ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การพูดคุยกับคนแปลกหน้าไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่ยากเย็นเสมอไป อย่าใช้เวลารวบรวมความกล้าให้นานจนเกินไป สูดหายใจเข้าลึกๆ คิดถึงการเริ่มต้นที่ดี แล้วก็เข้าไปพูดคุยกับคนๆ นั้นได้เลย! ลองเริ่มง่ายๆ เช่น “สวัสดี ฉันชื่อ (ตามด้วยชื่อของคุณ)” แสดงไหวพริบและพูดคุยถึงเรื่องที่มีประโยชน์เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัว ถามคำถามง่ายๆ เช่น คนๆ นั้นมาจากที่ไหน เขาทำงานอะไร หรือว่าเขารู้จักกับเพื่อนของคุณได้อย่างไร เริ่มจากการพูดคุยเรื่องทั่วๆ ไป ถามคำถามที่น่าเชื่อถือ แล้วปล่อยให้การสนทนาดำเนินไปสู่สิ่งน่าสนใจอย่างเป็นธรรมชาติ จำเอาไว้ให้ดีว่า มันเป็นไปได้สูงที่คนๆ นั้นก็กำลังรู้สึกประหม่าในการพูดคุยกับคนแปลกหน้าอยู่เช่นกันแหละ!

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

พูดคุยเรื่องทั่วๆ ไป

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาที่คุณจะเข้าไปพูดคุยกับใครสักคน คุณก็ควรเตรียมการเริ่มต้นการสนทนานั้น มันจะเป็นสิ่งที่ทำให้คนๆ นั้นมั่นใจได้ว่าคุณรู้มารยาทสังคม เป็นมิตร และสนใจในตัวพวกเขาอย่างจริงจัง
    • แต่ก็ไม่ต้องคิดมากจนเกินไปนะ แค่การทักทายง่ายๆ เช่น “สวัสดี คุณเป็นอย่างไรบ้าง?” หรือ “วันนี้เป็นวันที่ดีจังเลย ที่นั่งตรงนี้ว่างอยู่หรือเปล่าครับ/คะ?” ก็ได้ผลมากๆ แล้ว ความเรียบง่ายนี่ ดีที่สุดเลยล่ะ
    • พูดคุยถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นรอบๆ คุณทั้งสองคน คุณอาจจะกำลังอยู่ในห้างสรรพสินค้า และเธอคนนั้นก็กำลังเดินเลือกซื้อรองเท้าอยู่ คุณสามารถเข้าไปหาเธอแล้วพูดว่า “รองเท้าคู่นั้นสวยดีนะ คุณใส่แล้วจะดูดีมากเลย”
    • ถามคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นรอบๆ คุณ ถามทางไปห้องสมุด (แล้วทำเป็นเดินไปด้วยล่ะ) ถามเวลา (แล้วทำตัวให้เหมือนกำลังยุ่ง) หรือแค่ถามพวกเขาว่ามีร้านอาหารสำหรับมื้อกลางวัน/เย็นใกล้ๆ บ้างหรือเปล่า
  2. การพูดคุยเรื่องทั่วไปอาจดูไม่น่าสนใจสักเท่าไหร่ แต่มันสามารถทำให้เราได้รู้จักกับอีกคนหนึ่งได้มาก และยังสามารถนำไปสู่บทสนทนาที่มีความหมายมากขึ้นได้อีกด้วย มันเป็นขั้นตอนหนึ่งที่พลาดไม่ได้เลยล่ะ
    • ถามคนๆ นั้นดูว่าเขาทำอาชีพอะไร แล้วบอกด้วยว่าคุณเองทำอะไร แม้ว่าการพูดคุยถึงอาชีพการงานจะไม่ใช่บทสนทนาที่น่าสนใจที่สุด (นอกเสียจากว่าคุณจะเป็นนักกระโดดร่ม หรือนักสำรวจใต้น้ำ) แต่การได้รู้ว่าคนอื่นทำอาชีพอะไรก็สามารถเป็นสิ่งที่น่าสนใจได้นะ
    • ถามคนๆ นั้นดูว่าเขาเติบโตขึ้นมาจากที่ไหน “คุณเติบโตขึ้นมาจากที่นี่หรือเปล่า?” เป็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องทั่วๆ ไปที่เจ๋งมากเลยล่ะ “เมืองที่คุณเติบโตขึ้นมาเป็นอย่างไรบ้าง?” เป็นคำถามต่อมาที่ดีมากถ้าพวกเขาไม่ได้เป็นคนแถวนั้น
    • ถามถึงงานอดิเรกของพวกเขา วิธีถามดีๆ ก็เช่น “คุณชอบทำอะไรยามว่าง?” หวังว่าพวกเขาจะมีงานอดิเรกที่น่าตื่นเต้นและเรื่องราวสนุกๆ มาเล่าให้ฟังนะ
    • อย่าพูดคุยเกี่ยวกับอากาศเป็นอันขาด ไม่มีใครสนใจอากาศจริงๆ จังๆ หรอก มันเป็นสัญญาณที่บอกว่าคุณไม่ทำตัวให้เป็นกันเอง แทนที่จะสนใจฝนหรือพระอาทิตย์ก็หันมาสนใจคนที่คุณคุยด้วยดีกว่า
  3. บางคนชอบคิดว่าตัวเองเป็นคนตลกหรือมีไหวพริบทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วพวกเขาไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย ถ้าบ่อยครั้งที่เวลาคุณพยายามทำตัวตลก แล้วเพื่อนๆ หัวเราะเอาใจช่วยหรือคนแปลกหน้าได้แต่ทำตัวสุภาพกับคุณ ก็อย่าได้พยายามตลกเลย แต่ถ้าหากคุณเป็นคนที่ตลกจริงๆ ก็ไม่ต้องเขินที่จะเล่นมุกฮาๆ ออกมาบ้าง
    • อย่าทำตัวเว่อร์จนเกินไป คนที่คุณคุยด้วยยังไม่ได้สนิทสนมกับคุณ และก็อาจจะกำลังเฝ้าดูอยู่ว่าพวกเขาจะชอบคุณหรือไม่ มุกที่ทะลึ่งตึงตังจะทำให้โอกาสในการสร้างความประทับใจแก่พวกเขาหายไปต่อหน้าต่อตา
  4. ภาษากายบ่งบอกถึงความเป็นตัวเราได้มาก มันจะแสดงอารมณ์ของคุณออกมาให้ปรากฏ ไม่ว่าคุณจะรู้สึกเบื่อ กังวล ตื่นเต้น มีความสุข หรือเศร้าสร้อย อย่าลืมใส่ใจในการใช้ภาษากายเพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีให้กับเพื่อนใหม่ของคุณล่ะ
    • สบตาเข้าไว้ มองเข้าไปในดวงตาของคนๆ นั้น อย่างน้อยก็เวลาที่คุณพูด อย่าก้มหน้ามองเท้าหรือเหม่อมองออกไปข้างหน้า
    • ยิ้มเป็นระยะ คุณไม่จำเป็นต้องมีใบหน้าที่เปื้อนยิ้มอยู่ตลอดเวลา แต่ก็ให้พยายามยิ้มออกมาด้วยความจริงใจ แม้ว่าลึกๆ แล้วคุณจะไม่ได้รู้สึกเช่นนั้นก็ตาม
    • ระวังมือของคุณเอาไว้ให้ดี อย่าเล่นกับมัน ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น อย่าไปแตะเนื้อต้องตัวคนๆ นั้น จำเอาไว้เสมอว่า พวกเขายังไม่ได้รู้จักคุณดีเลย คุณไม่ควรที่จะทำตัวสนิทสนมกับพวกเขามากจนเกินไป
    • พูดคุยให้ช้าๆ และหัวเราะกับมุกตลกของอีกฝ่าย (แม้ว่ามันจะไม่ได้ตลกขนาดนั้นก็ตาม) ทำใจให้สงบโดยการพูดช้าๆ มันจะฟังดูเหมือนแปลก แต่ที่จริงแล้วมันจะออกมาเป็นธรรมชาติ เอาใจอีกฝ่ายด้วยการหัวเราะไปกับมุกฝืดๆ ของเขา
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

สานต่อการสนทนา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณไม่จำเป็นต้องรอให้อีกฝ่ายถามก่อนแล้วจึงเล่าเสมอไป
    • เชื่อมโยงประสบการณ์ที่พวกเขาพูดถึงเข้ากับประสบการณ์ส่วนตัวของคุณ
      • ถ้าอีกฝ่ายเล่าว่าเขาได้ไปเล่นน้ำทะเลเมื่อวันสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา คุณก็สามารถพูดว่า “น่าอิจฉาจังเลย ฉันตั้งใจไปมาเหมือนกันเมื่อเดือนธันวาที่แล้ว แต่พอดีงานเข้า ตอนที่คุณไปนี่อากาศคงกำลังดีเลยนะ?”
    • ให้ข้อมูลที่เอื้อต่อบทสนทนา หลายครั้งที่คุณอาจเผลอพูดถึงสิ่งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกันเลย
      • ถ้าอีกฝ่ายบ่นเกี่ยวกับพ่อตาแม่ยาย คุณก็สามารถพูดว่า “ฉันเข้าใจ ตอนที่ฉันทำความรู้จักกับพ่อตาแม่ยายของฉันใหม่ๆ ก็ลำบากอยู่เหมือนกัน ที่จริง มีเรื่องตลกเกิดขึ้นในคืนวันแต่งงานของฉันด้วยซ้ำ ตอนที่พ่อของฉันเข้าใจผิด นึกว่าพ่อตาของฉันเป็นบาร์เทนเดอร์...”
  2. การเล่าเรื่องเป็นการเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายหนึ่งได้พักจากการพูดและเปิดใจให้คุณไปพร้อมๆ กัน การเล่าเรื่องที่นำไปสู่การสนทนาต่อๆ ไปเป็นการสร้างสมดุลระหว่างความน่าตื่นเต้นและความอ่อนน้อมถ่อมตน เล่าเรื่องที่สนุกสนานชวนติดตาม แต่ก็อย่าเผลอทำตัวอวดดี
  3. การผ่านเหตุการณ์ที่เหมือนๆ กันมา หรือการได้เคยประสบกับบางสิ่งที่พิเศษร่วมกันจะช่วยสร้างสัมพันธ์ระหว่างตัวคุณกับอีกฝ่าย เราต้องการให้คนอื่นเข้าใจเรา และการหาสิ่งที่มีเหมือนกันก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้คนอื่นเข้าใจเราได้มากขึ้น
    • ความเหมือนที่สามารถกล่าวถึงได้ในสังคมได้แก่. โรงเรียน (ระดับไหนก็ตาม) สถานที่เกิด บุคคลตัวอย่างในใจ ความชอบส่วนตัว (อาหารที่ชอบ ที่ๆ อยากไป ภาพยนตร์ ทีมกีฬา ฯลฯ) ความเป็นมาของตัวเอง เป้าหมาย และอีกมากมายที่สามารถพูดถึงได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าหากคุณรู้สึกว่าอีกฝ่ายอาจไม่ชอบให้คุณหาความเหมือนระหว่างคุณกับเขา ก็หลีกเลี่ยงการพูดถึงสิ่งเหล่านี้เสีย
    • หลีกเลี่ยงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและการเมือง. แม้ว่าศาสนาและการเมืองจะเป็นสิ่งที่สามารถพูดถึงกันได้ทั่วๆ ไป แต่มันก็เป็นเรื่องที่อาจทำให้เกิดไฟปะทุทางอารมณ์ขึ้นมาได้ รอจนถึงการนัดเจอกันครั้งที่สามหรือสี่ แล้วค่อยเข้าประเด็นนี้จะดีกว่า
  4. ไม่มีปัญหาที่คุณจะหยอกล้ออีกฝ่ายบ้าง แต่ความจริงใจควรจะเป็นสิ่งที่คุณมอบให้กับเขาตลอดเวลาที่พูดคุยกัน ความจริงใจจะทำให้อีกฝ่ายได้รู้ว่าคุณกำลังเป็นตัวของคุณเองอย่างแท้จริง มันคือสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ ของขวัญที่เกิดขึ้นจากความไว้ใจซึ่งกันและกัน
    • ถ้าคุณชอบเล่นมุก ก็อย่าลืมต่อท้ายมุกของคุณด้วยประโยคเช่น “แต่ที่จริงแล้ว” หรือ “ฉันแค่ล้อเล่น ถ้าคุณอยากจะรู้ความจริงละก็...” ประโยคเหล่านี้จะแสดงให้เห็นว่าคุณสามารถตลกได้มากเท่าๆ กับที่คุณจริงใจ
    • มันโอเคมากๆ ที่คุณจะแสดงจุดอ่อนของตัวเองออกมา ถ้าหากว่าคุณไม่ได้รู้สึกแย่กับสิ่งนั้น มันหมายความว่าอย่างไรหรือ? มันหมายความว่าคุณสามารถพูดคุยถึงเรื่องราวที่คุณไม่ได้เล่าให้คนทั่วๆ ไปฟัง (การวินิจฉัยโรคมะเร็ง การกลัวที่โล่งกว้าง ฯลฯ) ถ้าเพียงคุณจะไม่แสดงอาการตื่นกลัว กวนใจ หรือเป็นทุกข์เป็นร้อนเกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้น ในความเป็นจริง คนเราชอบเวลาที่ได้เห็นผู้อื่นเผยจุดอ่อนของตัวเองออกมาด้วยท่าทีที่สงบนิ่ง มันทำให้พวกเขาเห็นว่าคุณไม่เสแสร้ง
  5. การสนทนาก็เหมือนกับการนัดเจอ มันมีการเริ่มต้น ระหว่างทาง และจุดสิ้นสุด มันไม่ควรที่จะดำเนินต่อไปตลอดกาล รู้เวลาที่เหมาะสมแก่การจบบทสนทนา แล้วอาจจะเริ่มเรื่องอื่น การจบบทสนทนาเป็นเรื่องธรรมดา มันไม่ได้หมายความว่าคุณล้มเหลวแต่อย่างใด
    • ถ้าหากว่าคุณสามารถพูดคุยกับคนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนได้เป็นเวลา 15-30 นาที ก็ถือว่าเยี่ยมมากแล้วล่ะ คุณคงจะเริ่มหมดคำถามและไม่รู้จะคุยอะไรต่อดี ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา จบบทสนทนาด้วยการพูดว่า “ดีจังเลยที่ได้พบกับคุณ เราจะได้คุยกันอีกใช่ไหม?” ถ้าหากอีกฝ่ายดูสนใจคุณ ก็ลองขอแลกเบอร์กันดู
    • ถ้าคุณสามารถคุยได้นานกว่า 30 นาที คุณก็คงถูกชะตากับคนๆ นั้นมากเลยล่ะ คุณสองคนอาจจะมีอะไรที่เหมือนกันมากมาย และสามารถเข้ากันได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณควรจะคุยกันต่อทั้งคืน หรือรบกวนเวลาของคนๆ นั้นไปทั้งหมด ถ้าการสนทนาดำเนินไปอย่างเป็นธรรมชาติ ก็ปล่อยให้มันดำเนินไปเรื่อยๆ เมื่อใดก็ตามที่เริ่มไม่มีเรื่องจะคุยกันต่อแล้ว ก็หาทางบอกลาที่นุ่มนวล ในเมื่อคุณกลายเป็นเพื่อนกันแล้ว โอกาสที่จะได้คุยกันก็จะมีอีกมากมาย
    • มิตรภาพเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา คุณไม่สามารถได้มิตรแท้หรือศัตรูจากการพูดคุยกันแค่ครั้งเดียว ของอย่างนี้ต้องใช้เวลา คบหากับคนที่คุยคุยได้ด้วยดี มันอาจใช้เวลานานเป็นอาทิตย์ เป็นเดือน หรือแม้แต่เป็นปีๆ กว่ามิตรภาพของคุณจะแน่นแฟ้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าพวกเขาดูไม่ค่อยผ่อนคลาย ก็รักษาระยะห่าง ค่อยเป็นค่อยไป
  • ฝึกยิ้มและกล่าวทักทายกับคนแปลกหน้าที่คุณเจอทุกคน คุณจะแปลกใจว่ามีคนมากมายที่ตอบรับคุณในแง่ดี การทำเช่นนี้จะทำให้คุณสามารถทำตัวสบายๆ และผ่อนคลายมากขึ้น คุณยังจะได้เพื่อนใหม่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
  • จดจำสิ่งที่พวกเขาพูด แล้วนำมาพูดถึงอีกในการคุยกันครั้งต่อไป มันจะแสดงให้เห็นว่าคุณใส่ใจ
  • อย่าถามคำถามที่ส่วนตัวมากเกินไป เช่นคนที่เขาแอบชอบ ไม่เช่นนั้น เขาอาจรู้สึกไม่สบายใจเวลาคุยกับคุณได้
  • อย่าไปใส่ใจถ้าหากคนๆ นั้นทะนงตน พูดจาเสียดสี ไม่มีความเป็นผู้ใหญ่ หรือดูหยาบคายในการโต้ตอบคุณในครั้งแรก มันเป็นสัญญาณของความไม่โต และโดยส่วนใหญ่จะเป็นกลไกการป้องกันตนเองทางจิตของมนุษย์ที่ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ไม่ทัน คนที่มีความเชื่อมั่นและมั่นใจในตัวเองจะสุภาพแต่ยังคงรักษาจุดยืนของตนเองแม้ในเวลาที่มีคนแปลกหน้าเข้ามาคุยด้วย เพียงหัวเราะไปราวกับว่าพวกเขาเล่นมุกตลกแล้วปล่อยพวกเขาไป ไม่ต้องไปสนใจพวกเขาอีก แน่ล่ะว่าพวกเขาไม่ได้เล่นมุกตลก พวกเขานั่นแหละที่ทำตัวตลกเสียเอง
  • เสื้อยืดหรือเข็มกลัดติดหน้าอกที่มีคำพูดเกี่ยวกับสังคม การเมือง หรือข้อความใดๆ ก็ตามที่พวกเขาสวมใส่อยู่ สามารถนำมาเป็นจุดเริ่มต้นการสนทนาได้เป็นอย่างดี ถ้าคุณรู้เกี่ยวกับข้อความเหล่านั้น ก็ชมเสื้อหรือเข็มกลัดติดหน้าอกที่พวกเขาใส่อยู่แล้วพูดคุยถึงสิ่งนั้น แต่ถ้าหากคุณไม่เห็นด้วยกับข้อความนั้นๆ เป็นอย่างยิ่ง ก็พยายามหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงสิ่งเหล่านั้นหรืออดทนรอแล้วแสดงความไม่เห็นด้วยอย่างสุภาพเวลาที่พวกเขาพูดถึงสิ่งนั้นขึ้นมา พวกเขาจะไม่สวมใส่ข้อความเหล่านั้นหากไม่ได้สนใจมันจริงๆ หรอก หรือบางทีพวกเขาอาจจะอธิบายว่า “เสื้อตัวนี้หรอ? มันเป็นของเพื่อนที่หอฉัน เขาสนใจเรื่องเหล่านี้ ฉันแค่ยืมเขามาเพราะต้องการเสื้อยืดสะอาดๆ ใส่สักตัวน่ะ”
  • ถ้าเขากำลังคุยกับคนอื่นอยู่ ก็คิดให้ดีว่าเขาจะต้องการให้คุณเข้าไปร่วมการสนทนานั้นด้วยหรือไม่ โดยปกติแล้ว ถ้าคนที่กำลังคุยกันยืนใกล้ๆ กันหรือสบตากันอย่างจริงจัง พวกเขาจะไม่อยากให้มีคนมาร่วมสนทนาเพิ่มหรอก ถ้าหากว่าพวกเขาเว้นระยะห่างในวงที่กำลังคุยกัน ก็เป็นการเชื้อเชิญผู้อื่นให้เข้าร่วมการสนทนานั้นๆ ด้วย
  • สงบเข้าไว้ระหว่างการสื่อสาร หายใจเข้าลึกๆ ก่อนที่จะเข้าไปคุยกับคนที่คุณอยากจะคุยด้วย
  • พยายามสังเกตว่าพวกเขาแต่งตัวอย่างไร แล้วชวนพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้น ถ้าพวกเขาใส่เสื้อกีฬา ก็ลองถามดูว่าพวกเขาชอบกีฬาใช่ไหม ถ้าพวกเขาใส่เสื้อเชิ้ตติดกระดุมเรียบร้อย ก็ลองถามดูว่าพวกเขาชอบอ่านหนังสือหรือเปล่า จากนั้นก็บอกเกี่ยวกับตัวคุณเองบ้าง
  • สบตาเข้าไว้ แล้วทำตัวให้ดูสนใจในสิ่งที่พวกเขาพูด


โฆษณา

คำเตือน

  • คนบางคนขี้อายและอาจจะไม่ต้องการคุยกับคุณ คนเหล่านี้ไม่ได้ตั้งใจจะแสดงอาการไม่สุภาพ คุณไม่ควรไปเข้าใจพวกเขาผิดๆ พวกเขาเพียงแค่กลัวการคุยกับคนแปลกหน้าเท่านั้นเอง
  • อย่าแสดงอาการรีรอเวลาที่เข้าไปหา เข้าไปแบบสบายๆ หรือไม่ก็เดินต่อไปเลย มันดูแปลกมากๆ เวลาที่ใครจ้องมองคุณอยู่สักพักก่อนที่จะเดินเข้าไปหา
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 51,555 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา