ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การมีทัศนคติที่เป็นลบเป็นสิ่งที่อันตรายต่อทั้งตัวคุณและคนรอบข้าง ยิ่งคุณมีทัศนคติต่อชีวิตที่เป็นลบนานเท่าไหร่ คุณก็จะเปลี่ยนทัศนคติตัวเองได้ยากขึ้นเท่านั้น แต่ถ้าคุณเต็มใจที่จะเปลี่ยนวิธีการที่คุณมองโลกและตัวเองแล้วล่ะก็ ก็มีหลายอย่างที่คุณสามารถทำได้ คุณสามารถเริ่มจากการตรวจสอบทัศนคติของคุณที่มีต่อโลกและต่อตัวคุณเอง จากนั้นค่อยเริ่มมองหาวิธีเล็กๆ น้อยๆ ที่ช่วยปรับปรุงทัศนคติของคุณ แล้วพยายามแก้ไขปัญหาหลักๆ ที่คุณมีกับโลกและตัวคุณเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ตรวจสอบทัศนคติของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณเชื่อว่าโลกนี้เป็นสถานที่ๆ เลวร้าย คุณก็มีแนวโน้มที่จะมีทัศนคติเชิงลบ ดังนั้นถ้าคุณสามารถเปลี่ยนแปลงความเชื่อของคุณที่มีต่อโลกใบนี้ได้ ทัศนคติของคุณก็น่าจะเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน [1]
    • นอกจากนี้ให้จำไว้ว่า ความเชื่อนั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นความคิดเห็นส่วนบุคคลค่อนข้างมากและสิ่งเดียวกันนั้นก็สามารถมองได้หลายวิธี เพราะฉะนั้นพยายามมองหาหลักฐานที่ตรงข้ามกับความเชื่อที่คุณมี
    • เช่น ถ้าคุณเชื่อว่าโลกนี้เป็นที่ๆ ไม่ดี คุณก็อาจจะใช้เวลา 2-3 ชั่วโมงค้นหาทุกวิถีทางที่คนเราช่วยเหลือกันในยามยากลำบาก
  2. ความคิดในด้านลบของคุณที่มีต่อโลกอาจทำให้คุณมีพฤติกรรมบางอย่าง และพฤติกรรมนี้ก็สามารถกำหนดผลลัพธ์ในบางสถานการณ์ได้ ความคิดในด้านลบของคุณอาจจะเริ่มก่อตัวในรูปแบบของการคาดการณ์ และทุกครั้งที่การคาดการณ์ของคุณเป็นจริง มุมมองที่เป็นลบของคุณก็จะยิ่งถูกตอกย้ำ สิ่งนี้เรียกว่าปรากฏการณ์ความหวังสร้างความจริง
    • ตัวอย่างปรากฏการณ์ความหวังสร้างความจริงก็เช่น ถ้าคุณคิดว่าโลกใบนี้เป็นที่ๆ เย็นชาและโหดร้าย คุณก็เลยเย็นชาและใจร้ายใส่คนอื่น ผลลัพธ์คือคนอื่นก็อาจจะเย็นชาและใจร้ายใส่คุณคืน จากนั้นคุณก็อาจจะตีความการกระทำของพวกเขาว่าตรงกับมุมมองของคุณที่มีต่อโลก ซึ่งจะยิ่งสนับสนุนทัศนคติของคุณมากขึ้นไปอีก [2]
  3. คุณสามารถควบคุมวิธีที่คุณมองโลกได้หลายวิธี พยายามจำข้อนี้ไว้ให้ขึ้นใจแล้วนำมาปรับใช้เพื่อประโยชน์ของตัวคุณเอง สุดท้ายแล้วคุณต้องรับผิดชอบต่อทัศนคติของตัวเองและไม่สามารถโทษคนอื่นหรือโทษสถานการณ์ว่าทำให้คุณต้องคิดแบบนี้ได้ [3]
    • จำไว้ว่าแม้บางครั้งคุณจะไม่สามารถเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของคุณได้ แต่คุณสามารถเปลี่ยนวิธีการแสดงออกต่อสภาพแวดล้อมเหล่านั้นได้ด้วยการยึดถือทัศนคติแบบหนึ่งเหนือทัศนคติอื่นๆ
  4. ในบางแง่มุมความเป็นจริงหลายอย่างก็ขึ้นอยู่กับการตีความของแต่ละคน เช่น คุณชอบสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่หรือไม่ ความเป็นจริงข้อนี้ขึ้นอยู่กับความคิดที่คุณเน้นย้ำและให้ความสนใจเสียเป็นส่วนใหญ่ [4]
    • เช่น ถ้าคุณไม่ชอบงานของคุณสักเท่าไหร่ คุณก็อาจจะคิดด้วยทัศนคติที่เป็นลบว่า "งานนี้มันทั้งห่วยแล้วก็ไร้ประโยชน์เสียจริง"
    • อย่างไรก็ตามคุณสามารถใช้ทัศนคติที่เป็นบวกมากยิ่งขึ้นในการมองสถานการณ์เดียวกันนี้และคิดว่า "จะว่าไปมันก็มหัศจรรย์อยู่นะที่ฉันสามารถทำงานแล้วก็หาเงินเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ ลองนึกว่าถ้าฉันต้องอยู่ในยุคที่ต้องออกอาหารแล้วก็ไม่รู้ว่าจะมีอะไรกินหรือเปล่าดูสิ"
  5. ทัศนคติของคุณส่วนหนึ่งสร้างขึ้นเวลาที่คุณสังเกตรูปแบบการกระทำแบบใดแบบหนึ่งของตัวเอง สิ่งนี้เรียกว่าทฤษฎีเกี่ยวกับการรับรู้ตนเอง และเป็นแนวความคิดที่ว่าคนเราสร้างทัศนคติจากการรับรู้พฤติกรรมของตนเอง [5]
    • เช่น งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า ถ้าคุณเน้นความสนใจของผู้คนไปที่จำนวนกิจกรรมทางศาสนาที่พวกเขาเคยเข้าร่วมมาก่อน พวกเขาก็มีแนวโน้มที่จะรายงานทัศนคติที่เป็นบวกต่อศาสนามากขึ้น
    • เพราะฉะนั้นถ้าคุณอยากจะปรับปรุงทัศนคติของคุณที่มีต่อชีวิตและต่อตนเอง คุณสามารถมีทัศนคติแบบนั้นส่วนหนึ่งได้จากการสร้างพฤติกรรมที่สอดคล้องกับทัศนคติที่คุณอยากมี การ "หลอกตัวเองว่าทำได้จนกว่าคุณจะทำได้จริงๆ" เป็นวิธีที่ช่วยให้คุณพัฒนาทัศนคติของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

สร้างความเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การตั้งเป้าหมายที่ไม่สามารถไปถึงได้เป็นหนทางที่มีแต่จะตอกย้ำทัศนคติที่มีต่อโลกในด้านลบ เช่น เรื่องนี้ก็ยากเกินไป เรื่องนี้ไม่เห็นจะยุติธรรมเลย โชคชะตาเล่นตลกกับฉันตลอด เป็นต้น นอกจากนี้การตั้งเป้าหมายที่เป็นไปไม่ได้ยังทำลายแรงบันดาลใจของคุณด้วย [6]
    • แทนที่จะตั้งเป้าหมายอย่าง "เทอมนี้ฉันจะต้องเรียนได้เกรด 4 ทุกวิชา" ให้ตั้งเป้าหมายเช่น "ฉันจะตั้งใจเรียนให้มากที่สุดเพื่อให้ได้คะแนนดีๆ" หรือแทนที่จะตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียง คุณอาจจะตั้งเป้าหมายว่าจะฝึกดนตรีเป็นประจำแทน
  2. มองความล้มเหลวว่าเป็นโอกาสที่คุณจะได้เรียนรู้. แนวคิดที่ว่าพรสวรรค์และทักษะของคุณนั้นไม่ได้ตายตัวและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่คุณสามารถเรียนรู้และเติบโตจากความผิดพลาดได้นั้นเป็นแนวคิดยอดเยี่ยมที่คุณควรนำมาปรับใช้ คุณสามารถใช้พลังของแนวคิดนี้ในการทำให้คุณกลายเป็นคนที่มีทักษะ พรสวรรค์ และมองชีวิตในแง่บวกมากขึ้นได้ [7]
    • การมองความล้มเหลวว่าเป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้และเติบโตนั้นจะทำให้คุณมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นคนคิดลบน้อยลงเมื่อคุณต้องเผชิญหน้ากับความพ่ายแพ้ใดๆ
    • เช่น ถ้าคุณเขียนงานส่งครูที่โรงเรียนได้ไม่ดี แทนที่จะก่นด่าตัวเองว่าโง่อย่างนั้นอย่างนี้ คุณอาจจะบอกตัวเองว่า "ฉันเขียนงานนี้ได้ไม่ค่อยดีเท่าที่ฉันอยากจะทำได้นัก แต่ฉันสามารถคุยกับอาจารย์และหาวิธีที่จะทำให้งานของฉันดีขึ้นได้ในครั้งต่อไป"
  3. ถ้าคุณมีปัญหาในการสร้างทัศนคติต่อชีวิตและตัวเองที่เป็นบวกมากขึ้น ลองทำหน้าตาให้มีความสุข บังคับตัวเองให้ยิ้มวันละ 2-3 นาทีขณะทบทวนชีวิตและตัวเอง งานวิจัยพบว่ากล้ามเนื้อใบหน้าและสภาวะทางอารมณ์ของคนเรานั้นมีความสัมพันธ์กันสองทิศทาง กล่าวคือโดยทั่วไปขณะที่เรารู้สึกมีความสุขเราก็จะยิ้ม และถ้าเรายิ้มเราก็จะรู้สึกมีความสุข [8]
    • ถ้าคุณต้องอาศัยตัวช่วยเพื่อให้ตัวเองยิ้ม ลองคาบดินสอไม้ไว้ที่ระหว่างฟันบนกับฟันล่างเพื่อให้ยางลบไปอยู่ที่มุมปากข้างหนึ่งและให้หัวดินสอไปอยู่ที่มุมปากอีกข้างหนึ่ง การคาบดินสอไม้ไว้ระหว่างฟันอย่างนี้จะทำให้คุณยิ้มได้
  4. คนเราเก่งในเรื่องการเรียนรู้จากคนที่อยู่รอบตัวเรา [9] เพราะฉะนั้นให้สร้างแรงบันดาลใจจากการกระทำของคนที่อยู่รอบข้างตัวคุณ พวกเขาทำอะไรมาบ้างไม่ว่าจะจากชีวประวัติหรือแค่เรื่องเล่าชีวิตของคนที่คุณพบเจอ พยายามมองหาคุณสมบัติเฉพาะตัวและคุณสมบัติที่สร้างแรงบันดาลใจในแต่ละคนที่คุณพบเจอ
    • เมื่อคุณพบคนที่มีทัศนคติต่อชีวิตและตนเองที่คุณประทับใจเป็นพิเศษ พยายามสร้างมุมมองจากทัศนคติของเธอที่คุณชอบมากที่สุด
  5. บางครั้งก็มีเหตุการณ์เล็กๆ น้อยๆ เกิดขึ้นในชีวิตของเราที่อาจจะทำให้อารมณ์ของเราขุ่นมัวหรือเสริมสร้างทัศนคติที่เป็นลบหรือไม่ดีให้กับเรา แต่พยายามจำไว้ว่าเมื่อเทียบกับภาพใหญ่ทั้งหมด เหตุการณ์เล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้มีความหมายกับเราน้อยมาก [10]
    • เช่น ถ้าคุณทำเสื้อเชิ้ตตัวโปรดของคุณขาดขณะซักผ้า ถามตัวเองว่าจากสัปดาห์หน้าหรือเดือนหน้าต่อจากนี้คุณจะยังโมโหอยู่ไหม เป็นไปได้ว่าไม่เพราะเมื่อเทียบกับภาพใหญ่ในชีวิตมันก็ไม่ได้สำคัญขนาดนั้น
  6. สิ่งที่คุณพูดกับตัวเองคือทุกคำที่วนเวียนอยู่ในหัวของคุณโดยที่คุณไม่ได้พูดออกมา บางครั้งวิธีที่คุณพูดกับตัวเองนั้นมันอาจจะไม่เป็นเหตุเป็นผลหรือตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ไม่ถูกต้องก็ได้ พยายามจับตาดูการพูดกับตัวเองเชิงลบและไม่ถูกต้องประเภทนี้ไว้ให้ดี เพื่อที่คุณจะสามารถกำจัดมันออกไปจากใจได้ [11]
    • เช่น ถ้าคุณกำลังบอกตัวเองว่าคุณไร้ค่าเพราะตอนนี้คุณควรจะเรียนมหาวิทยาลัยจบแล้ว ให้ถามคำถามตัวเองเกี่ยวกับเรื่องนี้ เช่น:
    • ทำไมการที่คุณเรียนมหาวิทยาลัยไม่จบพร้อมเพื่อนรุ่นเดียวกันส่วนใหญ่ถึงทำให้คุณไร้ค่า ทำไมมหาวิทยาลัยจึงสมควรเป็นสิ่งที่กำหนดคุณค่าของตัวคุณ แล้วสิ่งที่คุณได้เผชิญนอกมหาวิทยาลัยถือเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยหรือเปล่า ประสบการณ์เหล่านั้นหล่อหลอมให้คุณเป็นคุณอย่างทุกวันนี้หรือไม่
    • แทนที่จะพูดเชิงลบกับตัวเอง ให้ใช้ภาษาเชิงบวกตีกรอบทัศนคติที่มีต่อสิ่งต่างๆ ขึ้นมาใหม่ ลองพูดภาษาเชิงบวกกับตัวเองแม้ว่าคุณจะไม่รู้สึกอยากมองโลกในแง่บวกก็ตาม แทนที่จะพูดว่า "ฉันไม่มีวันประสบความสำเร็จแน่" ตีกรอบความคิดของคุณเสียใหม่ให้เป็นบวกมากขึ้นด้วยการพูดว่า "ฉันจะพยายามทำให้ดีที่สุด" หรือ "ฉันจะทุ่มเททุกอย่างที่ฉันมี" [12]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

จัดการกับเรื่องใหญ่ๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ และก็จะต้องมีบ้างที่คนอื่นจะมาทำให้คุณผิดหวัง เพื่อปรับปรุงทัศนคติของคุณที่มีต่อชีวิต ลองฝึกการให้อภัยผู้อื่นในบางเรื่อง เพราะการให้อภัยคนอื่นคือการที่คุณได้ปลดปล่อยอารมณ์ที่ไม่ดีออกไป และการทำเช่นนี้ยังดีต่อสุขภาพกายของคุณด้วย มีหลายสิ่งที่คุณต้องจำไว้ให้ขึ้นใจเพื่อสร้างนิสัยให้อภัยผู้อื่น [13] [14]
    • ทุกคนล้วนต้องพลาดพลั้งกันบ้างรวมทั้งตัวคุณด้วย พยายามนึกถึงครั้งสุดท้ายที่คุณเคยทำผิดพลาดแบบเดียวกันนี้กับคนอื่น วิธีนี้จะทำให้คุณเข้าใจมุมมองของคนที่ทำผิดต่อคุณและช่วยให้คุณให้อภัยเขาได้ง่ายขึ้น
    • ทำเหมือนว่าการให้อภัยคือสิ่งที่คุณให้กับตัวเอง ไม่ใช่ของขวัญที่คุณมอบให้คนที่คุณพยายามจะให้อภัย การให้อภัยเป็นสิ่งที่จะนำความสงบมาให้คุณ เพราะฉะนั้นมันจึงดีต่อตัวคุณเอง
    • มองหาประโยชน์ที่ซ่อนอยู่ในความผิดพลาดนั้น แม้ว่าวิธีนี้จะเป็นประเด็นที่ยังถกเถียงกันอยู่บ้าง แต่การพยายามหาแง่มุมดีๆ ซึ่งก็คือการมองหาวิธีที่จะช่วยให้คุณคิดได้ว่าการถูกทำร้ายในครั้งนี้จริงๆ แล้วมันมีประโยชน์กับคุณ (เช่น ทำให้คุณเข้มแข็งขึ้นในอนาคต) ก็เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่จะช่วยให้คุณให้อภัยคนอื่นได้
    • จำไว้ว่าการให้อภัยนั้นต้องใช้เวลา ไม่ใช่ว่าจะเกิดขึ้นในทันทีทันใด
  2. เมื่อคุณคิดถึงสิ่งที่คุณไม่ชอบมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไม่มีเงินใช้ ความรู้สึกว่าตัวเองอ้วนเกินไป อ่อนแอเกินไป หรือไม่มีใครเห็นคุณค่า คุณก็มีแนวโน้มที่จะนำโชคร้ายและความทุกข์เข้ามาในชีวิตของคุณเอง ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะปรากฏการณ์ความหวังสร้างความจริง ซึ่งก็คือการที่คุณคิดว่าสิ่งต่างๆ ต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ และผลลัพธ์ก็เลยออกมาเป็นแบบที่คุณคิดไว้จริงๆ หรือเพราะคุณหดหู่และคิดว่าคุณเปลี่ยนแปลงตัวเองไม่ได้ หรือแค่เพราะว่าการจมปลักอยู่กับปัญหานั้นคือการเติมเชื้อไฟให้กับความรู้สึกเชิงลบของคุณ [15] [16] [17]
    • แทนที่จะจมปลักกับปัญหา ให้พยายามมองไปที่เรื่องดีๆ ในชีวิตหรือการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า
    • นอกจากนี้คุณยังสามารถต่อสู้กับการจมปลักได้ด้วยการปล่อยวางสิ่งที่คุณรู้ว่าอยู่เหนือการควบคุมของคุณ หรือด้วยการคิดถึงเหตุการณ์เลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้นแล้วถามตัวเองว่า คุณจะผ่านมันไปได้ไหม (ซึ่งส่วนใหญ่คำตอบคือได้ ซึ่งจะช่วยให้คุณเลิกจมปลักกับมันสักที) [18]
    • เช่น ลองนึกดูว่าคุณไม่ชอบอะไรบางอย่างเกี่ยวกับตัวเองที่คุณเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เช่น ความสูงของคุณ คุณอาจจะปล่อยวางเรื่องนี้ด้วยการเตือนตัวเองว่า : "เนื่องจากฉันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความสูงของตัวเองได้ ไม่มีประโยชน์ที่จะมัวมาคิดถึงเรื่องนี้ เพราะฉะนั้นฉันจะพุ่งความสนใจไปที่เรื่องอื่นๆ ในชีวิตที่ฉันสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น เรื่องที่ว่าฉันจะแสดงความมั่นใจได้อย่างไรหรือเรื่องอารมณ์ขันของตัวเอง"
  3. หลีกเลี่ยงการใช้เวลากับอดีตมากจนเกินไป เพราะช่วงเวลานั้นมันเข้ามาและผ่านไปแล้ว ถ้าคุณไม่พอใจกับสิ่งที่คุณทำในอดีต คุณสามารถถามตัวเองได้ว่า คุณจะใช้บทเรียนที่คุณได้มาพัฒนาอนาคตได้อย่างไร แต่นอกจากเรื่องนี้อย่ายึดติดอยู่กับอดีต แต่ให้มองไปที่การสร้างอนาคตในแบบที่คุณต้องการแทน [19]
    • พยายามเตือนตัวเองไว้ว่า ไม่ว่าโอกาสดีๆ ที่คุณเคยพลาดในอดีตจะเป็นอะไร โอกาสเหล่านั้นไม่สำคัญเท่ากับโอกาสที่อาจเข้ามาในวันข้างหน้า
    • นอกจากนี้ จำไว้ด้วยว่าอดีตเป็นสิ่งที่คุณแก้ไขไม่ได้ แต่สิ่งที่คุณเปลี่ยนแปลงได้คืออนาคต เพราะฉะนั้นมันจะไม่เข้าท่ากว่าหรือถ้าคุณจะเอาเวลาไปคิดถึงสิ่งที่คุณเปลี่ยนแปลงได้มากกว่าสิ่งที่คุณเปลี่ยนแปลงไม่ได้
  4. ความรู้สึกขอบคุณคือการซาบซึ้งและตระหนักว่ามีสิ่งดีๆ อื่นๆ ในโลกที่อยู่เหนือตัวเรา การฝึกฝนความรู้สึกขอบคุณนั้นดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของคุณ และสามารถช่วยให้คุณพัฒนาความสัมพันธ์ ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณปรับปรุงทัศนคติของคุณที่มีต่อชีวิตได้ ในการสร้างความรู้สึกขอบคุณนั้น คุณควร : [20]
    • เขียนบันทึกและเขียนถึง 2-3 สิ่งที่คุณขอบคุณในแต่ละวัน
    • เขียนและส่งจดหมายขอบคุณไปให้ใครสักคน
    • มองที่เจตนาในการกระทำของคนอื่น และไม่จำเป็นต้องมองแค่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
  5. การมีสติก็คือ การรักษาความตระหนักรู้ในความคิด ความรู้สึก ประสาทสัมผัส และสภาพแวดล้อมของคุณในช่วงเวลานั้นๆ และการยอมรับสิ่งเหล่านั้นโดยไม่ตัดสิน งานวิจัยพบว่าการเจริญสติทำให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตดีขึ้น และยังทำให้คนเรามีเมตตาและมีแนวคิดเสริมสร้างสังคมมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนสำคัญต่อการมีทัศนคติต่อชีวิตที่ดีขึ้น ในการฝึกเจริญสตินั้น คุณควร : [21]
    • จดจ่อไปที่สิ่งแวดล้อมรอบข้างตัวคุณอย่างใกล้ชิด
    • ฟังเสียงลมหายใจของคุณอย่างใกล้ชิด
    • จดจ่อไปที่ประสาทสัมผัสที่คุณกำลังประสบอย่างตั้งใจ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มองเห็น กลิ่น เสียง และอื่นๆ
    • ยอมรับความคิดและความรู้สึกโดยไม่ตัดสิน คุณสามารถทำได้โดยการรับรู้ว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจริง จากนั้นก็เอาใจกลับไปจดจ่อที่ประสาทสัมผัส ความคิด และความรู้สึกอื่นๆ
  6. งานวิจัยพบว่าการช่วยเหลือผู้อื่น เช่น การเป็นอาสาสมัคร ช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกของตนเองขึ้นมาได้ ซึ่งก็อาจจะเป็นเพราะว่าการช่วยเหลือคนอื่นทำให้คุณรู้สึกถึงคุณค่าและการประสบความสำเร็จ [22]
    • ลองมองหากิจกรรมที่ทำให้คุณได้มีส่วนร่วมกับชุมชนทางออนไลน์หรือจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
  7. เราถูกสื่อถาโถมภาพเรือนร่างที่สมบูรณ์แบบเกินจริง ซึ่งอาจทำให้คุณยอมรับรูปลักษณ์ของตัวเองได้ยาก การยอมรับและการรักตัวเองเป็นส่วนสำคัญของการปรับปรุงทัศนคติที่มีต่อชีวิต เพื่อให้ยอมรับร่างกายของตัวเองได้มากขึ้น คุณควร : [23]
    • เลิกควบคุมอาหารและรับประทานให้เป็นปกติ การควบคุมอาหารคือการที่คุณกำลังบอกตัวเองผ่านพฤติกรรมว่า มีบางอย่างในตัวคุณที่ผิดปกติและคุณจะต้องแก้ไข แทนที่จะควบคุมอาหาร ให้พยายามรับประทานอาหารให้เป็นปกติ รับประทานเฉพาะเวลาที่คุณหิว รับประทานอาหารให้สมดุล ออกกำลังกายและใช้ชีวิตในแบบที่ดีต่อสุขภาพ
    • ให้ความสนใจตัวเองแบบองค์รวม ไม่ใช่แค่รูปลักษณ์ของคุณ จำไว้ว่าคุณคือคนๆ หนึ่งที่ไม่มีใครเหมือนและมีมิติอื่นๆ ที่นอกเหนือจากร่างกาย คุณมีบุคลิกภาพ จิตใจ เรื่องราวในอดีตที่ไม่เหมือนใคร และวิธีการมองโลก (ซึ่งก็คือทัศนคติของคุณ!)
    • เคารพรูปลักษณ์ของคนอื่น ถ้าคุณพบว่าตัวเองตัดสินคนอื่นในเชิงลบจากรูปลักษณ์ของเขา คุณก็มีแนวโน้มที่จะตัดสินตัวเองด้วยเช่นกัน พยายามยอมรับว่าคนอื่นก็เป็นคนๆ หนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะตัว และจำไว้ว่าแม้รูปลักษณ์จะมีผลต่อความรู้สึกนึกคิดที่คุณมีต่อคนอื่นโดยอัตโนมัติ แต่มันอาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริงเสมอไปก็ได้ [24]
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,288 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา