ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การควบคุมหรือวางแผนชีวิตของตัวเองนั้นถือว่าเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งของชีวิตเลยก็ว่าได้ เพราะมันคือการที่คุณตัดสินใจในสิ่งที่ตัวเองต้องการ และมองหาว่าสิ่งใดสำคัญต่อตัวคุณ รวมถึงวางแผนที่จะทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้จนทำให้คุณสามารถใช้ชีวิตของตัวเองได้อย่างเต็มที่ ถ้าเป็นอย่างงั้น คุณลองมาเรียนรู้วิธีการวางแผนชีวิตของตัวเองดูสิ คุณจะได้สามารถทำตามเป้าหมายและความต้องการของตัวเองได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ทำวิสัยทัศน์ของตัวเองให้ชัดเจน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การวางแผนให้ชีวิตตัวเองนั้นอาจจะเป็นงานที่ดูน่ามึนงงสำหรับคุณ เพราะว่าเวลาที่คุณกำลังจะวางแผนให้ชีวิต มันมักจะมีด้านต่างๆ มากมายของชีวิตที่คุณต้องเอามาพิจารณาหรือตัดสินใจ และเพื่อที่จะได้ไอเดียว่าตัวเองอยากจะให้อนาคตเป็นแบบไหน มันจะช่วยได้มากหากคุณใช้เวลาสักพัก ค้นหาว่าอะไรคือสิ่งที่มีความหมายสำหรับคุณและสามารถที่จะมาเติมเต็มให้กับชีวิตคุณได้ ซึ่งก็มีคำถามบางประเภทที่จะช่วยให้คุณคิดได้ว่าตัวคุณเองอยากจะให้ชีวิตเป็นไปในทิศทางไหน โดยตัวอย่างคำถามเหล่านั้น มีดังนี้ [1]
    • สำหรับคุณนั้น ความสำเร็จมีลักษณะแบบไหน? ใช่ตำแหน่งทางหน้าที่การงานที่มั่งคงหรือจำนวนเงินที่ได้หรือเปล่า? ใช่การที่ตัวเองสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ออกมาหรือไม่? หรือใช่การมีครอบครัวเป็นของตัวเองหรือเปล่า?
    • ชีวิตของคุณจะเป็นยังไง หากคุณมีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงมันเดี๋ยวนั้น? ในตอนนั้นคุณจะอยู่ที่ไหน? คุณจะทำอาชีพอะไร? คุณจะใช้เวลาของตัวเองยังไง? และคุณจะใช้เวลาอยู่กับใคร?
    • คุณชื่นชอบชีวิตของใครเป็นการส่วนตัว? เส้นทางชีวิตในลักษณะไหนของพวกเขาที่มาดึงดูดความสนใจในตัวคุณ?
  2. สร้างคำกล่าวเชิงวิสัยทัศน์เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางให้กับตัวเอง. เมื่อคุณได้ถามตัวเองและวิเคราะห์ตัวเองจนรู้แล้วว่าสิ่งใดมีความหมายสำหรับตัวคุณบ้าง ให้คุณเขียนคำตอบของตัวเองลงกระดาษด้วยรูปแบบของประโยคที่เป็นคำกล่าวเชิงวิสัยทัศน์ที่สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางให้กับตัวเองได้ โดยให้คุณเขียนคำกล่าวเหล่านั้นให้ดูเหมือนกับว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ราวกับว่าคุณได้ทำสิ่งเหล่านั้นสำเร็จแล้ว [2]
    • ตัวอย่างของคำกล่าวเชิงวิสัยทัศน์ก็อย่างเช่น ชีวิตของฉันประสบความสำเร็จก็เพราะว่าฉันเป็นเจ้านายตัวเอง ในทุกๆ วันฉันรู้สึกถึงความเป็นอิสระ และฉันได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตัวเอง นอกจากนี้ฉันได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัวด้วย
    • เนื่องจากว่าการวางแผนให้ชีวิตตัวเองในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้น อาจจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก แต่คุณสามารถใช้ประโยคคำกล่าวเหล่านี้มาเป็นหลักการหรือแนวทางให้กับตัวเอง ในขณะที่คุณกำลังพยายามที่จะร่างแผนชีวิตให้ตัวเองอยู่ และจำไว้เสมอว่าไม่ว่าจะเป็นงาน สถานที่ หรือเป้าหมายอะไรก็แล้วแต่ มันมักจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตราบใดที่วิสัยทัศน์ที่เป็นแนวทางของคุณหรือสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณยังอยู่ในขั้นตอนของการทำให้สำเร็จอยู่ [3]
  3. แผนของคุณอาจจะไม่เป็นไปอย่างราบรื่นนัก เพราะไม่ค่อยมีอะไรเกิดขึ้นตามที่ได้วางแผนหรือคาดการณ์ไว้หรอก และชีวิตนั้นก็มักจะเต็มไปด้วยเส้นโค้ง ทิศทางที่สลับสับเปลี่ยน และโอกาสใหม่ๆ มากมาย นอกจากนี้ชีวิตก็ยังเต็มไปด้วยความล้มเหลวเช่นกัน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องยอมแพ้นะ เพราะฉะนั้น เตรียมตัวให้พร้อมที่จะลงมือทำไปทีละก้าว และเรียนรู้จากการกระทำและประสบการณ์ที่ได้มาในขณะที่คุณกำลังเดินทางเข้าใกล้เป้าหมาย [4]
    • ในบางครั้งมันก็อาจจะมีบ้างที่ชีวิตคุณจะเดินไปเจอทางตัน คุณอาจจะไปลงเอยกับงานที่คุณคิดว่ามันน่าจะนำพาคุณไปยังที่ๆ ดีกว่าเดิม แต่จริงๆ มันกลับไม่ได้พาคุณไปไหนเลย หรือไม่ความสัมพันธ์หรือครอบครัวของคุณก็อาจจะมาดึงคุณให้ออกจากเส้นทางสู่เป้าหมายอยู่พักหนึ่ง แต่ขอแค่ให้คุณจำไว้ว่ามันไม่มีกำหนดเวลาตายตัวหรอก เพราะฉะนั้น ให้คุณค่อยๆ พัฒนาเส้นทางสู่เป้าหมายและเรียนรู้จากทุกอุปสรรคหรือทางตันที่คุณเจอ รวมถึงเรียนรู้จากการพัฒนาครั้งใหม่ในชีวิตตัวเองด้วย
  4. ในบางทีคุณอาจจะยังไม่เจองาน สถานที่ หรือโอกาสที่ยอดเยี่ยม ซึ่งถ้านี่เป็นปัญหาที่คุณกำลังมีอยู่ คุณจะต้องสร้างโอกาสพวกนั้นให้กับตัวของคุณเอง แม้ว่าบางทีการทำแบบนั้นจะไม่ใช่ส่วนหนึ่งของแผนเดิมก็ตาม ซึ่งการทำความเข้าใจว่าคุณอาจจะต้องทำเป้าหมายให้เป็นจริงด้วยตัวเองในขณะที่กำลังวางแผนชีวิตนั้น จะช่วยทำให้คุณได้เตรียมใจพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังเดินทางเข้าสู้เป้าหมาย [5]
    • ตัวอย่างเช่น หากในคำกล่าวเชิงวิสัยทัศน์ของคุณคือ คุณต้องการจะเป็นเจ้านายตัวเอง นี่อาจจะหมายถึงการสอนในโรงเรียนสอนเต้นรำ หรือเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทใหญ่ก็ได้ ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ตอบโจทย์ความรู้สึกที่ต้องการจะเป็นอิสระที่อยู่ลึกๆ ภายในตัวได้เป็นอย่างดี และที่เป็นแบบนั้นก็เพราะว่าคุณได้เป็นเจ้านายตัวเองนั่นเอง
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

สร้างแผนชีวิตให้ตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แผนชีวิต คือ แผนที่มีหลักการและถูกเขียนออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งคุณสามารถนำไปใช้เพื่อวางแผนให้กับด้านต่างๆ ของชีวิตได้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของอาชีพการงาน สถานที่ๆ คุณอาศัยอยู่ คนที่คุณเกี่ยวข้องด้วย และวิธีการใช้เวลาของตัวเอง ซึ่งการเขียนแผนชีวิตนั้นจะช่วยทำให้คุณสามารถระบุได้ว่ามีด้านไหนของชีวิตตัวเองบ้างที่คุณต้องการจะเปลี่ยนแปลง หรือต้องการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย [6]
    • แผนชีวิตอาจจะช่วยทำให้คุณมองเห็นชีวิตตัวเองในทางที่แตกต่างออกไป และการได้เห็นมุมต่างๆ ของสิ่งเหล่านั้นจากแผ่นกระดาษอาจจะช่วยคุณจัดลำดับความสำคัญและปรับปรุงไอเดียต่างๆ ของตัวเองได้
    • การเขียนแผนชีวิตของตัวเองลงกระดาษนั้น อาจจะช่วยให้คุณมองเห็นเป้าหมายต่างๆ ที่มีความคล้ายกัน และมองเห็นความต้องการที่ตัวเองมี หรือแก้ไขปรับปรุงสิ่งที่ไม่เหมาะหรือไม่เข้ากับแผนชีวิตของตัวเองได้
  2. ดูว่าคุณต้องการจะปรับเปลี่ยนส่วนไหนของชีวิตตัวเอง. การมีแผนชีวิตของตัวเองนั้นไม่ได้หมายความว่า คุณจะต้องเปลี่ยนแปลงทุกด้านของชีวิตไปซะเดี๋ยวนั้นเลย แต่จริงๆ แล้วมันหมายถึงจุดเริ่มต้นที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ต่างหาก ซึ่งบางทีอาจจะมีหลายด้านในชีวิตคุณที่คุณพอใจแล้ว เช่น สถานที่ๆ คุณอาศัยอยู่ แต่ก็อาจจะยังมีบางด้านของชีวิตที่คุณต้องการจะปรับเปลี่ยน เช่น การหาอาชีพที่ตรงใจของตัวเองมากกว่าเดิม และนอกจากนี้ก็อาจจะมีอีกหลายด้านของชีวิตที่คุณต้องการจะวางแผนอีก แต่ถ้าหากคุณอยากจะเริ่มต้นปรับเปลี่ยนบางอย่าง ให้คุณพยายามเลือกส่วนที่ดูสำคัญสำหรับตัวคุณที่สุดมา 1 อย่างก็พอ [7]
    • ตัดสินใจว่าด้านไหนของชีวิตที่คุณต้องการจะเริ่มต้นปรับเปลี่ยน เช่น อาชีพ กลุ่มสังคม งานอดิเรก หรืออื่นๆ ซึ่งตัวอย่างของด้านต่างๆ ในชีวิตที่คุณอาจจะอยากเปลี่ยนก็อาจจะมีทั้งในด้านการงาน การศึกษา หรือรายได้และการวางแผนทางการเงิน หรืออาจจะเป็นในด้านของทัศนคติ มุมมองชีวิต การสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ หรือเป้าหมายของการพักผ่อน หรือไม่ก็อาจจะเป็นในด้านของครอบครัวและเพื่อน การวางแผนสำหรับลูกๆ การสนับสนุนทางสังคมที่มีอย่างแน่นหนา หรือการเป็นอาสาสมัครให้กับกิจกรรมที่มุ่งเน้นการช่วยเหลือคนอื่น หรือบางทีก็อาจจะเป้าหมายด้านร่างกายและสุขภาพก็ได้ [8]
    • ถามตัวเองว่าจะมีอะไรดีๆ ตามมาบ้างหากคุณปรับเปลี่ยนด้านหนึ่งของชีวิตตัวเองไป คุณจะได้ชัดเจนกับตัวเองว่าทำไมคุณถึงเลือกที่จะเปลี่ยนแปลงด้านนั้นของชีวิต
    • ถามตัวเองว่าการเปลี่ยนแปลงในด้านไหนเป็นสิ่งที่ยากที่สุดสำหรับคุณ เมื่อคุณรู้แล้วว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งที่ยากที่สุด คุณก็จะสามารถเตรียมความพร้อมให้ตัวเองเมื่อคุณต้องพบเจอกับความยากลำบากเหล่านั้นได้ ตัวอย่างเช่น สำหรับตัวคุณ ส่วนที่ยากที่สุดของการปรับเปลี่ยนด้านหนึ่งของชีวิตก็คือการเริ่มต้นนั่นเอง และถ้าหากคุณรู้แล้วว่านี่คือสิ่งที่ยากที่สุดสำหรับคุณ คุณก็จะสามารถขอแรงสนับสนุนจากคนอื่นให้มาช่วยคุณเริ่มต้นอีกแรงได้
  3. การมีเครือข่ายสนับสนุนหรือมีคนคอยช่วยคุณเมื่อคุณต้องการนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เมื่อใดก็ตามที่คุณกำลังพยายามที่จะปรับเปลี่ยนชีวิตตัวเอง ซึ่งส่วนหนึ่งของการวางแผนปรับเปลี่ยนชีวิตก็คือ ต้องรู้ว่าใครที่คุณจะสามารถขอความช่วยเหลือหรือขอการสนับสนุนเมื่อต้องเจอกับความยากลำบาก ดังนั้น บอกกับคนที่คุณสนิทที่สุดเกี่ยวกับแผนชีวิตคุณ และบอกกับพวกเขาว่าคุณต้องการจะปรับเปลี่ยนอะไร โดยให้เขียนลิสต์ชื่อคนรู้จักของคุณที่คุณคิดว่าตัวเองสามารถพึ่งพาได้หากต้องเจอกับอุปสรรคบางอย่าง [9]
    • รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่คุณจะปรับเปลี่ยนในชีวิตให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยให้คุณลองฟังเรื่องราวความสำเร็จจากคนอื่น หรือมีส่วนร่วมในกลุ่มที่มีเป้าหมายในการพัฒนาตนเองและพัฒนาความสำเร็จ และถามคนอื่นๆ ว่าพวกเขาใช้วิธีการอะไรในการวางแผนหรือปรับเปลี่ยนชีวิต และถามพวกเขาว่าตัวคุณเองควรจะเตรียมการตั้งรับต่ออุปสรรคแบบไหนไว้
  4. สำหรับแผนชีวิตบางแผนและการปรับเปลี่ยนในบางสิ่งบางอย่างนั้น คุณจำเป็นต้องมีแหล่งข้อมูลเพื่อที่คุณจะได้เริ่มต้นทำแผนการแต่ละขั้นให้สำเร็จตามเป้าหมายได้ ซึ่งบางทีคุณอาจจะต้องซื้อหนังสือ ตั้งงบประมาณ เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ หรืออาสาช่วยคนอื่นๆ และนอกจากนี้คุณอาจจะต้องหาวิธีที่จะเอาชนะอุปสรรคบางอุปสรรคด้วย ซึ่งหลังจากที่คุณได้วิเคราะห์แล้วว่าตัวเองต้องการที่จะเริ่มต้นจากตรงไหนบ้าง ให้คุณวางแผนขั้นตอนต่างๆ ที่จะนำพาคุณไปยังแผนชีวิตอย่างที่ตั้งใจไว้ [10]
    • ตัวอย่างเช่น หากในแผนชีวิตของคุณนั้นมีเรื่องของการมีสุขภาพที่ดี ขั้นตอนแรกที่คุณอาจจะต้องทำก็คือ ศึกษาเกี่ยวกับอาหารหรือวิธีการทำอาหารที่มีผลดีต่อสุขภาพ จากนั้นก็ตัดสินใจกินผักอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้ทุกวัน โดยคุณจะต้องเริ่มทำตามเป้าหมายไปอย่างช้าๆ ก่อน เพื่อที่คุณจะได้ไม่หมดเรี่ยวแรงและรู้สึกตัน
    • อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ หากคุณอยากจะมีแผนชีวิตที่ส่งผลทำให้คุณกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น คุณจะต้องวิเคราะห์แหล่งข้อมูลที่คุณต้องใช้ในการบรรลุเป้าหมายนั้นอย่างเช่น หนังสือที่เกี่ยวกับโภชนาการอาหาร การจัดงบสำหรับไว้ซื้อของต่างๆ จากร้านขายของ และที่สำคัญช่วยเหลือครอบครัวของตัวเองด้วย เพราะการปรับเปลี่ยนการซื้อของในร้านขายของนั้นต้องมีผลกระทบต่อพวกเขาอยู่แล้ว
  5. รับมือเมื่อชีวิตไม่ได้เป็นไปตามแผนที่วางไว้. การวางแผนชีวิตนั้นเป็นวิธีที่ดีในการสร้างความชัดเจนให้กับสิ่งที่ตัวเองต้องการและวิธีการที่คุณจะได้มันมา แต่ก็มีบ่อยครั้งที่เราไม่สามารถคาดเดาชีวิตได้ และมันก็ไม่ยอมเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ดังนั้น คุณจำเป็นต้องฝึกทักษะการรับมือเอาไว้ คุณจะได้มีความสามารถในการรับมือกับสิ่งที่ผิดพลาดและตั้งต้นเดินทางเข้าหาเป้าหมายอีกครั้งได้ [11]
    • คุณอาจจะลองใช้การมุ่งแก้ไขปัญหา (problem-focused coping) ดูก็ได้ ซึ่งนี่จะเกี่ยวข้องกับความสามารถในการมองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีอคติ และเข้าใจว่าส่วนไหนที่มีปัญหา และจากนั้นก็วางแผนแก้ปัญหาที่ตัวเองเจอ ซึ่งในกระบวนการนี้จะรวมไปถึงการที่คุณรู้ตัวเลือกที่ตัวเองมี การรวบรวมข้อมูล การควบคุมสถานการณ์ และลงมือทำแผนการที่วางไว้ให้เป็นผล
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังทำให้ตัวเองเป็นคนมีสุขภาพดีตามแผนที่ได้วางเอาไว้ แต่หลังจากนั้นกลับมีผลวินิจฉัยออกมาว่าคุณเป็นโรคเบาหวาน คุณก็เลยตัดสินใจใช้การมุ่งแก้ไขปัญหาเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่นี้ และก็ศึกษาเกี่ยวกับโรคเบาหวาน อาหารการกิน และเครื่องมือตรวจสอบอาการของโรคเพื่อที่จะช่วยให้คุณดำเนินแผนชีวิตเดิมต่อไปได้
    • อีกวิธีหนึ่งที่ใช้ได้ก็คือการมุ่งปรับอารมณ์ (emotion-focused coping) ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ทำให้คุณสามารถรับมือกับผลกระทบทางอารมณ์ที่เกิดจากสถานการณ์ที่ไม่ได้คาดการณ์เอาไว้
    • ตัวอย่างเช่น การได้รู้ว่าตัวเองเป็นโรคเบาหวานอาจจะทำให้คุณมีการตอบสนองในทางอารมณ์อย่างเช่น กลัว ร้อนใจ หรือโมโห ซึ่งการรับมือกับอารมณ์เหล่านี้ก็อาจะเป็น การปรึกษากับเพื่อนหรือคนในครอบครัว การลดความเครียดด้วยการจำกัดภาระงานของตัวเอง และจดบันทึกความรู้สึกของตัวเองเพื่อที่จะได้เข้าใจสิ่งต่างๆ มากขึ้น
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ตั้งเป้าหมาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การวางเป้าหมายเป็นทักษะสำคัญที่คนที่ประสบความสำเร็จหลายคนนำมาใช้ในการสร้างแรงผลักดันให้กับตัวเอง การตั้งเป้าหมายนั้นจะเปิดโอกาสให้คุณโฟกัสอยู่กับการทำงานบางอย่างให้สำเร็จ ในขณะเดียวกันก็ช่วยทำให้คุณสามารถจัดระเบียบสิ่งต่างๆ ที่คุณต้องใช้เพื่อที่จะทำเป้าหมายของตัวเองให้สำเร็จได้ [12]
    • หนึ่งในส่วนที่ดีที่สุดของการตั้งเป้าหมายและทำเป้าหมายให้สำเร็จได้ก็คือ การที่คุณรู้สึกมั่นใจในตัวเองมากขึ้น และรับรู้ความสามารถของตัวเองเมื่อใดก็ตามที่คุณได้ทำเป้าหมายของตัวเองให้ลุล่วงได้
  2. การตั้งเป้าหมายนั้นเป็นวิธีที่ดีที่จะช่วยส่งเสริมแผนชีวิตของคุณ และทำให้คุณสามารถทำเป้าหมายหรือก้าวต่างๆ ให้มีความเฉพาะเจาะจง (S = specific) สามารถวัดผลได้ (M = measurable) สามารถทำให้บรรลุผลได้ (A = assignable) ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง (R = realistic) และมีขอบเขตของเวลา (T = time bound) ซึ่งการใช้วิธีการตั้งเป้าหมายแบบ SMART เพื่อที่จะได้เข้าใจว่าคุณอยู่ไกล้หรือไกลจากเป้าหมายแค่ไหนแล้วนั้น ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญในการวางเป้าหมาย
    • หากเป้าหมายของคุณคือการทำให้สุขภาพดีขึ้น อย่าพูดแค่ว่าฉันจะกินผักให้เยอะๆ แต่ให้คุณทำเป้าหมายนั้นให้เป็นไปตามหลักการวางเป้าหมายแบบ SMART ด้วยการพูดว่าฉันจะกินผักสองถาดต่อวันเป็นเวลา 30 วัน โดยจะเริ่มต้นจากวันจันทร์ที่จะถึงนี้
    • นี่จะทำให้เป้าหมายมีความเฉพาะเจาะจง และทำให้คุณมีแนวทางในการทำตามเป้าหมายของตัวเอง นอกจากนี้มันยังสามารถนำมาวัดผลได้ด้วย เพราะว่าคุณรู้ว่าตัวเองกำลังพยายามจะตั้งเป้าหมายไปที่อะไรอยู่ นอกจากนี้ เป้าหมายพวกนั้นก็สามารถทำให้เกิดได้จริงด้วย แถมคุณยังมีกำหนดขอบเขตของเวลาที่แน่นอนให้กับตัวเองอีก
  3. มีบางวิธีที่คุณสามารถใช้เพื่อทำให้เป้าหมายเป็นรูปธรรมและเกิดขึ้นจริงได้ ซึ่งวิธีก็คือ ให้เขียนเป้าหมายลงบนกระดาษเปล่า ด้วยวิธีนี้คุณจะสามารถทำเป้าหมายให้ดูสมจริงได้มากกว่าการที่คุณเก็บเป้าหมายพวกนั้นเอาไว้ในหัว และที่สำคัญให้ดูด้วยว่าคุณทำเป้าหมายเหล่านั้นให้มีความเฉพาะเจาะจงหรือยัง เพราะถ้าหากคุณอยากจะสร้างเป้าหมายให้ชีวิตตามหลัก SMART คุณควรจะมีเป้าหมายที่มีความเฉพาะเจาะจงเอาไว้ด้วย [13]
    • กำหนดเป้าหมายของคุณด้วยคำพูดในเชิงบวก เช่น หากคุณอยากจะลดน้ำหนัก คุณควรจะพูดกับตัวเองว่า “จงกินอาหารที่มีประโยชน์ และลดน้ำหนักให้ได้สัก 2 กิโลกรัม” แทนการพูดว่า “หยุดกินอาหารขยะซะ และหยุดอ้วนได้แล้ว”
    • เรียงลำดับความสำคัญของแต่ละเป้าหมายด้วยหากตัวเองมีหลายเป้าหมาย และจำไว้ว่าคุณไม่มีทางที่จะทำทุกอย่างได้ภายในครั้งเดียวแน่ๆ ดังนั้น ให้ตัดสินใจว่าอะไรที่จะต้องทำให้สำเร็จตอนนี้ อะไรที่รอได้ และอะไรที่อาจจะต้องใช้เวลานาน
    • คุณควรทำให้เป้าหมายให้เล็กพอที่คุณจะสามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยระยะเวลาที่เหมาะสม แทนที่จะต้องใช้เวลาเป็นปีๆ ในการทำสิ่งนั้น หากคุณมีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ ให้คุณแบ่งออกเป็นเป้าหมายย่อยๆ ก่อน คุณจะได้สามารถบรรลุเป้าหมายต่างๆ และรู้สึกถึงความสำเร็จของตัวเองได้
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 94,164 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา