ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเริ่มบทสนทนาเพื่อทำความรู้จักกับใครสักคนหรือกำจัดช่วงเวลาเงียบเชียบที่แสนอึดอัดเป็นเรื่องเครียดไม่น้อย ใช้แนวทางนี้เพื่อเริ่มบทสนทนาเวลาที่คุณไม่รู้จะคุยเรื่องอะไรดี

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

หาเรื่องคุย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มองไปรอบๆ แล้วดูว่ามีอะไรที่ควรค่าแก่การพูดถึงหรือเปล่า ตัวอย่างการพูดถึงสถานที่หรือโอกาสนั้นๆ ก็เช่น : "ห้องนี้สวยดีจัง!" "อาหารอร่อยมากเลย!" "ชอบวิวนี้จัง!" หรือ "หมาน่ารักจัง!"
  2. ถามคำถามปลายเปิด . คนส่วนใหญ่ชอบพูดเรื่องของตัวเอง และเป็นหน้าที่ของคุณในฐานะคนเริ่มบทสนทนาในการที่จะทำให้เขาได้พูดเรื่องของตัวเอง คำถามปลายเปิดเป็นคำถามที่ต้องการคำอธิบายในการตอบคำถามมากกว่าจะตอบแค่ว่าใช่หรือไม่ใช่ คำถามปลายเปิดมักจะเริ่มต้นด้วยคำว่าใคร เมื่อไหร่ อะไร ทำไม ที่ไหน และอย่างไร ในขณะที่คำถามปลายปิดมักจะมีคำว่าหรือไม่ หรือเปล่า และไหม
    • คำถามปลายปิด : "คุณชอบอ่านหนังสือไหม" "คุณเคยเรียนที่มหาลัยนี้ไหม" "คุณชอบหน้าหนาวไหม" "ฉันรบกวนคุณหรือเปล่า" และ "คุณมาที่นี่บ่อยไหม"
    • คำถามปลายเปิด : "คุณชอบหนังสือแนวไหน" "ตอนอยู่มหาลัยนี้คุณเรียนอะไร" "คุณชอบฤดูไหน แล้วทำไมถึงชอบ" "คุณทำอะไรอยู่" และ "ปกติแล้วคุณไปผับไหน"
  3. รู้วิธีรวมการพูดถึงทั่วไปกับคำถามปลายเปิดเข้าด้วยกัน. เนื่องจากการใช้วิธีใดวิธีหนึ่งอาจจะฟังดูกระอักกระอ่วนหรืออาจจะเหมือนอยู่ๆ ก็พูดขึ้นมา คุณจึงควรรวมการพูดถึงทั่วไปกับคำถามปลายเปิดไว้ด้วยกันเพื่อให้เกิดผลลัพธ์มากที่สุด เช่น :
    • "กระเป๋าสวยจัง ซื้อมาจากไหนเหรอ" วิธีนี้จะทำให้เจ้าของกระเป๋าได้เล่าถึงวันที่เธอไปชอปปิ้งและจู่ๆ ก็ไปได้กระเป๋าใบนี้มา ซึ่งจะไม่เหมือนกับการพูดแค่ว่า : "ชอบกระเป๋าจัง!" "ขอบคุณจ้ะ" (จบ)
    • "บุฟเฟต์ที่นี่ดีงามมากเลยอ่ะ! เธอชอบจานไหนสุด" การถามความคิดเห็นนั้นได้ผลมากเป็นพิเศษ เพราะคุณจะสามารถถามต่อด้วยคำถามปลายเปิดสุดคลาสสิกได้ว่า : “เพราะอะไร”
    • "คนมาเยอะมาก! เธอชอบอาจารย์คนไหนมากที่สุด"
    • "ฉันชอบชุดที่เธอใส่มางานวันนี้จัง เธอชอบหนังไซไฟเรื่องไหนเหรอ"
  4. ถ้าคุณกับอีกคนไม่มีความสนใจร่วมกันเลย เรื่องสัตว์ก็มักจะเป็นสิ่งที่คนสนใจร่วมกัน ถ้าโดยทั่วไปแล้วคุณเป็นคนรักสัตว์ คุณก็จะเข้าถึงคนรักสัตว์คนอื่นๆ ได้ง่ายไม่ว่าเขาจะชอบสุนัข ม้า นก แมว หรือสัตว์ป่าก็ตาม แม้ว่าการพูดเรื่องสัตว์เลี้ยงของตัวเองจะดูน่ารำคาญสำหรับบางคน แต่การถามคนอื่นถึงสัตว์เลี้ยงของเขาเป็นวิธีที่ดีที่จะทำให้เขาเปิดใจและเริ่มคุยกับคุณอย่างสนุกสนาน
  5. เป็นไปได้ว่าพวกเขาอาจจะรู้เรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน และถ้าพวกเขาไม่รู้ เรื่องนี้ก็จะกลายเป็นเรื่องที่น่าพูดถึง! อ่านหรือดูข่าว และเมื่อคุณพร้อมที่จะเริ่มบทสนทนาแล้ว ก็ให้พูดประมาณว่า "นี่ ได้ยินข่าวเรื่องเฮลิคอปเตอร์ตกไหม น่ากลัวชะมัดเลย"
  6. ถ้าคุณรู้จักคนๆ นี้ ให้นึกในใจว่าหัวข้อที่คุณเคยคุยกันก่อนหน้านี้มีอะไรบ้างแล้วเลือกเรื่องที่จะคุยต่อมาสักเรื่อง เช่น ลูกของเขาไปถึงไหนแล้ว โปรเจ็กต์ของเขาเป็นอย่างไร หรือข่าวร้ายที่พวกเขาเคยเล่าให้คุณฟัง วิธีนี้ไม่เพียงทำให้คุณมีเรื่องคุยเท่านั้น แต่ยังทำให้เขาเห็นด้วยว่า คุณตั้งใจฟังเวลาที่คุณคุยกับพวกเขา และคุณก็สนใจปัญหาและสิ่งที่เกิดขึ้นกับพวกเขามากพอที่จะนึกถึงและจำเรื่องราวได้
  7. บางคำถามก็ตอบยากกว่าคำถามอื่นๆ นิดหน่อย เคยมีใครถามคุณไหมว่าเสาร์อาทิตย์นี้จะทำอะไรแล้วคุณก็นึกในใจว่า "ฉันไม่อยากนึกว่าเสาร์อาทิตย์จะทำอะไรดี...ต้องตอบคำถามนี้จริงๆ เหรอ" คนส่วนใหญ่ชอบคำถามง่ายๆ อย่าง "วันนี้ทำอะไร" หรือ "การบ้านเยอะจนแทบอ้วกเลยมั้ยช่วงนี้" คำถามพวกนี้จะทำให้การสนทนาลื่นไหลกว่าและรู้สึกสบายใจมากกว่า
  8. พยายามอย่าให้คำถามละลาบละล้วงจนเกินไป คุณต้องไม่ถามคำถามในเรื่องที่คนๆ นั้นไม่อยากพูดถึงสักเท่าไหร่ เช่น บางคนก็อาจจะอึดอัดใจมากๆ ที่จะพูดเรื่องที่พวกเขารู้สึกว่าเกี่ยวข้องกับพวกเขาเป็นการส่วนตัว เช่น น้ำหนัก การไม่มีใบปริญญาหรือการไม่มีคุณสมบัติ การไม่ได้คบหาใครจริงจังสักที เป็นต้น พยายามคิดให้ถี่ถ้วนให้มากที่สุดแม้ว่าคุณจะยังไม่รู้จักพวกเขาจริงๆ ก็ตาม
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

จำหลักการพื้นฐาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เวลาที่จู่ๆ คุณก็รู้สึกว่าคุณไม่สามารถดำเนินบทสนทนากับคนอื่นได้ ก็เท่ากับว่าคุณกำลังพูดเชิงลบกับตัวเองอยู่ เช่น คุณกังวลว่าคุณจะน่าเบื่อ ไม่ดีพอ ไม่สำคัญเท่าไหร่ เข้าไปรบกวนเขา ทำให้เขาเสียเวลา และอื่นๆ ความรู้สึกเหล่านี้ทำให้ลิ้นจุกปากจนพูดไม่ออก การระมัดระวังตัวเองขณะดำเนินบทสนทนากับคนอื่นไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่ก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไรด้วยเช่นกัน
    • ผ่อนคลายเข้าไว้ เพราะเป็นไปได้ว่าเรื่องเล็กน้อยอะไรก็ตามแต่ที่คุณกำลังพูดอยู่นี้จะไม่ติดใจใครไปเป็นเดือนๆ ต่อจากนี้หรอก แค่พูดอะไรก็ได้ที่เข้ามาในหัว ตราบใดที่มันไม่สร้างความรู้สึกไม่พอใจหรือประหลาดมากจริงๆ (ยกเว้นว่าคนที่คุณพยายามจะคุยด้วยเขาชอบคุยเรื่องประหลาดๆ)
    • พยายามจำไว้ว่าใครๆ ก็มีความสงสัยในตัวเองบ้างเป็นครั้งคราว แต่คุณก็ต้องเอาชนะมันให้ได้เพื่อให้ได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกันบ้าง ย้ำกับตัวเองว่าอีกคนหนึ่งเขาไม่ตัดสินคุณหรอก หรือถึงเขาจะตัดสินจริงๆ มันก็ไม่ได้มีผลอะไรกับชีวิตของคุณอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นสบายๆ เข้าไว้
  2. แนะนำตัว ถ้าจำเป็น. ถ้าคุณไม่รู้จักคนๆ นี้ วิธีการทะลายกำแพงนั้นง่ายมาก แค่ทำตัวให้น่าเข้าหา กล่าวทักทายอีกฝ่าย บอกเขาว่าคุณชื่ออะไร แล้วยิ้มให้ วิธีนี้ไม่เพียงแต่สุภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นวิธีเริ่มบทสนทนาที่ดีอีกด้วย แต่บางครั้งการแนะนำตัวก็อาจจะเริ่มขึ้นหลังจากพูดคุยกันไปแล้วก็ได้
  3. วิธีนี้ช่วยให้บทสนทนาสบายๆ และเรียบง่าย ซึ่งมีประโยชน์โดยเฉพาะกับคนที่พยายามทำความรู้จักกันและกันให้มากขึ้น ใช้การคุยเจ๊าะแจ๊ะสร้างอัธยาศัยไมตรีและความเหมือนกัน แทนที่จะมาถกกันในเรื่องที่ต่างฝ่ายต่างเห็นตรงกันข้าม
    • เรื่องเจ๊าะแจ๊ะก็มีตั้งแต่เรื่องบล็อกหรือเว็บไซต์ของคุณ การซื้อรถคันใหม่ การซ่อมแซมบ้าน รางวัลประกวดงานศิลปะของลูก แผนไปเที่ยว สวนที่เพิ่งปลูกต้นไม้ใหม่ หนังสือดีๆ ที่คุณเพิ่งอ่าน เป็นต้น
    • เรื่องเจ๊าะแจ๊ะไม่ใช่เรื่องจำพวกการเมือง ศาสนา การปลดหรือการหลอมอาวุธนิวเคลียร์ หรือวิจารณ์ใครโดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่าวิจารณ์เจ้าภาพหรืองานที่คุณทั้งคู่กำลังเข้าร่วมอยู่
    • แม้ว่าการคุยเรื่องดินฟ้าอากาศจะเป็นเรื่องน่าเบื่อ แต่ถ้ามีบางอย่างแปลกไปเกี่ยวกับอากาศ คุณก็มีหัวข้อดีๆ ให้คุยแล้ว
  4. เมื่อคนที่คุณคุยด้วยเขาเริ่มพูดแล้ว ก็ให้ตอบสนองการพูดของเขาหรือเธอเพื่อให้การสนทนาดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ใช้การฟังอย่างตั้งใจเพื่อทบทวนสิ่งที่พวกเขาพูดและเพื่อสรุปสิ่งที่อาจจะเป็นความรู้สึกของพวกเขา
    • เมื่ออีกฝ่ายถามก็ให้ตอบ และให้ถามคำถามในสิ่งที่พวกเขากำลังพูด เปลี่ยนเรื่องถ้าบทสนทนาหยุดไปสักพัก และอย่างน้อยต้องให้โอกาสอีกฝ่ายได้พูดพอๆ กับ (หรือมากกว่า) คุณ
  5. วิธีนี้ไม่เพียงแต่ทำให้คุณจำพวกเขาได้เท่านั้น แต่ยังเป็นสัญญาณของการให้เกียรติที่อบอุ่นด้วยและจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกสบายใจ วิธีนี้แสดงถึงการเข้าหาอย่างเป็นส่วนตัวมากกว่าและทำให้บทสนทนาดูจริงและใกล้ชิดมากขึ้น โดยทั่วไปคือให้เอ่ยชื่อทุกครั้งเมื่อถึง "ตา" ใครพูดและอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อการสนทนาครั้งหนึ่ง
  6. คุณไม่จำเป็นต้องพูดอะไรมากเลย คุณอาจจะแค่พยักหน้าแล้วพูดว่า “อาฮะ” หรือ “โอ้โห” หรือ “อ๋อ” หรือ “อื้ม” ถอนหายใจ ทำเสียงในลำคอแบบสนุกสนาน และพูดสิ่งที่เชื้อเชิญให้อีกฝ่ายพูดต่อสั้นๆ เช่น "ขนาดนั้นเลยเหรอ" และ "ตายแล้ว!" และ "แล้วคุณทำยังไง/พูดกลับไปว่าไง" "เจ๋งอ่ะ!" และอื่นๆ
  7. แสดงภาษากายที่บ่งบอกถึงการเปิดกว้างและมีอัธยาศัยไมตรี. พยักหน้าเห็นด้วย สบตาอย่างจริงใจบ้างเป็นครั้งคราวแต่ไม่ถึงกับจ้อง และโน้มตัวไปทางอีกฝ่าย วางมือไว้บนอกเป็นครั้งคราวและอาจจะแตะแขนท่อนบนของอีกฝ่ายถ้าคุณเป็นคนชอบแสดงความรู้สึก วิธีนี้จะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกสบายใจมากขึ้นและทำให้บทสนทนาเป็นธรรมชาติมากขึ้น
    • ให้เว้นระยะห่างเรื่องพื้นที่ส่วนตัวแต่พองามหากคนที่คุณคุยด้วยเป็นคนแปลกหน้าหรือคนที่คุณไม่ได้รู้จักดี
  8. สนใจอีกฝ่ายและจดจ่ออยู่ที่เขา สงสัยใคร่รู้ในตัวอีกฝ่ายมากกว่าจะดึงความสนใจกลับมาที่ตัวเอง สิ่งนี้สำคัญมากในการรักษาบทสนทนาให้ทั้งสองฝ่ายสบายใจ และเป็นการหาวิธีใหม่ๆ ที่จะดำเนินบทสนทนาต่อไป ซึ่งอาจจะนำไปสู่ประเด็นที่คุณจะได้คุยกับคนๆ นี้อีกในวันข้างหน้าด้วย เพราะคุณอาจจะถามความคืบหน้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่งในชีวิตของอีกฝ่ายที่พวกเขากำลังพูดถึงอยู่ในขณะนี้ได้ ถ้าคุณสนใจฟังตั้งแต่แรก!
  9. ยิ้มและหัวเราะเวลาที่อีกฝ่ายพูดอะไรขำๆ หรือเล่นมุก แต่อย่าแกล้งหัวเราะเพราะมันจะทำให้กระอักกระอ่วน ให้ยิ้มและพยักหน้า หรือยิ้ม ส่ายหน้า และมองต่ำแทน
  10. ช่วงแรกคุณอาจจะรู้สึกมะงุมมะงาหราเล็กน้อย แต่พอฝึกๆ ไปคุณก็จะเริ่ม บทสนทนา ที่ดีได้ง่ายขึ้น ทุกครั้งที่คุณอยู่ในสถานการณ์ที่คุณต้องคุยกับคนอื่น ให้มองว่ามันคือส่วนหนึ่งของการฝึกฝนที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ และสังเกตว่าในแต่ละครั้งคุณทำได้ดีขึ้นอย่างไร
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ทำให้บทสนทนาน่าสนใจอยู่เสมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเขาหรือเธอมีท่าทีสนใจ ก็ให้คุยต่อ แต่ถ้าเขาหรือเธอดูนาฬิกาหรือนาฬิกาข้อมือ หรือที่แย่กว่านั้นคือหาช่องปลีกตัว ก็แสดงว่าคุณพูดมากเกินไป คุณต้องพยายามสังเกตสัญญาณของพวกเขาเพื่อให้บทสนทนาน่าอภิรมย์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และทำให้พวกเขาอยากคุยกับคุณอีก
    • บางทีอาจจะรู้สึกเหมือนเป็นทักษะที่เรียนรู้ได้ยาก แต่ให้ฝึกฝนต่อไป เพราะเป็นวิธีเดียวที่จะช่วยให้คุณพัฒนาได้
  2. คำที่ว่านี้ก็เช่นคำว่า "เห็นว่า" "นึกภาพว่า" "รู้สึกว่า" "บอกว่า" "สัมผัสได้ว่า" เป็นต้น ที่ทำให้อีกฝ่ายบรรยายภาพอย่างละเอียดควบคู่ไปกับการสนทนาต่อไป วิธีนี้ทำให้บทสนทนาน่าสนใจมากยิ่งขึ้นและยังสร้างความรู้สึกที่ดีให้แก่คู่สนทนาด้วย เช่น :
    • ในอีก 1 ปีข้างหน้าคุณมองเห็นภาพตัวเองอยู่ตรงไหน
    • คุณสัมผัสถึงการผันผวนของตลาดหุ้นในปัจจุบันอย่างไร
    • คุณรู้สึกอย่างไรกับแผนการบูรณะตัวเมืองใหม่
  3. ในฐานะคนที่เริ่มบทสนทนาก่อน การรักษาถ่วงดุลในช่วงแรกๆ จึงตกเป็นหน้าที่ของคุณ ทีนี้จะทำอย่างไรถ้าอีกฝ่ายเริ่มทำหน้าที่เป็นผู้รับฟังอย่างตั้งใจและถามคำถามคุณกลับมา คุณมีหลายตัวเลือกด้วยกัน :
    • มองว่ามันเป็นสัญญาณที่ให้คุณเริ่มพูดเรื่องของตัวเองบ้าง แค่อย่าพูดเยอะเกินไปก็พอ อย่าลืมย้อนบทสนทนากลับมาที่อีกฝ่ายด้วยการใช้ถามคำถามปลายเปิด และรับฟังอย่างตั้งใจหลังจากที่คุณเล่าเรื่องตัวเองจบแล้ว
    • เบี่ยงเบนประเด็นถ้าคุณไม่อยากเป็นจุดศูนย์กลางของการสนทนา พูดประมาณว่า : "ฉันก็ชอบอ่านแฮร์รี่ พอตเตอร์นะ ชอบเล่มสุดท้ายมากเป็นพิเศษ แต่เธอคงไม่อยากฟังฉันเล่าทั้งคืนหรอกนะ! แล้วเธอล่ะ ชอบตอนไหนในแฮร์รี่ พอตเตอร์มากที่สุด"
    • ตอบคำถามด้วยคำถาม เช่น ถ้าอีกฝ่ายถามว่า "เธอทำยังไงถึงออกไปได้เร็วขนาดนั้น" คุณก็อาจจะตอบกลับไปว่า "แล้วเธอออกมายังไงล่ะ" บ่อยครั้งที่อีกฝ่ายน่าจะอยากเล่าเรื่องของเธอให้คุณฟังจนลืมไปเลยว่าเขาเป็นคนถามคุณก่อน!
  4. ช่องว่างระหว่างสนทนาอาจใช้เพื่อเปลี่ยนเรื่องคุย ทำให้บทสนทนากลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง หรือแม้กระทั่งให้ได้หยุดพักหายใจหายคอกันบ้าง การปล่อยให้ช่องว่างค้างเติ่งในบทสนทนาต่างหากคือสิ่งที่คุณควรจะกังวลว่าจะมีความเงียบเกิดขึ้นระหว่างสนทนา ตราบใดที่คุณสามารถเปลี่ยนไปพูดเรื่องอื่นได้อย่างเป็นธรรมชาติหรือขอตัวออกมาจากวงสนทนาได้ ก็ถือว่าโอเคและคุณก็ไม่ต้องเครียดด้วย
  5. แสดงการให้เกียรติคนที่อึดอัดหรือไม่สบายใจที่จะคุยกับคุณ ถ้าคู่สนทนาดูท่าจะไม่อยากคุยและไม่สนใจจะเล่าอะไรให้คุณฟัง ก็อย่าดึงดันเกินไป พยายามอีกสักหน่อยแล้วค่อยตัดสินใจขอตัวออกไป
    • อย่าถามคำถามมากเกินไปถ้าคู่สนทนายังคงดูเหมือนไม่อยากจะตอบอะไรกลับมา
  6. วิธีเข้าสู่การเริ่มต้นบทสนทนาที่ยอดเยี่ยมก็คือ คุณต้องบอกอีกฝ่ายว่าคุณมาคุยด้วยได้แป๊บเดียวเพราะเดี๋ยวคุณต้องไปเจอเพื่อนคนอื่นๆ หรือไปประชุมต่อ วิธีนี้จะทำให้คู่สนทนาไม่รู้สึกเหมือนติดแหง็กหรือจำเป็นต้องคุยต่อ และให้โอกาสคุณสองคนได้ออกจากวงสนทนาง่ายๆ ถ้าคุยกันแล้วไม่สนุก ถ้าบทสนทนาดำเนินไปได้ด้วยดี คุณก็สามารถเลื่อนเวลาที่จะออกจากวงสนทนานานไหร่ก็ได้ที่คุณต้องการ
    • แต่ก็อย่าพูดบ่อยเกินไปเพราะจะทำให้อีกฝ่ายคิดว่าคุณไม่อยากคุยกับพวกเขาแต่อยากอยู่กับเพื่อนๆ มากกว่า ใช้เทคนิคนี้แค่ครั้งสองครั้งพอ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ทำตัวสบายๆ เพราะการเริ่มบทสนทนาคงทำได้ยากถ้าคุณประหม่าจนตัวสั่นเป็นเจ้าเข้า
  • ในการทะลายกำแพงของอีกฝ่าย คำชมถือเป็นสิ่งที่ดีเสมอ
  • พูดชัดเจนและมีประเด็น ถ้าคุณบ่นงึมงำ ก็จะคุยกันยากขึ้นไปอีก
  • ถ้าคุณเป็นคนขี้อาย การคิดหัวข้อที่คุณสบายใจที่จะพูดไว้สัก 1 หรือ 2 หัวข้อล่วงหน้าก็อาจช่วยคุณได้
  • กล้าๆ หน่อย ยุคนี้การรู้จักคนเป็นเรื่องจำเป็นที่คุณไม่สามารถเอาแต่อายได้อีกต่อไป ถ้ามีเหตุผลให้คุณต้องรู้จักคนๆ นี้ ก็หาวิธีทำความรู้จักกับเขา ถ้าคุณชอบงานของใคร ก็บอกเขาเลย
  • พยายามใช้ภาษาท่าทางเวลาสื่อสารกับอีกฝ่าย การทำเช่นนี้จะทำให้อีกฝ่ายมีอารมณ์ร่วมในการสนทนามากยิ่งขึ้นและจะทำให้การสนทนาดำเนินต่อไปได้นานขึ้น
  • คุณต้องแน่ใจว่าคนที่คุณคุยด้วยนั้นเขาก็สนใจอยากจะคุยกับคุณด้วยเหมือนกัน คุณควรยิ้มอยู่เสมอและอย่าพูดแทรกขณะคุยกับเขา
  • จำไว้ว่าไม่ว่าคุณจะคุยกับใคร คุณกับคนๆ นั้นต้องมีอะไรที่เหมือนกันแน่นอน เราทุกคนต่างเคยเจอสภาพอากาศ ชอบอาหารดีๆ และชอบหัวเราะอย่างสนุกสนาน เวลาที่สงสัยให้คุยเรื่องที่ว่าทำไมเขาถึงมาที่นี่ เช่น ถ้าคุณเจอกันที่ป้ายรถเมล์ ก็ให้ถามเขาว่าจะไปไหน ถ้าเขามาจากนอกเมือง ก็ให้ถามเรื่องชีวิตที่บ้าน
  • พัฒนาความสนใจของตัวเอง การเริ่มบทสนทนาที่น่าสนใจจะง่ายขึ้นถ้าคุณลงทุนพัฒนาความสนใจของตัวเอง คุ้นเคยกับสิ่งที่คุณสนใจให้มากๆ เพื่อที่คุณจะได้พูดมันออกมาได้อย่างชัดเจน ขยายสิ่งที่คุณสนใจให้กว้างขึ้นและลึกขึ้นด้วยการสร้างทัศนคติที่ว่าคุณสนใจทุกเรื่อง อีกวิธีที่จะขยายสิ่งที่คุณสนใจให้กว้างขึ้นและลึกขึ้นก็คือ การถามเกี่ยวกับความสนใจของคนอื่น ถ้าเพื่อนของคุณชอบเบสบอล ก็ให้ถามเขาว่าทีมไหนและผู้เล่นคนไหนที่มาแรงในปีนี้ หรือถามคำถามที่ทำให้เขาได้อธิบายโครงสร้างของทีมเพิ่มเติม
  • นอกจากนี้การสนใจในสิ่งที่คุณทำจริงๆ ก็ช่วยได้ เพราะถ้าสำหรับคุณแล้วชีวิตของคุณไม่ได้น่าสนใจเท่าไหร่ มันก็จะไม่น่าสนใจสำหรับคนอื่นด้วยเช่นกัน
  • อย่ากลัวที่จะปล่อยให้บทสนทนาลื่นไหลไปในทิศทางที่น่าสนใจ ถ้ามีอะไรเข้ามาในหัวตอนที่คุณกำลังพูดอยู่ ก็เป็นไปได้ว่าอาจจะมีอะไรบางอย่างที่เกี่ยวข้องกัน
  • พูดถึงและพูดเกี่ยวกับความสนใจของกันและกัน
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าพูดแทรกระหว่างที่คนๆ หนึ่งหรือมากกว่าพูดอยู่เด็ดขาด รอจนกว่าเขาจะพูดจบแล้วค่อยพูดอะไรออกไป มารยาททั่วไปนั้นให้ผลตอบแทนในระยะยาว
  • พูดว่า "ค่ะ/ครับ" "ขออนุญาต" "ขอบคุณ" "คุณช่วย" เวลาที่มีใครดีกับคุณและเวลาที่คุณต้องการอะไรบางอย่าง ความสุภาพแสดงถึงวุฒิภาวะและสติปัญญา
  • อย่าทำหยิ่งและทำเป็นรู้มากเวลาคุยกับคนอื่นเด็ดขาด
  • อย่าวิจารณ์คนที่คุณกำลังคุยด้วยในทางที่ไม่ดีหรืออย่าวิจารณ์คนอื่นในทางลบเด็ดขาด คุณไม่มีทางรู้ว่าเขารู้จักกับคนที่คุณกำลังวิจารณ์เป็นการส่วนตัวหรือเปล่า แต่ก็อย่ากลัวที่จะบอกว่าคุณไม่เคยได้ยินสิ่งที่เขาพูดถึง เช่น วงดนตรีหรือคนดัง
  • จำไว้ว่าไม่ใช่ทุกคนที่อยากจะพูด ถ้าอีกฝ่ายส่งสัญญาณที่บอกถึงความอึดอัดใจหรือไม่สนใจที่จะคุยด้วย คุณก็ไม่ควรไปรบกวนเขา
  • อย่าถามคำถามที่ละลาบละล้วงมากเกินไป
  • สังเกตว่าตัวเองใช้คำที่ไม่มีความหมาย เช่น "เอ่อ..." หรือ "แล้ว..." บ่อยมากหรือเปล่า เพราะมันอาจทำให้คนที่คุณคุยอยู่ด้วยรู้สึกกระอักกระอ่วนหรือรู้สึกเหมือนต้องพูดอะไรสักอย่าง เพราะฉะนั้นให้พูดช้าๆ แล้วหยุดแทน วิธีนี้จะทำให้เกิดความตึงเครียดเล็กน้อยและทำให้เพื่อนใหม่ที่คุณเพิ่งเจอพยายามที่จะคุยกับคุณมากขึ้น
  • อย่าเสียกำลังใจถ้าคนที่คุณคุยอยู่ด้วยเขาดูไม่สนใจอยากจะคุยเท่าไหร่ ไม่แน่ว่าคนต่อไปที่คุณคุยด้วยเขาอาจจะสนใจอะไรเหมือนคุณก็ได้ ใครจะไปรู้
  • อย่าเอาแต่พูดถึงฐานะทางการเงินของคุณต่อหน้าเพื่อนใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ชายคนนั้นเขามากับผู้หญิง
  • อย่าสบถ ดูถูก ดูหมิ่น ใช้คำใส่ร้ายป้ายสีในทางเชื้อชาติ ศาสนา รสนิยมทางเพศ และเพศต่อหน้าคนอื่นเด็ดขาด


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 121,516 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา