ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

หลายครั้งคุณอาจจะพบเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงานที่กำลังร้องไห้หรือเสียใจ คุณอาจจะอยากช่วยเหลือคนที่กำลังร้องไห้แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจากตรงไหนดี ส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือการแสดงให้เห็นว่าคุณใส่ใจ หยิบยื่นความช่วยเหลือใดๆ ก็ตามที่คุณสามารถทำได้และสนับสนุนความต้องการของพวกเขา ถามคำถามสักสองสามข้อเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขารู้สึกปลอดภัยหรือเพื่อประเมินว่าพวกเขาต้องการอะไรหรือไม่ โดยรวมแล้วก็คือให้เอื้อเฟื้อเวลาของคุณและปล่อยให้พวกเขาคุยเกี่ยวกับสิ่งที่อยู่ในใจของพวกเขา อย่างไรก็ตามอย่ากดดันให้พวกเขาคุยกับคุณ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การทำตัวเป็นประโยชน์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีน้อยครั้งที่คุณจะสามารถทำหรือพูดอะไรที่เป็นประโยชน์หรือช่วยได้จริงๆ คำพูดคือการปลอบใจที่ไม่ค่อยดีเท่าไร ในหลายกรณีแล้ว ส่วนสำคัญก็คือการอยู่ตรงนั้น การอยู่ข้างๆ และเวลาของคุณมักจะเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขาซาบซึ้งมากที่สุดในช่วงเวลาที่ยากลำบาก พยายามให้เวลากับพวกเขา [1]
    • อยู่กับบุคคลนั้นและให้พวกเขารู้ว่าคุณอยู่ตรงนั้นเพื่อพวกเขาและสนับสนุนพวกเขา คุณไม่จำเป็นต้องพูดเยอะ เพียงแค่อยู่ข้างๆ ก็พอแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าบุคคลนั้นรู้สึกว่าพวกเขาไม่เหลือใคร
  2. ปกติคนมักจะกลัวการร้องไห้ต่อหน้าคนอื่นเพราะว่าสังคมได้ตัดสินว่าการร้องไห้คือความอ่อนแอ ถ้าบุคคลนั้นเริ่มร้องไห้ในที่สาธารณะก็ให้ลองพาไปที่ที่มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น นี่จะช่วยไม่ให้พวกเขารู้สึกอับอาย ลองไปที่ห้องน้ำ รถ หรือห้องว่างๆ การอยู่ในที่ที่มีความเป็นส่วนตัวจะสามารถช่วยให้พวกเขารู้สึกปลอดภัยและสามารถจัดการกับอารมณ์ใดๆ ก็ตามที่พวกเขารู้สึกได้
    • ถ้าพวกเขารู้สึกอึดอัดใจ ให้ถามว่า "เธออยากไปที่ไหนที่เป็นส่วนตัวมากกว่านี้ไหม" คุณอาจจะพาพวกเขาไปที่ห้องน้ำ รถ ห้องส่วนตัว หรือที่ไหนก็ได้ แต่ไม่ใช่ในที่ที่จะมีคนอื่นอีกเป็นสิบๆ คน
    • ถ้าคุณยังอายุน้อยอยู่ (ยังเรียนโรงเรียนหรือวิทยาลัย) ก็อย่าพาบุคคลนั้นไปยังที่ที่คุณไม่สมควรจะไป อย่างเช่น ห้องเรียนที่ไม่มีใครเรียนอยู่ นอกจากนี้ให้แน่ใจว่าคุณสามารถหาทางออกได้ โดยไม่เดือดร้อน
  3. ถ้าคุณมีทิชชู่หรือรู้ว่าจะหาได้จากที่ไหนก็เอาให้พวกเขา การร้องไห้ทำให้ใบหน้าเปื้อนน้ำตาและน้ำมูก และการยื่นทิชชู่ให้นั้นจะเป็นสัญญาณที่คุณต้องการช่วยเหลือ ถ้าไม่มีทิชชู่อยู่ใกล้ๆ ก็เสนอตัวว่าคุณจะหาให้พวกเขา
    • คุณอาจจะพูดว่า “เธออยากให้ฉันหาทิชชู่ให้ไหม"
    • บางครั้งการให้ทิชชู่นั้นเป็นสัญญาณว่าคุณอยากให้พวกเขาหยุดร้องไห้เสียที เพราะฉะนั้นระวังว่าพวกเขาจะเข้าใจการกระทำของคุณว่าอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบุคคลนั้นกำลังเสียใจมากหรือกำลังโศกเศร้ากับความตายหรือการเลิกรา
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การสนับสนุนความต้องการของพวกเขา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะบอกใครสักคนให้หยุดร้องไห้หรือบอกว่าอะไรก็ตามที่ทำให้พวกเขาร้องไห้นั้นไม่คุ้มค่ากับน้ำตาของพวกเขา การร้องไห้จะทำให้คนนั้นรู้สึกดีขึ้น การระบายอารมณ์จะดีกว่าการเก็บกดอารมณ์ไว้ข้างในเพราะการปิดกั้นอารมณ์จะนำไปสู่ความเจ็บป่วยทางจิตต่างๆ อย่างเช่น ภาวะซึมเศร้า ถ้ามีใครกำลังร้องไห้อยู่ ก็ปล่อยให้พวกเขาร้องไห้ไป อย่าพูดอะไรอย่างเช่น "อย่าร้องไห้เลย" หรือ "นี่แค่เรื่องเล็กนิดเดียว ทำไมเธอถึงร้องไห้เนี่ย" พวกเขากำลังแบ่งปันช่วงเวลาที่เปราะบางกับคุณ ดังนั้นปล่อยให้พวกเขาแสดงสิ่งที่ต้องการได้โดยไม่ต้องบอกว่าพวกเขาต้องรู้สึกอย่างไร
    • คุณอาจจะรู้สึกเก้ๆ กังๆ หรืออึดอัดตอนอยู่ใกล้คนที่กำลังร้องไห้ ให้จำไว้ว่าบทบาทของคุณคือการให้การสนับสนุนในแบบที่เป็นประโยชน์ต่อพวกเขา และท้ายที่สุดนั้นความสนใจไม่ได้อยู่ที่คุณ
  2. พวกเขาอาจจะอยากให้คุณอยู่ข้างๆ และรับฟัง หรือพวกเขาอาจจะต้องการพื้นที่ส่วนตัวและเวลาเพื่ออยู่เดียว อย่าทึกทักเอาว่าคุณรู้ว่าพวกเขาต้องการอะไรเพราะคุณไม่รู้หรอก การถามถึงสิ่งที่พวกเขาต้องการและจำเป็นนั้นจะทำให้บุคคลนั้นอยู่ในการควบคุมและเปิดโอกาสให้คุณได้ฟังและตอบโต้ได้ ไม่ว่าพวกเขาจะขอหรือต้องการอะไรก็ตาม ให้เคารพในสิ่งที่พวกเขาพูด [2]
    • ถามว่า "ฉันจะทำอะไรเพื่อช่วยเธอได้บ้าง" หรือ "ฉันจะสนับสนุนเธอได้อย่างไรบ้าง"
    • ถ้าพวกเขาขอให้คุณออกไป ก็จงออกไป อย่าพูดอะไรอย่างเช่น "แต่เธอต้องการให้ฉันช่วยนะ" แต่ให้พูดว่า "โอเค ก็ได้แต่ถ้าเธอต้องการอะไรก็โทรหรือส่งข้อความหาฉันนะ" บางครั้งคนเราก็ต้องการพื้นที่ส่วนตัวบ้าง
  3. คุณไม่ควรจะรู้สึกเหมือนกำลังรีบหรือต้องทำอะไรบางอย่าง ส่วนหนึ่งของการสนับสนุนคือการอยู่ตรงนั้นและให้เวลากับบุคคลนั้น ถ้าคุณอยู่ที่นั่นเพื่อปลอบใจพวกเขา ก็จงให้เวลาที่พวกเขาต้องการ แค่การที่คุณอยู่เคียงข้างก็สามารถปลอบพวกเขาได้แล้ว ดังนั้นการอยู่ใกล้ๆ และแน่ใจว่าพวกเขาสามารถรับมือกับเรื่องนั้นได้หรือการได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมอาจจะเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องการมากที่สุด
    • อย่าแวะมาแค่แป๊บเดียวแล้วไปทำอย่างอื่น อยู่กับพวกเขาและทำให้พวกเขารู้ว่าคุณจะอยู่ที่นั่นถ้าพวกเขาต้องการคุณ แม้ว่าคุณจะมีงานต้องทำ แต่การให้เวลาพวกเขาอีกสักพักนั้นไม่เสียหายอะไรหรอก
  4. ถ้าคุณรู้ว่าเพื่อนของคุณชอบการกอดก็จงกอดพวกเขา อย่างไรก็ตามถ้าพวกเขาไม่ค่อยชอบให้โดนตัว คุณอาจจะแค่แตะหลังของพวกเขาหรือบางทีอาจจะไม่แตะต้องพวกเขาเลย ถ้าคุณกำลังช่วยเหลือคนแปลกหน้า คุณควรจะถามก่อนว่าพวกเขาต้องการให้สัมผัสหรือไม่ ถ้าคุณสงสัย คุณก็ควรจะถามว่าพวกเขาต้องการให้กอดหรือให้คุณจับมือไว้หรือเปล่า ถ้าพวกเขาไม่ต้องการให้สัมผัส ก็อย่าทำ [3]
    • ถามว่า "จะรังเกียจไหมถ้าฉันจะกอดเธอ" เพื่อนหรือครอบครัวของคุณอาจจะต้องการให้สัมผัสทางกายภาพมากกว่าคนแปลกหน้า ดังนั้นให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้ทำให้บุคคลนั้นอึดอัดใจมากขึ้น
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การคุยเกี่ยวกับเรื่องที่พวกเขาได้ประสบมา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บุคคลนั้นอาจจะยังสะเทือนใจหรือไม่อยากพูด ถ้าดูเหมือนว่าพวกเขาจะไม่เต็มใจหรืออยากจะเปิดใจก็อย่าบังคับ พวกเขาไม่ได้อยากจะเล่าปัญหาให้คุณฟังเสมอไปหรอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณไม่สนิทกับพวกเขา ถ้าคุณอึกอักไม่รู้จะพูดอะไร ก็ไม่ต้องรู้สึกว่าคุณต้องพูดอะไรที่ลึกซึ้ง เแค่อยู่ตรงนั้นและพูด (หรือบอกเป็นนัย) ว่า "ฉันอยู่ตรงนี้เพื่อสนับสนุนเธอ" แค่นั้นก็มักจะเพียงพอแล้ว
    • คุณอาจจะปลอบคนที่จะไม่บอกคุณหรอกว่าอะไรที่ทำให้เขาเสียใจ ซึ่งนั่นไม่เป็นไร
    • คุณอาจจะพูดว่า "การพูดถึงปัญหาอาจจะทำให้เธอรู้สึกดีขึ้นนะ ถ้าเธออยากคุยล่ะก็ฉันอยู่กับเธอตรงนี้นะ"
    • อย่าทำอะไรที่เป็นการด่วนตัดสิน ถ้าคุณทำแบบนั้นบุคคลนั้นจะสงวนท่าทีและไม่ไว้ใจคุณ
  2. ตั้งใจฟังและเต็มใจที่จะให้ความสำคัญกับพวกเขาอย่างเต็มที่ ถ้าคุณถามพวกเขาว่าเป็นอะไรและพวกเขาไม่ตอบ ก็อย่าคะยั้นคะยอถาม ให้ยอมรับสิ่งที่พวกเขาพูดและเน้นที่การฟังอย่างประคับประคองต่อไป [4] ให้ความสนใจกับพวกเขาอย่างเต็มที่และใส่ใจว่าพวกเขาพูดอะไรและอย่างไร
    • ทำให้การฟังของคุณดีขึ้นโดยการสบตาและตอบสนองโดยไม่ด่วนตัดสินอะไร
  3. คุณอาจจะคิดว่าการพูดว่า "ฉันก็เพิ่งผ่านอะไรแบบนั้นมาเหมือนกัน" จะเป็นประโยชน์และเชื่อมความรู้สึกถึงกันได้ แต่จริงๆ แล้วนั่นคือการมุ่งความสำคัญไปที่คุณและไม่ใช่พวกเขา และที่แย่ไปกว่านั้นคือ เขาอาจจะรู้สึกเหมือนว่าคุณกำลังมองข้ามความรู้สึกของพวกเขา ให้คงบทสนทนาเกี่ยวกับพวกเขาเอาไว้ ถ้าพวกเขากำลังพูดถึงสิ่งที่ทำให้พวกเขาร้องไห้ ก็ปล่อยให้พวกเขาพูดไปและอย่าขัดจังหวะพวกเขา [5]
    • คุณอาจจะอยากเชื่อมโยงกับพวกเขาหรือคุยเกี่ยวกับบางอย่างในชีวิตของคุณ แต่จงอดกลั้นไว้อย่าทำแบบนั้นเว้นแต่ว่าพวกเขาจะถาม บทบาทของคุณคือการช่วยเหลือและปลอบโยนพวกเขา
  4. ถ้าบุคคลนั้นกำลังร้องไห้และเสียใจเกี่ยวกับสถานการณ์บางอย่าง อย่าพยายามแก้ปัญหาให้พวกเขาทันที คุณควรจะพูดให้น้อยลงและฟังให้มากขึ้น บุคคลนั้นอาจจะไม่ได้พูดถึงว่าเขาเป็นอะไรเสียด้วยซ้ำและนั่นไม่เป็นไร ไม่ใช่หน้าที่ของคุณที่จะแก้ปัญหาของพวกเขา [6]
    • การร้องไห้ของพวกเขาไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา แต่เป็นวิธีแสดงความรู้สึกของพวกเขา ปล่อยให้พวกเขาทำแบบนั้นไปโดยไม่ต้องขัดจังหวะ
    • คุณอาจจะห้ามตัวเองไม่ให้ร้องไห้ไปด้วยได้ยาก แต่จำไว้ว่าการร้องไห้ไม่ใช่สัญญาณของความอ่อนแอ
  5. สนับสนุนให้พวกเขาไปพบนักบำบัดถ้าพวกเขาต้องการการสนับสนุนเพิ่มเติม . ถ้าบุคลนี้มีปัญหาซ้ำๆ ในการจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง ก็อาจจะถึงเวลาไปพบนักบำบัดแล้วล่ะ คุณอาจจะคิดว่าปัญหาของพวกเขามันหนักหนาหรือคุณอาจจะคิดว่านักบำบัดอาจจะจัดการกับสิ่งที่พวกเขากำลังประสบอยู่ได้ดีที่สุด แนะนำอย่างอ่อนโยนแต่ทำให้พวกเขารู้ว่านี่อาจจะเป็นความคิดที่ดีก็ได้ [7]
    • ยกตัวอย่างเช่น ลองพูดว่า "ฟังดูเหมือนว่าสิ่งที่เธอกำลังเผชิญอยู่นั้นเป็นเรื่องยากจริงๆ เธอเคยคิดว่าจะปรึกษากับนักบำบัดดูบ้างไหม"
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 53,935 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา