PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

เชื่อว่าหลายคนคงอยากมีชีวิตบนโลกนี้เกิน 100 ปี หากคุณต้องการมีอายุยืนนานเช่นนั้นหนทางที่ดีที่สุดคือดูแลตนเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจให้พร้อมซึ่งนอกจากจะช่วยยืดอายุให้ยืนนานแล้วยังจะทำให้คุณมีความสุขและได้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์อีกด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ใช้ชีวิตอย่างสุขภาพดี

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. การออกกำลังกายช่วยเสริมสร้างทั้งสุขภาพกายและจิต การออกกำลังช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ควบคุมน้ำหนัก สร้างสมดุลและเพิ่มการประสานงานของกล้ามเนื้อ อีกทั้งร่างกายจะหลั่งสารเอนดอร์ฟินออกมาซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกดี
    • พยายามออกกำลังกายทั้งแบบแอโรบิคและฝึกบริหารกล้ามเนื้อ
    • การออกกำลังกายแบบแอโรบิคช่วยให้อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นและเพิ่มความทนทาน กิจกรรมต่างๆ ที่สามารถทำได้ เช่น วิ่งเหยาะๆ เดินเร็ว ว่ายน้ำ หรือ กีฬาชนิดอื่นๆ พยายามออกกำลังกายเป็นเวลา 75-150 นาทีต่อสัปดาห์
    • กิจกรรมเสริมสร้างความแข็งแรง เช่น การยกเวต จะช่วยสร้างมวลกระดูกและกล้ามเนื้อ พยายามวางตารางทำให้ได้สองครั้งต่อสัปดาห์
  2. หากคุณไม่ไปตามหมอนัดก็เป็นการเปิดโอกาสให้เกิดโรค นั่นหมายความว่าการรักษาก็จะซับซ้อนและยากขึ้นตามลำดับ [1] [2]
    • ตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หากแพทย์ประจำตัวแนะนำให้ตรวจร่างกายเฉพาะส่วนเพิ่มก็จงปฏิบัติตาม
    • หากมีโรคประจำตัว ให้ถามแพทย์ว่าควรปฏิบัติตนอย่างไรให้อาการดีขึ้นหรือป้องกันไม่ให้แย่ลง
    • สังเกตว่าในครอบครัวมีโรคกรรมพันธุ์หรือเปล่า หากมีพยายามไปตรวจให้บ่อยครั้ง
  3. อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการเล่นกีฬาหรือบนท้องถนนเป็นสาเหตุหลักของ การบาดเจ็บที่สมองและไขสันหลัง
    • ขับรถอย่างระมัดระวัง คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งและเคารพขีดจำกัดความเร็วตามกฎหมาย [3]
    • ระมัดระวังเมื่อข้ามถนน มองซ้ายขวาให้แน่ใจว่ามีรถมาหรือเปล่า
    • ใส่อุปกรณ์ป้องกันที่จำเป็นทุกครั้งเมื่อเล่นกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬาที่เสี่ยงอันตรายเช่น อเมริกันฟุตบอล ขี่ม้า ปีนหน้าผา บันจีจัมพ์ ดิ่งพสุธา สกี หรือเล่นสโนว์บอร์ด
  4. หลีกเลี่ยงสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ. สารเหล่านั้นรวมไปถึง มลภาวะทั่วไป ยาฆ่าแมลง ไอเคมี และ แร่ใยหิน
  5. หากคุณเป็นคนดื่มอยู่แล้วพยายามอย่าให้เกินอัตราแนะนำต่อวัน สำหรับผู้หญิงคือไม่เกินหนึ่งแก้ว และผู้ชายไม่เกิน 1-2 แก้ว [4]
    • การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณไม่มากไม่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ สามารถดื่มได้ตราบใดที่คุณยังร่างกายแข็งแรงและไม่โหมดื่มเกินไป
    • การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร โรคหัวใจ เส้นเลือดในสมองแตก ความดันโลหิตสูง โรคตับ หรือ อุบัติเหตุได้ [5]
    • หากคุณดื่มแอลกอฮอล์ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่ได้ดื่มพร้อมกับทานยาเพราะแอลกอฮอล์อาจทำปฏิกริยากับยาได้
    • อย่าเมาแล้วขับ
  6. ถึงจะสูบมาแล้วหลายปีแต่การเลิกสูบบุหรี่จะทำให้สุขภาพดีและอายุยืนขึ้น การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ดังนี้: [6]
    • โรคตับต่างๆ และมะเร็งตับ
    • มะเร็งที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น หลอดอาหาร กล่องเสียง ลำคอ ปาก กระเพาะปัสสาวะ ตับอ่อน ไต และ ปากมดลูก
    • หัวใจวาย
    • เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก
    • เบาหวาน
    • โรคตา เช่น ต้อกระจก โรคแก้วตา
    • ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
    • โรคเหงือก
  7. ยาเสพติดมีโทษหลายประการ นอกจากจะเป็นอันตรายด้วยตัวของมันเองแล้ว หากนำไปผสมกับสารอื่นๆ อาจเกิดผลเสียที่คาดไม่ถึง ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากยาเสพติดรวมไปถึง: [7]
    • ขาดน้ำ
    • สับสน
    • สูญเสียความทรงจำ
    • วิกลจริต
    • ชัก
    • โคม่า
    • สมองถูกทำลาย
    • เสียชีวิต
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทานโปรตีนให้เพียงพอเพื่อช่วยให้ร่างกายซ่อมแซมตนเองได้ไวขึ้น. ร่างกายของคุณใช้โปรตีนเพื่อสร้างเซลล์ใหม่ นั่นหมายความว่า การซ่อมแซมเนื้อเยื้อที่เสียไปมีความสำคัญต่อร่างกายของคุณมาก [8]
    • แม้ว่า เนื้อและผลิตภัณฑ์จากสัตว์จะเป็นแหล่งโปรตีนหลัก คุณยังสามารถได้รับโปรตีนจากผักได้เช่นกัน
    • โปรตีนสามารถพบได้ใน เนื้อสัตว์ นม ปลา ไข่ ถั่วเหลือง และพืชตระกูลถั่วหลายชนิด
    • ผู้ใหญ่ควรทานอาหารที่มีโปรตีนสูง 2-3 หน่วยบริโภคต่อวัน สำหรับเด็กความต้องการโปรตีนจะแตกต่างออกไปขึ้นอยู่กับอายุ
  2. รักษากำลังวังชาด้วยอาหารที่ประกอบไปด้วยผักและผลไม้หลากชนิด. ผลไม้คืออาหารที่มาจากส่วนดอกของพืช ในขณะที่ผักมาจากลำต้น ตาดอก และราก ทั้งสองอย่างเป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุชั้นยอดที่ร่างกายต้องการเพื่อสร้างสุขภาพที่ดีในระยะยาว [9]
    • ผลไม้เช่น พืชตระกูลเบอรี่ ถั่ว ข้าวโพด ถั่วลันเตา แตงกวา ธัญพืช มะกอก พริกไทย ฟักทอง สควอช เมล็ดทานตะวันและมะเขือเทศ ผักเช่น ขึ้นฉ่าย ผักกาดหอม ผักโขม กะหล่ำดอก บรอกโคลี บีตรูต แครอทและมันฝรั่ง
    • ผักผลไม้มีแคลอรีและไขมันต่ำ แต่มีไฟเบอร์และวิตามินสูง การทานอาหารที่มีผักผลไม้เป็นส่วนประกอบช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรค มะเร็ง หัวใจ ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและเบาหวาน
    • ทานผลไม้ให้ได้ 4 จานต่อวันและผัก 5 จานต่อวัน
  3. ร่างกายกระชุ่มกระชวยด้วการทานคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่เหมาะสม. คาร์โบไฮเดรตรวมไปถึง น้ำตาล แป้งและไฟเบอร์ ร่างกายของเราได้รับพลังงานจากการแตกตัวของพันธะน้ำตาล น้ำตาลทั่วไปย่อยง่ายกว่าน้ำตาลเชิงซ้อน [10]
    • น้ำตาลทั่วไปหาได้จาก ผลไม้ นม ผลิตภัณฑ์จากนม ผัก และขนมหวาน
    • คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนพบได้ใน ถั่ว ถั่วลันเตา ถั่วเลนทิล มันฝรั่ง ข้าวโพด ขนมปังที่ทำจากธัญพืชไม่ขัดสี
    • แคลอรีครึ่งหนึ่งที่ได้รับในแต่วันควรมาจากคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนมากกว่าน้ำตาลทั่วไป
  4. ร่างกายต้องการไขมันเพื่อดูดซึมวิตามินบางชนิดที่ละลายในไขมัน ควบคุมการติดเชื้อ การจับตัวกันของเลือดและรักษาการทำงานของสมองให้เป็นปกติ แต่หากบริโภคมากเกินไปก็ส่งผลร้ายต่อร่างกาย [11]
    • แหล่งไขมันโดยทั่วไปมาจาก เนย ชีส นมครบส่วน (ไม่มีการแยกไขมันออก) ครีม เนื้อสัตว์และน้ำมันพืช
    • การทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไปเพิ่มอัตราเสี่ยงของการเกิดคลอเลสเตอรอลสูง โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง คุณสามารถลดการบริโภคไขมันได้ด้วยการหันมารับประทาน เนื้อไม่ติดมัน สัตว์ปีก ปลา และดื่มนมไขมันต่ำ [12]
    • ร้านอาหารหลายแห่งใช้ส่วนผสมที่มีไขมันสูงเช่น ครีม นมครบส่วน หรือ เนย เพื่อปรุงรสชาติอาหารให้ดีขึ้น หากหันมาทำอาหารทานเองอาจช่วยควบคุมปริมาณไขมันในอาหารได้
  5. ทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อรับวิตามินและแร่ธาตุอย่างเต็มที่. หากคุณทานอย่างสมดุลก็จะได้รับวิตามินและแร่ธาตุเพียงพอ แร่ธาตุเหล่านี้มีความสำคัญต่อการทำงาน เจริญเติบโตและซ่อมแซมตนเองของร่างกาย [13]
    • เราพบวิตามินและแร่ธาตุได้ในอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะ ผัก ผลไม้ ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี เนื้อสัตว์ และ ผลิตภัณฑ์จากนม
    • หากกังวลว่าไม่ได้รับวิตามินและแร่ธาตุครบถ้วน ให้ปรึกษาแพทย์เรื่องทาน วิตามินและแร่ธาตุเสริม
    • สตรีมีครรภ์และเด็กอาจต้องการวิตามินและแร่ธาตุในสัดส่วนที่แตกต่างจากคนปกติ
  6. แม้ว่าร่างกายอาจต้องการเกลือเพื่อรักษาการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ควบคุมปริมาตรของเลือดและความดันโลหิต แต่หากรับประทานมากไปก็ส่งผลเสียต่อร่างกาย [14]
    • การรับประทานเกลือในปริมาณมากส่งผลให้ความดันโลหิตสูง อีกทั้งยังทำให้โรค ตับ ไต และ หัวใจกำเริบได้
    • อาหารส่วนมากมีเกลือโดยธรรมชาติอยู่แล้ว แต่อาจมีการเติมเกลือเพื่อปรุงให้รสชาติดีขึ้น
    • ผู้ใหญ่ไม่ควรรับประทานเกลือเกินหนึ่งช้อนชาต่อวัน ยิ่งมีโรคประจำตัว ยิ่งควรทานน้อยกว่านี้
    • หลีกเลี่ยงอาหารขยะ. อาหารขยะไม่ได้มีแค่ไขมันสูง แต่ยังมีเกลือปริมาณมากอีกด้วย
  7. การดื่มน้ำเพียงพอจะช่วยร่างกายขับสารพิษและรักษาสุขภาพร่างกายและไตให้แข็งแรง [15]
    • ผู้ใหญ่อาจดื่มน้ำถึง 4 ลิตรต่อวัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัว กิจกรรมที่ทำและสภาพอากาศ
    • วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาร่างกายให้ชุ่มชื่นคือ การดื่มน้ำให้เพียงพอ จะได้ไม่กระหาย
    • หากคุณปัสสาวะน้อยหรือปัสสาวะมีสีเข้มหรือขุ่น ก็ควรดื่มน้ำมากกว่านี้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ขจัดความเครียด

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. รักษาสุขภาพจิตให้ดีด้วยการมีปฏิสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด. เพื่อนและครอบครัวทำให้การใช้เวลาผ่อนคลายเป็นไปอย่างมีความสุขเนื่องจากคนเหล่านี้สามารถให้ความช่วยเหลือได้เมื่อเกิดความลำบากในชีวิต [16]
    • สานสายใยใกล้ชิดกับผู้อื่นด้วยการ เขียนจดหมายไปหา โทรศัพท์ หรือนัดเจอกันก็ได้ ไม่ก็ใช้โลกโซเชียลเพื่อติดต่อสื่อสารกัน
    • การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบ่อยๆ ช่วยสร้างความผ่อนคลายและลดความเครียด
    • หากรู้สึกโดดเดี่ยว ให้กลุ่มช่วยเหลือหรือผู้ให้คำปรึกษา
  2. การนอนหลับไม่เพียงพอส่งผลให้เกิดความเครียดสะสมเนื่องจากร่างกายเหนื่อยล้าจากการอดนอน [17]
    • การนอนหลับทำให้มีพลังต่อสู้กับเชื้อโรคและหายป่วยเร็วขึ้น
    • นอนให้ได้ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน สำหรับบางคนอาจต้องนอนเกินนี้
  3. งานอดิเรกช่วยให้คุณมีจุดมุ่งหมายในอนาคตอีกทั้งยังป้องกันไม่ให้จมอยู่กับเรื่องเครียดๆ
    • หางานอดิเรกที่ไม่เสียเงินมากเพื่อที่จะทำได้ตลอดปี เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ทำงานศิลปะ ทำงานฝีมือ หรือเล่นกีฬา [18]
    • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีการแข่งขันสูงเพราะจะสร้างความกดดันมากขึ้น
  4. พิจารณาเอาเองว่าต้องการเวลาว่างธรรมดาหรือหากิจกรรมผ่อนคลายทำอย่างจริงจัง ไม่ก็ลองทำดูก่อนหลายๆ อย่างแล้วค่อยเลือกว่าสิ่งไหนเหมาะสมที่สุด: [19] [20]
    • นึกภาพสงบนิ่ง
    • ฝึกการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยเกร็งและผ่อนกล้ามเนื้อทีละส่วน
    • นั่งสมาธิ
    • เล่นโยคะ
    • นวด
    • ไท่เก๊ก
    • ดนตรีหรือศิลปะบำบัด
    • หายใจลึกๆ
  5. สนุกกับชีวิตและหาสิ่งที่ทำให้ชีวิตมีความหมายทำ
    • หากิจกรรมที่ทำให้รู้สึกมีเป้าหมาย เช่น หลายคนชอบทำงานอาสาสมัครในเวลาว่าง
    • หากิจกรรมพัฒนาสมองทำเพื่อกระตุ้นให้สมองใช้งานได้ดี ไม่ว่าจะ เป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกับเพื่อนฝูง ครอบครัวหรืออาจไปหาคอร์สเรียนก็ได้ ไม่ก็หางานฝีมือใหม่ๆ ทำ จงกระตือรือร้นกับสิ่งรอบตัวเสมอ
    • สานสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครอบครัว กลุ่มศาสนา หรือชุมชน ก็สามารถมีส่วนช่วยให้คุณมีความสุขและหัวใจชุ่มชื่น อ่อนเยาว์ได้ทั้งนั้น
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,337 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา