ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

กระดูกนิ้วมือหัก เป็นภาวะที่พบได้มากในห้องฉุกเฉินตามโรงพยาบาล แต่ก่อนที่จะมุ่งหน้าไปโรงพยาบาล เราควรมีวิธีการตรวจเช็คก่อนว่ามีกระดูกหักจริงหรือไม่ หรือเพียงแค่เอ็นบาดเจ็บหรือฉีดขาด ซึ่งเป็นภาวะที่ไม่รุนแรงถึงขั้นต้องนำส่งห้องฉุกเฉิน เพียงแค่ไปพบแพทย์ตามปกติเพื่อทำการรักษา ในทางกลับกันแล้ว หากมีภาวะกระดูกหัก อาจทำให้มีเลือดออกภายในหรือการถูกทำลายของโครงสร้างอื่นๆ ซึ่งเป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ต้องทราบอาการแสดงของภาวะกระดูกนิ้วมือหักก่อน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โดยอาการแรกของภาวะกระดูกนิ้วมือหักคือ อาการเจ็บ ซึ่งขึ้นกับว่าคุณเคยเจ็บมาก่อนไหมและความรุนแรงของการบาดเจ็บครั้งนี้ โดยหลังจากมีอาการดังกล่าว ให้ทำการรักษาอย่างระมัดระวังและสังเกตการเปลี่ยนแปลงของอาการปวด [1]
    • ในบางครั้งอาจจะยากที่เราจะบอกได้ว่าอาการปวดเกิดจากกระดูกหักอย่างเดียว หรือมีการเคลื่อนของข้อต่อและบาดเจ็บของเส้นเอ็นร่วมด้วย
    • สังเกตอาการอื่นเพิ่มเติมหรือให้แพทย์ตรวจเพิ่มหากไม่แน่ใจว่าการบาดเจ็บนี้จะรุนแรงมากแค่ไหน
  2. หลังการกระดูกนิ้วมือหัก จะเกิดการบาดเจ็บแบบเฉียบพลัน และจะตามมาด้วยบวมและช้ำ ซึ่งเป็นกลไกทางธรรมชาติของร่างกายที่ตอบสนองต่อการบาดเจ็บ โดยหลังจากกระดูกนิ้วมือหัก ร่างกายจะกระตุ้นให้เกิดกระบวนการอักเสบซึ่งทำให้บวมจากการที่สารอักเสบต่างๆ ออกมาคั่งค้างในเนื้อเยื่อรอบๆ บริเวณที่กระดูกหัก [2]
    • อาการบวมมักตามมาด้วยรอยช้ำจากการที่เส้นเลือดฝอยบวมและแตกจากแรงดันของสารภายในหลอดเลือด [3]
    • แต่บางครั้งเราอาจจะไม่แน่ใจว่ามีกระดูกหักไหมเพราะยังขยับได้ ให้ลองขยับดู ถ้ากระดูกหัก จะเห็นว่าบวมและช้ำชัดขึ้นหรืออาจจะแผ่กระจายไปยังนิ้วอื่นๆ และฝ่ามือได้
    • คุณจะเห็นว่าบวมและมีรอยช้ำ 5-10 นาที ตามหลังจากเริ่มรู้สึกเจ็บนิ้ว
    • อย่างไรก็ตาม ถ้าสังเกตว่าบวมแค่เล็กน้อยร่วมกับไม่มีรอยช้ำ อาจจะเป็นแค่เส้นเอ็นบาดเจ็บ เคล็ดขัดยอกไม่ถึงขั้นกระดูกหัก
  3. สังเกตว่านิ้วมีผิดรูปหรือขยับไม่ได้หรือไม่. การที่มีกระดูกนิ้วหักอาจจะมีแตกหักแค่ตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง โดยจะสังเกตเห็นว่ากระดูกจะปูดขึ้นมาผิดปกติ หรือผิดทิศทางไปจากเดิมในบริเวณที่หัก [4]
    • ถ้าพบว่ามีการผิดรูป คือมีโอกาสที่กระดูกจะหัก
    • มักจะขยับไม่ได้เพราะการที่กระดูกหักทำให้กระดูกชิ้นนั้นถูกแยกออกจากกัน
    • การบวมและการช้ำทำให้นิ้วขยับได้ยากหลังได้รับบาดเจ็บ
  4. รีบไปพบแพทย์หรือสถานพยาบาลใกล้บ้านที่เข้ารับการรักษาแบบฉุกเฉินได้ หากคิดคุณว่ากระดูกหัก เพราะภาวะกระดูกหักนั้นเราไม่มีทางสังเกตได้จากภายนอกว่ามันรุนแรงแค่ไหน เพราะการหักบางครั้งอาจต้องได้รับการรักษาที่จำเพาะ แต่ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าหักจริงหรือไม่ ให้ลองตรวจสอบดูตามอาการดังต่อไปนี้ [5]
    • ถ้ามีอาการ ปวด บวม ช้ำ นิ้วผิดรูปหรือขยับได้น้อยลงอย่างชัดเจนให้รีบไปพบแพทย์ [6]
    • หากบุตรหลานของท่านได้รับบาดเจ็บที่นิ้ว ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะวัยนี้กระดูกยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ อาจมีภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายถ้าได้รับการรักษาไม่เหมาะสม
    • ถ้าได้รับการรักษาโดยแพทย์ที่เชี่ยวชาญไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดอาการเจ็บ และติดขัดของนิ้วและมือ ทำให้ขยับนิ้วมือได้ไม่เต็มช่วงการเคลื่อนไหว
    • กระดูกที่เชื่อมกันไม่ดี จะทำให้เคลื่อนไหวได้ไม่ดีเหมือนเดิม
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

การวินิจฉัยภาวะกระดูกหักเมื่อไปพบแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตรวจร่างกาย.ถ้าคุณสงสัยว่ามีกระดูกหัก แพทย์จะทำการตรวจและประเมินความรุนแรงของอาการ [7]
    • แพทย์จะวัดช่วงการเคลื่อนไหวของนิ้วโดยให้กำมือและสังเกตว่ามีบวม ช้ำ หรือกระดูกผิดรูปหรือไม่
    • แพทย์จะตรวจการไหลเวียนของเลือดและการถูกกดทับของเส้นประสาทบริเวณที่บาดเจ็บ
  2. ถ้าแพทย์ยังวินิจฉัยจากการตรวจร่างกายไม่ได้ แพทย์อาจแนะนำให้ฉายภาพรังสี x-ray,CT scan หรือ MRI
    • เอ็กซ์เรย์มักถูกนำมาใช้เป็นอย่างแรกในการวินิจฉัยภาวะกระดูกหัก โดยการฉายแพทย์จะให้วางนิ้วไว้ระหว่างเครื่องฉายกับแผ่นฉาย จะรังสีความยาวคลื่นต่ำผ่านเข้าไปในนิ้วทำให้เกิดภาพ ซึ่งใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีและไม่เจ็บ [8]
    • CT scan คืออุปกรณ์การฉายรังสีเอ๊กซ์หลายรังสีเข้าไปในมุมที่ต่างกัน แพทย์จะใช้เมื่อใช้ x-ray แล้วยังวินิจฉัยได้ไม่ชัดเจนว่ามีกระดูกหักหรือไม่ หรืออาจใช้ในกรณีที่สันนิษฐานว่ามีโครงสร้างเนื้อเยื่อรอบข้างบาดเจ็บด้วย [9]
    • MRI มักใช้ในกรณีที่แพทย์สงสัยว่าจะมีรอยกระดูกร้าวเล็กน้อย หรือ stress fracture ซึ่งเกิดจากการถูกแรงกระทำซ้ำๆ MRIจะให้รายละเอียดได้มากกว่า คือช่วยแยกการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรอบๆ กับการร้าวของกระดูกนิ้วออกจากกันได้ [10]
  3. มักแนะนำให้ผ่าตัด หากมีกระดูกหักอย่างรุนแรง เช่น compound fracture หรือการหักแบบมีชิ้นแตกและเคลื่อน เพื่อที่จะเชื่อมชิ้นส่วนที่แตกกลับเข้าไปเหมือนเดิมร่วมกับใส่อุปกรณ์ช่วยยึด เช่น wire และ screw เพื่อให้เกิดการเชื่อมกลับของกระดูกที่เหมาะสม [11]
    • การที่มีกระดูกหักรุนแรงจนขยับมือไม่ได้ และมือผิดรูป จำเป็นจะต้องได้รับการผ่าตัดที่นิ้ว เพื่อให้สามารถกลับมาเคลื่อนไหวได้เหมือนเดิม
    • บางครั้งคุณอาจจะไม่รู้สึกว่า การใช้นิ้วได้ไม่เต็มที่เหมือนปกติสำคัญแค่ไหน แต่ถ้าหากคุณคือ ไคโรแพร็กเตอร์ ศัลยแพทย์ จิตรกร หรือต้องเน้นการใช้ทักษะของมือในการทำงาน การจะให้นิ้วกลับมาเป็นปกติของพวกเขานั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ทำการรักษา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลดบวมและปวดด้วยการใช้น้ำแข็ง รัด และให้นิ้วอยู่สูง หากปฐมพยาบาลด้วยวิธีดังกล่าวนี้ได้รวดเร็วเท่าไร ยิ่งมีโอกาสหายเร็วขึ้นเท่านั้น และต้องไม่ลืมพักการใช้นิ้วที่เจ็บด้วย [12]
    • ประคบน้ำแข็งที่นิ้ว โดยนำถุงใส่น้ำแข็งแล้วห่อด้วยผ้าบางๆ มาประคบไว้ที่นิ้วเพื่อลดบวมและปวด เป็นเวลาไม่เกิน20นาที ประคบได้บ่อยตามต้องการ
    • รัดนิ้วที่บาดเจ็บไว้ โดยใช้ผ้ายืดมารัดบริเวณที่บาดเจ็บเพื่อลดบวมและจำกัดการเคลื่อนไหวก่อนไปพบแพทย์ เมื่อพบแพทย์อาจลองปรึกษาว่าควรรัดต่อไปเพื่อลดบวมและป้องกันไม่ให้นิ้วอื่นที่ปกติโดนจำกัดการเคลื่อนไหวไปด้วยหรือไม่
    • ยกมือขึ้นสูง ทางที่ดีคือให้นิ้วที่บาดเจ็บอยู่สูงกว่าระดับหัวใจ โดยจัดท่านั่งเหยียดขาบนเก้าอี้แล้ววางแขนให้ข้อมือและนิ้วมือพักที่พนักพิงเก้าอี้
    • ไม่ควรใช้งานนิ้วที่หักในการทำกิจกรรมต่างๆ จนกว่าแพทย์จะเห็นควรให้ใช้การได้ตามปกติ
  2. ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ดามนิ้ว.เฝือกจะช่วยจำกัดการเคลื่อนไหวของนิ้วที่หักไม่ให้ได้รับอันตรายเพิ่มขึ้น โดยการดามอย่างง่าย อาจใช้ไม้ไอศกรีมแล้วพันผ้ายืดทับก่อนนำส่งแพทย์ [13]
    • ชนิดของการดามจะใช้ต่างกันไปตามลักษณะการหักของกระดูก หากเป็นการหักแบบเล็กน้อยมักใช้วิธี "buddy taping" ซึ่งเป็นการดามนิ้วที่หักไว้กับนิ้วที่ปกติที่อยู่ติดกัน
    • dorsal extension block splint คือการดามเพื่อป้องกันไม่ให้นิ้วเหยียดมากเกินไป โดยจัดให้นิ้วงอเข้าหาฝ่ามือเล็กน้อยแล้วยึดไว้ด้วยวัสดุอ่อน ๆ
    • aluminum U shape splint ใช้ป้องกันไม่ให้นิ้วที่หักเหยียด เป็นวัสดุแข็งจำกัดการเคลื่อนไหวโดยใช้ตัว U วางไว้ด้านหลังของนิ้ว
    • ในรายที่มีอาการรุนแรง แพทย์จะแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ดามแบบแข็งชนิดไฟเบอร์กลาสโดยจะดามนิ้วขึ้นมาถึงข้อมือ เสมือนกับการใส่เฝือกขนาดเล็ก
  3. การผ่าตัดจะจำเป็นก็ต่อเมื่อภาวะกระดูกหักนั้นไม่สามารถหายได้โดยการจำกัดการเคลื่อนไหวไว้ในระยะเวลาปกติที่ควรจะเป็น ในรายที่กระดูกหักที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดมักมีอาการที่ซับซ้อนมากเกินกว่าการรักษาด้วยการจำกัดการเคลื่อนไหว [14]
    • การหักที่มีแผลเปิดด้วย จะทำให้ข้อต่อบริเวณนั้นไม่มั่นคง จำเป็นจะต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อนำชิ้นส่วนกระดูกที่หัก ต่อกลับเข้าไป เพื่อให้เกิดการฟื้นฟูกลับมาเหมือนหรือใกล้เคียงเดิม
  4. รับประทานยาแก้ปวด.แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยา NSAID เพื่อช่วยลดอาการปวด โดยยานี้จะลดผลเสียของภาวะอักเสบเรื้อรัง และลดการปวด แรงกดทับต่อเส้นประสาทและเนื้อเยื่อต่างๆ จากการอักเสบโดยที่ไม่ขัดขวางกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บ [15]
    • ยา NSAID ที่มีขายทั่วไป มักเป็น Ibuprofen (Advil) และ Naproxen sodium (Aleve) หรืออาจจะเป็น Paracetamol (Tylenol) แต่ยาตัวนี้ไม่ใช่ NSAID และไม่ได้ช่วยลดการอักเสบ [16]
    • แพทย์อาจสั่งยาจำพวก Codeine ให้ใช้ชั่วคราวถ้ามีอาการปวดมาก เพราะในช่วงแรกของการมีกระดูกหักจะเจ็บมากและค่อยๆ เจ็บลดลงตามการฟื้นฟูของกระดูก
  5. โดยแพทย์มักนัดไปพบภายในไม่กี่สัปดาห์หลังจากรักษาครั้งแรก และมักนัดตรวจ x-rayซ้ำหลังบาดเจ็บประมาณ1-2สัปดาห์ เพื่อดูว่ากระดูกเริ่มเชื่อมเข้าที่มากน้อยแค่ไหน
    • ถ้าสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการบาดเจ็บ ให้ปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษาอยู่
  6. โดยปกติแล้วกระดูกนิ้วที่หักจะกลับมาเชื่อมกันได้ดีเหมือนเดิมหลังรักษา ภายในระยะเวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ โดยภาวะแทรกซ้อนมักเกิดได้น้อย แต่ก็เป็นสิ่งที่ดีที่ควรตระหนักไว้ [17]
    • ภาวะข้อติด อาจเกิดขึ้นได้จากการยึดติดของเนื้อเยื่อรอบๆ บริเวณที่กระดูกหัก ซึ่งควรไปพบนักกายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อนิ้วมือและลดการยึดติดของเนื้อเยื่อนั้น
    • ส่วนของกระดูกนิ้วมืออาจจะมีการบิดหมุนในช่วงที่ยังเชื่อมกันไม่สมบูรณ์ จะพบว่ามีกระดูกผิดรูปซึ่งอาจนำไปสู่การผ่าตัดเพื่อช่วยให้หยิบสิ่งของได้ดีขึ้น
    • ในการหักที่มีกระดูกหลุดแยกเป็นสองส่วน อาจจะทำให้การเชื่อมติดกันเกิดขึ้นไม่ดี ทำให้ข้อต่อบริเวณนั้นไม่มั่นคงแบบถาวร หรือที่เรียกว่า”nonunion”
    • ผิวหนังติดเชื้อ อาจเกิดขึ้นได้จากการมีเนื้อตายบริเวณที่กระดูกหักและทำความสะอาดแผลไม่ดีพอก่อนการผ่าตัด
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

เข้าใจเกี่ยวกับชนิดของการหักของกระดูก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มือของมนุษย์ประกอบไปด้วยกระดูก 27 ขิ้น โดย 8 ชิ้นประกอบเป็นกระดูกข้อมือ 5ชิ้นเป็นกระดูกภายในฝ่ามือ และ 14 ชิ้น เป็นกระดูกนิ้วมือ [18]
    • กระดูกนิ้วมือชิ้นต้น เป็นกระดูกชิ้นที่ยาวที่สุดของนิ้วมือและอยู่ติดกับฝ่ามือ ส่วนกระดูกนิ้วมือชิ้นกลางจะอยู่ถัดออกมา และตามด้วยกระดูกชิ้นปลายสุดซึ่งอยู่ที่ปลายนิ้วมือ
    • การบาดเจ็บที่มักเกิดฉับพลัน เช่น หกล้ม อุบัติเหตุ และการบาดเจ็บจากกีฬา มักทำให้เกิดการหักของนิ้วมือ โดยส่วนปลายนิ้วมักเป็นส่วนที่ได้รับบาดเจ็บบ่อยที่สุดบริเวณหนึ่ง เพราะมักเป็นส่วนที่ทุกคนใช้ในกิจวัตรประจำวัน [19] [20]
  2. การหักแบบมั่นคงคือการที่มีกระดูกหักแล้วไม่มีหรือมีการเคลื่อนจากตำแหน่งเดิมน้อยมาก ซึ่งการหักแบบนี้มักสังเกตได้ยากและอาการคล้ายกับการบาดเจ็บอื่นๆ [21]
  3. คือการหักที่มีสองชิ้นส่วนสำคัญแยกออกจากกันแล้วเคลื่อนออกจากแนวเดิม
  4. ทราบว่าการหักแบบมีแผลเปิดคืออะไร.การหักชนิดนี้จะมีบางส่วนแทงขึ้นมาที่ชั้นผิวหนัง ด้วยความที่เป็นภาวะที่รุนแรงและอันตรายต่อกระดูกรวมถึงเนื้อเยื่อรอบๆ ทำให้เป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์
  5. การหักที่มีการเคลื่อนของกระดูกที่มากถึงสามถึงสี่ชิ้นนั้นพบได้บ่อย แต่ไม่ใช่ทุกเคสที่จะอันตรายต่อเนื้อเยื่อรอบๆ สิ่งที่มักพบคืออาการปวดที่รุนแรงและเคลื่อนไหวรยางค์นั้นไม่ได้ มักเป็นชนิดการหักที่วินิจฉัยได้ง่าย
    โฆษณา

คำเตือน

  • ไม่ว่าคำแนะนำต่างๆข้างต้นจะเป็นอย่างไร หากคุณคิดว่าการบาดเจ็บนั้นรุนแรง ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 70,057 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา