ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การประคบร้อนช่วยบรรเทาได้หลายอาการ ตั้งแต่ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ไปจนถึงข้อยึด ปกติคุณหาซื้อแพ็คประคบร้อน (heat pack) ได้ตามร้านขายยา แต่อาจสะดวกรวดเร็วกว่าถ้าทำอุปกรณ์ประคบร้อนใช้เองจากของใช้ในบ้าน คุณประคบร้อนบรรเทาอาการปวดท้องเมนส์ ตะคริวท้อง หรือกล้ามเนื้อกระตุกเกร็งได้ด้วย [1] ก่อนจะประคบร้อนต้องเช็คให้ชัวร์ก่อนว่าอาการของคุณควรประคบร้อนหรือเย็น และประคบร้อนอย่างระมัดระวัง อย่าให้ลวกผิวได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ถุงประคบร้อนแบบมีกลิ่นหอมผ่อนคลาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อุปกรณ์ใช้ประคบร้อนง่ายๆ ที่บ้าน ก็คือถุงเท้ายาว และข้าวสาร ถั่ว หรือข้าวโอ๊ตไว้กรอกเป็นไส้ใน แต่ถ้าอยากประคบร้อนแบบมีกลิ่นหอมชวนผ่อนคลาย ก็ต้องมีผงเปปเปอร์มินต์ อบเชย (ซินนาม่อน) หรือสมุนไพรกลิ่นที่ชอบด้วยนิดหน่อย อาจเป็นสมุนไพรที่เตรียมใช้ทำอาหารในครัว ชาสมุนไพร หรือน้ำมันหอมระเหยก็ได้ [2] [3]
    • ลองผสมลาเวนเดอร์ คาโมไมล์ เซจ หรือมินต์ในถุงประคบร้อน จะได้ยิ่งผ่อนคลาย
  2. ไม่ว่าจะใช้ข้าวสาร ถั่ว หรือข้าวโอ๊ต ก็ให้เทลงในถุงเท้าจนเกือบเต็ม (ประมาณ ½ - ¾) เหลือที่ไว้ให้พอใช้มัดปากได้ แต่จะเย็บปิดแทน ใช้เป็นถุงประคบประจำไปเลยก็ได้ ถ้าแบบนั้นก็กรอกไส้ในเกือบเต็มได้ [4]
    • ระหว่างกรอกไส้ ก็ให้เติมผงหอมหรือผงสมุนไพรที่ชอบลงไป ใช้แล้วจะได้ผ่อนคลาย
  3. แล้วแต่ว่าคุณอยากใช้ทนแค่ไหน จะประคบชั่วคราวหรือใช้เป็นถุงประคบประจำตัวไปเลย ถ้าจะใช้ชั่วคราวก็ให้ผูกถุงเท้าเป็นปม ซักแล้วก็เอาถุงเท้ากลับมาใช้ใหม่ได้ แต่ถ้าอยากให้แน่นหนา ใช้ถาวร ก็เย็บปิดซะเลย [5]
    • ถ้ากรอกไส้เยอะแล้วเย็บปิด ถุงประคบร้อนของคุณจะแข็งๆ ตึงๆ หน่อย แต่ถ้าผูกหรือปิดปากถุงห่างออกมา ก็จะได้ถุงประคบนิ่มๆ ลองทดสอบดูว่าคุณชอบแบบไหนมากกว่า แล้วค่อยปิดปากถุงจริงๆ ก็ได้
    • ถ้ากรอกไส้ไม่เต็ม หรือปิดปากถุงห่างหน่อย ก็เอาไปพันคอหรือพาดไหล่ ประคบร้อนบรรเทาอาการบริเวณนั้นได้เลย
  4. พอปิดปากถุงแล้ว ให้เอาไปอุ่นในไมโครเวฟ 30 วินาที แล้วลองแตะดูว่าอุ่นหรือร้อนพอหรือยัง ถ้ารู้สึกว่ากำลังดี ก็เอาออกไปใช้ได้เลย แต่ถ้าอยากได้ร้อนกว่านี้ ก็อุ่นต่ออีกทีละ 10 วินาที จนร้อนตามต้องการ [6]
    • แต่ระวังอย่าให้ร้อนจัดเกินไป เดี๋ยวเอาไปประคบแล้วจะลวกผิวจนไหม้หรือพอง [7] สัก 21 - 27 °C กำลังดี [8]
  5. อาจจะหาผ้าหรือเสื้อยืดมาห่อถุงประคบร้อนหรือคลุมผิวคุณไว้ก่อนก็ได้ จะได้ไม่ร้อนจนลวกผิว และอย่าลืมเช็คสภาพผิวทุก 2 - 3 นาที ว่าไม่ร้อนเกินไป
  6. ถ้ารู้สึกร้อนเกินไป ให้รีบเอาออก แล้วรอจนถุงประคบเย็นลงค่อยเอาไปใช้ต่อ ถ้าอุณหภูมิลดลงจนประคบได้สบายๆ ให้กดไว้แบบนั้นตรงบริเวณที่มีอาการประมาณ 10 นาที จากนั้นเอาออกแล้วปล่อยให้ผิวเย็นลง ส่วนจะประคบต่ออีก 10 นาทีไหม ก็แล้วแต่อาการ
    • ถ้าหลังประคบ ผิวแดงจัด ช้ำออกม่วง เป็นจุดขาวๆ แดงๆ พอง บวม หรือเป็นลมพิษ ให้รีบไปหาหมอ เพราะอาจเป็นผลมาจากความร้อน [9]
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ถุงใส่ผ้าประคบร้อน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เปิดน้ำใส่ผ้าจนชุ่ม มีน้ำหยดออกมา จากนั้นเอาผ้าไปใส่ถุงซิปล็อค พับให้เรียบร้อย จะได้ร้อนทั่วถึงตอนเอาไปอุ่นในไมโครเวฟ แต่ตอนนี้อย่าเพิ่งรูดซิปปิด
  2. เปิดถุงทิ้งไว้ แล้วเอาไปใส่ในไมโครเวฟ อุ่นโดยใช้ไฟแรงประมาณ 30 – 60 วินาที โดยอุ่นทีละ 10 วินาทีจนครบ
  3. ถ้าไม่มีไมโครเวฟหรือไม่อยากเอาพลาสติกไปอุ่นในไมโครเวฟ ให้เอากาตั้งเตาแล้วต้มน้ำ จากนั้นเอาผ้าขนหนูใส่ชาม เทน้ำเดือดลงไปจนท่วม จากนั้นใช้ที่คีบน้ำแข็งคีบผ้าไปใส่ในถุงซิปล็อค
    • จะเอาผ้าร้อนไปประคบโดยตรงก็ได้ จะได้ร้อนๆ ชื้นๆ แต่ต้องระวังอย่าให้ร้อนเกินไป วิธีนี้เหมาะสำหรับบรรเทาอาการปวดไซนัส แต่ระวังอย่าให้ลวกหน้า [10]
  4. เพราะผ้าอุ้มน้ำร้อนไว้ แค่ไอร้อนที่ระเหยจากปากถุงก็อาจลวกผิวได้ ตอนหยิบถุงออกจากไมโครเวฟต้องระวังมากๆ แค่ไอร้อนก็อาจทำผิวคุณไหม้ได้แล้ว [11]
    • เอาที่คีบน้ำแข็งคีบถุงหรือผ้าแทน ถ้าร้อนเกินไป
  5. พออุ่นผ้าชุบน้ำในไมโครเวฟจนร้อนได้ที่แล้ว ก็ปิดปากถุงเพื่อกักเก็บไอร้อนไว้ข้างใน ถุงประคบของคุณจะได้ไม่เย็นลงเร็วเกินไป ระวังมากๆ อย่าให้ลวกมือ ย้ำอีกทีว่าแค่ไอร้อนก็อันตรายแล้ว อาจจะหาผ้าอีกผืนมาจับ หรือสวมถุงมือกันร้อนก็ได้ตอนรูดซิป
  6. อย่าเอาถุงพลาสติกร้อนๆ ไปประคบผิวโดยตรงล่ะ ต้องห่อผ้าป้องกันไว้ก่อน วางถุงไว้กลางผืนผ้า แล้วพับผ้าห่อรอบถุง อย่าให้ถุงเลื่อนหลุดจากผ้าได้ แต่ห่อชั้นเดียวก็พอ
  7. รอจนได้อุณหภูมิที่ประคบได้ไม่ร้อนเกินไป และอย่าลืมเอาออกเป็นระยะ ทุก 10 นาที ห้ามประคบนานเกิน 20 นาทีเด็ดขาด
    • ถ้าหลังประคบ ผิวแดงจัด ช้ำออกม่วง เป็นจุดขาวๆ แดงๆ พอง บวม หรือเป็นลมพิษ ให้รีบไปหาหมอ เพราะอาจเป็นผลมาจากความร้อน [12]
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

เวลาไหนควรประคบร้อน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. กล้ามเนื้ออักเสบ หรือปวดเมื่อยตามตัว มักเป็นผลมาจากกรดแลคติกในเส้นใยกล้ามเนื้อมากเกินพิกัด [13] พอประคบร้อนแล้ว ความร้อนจะทำให้เลือดไหลเวียนมาบริเวณนั้นมากเป็นพิเศษ [14] พอเลือดไหลเวียนมากขึ้น ก็ช่วยขับกรดแลคติกส่วนเกินออกไป ทำให้สบายตัวขึ้น รวมถึงดึงออกซิเจนมาเลี้ยงบริเวณนั้นมากขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อที่เสียหายฟื้นตัวเร็วขึ้น แถมความร้อนทำให้สบายตัว ดึงความสนใจไปจากระบบประสาท ลดสัญญาณบอกอาการเจ็บปวดที่ส่งไปยังสมอง [15]
  2. ถ้ากล้ามเนื้อกระตุกเกร็งให้ประคบแบบร้อนชื้น. ถ้ากล้ามเนื้อกระตุกเกร็งเรื้อรัง ขั้นแรกให้พักผ่อนกล้ามเนื้อส่วนนั้นก่อน ทำใจทำตัวให้สบาย หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการแต่แรก รอ 72 ชั่วโมงก่อนแล้วค่อยประคบร้อน คือรอให้อาการอักเสบบริเวณนั้นดีขึ้น พอผ่านไป 3 วัน ก็ค่อยประคบแบบร้อนชื้น เพื่อกระตุ้นให้ฟื้นตัวโดยเร็ว [16]
  3. ข้อยึดหรือข้ออักเสบจะประคบร้อนหรือเย็นก็ได้. เพราะช่วยบรรเทาอาการปวดข้อได้ทั้ง 2 วิธี จะใช้วิธีไหนก็แล้วแต่ความชอบ อาจจะลองประคบสลับกันก็ได้ ว่าวิธีไหนได้ผลที่สุดสำหรับคุณ
    • แพ็คประคบเย็นจะช่วยทำให้ชา บรรเทาอาการเจ็บปวด และลดอักเสบลดบวมที่ข้อ เพราะทำให้หลอดเลือดหดตัว แต่ถ้าประคบเย็นจัดแต่แรก เหมาะสำหรับลดปวดแบบเฉียบพลัน
    • ประคบร้อนจะไปขยายหลอดเลือด ให้เลือดไหลเวียนสะดวกขึ้น เร่งการฟื้นตัว แถมความร้อนยังช่วยคลายเนื้อเยื่อและเส้นเอ็นตรงบริเวณที่ยึด ทำให้ขยับเขยื้อนได้คล่องตัวขึ้น [17]
    • หรืออาจประคบร้อนโดยแช่บริเวณที่บาดเจ็บในน้ำอุ่นจัด โดยจะว่ายน้ำในสระน้ำอุ่น หรือแค่แช่ตัวในอ่างน้ำอุ่นก็ได้
  4. คนท้อง เป็นเบาหวาน เลือดไหลเวียนไม่ดี หรือเป็นโรคหัวใจ (เช่น ความดันสูง) จะประคบร้อนไม่ค่อยได้ผล ถ้าสนใจประคบร้อนคลายกล้ามเนื้อหรือแก้ปวดข้อ ควรปรึกษาคุณหมอก่อน [18]
    • ควรใช้ผ้าปูรองหรือเอาผ้าห่อถุงก่อนประคบร้อนเสมอ ป้องกันผิวไหม้
  5. ถ้าบาดเจ็บเฉียบพลัน ต้องการปฐมพยาบาล อย่าประคบร้อน. [19] ประคบร้อนเหมาะสำหรับบรรเทาอาการเรื้อรังมากกว่า เช่น กล้ามเนื้ออักเสบหรือปวดเมื่อยเป็นประจำ กล้ามเนื้อกระตุกเกร็ง หรือปวดข้อเรื้อรัง ส่วนประคบเย็นนั้นเหมาะสำหรับใช้ปฐมพยาบาลทันทีหลังเกิดอุบัติเหตุ เช่น เท้าพลิกเท้าแพลง เพราะงั้นถ้าคุณออกกำลังกายผิดท่า เจ็บกล้ามเนื้อขึ้นมา ให้รีบประคบน้ำแข็งทันทีเพื่อลดปวดบวมใน 48 ชั่วโมงแรก ถ้าผ่านไปหลายวันยังปวดไม่หาย ให้เปลี่ยนเป็นประคบร้อนแทนเพื่อเร่งการฟื้นตัว

คำเตือน

  • อย่าประคบร้อนจุดเดิมนานเกินไปจนผิวไหม้ ให้เปลี่ยนจุดไปเรื่อยๆ ทุก 1 - 2 นาที หรือพักผิวบริเวณที่ประคบเป็นระยะ
  • อย่าอุ่นถุงประคบในไมโครเวฟนานเกิน 1 นาที เพราะอาจร้อนจัดจนถุงพลาสติกละลายได้
  • ถ้าร้อนลวกหรือเจ็บให้เลิกประคบทันที เพราะประคบร้อนแล้วควรรู้สึกสบายขึ้น ไม่ใช่ยิ่งแย่ลง
  • ห้ามประคบร้อนให้เด็กเล็กหรือทารกเด็ดขาด

สิ่งของที่ใช้

วิธีการ 1

  • ถุงเท้ายาวสะอาดๆ
  • ข้าวสาร ถั่ว หรือข้าวโอ๊ตไว้กรอกเป็นไส้ใน
  • ผงหอม ผงสมุนไพร หรือน้ำมันหอมระเหยกลิ่นที่ชอบ (ไม่จำเป็น)
  • ไมโครเวฟ
  • ผ้าขนหนู ผ้าเช็ดตัว

วิธีการ 2

  • ผ้าขนหนู
  • น้ำสะอาด
  • ไมโครเวฟหรือกาต้มน้ำ
  • ถุงซิปล็อค
  • ผ้าเช็ดตัวแห้งๆ หรือปลอกหมอน
  • ที่คีบน้ำแข็ง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 52,483 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม