ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วหรือโรคไบโพลาร์ (Bipolar disorder) เป็นโรคความผิดปกติทางอารมณ์ที่มีผลต่อประชากรระหว่าง 1 ถึง 4.3 เปอร์เซ็นต์ของสหรัฐอเมริกา [1] มันมักจะแสดงออกมาเป็นช่วงที่มีอารมณ์คลุ้มคลั่งที่รู้กันในชื่อแมเนีย ช่วงเวลาภาวะแมเนียนี้จะเกิดสลับกับช่วงอารมณ์ซึมเศร้า โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วนี้มักเกิดตั้งแต่ยังเล็ก การวิจัยพบว่าอาการของไบโพลาร์มักจะเริ่มมีในเด็กและวัยรุ่นได้ถึง 1.8 % [2] กระนั้น การวินิจฉัยมักจะตรวจพบในวัยยี่สิบตอนปลายหรือต้นสามสิบ [3] บทความนี้จะช่วยคุณตรวจดูว่าคุณหรือคนที่คุณรักอาจมีอาการไบโพลาร์หรือไม่

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ตรวจหาอาการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ระหว่างช่วงอารมณ์คลุ้มคลั่งนั้น จะมีความรู้สึกเคลิ้ม มีความคิดสร้างสรรค์บรรเจิด และมีความเชื่อมั่นและรับรู้ในตัวเองมากขึ้น [4] ภาวะแมเนียอาจกินระยะตั้งแต่ไม่กี่ชั่วโมงหรือยืดยาวเป็นหลายวันหรือเป็นหลายสัปดาห์ก็ได้ [5] โรงพยาบาลเมโยได้อธิบายสัญญาณของภาวะแมเนียดังต่อไปนี้: [6]
    • มีความรู้สึกว่ามี “พลัง” มากกว่าปกติ ในบางกรณีก็มากเสียจนรู้สึกว่าตนเองนั้นเปรียบเหมือนมนุษย์ล่องหน ซึ่งนี่มักจะมาพร้อมกับความรู้สึกนึกว่าตัวเองมีพลังพิเศษที่เหนือกว่าผู้อื่นหรือดุจดังพระเจ้า
    • ความคิดความอ่านแล่นเร็วดังรถด่วน ความคิดอาจกระโดดจากหัวข้อหนึ่งไปอีกหัวข้อหนึ่งอย่างรวดเร็วจนยากที่จะตามทันหรือเพ่งสมาธิอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
    • พูดจาเร็วจี๋ชนิดคนอื่นฟังไม่ค่อยรู้เรื่องและรู้สึกว่ามันกระโดดไปมาอย่างไม่มีหยุดพัก
    • ตาค้างไม่หลับตลอดทั้งคืนหรือนอนเพียงไม่กี่ชั่วโมงแต่ไม่รู้สึกอ่อนเพลียในวันถัดมา
    • แสดงพฤติกรรมบ้าบิ่น. ระหว่างช่วงภาวะแมเนียนี้ ใครคนนั้นอาจไปหลับนอนกับใครหลายคนโดยไม่ป้องกัน เขาหรือเธออาจเสี่ยงพนันด้วยเงินสูงลิ่วหรือไปลงทุนในธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงทั้งยังอาจใช้จ่ายอย่างไม่คิดหน้าคิดหลังซื้อของแพงๆ ลาออกจากงาน เป็นต้น
    • แสดงอาการหงุดหงิดโมโหจัดใส่ผู้อื่น ซึ่งมันอาจเกินเลยไปจนมีปากมีเสียงและชวนทะเลาะกับคนที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกันได้
    • ในกรณีที่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อย คืออาจเกิดอาการหลงผิดหรือเห็นภาพหลอนภาพลวงตาก็เป็นได้ (เช่น เชื่อว่าได้ยินเสียงกระซิบจากพระเจ้าหรือนางฟ้า)
  2. สำหรับผู้ที่เป็นไบโพลาร์แล้ว ช่วงเวลาที่เกิดภาวะซึมเศร้านั้นจะยาวนานกว่าและเกิดถี่กว่าช่วงเวลาภาวะแมเนีย ให้สังเกตดูอาการเหล่านี้: [7]
    • การไร้ความสามารถที่จะรับรู้ความสุข ความรื่นรมย์
    • รู้สึกสิ้นหวังและขัดสน ความรู้สึกไร้ค่าและรู้สึกผิดนั้นเป็นเรื่องปกติ
    • นอนหลับมากกว่าปกติและรู้สึกอ่อนเพลียง่วงเหงาหาวนอนตลอดเวลา
    • มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงในความอยากทานอาหาร
    • มีความคิดหมกมุ่นเรื่องความตายและการฆ่าตัวตาย
    • สังเกตให้ดีว่าผู้ป่วยซึมเศร้าแบบไบโพลาร์นั้นดูคล้ายคลึงกับผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder - MDD) มืออาชีพที่ผ่านคุณสมบัติถึงจะสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างอาการสองอย่างนี้ได้ เขาหรือเธอจะดูประวัติของผู้ป่วยเพื่อดูภาวะแมเนียและความรุนแรงของระยะแมเนียนั้น [8]
    • ยาที่ใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้ามักใช้ไม่ได้ผลกับการรักษาอาการซึมเศร้าแบบไบโพลาร์ มันมักจะมาพร้อมกับอาการหงุดหงิดและอารมณ์แปรปรวนซึ่งไม่เกิดในคนที่เป็นโรคซึมเศร้า [9]
  3. ช่วงระยะเวลามีภาวะแมเนียแบบไม่รุนแรง (Hypomania) เป็นภาวะที่เกิดอารมณ์ฟุ้งพล่านผิดปกติที่กินระยะเวลาสี่วัน มันอาจมีอาการหงุดหงิดและอาการอื่นเกิดร่วมด้วย [10] ภาวะแมเนียแบบไม่รุนแรงแตกต่างจากภาวะแมเนียตรงที่มันรุนแรงน้อยกว่า ให้สังเกตดู: [11]
    • มีความรู้สึกอิ่มเอมใจ
    • ขี้หงุดหงิด
    • เชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้น อาจถึงขั้นนึกว่าเหนือกว่าคนอื่น
    • มีความต้องการนอนหลับน้อยลง
    • พูดจาเร่งรัดกดดัน (พูดจาเร็วและเน้นย้ำตลอด)
    • ไอเดียฟุ้งซ่าน (เมื่อสมองดูจะกระโดดจากความคิดโน้นไปความคิดนี้อย่างฉับพลัน)
    • วอกแวก
    • แสดงอาการกระสับกระส่ายทางกาย เช่น เขย่าขาหรือเคาะนิ้ว ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้
    • ในช่วงภาวะแมเนียแบบไม่รุนแรงนี้ ผู้ป่วยอาจไม่มีปัญหาในชีวิตการงานหรือทางสังคม สภาวะนี้โดยปกติแล้วไม่ถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษา คนที่มีภาวะแมเนียไม่รุนแรงนี้อาจรู้สึกมีความสุข มีความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้น แต่เขาหรือเธอก็ยังสามารถไปทำงานและจัดการงานทั่วๆ ไปได้โดยไม่เกิดผลเสียตามมา
    • คนที่อยู่ในภาวะแมเนียไม่รุนแรงสามารถทำงานได้ตามปกติ เขาหรือเธอยังสามารถแสดงปฏิกิริยาที่เหมาะสม (แม้จะดูเอาจริงเอาจังเกินไปบ้าง) กับเพื่อนร่วมงานได้อยู่ แต่ถ้าอยู่ในภาวะแมเนียเต็มรูปแบบ งานง่ายๆ ก็กลายเป็นงานที่ทำให้สำเร็จได้ยากโดยไม่เกิดการตัดสินใจผิดพลาด ปฏิกิริยาทางสังคมที่ไม่เหมาะไม่ควรก็เลยอาจนำไปสู่ผลตามมาที่เลวร้าย อาการหลงผิดหรือเห็นภาพหลอนจะไม่พบในภาวะแมเนียไม่รุนแรง [12]
  4. ในบางกรณีก็มีคนที่มีภาวะแมเนียกับภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน คนผู้นั้นก็จะมีอาการซึมเศร้าและหงุดหงิดง่าย มีความคิดแล่นเร็ว รู้สึกกระวนกระวายและนอนไม่หลับเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน
    • ภาวะแมเนียกับภาวะแมเนียไม่รุนแรงอาจนับได้ว่าเป็นภาวะผสมถ้าหากมีอาการของภาวะซึมเศร้าร่วมด้วยสามอาการขึ้นไป
    • ยกตัวอย่างเช่น ลองนึกภาพใครสักคนที่มีพฤติกรรมชอบท้าทาย เขาหรือเธออาจมีอาการนอนไม่หลับ ขยันทำกิจกรรมต่างๆ และความคิดความอ่านว่องไว ซึ่งนับได้ว่าเป็นอาการในช่วงภาวะแมเนียทั้งสิ้น แต่ถ้าใครคนนั้นยังแสดงอาการของภาวะซึมเศร้าออกมาอย่างน้อยสามอย่าง ก็ถือว่ามีภาวะแมเนียลูกผสม ตัวอย่างก็เช่นอาจมีความรู้สึกไร้ค่า สูญเสียความสนใจในงานอดิเรกและการทำกิจกรรม กับมีความคิดหมกมุ่นอยู่กับเรื่องความตาย [13]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เข้าใจในรูปแบบที่แตกต่างกันของโรคไบโพลาร์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไบโพลาร์รูปแบบนี้เป็นรูปแบบการมีภาวะแมเนียสลับกับภาวะซึมเศร้าที่พบเห็นได้บ่อยที่สุด คนที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นไบโพลาร์ I นั้นจะมีภาวะแมเนียหรือภาวะผสมอย่างน้อยก็หนึ่งช่วง และก็อาจมีภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้นด้วย [14]
    • คนที่เป็นโรคไบโพลาร์ I จะเป็นผู้ที่มีโอกาสเกิดความรู้สึกเคลิ้มซึ่งอาจนำไปสู่การมีพฤติกรรมเสี่ยงได้
    • อาการป่วยรูปแบบนี้มักจะส่งผลกระทบต่อชีวิตการทำงานและความสัมพันธ์ของผู้ป่วย
    • คนที่เป็นโรคไบโพลาร์ I มักมีโอกาสจะพยายามฆ่าตัวตาย โดยมีอัตราการฆ่าตัวตายที่กระทำสำเร็จอยู่ที่ 10-15 % [15]
    • คนที่เป็นโรคไบโพลาร์ I ยังมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดปัญหาการใช้ยาเสพติดตามมา [16]
    • มีความเกี่ยวโยงกันระหว่างโรคไบโพลาร์ I กับโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องไปพบแพทย์ [17]
  2. รูปแบบนี้จะมีภาวะแมเนียที่รุนแรงน้อยกว่าและมีภาวะซึมเศร้าชนิดเต็มรูปแบบ คนนั้นอาจมีภาวะแมเนียไม่รุนแรงในแบบแอบซ่อนอยู่ แต่ภาวะหลักๆ มักจะเป็นภาวะซึมเศร้า [18]
    • คนที่เป็นโรคไบโพลาร์ II มักจะได้รับการวินิจฉัยโรคผิดว่าเป็นโรคซึมเศร้า การจะบอกถึงความแตกต่างนั้น เราจะต้องดูลักษณะที่โดดเด่นของภาวะซึมเศร้าแบบไบโพลาร์
    • ภาวะซึมเศร้าแบบไบโพลาร์นั้นแตกต่างจากโรคซึมเศร้าเพราะมันมักจะเกิดควบคู่ไปกับอาการแมเนีย บางครั้งสองภาวะนี้อาจจะเกิดคาบเกี่ยวกัน จึงต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการแยกแยะความแตกต่างของสองอาการนี้ [19]
    • สำหรับคนที่เป็นโรคไบโพลาร์ II ภาวะแมเนียอาจแสดงอาการออกมาในรูปแบบของความกังวลใจ อาการหงุดหงิด หรือการมีความคิดแล่นเร็ว มักจะไม่ค่อยพบว่ามีอาการความคิดสร้างสรรค์บรรเจิดหรือทำกิจกรรมไม่รู้เหน็ดเหนื่อย
    • เช่นเดียวกับไบโพลาร์ I ผู้ป่วยไบโพลาร์ II มีความเสี่ยงสูงที่จะฆ่าตัวตาย, มีภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษ และใช้ยาเสพติด [20]
    • โรคไบโพลาร์ II มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย [21]
  3. โรคประสาทซึมเศร้า (cyclothymia) นั้นเป็นโรคไบโพลาร์อย่างอ่อนๆ ซึ่งมีอาการอารมณ์แปรปรวนแต่มีภาวะแมเนียและภาวะซึมเศร้ารุนแรงน้อยกว่า อารมณ์ที่แปรปรวนนั้นจะเกิดเป็นวงจร สลับระหว่างภาวะซึมเศร้ากับภาวะแมเนีย ตามคู่มือการวินิจฉัยและสถิติของภาวะป่วยทางจิต (DSM) กล่าวไว้ว่า: [22]
    • โรคประสาทซึมเศร้าเริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่ในช่วงแรกๆ ของชีวิต แต่ช่วงระยะแสดงอาการมักจะเกิดในช่วงวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น
    • โรคประสาทซึมเศร้าพบได้ในผู้ชายและผู้หญิงเท่าๆ กัน
    • และเช่นดียวกับโรคไบโพลาร์ I และ II ที่ผู้ป่วยโรคประสาทซึมเศร้ามีความเสี่ยงสูงที่จะหันไปพึ่งยาเสพติด
    • อาการนอนไม่หลับก็เป็นอีกอย่างที่พบได้ประจำในผู้ป่วยโรคประสาทซึมเศร้า
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เรียนรู้ที่จะตรวจพบโรคไบโพลาร์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เป็นเรื่องปกติของผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ที่จะมีภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของอารมณ์ตามฤดูกาล ในบางราย ช่วงภาวะแมเนียหรือภาวะซึมเศร้าอาจกินเวลาไปตลอดช่วงฤดูกาลนั้นเลยก็ได้ ส่วนในรายอื่นๆ ช่วงการเปลี่ยนฤดูกาลจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนวงจรเข้าสู่ภาวะที่อาจเป็นได้ทั้งภาวะแมเนียและภาวะซึมเศร้า
    • ภาวะแมเนียจะพบได้บ่อยกว่าในตอนหน้าร้อน ภาวะซึมเศร้าจะพบบ่อยในฤดูใบไม้ร่วง, ฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ อย่างไรก็ดี นี่ไม่ได้เป็นกฎตายตัว บางคนอาจมีภาวะซึมเศร้าในหน้าร้อนและไปมีภาวะแมเนียในช่วงหน้าหนาวก็ได้ [23]
  2. เข้าใจว่าการเป็นโรคไบโพลาร์นั้นไม่ได้หมายความว่าจะทำงานไม่ได้. บางคนอาจมีปัญหาในการเรียนหรือการทำงานก็จริง แต่ในหลายๆ กรณี ผู้ป่วยก็ดูจะไม่พบปัญหาอะไรในเรื่องเหล่านี้
    • คนที่เป็นโรคไบโพลาร์ II และโรคประสาทซึมเศร้ามักจะยังทำหน้าที่ในการงานหรือการเรียนได้ดี ส่วนผู้ที่เป็นไบโพลาร์ I มักจะประสบปัญหามากกว่าในเรื่องเหล่านี้ [24]
  3. ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์จำนวนสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ที่ต้องต่อสู้กับการใช้สารเสพติด พวกเขาใช้แอลกอฮอล์หรือยากล่อมประสาทตัวอื่นๆ เพื่อหยุดความคิดโลดแล่นในระหว่างภาวะแมเนีย และยังอาจใช้ยาเสพติดเพื่ออยากให้เมาจนเคลิ้มตอนที่เข้าภาวะซึมเศร้า [25]
    • สารเสพติดอย่างแอลกอฮอล์นั้นมีผลต่ออารมณ์และพฤติกรรมในตัวมันเองอยู่แล้ว ทำให้อาจยากที่จะแยกแยะระหว่างผู้ติดสุรากับผู้ป่วยไบโพลาร์
    • คนที่ติดยาหรือติดแอลกอฮอล์มีความเสี่ยงสูงที่จะฆ่าตัวตาย ทั้งนี้เป็นเพราะการใช้สารเหล่านี้จะยิ่งเพิ่มระดับความรุนแรงของภาวะทั้งแมเนียและซึมเศร้า
    • การใช้สารเหล่านี้อาจไปกระตุ้นช่วงวงจรของภาวะแมเนียและซึมเศร้าได้
  4. ผู้ป่วยไบโพลาร์มักจะหลุดไปจากความเป็นจริง อาการนี้เกิดขึ้นทั้งในช่วงของตอนเข้าสู่ภาวะแมเนียอย่างสุดโต่งและตอนเข้าสู่ภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง
    • มันจะแสดงออกมาในรูปแบบของการมีอีโก้คิดว่าตนเหนือกว่าคนอื่นหรือการมีความรู้สึกผิดที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ในบางรายอาจเกิดความวิกลจริตหรือเกิดภาพหลอนขึ้นด้วย
    • อาการหลุดไปจากความเป็นจริงจะเกิดขึ้นบ่อยที่สุดในผู้ป่วยไบโพลาร์ I ระหว่างช่วงภาวะแมเนียกับภาวะผสม มันจะเกิดขึ้นน้อยกว่าในผู้ป่วยไบโพลาร์ II และแทบจะไม่เคยพบในผู้ป่วยโรคประสาทซึมเศร้า [26]
  5. การวินิจฉัยด้วยตนเองอาจมีประโยชน์หากมันจะนำไปสู่ขั้นตอนต่อไปของการร้องขอการรักษา มีผู้ที่ป่วยโรคไบโพลาร์จำนวนมากที่อยู่ไปโดยไม่ได้รับการรักษา แต่กระนั้น เราจะสามารถควบคุมจัดการโรคได้ดีขึ้นหากได้รับการรักษาที่ถูกต้อง การเข้ารับการบำบัดจิตกับแพทย์ทางจิตเวชก็ช่วยให้เกิดความแตกต่างได้
    • ยาที่ใช้ในการรักษาโรคไบโพลาร์ได้แก่ ยาควบคุมอารมณ์, ยาแก้ซึมเศร้า, ยาต้านโรคจิต และยาระงับความวิตกกังวล ยาเหล่านี้จะทำงานโดยการเข้าไปขวางและ/หรือควบคุมสารเคมีบางตัวในสมอง พวกมันจะควบคุมการทำงานของโดปามีน (Dopamine), เซโรโทนิน (Serotonin), และ อะซีทิลคลอไรด์ (Acetylcholine) [27]
    • ยาควบคุมอารมณ์ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ของบุคคลนั้น พวกมันจะป้องกันไม่ให้เกิดอารมณ์แกว่งสุดโต่งแบบมีความสุขเหลือล้นหรือเศร้าสุดขีดในโรคไบโพลาร์ ยาในตระกูลนี้ก็มี ลิเธียม (Lithium), เดปาโกท (Depakote), นิวรอนติน (Neurontin), ลามิคทอล (Lamictal), และโทปาแม็กซ์ (Topamax) [28]
    • การรักษาด้วยยาต้านโรคจิตสามารถช่วยลดอาการวิกลจริตอย่างการเกิดภาพหลอนหรือจิตหลงผิดในช่วงภาวะแมเนียได้ ยาในตระกูลนี้ก็มี ไซเพร็กซ่า (Zyprexa), ริสเพอร์ดัล (Risperdal), อบิลิฟาย (Abilify) และซาฟริส (Saphris) [29]
    • การรักษาด้วยยาแก้ซึมเศร้าจะใช้บรรเทาภาวะซึมเศร้าของโรคไบโพลาร์ ยาในตระกูลนี้มี เล็กซาโปร (Lexapro), โซลอฟท์ (Zoloft), โปรแซ็ค (Prozac), และตัวอื่นๆ สุดท้ายเพื่อจะควบคุมอาการวิตกจริต นักจิตเวชอาจสั่งจ่ายยาอย่าง ซาแน็กซ์ (Xanax), โคลโนพิน (Klonopin), หรือโลราซีแปม (Lorazepam) [30]
    • ยาทั้งหมดนี้จะต้องถูกสั่งจ่ายจากแพทย์หรือนักจิตเวชที่ได้รับการรับรองแล้วเท่านั้น ละควรรับประทานยาโดยตรงเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสุขภาพ
    • ถ้าคุณเป็นกังวลว่าตัวเองหรือคนที่รักเป็นโรคไบโพลาร์ ให้ไปรับการวินิจฉัยจากแพทย์หรือนักจิตเวช
    • ถ้าตัวคุณหรือคนที่รักมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย ให้รีบติดต่อเพื่อนสนิทที่ไว้ใจได้ทันที หรือโทรศัพท์ปรึกษากับสายด่วนสุขภาพจิตที่หมายเลข 1667 เพื่อขอคำแนะนำ [31]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าหากคุณเป็นพวกดื่มหนักหรือใช้ยาเสพติด นี่อาจจะก่อให้เกิดอารมณ์แปรปรวนคล้ายกับโรคไบโพลาร์ การหยุดหรือเลิกสิ่งเหล่านี้อาจช่วยได้
โฆษณา

คำเตือน

  • บทความนี้มีเจตนาเพียงเพื่อจะช่วยคุณตรวจดูถึงอาการที่เป็นไปได้ของโรคไบโพลาร์ มันไม่ได้ต้องการวินิจฉัยหรือรักษา ควรปรึกษาแพทย์หากคุณคิดว่าตัวคุณหรือคนที่คุณรักอาจเป็นโรคไบโพลาร์
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. http://www.webmd.com/bipolar-disorder/news/20050617/bipolar-disorder-more-common-than-expected
  2. Radu, D.A., Chirita, R., Untu, I., Sacuiu, I., Lupu, V.V., Ciubara, A., & Burlea, L.C. (2014). Bipolar disorder in children: diagnostical challenge. Revista Romana de Pediatrie, 58(2).
  3. Radu, D.A., Chirita, R., Untu, I., Sacuiu, I., Lupu, V.V., Ciubara, A., & Burlea, L.C. (2014). Bipolar disorder in children: diagnostical challenge. Revista Romana de Pediatrie, 58(2).
  4. http://www.webmd.com/bipolar-disorder/guide/bipolar-disorder-warning-signs
  5. http://www.nimh.nih.gov/health/topics/bipolar-disorder/index.shtml#part_145404
  6. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bipolar-disorder/basics/symptoms/con-20027544
  7. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bipolar-disorder/basics/symptoms/con-20027544
  8. American Psychiatric Association. (2013). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders: DSM-5. Washington DC: American Psychiatric Association.
  9. http://www.webmd.com/bipolar-disorder/guide/bipolar-disorder-warning-signs
  1. American Psychiatric Association. (2000). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (4th ed., text rev.). Washington, DC: Author.
  2. American Psychiatric Association. (2013). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders: DSM-5. Washington DC: American Psychiatric Association.
  3. American Psychiatric Association. (2000). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (4th ed., text rev.). Washington, DC: Author.
  4. http://psychcentral.com/disorders/bipolar-disorder-with-mixed-features/
  5. http://www.helpguide.org/mental/bipolar_disorder_symptoms_treatment.htm
  6. American Psychiatric Association. (2000). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (4th ed., text rev.). Washington, DC: Author.
  7. American Psychiatric Association. (2000). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (4th ed., text rev.). Washington, DC: Author.
  8. American Psychiatric Association. (2000). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (4th ed., text rev.). Washington, DC: Author.
  9. http://www.webmd.com/bipolar-disorder/guide/bipolar-2-disorder
  10. American Psychiatric Association. (2013). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders: DSM-5. Washington DC: American Psychiatric Association.
  11. American Psychiatric Association. (2000). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (4th ed., text rev.). Washington, DC: Author.
  12. American Psychiatric Association. (2000). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (4th ed., text rev.). Washington, DC: Author.
  13. American Psychiatric Association. (2013). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders: DSM-5. Washington DC: American Psychiatric Association.
  14. http://www.helpguide.org/mental/bipolar_disorder_symptoms_treatment.htm
  15. American Psychiatric Association. (2000). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (4th ed., text rev.). Washington, DC: Author.
  16. http://www.mayoclinic.com/health/bipolar-disorder/DS00356/DSECTION=symptoms
  17. American Psychiatric Association. (2000). Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (4th ed., text rev.). Washington, DC: Author.
  18. Young, L.T. (2004). What exactly is a mood stabilizer? Journal of Psychiatry and Neuroscience, 29(2), pp. 87-88.
  19. http://psychcentral.com/lib/mood-stabilizers-for-bipolar-disorder/00059
  20. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bipolar-disorder/basics/treatment/con-20027544
  21. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bipolar-disorder/basics/treatment/con-20027544
  22. http://www.mayoclinic.com/health/bipolar-disorder/DS00356/DSECTION=symptoms

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 93,385 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา