ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เต้านมอักเสบคือการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อเต้านม ทำให้เต้านมมีอาการเจ็บปวดและบวม โดยทั่วไปจะเกิดในหญิงที่กำลังให้นมลูก เมื่อเชื้อแบคทีเรียผ่านเข้าสู่เต้านมจากหัวนมที่แตกเป็นแผล หรืออาจเป็นผลจากการที่มีน้ำนมคั่งค้างอยู่ในเต้านมหลังการให้นมลูก [1] เต้านมอักเสบสามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลอย่างเหมาะสม และการให้นมอย่างถูกวิธี

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เรียนรู้การให้นมลูกที่ถูกต้อง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เรียนรู้วิธีการให้นมจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ. เต้านมอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดในช่วงที่ให้นมลูก แต่สำหรับผู้หญิงหลายคนจะเกิดในช่วงสี่สัปดาห์แรกที่ให้นม จากอาการเต้านมคัด โรคนี้จะพบบ่อยในคุณแม่มือใหม่ที่เพิ่งเคยให้นมลูก ควรปรึกษาแพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์เพื่อศึกษาวิธีให้นมอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันเต้านมอักเสบ [2]
    • ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ แพทย์หรือพยาบาลผดุงครรภ์มักจะให้ใบปลิวหรือหนังสือที่มีข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมตัวเมื่อตั้งครรภ์ การคลอด การให้นมลูก และการดูแลหลังคลอดในช่วงสัปดาห์แรกๆ แนะนำให้คุณถามหากแพทย์ไม่ได้ให้ข้อมูลนั้นมา
    • หลังจากคลอดลูก อย่าลังเลที่จะปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหากคุณต้องการความช่วยเหลือเรื่องการให้นม มันเป็นสิ่งสำคัญที่คุณจะเริ่มทำหน้าที่ของการเป็นแม่ด้วยการเรียนรู้ที่จะให้นมอย่างถูกวิธี เพื่อให้ลูกน้อยของคุณได้รับสารอาหารตามที่เด็กต้องการ และยังช่วยป้องกันเต้านมอักเสบด้วย
  2. การกำหนดเวลาให้นมลูกที่แน่นอนจะช่วยป้องกันไม่ให้มีน้ำนมในเต้านมมากเกินไป เพราะนั่นอาจนำไปสู่อาการเต้านมคัด ซึ่งเป็นสาเหตุของเต้านมอักเสบได้ ควรให้นมลูกทุกๆ หนึ่งถึงสามชั่วโมง หรือให้เมื่อลูกของคุณหิว [3]
    • ถ้ารู้ว่าจะไม่ได้ให้นมลูก ให้คุณปั๊มน้ำนมเก็บไว้ตามเวลาที่ควรจะให้นม หรือถ้าน้ำนมเต็มเต้าก่อนเวลาก็จำเป็นต้องปั๊มนมเช่นกัน หากปล่อยให้น้ำนมค้างอยู่ในเต้านานๆ จะเหนียวข้นและกีดขวางการไหล ซึ่งจะนำไปสู่โรคเต้านมอักเสบได้ [4]
    • ไม่จำเป็นต้องรอลูกเตือนว่าถึงเวลาให้นมแล้ว ลูกของคุณมีโอกาสที่จะไม่ยอมดูดนมด้วยซ้ำ อย่ากังวลที่จะปลุกเขา เพราะมันดีกว่าถ้าจะรบกวนเวลานอนของเด็กเพื่อให้เขาตื่นมาดูดนม แทนที่จะให้คุณเสี่ยงกับการเป็นเต้านมอักเสบ
  3. เด็กแต่ละคนมีความต้องการในการดื่มนมแตกต่างกัน แม่ทุกคนก็มีปริมาณน้ำนมไม่เท่ากัน เด็กบางคนอาจจะดูดนมจนหมดเต้าได้ภายใน 10 นาที ในขณะที่บางคนอาจใช้เวลานานถึง 30 นาทีในการดูดนมแต่ละเต้า ควรสังเกตความต้องการของลูกของคุณและให้เขาได้ใช้เวลาดูดนมอย่างเต็มที่เพื่อไม่ให้มีน้ำนมเหลือขังในเต้านม [5]
    • อย่าจำกัดเวลาในการให้นมลูก การใช้เวลาให้ลูกดูดนมจนหมดเต้าในแต่ละครั้งนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เด็กส่วนใหญ่เมื่ออิ่มแล้วจะเอาปากออกจากเต้านมเอง ดังนั้นไม่ควรหยุดให้นมถ้าลูกของคุณยังดูดไม่เสร็จ [6]
  4. เปลี่ยนข้างเต้านมเมื่อเริ่มให้นมแต่ละครั้ง. ถ้าครั้งแรกคุณให้นมลูกด้วยนมข้างซ้ายก่อน ครั้งต่อไปให้เริ่มด้วยข้างขวา การให้นมสลับข้างจะช่วยลดโอกาสการเป็นเต้านมอักเสบได้ [7]
    • บางทีคุณอาจสับสนหรือลืมไปว่าให้นมข้างไหนก่อน คุณแม่บางคนจึงใช้สร้อยข้อมือให้นมเพื่อช่วยจำ โดยสวมไว้ที่ข้อมือข้างเดียวกับข้างที่ให้นมก่อน คุณสามารถหาซื้อสร้อยข้อมือนี้ได้ที่ร้านขายของสำหรับคนท้อง หรือใช้สร้อยข้อมือที่คุณมีอยู่แล้วแทนก็ได้
  5. การดูดนมที่ผิดวิธีจะส่งผลเสียต่อหัวนมและทำให้น้ำนมไหลได้ไม่สะดวกด้วย [8] คุณสามารถค้นหาวิธีการให้ลูกดูดนมที่ถูกต้องจากแหล่งข้อมูลต่างๆ หากลูกของคุณมีปัญหาในการดูดนม ควรปรึกษาแพทย์หรือที่ปรึกษาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
    • การดูดนมที่ถูกวิธี ควรอุ้มลูกให้ตัวตั้งขึ้น อกแนบกับหน้าอกของคุณ คุณอาจจะใช้มือจับเต้านมขึ้นขณะให้นม หรือจะนวดเต้านมเบาๆ ก่อนจะให้ลูกดูดนมเพื่อช่วยให้น้ำนมไหลสะดวกขึ้นก็ได้
    • หากคุณมีฐานหัวนมแบน ให้นวดบริเวณหัวนมเพื่อให้ยื่นออกมาให้ลูกดูดนมได้ [9]
  6. ลองเปลี่ยนท่าในการให้นมที่ต่างกันในแต่ละครั้ง และใช้หมอนช่วยเพื่อให้รู้สึกสะดวกสบายขึ้น มันจะสามารถช่วยให้มั่นใจได้ว่าคุณได้ให้นมลูกหมดแล้ว
    • เลือกท่าที่จะช่วยให้น้ำนมไหลสู่ปากเด็กได้สะดวก ตัวอย่างเช่น ลองให้นมลูกโดยการนอนตะแคงซ้าย เพื่อไม่ให้เต้านมอีกข้างมากีดขวาง หรือจะลองให้นมในท่าคลานเข่าเหนือตัวเด็กก็ได้
  7. คุณต้องทำให้น้ำนมออกจากเต้าให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อป้องกันเต้านมอักเสบ ดังนั้นอย่าให้นมขวดกับเด็กระหว่างการให้นมแต่ละมื้อ เพราะมันจะลดความอยากนมของเด็กเมื่อถึงเวลาให้นมจริง [10]
    • การให้นมขวดจะทำให้เด็กสับสน เพราะมีการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาระหว่างนมจริงกับจุกนม ถ้าคุณให้นมขวดระหว่างมื้อ เด็กจะติดการดูดนมจากขวดมากกว่า เพราะน้ำนมจะไหลเร็วกว่า ทำให้เด็กไม่ยอมดูดนมจากเต้าหรือดูดนมได้ยากขึ้น
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

รักษาสุขภาพให้แข็งแรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในฐานะคุณแม่มือใหม่ คุณอาจจะต้องหมกมุ่นอยู่แต่กับการดูแลลูก แต่การที่จะดูแลลูกได้ดีนั้นคุณก็ควรจะดูแลตัวเองตามที่ร่างกายต้องการ และพักผ่อนให้มากๆ ด้วย หากคุณรู้สึกเหนื่อยจนเกินไป ควรขอให้สามีช่วยดูลูกสักครู่ แล้วไปพักผ่อนคลายสัก 10 นาที ความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำและเกิดการติดเชื้อที่จะนำไปสู่เต้านมอักเสบได้ [11]
    • เวลานอนหลับควรนอนหงายเพื่อไม่ให้เต้านมทั้งสองข้างถูกกดทับ และไม่ควรสวมเสื้อชั้นใน เพราะจะไปกดทับท่อน้ำนมอันบอบบางจนทำให้เกิดการอักเสบได้ และหากมันอักเสบขึ้นมา ท่อน้ำนมจะอุดตัน ซึ่งจะนำไปสู่อาการเต้านมอักเสบ
    • ถ้าคุณชอบนอนตะแคง ใช้หมอนช่วยดันให้อยู่ในท่าที่สบายและไม่กดทับเต้านมทั้งสองข้าง
  2. หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อชั้นในที่รัดแน่นตลอดทั้งวัน. ถอดเสื้อชั้นในให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อลดการกดทับท่อน้ำนม และใส่เสื้อผ้าหลวมๆ สบายๆ เพื่อไม่ให้รัดเต้านม [12]
    • ถ้าคุณใส่เสื้อชั้นในสำหรับให้นม ควรเลือกใส่แบบที่พอดีกับตัว ให้คุณโน้มตัวไปด้านหน้าขณะใส่เสื้อชั้นในเพื่อให้เต้านมรับกับชั้นในพอดี ไม่ควรให้ขอบเสื้อชั้นในบีบรัดเนื้อ [13]
    • ควรหลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่น เช่น ชุดว่ายน้ำรัดๆ หรือแผ่นซับน้ำนม และไม่ควรสะพายกระเป๋าหนักๆ หรือกระเป๋าผ้าอ้อมพาดบริเวณหน้าอก
  3. หัวนมแตกในช่วงที่ให้นมลูกถือเป็นเรื่องปกติ และหัวนมที่แตกนั้นจะเป็นช่องทางให้เชื้อแบคทีเรียเข้าไปในร่างกายและทำให้เต้านมอักเสบได้ คุณสามารถป้องกันหัวนมแตกด้วยวิธีต่อไปนี้ [14]
    • ปล่อยให้หัวนมแห้งเองหลังจากให้นม เป็นวิธีที่ดีกว่าเช็ดด้วยผ้าหรือล้างน้ำทุกครั้งหลังให้นม ซึ่งจะทำให้หัวนมแห้งแตก
    • ใช้ครีมลาโนลินทาหัวนม เลือกใช้ครีมที่มีส่วนผสมของธรรมชาติและไม่มีแอลกอฮอล์เพื่อแก้ปัญหาหัวนมแห้งแตกเป็นแผล
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

รู้ทันอาการของโรคเต้านมอักเสบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สังเกตตัวเองหากมีอาการเหมือนจะเป็นไข้ หรือรู้สึกป่วยและเหนื่อยล้า. หญิงหลายคนที่เป็นเต้านมอักเสบจะเริ่มจากรู้สึกเหมือนจะเป็นไข้หวัด มีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว หนาวสั่น และอ่อนเพลีย เหล่านี้คืออาการทั่วไปที่จะแสดงว่าเป็นเต้านมอักเสบ [15]
    • วัดอุณหภูมิร่างกายเมื่อรู้สึกไม่สบายและคิดว่าน่าจะเป็นเต้านมอักเสบ หากมีไข้สูงเกินกว่า 38.3 องศาเซลเซียส นั่นแปลว่าคุณอาจจะเป็นเต้านมอักเสบได้
  2. สังเกตเต้านมหากมีอาการอักเสบ รอยแดง หรือปวดบวม. อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อท่อน้ำนมอุดตันและจะเป็นเต้านมอักเสบ หากจับอาการผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้คุณรักษาได้ทันท่วงทีก่อนที่อาการเต้านมอักเสบจะรุนแรงเต็มที่ [16]
    • ผิวบริเวณเต้านมจะเป็นมันวาวและมีรอยแดงเป็นเส้นๆ หรือเป็นรอยลิ่ม เมื่อสัมผัสเต้านมจะรู้สึกนุ่มและอุ่น รวมถึงมีอาการเจ็บเวลาให้นมลูก
    • เต้านมอักเสบสามารถเกิดได้ในช่วงสัปดาห์แรกๆ ที่ให้นมลูก แม้ว่ามันจะเกิดตอนไหนก็ได้ จำไว้ว่ามันจะเกิดกับเต้านมแค่ข้างเดียว
  3. ถ้าอาการผิดปกติที่เต้านมของคุณไม่ดีขึ้น ยังคงมีไข้สูง หรือรู้สึกไม่สบายหนักขึ้น มีโอกาสเสี่ยงที่คุณจะติดเชื้อเต้านมอักเสบ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที [17]
    • ถ้าแพทย์ตรวจแล้วว่าคุณเป็นเต้านมอักเสบจากการติดเชื้อ จะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะให้ทานเป็นชุด
    • เต้านมอักเสบสามารถกลายเป็นฝีเต้านมได้ ซึ่งจะยากต่อการรักษาอย่างมาก และอาจต้องมีการผ่าตัดเข้ามาช่วย ดังนั้นควรอย่างยิ่งที่จะไปพบแพทย์ทันทีเมื่อคุณเริ่มรู้สึกว่ามีอาการของเต้านมอักเสบ
  4. คุณยังต้องให้นมลูกถึงแม้ว่าจะมีอาการติดเชื้อ ซึ่งเชื้อนั้นจะไม่ส่งผ่านไปถึงเด็ก การหยุดให้นมเมื่อเป็นเต้านมอักเสบจะยิ่งทำให้อาการติดเชื้อแย่ลง ลองปรึกษาแพทย์สำหรับวิธีลดอาการเจ็บปวด
    โฆษณา


เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,051 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา