ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการตื่นตระหนกเป็นภาวะที่น่าพรั่นพรึงและเกิดขึ้นแบบกะทันหัน ซึ่งสามารถทำให้คุณรู้สึกคล้ายหัวใจจะวาย กำลังจะตาย หรือไม่สามารถควบคุมอะไรได้อีกแล้ว คนจำนวนมากมักเคยมีประสบการณ์เกิดภาวะดังกล่าวขึ้นกับตนเอง เฉลี่ยประมาณ 1-2 ครั้งตลอดช่วงชีวิต แต่บางคนตกอยู่ในภาวะดังกล่าวบ่อยครั้ง ซึ่งแสดงว่ามีอาการตื่นตระหนกผิดปกติ ทั้งนี้ เวลาที่ถูกมันเล่นงาน คนๆ นั้นจะรู้สึกหวาดหวั่นอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุ และมักมีอาการทางกายร่วมด้วย เช่น หัวใจเต้นแรงและเร็ว เหงื่อออก และหายใจหอบ อย่างไรก็ตาม เรามีขั้นตอนให้คุณเอาไว้รับมือและป้องกันไม่ให้อาการดังกล่าวเกิดขึ้นในอนาคต มาฝากกัน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

วิธีรับมือเฉพาะหน้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ระหว่างที่เกิดอาการตื่นตระหนกขึ้น ร่างกายของคุณจะปรับเป็นโหมด “ไม่สู้ก็ถอย” โดยสัญชาติญาณ เหมือนกันกบเวลาที่เราอยู่ในสถานการณ์ที่อันตรายและน่ากลัว ต่างกันตรงที่ครั้งนี้ไม่ได้มีอันตรายอะไรเกิดขึ้นจริงเลย [1] ซึ่งอาการโดยทั่วไปทางกายมีดังนี้:
    • เจ็บหน้าอกหรืออึดอัด
    • เวียนหัวหรือหน้ามืด
    • กลัวว่าจะตาย
    • กลัวว่าจะสูญเสียการควบคุมหรือได้แต่รอความหายนะมาเยือน
    • รู้สึกคล้ายสำลัก
    • รู้สึกเลื่อนลอย
    • รู้สึกเหมือนอยู่ในความฝัน
    • คลื่นไส้และท้องไส้ปั่นป่วน
    • อาการชา หรือคันยุบยิบบริเวณมือ เท้า หรือใบหน้า
    • ใจสั่น หัวใจต้นแรงหรือเร็ว
    • เหงื่อออกตัวเย็น หรือสลับร้อนผ่าว
    • ตัวสั่นงันงก
  2. อาการตื่นตระหนกส่วนใหญ่ส่งผลให้หายใจเร็วหรือสั้น ซึ่งยิ่งไปทำให้อาการตื่นตระหนกเลวร้ายลง และหายช้ากว่าเดิมอีก แต่หากคุณสามารถควบคุมลมหายใจ หัวใจก็จะเต้นช้าลง ความดันเลือดต่ำลง และหายเหงื่อออกทำให้คุณรู้สึกว่าควบคุมสถานการณ์ได้อีกครั้ง [2]
    • วิธีหนึ่งในการหายใจให้ช้าลง ก็คือการสูดหายใจลึก และค้างไว้ให้นานที่สุด อันจะช่วยปรับสมดุลของอ็อกซิเจนและคาร์บอนไดอกไซด์ ส่งผลให้ความรู้สึกเหมือนหายใจติดขัดลดลง [3]
    • หลังจากที่ค้างลมหายใจไว้แล้ว ให้ตามด้วยการหายใจจากกระบังลม หรือช่องท้อง หายใจลึกๆ ช้าๆ และผ่อนออกให้ช้ายิ่งกว่าเดิม [4]
    • การฝึกหายใจแบบทั่วท้องหรือจากกระบังลมนั้น คุณอาจนั่งบนเก้าอี้โดยเอามือหนึ่งทาบหน้าอก ส่วนมืออีกข้างทาบไว้บริเวณใต้ซี่โครง นั่งให้สบาย งอเข่า และ ผ่อนคลายหัวไหล่และลำคอ [5]
    • จากนั้น หายใจช้าๆ ผ่านจมูกเข้าไป จนถึงช่องท้องโดยปล่อยให้มันขยายออก ทำช่องอกให้นิ่งเข้าไว้ ค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกประคองไว้อย่าให้ทรวงอกสั่นไหว มือที่ทาบหน้าท้องอยู่ ควรรู้สึกถึงการยุบพอง ตามจังหวะหายใจเข้าออกไปด้วย ส่วนมือที่ทาบหน้าอก ควรนิ่งเสมอ [6]
    • อีกเทคนิคหนึ่ง คือ เทคนิค 5-2-5 หรือการหายใจเข้าจากกระบังลมเป็นเวลา 5 วินาที ค้างไว้ 2 วินาที และผ่อนออกเป็นเวลา 5 วินาที ทำเช่นนี้สัก 5 รอบ [7]
    • สมัยนี้ไม่มีใคแนะนำการหายใจใส่ถุงกระดาษแล้ว มันไม่ได้เป็นประโยชน์เหมือนที่เชื่อกันในอดีต แถมยังอาจให้โทษแก่ร่างกายด้วย
  3. หนึ่งในวิธีที่ได้ผลมากที่สุด เพื่อยับยั้งอาการตื่นตระหนก คือ การกินยาประเภทต้านความหวาดวิตก ซึ่งมักใช้ตัวยาเบ็นโซไดอะเซพีน [8]
    • ยาประเภทเบ็นโซไดอะเซพีนที่แพร่หลายมากที่สุด ได้แก่ Alprazolam, Lorazepam และ Diazepam ยาเหล่านี้ออกฤทธิ์ค่อนข้างไว และสามารถช่วยบรรเทาอาการตื่นตระหนกได้ภายใน 10-30 นาที [9]
    • ยาอื่นๆ ในกลุ่มเบ็นโซไดอะเซพีนที่แพทย์แนะนำ อาจออกฤทธิ์ช้า แต่ก็ออกฤทธิ์นานกว่า ตัวอย่างเช่น Clonazepam, Chlordiazepoxide และ Oxazepam [10]
    • ยาเหล่านี้มักถูกแนะนำให้กินปริมาณน้อยๆ แต่สม่ำเสมอ จนกว่าอาการตื่นตระหนกจะเริ่มทุเลาและจัดการควบคุมได้โดยยาชนิดอื่นๆ เช่น ยาในกลุ่ม SSRIs หรือด้วยการบำบัดโดยเทคนิคความคิดและพฤติกรรมบำบัด (CBT) [11]
  4. จงพยายามอย่างถึงที่สุด ในการทำกิจกรรมวัตรประจำวัน หรืองามที่ทำค้างอยู่ต่อไปตามปกติ เพื่อป้องกันไม่ให้คุณถูกครอบงำโดยอาการตื่นตระหนก [12]
    • พูด เคลื่อนไหว และรวบรวมสติต่อไป เพื่อเป็นการส่งข้อความไปยังสมองและความตระหนกของคุณว่า มันไม่ได้มีอันตรายหรือเรื่องใดๆ ให้ตื่นตระหนกเลย และไม่มีเหตุผลที่จะอยู่ในโหมด “ไม่สู้ก็ถอย” [13]
  5. หากคุณเกิดอาการตื่นตระหนกในที่สาธารณะ เช่น ร้านสะดวกซื้อ คุณอาจจะอยากรีบหนี และเดินออกไปให้เร็วที่สุด [14]
    • การที่คุณพยายามอยู่ในสถานที่เดิมต่อไป ถือเป็นพัฒนาการในการฝึกสมองให้รับรู้ว่า ไม่มีอันตรายใดๆ ในร้านสะดวกซื้อดังกล่าวเลย [15]
    • หากคุณรีบหนีออกไป สมองของคุณจะเริ่มเชื่อมโยงอันตรายเข้ากับร้านดังกล่าว หรืออาจเหมารวมถึงร้านอื่นๆ ด้วย ทำให้เมื่อคุณเข้าร้านสะดวกซื้อในครั้งหน้า อาการตื่นตระหนกก็จะกลับมาอีก [16]
  6. หากได้รับการฝึกโดยนักบำบัด คุณอาจรู้วิธีเปลี่ยนจุดสนใจตัวเอง และควบคุมอาการตื่นตระหนกได้ [17]
    • ตัวอย่างเช่น การหันไปดื่มอะไรเย็นๆ หรืออุ่นๆ เดินเล่นสักนิด ร้องเพลงตามเพลงโปรด พูดคุยกับเพื่อน และดูทีวี เป็นต้น
    • กิจกรรมอื่นๆ ที่คุณอาจใช้เบี่ยงเบนความสนใจจากอาการตื่นตระหนกได้ เช่น การยืดเส้นยืดสาย เล่นพวกเกมส์ลับสมอง ปรับอุณหภูมิแอร์ในห้อง เปิดหน้าต่างรถหากขับอยู่ เดินออกไปสูดอากาศนอกบ้าน หรือหาอะไรน่าสนใจมาอ่าน
  7. แยกแยะระหว่างภาวะความเครียดกับอาการตื่นตระหนก. แม้ว่าภาวะทั้งสองอย่างนั้น จะมีอาการทางกายร่วมด้วยคล้ายๆ กัน เช่น ความดันโลหิตสูง เหงื่อออกและหัวใจเต้นเร็วขึ้น แต่ยังมีบางแง่มุมที่แตกต่างกัน
    • ภาวะความเครียดมักจะเกิดขึ้นกับทุกคน ไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่ง และปฏิกิริยาตอบโต้แบบไม่สู้ก็ถอย ก็อาจเกิดขึ้นเมื่อเครียดหรือวิตกกังวลด้วย เหมือนเวลาที่อยู่ในอาการตื่นตระหนกเช่นกัน แต่มันมักมีสิ่งเร้า เหตุการณ์ หรือสถานการณ์อันเป็นสาเหตุที่ตายตัวชัดเจน
    • ส่วนอาการตื่นตระหนกนั้น จะไม่ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ใดๆ แถมยังคาดเดาไม่ได้ และอาการที่เกิดขึ้นมักน่ากลัวแบบสุดขั้ว
  8. ทำตามขั้นตอนบางอย่างเพื่อควบคุมสถานการณ์เครียดๆ หรือภาวะวิตกกังวลเกินเหตุ ด้วยเทคนิคช่วยผ่อนคลายดังนี้
    • หากคุณรู้สึกแย่จากอาการตื่นตระหนก หรือโรคตื่นตระหนก การเข้ารับการบำบัดกับนักบำบัดความคิดและพฤติกรรม จะช่วยให้คุณรู้วิธีรับมือกับอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ทันทีที่มันเริ่มขึ้น
  9. ไม่ว่าคุณจะเกิดอาการตื่นตระหนก หวาดวิตก หรืออยู่ในสถานการณ์เคร่งเครียดใดๆ หากคุณรวบรวมสติมาจดจ่ออยู่ที่ประสาทสัมผัสของตัวเองแค่เพียงชั่วครู่ อาการทางกายต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นก็จะคลายตัวลงไปเอง [18]
    • ลองใช้สายตาของคุณพินิจพิจารณาภาพอันน่ารื่นรมย์ที่เห็นรอบๆ ตัว หากคุณอยู่ในที่ๆ ปลอดภัย ลองหลับตาและนึกภาพดอกไม้ งานศิลปะ ชายหาด หรือสิ่งใดก็ได้ที่คุณโปรดปราน เพื่อให้จิตใจสงบลง [19]
    • หยุดพักและฟังเสียงรอบๆ ตัว ลองพยายามเงี่ยหูฟังเสียงดนตรีจากที่ไกลๆ เสียงนก เสียงลมและฝน หรือแม้แต่เสียงกระหึ่มที่ดังมาจากท้องถนนในละแวกบ้านคุณ พยายามเงี่ยหูฟังเสียงที่คุณไม่เคยสนใจมาก่อน แทนที่จะเป็นเสียงหัวใจเต้นหรือเสียงใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์เครียดที่กำลังเกิดขึ้น [20]
    • พยายามฝึกประสาทสัมผัสต่อไปเรื่อยๆ เช่น ลองดมกลิ่นรอบๆ ตัว ซึ่งหากอยู่ในห้อง ก็อาจเป็นกลิ่นกับข้าวโชยมาจากที่ไหนสักแห่งในบ้านคุณ หรือลองสัมผัสกลิ่นของความชื้นและสายฝนในอากาศก็ได้ [21]
    • โฟกัสที่ประสาทสัมผัสทางกาย คุณอาจไม่เคยตระหนักมาก่อน แต่ร่างกายคุณย่อมสัมผัสสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ตลอดเวลา หากนั่งอยู่ พยายามรู้สึกถึงพื้นผิวเก้าอี้ หากวางแขนบนโต๊ะ ลองสังเกตดูสิว่า มันเย็นหรืออุ่น รวมถึงลักษณะของลมที่ปะทะใบหน้าด้วย เป็นต้น [22]
    • การใช้เวลาสักพักเพื่อจดจ่อประสาทสัมผัสกับสิ่งรอบตัว ถือเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจจากอาการตื่นตระหนก ความกังวล และความเครียด
    • แน่นอนว่า การทำเช่นนี้ ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาภาวะอาการตื่นตระหนก ความกังวล และความเครียด แต่การจดจ่อประสาทสัมผัสเช่นนี้ ก็ช่วยให้รู้ทันอาการทางกายที่เกิดขึ้นโดยที่คุณควบคุมไม่ได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

การป้องกันอาการตื่นตระหนกในอนาคต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แพทย์ของคุณอาจจะจ่ายยาที่เรากล่าวถึงไปให้แก่คุณ หรืออาจจะแนะนำผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิตเพื่อประเมินแล้วจึงจ่ายยา แพทย์ประจำทั่วไป รวมถึงนักจิตบำบัด มักจะแนะนำหรือส่งต่อคุณให้ไปรักษากับนักความคิดและพฤติกรรมบำบัด
    • อาการตื่นตระหนกส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับอาการทางจิตอื่นๆ ที่ซ่อนอยู่ รวมถึงปัญหาสุขภาพจิตและกายทั่วๆ ไปด้วย ลองปรึกษาแพทย์ของคุณเพื่อค้นหาและรักษาอาการเหล่านั้นก่อน
  2. ผลการศึกษาพบว่า คนที่ได้รับการรักษาอาการตื่นตระหนกและลุ่มอาการตื่นตระหนกผิดปกติ จะมีอาการโดยรวมดีขึ้นมากกว่า และมีอาการแทรกซ้อนน้อยกว่าด้วย [23]
  3. ยาที่มักใช้กันแพร่หลาย คือ เบ็นโซไดอะเซพีน ทั้งแบบออกฤทธิ์เร็วและออกฤทธิ์ปานกลาง [24]
    • เบ็นโซไดอะเซพีน สามารถทำให้คนกินมีอาการเสพติดมันได้ ดังนั้น คุณควรกินในปริมาณเท่าที่หมอสั่งเท่านั้น หากกินเยอะและยาวนานกว่านั้น จะเป็นอันตรายและทำให้เกิดอาการข้างเคียงร้ายแรงเวลาที่จะเลิกกิน
  4. กินยาประเภทออกฤทธิ์รวดเร็ว เมื่อจำเป็นเท่านั้น. ยาบรรเทาอาการประเภทออกฤทธิ์เร็ว สามารถใช้บรรเทาอาการของคุณเวลาที่มันกำลังจะเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งเอาไว้พกพาติดตัวเวลาที่จำเป็นต้องกิน หรือเวลาที่อาการกำเริบขึ้นเท่านั้น [25]
    • จงกินยาประเภทนี้เฉพาะเมื่อจำเป็นเท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการดื้อยา
    • ตัวอย่างยาที่ถูกใช้เพื่อกินเวลาที่จำเป็นหรือเวลาที่อาการกำลังเกิดขึ้น ได้แก่ Lorazepam, Alprazolam และ Diazepam
  5. กินยาที่ใช้เวลาออกฤทธิ์นานกว่าอย่างสม่ำเสมอ หรือกินตามที่แพทย์สั่ง. ยาที่ใช้เวลาปานกลางในการออกฤทธิ์ อาจใช้เวลามากกว่าแบบแรก แต่ก็มีฤทธิ์ยาต่อเนื่องยาวนานกว่าด้วย
    • ยาพวกนี้มักถูกจ่ายให้กินเป็นประจำทุกวัน เพื่อหลีกเลี่ยงอาการตื่นตระหนก จนกว่าจะถึงขั้นตอนการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมต่อไป [26]
    • ตัวอย่างของยาที่ใช้เวลาปานกลางในการออกฤทธิ์ คือ Clonazepam, Oxazepam และ Chlordiazepoxide
  6. ยายับยั้งการดูดกลับของเซโรโทนิน หรือที่รู้จักกันในชื่อ SSRIs นั้น มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการตื่นตระหนกและกลุ่มอาการตะหนกผิดปกติ [27]
    • ยากลุ่ม SSRIs ที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา คือ Fluoxetine, Fluvoxamine, Citalopram, Escitalopram, Paroxetine และ Sertraline นอกจากนี้ Duloxetine ก็เป็นยาที่เกี่ยวเนื่องอีกตัวและได้รับการรับรองให้ใช้รักษาอาการตื่นตระหนกได้ [28]
  7. การบำบัดสายนี้ เป็นหัวใจสำคัญในการฝึกสมองและร่างกายของคุณ ให้เอาชนะอาการตื่นตระหนก และสามารถรักษาไปจนกว่าอาการจะไม่กลับมากำเริบอีก [29]
    • ตระหนักไว้ก่อนว่า คุณจะได้รับการบำบัดเช่นไรบ้าง นักบำบัดที่ได้รับการอบรมมาในสายนี้ มักใช้พื้นฐานทางจิตบำบัด 5 ประการ ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการตื่นตระหนก ซึ่งแนวคิดทั้ง 5 ประการมีดังนี้: [30]
    • การศึกษาเกี่ยวกับอากรป่วย ซึ่งจะช่วยให้คุณเข้าใจอาการที่เกิดขึ้น อันส่งผลต่อภาวะอาการที่ทำให้รู้สึกหวาดกลัว เมื่อมีอาการตื่นตระหนก ได้ดีขึ้น [31]
    • การบันทึกและติดตามวันที่และเวลาที่อาการกำเริบ เช่น การจดบันทึกลงสมุดบันทึกส่วนตัว จะช่วยให้คุณและนักบำบัด สามารถระบุสิ่งเร้า ที่เป็นต้นตอของอาการตื่นตระหนก [32]
    • เทคนิคการหายใจและผ่อนคลาย เป็นขั้นตอนหนึ่งในการนำมาใช้เพื่อลดความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น [33]
    • การคิดใคร่ครวญ เป็นขั้นตอนที่จะช่วยเปลี่ยนมุมมองที่คุณมีต่อาการตื่นตระหนกอ จากที่รู้สึกเหมือนโลกจะแตก ให้เห็นมันตามความเป็นจริง [34]
    • การจัดเตรียมสภาพการณ์ที่ปลอดภัยและรู้สึกควบคุมได้ ในสถานที่หรือเหตุการณ์ที่เป็นตัวกระตุ้นอาการของคุณ จะช่วยฝึกสมองและร่างกายของคุณให้มีปฏิกริยาตอบสนองต่างออกไป [35]
  8. ผู้ที่ถูกวินิจฉัยว่า เข้าข่ายเป็นโรคตื่นตระหนกผิดปกติ มักจะมี 4 ลักษณะอาการที่กล่าวมาข้างต้น หรือมากกว่านั้น [36]
    • การรักษาโรคตื่นตระหนกผิดปกติแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้ผลลัพธ์โดยรวมดีขึ้น และช่วยลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตื่นตระหนกเรื้อรัง
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อาการบางอย่างของโรคหัวใจและไทรอยด์ อาจดูคล้ายอาการตื่นตระหนก
  • พยายามเข้ารับการรักษาจากผู้ที่ดูแลอาการของคุณอย่างสม่ำเสมอ เพื่อขจัดอาการตื่นตระหนกให้เด็ดขาด
  • ยิ่งเข้ารับการรักษาเร็วเท่าไรยิ่งดี
  • ปรึกษาคนในครอบครัวและเพื่อนสนิท โดยเฉพาะเวลาที่คุณต้องการการปลอบโยนอย่างกะทันหันขณะอาการกำเริบ
  • ดูแลกายและใจให้ดี กินอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มคาเฟอีนสูง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และทำกิจกรรมที่คุณสนุกกับมันทุกวัน
  • ลองฝึกเทคนิคสมัยใหม่ในการช่วยผ่อนคลาย เช่น โยคะ สมาธิ หรือการเจริญสติ
โฆษณา
  1. http://www.vhpharmsci.com/vhformulary/tools/benzodiazepines-comparison.htm
  2. http://www.vhpharmsci.com/vhformulary/tools/benzodiazepines-comparison.htm
  3. https://www.adaa.org/sites/default/files/CBT-for-Panic-Disorder.ppt
  4. https://www.adaa.org/sites/default/files/CBT-for-Panic-Disorder.ppt
  5. https://www.adaa.org/sites/default/files/CBT-for-Panic-Disorder.ppt
  6. https://www.adaa.org/sites/default/files/CBT-for-Panic-Disorder.ppt
  7. https://www.adaa.org/sites/default/files/CBT-for-Panic-Disorder.ppt
  8. http://psychcentral.com/lib/tips-to-cope-with-a-panic-attack
  9. http://www.helpguide.org/articles/stress/stress-relief-in-the-moment.htm
  10. http://www.helpguide.org/articles/stress/stress-relief-in-the-moment.htm
  11. http://www.helpguide.org/articles/stress/stress-relief-in-the-moment.htm
  12. http://www.helpguide.org/articles/stress/stress-relief-in-the-moment.htm
  13. http://www.helpguide.org/articles/stress/stress-relief-in-the-moment.htm
  14. http://www.psychiatry.org/panic-disorder
  15. http://www.vhpharmsci.com/vhformulary/tools/benzodiazepines-comparison.htm
  16. http://www.vhpharmsci.com/vhformulary/tools/benzodiazepines-comparison.htm
  17. http://www.vhpharmsci.com/vhformulary/tools/benzodiazepines-comparison.htm
  18. http://www.anxieties.com/152/introduction-common-medications-for-anxiety-disorders# .VaPrCZspDcs
  19. http://www.anxieties.com/152/introduction-common-medications-for-anxiety-disorders#.VaPrCZspDcs
  20. http://www.psychiatry.org/panic-disorder
  21. http://www.psychiatry.org/panic-disorder
  22. http://www.psychiatry.org/panic-disorder
  23. http://www.psychiatry.org/panic-disorder
  24. http://www.psychiatry.org/panic-disorder
  25. http://www.psychiatry.org/panic-disorder
  26. http://www.psychiatry.org/panic-disorder
  27. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/000924.htm

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,288 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา