ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ผื่นผิวหนังเป็นบริเวณที่ผิวหนังเกิดอักเสบหรือแดงซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับอาการอื่นๆ อีกมากมาย (ปวด คัน และบวม) ผื่นผิวหนังอาจเป็นผลมาจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ การติดเชื้อ อาการอักเสบ การสัมผัสกับสิ่งที่ทำให้ระคายเคืองหรือความร้อน และการใช้ยาก็ได้ [1] ถึงแม้ว่าผื่นผิวหนังบางแบบจะหายได้โดยไม่ต้องทำอะไร มันก็มีแบบที่จำต้องรับการรักษา ถึงกระนั้น คุณสามารถใช้ขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อป้องกันผื่นผิวหนังที่แตกต่างกันได้หลายรูปแบบ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

ป้องกันผื่นเหงื่อ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ผื่นเหงื่อเกิดขึ้นเมื่อรูระบายเหงื่อในผิวหนังเกิดอุดตัน เมื่อเป็นเช่นนี้ แทนที่เหงื่อจะระเหยออกไป มันกลับติดอยู่ใต้ผิวหนังและทำให้เกิดผดผื่นขึ้น [2]
    • ผื่นเหงื่อเกิดบ่อยในสภาวะร้อนชื้น
    • ทำให้ร่างกายแห้งโดยหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งในช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดของวัน
    • ใช้เครื่องปรับอากาศ
    • อาบน้ำให้ตัวเย็นลงหรือใช้ผ้าขนหนูเย็นๆ ซับบนจุดที่ร้อนเกินไป
  2. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงในอากาศที่ร้อนชื้น. ความร้อนที่ถูกระบายออกมาจากร่างกายเมื่อบวกกับอากาศร้อนมักจะก่อให้เกิดผื่นรอบจุดต่างๆ ของร่างกายที่มีต่อมเหงื่อเยอะ เช่น บริเวณรอบวงแขน [3]
    • แทนที่จะออกกำลังกายกลางแจ้งในช่วงอากาศร้อน ให้เข้ายิมที่มีเครื่องปรับอากาศแทน
    • อาบน้ำเย็นก่อนออกกำลังกาย
  3. เสื้อผ้าที่พอดีกับร่างเกินไปมักทำให้ผิวระคายเคืองและสามารถเกิดผื่นจากการไปกักไม่ให้ความร้อนระบายออกจากร่างกายได้ [4]
    • ให้ผิวได้หายใจและสวมชุดหลวมหน่อย ควรทำในเด็กทารกเช่นกัน อย่าสวมเสื้อผ้าให้ลูกคุณจนหนาเตอะในช่วงอากาศร้อน
    • ข้อยกเว้นคือในระหว่างออกกำลังกาย การสวมชุดออกกำลังกายที่กระชับซึ่งออกแบบมาให้ระบายเหงื่อกับความชื้นที่มากเกินออกไปนั้นจะช่วยป้องกันผื่น โดยเฉพาะในระหว่างการออกกำลังกายที่เร่งตลอดอย่างการปั่นจักรยานหรือการวิ่ง
  4. ร่างกายต้องการน้ำเพื่อทำหน้าที่ได้ตามที่เป็นและสิ่งที่สูญหายไปในระหว่างเหงื่อออกก็จะถูกเติมให้เต็ม [5]
    • ดื่มน้ำตลอดทั้งวันเพื่อป้องกันอาการขาดน้ำ
    • ดื่มน้ำอย่างน้อยสองถึงสี่แก้ว (16-32 ออนซ์) ในแต่ละชั่วโมง
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

ป้องกันผื่นอักเสบตามซอกพับ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ผื่นอักเสบตามซอกพับ (Intertrigo) นั้นเกิดจากการเสียดสีระหว่างผิวซึ่งก่อให้เกิดอาการระคายกลายเป็นผดผื่น มันพบได้ง่ายในบริเวณร่างกายส่วนที่อุ่นและอับชื้น โดยเฉพาะในจุดที่ผิวสามารถเสียดสีกับผิว อย่างเช่นตรงโคนขาหนีบ ใต้ราวนม หว่างขา ซอกรักแร้ หรือตามซอกนิ้วเท้า มันยังอาจทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราได้ด้วย แถมมันยังสามารถเกิดได้ในทุกสภาพแวดล้อมไม่เหมือนกับผื่นเหงื่อ [6]
    • รักษาผิวให้แห้งสะอาด โดยเฉพาะตรงจุดที่มันอาจเสียดสีกัน ให้ทายาระงับกลิ่นกายใต้วงแขน คุณอาจพบว่าปิโตรเลียมเจลลี่ (วาสลีน) นั้นช่วยสร้างฉากป้องกันสำหรับบริเวณอย่างต้นขาด้านใน การทาแป้งเด็กหรือผงยาก็ช่วยดูดความชื้นส่วนเกินได้เหมือนกัน
    • สวมรองเท้าเปิดหัวหรือรองเท้าแตะ มันจะช่วยลดความอับชื้นตามซอกนิ้วเท้า [7]
  2. ครีมเคลือบปกป้องผิว (barrier cream) สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ขี้ผึ้งทาผื่นผ้าอ้อม (อย่าง เดซิติน) สามารถช่วยได้ในบริเวณที่มักอับชื้นและเสี่ยงต่อการเสียดสี อย่างตามโคนขาหนีบ ขี้ผึ้งซิงค์อ็อกไซด์ก็ใช้ได้ผลไม่แพ้กัน [8]
    • ถ้าคุณประสบปัญหาผื่นตามซอกพับเป็นประจำ ลองถามแพทย์ถึงเททริกซ์ (Tetrix) ครีมเคลือบปกป้องผิวแบบต้องใช้ใบสั่งจ่ายยาซึ่งมีไดเมธิโคน (dimethicone) เป็นส่วนผสม มันมีประสิทธิภาพกว่ายาที่วางจำหน่ายทั่วไป
  3. เสื้อผ้าที่เสียดสีกับผิวบ่อยๆ ทำให้เกิดผื่นตามซอกพับได้ [9] ให้สวมใส่ผ้าจากเส้นใยธรรมชาติเช่นผ้าฝ้าย ผ้าไหม หรือเยื่อไม้ไผ่ ถ้าเป็นไปได้ เพราะเส้นใยสังเคราะห์นั้นระคายผิวได้และมักจะถ่ายเทไม่สะดวก
  4. ผื่นตามซอกพับนั้นพบได้ประจำในคนที่มีน้ำหนักตัวสูงกว่าปกติหรือมีรูปร่างอ้วน เนื่องจากมีบริเวณที่ผิวหนังจะถูกเสียดสีมากขึ้น ปรึกษาแพทย์ว่าผื่นที่เกิดจะทุเลาลงไหมถ้าคุณลดน้ำหนัก [10]
    • อย่าเริ่มทำการลดน้ำหนักเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

ป้องกันการเห่อของโรคผิวหนังอักเสบออกผื่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ระบุพร้อมหลีกเลี่ยงการเห่อของโรคผิวหนังอักเสบออกผื่น. โรคผิวหนังอักเสบออกผื่น (eczema) หรือรู้จักอีกชื่อหนึ่งว่า ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (atopic dermatitis) เป็นอาการผิดปกติทางผิวหนังเรื้อรังที่จะแสดงออกมาในรูปแบบของผื่นแดงที่คันและมีลักษณะเป็นเกล็ด ผื่นนี้จะไวต่อการถูกสัมผัสและอาจบวมขึ้นมาได้ คนที่เป็นโรคผิวหนังออกผื่นนั้นขาดโปรตีนบางตัวในผิวหนังและสภาวะบางอย่างอาจทำให้มีอาการแย่ลงไปได้ [11] เรียนรู้ที่จะตระหนักในการปะทุเห่อของโรคผิวหนังอักเสบออกผื่นและหลีกเลี่ยงมัน อย่างเช่น:
    • ผิวหนังติดเชื้อ
    • ภูมิแพ้อย่างเช่นเกสรดอกไม้ รา ไรฝุ่น สัตว์หรืออาหาร
    • อากาศที่เย็นและแห้งในหน้าหนาว การที่เจออากาศร้อนหรือเย็นเกินไป หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างกระทันหัน
    • สิ่งกระตุ้นการระคายเคืองทางเคมีหรือวัสดุหยาบ เช่น วูล
    • ความเครียดทางอารมณ์
    • น้ำหอมหรือสีที่เติมเข้าไปในโลชั่นหรือสบู่
  2. คุณอาจไม่สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นทั้งหมดได้ โดยเฉพาะถ้าหากคุณแพ้ของอย่างเกสรดอกไม้ ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการรักษาอาการภูมิแพ้ที่เป็นไปได้เพื่อช่วยบรรเทาอาการลง [12]
  3. การอาบน้ำหรือแช่ตัวนานหรือบ่อยครั้งเกินไปจะชะล้างน้ำมันตามธรรมชาติที่อยู่บนผิวหนัง ซึ่งจะทำให้ผิวแห้งเกินไป [13]
    • จำกัดเวลาอาบน้ำหรือแช่น้ำสูงสุดเพียง 10 ถึง 15 นาที
    • เวลาแช่อ่างอาบน้ำ ใช้น้ำอุ่นแทนที่น้ำร้อน
    • หลังอาบน้ำ ให้ใช้ผ้าขนหนูนุ่มๆ ซับผิวเบาๆ
    • ใช้เฉพาะสบู่หรือครีมอาบน้ำสูตรอ่อนโยน สบู่และครีมอาบน้ำสูตรอ่อนโยนชนิดไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้นั้นจะมีฤทธิ์บางเบาและจะไม่ชะล้างน้ำมันปกป้องผิวตามธรรมชาติ [14]
    • หลีกเลี่ยงการใช้ครีมอาบน้ำแบบต่อต้านแบคทีเรียหรือมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ซึ่งจะทำให้ผิวแห้งโดยง่าย
    • เลือกครีมอาบน้ำที่มีการเติมมอยเจอไรเซอร์เข้าไป
  4. เติมความชุ่มชื้นให้ผิวอย่างน้อยวันละสองครั้ง. มอยเจอไรเซอร์ช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นตามธรรมชาติของผิวเอาไว้ ดังนั้นจึงทำให้มันได้รับการป้องกันและยังคงความชุ่มชื้นได้ [15]
    • ผิวที่มีความชุ่มชื้นนั้นจะทำให้เกิดระคายเคืองได้ยากขึ้น อย่างเช่นการเสียดสีกับผ้าเนื้อหยาบหรือถูกับผิว จึงช่วยป้องกันการปะทุของโรคผิวหนังออกผื่นได้
    • ทามอยเจอไรเซอร์ทันทีหลังจากที่คุณเช็ดตัวจนแห้งหลังการอาบหรือแช่น้ำ
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

ป้องกันผื่นแพ้สัมผัส

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นการระคายเคืองและสารก่อภูมิแพ้. ผื่นแพ้สัมผัส (contact dermatitis) เกิดจากการสัมผัสกับตัวกระตุ้นการระคายเคือง ผื่นแพ้สัมผัสเป็นได้ทั้งปฏิกิริยาภูมิแพ้หรือเกิดจากตัวกระตุ้นการระคายเคืองปกติ (ไม่ใช่สารก่อภูมิแพ้) ก็ได้ แต่ข่าวดีคือมันสามารถป้องกันได้โดยการหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นเหล่านี้ [16]
    • หลีกเลี่ยงการเผยให้ผิวหนังสัมผัสกับตัวกระตุ้นการระคายเคือง เช่น ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ สารเคมี เครื่องสำอาง น้ำมันพืช (พอยซั่นไอวี่) และสารประกอบอื่นๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาผื่นผิวหนังเมื่อได้สัมผัส ผื่นแพ้สัมผัสนั้นมักจะทำให้เกิดผื่นแห้งมีลักษณะเป็นเกล็ดและมักจะไม่คัน อย่างไรก็ตาม ผื่นแพ้สัมผัสบางชนิดทำให้เกิดอาการคันและพองได้ [17]
    • บางคนมีปฏิกิริยาต่อตัวกระตุ้นได้เพียงแค่การสัมผัสเพียงครั้งเดียว ในขณะที่หลายคนจะเกิดอาการก็ต่อเมื่อถูกสัมผัสซ้ำหลายครั้ง บางครั้งคุณอาจสร้างภูมิต้านทานตัวกระตุ้นนี้เมื่อเกิดนานๆ ได้
  2. ถ้าไม่แน่ใจว่าเป็นภูมิแพ้หรือไม่ แพทย์อาจทดสอบการเป็นภูมิแพ้กับคุณเพื่อดูว่าสารตัวไหนที่อาจกระตุ้นการเกิดผื่นแพ้สัมผัส
    • สารก่อภูมิแพ้ทั่วไปยังรวมไปถึงนิคเกิล ยา (รวมไปถึงยาปฏิชีวนะและยาแก้แพ้) ฟอร์มัลดีไฮด์ หมึกสัก และผลิตภัณฑ์ลายเฮนนาดำ [18]
    • สารก่อภูมิแพ้ที่พบได้ทั่วไปอีกตัวหนึ่งก็คือ ขี้ผึ้งบัลซั่ม (Balsam) จากเปรู ซึ่งใช้ในเครื่องสำอาง น้ำหอม น้ำยาบ้วนปาก และเครื่องปรุง หากผลิตภัณฑ์ใหม่ทำให้คุณเกิดมีปฏิกิริยาตอบสนอง ให้หยุดใช้มัน
    • ตรวจสอบฉลากเพื่อความมั่นใจว่าไม่เผลอซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารก่อภูมิแพ้
  3. หากคุณสัมผัสกับตัวกระตุ้นการระคายเคืองหรือสารก่อภูมิแพ้ ให้ล้างบริเวณที่โดนทันที นี่จะช่วยลดปฏิกิริยาหรือกระทั่งกันไม่ให้เกิดอาการได้ [19]
    • ใช้น้ำอุ่นกับสบู่สูตรอ่อนโยนหรือให้อาบน้ำถ้าบริเวณที่โดนนั้นใหญ่มาก
    • นอกจากนี้ ให้ซักเสื้อผ้าและของอย่างอื่นที่สัมผัสโดนกับสารเหล่านั้น
  4. สวมชุดหรือถุงมือป้องกันเวลาต้องเจอกับตัวกระตุ้นการระคายเคือง. หากจำเป็นต้องใช้สารเหล่านั้น ป้องกันผิวคุณจากการสัมผัสมันโดยตรงด้วยการสวมชุดคลุมทุกส่วน สวมแว่นนิรภัยและถุงมือ [20]
    • จดจำที่จะปฏิบัติตามวิธีการและคำแนะนำที่ถูกต้องสำหรับการสัมผัสสารอันตราย
  5. มอยเจอไรเซอร์สร้างชั้นป้องกันเคลือบผิวและช่วยฟื้นฟูผิวชั้นนอก [21]
    • ทามอยเจอไรเซอร์ก่อนที่จะไปสัมผัสตัวกระตุ้นการระคายเคืองและใช้เป็นประจำเพื่อทำให้ผิวมีสุขภาพดี
  6. ปรึกษาแพทย์ถ้าคุณประสบปัญหาเรื่องผื่นหลังจากการใช้ยา. ยาหลายขนานสามารถก่อให้เกิด “ผื่นแพ้ยา” ไม่ว่าจะเพราะผลข้างเคียงหรือเพราะปฏิกิริยาแพ้ มันมักจะเกิดภายในหนึ่งสัปดาห์หลังการเริ่มใช้ยาตัวใหม่ และจะเริ่มเป็นจุดแดงๆ ที่ค่อยแพร่กระจายไปจนทั่วร่างกาย ยาโดยทั่วไปที่อาจก่อให้เกิดผื่นแพ้ยาได้ก็เช่น: [22]
    • ยาปฏิชีวนะ
    • ยาต้านลมชัก
    • ยาขับปัสสาวะ
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

ป้องกันการเห่อของโรคสะเก็ดเงิน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ยารักษาโรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) มักจะช่วยป้องกันการเห่อได้หากทานตามที่แพทย์แนะนำ เรื่องนี้เป็นความจริงอย่างยิ่งสำหรับยาที่ทำงานผ่านทางระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่น ยาไบโอโลจิกส์
    • มันยังจำเป็นที่ห้ามหยุดทานยาโดยปราศจากการปรึกษาแพทย์ก่อน การหยุดยารักษาโรคสะเก็ดเงินโดยไม่ปรึกษาแพทย์นั้นสามารถทำให้โรคสะเก็ดเงินที่เป็นอยู่กลายเป็นชนิดที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิมได้ [23]
  2. โรคสะเก็ดเงินนั้นเป็นอาการผิดปกติของภูมิคุ้มกันของผิวหนังที่จะแสดงออกมาในรูปแบบของผื่นคันที่มีลักษณะเป็นเกล็ด สาเหตุของโรคสะเก็ดเงินนั้นยังไม่รู้แน่ชัด แต่มีตัวกระตุ้นที่ทราบกันดีว่าสามารถทำให้อาการกำเริบและก่อให้เกิดการปะทุเห่อ ซึ่งนั่นรวมไปถึงความเครียด [24]
    • หาหนทางลดความเครียดในชีวิตลง ลองเทคนิคการผ่อนคลาย อย่างเช่น โยคะหรือทำสมาธิ
    • ออกกำลังกายเป็นประจำ การออกกำลังกายช่วยหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินและช่วยคลายเครียดได้
  3. ผิวหนังที่เกิดความเสียหาย (การฉีดวัคซีน การถูกกัด การถูกขีดข่วน และการถูกแดดเผา) สามารถกระตุ้นให้เกิดรอยผื่นสะเก็ดเงินได้ นี่เรียกว่า ปรากฏการณ์คอปเนอร์ (Koebner phenomenon) [25]
    • ใช้การสวมชุดป้องกันและดูแลรอยขีดข่วนหรือบาดแผลทั้งหมดทันทีโดยใช้วิธีถูกสุขอนามัย
    • ป้องกันการถูกแดดเผาโดยใช้ครีมกันแดด เสื้อผ้าป้องกันแดด (หมวกและชุดทรงหลวมยาว) หรือแว่นกันแดด นอกจากนี้ ควรจำกัดเวลาที่ต้องอยู่กลางแดดด้วย
  4. หลีกเลี่ยงยาที่กระตุ้นการเกิดโรคสะเก็ดเงิน. ยาบางตัวเป็นที่รู้กันว่ากระตุ้นการเห่อของโรคสะเก็ดเงินได้ เช่น ยาต้านมาลาเรีย ลิเธียม อินเดรัล อินโดเมธาซิน และควินิดีน [26]
    • หากคุณสงสัยว่ายาที่ใช้อาจกระตุ้นการเกิดโรคสะเก็ดเงิน ปรึกษาแพทย์เพื่อใช้ยาตัวอื่น
    • อย่าหยุดการใช้ยาที่ถูกสั่งจ่ายมาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน
  5. อะไรก็ตามที่มีผลกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายล้วนอาจกระตุ้นการเห่อของโรคสะเก็ดเงินทั้งนั้น เช่น โรคเจ็บคอสเตรปโธรท (Streptococcal pharyngitis), โรคเชื้อราในช่องปาก (Candida albicans) และโรคระบบทางเดินหายใจ [27]
    • พบแพทย์ทันทีที่คุณสงสัยว่ามีการติดเชื้อ
  6. จากการศึกษาทางคลินิกครั้งหนึ่งพบว่าเบียร์ปกติ (แต่ไม่ใช่ไลท์เบียร์ ไวน์ หรือแอลกอฮอล์ประเภทอื่น) อาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่จะเกิดการเห่อของโรคสะเก็ดเงินเพิ่มขึ้น
    • ความเสี่ยงจะสูงขึ้นเป็น 2.3 เท่าสำหรับผู้หญิงที่ดื่มเบียร์ห้าครั้งขึ้นไปต่อสัปดาห์เมื่อเปรียบเทียบกับผู้หญิงที่ไม่ได้ดื่มเบียร์ [28]
  7. การสูบบุหรี่จะยิ่งทำให้โรคสะเก็ดเงินแย่ลง มันยังส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมอีกด้วย ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรถึงทางเลือกอื่นที่ช่วยเลิกสูบบุหรี่ [29]
  8. อากาศที่แห้งและเย็นจะกำจัดความชุ่มชื้นตามธรรมชาติบนชั้นผิวและอาจกระตุ้นให้เกิดการเห่อของโรคสะเก็ดเงิน [31]
    • อยู่ในที่อบอุ่นหรือพิจารณาการติดเครื่องทำความชื้นไว้ในบ้าน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นการระคายเคืองและสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดผื่น
  • ปรึกษาแพทย์หากคุณเกิดผื่นผิวหนังที่ไม่จางหายไป
  • หากคุณมีอีพิเพ็น (epipen) และเชื่อว่าตัวเองกำลังเกิดปฏิกิริยาแพ้ จัดการใช้ยาในระหว่างที่รอรถพยาบาลมาถึง
  • ให้แน่ใจว่าได้ใช้ยาอย่างคอร์ติโซนเพื่อหยุดอาการคัน ผื่นอาจจะหายไปด้วย
โฆษณา

คำเตือน

  • หากไม่แน่ใจว่ายาที่ใช้ก่อให้เกิดผื่นหรือไม่ ให้ปรึกษาแพทย์ อย่าหยุดการใช้ยาเอง
  • ปฏิกิริยาแพ้บางอย่างสามารถนำไปสู่ภาวะช็อคจากภูมิแพ้ (anaphylactic shock) ซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ให้หาแพทย์หรือเรียกรถพยาบาลทันทีถ้าคุณกังวลว่าเกิดปฏิกิริยารุนแรง สัญญาณของการเกิดปฏิกิริยาแพ้ที่รุนแรงได้แก่ อาการบวมที่ริมฝีปากหรือลิ้น มีลมพิษขึ้นกระจาย ไอ หายใจดังฮืดๆ หรือหายใจไม่ออก
  • ผื่นผิวหนังบางชนิดจำต้องได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างจริงจังในทันทีหากคุณไม่แน่ใจในความรุนแรงของผื่นที่เป็น
โฆษณา
  1. http://emedicine.medscape.com/article/1087691-followup#e4
  2. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000853.htm
  3. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/diseases-and-treatments/a---d/atopic-dermatitis/tips
  4. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/eczema/basics/prevention/con-20032073
  5. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/eczema/basics/prevention/con-20032073
  6. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/eczema/basics/prevention/con-20032073
  7. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/contact-dermatitis/basics/causes/con-20032048
  8. http://www.mayoclinic.org/skin-rash/sls-20077087?s=3
  9. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/contact-dermatitis/basics/causes/con-20032048
  10. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/contact-dermatitis/basics/prevention/con-20032048
  11. http://www.nhs.uk/Conditions/Eczema-(contact-dermatitis)/Pages/Prevention.aspx
  12. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/contact-dermatitis/basics/prevention/con-20032048
  13. http://www.mayoclinic.org/skin-rash/sls-20077087?s=4
  14. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/diseases-and-treatments/m---p/psoriasis/tips
  15. http://www.healthline.com/health/psoriasis/triggers-to-avoid#2
  16. https://www.psoriasis.org/about-psoriasis/causes
  17. https://www.psoriasis.org/about-psoriasis/causes
  18. http://www.healthline.com/health/psoriasis/triggers-to-avoid#2
  19. http://archderm.jamanetwork.com/article.aspx?articleid=422554
  20. https://www.aad.org/dermatology-a-to-z/diseases-and-treatments/m---p/psoriasis/tips
  21. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15891254
  22. http://www.healthline.com/health/psoriasis/triggers-to-avoid#2

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,955 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา