ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เท้าประกอบไปด้วยกระดูก 26 ชิ้น และหลายชิ้นก็เสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้ง่าย ถ้าเผลอไปเตะอะไรเข้ากระดูกนิ้วเท้าก็อาจจะหักได้ ถ้ากระโดดลงมาจากที่สูงแล้วเอาเท้าลง กระดูกส้นเท้าก็อาจจะแตกได้ และถ้าคุณบิดหรือทำให้เท้าเคล็ด กระดูกชิ้นอื่นๆ ก็อาจจะหักได้ แม้ว่าเด็กๆ จะมีแนวโน้มที่จะกระดูกหักมากกว่าผู้ใหญ่ แต่เท้าของเด็กๆ ก็มักจะยืดหยุ่นกว่าและฟื้นฟูจากการที่กระดูกเท้าหักได้เร็วกว่า

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

รู้จักอาการของกระดูกเท้าหัก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาการหลักของกระดูกเท้าแตกก็คือ ความรู้สึกปวดชนิดทนไม่ได้เวลาที่คุณเพิ่มแรงกดลงบนเท้าหรือเวลาเดิน [1]
    • ถ้านิ้วเท้าหัก คุณมักจะยังสามารถเดินได้โดยที่ไม่รู้สึกปวดมาก แต่ถ้ากระดูกเท้าหักคุณจะปวดมากจนแทบเดินไม่ได้ รองเท้าบูตมักจะทำให้ไม่รู้สึกเจ็บเท่าไหร่เพราะมีการรองรับไว้ประมาณนึง เพราะฉะนั้นถ้าคุณสงสัยว่ากระดูกเท้าน่าจะหัก ให้ถอดรองเท้าบูตออกมาก่อนเพราะจะช่วยให้วินิจฉัยอาการบาดเจ็บได้ดีที่สุด
  2. วิธีนี้จะช่วยให้คุณรู้ว่ากระดูกเท้าของคุณหักหรือเปล่า เพราะว่าคุณจะสามารถเปรียบเทียบเท้าทั้งสองข้างได้ [2]
    • ถ้าคุณไม่สามารถถอดรองเท้าและถุงเท้าออกมาได้แม้ว่าคนอื่นจะช่วยแล้วก็ตาม คุณควรไปห้องฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุดหรือเรียกรถพยาบาล เพราะเท้าของคุณน่าจะหักและต้องเข้ารับการรักษาโดยด่วน ตัดรองเท้าบูตและถุงเท้าออกก่อนที่อาการบวมจะทำให้เท้าผิดรูป
    • โดยทั่วไปถ้าเท้าหัก จะมีอาการบาดเจ็บตามมาด้วย เช่น อาจจะมีข้อนิ้วเท้าหัก กระนั้น อาการร้าวจากแรงกดก็อาจเกิดจากการทำกิจกรรมเดิมซ้ำๆ เช่นเล่นกีฬาหรือกระทั่งเดินก็ได้
  3. เปรียบเทียบเท้าทั้งสองข้าง และสังเกตสัญญาณของรอยฟกช้ำ บวม และบาดเจ็บ. เช็กว่าเท้าและนิ้วเท้าข้างที่บาดเจ็บนั้นบวมหรือไม่ นอกจากนี้ก็ให้เปรียบเทียบเท้าข้างที่บาดเจ็บกับข้างที่ปกติเพื่อดูว่ามันแดงมากและอักเสบหรือเปล่า หรือว่ามีรอยฟกช้ำสีม่วงและสีเขียวเข้มเต็มไปหมดหรือเปล่า นอกจากนี้คุณก็อาจจะสังเกตเห็นแผลเปิดบนเท้าข้างที่บาดเจ็บด้วย [3]
    • ถ้าอาการหักรุนแรง เส้นเลือดฝอยที่ฉีกขาดจะทำให้เกิดอาการช้ำบวมเป่งรอบๆ บริเวณนั้น
    • อาการบวมเป็นเรื่องปกติของการบาดเจ็บส่วนใหญ่ กระนั้น ถ้าคุณบาดเจ็บรุนแรง มันจะบวมเสียจนก่อให้เกิดตุ่มน้ำขึ้นที่ผิว เพราะของเหลวหาทางออกไปไม่ได้
  4. นอกจากนี้คุณก็อาจจะดูว่าเท้าของคุณเคล็ดหรือหัก โดยเท้าเคล็ดจะเกิดจากการที่คุณยืดหรือทำให้เอ็นฉีกขาด ซึ่งเอ็นก็คือเนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อระหว่างกระดูกสองชิ้นเข้าด้วยกัน ส่วนกระดูกเท้าแตกคือการที่กระดูกมีรอยแตกหรือแตกออกมาเลย [4]
    • สังเกตว่ามีกระดูกทะลุออกมาจากผิวหนัง หรือมีส่วนใดของเท้าที่ดูผิดรูปหรือบิดอยู่ในมุมที่ไม่เป็นธรรมชาติหรือเปล่า ถ้ามีกระดูกโผล่ออกมาหรือเท้าดูเหมือนจะผิดรูป ก็เป็นไปได้ว่ากระดูกเท้าจะแตก
  5. ถ้าเท้าข้างที่บาดเจ็บน่าจะกระดูกหัก คุณควรรีบไปที่ห้องฉุกเฉินที่อยู่ใกล้ที่สุด ถ้าคุณอยู่ตามลำพังและไม่มีใครช่วยคุณได้ ให้โทรศัพท์เรียกรถพยาบาล ถ้ากระดูกเท้าหักอย่าขับรถไปห้องฉุกเฉินเอง [5] เพราะกระดูกหักอาจทำให้เกิดอาการช็อกได้ ซึ่งอันตรายมากหากคุณขับรถไปเอง
    • ถ้ามีคนที่สามารถขับรถพาคุณไปห้องฉุกเฉินได้ คุณควรพยายามยึดเท้าเอาไว้เพื่อให้มันอยู่กับที่ขณะที่คุณอยู่ในรถและไม่เคลื่อนไหวไปมา สอดหมอนไว้ใต้เท้า ใช้เทปกาวยึดไว้หรือพันไว้กับเท้าเพื่อให้เท้าของคุณตั้งตรง พยายามทำให้เท้าตั้งตรงขณะเดินทาง ถ้าทำได้ให้ไปนั่งเบาะหลังเพื่อตั้งเท้าให้ตรง
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ให้แพทย์รักษาเท้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แพทย์จะกดลงบนบริเวณต่างๆ ของเท้าเพื่อดูว่ากระดูกเท้าหักหรือเปล่า คุณอาจจะรู้สึกเจ็บขณะที่แพทย์กดลงบนเท้า ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าเท้าหัก [6]
    • ถ้าเท้าของคุณหัก คุณอาจจะรู้สึกปวดเวลาที่แพทย์กดลงบนฐานนิ้วก้อยเท้าและตรงกลางเท้า นอกจากนี้คุณก็อาจจะไม่สามารถเดินได้เกินสี่ก้าวโดยไม่ต้องพยุงหรือไม่ปวดมาก
  2. ถ้าแพทย์สงสัยว่ากระดูกเท้าของคุณน่าจะหัก แพทย์ก็จะเอ็กซเรย์เท้า
    • อย่างไรก็ตามแม้แต่การเอ็กซเรย์เองก็อาจจะดูได้ยากว่ากระดูกเท้าหักหรือเปล่า เพราะอาการบวมอาจจะไปบังกระดูกบางๆ ที่อยู่ในเท้าได้ แต่การเอ็กซเรย์อาจทำให้แพทย์ระบุได้ว่า กระดูกไหนที่หักและจะรักษาอย่างไร
  3. ทางเลือกในการรักษาจะขึ้นอยู่กับว่า กระดูกชิ้นไหนที่หัก
    • ถ้ากระดูกส้นเท้าหักหรือแตก คุณก็อาจจะต้องผ่าตัด เช่นเดียวกันคือถ้ากระดูกข้อเท้า ซึ่งเป็นกระดูกส่วนที่เชื่อมระหว่างเท้ากับขาหัก คุณก็อาจจะต้องผ่าตัด แต่ถ้านิ้วก้อยเท้าหรือนิ้วอื่นๆ หัก คุณก็ไม่น่าจะต้องผ่าตัด
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ดูแลเท้าที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อแพทย์รักษากระดูกเท้าที่หักแล้ว คุณควรให้ความสำคัญกับการอยู่ให้ห่างจากเท้าให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เวลาเดินก็ให้ใช้ไม้ยันรักแร้และลงน้ำหนักทั้งหมดไปที่แขน มือ ไหล่ และไม้ยันรักแร้ ไม่ใช่ที่เท้า
    • ถ้านิ้วเท้าของคุณหัก นิ้วที่หักก็อาจจะถูกพันกับนิ้วที่อยู่ข้างๆ เพื่อไม่ให้ขยับเขยื้อน คุณไม่ควรลงน้ำหนักที่นิ้วเท้าและให้เวลานิ้วเท้าหายสนิท 6-8 สัปดาห์
  2. ตั้งเท้าขึ้นและประคบน้ำแข็งเพื่อลดอาการบวม. วางเท้าไว้บนหมอนอิงเวลาที่นอนอยู่บนเตียง หรือวางไว้บนเก้าอี้สูงเวลานั่งเพื่อให้เท้าอยู่สูงกว่าส่วนอื่นๆ ของร่างกาย วิธีนี้จะช่วยให้อาการบวมดีขึ้นได้
    • นอกจากนี้การประคบน้ำแข็งยังช่วยลดอาการบวมได้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามันพันอยู่ในผ้าพันแผล ไม่ใช่ในเฝือก ประคบน้ำแข็งครั้งละ 10 นาที และประคบซ้ำทุก 1 ชั่วโมงในช่วง 10-12 ชั่วโมงแรกหลังได้รับบาดเจ็บ
  3. แพทย์น่าจะจ่ายยาแก้ปวดหรือแนะนำให้คุณไปซื้อยาแก้ปวดมารับประทานเองเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด รับประทานตามแพทย์สั่งหรือตามที่ระบุไว้ที่ฉลาก
  4. กระดูกเท้าแตกส่วนใหญ่จะใช้เวลา 6-8 สัปดาห์กว่าจะหาย คุณควรนัดตรวจติดตามกับแพทย์เมื่อคุณเริ่มเดินและลงน้ำหนักที่เท้าได้แล้ว แพทย์อาจจะแนะนำให้คุณใส่รองเท้าส้นราบแข็งๆ เพื่อช่วยให้เท้าหายเร็วขึ้น
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,198 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา