ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เนื้อขาไก่นั้นเต็มไปด้วยรสชาติ ความชุ่มฉ่ำ และมีเนื้อสัมผัสที่แสนเลิศ ยิ่งถ้าหากว่าหนังได้นำไปทอดกรอบด้วยแล้วก็ยิ่งดีไปใหญ่ มีหลายวิธีในการปรุงเนื้อขาไก่เลยล่ะ ทั้งนำไปอบ อบย่าง ใช้ไฟอ่อน และการทอด และนี่คือวิธีในการเตรียมมื้ออาหารที่ประกอบด้วยเนื้อขาไก่ที่ทั้งดีต่อสุขภาพและราคาไม่แพงอีกด้วย

  • ทำได้: 4 ที่

ส่วนประกอบ

  • เนื้อขาไก่ไร้กระดูก 450 กรัม
  • น้ำมันมะกอก 1 ถึง 2 ช้อนโต๊ะ (15 ถึง 30 มล.)
  • เกลือและพริกไทย เพื่อเพิ่มรสชาติ
  • เนื้อขาไก่ไร้กระดูก 450 กรัม
  • น้ำมันมะกอก 1 ถึง 2 ช้อนโต๊ะ (15 ถึง 30 มล.)
  • เกลือและพริกไทย เพื่อเพิ่มรสชาติ
  • เนื้อขาไก่ไร้กระดูก 450 กรัม
  • เกลือ 1/4 ช้อนชา (1.25 มล.)
  • พริกไทย 1/8 ช้อนชา (0.625 มล.)
  • ซอสบาร์บีคิว 3/4 ถ้วย (185 มล.)
  • น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ (30 มล.)
  • ซอสวูสเชสเตอร์ 1 ช้อนชา (5 มล.)
  • เนื้อขาไก่ไร้กระดูก 450 กรัม
  • เกลือและพริกไทย เพื่อเพิ่มรสชาติ
  • บัตเตอร์มิลค์ 1 1/2 ถ้วย (375 มล.)
  • น้ำมันคาโนลาร์ 4 ถ้วย (1 ลิตร)
  • แป้งอเนกประสงค์ 1 ถ้วย (225 มล.)
  • ไข่ 2 ฟองที่ตีแล้ว
  • เมล็ดข้าวโพดบดละเอียด (cornmeal) 2 ถ้วย (450 มล.)
วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

การอบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. [1] และเตรียมถาดอบด้วยการฉีดสเปรย์น้ำมันทำอาหารลงบางๆ
    • อีกทางเลือกหนึ่งคือ ปูฟอยล์อลูมิเนียมที่ไม่ติดอาหารไว้บนถาดอบ หรือใช้กระดาษไขแทนน้ำมันสเปรย์ได้
  2. โรยเกลือและพริกไทยเพื่อรสชาติ และโปรยน้ำมันมะกอกลงไปด้วย
    • จะปรุงรสไก่ลงบนถาดอบโดยตรงเพื่อที่ลดไม่ให้จานเสิร์ฟสกปรกก็ได้ อีกทางเลือกหนึ่งคือจะแยกใส่จานหรือชามเพื่อไม่ให้ถาดอบสกปรกมากก็ย่อมได้
    • ถ้าคุณไม่มั่นใจว่าควรใช้เกลือและพริกไทยเท่าไรดี ให้โปรยเกลือไปประมาณ ¼ ช้อนชา (1.25 มล.) และพริกไทยดำอีก 1/8 ช้อนชา (0.625 มล.)
    • ใช้แปรงทาเนยทาน้ำมันมะกอกให้ทั่วเนื้อไก่เพื่อให้คลุมเนื้อไก่ทั่วถึงกว่าเดิม น้ำมันจะช่วยให้เนื้อไก่ชุ่มชื้นและมีเนื้อสีเหลืองทองเมื่ออยู่ในเตาอบ เนยละลายหรือน้ำมันพืชอื่นๆ ก็ใช้ได้เช่นกัน
    • จะใช้ซอสสำหรับก็ได้หากถ้าต้องการ โดยให้ทาซอสที่ทำเองหรือซอสที่ซื้อมาอย่างซอสบาร์บีคิว ทาให้ทั่วเนื้อไก่ด้วยแปรงทาเนย
  3. ด้านบนของไก่ควรจะต้องเป็นสีน้ำตาลทองและมีอุณหภูมิภายในเนื้อไก่ 82 องศาเซลเซียส
    • ใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิเนื้อในการตรวจสอบอุณหภูมิภายในเนื้อ โดยเสียบเข้าไปตรงกลางของเนื้อขาไก่ตรงส่วนที่หนาที่สุดเพื่อค่าที่อ่านได้แม่นยำ
    • ถ้าหากว่าเนื้อขาไก่ยังไม่สุก ให้นำกลับไปอบเพิ่มอีกห้านาทีจนกว่าจะได้อุณหภูมิภายในถึงที่ต้องการ
  4. นำเนื้อไก่ออกมาหลังจากที่อบเสร็จและคลุมพักทิ้งเอาไว้สัก 10 นาที
    • คลุมถาดอบด้วยฟอยล์อลูมิเนียม อย่างไรก็ตาม ไม่จำเป็นต้องคลุมปิดให้แน่น เพียงแค่วางพักเอาไว้ข้างบนก็พอ
    • การที่ทิ้งให้เนื้อไก่ให้ได้พักจะทำให้เนื้อไก่นุ่มขึ้นและจะได้เย็นพอที่จะสามารถรับประทานได้สบายๆ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

การอบย่าง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. วอร์มเอาไว้ประมาณ 5 ถึง 10 นาที
    • เตาอบย่างส่วนใหญ่จะมีตัวตั้งค่าแค่ตัวเดียว ถ้าหากว่ามันมีค่าให้ตั้งว่า "ต่ำ (low)" และ "สูง (high)" ให้ตั้งค่าไปที่ "สูง (high)"
  2. โรยเกลือและพริกไทยตามต้องการและทาหรือโปรยน้ำมันมะกอกลงบนเนื้อไก่
    • ใช้เกลือประมาณ 1/4 ช้อนชา (1.25 มล.) และพริกไทยดำ 1/8 ช้อนชา (0.625 มล.) ถ้าหากไม่มั่นใจในจำนวนที่แน่นอน
    • ถ้าต้องการจะหมักเนื้อขาไก่ข้ามคืนก็ย่อมได้
  3. ให้แน่ใจว่ามีช่องว่างอยู่ระหว่างตะแกรงด้านในถาดอบและก้นถาดอบ
    • การใช้ถาดอบย่างที่มีตะแกรงด้านในนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญเลยนะ ตะแกรงที่อยู่ด้านในจะคอยกันให้ไขมันและน้ำมันร้อนๆ หยดออกจากเนื้อไก่ ซึ่งป้องกันไม่ให้เกิดไฟไหม้ได้
    • จะเอาเนื้อไก่ไร้กระดูกด้านไหนขึ้นก็ไม่มีปัญหาทั้งนั้น แต่ถ้าหากว่าคุณใช้เนื้อขาไก่แบบที่มีกระดูกอยู่ ให้เอาด้านที่มีกระดูกไว้ด้านบน ถ้าหากว่ามีหนังอยู่ด้วย การที่เอาด้านหนังไว้ข้างบนก็จะทำให้รสชาติออกมาอร่อยกว่า เพราะหนังจะกรอบหน่อยๆ ไงล่ะ
  4. อบย่างเนื้อขาไก่ 20 นาที หลังผ่านไป 10 นาทีก็ให้กลับด้าน (เพื่อให้ออกมาเป็นสีเหลืองทองเท่ากัน). ไม่ต้องปิดภาชนะ
    • วางถาดอบให้ห่างจากจุดให้ความร้อนด้านบนของเตาสัก 4 ถึง 5 นิ้ว (10 ถึง 13 ซม.)
    • ค่อยๆ กลับด้านไก่หลังจากที่ผ่านไปแล้ว 10 นาที ทาน้ำมันลงบนด้านที่กลับแล้วอบต่ออีก 10 นาที
    • เนื้อขาไก่ที่หนาหรือที่มีกระดูกอยู่อาจต้องใช้เวลาในการอบทั้งหมดประมาณ 25 ถึง 35 นาทีแทน [2]
    • หนังหรือเนื้อด้านนอกควรมีสีเหลืองทองเข้มกลางๆ และดูมันวาว ถ้าหากว่าด้านนอกสุกแล้วก่อนที่ด้านในจะสุก ให้ปรับอุณหภูมิต่ำลงเหลือสัก 149 องศาเซลเซียส เพื่อแผ่กระจายความร้อนให้ทั่วเนื้อด้านในโดยไม่ทำให้เนื้อด้านนอกแห้งหรือไหม้เอาได้
  5. พอเนื้อขาไก่เป็นสีเหลืองทองและมีอุณหภูมิเนื้อภายใน 82 องศาเซลเซียสแล้ว ก็ให้นำเนื้อขาไก่ออกจากเตาได้เลย
    • สิ่งที่สำคัญที่สุดคือน้ำที่หยดออกจากไก่ควรเป็นสีใส และเนื้อก็ไม่มีส่วนสีชมพูหลงเหลืออยู่ [3]
    • ตรวจสอบอุณหภูมิด้วยเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิเนื้อ โดยเสียบเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปยังจุดที่หนาที่สุดของเนื้อชิ้นที่หนาที่สุด ถ้าใช้เนื้อขาไก่ที่ยังมีกระดูกอยู่ ก็ต้องให้แน่ใจว่าเทอร์โมมิเตอร์ไม่ได้แตะเข้ากับกระดูกแต่อย่างใด
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

การใช้ไฟอ่อน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โรยเกลือและพริกไทยให้ทั่วเนื้อไก่
    • คุณสามารถปรุงรสไก่ด้วยเครื่องเทศหรือสมุนไพรได้ตามต้องการ กระเทียมป่น พริกป่น หัวหอมป่น หรือเครื่องปรุงคลีโอล (cleo seasoning) ปริมาณเล็กน้อยก็เข้ากันกับสูตรนี้ได้ดีเลยล่ะ ถ้าหากว่าใช้เนยหรือซอสเลมอนแทนที่จะเป็นซอสบาร์บีคิว ให้ปรุงด้วยผักชีฝรั่งหรือออริกาโน่ก็เข้ากันนะ
  2. ใช้หม้อตุ๋นความจุอย่างน้อย 3 ถึง 4 ลิตร และใช้ฝาปิดให้แน่นสนิทด้วยนะ
    • สามารถฉีดสเปรย์น้ำมันในหม้อหรือใช้ห่อพลาสติกสำหรับหม้อตุ๋นได้ถ้าต้องการ ซึ่งถือว่าไม่จำเป็น แต่ก็จะช่วยให้ไก่ไม่ติดด้านในหม้อตุ๋นได้นั่นเอง
  3. ผสมซอสบาร์บีคิว น้ำผึ้ง และซอสวูสเชสเตอร์เข้าด้วยกัน. ตีส่วนผสมให้เข้ากันในชามใบเล็ก
    • ถ้าอยากให้รสชาติเผ็ดร้อนขึ้น ก็ให้ใส่ซอสพริกลงไปด้วย 1/4 ช้อนชา (1.25 มล.)
    • หรืออีกทางเลือกหนึ่ง ถ้าหากว่าไม่ชอบซอสบาร์บีคิว จะทำซอสอย่างอื่นใส่ไก่เองก็ได้ แค่ให้แน่ใจว่าจะต้องมีของเหลวอย่างน้อย ¾ ถ้วย (185 มล.) เพื่อที่จะเคี่ยวตุ๋นไก่ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถทำซอสง่ายๆ ขึ้นมาจากน้ำสต็อคไก่ ½ ถ้วย (125 มล.) เนย 3 ช้อนโต๊ะ (45 มล.) และน้ำเลมอน 2 ช้อนโต๊ะ (60 มล.)
  4. คนเนื้อขาไก่เพื่อให้ซอสคลุมทั่วเท่ากัน
  5. [4] หลังจากที่เสร็จแล้ว เนื้อไก่ก็ควรจะมีอุณหภูมิด้านในถึง 82 องศาเซลเซียส
    • เนื้อไก่ควรนุ่มพอที่จะแยกออกจากกันได้โดยไม่ต้องหั่นเลย
  6. หลังจากที่เคี่ยวตุ๋นเสร็จแล้ว ให้นำไก่ออกจากหม้อตุ๋นแล้วใส่ในจานเสิร์ฟพร้อมซอสหรือน้ำที่โปรยไว้บนเนื้อไก่
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

การทอด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. โรยเกลือและพริกไทยลงบนเนื้อไก่ และหมักไว้ในบัตเตอร์มิลค์อย่างน้อย 2 ชั่วโมง [5]
    • ใช้เกลือและพริกไทยเพื่อช่วยเพิ่มรสชาติ แต่ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าควรใส่ลงไปเท่าไรดี ก็ให้เริ่มจากใส่เกลือ ¼ ช้อนชา (1.25 มล.) และพริกไทยดำ 1/8 ช้อนชา (0.625 มล.)
    • ให้แน่ใจว่าได้ใส่เนื้อไก่ไว้ในชามที่ไม่มีปฏิกิริยากับอาหาร ชามโลหะบางชนิดจะมีปฏิกิริยาสวนกลับกับบัตเตอร์มิลค์ที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ ฉะนั้นจะให้ดีที่สุดก็ให้ใช้แก้ว เซรามิค หรือพลาสติกแทน
    • คลุมชามเอาไว้และหมักให้เนื้อไก่ไว้ในตู้เย็น โดยควรทิ้งเอาไว้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง แต่จะหมักข้ามคืนก็ได้นะ
  2. เมื่อพร้อมที่จะทอดเนื้อขาไก่แล้ว ก็ให้อุ่นน้ำมันในอุณหภูมิ 177 องศาเซลเซียส
    • ใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิน้ำเชื่อมเพื่อดูอุณหภูมิของน้ำมัน
    • หม้อทอดจะได้ผลดีที่สุด แต่จะใช้หม้อโลหะเนื้อหนาทรงสูงแทนก็ได้ โดยอุ่นน้ำมันในหม้อในความร้อนที่มากกว่าระดับกลาง-สูง
  3. ใส่แป้ง ไข่ที่ตีแล้ว และเมล็ดข้าวโพดบดไว้แยกชามกัน
    • ชามควรมีปากที่กว้างและก้นตื้น เพื่อสะดวกต่อการจุ่มและคลุก
    • สามารถปรุงรสเมล็ดข้าวโพดด้วยเกลือ พริกไทย และปาปริก้าปริมาณเล็กน้อยได้ถ้าต้องการ
  4. จุ่มเนื้อขาไก่ลงไปในแป้ง ไข่ และข้าวโพดตามลำดับ
    • นำเนื้อไก่ออกจากบัตเตอร์มิลค์ ถือเอาไว้เหนือชามเพื่อให้บัตเตอร์มิลค์ส่วนเกินหยดลงมา
    • คลุกเนื้อขาไก่ทั้งสองด้านลงในแป้ง แป้งจะติดเนื้อไก่ได้ดีมาก ให้ถือไว้เหนือชามแล้วเคาะเบาๆ กับด้านข้างของชามเพื่อให้แป้งส่วนเกินหลุดลงมา
    • จุ่มไก่ที่เต็มไปด้วยแป้งลงไปในไข่ แล้วปล่อยให้ไข่ส่วนเกินหยดลงมาด้วยการถือเนื้อขาไก่ไว้เหนือชามด้วยระยะเวลาสั้นๆ
    • คลุกเนื้อขาไก่ทุกด้านในเมล็ดข้าวโพดบดละเอียด ดูให้แน่ใจว่าทั่วแล้วจริงๆ นะ
  5. เนื้อไก่ควรเป็นสีเหลืองทองเมื่อสุกแล้ว และอุณหภูมิด้านในเนื้อไก่ก็ควรร้อน 82 องศาเซลเซียส
  6. พักเนื้อขาไก่ไว้บนจานที่มีแผ่นทิชชู่หนาวางอยู่ประมาณ 5 นาทีเพื่อให้น้ำมันระบายออกมา จากนั้นก็นำไปเสิร์ฟขณะที่ยังร้อนอยู่
    โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ถาดอบ
  • ถาดอบย่าง
  • เครื่องตุ๋นไฟฟ้า
  • หม้อทอด หรือหม้อที่สูงและหนา
  • สเปรย์น้ำมัน ฟอยล์อลูมิเนียม หรือกระดาษไข
  • ชามที่ไม่ทำให้เกิดปฏิกิริยากับอาหาร
  • ที่ทาเนย
  • ตะกร้อมือ
  • ที่คีบ
  • เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิเนื้อ

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,464 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา