ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คนส่วนใหญ่มักจะมีความฝันในชีวิตและชอบมองไปในอนาคตว่าตัวเองอยากจะเป็นแบบไหนและอยากจะเป็นอะไร และอย่างน้อยทุกคนก็ต้องมีความสนใจและค่านิยมของตัวเองที่เป็นตัวกำหนดว่าพวกเขาต้องการอะไรในชีวิต อย่างไรก็ตาม การพยายามตั้งเป้าหมายที่ต้องใช้เวลานานหลายปีกว่าจะทำสำเร็จได้นั้นอาจจะทำให้คุณท้อใจไปก่อนก็ได้ และมันอาจจะเป็นเรื่องยากที่จะรู้ได้ว่าตัวเองควรจะเริ่มจากจุดไหนก่อน และสิ่งต่างๆ ที่คุณคาดหวังว่าจะทำให้สำเร็จนั้นก็อาจจะดูเป็นไปได้ยาก แต่ถ้าหากคุณเตรียมพร้อมมาอย่างดีแล้ว คุณก็อาจจะสามารถตั้งเป้าหมายชีวิตของคุณให้เป็นสิ่งที่เติมเต็มความต้องการของคุณเมื่อทำเป้าหมายนั้นสำเร็จได้แล้ว

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

พัฒนาเป้าหมายชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลายคนมักจะไม่ชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองต้องการในชีวิต ดังนั้น ในขั้นแรก หน้าที่ของคุณก็คือการปรับเปลี่ยนแนวคิดบางอย่าง เช่น “ความสุข” หรือ “ความมั่นคง” ให้กลายเป็นสิ่งที่คุณอยากจะทำ
    • หาปากกาและกระดาษมาสักแผ่น แล้วเขียนลงไปว่าอะไรคือสิ่งสำคัญในชีวิตคุณ มันไม่ผิดอะไร ถ้าคุณจะเขียนแบบทั่วๆ ไปก่อน ขอแค่ให้คุณพยายามมีความชัดเจนก็พอ
    • ตัวอย่างเช่น หากสิ่งแรกที่ผุดขึ้นมาในหัวคุณคือคำว่า “ความสุข” นั่นก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร ขอแค่ให้คุณพยายามทำให้มันชัดเจนก็พอ ลองถามตัวเองว่า คำว่า “ความสุข” มีความหมายยังไงสำหรับคุณ? ชีวิตแบบไหนที่คุณคิดว่าเป็นชีวิตที่มีความสุข? [1]
    • ลองคิดว่าคุณอยากมีชีวิตอย่างไรและมันต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อจะทำให้คุณได้สร้างความแตกต่างขึ้นในโลกนี้ ถ้าหากนั่นเป็นสิ่งที่คุณสนใจ
  2. หนึ่งวิธีที่ดีในการเริ่มเคลื่อนย้ายจากจุดทั่วไปเพื่อไปหาจุดที่มีความเฉพาะเจาะจงก็คือ การเขียนเกี่ยวกับตัวเองอย่างอิสระ โดยให้คุณเขียนถึงบุคลิกและความสนใจของตัวเอง เพราะนี่อาจจะช่วยให้คุณสามารถกำหนดได้ว่าอะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับตัวคุณ [3]
    • ลองเขียนว่าคุณชอบใช้เวลาไปกับเรื่องอะไร โดยให้เริ่มระดมความคิดออกมาด้วยการเขียนลิสต์ถึงสิ่งที่คุณชอบทำและสิ่งที่ทำให้คุณมีแรงกระตุ้นดู [3]
    • อย่าสร้างข้อจำกัดให้ตัวเองในการทำกิจกรรมหรือลิ้มลองประสบการณ์ต่างๆ ที่คุณคิดว่าเป็นประโยชน์หรือ “คุ้มค่าที่จะทำ” ซึ่งจุดประสงค์ในการระดมความคิดก็เพื่อที่จะให้คุณคิดไอเดียออกมาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะต่อไป ลิสต์ที่คุณทำเอาไว้จะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์สำหรับตัวคุณมากๆ
    • เขียนเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่คุณให้ความสนใจ และ/หรืออยากเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งนั้นอีก คุณสนใจในวิทยาศาสตร์หรือเปล่า? หรือสนใจวรรณกรรม? หรือว่าสนใจดนตรี? ไม่แน่นะ บางสิ่งบางอย่างที่คุณสนใจนี้ อาจจะเป็นเป้าหมายระยะยาวของชีวิตคุณไปเลยก็ได้
    • ให้คุณเขียนถึงสิ่งที่คุณอยากจะพัฒนาเกี่ยวกับตัวเอง คุณอยากจะพัฒนาทักษะการพูดในที่สาธารณะหรือเปล่า? หรืออยากจะพัฒนาทักษะในฐานะนักเขียน? หรือในฐานะช่างกล้องกันแน่? ซึ่งเราขอย้ำอีกครั้งว่า สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นเป้าหมายระยะยาวของชีวิตคุณไปเลยก็ได้
  3. ให้คุณลองคิดถึงอนาคตในอุดมคติของคุณว่ามันมีลักษณะแบบไหน และให้ถามตัวเองด้วยคำถามที่จะช่วยให้คุณได้เห็นถึงรายละเอียดของสิ่งที่ตัวเองนึกถึงอยู่ [4] ตัวอย่างเช่น ให้จินตนาการว่าคุณกำลังพยายามตัดสินใจเกี่ยวกับอาชีพที่จะทำในระยะยาว โดยอาจจะใช้คำถามต่อไปนี้เพื่อถามตัวเอง
    • คุณต้องการตื่นนอนตอนกี่โมงในทุกๆ เช้า?
    • คุณต้องการอาศัยอยู่ที่ไหน? ในเมือง? ในเขตชนบท? หรือต่างประเทศ?
    • จะต้องมีใครอยู่ที่นั่นบ้างเมื่อคุณตื่นขึ้นมา? การมีครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับคุณหรือเปล่า? ถ้าเป็นแบบนั้น อาชีพที่ต้องอาศัยการเดินทางออกนอกเมืองที่คุณอยู่บ่อยๆ อาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
    • คุณอยากจะทำเงินให้ได้มากเท่าไร?
    • คำตอบต่างๆ ที่ใช้ตอบคำถามเหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะชี้ให้คุณเห็นหนทางสู่งานที่ใฝ่ฝันไว้ได้ในทันที แต่มันก็ช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจอะไรบางอย่างได้บ้าง
  4. หลังจากที่คุณระดมความคิดของตัวเองออกมา นั่นแสดงว่าคุณก็คงจะมีไอเดียบางไอเดียเกี่ยวกับสิ่งที่คุณต้องการจะทำในชีวิตบ้างแล้ว ซึ่งจริงๆ คุณอาจจะมีสิ่งที่อยากทำมากมายหลายอย่าง ดังนั้น มันถึงเวลาแล้วที่คุณจะทำเป้าหมายเหล่านั้นให้มีความชัดเจนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ [6]
    • ตัวอย่างเช่น ในจุดนี้คุณอาจจะมีไอเดียว่าคุณอาจจะอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งนี่ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี แต่ให้คุณลองคิดตามไปด้วยว่าคุณอยากจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ในสาขาไหน คุณอยากจะเป็นนักเคมี? นักฟิสิกส์? หรือนักดาราศาสตร์กันแน่?
    • ให้คุณมีความชัดเจนกับเป้าหมายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การจินตนาการดูว่าคุณได้ตัดสินใจที่จะเป็นนักเคมีอาจจะเป็นเส้นทางที่เหมาะกับตัวคุณ และถ้าถึงจุดนี้ ให้คุณถามตัวเองว่างานประเภทไหนที่คุณต้องการทำในสาขานี้ คุณอยากจะทำงานด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับบริษัทเอกชนหรือไม่? หรือคุณอยากจะสอนเคมีในมหาวิทยาลัยหรือเปล่า?
  5. ในจุดนี้ คุณอาจจะเจอจุดที่ยากอีกจุดหนึ่งในการตั้งเป้าหมายชีวิต ดังนั้น ให้คุณทดสอบเป้าหมายเหล่านั้นและลองถามตัวเองว่า “ทำไมฉันต้องการสิ่งนั้นด้วยล่ะ?” คำตอบของคุณอาจจะนำไปสู่การทบทวนเป้าหมายของคุณใหม่อีกครั้ง [7] โดยทั่วไปแล้ว จงตั้งเป้าหมายที่มีความหมายต่อตัวคุณเพราะมันจะเกี่ยวข้องกับคุณค่าส่วนตัวที่จะทำให้คุณทำมันได้สำเร็จง่ายกว่า
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะตัดสินใจใส่คำว่า “เป็นศัลยแพทย์” ลงไปในลิสต์ จากนั้นคุณก็ถามตัวเองว่าทำไม และเหตุผลของคุณก็คือ การเป็นศัลยแพทย์นั้นได้เงินเยอะและเป็นที่นับหน้าถือตา ซึ่งนี่เป็นเหตุผลที่มีความชัดเจน แต่ถ้าหากคุณค้นพบว่านั่นคือเหตุผลเดียวของคุณจริงๆ คุณอาจจะต้องพิจารณาอาชีพอื่นๆ ที่สามารถให้ผลประโยชน์ในระดับเดียวกันได้ เพราะการจะเป็นศัลยแพทย์นั้น ต้องอาศัยการศึกษาจำนวนมาก และอาจจะต้องทำงานในช่วงเวลาที่ไม่เหมือนกับอาชีพทั่วไป หากสิ่งเหล่านี้ดูไม่น่าดึงดูดสำหรับคุณ ให้คุณลองพิจารณาเป้าหมายอื่นที่อาจจะสร้างผลประโยชน์ให้กับคุณได้เหมือนกับการเป็นศัลยแพทย์ ไม่ว่าจะในด้านรายได้หรือด้านความน่าเคารพนับถือ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

วางแผนเพื่อการบรรลุเป้าหมาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อคุณอยู่ในจุดที่ตัวเองมีเป้าหมายชีวิตไม่กี่เป้าหมาย (หรือมีหลายเป้าหมาย) มันถึงเวลาแล้วที่คุณจะต้องจริงจังเรื่องการวางแผนเพื่อการบรรลุเป้าหมาย ซึ่งสิ่งแรกที่คุณต้องทำก็คือ จัดลำดับความสำคัญให้กับเป้าหมายต่างๆ ของคุณ
    • การตัดสินใจว่าเป้าหมายไหนคือเป้าหมายที่สำคัญที่สุด จะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจได้ว่าควรจะเริ่มจากเป้าหมายไหนก่อน
    • ถึงจุดนี้ คุณอาจจะต้องตัดเป้าหมายบางอย่างออกไปจากลิสต์ เพราะเป้าหมายบางเป้าหมายนั้นไม่สามารถที่จะทำให้สำเร็จไปด้วยกันได้ ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะไม่สามารถเป็นหมอ เป็นนักบินอวกาศและเป็นแรปเปอร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปพร้อมๆ กันได้ เพราะเป้าหมายแต่ละอย่างอาจจะต้องใช้เวลาทั้งชีวิตกว่าจะทำให้สำเร็จได้ ดังนั้น การที่จะเป็นได้หมดทุกอย่างอาจจะเป็นไปไม่ได้เลย
    • เป้าหมายอื่นบางเป้าหมายอาจจะทำไปพร้อมๆ กันได้ ตัวอย่างเช่น หากคุณอยากจะผลิตเบียร์และอยากเปิดร้านอาหารเป็นของตัวเอง คุณอาจจะผสมผสานทั้งสองเป้าหมายนี้เพื่อสร้างเป้าหมายใหม่ขึ้นมาก็ได้ เช่น การเปิดโรงเบียร์
    • ส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดลำดับความสำคัญนี้จะเป็นในเรื่องของการประเมินความมุ่งมั่นส่วนตัวที่มีต่อเป้าหมายแต่ละเป้าหมาย เพราะแนวโน้มที่คุณจะบรรลุเป้าหมายระยะยาวอาจจะมีน้อยก็ได้ถ้าคุณมีความมุ่งมั่นแค่ในระดับปานกลางเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีเป้าหมายอื่นๆ ที่อยู่ในลิสต์ของคุณ มีความสำคัญกว่าเป้าหมายนั้น [10]
  2. เมื่อคุณได้ทำเป้าหมายให้แคบลงเหลือแค่เป้าหมายเดียวหรือเหลือไม่กี่เป้าหมายที่สามารถไปด้วยกันได้แล้ว ให้คุณใช้เวลาค้นหาวิธีทำเป้าหมายนั้นให้สำเร็จ [8] โดยคุณอาจจะต้องใช้คำถามต่อไปนี้เพื่อถามตัวเอง
    • คุณจำเป็นจะต้องเรียนรู้ทักษะอะไรบ้าง?
    • วุฒิการศึกษาแบบไหนที่มีความจำเป็น?
    • คุณจำเป็นต้องทำให้ตัวเองมีคุณสมบัติแบบไหนบ้าง?
    • คุณควรคาดหวังระยะเวลาที่ใช้ในการทำสิ่งนี้เอาไว้นานเท่าไร?
  3. การบรรลุเป้าหมายชีวิตนั้นเกือบจะถือได้ว่าเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลานานและมีความซับซ้อน และมันก็ขึ้นอยู่กับความรู้ที่คุณมีต่อสิ่งที่จะนำไปสู่เป้าหมายของคุณด้วย ซึ่งขั้นตอนต่อมาก็คือการแบ่งเป้าหมายใหญ่ออกเป็นเป้าหมายย่อย
    • การสร้างเป้าหมายย่อยจะทำให้คุณสามารถจัดการอะไรได้ง่ายขึ้น และช่วยทำให้คุณสามารถสร้างแผนการให้เป็นขั้นเป็นตอนเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายสูงสุดได้ [9]
    • ทำเป้าหมายย่อยเหล่านี้ให้สามารถนำมาวัดผลได้และทำให้เป็นรูปธรรมให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ พูดอีกแง่หนึ่งก็คือ คุณควรจะมีความชัดเจนต่อเป้าหมายย่อยแต่ละเป้าหมายที่จะทำให้การนำไปบอกเล่าต่อเป็นสิ่งที่ง่าย เมื่อใดก็ตามที่คุณทำเป้าหมายนั้นสำเร็จแล้ว [10]
    • ตัวอย่างเช่น หากเป้าหมายของคุณคือการเปิดร้านอาหารสักร้าน เป้าหมายย่อยของคุณก็อาจจะรวมถึงการเก็บสะสมเงินทุนสักก้อน หาสถานที่ ออกแบบตกแต่งภายใน ตกแต่งเฟอร์นิเจอร์ ทำประกัน ขอใบอนุญาตเปิดร้าน จ้างพนักงาน และสุดท้ายก็คือจัดงานฉลองเปิดร้าน
    • เมื่อกำลังพยายามทำเป้าหมายระยาวให้สำเร็จอยู่ แนวโน้มที่คุณจะรู้สึกว่าตัวเองไม่คืบหน้าไปไหนสักทีนั้นอาจจะมีสูงมาก แต่ถ้าคุณมีลิสต์ของเป้าหมายย่อยต่างๆ ที่สามารถจัดการควบคุมได้และมีความชัดเจนพอ แนวโน้มที่คุณจะเห็นความคืบหน้าของตัวเองก็จะมีมากขึ้น ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่ไม่ทำให้คุณยอมแพ้ไปเสียก่อน
    • พยายามแบ่งและวางกลยุทธสำหรับเป้าหมายระยะยาว (ปี), เป้าหมายระยะสั้น (เดือน), โครงการ (สัปดาห์), และงาน (วัน) โปรแกรมวางแผนที่ดีจะช่วยคุณให้ทำแผนการและวางระเบียบโครงการให้เป็นไปได้และช่วยคุณแจกแจงงานกับโครงการที่สำคัญที่สุดออกมาในทุกๆ วัน
  4. เมื่อคุณทำวิธีบรรลุเป้าหมายต่างๆ ให้ออกมาเป็นร่างแผนการแล้ว ให้คุณกำหนดเดดไลน์เอาไว้ด้วย และลองคิดดูว่าเป้าหมายย่อยแต่ละเป้าหมายควรจะต้องใช้เวลานานเท่าไร จากนั้นก็สร้างเส้นเวลาเพื่อการบรรลุเป้าหมายเหล่านั้น
    • การกำหนดเดดไลน์ให้ตัวเองจะทำให้คุณกระตุ้นตัวเองเพราะความรู้สึกเร่งรีบได้ และมันจะทำให้คุณมีความรับผิดชอบต่อการทำเป้าหมายแต่ละอย่างให้สำเร็จตามเวลาที่ตั้งไว้ มากกว่าที่จะปล่อยให้มันมาทำลิสต์ลำดับเป้าหมายของคุณพังไม่เป็นท่า [11]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณอยากจะเปิดร้านอาหาร และอยากจะมีเงินทุนสักประมาณ 350,000 บาทภายใน 3 ปี คุณอาจจะแบ่งย่อยๆ ออกเป็นประมาณเดือนละ 9,800 บาท เพราะนี่จะช่วยให้คุณเตือนตัวเองว่าต้องเก็บเงินให้ได้ทุกเดือน มากกว่าที่จะเอาเงินไปใช้กับเรื่องอื่น
  5. สุดท้าย ให้คุณลองจินตนาการถึงสิ่งต่างๆ ที่น่าจะทำให้แผนการของคุณมีปัญหาดู เพราะการคิดไปล่วงหน้าว่าตัวเองอาจจะต้องเจออุปสรรคอะไรบ้าง จะช่วยให้คุณสามารถพัฒนาไอเดียการรับมือกับอุปสรรคต่างๆ ได้ ถ้าหากอุปสรรคเหล่านั้นเกิดขึ้นมาจริงๆ [12]
    • ตัวอย่างเช่น ลองจินตนาการว่าคุณตัดสินใจที่จะเป็นนักวิจัยเคมี และคุณก็ตัดสินใจสมัครเรียนปริญญาโทในมหาวิทยาลัยที่เด่นในด้านวิชาเคมี จะมีอะไรเกิดขึ้นเมื่อคุณไม่ได้รับเลือกให้เข้าเรียน? คุณจะไปสมัครเรียนที่อื่นหรือเปล่า? ถ้าเป็นแบบนั้น คุณอาจจะต้องสมัครที่อื่นด้วยก่อนที่คุณจะรู้ว่ามหาวิทยาลัยที่คุณเลือกเป็นอันดับหนึ่งนั้นรับคุณเข้าเรียนหรือเปล่า หรือไม่คุณก็อาจจะคิดว่ามันน่าจะดีกว่า ถ้าคุณรอจนถึงปีต่อไปแล้วค่อยสมัครเรียนใหม่อีกครั้งหนึ่ง ถ้าเป็นแบบนั้น ในช่วงเวลาระหว่างที่คุณรอจนถึงปีหน้า คุณจะทำใบสมัครของคุณให้ดูน่าสนใจมากขึ้นกว่าเก่ายังไง?
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

มุ่งเดินหน้าเข้าสู่เป้าหมาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่ว่าเป้าหมายของคุณจะเป็นอะไร จำไว้ว่าสภาพแวดล้อมบางอย่างนั้นมีผลดีต่อการทำเป้าหมายต่างๆ ให้สำเร็จมากกว่าสภาพแวดล้อมบางแบบ ดังนั้น ให้คุณทำยังไงก็ได้เพื่อทำให้ตัวเองแน่ใจว่าผู้คนและพื้นที่รอบๆ ตัวคุณไม่ได้สร้างอุปสรรคให้กับคุณ [13]
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังจะเรียนแพทย์ คุณก็จะต้องอ่านหนังสือเป็นเวลาหลายชั่วโมงและต้องโฟกัสกับสิ่งที่คุณทำ แต่ถ้าหากคุณอาศัยอยู่กับเพื่อนที่ปาร์ตี้อยู่ตลอดเวลาและชอบยุให้คุณทำแบบพวกเขา คุณอาจจะต้องพิจารณาเรื่องการย้ายออกไปอยู่ที่อื่นแล้วล่ะ
    • การล้อมรอบตัวเองด้วยผู้คนที่มุ่งเน้นการทำเป้าหมายของตัวเองให้สำเร็จนั้น สามารถช่วยให้คุณมีความรับผิดชอบต่อเป้าหมายและสร้างแรงกระตุ้นให้ตัวเองได้
  2. ให้คุณเลือกวันเวลาที่จะเริ่มทำเป้าหมายย่อยอย่างแรกบนลิสต์ของคุณก่อน จากนั้นก็ลุยเลย!
    • หากคุณไม่แน่ใจว่าจะทำเป้าหมายย่อยอย่างแรกให้สำเร็จได้อย่างไร แสดงว่าเป้าหมายนั้นมีความยุ่งยากซับซ้อนเกินกว่าจะเป็นเป้าหมายย่อยอย่างแรกของคุณ และถ้าหากคุณไม่สามารถกำหนดวิธีการแรกเพื่อไปยังเป้าหมายนั้นได้ คุณอาจจะต้องค้นหาข้อมูลต่างๆ ให้มากขึ้นและ/หรือแบ่งเป้าหมายย่อยนั้นออกเป็นส่วนย่อยอีกทีหนึ่ง
    • กำหนดวันที่ที่จะเริ่มต้น อย่างน้อยก็สองสามวันหลังจากนั้น ซึ่งถ้าหากมันเป็นเป้าหมายที่คุณรู้สึกตื่นเต้นที่จะทำ ความมุ่งหวังของคุณก็จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้คุณสามารถสร้างแรงผลักดันและสร้างความกระตือรือร้นให้กับก้าวแรกของตัวเองได้ [14]
    • นอกจากนี่คุณยังสามารถใช้เวลาว่างเพื่อปรับแผนและหาคำแนะนำหรือตัวช่วยต่างๆ ที่จำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมาย ก่อนที่คุณจะเริ่มต้นในขั้นแรก
  3. เมื่อคุณได้เริ่มต้นแล้ว กุญแจสำคัญในการบรรลุเป้าหมายก็คือ พยายามทำตามเป้าหมายอย่างต่อเนื่องและคงเส้นคงวา เพราะนี่คือกระบวนการที่เป็นไปทีละขั้นตอน และจะต้องกินระยะเวลานาน ดังนั้น การคอยสร้างความคืบหน้าให้ตัวเองอยู่เรื่อยๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ
    • หลายคนชอบตั้งเป้าหมายต่างๆ ไว้และก็เดินหน้าทำตามเป้าหมายนั้นด้วยความกระตือรือร้น รวมถึงทุ่มเทเวลามากมายและทุ่มพลังงานของตัวเองไปกับเป้าหมายในช่วงแรกๆ อย่างสุดตัว จริงอยู่ที่ความกระตือรือร้นนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่คุณก็ไม่ควรทุ่มสุดตัวในช่วงอาทิตย์หรือเดือนแรกๆ นอกจากนี้ คุณก็ไม่จำเป็นต้องตั้งมาตรฐานที่คุณไม่สามารถดำเนินชีวิตไปตามมาตรฐานนั้นในระยะยาวได้ จำไว้ว่า คุณทำสิ่งนี้เพื่อผลในระยะยาว และนี่ก็ไม่ใช่การแข่งขัน แต่มันคือการเดินทางของชีวิตคุณ [15]
    • วิธีที่ดีวิธีหนึ่งที่จะสร้างความมั่นใจว่าตัวเองจะสามารถสร้างความคืบหน้าได้ก็คือ การกำหนดเวลาให้กิจวัตรประจำวันเพื่อทำตามเป้าหมาย [16] ตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังศึกษาเรียนรู้เพื่อที่จะเป็นนักเคมี ให้คุณกำหนดเวลาที่แน่นอนในแต่ละวันไว้สำหรับทำการบ้านเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมาเช่น ตั้งแต่บ่าย 3 โมงจนถึง 1 ทุ่ม และให้คุณกำหนดช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของวันไว้สำหรับพัฒนางานวิจัยของตัวเองโดยเฉพาะ อาจจะเป็นช่วง 1 ทุ่มครึ่งถึง 3 ทุ่มก็ได้ โดยพยายามใช้ช่วงเวลานี้เพื่อทำตามจุดประสงค์ที่วางไว้ให้ได้เหมือนกันทุกวัน ยกเว้นว่าคุณจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตารางเวลาจริงๆ เพราะในช่วงเวลา 3 ทุ่ม คือช่วงเวลาที่ควรจะหยุดทำงานและควรจะทำอะไรที่เป็นการพักผ่อนได้แล้ว
    • จำไว้ว่าการที่จะทำเป้าหมายบางอย่างให้สำเร็จได้นั้น มันไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะทุ่มเทเวลาและใช้ความพยายามให้มากๆ ซึ่งการทุ่มเทเวลาและใช้ความพยายามอย่างหนักคือวิธีที่จะทำให้คุณสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ [17]
  4. เพราะความต่อเนื่องคือสิ่งสำคัญ มันจึงจำเป็นมากที่คุณจะต้องคอยสร้างแรงผลักดันให้ตัวเองอยู่เรื่อยๆ
    • การมีเป้าหมายย่อยที่ดูมีความเป็นไปได้คือสิ่งจำเป็นต่อแรงกระตุ้นของคุณ เพราะมันจะทำให้คุณมีความกระตือรือร้นและมีความมุ่งมั่นได้ง่ายกว่า ถ้าหากคุณรู้สึกว่าตัวเองได้พัฒนาความคืบหน้าอยู่เรื่อยๆ [21]
    • ให้คุณใช้การเสริมแรงเพื่อสร้างแรงจูงใจ เพราะการเสริมแรงบวกคือการเพิ่มสิ่งดีๆ บางอย่างให้กับชีวิต ส่วนการเสริมแรงในเชิงลบคือการเอาบางสิ่งบางอย่างที่ไม่เป็นที่ต้องการออกไปจากชีวิตคุณ ซึ่งทั้งสองอย่างนี้จะช่วยให้คุณสามารถคอยกระตุ้นตัวเองได้อยู่ตลอดเวลา หากคุณกำลังพยายามที่จะโฟกัสอยู่กับการกรอกแบบฟอร์มขออนุญาตเปิดร้านอาหาร และสังเกตว่าตัวเองเริ่มที่จะวอกแวก ให้คุณเสนอของรางวัลให้ตัวเอง โดยหลังจากที่คุณกรอกแบบฟอร์มขออนุญาตเสร็จแล้ว คุณอาจจะให้รางวัลตัวเองด้วยการนวดนำมันจากมืออาชีพก็ได้ หรือไม่ก็อาจจะสร้างแรงกระตุ้นให้มากขึ้นด้วยการอนุญาตให้ตัวเองไม่ต้องทำงานบ้านสักหนึ่งครั้งก็ได้ เพราะไม่ว่าจะด้วยวิธีไหน การสร้างแรงเสริมก็ช่วยให้คุณสามารถไปต่อกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้เรื่อยๆ [19]
    • การลงโทษตัวเองเมื่อล้มเหลวในการบรรลุเป้าหมายย่อยบางอย่าง ไม่ใช่สิ่งที่มีประสิทธิภาพเท่ากับการสร้างแรงเสริมให้เกิดพฤติกรรมดีๆ หรอก หากคุณตัดสินใจที่จะสร้างบทลงโทษให้กับตัวเองแล้ว ก็ดูให้แน่ใจด้วยว่าคุณเลือกใช้วิธีให้ของรางวัลตัวเองด้วยเหมือนกัน [20]
  5. วิธีที่ดีวิธีหนึ่งที่จะทำให้ตัวเองมีแรงกระตุ้นอยู่ตลอดเวลาคือการคอยติดตามความคืบหน้าของตัวเองและคอยเช็คอยู่เป็นประจำ ซึ่งวิธีที่คุณใช้ติดตามความคืบหน้าจะขึ้นอยู่กับเป้าหมายและความชอบส่วนตัวของคุณ โดยคุณอาจจะใช้แอปฯ ไดอารี่ หรือปฏิทินในการบันทึกความคืบหน้าของตัวเองก็ได้
    • สิ่งนี้จะช่วยเตือนความจำว่าคุณทำเป้าหมายย่อยอะไรสำเร็จไปแล้วบ้าง นอกจากนี้ยังช่วยทำให้คุณมีความรับผิดชอบต่อเป้าหมายที่ตัวเองกำหนดไว้ตามตารางด้วย [21]
    • การเขียนไดอารี่เป็นประจำนั้น สามารถช่วยลดความเครียดและความกังวลที่อาจจะเกิดขึ้นมาระหว่างที่คุณกำลังพยายามทำเป้าหมายในระยะยาวให้สำเร็จอยู่ได้ [22]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เป้าหมายต่างๆ มักจะเปลี่ยนแปลงไปตามประสบการณ์ชีวิต ดังนั้น ให้คุณพยายามพิจารณาเป้าหมายต่างๆ ของตัวเองด้วยสติอยู่เสมอ แทนที่จะเดินตามเส้นทางเดิมที่คุณตัดสินใจไว้ก่อนหน้านี้แล้วเป็นปีๆ ไปแบบสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะมันไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไรถ้าคุณจะปรับเปลี่ยนแก้ไขเป้าหมายของตัวเอง
โฆษณา

คำเตือน

  • หลีกเลี่ยงการสร้างเป้าหมายที่เป็น “ด้านลบ” เพราะมันเป็นเป้าหมายที่ต้องโฟกัสไปในสิ่งที่คุณไม่ชอบทำแทนที่จะโฟกัสในสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกตื่นเต้นที่จะทำตามเป้าหมายนั้น [23] ตัวอย่างเช่น เป้าหมายของการ “หยุดเดินเข้าหาความสัมพันธ์แย่ๆ “ นั้นมีประสิทธิภาพน้อยกว่าเป้าหมายของการ “ค้นหาความสัมพันธ์ที่จะมาเติมเต็มชีวิตคุณ”
โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Morisano, D., Hirsh, J. B., Peterson, J. B., Pihl, R. O., & Shore, B. M. (2010). Setting, elaborating, and reflecting on personal goals improves academic performance. Journal of Applied Psychology, 95(2), 255.)
  2. Morisano, D., Hirsh, J. B., Peterson, J. B., Pihl, R. O., & Shore, B. M. (2010). Setting, elaborating, and reflecting on personal goals improves academic performance. Journal of Applied Psychology, 95(2), 255.)
  3. http://www.fastcompany.com/3029765/work-smart/how-to-set-goals-for-the-life-you-actually-want
  4. http://www.mindtools.com/page6.html
  5. Austin, J. T., & Vancouver, J. B. (1996). Goal constructs in psychology: Structure, process, and content. Psychological Bulletin, 120, 338 –375.
  6. Brunstein, J. C. (1993). Personal goals and subjective well-being: A longitudinal study. Journal of Personality and Social Psychology, 65, 1061–1070.
  7. Koestner, R., Lekes, N., Powers, T. A., & Chicoine, E. (2002). Attaining personal goals: Self-concordance plus implementation intentions equals success. Journal of Personality and Social Psychology, 83, 231–244.
  8. http://www.lifecoach-directory.org.uk/blog/2014/06/30/rediscover-your-motivation-and-set-achievable-goals-with-life-coach-directory/
  9. http://us.reachout.com/facts/factsheet/putting-your-goals-into-action

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 32,499 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา