟันผุได้ ดังนั้นคุณควรไปพบทันตแพทย์และให้เขาตรวจดู
    • หากคุณรู้สึกปวดฟันเหมือนถูกกรีดเมื่อกัดอาหาร อาการปวดก็อาจเป็นสัญญาณของปัญหาเล็กๆ เช่น ฟันผุเล็กน้อย ฟันที่อุดไว้หลุด หรืออาจเป็นสัญญาณของปัญหาใหญ่ เช่น ฟันแตก หรือเนื้อฟันเสียหาย [7]
  3. หนึ่งในสาเหตุของอาการฟันโยกในผู้ใหญ่ที่พบได้ทั่วไปคือเหงือกร่น ซึ่งอาจเป็นผลจากโรคเหงือกอักเสบที่พบได้มากในผู้ใหญ่
    • โรคเหงือกอักเสบคืออาการติดเชื้อในเหงือก ซึ่งหากปล่อยไว้โดยไม่รักษา ก็จะลามไปถึงกระดูกหรือฟันได้ ทำให้จำเป็นต้องถอนออก [8]
    • หากคุณมีอาการเจ็บเหงือก เหงือกแดง เลือดไหลเวลาแปรงฟันและขัดฟัน หรือฟันโยก ให้ปรึกษาทันตแพทย์เกี่ยวกับโรคเหงือกอักเสบเพื่อหาวิธีรักษา
  4. หากคุณคิดว่าอาการของคุณรุนแรงหรือควรได้รับการตรวจเพิ่มเติม ก็ให้นัดเจอทันตแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้
    • หากคุณไม่มีประกันสุขภาพฟัน ก็ให้หาคลินิกที่คุณสามารถจ่ายได้น้อยกว่า โรงเรียนทันตกรรมมักจะมีค่ารักษาที่ถูกกว่า [9] บางคลินิกจะเสนอแผนการจ่ายเงินที่คุณสามารถผ่อนจ่ายแทนการจ่ายค่ารักษาทั้งหมดในครั้งเดียว
    • ลองหาคลินิกที่ไม่มีค่าปรึกษาทันตแพทย์ดู อย่างน้อยคุณก็จะได้รู้ว่าปัญหาคืออะไร มีทางเลือกอะไรบ้าง และคุณจะจัดการกับปัญหาได้นานแค่ไหนก่อนจะตัดสินใจ คลินิกเอกชนหลายแห่งจะมีบริการปรึกษาฟรีหนึ่งครั้ง
  5. ทำความสะอาดฟันเป็นประจำเพื่อรักษาสุขภาพฟันให้แข็งแรง. คุณสามารถป้องกันปัญหาสุขภาพช่องปากที่เป็นผลให้ฟันโยกได้ด้วยการรักษาสุขภาพช่องปากให้ถูกสุขลักษณะ และการทำความสะอาดฟันอย่างถูกวิธีเป็นประจำจะช่วยป้องกันไม่ให้ปัญหาเล็กๆ กลายเป็นปัญหาใหญ่ได้
    • ปรับวิธีการทำความสะอาดฟันให้เหมาะกับคุณ ซึ่งรวมถึงการแปรงฟันวันละสองครั้ง ขัดฟันเป็นประจำ และใช้น้ำยาบ้วนปาก
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ถอนฟันออก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณคิดว่าควรจะถอนฟันออก ก็ให้ติดต่อทันตแพทย์และนัดเวลาเข้าพบ
    • หลังจากตรวจแล้ว ทันตแพทย์อาจแนะนำวิธีรักษาอื่นๆ แทนการถอนฟัน
    • หากทันตแพทย์ตัดสินใจว่าจะต้องถอนฟันของคุณออก เขาก็จะนัดเวลาถอนฟันกับคุณ
  2. การทำตามคำแนะนำจากทันตแพทย์อย่างเคร่งครัดทั้งก่อนและหลังการรักษาเป็นสิ่งที่สำคัญ
    • ระหว่างการถอนฟัน ทันตแพทย์จะให้ยาชากับคุณ และเขาจะถอนฟันออกอย่างรวดเร็ว การถอนฟันส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง
    • กระบวนการฟื้นตัวจะใช้เวลาประมาณสองถึงสามวัน และคุณอาจจะต้องไปพบทันตแพทย์ตามใบนัด เพื่อที่เขาจะได้ติดตามผลการรักษาได้
  3. หลังจากถอนฟันออกแล้ว คุณก็ควรใส่ใจดูแลช่องปากและเหงือกตามคำแนะนำ
    • ล้างบริเวณที่ถอนฟันด้วยน้ำเกลือเมื่อเลือดเริ่มแข็งตัวปิดปากแผลแล้ว
    • หลีกเลี่ยงการใช้หลอดดูด สูบบุหรี่ หรือเคี้ยวบริเวณที่ถอนฟันในระหว่างการฟื้นตัว
    • ทำความสะอาดบริเวณที่ถอนฟันอย่างระมัดระวังและเบามือ โทรหาทันตแพทย์หากมีปัญหาหรือเลือดไม่แข็งตัวปิดปากแผล [10]
  4. เมื่อผ่านไปสองถึงสามวันหลังจากถอนฟันออกแล้ว ให้คุณไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจดูสภาพบริเวณที่ถอนฟันและทำตามคำแนะนำเพิ่มเติมที่เขาบอก
    • ในขั้นตอนนี้คุณสามารถปรึกษาทันตแพทย์เรื่องการใส่ฟันปลอมแทนฟันที่ถอนไปได้ ขอให้ทันตแพทย์ช่วยแนะนำทันตแพทย์เฉพาะทางที่ดูแลเรื่องลักษณะและความสวยงามของช่องปาก แต่ก่อนที่คุณจะเริ่มใส่ฟันปลอม คุณควรรอจนกว่าแผลจะหายสนิทเสียก่อน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ขณะจัดการกับฟันน้ำนมโยก ให้วางนิ้วโป้งไว้หลังฟันและดันมันกลับไปมา คุณควรใช้นิ้วโป้งเพียงนิ้วเดียวแทนที่จะใช้สองนิ้ว เพื่อช่วยให้ฟันโยกมากขึ้นและลดโอกาสที่เลือดจะออกมาก
  • หากคุณปวดฟันแต่มันยังไม่โยกพอที่จะหลุดออก ก็ให้กินยาแก้ปวดและ/หรือประคบให้ชาด้วยน้ำแข็ง
  • อย่าฝืนดึงฟันน้ำนมออกก่อนเวลาอันควร ไม่เช่นนั้นมันอาจจะทิ้งรอยแผลเป็นและทำให้ฟันขึ้นใหม่ผิดปกติ
  • พยายามเคี้ยวอาหารด้วยฟันข้างเดียวหลังจากฟันหลุดแล้ว เพราะอาจมีเลือดไหลจากแผลที่เหงือกเมื่อกินหรือดื่มได้
  • อย่าดึงฟันออกหากมันไม่โยกมากพอที่จะดุนไปมาด้วยลิ้นได้
  • อย่าดึงแรงไป หากคุณรู้สึกเจ็บมาก ก็ควรหยุดและลองทำใหม่ในวันถัดไป
  • หากเหงือกของคุณบวม ก็ให้ประคบด้วยน้ำแข็งเพื่อลดอาการบวมลง
  • อย่าคิดดึงฟันออกเพียงเพราะคุณคิดว่ามันพร้อมแล้ว ให้ถามความเห็นจากพ่อแม่หรือทันตแพทย์ก่อนจะดึงมัน
  • อย่าบ้วนปากหรือกลั้วปากแรงๆ หลังจากถอนฟัน เพราะจะเป็นการขัดกระบวนการแข็งตัวปิดปากแผลของเลือด
  • ห้ามบิดฟันที่โยก เพราะอาจจะทำให้ฟันแท้ด้านล่างเสียหาย
  • ควรให้ทันตแพทย์เป็นคนถอนฟันแท้ออก ไม่เช่นนั้นมันจะทิ้งรอยแผลเป็นและทำให้ฟันขึ้นผิดปกติ
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าสัมผัสรูที่เหงือกด้วยนิ้ว เพราะอาจทำให้ติดเชื้อและเพิ่มเชื้อโรคได้
  • ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเหงือกอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุของฟันโยกในผู้ใหญ่ ได้แก่ การสูบบุหรี่ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง การรักษาโรคเอดส์ ยาบางชนิด และพันธุกรรม หากคุณไม่แน่ใจว่าสาเหตุของฟันโยกคืออะไร ก็ให้ปรึกษาทันตแพทย์ [11]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 80,834 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา