ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ทองคำเป็นโลหะที่มีมูลค่าซึ่งมีหลากหลายสีสันและความละเอียดต่างๆ กันไป มูลค่าของชิ้นอัญมณีหรือเครื่องประดับอื่นๆ นั้นส่วนมากขึ้นกับว่าเป็นทองคำชุบหรือทองบริสุทธิ์ เพื่อทำการคัดแยกคุณภาพของวัตถุโลหะนั้น เราจะเริ่มจากการส่องดูที่เนื้อผิววัตถุ หากยังไม่มั่นใจให้ทำการทดสอบขั้นลึกลงไปอีก อย่างเช่น ทดสอบการทำปฏิกิริยากับน้ำส้มสายชู และวิธีสุดท้ายคือการหยดกรดลงบนโลหะเพื่อดูปฏิกิริยา

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ตรวจสอบดูที่พื้นผิว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ชิ้นส่วนของทองคำมักมีการประทับตราด้วยเครื่องหมายรับรองว่าเป็นทองชนิดไหน โดยตราที่สลักไว้ว่า “GF” หรือ “HGP” นั้นบ่งบอกว่าทำจากทองคำชุบไม่ใช่ทองคำบริสุทธิ์ ในทางตรงกันข้ามหากทำจากทองคำบริสุทธิ์จะสลักไว้ว่า 24K หรือสัญลักษณ์อื่นที่บ่งบอกความบริสุทธิ์ เครื่องหมายรับรองมักพบบริเวณด้านในของตัวแหวนหรือตะขอสร้อยทอง [1]
    • อย่างไรก็ตามให้ระวังเครื่องหมายรับรองที่อาจปลอมขึ้นมาได้ เนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งในการรับรองว่าเป็นของแท้
    • เครื่องหมายรับรองอาจมีขนาดเล็กมากอาจจะต้องใช้แว่นขยายเพื่อให้เห็นได้ชัดเจน
  2. มองหารอยหลุดลอกรอบๆ ขอบเครื่องประดับชิ้นนั้น. เปิดไฟหรือโคมไฟให้สว่างแล้วถือเครื่องประดับไว้ใกล้แสงไฟ พลิกหมุนดูให้ทั่วเพื่อตรวจสอบดูรอบๆ ขอบอย่างชัดเจน หากพบว่าทองคำมีรอยหลุดลอกหรือบิ่นที่ขอบ มักบ่งบอกว่าเป็นทองชุบ ซึ่งไม่ใช่ทองคำบริสุทธิ์ [2]
  3. หากคุณถือส่องไว้ใต้แสงไฟที่สว่าง ให้ดูว่าเห็นจุดที่ขาวหรือแดงบ้างหรือไม่ โดยจุดที่เห็นอาจจะเล็กมากและมองเห็นได้ยาก ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลที่จะต้องนำมาส่องชัดๆ ใต้แสงสว่างและอาจจะต้องใช้แว่นขยายส่อง จุดเหล่านี้บ่งบอกว่าเป็นทองชุบที่อาจมีการหลุดลอกจึงเห็นโลหะที่ถูกชุบด้านใต้ [3]
  4. ถือแม่เหล็กไว้เหนือต่อเครื่องประดับชิ้นนั้นแล้วจ่อลงมาใกล้ๆ จนเกือบติดกับผิวเครื่องประดับ หากรู้สึกว่าโดนแม่เหล็กดึงหรือผลักลงแสดงว่าไม่ใช่ทองคำบริสุทธิ์เพราะโลหะชนิดอื่นๆ อย่างเช่น นิกเกิล จะตอบสนองกับแม่เหล็ก ส่วนทองคำบริสุทธิ์จะไม่ตอบสนองต่อแม่เหล็กเพราะไม่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ [4]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ทำการทดสอบขั้นลึก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เทน้ำส้มสายชูลงบนเครื่องประดับนั้นแล้วดูสีที่เปลี่ยนแปลงไป. นำหลอดหยดมาดูดน้ำส้มสายชูให้เต็มหลอด ถือเครื่องประดับที่จะทดสอบไว้ให้มั่นหรือวางบนโต๊ะที่มั่นคง จากนั้นบีบหลอดหยด หยดน้ำส้มสายชูลงไป หากหยดแล้วทำให้สีของเครื่องประดับนั้นเปลี่ยนไป แสดงว่าไม่ใช่ทองคำบริสุทธิ์ หากสียังคงเดิมแสดงว่าเป็นทองคำบริสุทธิ์ [5]
  2. วางหินดำลงบนโต๊ะ จับเครื่องประดับทองไว้ให้มั่นแล้วค่อยๆ ถูกับหินจนเกิดรอย หากรอยที่เกิดบนหินมีลักษณะแข็งและสีทอง แสดงว่าทำจากทองคำบริสุทธิ์ แต่หากไม่มีรอยหรือมีแค่ลางๆ ก็แสดงว่าเป็นทองคำชุบหรือไม่ใช่ทองคำเลย [6]
    • ระวังการทำวิธีนี้เพราะเสี่ยงที่จะทำให้เครื่องประดับเสียหายได้. นอกจากนั้นยังต้องเลือกชนิดหินให้ถูกต้องเพื่อไม่ให้รอยที่เกิดขึ้นนั้นแปลผลไม่ได้ โดยสามารถซื้อหินดำทดสอบทองได้จากร้านค้าจำหน่ายเครื่องประดับทางออนไลน์หรือสอบถามได้จากช่างเครื่องประดับใกล้บ้าน
  3. วางจานกระเบื้องที่ไม่เคลือบเงาไว้ให้มั่นคงบนพื้นผิวราบเรียบหรือโต๊ะ ถือเครื่องประดับไว้แล้วขูดกับจานแล้วสังเกตดูว่ามีรอยขีดข่วนหรือเส้นอะไรเกิดขึ้นมาบ้างหรือไม่ หากมีรอยดำขึ้นแสดงว่าเครื่องประดับของคุณไม่ใช่ทองคำหรือเป็นทองคำชุบ [7]
  4. ถูรองพื้นแต่งหน้าบางๆ ลงบนหลังมือ รอจนกระทั่งแห้ง แล้วกดเครื่องประดับทับลงไปแล้วถู ทองคำบริสุทธิ์จะทิ้งรอยกดไว้บนรองพื้น หากไม่เห็นรอยกดแสดงว่าเป็นทองคำชุบหรือโลหะชนิดอื่น [8]
  5. เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กพกพาได้มาคู่กับแท่งทดสอบ โดยสามารถซื้อได้ทางออนไลน์หรือร้านจำหน่ายเครื่องประดับโดยตรง ในการวิเคราะห์ทองคำนั้น ก่อนอื่นให้ทาเจลตัวนำสำหรับทดสอบลงบนเครื่องประดับ ซึ่งเจลมักสามารถหาซื้อได้จากที่เดียวกันกับที่ขายเครื่องทดสอบ หลังทาเจลแล้วให้ถูแท่งทดสอบลงบนเครื่องประดับแล้วดูการตอบสนองของโลหะกับกระแสไฟฟ้าซึ่งจะบ่งบอกว่าเป็นทองคำบริสุทธิ์หรือไม่ [9]
    • ทำตามคำแนะนำที่แนบมากับเครื่องทดสอบเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ ทองคำเป็นโลหะที่นำไฟฟ้า ดังนั้นเครื่องประดับทองคำบริสุทธิ์จะอ่านค่าได้สูงกว่าทองคำชุบ
  6. เครื่องนี้นิยมใช้ในช่างเครื่องประดับเพื่อทดสอบคุณภาพของโลหะมีค่าที่ได้ผลทันที เนื่องจากราคาที่สูงทำให้วิธีนี้ไม่เหมาะที่จะทำเองที่บ้านหากไม่ได้ต้องใช้เป็นประจำ ในการใช้เครื่องสแกน XRF นี้ ให้ใส่เครื่องประดับที่ต้องการทดสอบเข้าไป เปิดเครื่องให้ทำงาน รอสักครู่แล้วอ่านค่าที่ได้ [10]
  7. หากคุณยังสับสนผลที่ทดสอบได้อยู่หรือต้องการมั่นใจผลที่ทดสอบได้ ลองไปปรึกษาช่างเครื่องประดับเพื่อสอบถามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ช่างวิเคราะห์จะทำการทดสอบขั้นลึกเพื่อดูส่วนประกอบของโลหะ ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้นให้ใช้บริการเฉพาะในกรณีที่คิดว่าจะคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่จะเสีย [11]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ทดสอบด้วยกรด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ซื้อชุดกรดทดสอบเพื่อให้ได้ค่าประมาณความบริสุทธิ์ของทองที่แม่นยำยิ่งขึ้น. สามารถซื้อชุดทดสอบนี้ได้จากร้านจำหน่ายอุปกรณ์เกี่ยวกับเครื่องประดับได้โดยตรง โดยชุดทดสอบนี้ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งจะมีคำแนะนำการใช้แนบมาด้วย อ่านคำแนะนำอย่างละเอียดและรอบคอบก่อนการใช้และนำอุปกรณ์ออกมาเตรียมให้ครบก่อนเริ่มทดสอบ [12]
    • ชุดทดสอบนี้สามารถหาซื้อได้ค่อนข้างง่าย หากสั่งทางออนไลน์ก็จะมีราคาเริ่มต้นที่ประมาณ 1,000 บาท
  2. ชุดทดสอบจะมีเข็มมาให้หลายอัน แต่ละอันจะใช้สำหรับทดสอบความแตกต่างของทองคำชนิดต่างๆ ดูค่ากะรัตที่ระบุไว้ด้านข้างของเข็ม โดยแต่ละเข็มจะมีสีทองตัวอย่างอยู่ที่ปลายเข็ม ใช้เข็มสีเหลืองสำหรับทองคำสีเหลืองและใช้เข็มสีขาวสำหรับทองคำสีขาว [13]
  3. หมุนดูรอบๆ เครื่องประดับจนกระทั่งหาจุดที่มองเห็นได้ยากเจอ จากนั้นถือที่สลักลายให้มั่นแล้วทำรอยเล็กๆ ลงไป เพื่อให้เห็นชั้นลึกของโลหะที่กำลังทดสอบ [14]
  4. เมื่อต้องทดสอบกับกรด สิ่งสำคัญคือถุงมือต้องไม่หนาเทอะทะแต่สวมได้พอดี การป้องกันดวงตาก็เป็นสิ่งที่ต้องคำนึง โดยต้องระมัดระวังอย่างมาก หลีกเลี่ยงการจับใบหน้าหรือดวงตาขณะทดสอบด้วยกรด [15]
  5. เลือกเข็มที่เหมาะสมกับชนิดของทองคำ จากนั้นถือปลายเข็มไว้เหนือต่อรอยบากโดยตรง บีบเข็มหยดในทิศลงให้กรดหยดลงมา 1 หยดลงบนรอยบากนั้น [16]
  6. สังเกตรอยบากนั้นที่เพิ่งหยดกรดลงไปให้ดี กรดจะทำปฏิกิริยากับโลหะนั้นแล้วเปลี่ยนสี โดยทั่วไปหากกรดเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวบ่งบอกว่าเครื่องประดับชิ้นนี้ไม่ได้ทำจากทองคำบริสุทธิ์ แต่ทำจากทองคำชุบหรือโลหะชนิดอื่นทั้งหมด โดยชุดทดสอบจะมีสีเทียบต่างๆ กัน ให้อ่านค่าสีให้ดีและแปลผลการทดสอบอย่างระมัดระวัง [17]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ทำความสะอาดเครื่องประดับทองคำให้สะอาดเป็นอย่างดีก่อนนำมาทดสอบด้วยวิธีต่างๆ
โฆษณา

คำเตือน

  • ใช้ความระมัดระวังให้มากเมื่อต้องทดสอบด้วยกรด เพราะกรดสามารถทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อผิวหนังได้หากสัมผัสโดน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,061 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา