ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ตู้เย็นต้องได้รับการทำความสะอาดทั้งด้านในและด้านนอก ชั้นวางของต้องได้รับการเช็ดถูเพื่อขจัดคราบนมและอาหารเก่าๆ ที่เก็บไว้นานต้องนำออกมาทิ้ง ถึงแม้การทำความสะอาดตู้เย็นจะไม่ใช่งานที่ทำได้ง่ายๆ แต่ถ้าเรารู้วิธีทำความสะอาดอย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ก็จะช่วยประหยัดเวลาและลดความยุ่งยากลงไปได้มาก

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 5:

ทำความสะอาดด้านในตู้เย็น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เอาอาหารในตู้เย็นไปวางไว้บนโต๊ะหรือเคาน์เตอร์ เอาอาหารออกให้หมด ตู้เย็นจะได้ว่าง เราจะทำความสะอาดตู้เย็นได้ง่ายและทั่วถึง เราจะได้ใช้โอกาสนี้คัดแยกของในตู้เย็นไปด้วย [1]
    • ช่วงเวลาที่เหมาะกับการทำความสะอาดตู้เย็นคือช่วงที่ในตู้เย็นมีอาหารน้อย ก่อนที่เราจะไปหาซื้อของเข้าบ้านประจำสัปดาห์ ตอนนั้นจะมีของอยู่ในตู้เย็นน้อย สะดวกต่อการทำความสะอาด
    • ถึงแม้อาหารส่วนใหญ่จะไม่บูดเสียเมื่ออยู่นอกตู้เย็นเป็นระยะเวลาสั้นๆ แต่เราก็ไม่ควรปล่อยอาหารทิ้งไว้นอกตู้เย็นนานเกินหนึ่งชั่วโมง อาหารสามารถถึง "ช่วงโซนอุณหภูมิอันตราย" ในระยะเวลาสั้นๆ ได้ [2]
    • การเก็บอาหารไว้ในกระเป๋าเก็บความเย็นจะช่วยป้องกันไม่ให้อาหารบูดเสียได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าตอนนั้นเป็นช่วงหน้าร้อน
    • ถ้าเราทำความสะอาดตู้เย็นตอนหน้าหนาว เราสามารถวางอาหารไว้นอกตู้เย็นได้ขณะที่ทำความสะอาดตู้เย็น
  2. นำอาหารเก่าที่เก็บมานาน ขึ้นรา กินไม่ได้ บูด หรือหมดอายุไปทิ้ง. อย่าลืมนำอาหารใส่ถุงและผูกปากก่อนทิ้งเพื่อป้องกันไม่ให้หกเลอะเทอะหรือราแพร่กระจาย ถ้าเราหมั่นทำความสะอาดตู้เย็นทุกปีหรือทุกสามเดือน เราก็จะได้ถือเอาโอกาสนี้เอาอาหารที่เก็บไว้นานจนลืมไปทิ้ง [3]
    • ตรวจสอบวันหมดอายุและวันเดือนปี "ที่ควรบริโภคก่อน" จะได้รู้ว่าอาหารนั้นควรนำไปทิ้งหรือเปล่า
    • ทิ้งวัตถุดิบในการทำอาหารซึ่งเราไม่ค่อยได้ใช้เท่าไหร่ ถ้าเห็นว่าคนในบ้านไม่ค่อยมีใครชอบกินผักกระเฉดเท่าไหร่และเราซื้อเก็บไว้นานแล้ว ให้นำผักนั้นไปทิ้งจะดีกว่า
    • จัดการฝังกลบขยะเศษอาหารหรือนำไปทิ้งถังขยะด้านนอกให้เรียบร้อย บ้านของเราจะได้ไม่มีกลิ่นอาหารเน่าเสีย!
  3. เอาชั้นวางของ ลิ้นชัก หรือชิ้นส่วนที่สามารถถอดออกได้ออกมาจากตู้เย็น. ถ้าอยากให้งานเสร็จเร็วขึ้น ให้นำชั้นวางของ ลิ้นชัก หรือชิ้นส่วนที่สามารถถอดออกได้ไปวางไว้ใกล้อ่างล้างจาน เราจะใช้ที่นั่นเป็นพื้นที่ทำความสะอาดของเหล่านี้ [4]
    • ถ้าอยากทำความสะอาดได้อย่างรวดเร็ว เราไม่จำเป็นต้องเอาชั้นวางของออกมาหมดก็ได้ แต่ที่ต้องเอาชั้นวางของออกมาทั้งหมดก็เพื่อให้สามารถทำความสะอาดตู้เย็นได้อย่างทั่วถึง
    • โดยปกติเราจะเอาชั้นวางของในตู้เย็นออกมาในแบบเดียวกับที่เอาตะแกรงเตาอบหรือลิ้นชักตู้เก็บของออกมา
  4. ทำความสะอาดชั้นวางของ ลิ้นชัก หรือชิ้นส่วนที่สามารถถอดออกได้ด้วยตนเอง. จะใช้น้ำยาล้างจานทำความสะอาดก็ได้ ของเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่เหมาะที่จะทำความสะอาดด้วยเครื่องล้างจาน ฉะนั้นลงน้ำยาล้างจาน ใช้แปรงหรือฟองน้ำขัดถูชั้นวางของ ลิ้นชัก หรือชิ้นส่วนที่สามารถถอดออกได้ [5]
    • อย่าใช้น้ำร้อนทำความสะอาดชั้นวางของทำจากแก้วซึ่งยังเย็นอยู่ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกะทันหันอาจทำให้แก้วแตกได้ ให้ใช้น้ำเย็นล้างทำความสะอาดแทนหรือปล่อยให้ชั้นวางอุ่นขึ้นกว่านี้ก่อนที่จะล้างทำความสะอาด
    • ถ้าชั้นวางของ ลิ้นชัก หรือชิ้นส่วนที่สามารถถอดออกได้มีคราบสกปรกฝังแน่น ให้ใช้น้ำร้อนและแอมโมเนียทำความสะอาด นำแอมโมเนียปริมาณเล็กน้อยมาเจือจางในน้ำร้อน (อัตราส่วน 1:5 ก็น่าจะเพียงพอ) และนำสิ่งของเหล่านั้นมาแช่ไว้ในน้ำยานี้ก่อนขัดถู
    • ต้องรอให้ชั้นวางของและลิ้นชักแห้งสนิทก่อน ถึงจะใส่กลับเข้าไปในตู้เย็น
  5. ใช้ผ้าหรือฟองน้ำชุบน้ำยาทำความสะอาดแล้วเช็ดภายในตู้เย็น. จัดการคราบสกปรกทุกอย่างที่ฝังแน่นด้วยการใช้ผ้าที่สะอาดหรือฟองน้ำเช็ดออก อย่าลืมเช็ดถูภายในตู้เย็นให้ทั่ว [6]
    • เราอาจไม่อยากใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีกลิ่นแรงกับภายในตู้เย็น เพราะอาหารอาจดูดกลิ่นน้ำยาพวกนี้ไปด้วยได้ ฉะนั้นขอแนะนำสูตรทำน้ำยาทำความสะอาดแบบธรรมชาติซึ่งไร้กลิ่นดังต่อไปนี้
      • ผงฟู 2 ช้อนโต๊ะผสมกับน้ำร้อนประมาณ 946 มิลลิลิตร
      • น้ำส้มสายชูหมักจากผลแอปเปิล 1 ส่วนผสมกับน้ำร้อน 3 ส่วน
    • ถ้าคราบนั้นฝังแน่นมาก ลองป้ายยาสีฟันขาวดู ยาสีฟันมีคุณสมบัติเหมือนน้ำยาผสมผงขัดและมีกลิ่นหอมด้วย
  6. เพราะพื้นที่วางของด้านในประตูตู้เย็นก็เป็นบริเวณที่เราใช้บ่อยเหมือนกัน ฉะนั้นเราจึงต้องทำความสะอาดบริเวณนี้ด้วย จะใช้น้ำยาทำความสะอาดจากสารเคมีหรือน้ำยาที่บทความนี้แนะนำไปข้างต้นก็ได้ [7]
  7. เช็ดชั้นวางของให้แห้งสนิทก่อนใส่กลับเข้าไปในตู้เย็น. ใช้ผ้าสะอาดเช็ดน้ำที่ยังหลงเหลืออยู่ที่ชั้นวางของออกให้หมดและนำชั้นวางของกลับเข้าไปใส่ในตู้เย็น
  8. ทำความสะอาดขอบยางประตูตู้เย็นด้วยน้ำยาที่ผสมขึ้นจากน้ำ ½ และน้ำส้มสายชู ½ หรือน้ำยาฟอกขาว. อย่าใช้น้ำยาฟอกขาวเพียวๆ กับขอบยางประตูตู้เย็นเพราะอาจสร้างความเสียหายแก่ขอบยางประตูตู้เย็นได้ เช็ดขอบยางตู้เย็นให้แห้งแล้วจากนั้นใช้น้ำมันหอมระเหยกลิ่นมะนาว น้ำมันมิเนอรัล หรือโลชั่นบำรุงผิวกายทาขอบยางประตูตู้เย็นเพื่อรักษาความยืดหยุ่นของขอบยางไว้ [8]
  9. เช็ดกระปุก ขวด หรือทัพเพอร์เเวร์ และนำสิ่งเหล่านี้กลับเข้าไปวางในตู้เย็น ตรวจสอบวันหมดอายุของอาหารอีกครั้งก่อนนำกลับไปใส่ในตู้เย็น
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 5:

ทำความสะอาดด้านนอกตู้เย็น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เช็ดด้านนอกตู้เย็นทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้า ด้านหลัง ด้านข้าง และด้านบน. [9]
    • เลื่อนตู้เย็นมาข้างหน้าเพื่อจะได้สามารถทำความสะอาดทุกด้านได้สะดวก ใช้ฐานรองตู้เย็นเมื่อต้องเลื่อนตู้เย็นเพื่อป้องกันไม่ให้พื้นไม้เกิดรอยขีดข่วนหรือเสื่อน้ำมันฉีกขาด
    • ทำความสะอาดด้านนอกของตู้เย็นโดยใช้ผ้าขนหนูและน้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์
    • ถ้าตู้เย็นเป็นแบบมีแผงระบายความร้อนติดอยู่ที่ด้านหลัง ให้งดการเช็ดทำความสะอาดด้านหลังแล้วไปดูส่วนที่ 3 ของบทความ
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 5:

ทำความสะอาดแผงระบายความร้อนและใบพัดลม

ดาวน์โหลดบทความ

แผงระบายความร้อนและพัดลมของตู้เย็นมีหน้าที่ระบายความร้อนกลับสู่อากาศโดยรอบ ถ้าแผงระบายความร้อนมีฝุ่น ผม และเศษผงต่างๆ ติดอยู่ ก็จะไม่สามารถระบายความร้อนออกมาได้อย่างเต็มที่ ผลคือคอมเพรสเซอร์ของตู้เย็นทำงานหนักขึ้นเพื่อรักษาความเย็นไว้ ฉะนั้นเราจึงต้องทำความสะอาดแผงระบายความร้อนของตู้เย็นทุกหกเดือนเพื่อให้ตู้เย็นทำงานได้ปกติ

  1. เราจะรู้ข้อมูลตำแหน่งของแผงระบายความร้อนจากคู่มือการใช้งานและดูแลตู้เย็น ตำแหน่งของแผงระบายความร้อนขึ้นอยู่กับรุ่นตู้เย็นของเรา แต่โดยส่วนใหญ่แผงระบายความร้อนจะอยู่ในตำแหน่งดังต่อไปนี้
    • อยู่ด้านหลังตู้เย็น
    • อยู่ค่อนไปทางด้านล่างของตู้เย็นและสามารถเข้าถึงแผงระบายความร้อนตำแหน่งนี้ได้ทางฝาด้านหลัง
    • อยู่หน้าตู้เย็นและสามารถเข้าถึงแผงระบายความร้อนตำแหน่งนี้ได้ทางช่องตะแกรงด้านล่าง
  2. เราต้องถอดปลั๊กตู้เย็นออกเพื่อป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าช็อต ถ้าตู้เย็นเราเป็นแบบติดอยู่กับที่ หรือดึงปลั๊กตู้เย็นออกยาก ให้ปิดเบรกเกอร์เพื่อตัดกระแสไฟแทน [10]
  3. ใช้แปรงปัดฝุ่นและเศษผงออกจากแผงระบายความร้อนเบาๆ. ระวังอย่าให้แผงระบายความร้อนเสียหาย.
    • หลังจากใช้แปรงปัดฝุ่นแผงระบายความร้อนแล้ว ใช้เครื่องดูดฝุ่นโดยเปลี่ยนหัวดูดฝุ่นเป็นหัวแปรงมาดูดฝุ่นและสิ่งสกปรกที่เหลืออยู่บนและรอบๆ แผงระบายความร้อนออก อย่าใช้น้ำยาทำความสะอาดกับแผงระบายความร้อน
  4. ใช้แปรงปัดและผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดฝุ่นและสิ่งสกปรกออกจากใบพัดของคอนเดนเซอร์. พัดลมระบายอากาศจะวางขวางแผงระบายความร้อน ช่วยในการระบายความร้อน ถ้าใบพัดทำงานติดขัด แผงระบายความร้อนก็จะระบายความร้อนได้ไม่ดี [11]
  5. ใช้เครื่องดูดฝุ่นและไม้ถูพื้นทำความสะอาดพื้นและบริเวณรอบๆ. [12]
  6. เสียบปลั๊กตู้เย็นอีกครั้งและเลื่อนตู้เย็นกลับเข้าที่.
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 5:

เปลี่ยนไส้กรองน้ำ

ดาวน์โหลดบทความ

เราต้องเปลี่ยนไส้กรองน้ำของตู้เย็นทุกหกเดือน เพราะสิ่งที่สะสมอยู่ในไส้กรองอาจทำให้ระบบทำน้ำแข็งอุดตันและทำให้น้ำดื่มของเราปนเปื้อนและมีกลิ่น [13]

  1. เปลี่ยนไส้กรองน้ำตามคำแนะนำในคู่มือการใช้และการดูแลตู้เย็น.
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 5:

หมั่นทำความสะอาดและกำจัดกลิ่นในตู้เย็น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำความสะอาดตู้เย็นตามกำหนดเวลา (ทุกสามเดือน) เพื่อให้ตู้เย็นมีกลิ่นหอมสดชื่นและสะอาด. เอาอาหารออกจากตู้เย็นและทำความสะอาดตู้เย็นด้วยน้ำยาที่ทำจากผงฟูและน้ำส้มสายชู การทำความสะอาดตู้เย็นตามกำหนดเวลาจะประหยัดเวลาและพลังงานในอนาคต [14]
    • ถึงแม้ไม่จำเป็นต้องบอก แต่ถ้าสังเกตเห็นว่ามีอะไรหกเลอะเทอะในตู้เย็น ให้รีบทำความสะอาดและเช็ดออกโดยทันที เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้ ไม่ทำความสะอาดตั้งแต่แรก คราบเหล่านั้นอาจเริ่มฝังแน่นและขจัดออกได้ยากในภายหลัง
  2. นำผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนมาดับกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์และทำให้ตู้เย็นของเราปราศจากกลิ่น. ก่อนที่อาหารจะบูดเสียและส่งกลิ่นจนพลอยทำให้ตู้เย็นของเรามีกลิ่นเหม็นไปด้วย ให้หาอะไรมาดับกลิ่นไว้ก่อน นี่คือของที่สามารถช่วยดับกลิ่นในตู้เย็นได้ [15]
    • นำถ่านกัมมันต์ใส่ในถุงเท้าสะอาดแล้วนำไปวางในตู้เย็น เราสามารถหาซื้อถ่านกัมมันต์จากร้านเคมีภัณฑ์และทางอินเตอร์เน็ต ถ่านกัมมันต์จะดูดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ถึงสามเดือน
    • นำกล่องผงฟูที่เปิดไว้แล้วไปวางในตู้เย็น ผงฟูนั้นดูดกลิ่นได้ดีเยี่ยม ฉลากที่กล่องผงฟูส่วนใหญ่จะแนะนำให้เปลี่ยนผงฟูทุก 30 วัน แต่เราอาจทิ้งผงฟูไว้ในตู้เย็นสัก 60 ถึง 90 วันแล้วค่อยเปลี่ยนก็ได้
    • นำผงกาแฟสดใส่จานเล็กๆ แล้วเอาไปวางไว้ในตู้เย็น ผงกาแฟสดจะช่วยดูดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ในตู้เย็นให้
    • ใช้ทรายแมวแบบผสมคลอโรฟิลล์กำจัดกลิ่นในตู้เย็น นำทรายแมวใส่ไว้ในกระทะก้นตื้น ใส่ทรายแมวลงไปจนเป็นชั้นหนาประมาณ 1. 27 ซม. และวางไว้ในตู้เย็น ทรายแมวจะช่วยดับกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ในตู้เย็น
  3. เพิ่มกลิ่นให้ตู้เย็นเพื่อให้ได้กลิ่นหอมจางๆ. ขั้นตอนนี้ไม่จำเป็นต้องทำก็ได้ แต่บางคนอาจชอบให้มีกลิ่นวานิลลาอ่อนๆ เวลาที่ตนเองเปิดตู้เย็น จึงใส่กลิ่นวานิลลาในตู้เย็น เราไม่อยากได้กลิ่นใดๆ ในตู้เย็นตอนเปิดก็ได้ การได้กลิ่นหอมเหล่านี้พร้อมกับกลิ่นอาหารนั้นน่าจะทำให้เรารู้สึกดีมากทีเดียวเหมือนทาโคโลญจ์และใส่น้ำหอมเพื่อให้ตัวมีกลิ่นหอม
    • หยดวานิลลาสกัด ทีทรีออยล์ หรือน้ำมันหอมระเหยกลิ่นลาเวนเดอร์ มะนาว หรือมะกรูดลงในก้อนสำลีและวางก้อนสำลีนั้นในจานเล็กๆ จากนั้นนำจานเล็กๆ นั้นไปวางในตู้เย็น เปลี่ยนก้อนสำลีทุกสองสัปดาห์
  4. ขยำถุงกระดาษสีน้ำตาลให้เป็นก้อนกลมและวางไว้ข้างๆ ผลไม้และผักในลิ้นชักเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่น. ก้อนถุงกระดาษสีน้ำตาลสามารถขจัดกลิ่นในลิ้นชักตู้เย็นได้ [16]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ทำความสะอาดตู้เย็นเดือนละครั้ง
  • จัดข้าวของในตู้เย็นให้เป็นระเบียบเพื่อจะได้หาง่าย วางเครื่องดื่มเช่น นม น้ำผลไม้ ไว้ที่ชั้นเดียวกันและเครื่องปรุง เช่น ซอส และน้ำสลัด ไว้อีกชั้นหนึ่ง
  • หมั่นนำกระปุกใส่ผงฟู (ปิดฝาด้วย) ไปวางไว้ในตู้เย็นเพื่อดูดความชื้น เราต้องนำผงฟูใส่กระปุกและปิดฝาไว้ ไม่ใช่ใส่ในกล่องที่เปิดไว้
  • พยายามตรวจสอบว่ามีอาหารบูดเสียในตู้เย็นหรือไม่ทุกสัปดาห์ จะได้เอาอาหารนั้นออกไปทิ้ง
  • พอตู้เย็นสะอาดแล้ว วิธีการรักษาความสะอาดของตู้เย็นอย่างง่ายๆ คือทำความสะอาดชั้นวางของหนึ่งหรืองสองชั้นหรือทำความสะอาดแค่ลิ้นชักในแต่ละครั้ง ตู้เย็นของเราไม่มีทางสะอาดหมดจดก็จริงแต่ก็ยังคงดูสะอาดโดยไม่ต้องใช้เวลาทำความสะอาดทั้งวัน เราแค่ต้องเวียนทำความสะอาดแต่ละส่วนของตู้เย็นให้ครบก็เท่านั้น
  • พยายามทำความสะอาดทุกส่วนของตู้เย็นด้วยความระมัดระวังเพื่อจะได้ไม่มีส่วนใดหักและได้รับความเสียหาย
  • วางแผ่นรองบนชั้นวางของในตู้เย็น แผ่นรองชั้นวางของจะช่วยป้องกันไม่ให้ชั้นว่างของสกปรก พอแผ่นรองชั้นวางของสกปรก ก็แค่ดึง ฉีกออก แล้วทิ้ง จากนั้นจึงนำแผ่นรองอันใหม่ไปวางแทน!
  • นำขวดซอสต่างๆ เก็บไว้ในตะกร้าพลาสติก เราสามารถหยิบซอสทั้งตะกร้าไปใช้งานได้ง่าย (เช่น ย่างบาร์บีคิว) และถ้าตะกร้านั้นมีอะไรหกเลอะเทอะ ก็ทำความสะอาดแค่ตะกร้า ไม่ต้องลำบากทำความสะอาดทั้งตู้เย็น
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าให้น้ำหรือน้ำยาทำความสะอาดหกใส่ช่องใดๆ ของตู้เย็น
  • ควรนำอาหารเก่ามาใส่ถุงและผูกปากให้แน่นก่อนที่จะนำมาทิ้งในถุงขยะห้องครัวเพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์หรือหนูได้กลิ่น ถ้าหากถุงขยะนั้นผูกปากถุงไม่ดี ฉีก หรือขาดตอนอยู่ด้านนอก
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • น้ำส้มสายชู
  • ผงฟู (มีหรือไม่มีก็ได้)
  • น้ำ
  • ถุงพลาสติกหรือถุงขยะ ถ้าจำเป็น
  • ผ้าขี้ริ้วหรือฟองน้ำ
  • น้ำยาทำความสะอาด
  • แปรงสำหรับทำความสะอาดแผงระบายความร้อนตู้เย็น
  • เครื่องดูดฝุ่นพร้อมหัวดูดแบบหัวแปรง
  • ไส้กรองน้ำ (มีหรือไม่มีก็ได้)

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 19,997 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา