ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เราสะอึกเพราะกระบังลมหดตัวซ้ำๆ เด็กทารกหรือเด็กเกิดใหม่ก็ชอบสะอึกเหมือนกัน แต่ก็ไม่ใช่เรื่องน่าเป็นห่วงหรือเป็นโรคแต่อย่างใด [1] เวลาที่เด็กอ่อนสะอึก มักเป็นเพราะกินนมมากไปหรือเพราะท้องอืด จริงๆ แล้วเวลาสะอึก ตัวเด็กเองไม่ได้เจ็บหรือรำคาญอะไร แต่ถ้าคุณเป็นห่วงว่าลูกจะไม่สบายตัว คุณสามารถทำให้เขาหายสะอึกได้โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการให้นม และคอยดูแลเอาใจใส่ให้รอบด้าน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

หยุดให้นม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หยุดให้นมถ้าลูกสะอึกไม่ยอมหยุดจนให้นมหรือดูดนมจากขวดไม่สะดวก. กลับไปให้นมตอนลูกหายสะอึกแล้วเท่านั้น หรือถ้าเกิน 10 นาทีไปแล้วลูกยังสะอึกอยู่ ให้ลองให้นมอีกครั้ง
    • ทำให้ลูกหายสะอึกโดยนวดวนๆ หรือตบหลังเขาเบาๆ เด็กที่หิวจัดหรือหงุดหงิดจะอ้าปากหายใจเอาอากาศเข้าไปเยอะ จนทำให้สะอึกได้
  2. เด็กต้องกึ่งนั่งกึ่งนอนระหว่างให้นม และต้องนั่งท่านั้นไปจน 30 นาทีหลังให้นม [2] ให้นมเด็กในท่านั่งช่วยลดแรงกดที่กระบังลมเด็กได้
  3. พอเด็กเรอก็เป็นการระบายแก๊สในท้องที่ทำให้สะอึกออกมา เอาเด็กนั่งพิงอกคุณ หัวของเด็กจะได้ซบอยู่ที่ไหล่หรือเหนือไหล่คุณนิดหน่อย
    • นวดวนๆ หรือตบหลังเด็กเบาๆ แก๊สในท้องเด็กจะได้ออกมา
    • พอเด็กเรอแล้วค่อยให้นมต่อ หรือรอสัก 2 - 3 นาทีในกรณีที่เด็กไม่ยอมเรอ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ไม่ให้เด็กกลืนลมเข้าไปมาก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าได้ยินเสียงดังอึกๆ แสดงว่าเด็กคงดูดนมเร็วไปจนกลืนเอาลมเข้าไปด้วย พอกลืนลมเข้าไปมากเกิน ก็ทำให้ท้องอืดจนสะอึกได้ ให้คุณหยุดให้นมเป็นพักๆ เด็กจะได้กินนมช้าลง [3]
  2. ถ้าคุณให้เขาดูดนมจากเต้า ต้องดูว่าเขาดูดถูกแล้วหรือเปล่า. ปากของเด็กควรจะอมถึงฐานหัวนมทั้งหมด ไม่ใช่แค่หัวนมอย่างเดียว ถ้าเด็กดูดผิดวิธีก็จะกลืนลมเข้าไปได้
  3. อากาศข้างในจะได้ไหลลงไปที่ก้นขวด เด็กไม่ดูดเข้าไป หรือจะใช้ถุงใส่ขวดนมแบบพับได้สำหรับลดการกลืนลมเข้าไป
  4. ถ้ารูใหญ่เกินไป นมก็ไหลเร็วเกินไปด้วย แต่ถ้ารูเล็กไป เด็กก็หงุดหงิดจนกลืนลมเข้าไปมากอยู่ดี ถ้ารูจุกนมขนาดพอดี เวลาคุณคว่ำขวดนม จะมีนมหยดออกมา 2 - 3 หยด [4]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ปรับเปลี่ยนเวลาให้นม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณหมอมักแนะนำให้คุณให้นมลูกบ่อยๆ แต่ต้องทีละน้อยทั้งปริมาณนมและเวลาที่ให้นม ถ้าคุณให้นมลูกเยอะๆ ในทีเดียว ท้องก็จะอืด ทำให้กล้ามเนื้อกระบังลมหดตัวถี่ๆ กลายเป็นสะอึก [5]
  2. ถ้าให้ลูกดูดนมจากเต้า ก็หยุดให้เรอก่อนเปลี่ยนข้างก็ได้ ส่วนเด็กที่กินนมขวด ควรให้เรอหลังกินนมไปได้ 2 - 3 ออนซ์ (60 - 90 มล.) หรือจะหยุดให้ลูกเรอตอนลูกเลิกกินนมเองหรือหันหน้าหนีก็ได้
  3. ถ้าดูท่าทางจะหิวก็รีบให้นมเลย เด็กที่หิวน้อยจะดูดนมช้ากว่าเด็กที่โมโหหิว ตอนร้องอาละวาดนี่แหละกลืนลมเข้าไปเยอะดีนัก
  4. จดเวลากับระยะเวลาที่ลูกสะอึกแต่ละครั้ง การจดบันทึกช่วยให้คุณสังเกตได้ว่าเกิดซ้ำๆ หรือเปล่า และคุณจะได้แก้ถูกจุด จดด้วยว่าลูกสะอึกตอนให้นมหรือหลังให้นมแป๊บนึง ลองอ่านดูว่ามีอะไรที่เป็นตัวกระตุ้นได้บ้าง [8]
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ปรึกษาคุณหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เด็กมักสะอึกไม่นาน เดี๋ยวก็หาย ที่สำคัญคือเด็กจะไม่รำคาญเหมือนผู้ใหญ่หรอก แต่ถ้าคุณสังเกตเห็นว่าลูกไม่สบายตัว สะอึกแล้วทำให้กินนมไม่สะดวก หรือมีอาการผิดปกติอื่นใด ให้รีบพาไปหาหมอทันที [9]
  2. ถ้าลูกชอบสะอึกนานเป็น 20 นาที นั่นอาจเป็นอาการของโรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease หรือ GERD) ได้ [10]
    • อาการอื่นๆ ของโรคกรดไหลย้อนก็คือการพ่นน้ำลายและร้องงอแง
    • ถ้าเป็นโรคกรดไหลย้อน คุณหมอก็จะได้จ่ายยาหรือแนะนำวิธีดูแลรักษาให้
  3. ถ้าลูกหายใจหอบดังวี้ดๆ หรือเหมือนมีอะไรติดคอ ให้รีบพาไปหาหมอทันที
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • สะอึกเป็นเรื่องธรรมชาติสำหรับเด็กแรกเกิดและเด็กแบเบาะ พอระบบย่อยอาหารดีขึ้น ก็จะสะอึกน้อยลงจนหายไปเอง
  • ตอนตบหลังให้ลูกเรอ ดูให้ดีว่าไม่มีอะไรกดท้องลูกอยู่ วิธีที่ดีที่สุดคืออุ้มลูกเอาคางเกยไหล่คุณ เอามือรองตัวลูกไว้ที่หว่างขา แล้วตบหลังเบาๆ ด้วยมืออีกข้าง
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 54,769 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา