ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บางครั้งเวลาอยู่ที่โรงเรียนเราอาจต้องพบเจอพวกอันธพาลชอบหาเรื่องคนอื่น เราอาจถูกยั่วโมโหจนทนไม่ไหวเลยไปชกต่อยพวกนั้นเข้า ถึงแม้เราจะเป็นฝ่ายถูกหาเรื่องก่อน แต่การใช้กำลังเข้ายุติความขัดแย้งไม่ใช่วิธีการที่ดี เพราะเราอาจได้รับบาดเจ็บและได้รับอันตรายได้ ฉะนั้นถ้าไม่อยากให้เกิดการทะเลาะวิวาทโดยไม่จำเป็น ก็ขอแนะนำวิธีการหลีกเลี่ยงการทะเลาะวิวาทในโรงเรียนให้ลองนำไปปฏิบัติกัน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

คลี่คลายสถานการณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเห็นว่าตนเองอยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด การพยายามคลี่คลายสถานการณ์เป็นวิธีการที่ดีที่สุดที่เราสามารถทำได้ ถ้าสงบสติอารมณ์ตนเองได้ คนรอบข้างก็อาจพลอยอารมณ์สงบไปด้วยเช่นกัน [1]
    • หายใจเข้าลึกๆ ถ้ารู้สึกอยากเข้าไปชกต่อยเหลือเกิน ให้ลองจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจก่อน ค่อยๆ หายใจเข้าและค่อยๆ หายใจออก
    • ให้เวลาตนเองคิดสักครู่ ถ้ามีใครเริ่มยั่วโทสะเราแถวทางเดิน แล้วเราก็โมโหตามแรงยั่วยุนั้น ก็จะยิ่งทำให้ฝ่ายนั้นสนุกและได้ใจ
    • ยับยั้งตนเองไว้ เตือนตนเองว่า “ถ้าเราเลือกที่จะปะทะ อาจมีใครบาดเจ็บและได้รับอันตราย เพราะฉะนั้นฉันจะต้องสงบสติอารมณ์ไว้”
    • ฝึกหายใจเข้าลึกๆ และคิดก่อนพูดหรือทำจนเป็นนิสัย เพราะการกระทำของเรามีผลต่อพฤติกรรมของคนอื่นด้วย
  2. การหันไปสนใจเรื่องอื่นเป็นวิธีการที่ดีเยี่ยมวิธีการหนึ่งที่จะคลี่คลายสถานการณ์อันตึงเครียดไปได้ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีใครสักคนมาผลักเราที่โรงอาหาร อย่าใช้ความรุนแรงตอบโต้กลับไป ให้ลองหันไปสนใจเรื่องอื่นแทน [2]
    • พยายามพูดเรื่องอื่นเช่น “ฉันได้ยินเสียงกระดิ่งดัง คงต้องรีบไปเข้าเรียนแล้ว ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวสายกันพอดี”
    • อาจเปลี่ยนเรื่องพูดไปเลยก็ได้เช่น ถ้ามีใครชนเราอย่างแรงระหว่างกำลังเดินไปที่ห้องเรียน ก็พยายามอย่าสนใจสิ่งที่เกิดขึ้น ให้หันไปถามเพื่อนว่า “เมื่อคืนนายได้ดูถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลไหม”
    • การเปลี่ยนไปสนใจเรื่องอื่นช่วยลดความตึงเครียดลงได้ เมื่อเอาใจหันไปจดจ่อกับเรื่องอื่น เราก็จะสามารถลดการเกิดเรื่องทะเลาะวิวาทลงได้
  3. การหัวเราะออกมาจะทำให้อารมณ์ดีขึ้นทันที ถ้าเห็นว่าตนเองอยู่ในสถานการณ์ที่อาจเกิดการทะเลาะวิวาทได้ พยายามพูดอะไรตลกๆ ออกมา การใช้อารมณ์ขันเข้าคลี่คลายสถานการณ์ก็เป็นอะไรที่ได้ผลดีมาก [3]
    • ถ้าเราแสดงให้เห็นว่าตนเองผ่อนคลายพอที่จะพูดเรื่องตลกได้ คนที่อยากจะมีเรื่องกับเราอาจยอมล่าถอยไป ลองพูดอะไรที่ตลกเพื่อคลายความตึงเครียดดูสิ
    • อย่านำเรื่องที่ทำร้ายจิตใจผู้อื่นมาพูดเป็นเรื่องตลก พยายามหาประเด็นที่เป็นเรื่องตลกร้ายหรือตลกขบขันในสถานการณ์นั้น
    • ถ้ามีใครกระแนะกระแหนเรื่องที่เราท่องหนังสือช่วงพักกินข้าว ก็ให้หัวเราะและบอกเขาไปว่า “ฉันเองก็เบื่อเป็นเหมือนกัน แต่จะทำยังไงได้ ก็ฉันอยากสอบติดมหาวิทยาลัยดีๆ นี่”
  4. ถ้าเรามีความเชื่อมั่นในตนเอง เราก็จะเห็นว่าไม่จำเป็นต้องไปทะเลาะวิวาทกับผู้อื่น เมื่อเรามีความมั่นใจในตนเอง เราจะสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่ยากลำบากโดยใช้วิธีการแบบผู้ใหญ่ มีวิธีสร้างความมั่นใจในตนเองและแสดงออกให้ผู้อื่นเห็นตั้งมากมาย [4]
    • คิดถึงจุดแข็งของตนเอง ถ้ามีใครล้อเรื่องการแต่งกายของเรา ให้คิดเสียว่า “อย่างน้อยฉันก็เป็นนักฟุตบอลฝีเท้าเยี่ยมคนหนึ่งล่ะน่า”
    • ฝึกรับมือกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก ลองคิดสิว่าเราจะตอบโต้ออกไปอย่างไร ถ้าใกล้ถึงจุดที่จะเกิดการทะเลาะวิวาทเต็มทีแล้ว
    • ถ้าเราฝึกการตอบโต้เอาไว้ เราจะรู้สึกมั่นใจมากขึ้นเยอะทีเดียวเมื่อถึงเวลานั้น ตัวอย่างเช่น เราอาจลองฝึกคำพูดอย่างเช่นว่า “ฉันมีธุระที่สำคัญเกินกว่าจะมานั่งมาทะเลาะกับนาย”
  5. การทะเลาะวิวาทไม่จำเป็นต้องเป็นการชกต่อยเสมอไป บางคนอาจพูดจาไม่ดีใส่เราเพื่อหาเรื่องก็ได้ แต่เราก็มีวิธีรับมือกับคนที่ใช้วาจาก้าวร้าวอย่างได้ผลอยู่เหมือนกัน [5]
    • วิธีหนึ่งที่จะรับมือกับพวกชอบหาเรื่องคืออย่าไปสนใจพวกนั้น ถ้ามีใครกำลังล้อเราอยู่ เดินหนีไปเสีย
    • อีกวิธีหนึ่งคือนิ่งไว้ ลองพูดว่า “นี่ ถ้ายังพูดแบบนี้อยู่อีกล่ะก็ ฉันจะไม่พูดด้วยแล้วนะ”
    • เราต้องไม่มีเจตนาอยากทะเลาะด้วยจริงๆ ถ้าเราไม่ใสใจกับเรื่องที่คนอื่นพูด เหตุการณ์ก็น่าจะจบลง
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

หลีกเลี่ยงการปะทะที่อาจเกิดขึ้นได้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การรู้จักคลี่คลายสถานการณ์เป็นเรื่องสำคัญ แต่การรู้จักหลีกเลี่ยงสถานการณ์อันเลวร้ายก็สำคัญเช่นเดียวกัน ลองคิดหาวิธีการหลีกเลี่ยงการทะเลาะวิวาทที่อาจเกิดขึ้นไว้ด้วย [6]
    • ใช้สัญชาตญาณ ถ้ากำลังเดินกลับบ้านและพบกลุ่มเด็กเกเรยืนอยู่ที่มุมถนน แล้วรู้สึกว่าการเดินผ่านพวกนั้นอาจเกิดเรื่อง ให้เชื่อสัญชาตญาณของตนเองและหาวิธีหลีกเลี่ยงเด็กกลุ่มนั้นเสีย
    • ใช้เส้นทางอื่นกลับบ้านเพื่อหลีกเลี่ยงการทะเลาะวิวาท เส้นทางใหม่อาจเสียเวลาเพิ่มขึ้นสักสองสามนาที แต่ก็ช่วยให้เราสามารถหลีกเลี่ยงการทะเลาะวิวาทได้
    • สามารถใช้วิธีการเดียวกันนี้กับตอนอยู่ที่โรงเรียนได้ ถ้าเห็นกลุ่มเด็กที่ดูท่าทางเกเร อย่าไปยุ่งกับพวกเขา เวลาเข้าเรียนถ้าต้องเดินผ่านกลุ่มเด็กพวกนี้ ให้ใช้เส้นทางอื่น
  2. เราอาจได้รับบาดเจ็บ ถ้าต้องเผชิญกับการทะเลาะวิวาท เพราะฉะนั้นเราจึงควรตระหนักถึงความปลอดภัยของตนเองอยู่เสมอ การรู้จักสังเกตสภาพแวดล้อมรอบกายไว้เป็นเรื่องที่ดี [7]
    • พยายามเดินทางกับกลุ่มเพื่อน ถ้าเป็นไปได้ ให้เดินรวมกลุ่มกับเพื่อนไว้ระหว่างเปลี่ยนห้องเรียน
    • พวกเด็กเกเรจะไม่ค่อยกล้าเข้ามาหาเรื่องเรา ถ้าเราอยู่กับเพื่อนๆ นอกจากนี้ควรพยายามนั่งกินอาหารกลางวันกับเพื่อนๆ ด้วย
    • ถ้าเป็นห่วงความปลอดภัยของตนเอง ให้พยายามอยู่ใกล้ๆ ผู้ใหญ่ไว้ ถ้าต้องกินข้าวอยู่ในโรงอาหาร ให้นั่งโต๊ะใกล้คุณครูก็ได้
  3. ให้ผู้อื่นรู้จักเคารพความเป็นส่วนตัวของเราบ้าง การสร้างขอบเขตเป็นวิธีการที่ดีเยี่ยมวิธีการหนึ่งที่ช่วยหลีกเลี่ยงการทะเลาะวิวาทได้ ฉะนั้นจงสร้างขอบเขตให้ชัดเจนเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นล่วงล้ำเข้ามามากเกินไป [8]
    • ถ้ามีใครมาชนเราเขา ให้บอกเขาไปว่า “ฉันเจ็บนะ ช่วยระวังหน่อย” ให้บอกเขาไปอย่างสุภาพแต่หนักแน่น
    • ถ้าเราต้องการออกจากห้อง แล้วมีใครสักคนยืนขวางประตูไว้ บอกเขาไปได้ว่า “ช่วยหลีกทางหน่อย”
    • การสร้างขอบเขตจะช่วยแสดงให้เห็นว่าเราไม่ต้องการปะทะหรือหาเรื่องใคร อย่างไรเสียวิธีนี้ก็ดีกว่าผลักใครสักคนที่ขวางทางเราอยู่ออกไป
  4. คำพูดเป็นอาวุธที่มีทรงพลังมากที่สุด เราสามารถใช้คำพูดเพื่อช่วยหลีกเลี่ยงสถานการณ์อันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเห็นเด็กกลุ่มหนึ่งทะเลาะวิวาทกัน เราสามารถใช้คำพูดเพื่อช่วยคลี่คลายสถานการณ์ได้ [9]
    • พยายามใช้เหตุผล แทนที่จะเข้าไปร่วมทะเลาะด้วย ให้บอกกับทั้งสองฝ่ายว่า “ถ้าพวกนายทะเลาะกัน ก็จะได้รับอันตรายด้วยกันทั้งคู่ ฉันรู้ว่าไม่มีใครอยากให้เกิดปัญหาขึ้นหรอก”
    • เราสามารถขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นได้ ถ้าเกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้น ให้รีบไปบอกผู้ใหญ่ เพราะนี้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันการเกิดอันตรายเช่นกัน
    • พยายามพูดให้ชัดเจนและหนักแน่น แสดงให้ผู้อื่นรู้ว่าเราหมายความตามที่พูดจริงๆ
    • เลือกใช้คำพูดให้ดี ไม่อย่างนั้นจะเป็นการเพิ่มปัญหามากขึ้น [10]
    • แทนที่จะถากถางกลับไป ให้บอกเขาว่า “ฉันรู้นะว่านายอยากทำทุกอย่างออกมาให้ดีกว่านี้ ฉันไม่คิดว่านายอยากหาเรื่องทะเลาะจริงๆ หรอก”
  5. เหตุผลสำคัญอย่างหนึ่งที่คนเราทะเลาะกันคือโดยปกติคนเรานั้นมักจะปล่อยให้อารมณ์ความรู้สึกอยู่เหนือเหตุผล โดยปกติการทะเลาะวิวาทเกิดจากความโกรธ ความเครียด หรือความกลัว การรู้จักควบคุมอารมณ์สามารถช่วยลดโอกาสที่จะทะเลาะวิวาทกันได้ [11]
    • เราสามารถลดความเครียดได้หลายวิธี ตัวอย่างเช่น พยายามนึกถึงสิ่งดีๆ ในชีวิตเรา
    • เราอาจเครียดเพราะมีใครสักคนในครอบครัวเจ็บไข้ได้ป่วย แทนที่จะเอาแต่ครุ่นคิดเรื่องนี้เมื่ออยู่ที่โรงเรียน ให้พยายามเอาจิตใจไปจดจ่อกับการเรียนและใช้เวลาอยู่กับเพื่อน จะได้ลดความเครียดลงได้บ้าง
    • มีวิธีที่สามารถควบคุมความโกรธอย่างได้ผลอยู่ ตัวอย่างเช่น ใช้วิธีหายใจเข้าลึกๆ ค่อยๆ สูดลมหายใจเข้านับห้า จากนั้นค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกนับห้า
    • ระบายความรู้สึกออกมา ถ้าควบคุมความรู้สึกของตนเองได้ยากเย็น ลองพูดคุยกับเพื่อน พ่อแม่ หรือคุณครู
  6. เราทุกคนก็ต่างพบเจอวันที่เลวร้ายด้วยกันทั้งนั้น บางครั้งเราอาจรู้สึกเหมือนอยากตะโกนด่าว่าใครสักคน หรือเราอาจรู้สึกเหมือนว่าตนเองหงุดหงิดง่ายเหลือเกิน ไม่ว่าเรากำลังพบเจอกับสถานการณ์แบบไหนอยู่ สิ่งหนึ่งที่เราทำได้ก็คือการเลือกวิธีรับมือที่เหมาะสม [12]
    • คนเรานั้นต่างก็มีวันที่จะต้องพบเจอสิ่งที่เลวร้าย แต่การมองเห็นสิ่งดีๆ ในชีวิตจะช่วยลดความเลวร้ายนั้นให้เบาบางลงไปได้
    • ถ้าเราเห็นว่าตนเองใกล้จะพูดอะไรที่ไม่สมควรออกมา พยายามหันเหความสนใจของตนเองไปคิดเรื่องอื่น อาจบอกตนเองว่า “ตอนนี้ฉันรู้สึกโกรธอยู่ แต่ว่าอีกไม่กี่ชั่วโมงก็จะได้กลับบ้านไปเล่นเกมแล้ว ”
    • ที่โรงเรียนอาจมีบางคนพูดจาไม่ดีใส่เรา ทำให้เราเจ็บช้ำน้ำใจ เราอาจใช้วิธีเดียวกันนี้รับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าวได้
    • ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้ดี พักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกาย จะช่วยให้อารมณ์คงที่และไม่ไปทะเลาะกับใครได้ง่าย
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. นักเรียนคนอื่นอาจเป็นฝ่ายพยายามหาเรื่องเรา หรือตัวเราเองอาจเป็นฝ่ายทะเลาะวิวาทกับผู้อื่นได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นไปในทางไหน การแก้ปัญหาเรื่องการทะเลาะวิวาทนั้นก็อาจเป็นเรื่องเกินกำลังตัวเรา ฉะนั้นปรึกษาคนที่สามารถช่วยเราได้จะดีกว่า [13]
    • พ่อแม่ช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ ลองขอความช่วยเหลือจากพวกท่านดูสิ .
    • เวลาขอความช่วยเหลือ พูดให้ชัดเจนด้วย เช่น “แม่ค่ะ หนูมีเรื่องอยากปรึกษาคะ”
    • เปิดใจและพูดความจริง บอกปัญหาให้พ่อแม่ฟังไปตามความจริง จะได้ช่วยกันหาทางแก้ปัญหา
  2. คุณครูก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ช่วยเราได้ ถ้าเรามีครูที่สนิท ลองขอคำแนะนำจากท่านดู คุณครูจะได้เสนอวิธีการแก้ปัญหาให้เราได้ เราอาจขอให้คุณครูเก็บการพูดคุยกันครั้งนี้ไว้เป็นความลับด้วยก็ได้ [14]
    • เล่าปัญหาของเราให้คุณครูฟัง ตัวอย่างเช่น อาจบอกไปว่า “เมื่อไม่นานมานี้ผมทะเลาะกับเพื่อนรุนแรงมาก ผมกลัวว่าสักวันหนึ่งเราอาจถึงขั้นชกต่อยกันจริงๆ ”
    • อาจลองพูดคุยกับครูแนะแนวด้วยก็ได้ ครูแนะแนวสามารถช่วยนักเรียนแก้ปัญหาต่างๆ ได้เช่นกัน
    • จะลองปรึกษาครูฝึกหรืออาจารย์ที่ปรึกษาหลังจากเลิกเรียนก็ได้ ผู้ใหญ่ที่เรารู้จักอาจช่วยเราคิดหาวิธีการหลีกเลี่ยงการทะเลาะวิวาทได้
  3. ถึงเราจะยุ่งกับการเรียน การทำกิจกรรม และงานบ้าน แต่อย่าลืมหาเวลาอยู่กับเพื่อนบ้าง เพื่อนเป็นคนที่ช่วยเหลือเราได้เช่นกัน [15]
    • เพื่อนทำให้เราหัวเราะได้ เมื่อเราผ่อนคลายมากขึ้น เราจะมีโอกาสหงุดหงิดน้อยลง
    • ใช้เวลาอยู่กับมิตรแท้ เพราะมิตรแท้ย่อมเห็นใจเราและจริงใจต่อเรา
    • ถ้าเรามีปัญหากับเพื่อนร่วมห้อง ให้บอกเพื่อนของตนเองไว้ เช่น “ฉันกลัวว่าคราวหน้าอาจได้ทะเลาะวิวาทกันเข้าสักวัน สัปดาห์หน้าเธอช่วยนั่งกินข้าวกลางวันกับฉันได้ไหม”
  4. ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงมัธยมต้นและมัธยมปลายอาจทำให้เกิดความเครียดได้ การหาวิธีการดีๆ มารับมือกับการเปลี่ยนแปลงขณะที่เราเติบโตขึ้นนั้นเป็นอะไรที่ยากลำบาก แต่ขอให้ระลึกไว้เสมอว่ามีคนรับฟังปัญหาของเราเสมอ [16]
    • ลองสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต มีกระดานอภิปรายและห้องสนทนามากมายที่คอยให้คำแนะนำเพื่อช่วยเหลือวัยรุ่น
    • ลองหาเว็บไซต์ที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีป้องกันการข่มแหงรังแก เราจะได้รู้วิธีหลีกเลี่ยงพวกอันธพาล และป้องกันตนไม่ให้เป็นอันธพาลเสียเองด้วย
    • มีเว็บไซต์รับปรึกษาปัญหาของวัยรุ่น เราสามารถเลือกช่องทางขอคำปรึกษาช่องทางไหนก็ได้ ไม่ว่าจะพูดคุยตัวต่อตัว ส่งข้อความ ส่งอีเมล หรือโทรศัพท์ไปหาผู้ที่สามารถให้คำปรึกษาเราได้ [17]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จงมีความมั่นใจในตนเอง
  • ไม่ต้องกังวลว่าคนอื่นเขาจะคิดยังไง ถ้าเราปฏิเสธไม่ยอมสู้
  • ขอความช่วยเหลือ ถ้าเห็นว่าตนเองอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย
  • บางครั้งเราก็ต้องลุกขึ้นสู้เพื่อตัวเองหรือเพื่อเพื่อนเช่นกัน แต่ถ้าเรื่องนั้นไม่เกี่ยวข้องกับเราเลย หรือเห็นว่าอันตรายเกินไป เราก็ไม่ควรเข้าไปข้องเกี่ยว เพราะเราอาจได้รับบาดเจ็บได้ ในกรณีนั้นให้แจ้งผู้ใหญ่ เช่น ครู ครูใหญ่ หรือครูแนะแนว
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 47,054 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา