ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คุณเคยโมโหเดือดดาลบ้างหรือเปล่า เคยด่าทอ ทำลายข้าวของ หรือพ่นคำหยาบคายใส่คนรอบข้างบ้างมั้ย แล้วเคยอยู่ๆ ก็รู้สึกฉุนเฉียวสุดๆ เวลารถติด เวลาได้ยินข่าวร้ายเล็กๆ น้อยๆ หรือเวลาต้องฟังในสิ่งที่ไม่อยากฟังด้วยหรือเปล่า ถ้าคุณมีอาการอย่างที่ว่ามา คงถึงเวลาแล้วที่คุณจะต้องรู้จักจัดการกับความโกรธ ก่อนที่มันจะครอบงำชีวิตของคุณเอง การจัดการกับอารมณ์โกรธที่เรื้อรังนั้นอาจทำได้ยาก เราจึงต้องรู้เทคนิกการควบคุมตัวเองทั้งในยามโกรธและในระยะยาว


ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การทำจิตใจให้สงบเวลาที่โกรธ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พยายามออกห่างจากสถานการณ์ที่ทำให้เราอารมณ์เสีย การออกไปเดินเล่นจะช่วยให้จิตใจสงบและทำให้เรามีเวลาไตร่ตรองสิ่งต่างๆ มากยิ่งขึ้น ยิ่งถ้าอากาศเป็นใจ ก็ลองออกมาซึมซับบรรยากาศข้างนอกบ้าง [1] หรือจะเดินเล่นก็ได้ เพื่อกำจัดพลังงานไม่ดีออกไปและให้เวลาเราอยู่ห่างจากปัญหาสักพัก [2] ถ้าอยู่ในระหว่างการโต้เถียงกันอย่างดุเดือด มันก็ไม่เสียหายอะไรถ้าจะบอกอีกฝ่ายว่า “ขอตัวไปเดินเล่นก่อนนะ”
    • อย่าลืมว่าในสถานการณ์ส่วนมากนั้น เราไม่จำเป็นต้องตอบโต้กลับในทันที เราอาจจะออกมาจากห้องนั้น เพื่อให้เวลากับตัวเอง ทำใจให้เย็นลงเสียก่อนแล้วค่อยกลับไปจัดการกับสถานการณ์นั้นก็ได้ [3]
  2. ถ้าคุณโกรธจนฟิวส์แทบขาด แน่นอนว่านั่นไม่ใช่อารมณ์ดีหรอก คุณอาจจะอยากถีบรถตัวเอง ต่อยกำแพง หรือกรีดร้องใส่หน้าคนอื่น แต่แทนที่จะทำตัวเกรี้ยวกราดตามอารมณ์แบบนั้น ลองถามตัวเองก่อนไหมว่าสิ่งที่จะทำลงไป มันทำให้ทุกอย่างดีขึ้นหรือแย่ลง ต้องคิดให้หนักว่าสิ่งไหนควรทำไม่ควรทำ และหาวิธีสงบสติอารมณ์ที่ดีที่สุดให้กับตัวเองจะดีกว่า [4]
    • อารมณ์พลุ่งพล่านที่เกิดขึ้นมักจะรุนแรง มุ่งทำลายล้างและไร้เหตุผลสิ้นดี ดังนั้นอย่าทำให้ทุกอย่างแย่ลงโดยการปล่อยตัวเองให้เกรี้ยวกราดไปตามอารมณ์โกรธนั้นเด็ดขาด
  3. การเต้นคงเป็นสิ่งสุดท้ายที่คนกำลังโมโหจะทำใช่มั้ย นั่นแหละเราจึงควรเต้น เมื่อรู้สึกโกรธสุดๆ ให้ลองเปิดเพลงโปรดจังหวะมันๆ เต้นและร้องเพลงออกมา การเต้นจะช่วยให้เราไม่หมกมุ่นกับอารมณ์โกรธและช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้ [5]
    • ถ้าวิธีข้างต้นได้ผล ก็ลองเลือกเพลงโปรดจังหวะสนุกๆ ไว้เปิดฟังเวลาที่รู้สึกโกรธก็ได้
  4. การหายใจเข้าลึกๆ เป็นวิธีที่ดีที่ช่วยให้จิตใจสงบ เริ่มจากนั่งบนเก้าอี้ยืดหลังตรง ค่อยๆ สูดหายใจเข้าลึกๆ นับหนึ่งถึงหกในใจ แล้วค่อยๆ หายใจออก ให้นับหนึ่งถึงแปดหรือเก้า เมื่อหายใจเข้าออกครบ 1 รอบ ให้พักสักหนึ่งวินาทีแล้วเริ่มสูดหายใจเข้าออกแบบเดิมอีกสิบครั้ง [6]
    • พยายามจดจ่ออยู่กับลมหายใจ ทำใจให้ว่างเปล่า ไม่ให้สิ่งใดมารบกวนจิตใจ
  5. จะนับออกมาดังๆ หรือเบาๆ ก็ช่วยให้จิตใจสงบลงได้ภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งนาที พยายามทำตัวให้นิ่งสงบ เราจะได้จดจ่ออยู่กับตัวเลขที่นับอยู่เท่านั้น การจดจ่ออยู่กับสิ่งที่เรียบง่ายและเป็นรูปธรรมจะทำให้เราไม่จมอยู่กับความรู้สึกที่ไม่ดีและช่วยให้จิตใจเราผ่องใสมากขึ้น
    • ถ้าความโกรธยังไม่หายไปหลังจากที่นับถอยหลัง ให้ทำซ้ำอีกครั้ง หรืออาจลองนับถอยหลังโดยเริ่มจากหนึ่งร้อยดูก็ได้
  6. การนั่งสมาธิทำให้จิตใจสงบและช่วยให้เราจัดการกับอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น [7] เมื่อไหร่ก็ตามที่เริ่มรู้สึกว่าควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ ให้ลองนั่งสมาธิเพื่อให้จิตใจได้พักผ่อน ก่อนการนั่งสมาธิ ควรปลีกตัวออกมาจากสถานการณ์ที่ทำให้คุณอารมณ์เสีย ยกตัวอย่างเช่น ไปทำสมาธิข้างนอก ที่บันไดหรือแม้แต่ในห้องน้ำ [8]
    • ค่อยๆ สูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ การหายใจเข้าออกแบบนี้ช่วยให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง การสูดลมหายใจเข้าออกลึกๆ ในระดับที่เหมาะสมนั้น สังเกตได้จากเวลาหายใจเข้า พุงจะป่องออกมา
    • ให้นึกภาพดวงไฟสีขาวทองอร่ามสว่างขึ้นเมื่อหายใจเข้าพร้อมปล่อยใจให้ผ่อนคลาย และจินตนาการมวลสีมืดหม่นถูกขับออกจากร่างกายเมื่อหายใจออก
    • ฝึกนั่งสมาธิทุกเช้าให้เป็นนิสัย ไม่ว่าวันนั้นคุณจะอารมณ์เสียหรือไม่ก็ตาม การฝึกทำสมาธิทุกวันจะช่วยให้เราใจเย็นขึ้นได้
  7. หลับตาลงแล้วจินตนาการสถานที่ที่คุณชอบ อาจจะเป็นชายหาดที่เคยไปเที่ยวตอนเด็กๆ หรือทะเลสาบสวยๆ ที่อยู่ในความทรงจำครั้งยังเป็นวัยรุ่น หรืออาจเป็นสถานที่ที่ไม่เคยไปมาก่อนก็ได้ เช่น ป่า ทุ่งดอกไม้ หรือภาพวิวทิวทัศน์อันงดงาม เลือกมาสักหนึ่งแห่งที่จะทำให้คุณจิตใจสงบ [9]
    • ใส่ใจกับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ยิ่งเราจดจ่อกับสิ่งเล็กๆ ทั้งหลายในจินตนาการมากเท่าไหร่ ยิ่งช่วยให้เราคลายความโกรธได้มากขึ้นเท่านั้น
  8. ผ่อนคลายไปกับนักร้องคนโปรดช่วยให้จิตใจสงบและอารมณ์ดีขึ้นได้ ดนตรีทำให้เกิดความรู้สึกบางอย่างเมื่อได้ฟังและหวนเอาความทรงจำเก่าๆ กลับมา ดนตรีทำให้คนที่อารมณ์ไม่ดีหรือหงุดหงิดอยู่ใจเย็นลงได้ แม้ว่าเขาจะไม่รู้ว่าต้นเหตุของความหงุดหงิดนี้มาจากไหนก็ตาม [10]
    • ดนตรีคลาสสิคหรือแจ๊สมักช่วยให้จิตใจสงบได้ดี แต่ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลด้วย เราจึงต้องหาประเภทดนตรีที่เหมาะสมกับตัวเราเอง
  9. การจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ดีๆ ช่วยคลายความโกรธลงได้ ลองหลับตา ลบความคิดร้ายๆ ออกไปจากหัว แล้วนึกถึงสิ่งดีๆ ขึ้นมาอย่างน้อยสามสิ่ง [11] ความคิดในแง่บวกนี้อาจจะเป็นมุมมองดีๆ จากสถานการณ์ที่น่ากังวลใจหรือการนึกถึงบางสิ่งบางอย่างที่ตั้งตารอคอย หรือบางอย่างที่ทำให้คุณมีความสุข ตัวอย่างการคิดบวกนี้รวมไปถึงการมองว่า
    • ทุกอย่างจะผ่านไปด้วยดี
    • เราแกร่งพอ เราสามารถจัดการกับมันได้
    • สถานการณ์ที่ท้าทายและยากลำบากช่วยให้เราแข็งแกร่งขึ้น
    • เราจะไม่โกรธไปตลอดหรอก มันก็แค่อารมณ์ชั่วครู่เท่านั้น
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การปรับเปลี่ยนมุมมอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาจจะใช้วิธีที่เรียกว่า “การปรับเปลี่ยนความคิด” เพื่อเปลี่ยนมุมมองและช่วยให้จิตใจสงบ [12] ถ้าเรามัวแต่หมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่ทำให้เราอารมณ์เสีย เราก็จะเชื่อในสิ่งที่ไร้เหตุผลเหล่านั้นและมองว่าทุกสิ่งในชีวิตนี้มันแย่ไปเสียหมด การปรับเปลี่ยนความคิดทำให้เรารู้จักมองโลกแง่ดีและมีเหตุผลต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตมากยิ่งขึ้น
    • การที่คุณคิดว่าทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตนี่มันแย่ไปเสียหมด อันที่จริงแล้ว หากคุณมองสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตโดยใช้เหตุผลสักนิด คุณจะเห็นว่าชีวิตมีทั้งเรื่องดีและร้ายผสมกันไป ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะพบกับเหตุการณ์รถยางแบน เจอเงินตกอยู่ที่พื้น มีปัญหาที่ทำงาน และได้ของขวัญเซอร์ไพรส์จากเพื่อนในหนึ่งวัน เห็นมั้ยว่ามีทั้งเรื่องดีและไม่ดี ถ้าหันมามองแต่เรื่องราวดีๆ เราก็จะรู้สึกดีกับชีวิตมากขึ้น
    • อีกหนึ่งวิธีในการมองโลกแง่บวกแทนแง่ลบ คือเปลี่ยนความคิดที่ว่า “เป็นแบบนี้อีกแล้ว ทนไม่ไหวแล้วนะ!” เป็น “เรื่องแบบนี้มันเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดาน่ะ เราก็จัดการมันได้สำเร็จทุกครั้ง เดี๋ยวมันก็จะผ่านไปได้ด้วยดีอีกนั่นแหละ”
  2. ลองจดบันทึกความรู้สึกโกรธของตัวเองดู เมื่อไหร่ที่มีอะไรเกิดขึ้นแล้วทำให้เรารู้สึกโกรธจนควบคุมตัวเองไม่อยู่ ต้องเขียนอธิบายด้วยว่า ณ ตอนนั้นเรารู้สึกอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุของความโกรธ เรื่องเกิดขึ้นที่ไหน เราอยู่กับใคร เราแสดงอาการอะไรออกไป และความรู้สึกที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นเป็นอย่างไร [13]
    • เมื่อจดบันทึกความรู้สึกของตัวเองไปได้สักพัก ลองสังเกตแต่ละเหตุการณ์ดูว่ามีอะไรเหมือนกันบ้าง เช่น ตัวบุคคล สถานที่ หรือสิ่งต่างๆที่ทำให้คุณโกรธ
  3. นอกจากเรียนรู้ที่จะสงบสติอารมณ์ในยามโกรธแล้ว เราก็ต้องทำความเข้าใจกับความโกรธด้วยว่าอะไรเป็นสาเหตุของความโกรธและต้องรู้จักลดการแสดงอารมณ์ที่เกรี้ยวกราดนั้นลง [14]
  4. การที่เราพูดโดยไม่ยั้งคิดอาจทำให้ตัวเองอารมณ์เสียมากกว่าเดิมได้เพราะการทำแบบนั้นอาจทำให้คนอื่นโกรธและทำให้สถานการณ์ตึงเครียด เวลาที่รู้สึกโกรธ ให้หยุดคิดสักนิดว่าอะไรเป็นต้นเหตุที่แท้จริงของความโกรธ แล้วค่อยพูดความรู้สึกที่แท้จริงออกไป [15]
    • หนี่งในวิธีการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์คือการแสดงความโกรธในเชิงสร้างสรรค์ [16] แทนที่จะแสดงให้คนอื่นเห็นว่าเราโกรธแต่ไม่พูดอะไรออกมาหรือแสดงความโกรธออกมาอย่างไม่เหมาะสมหรือเกินพอดีนั้น ลองหันมาใช้วิธีการแสดงความโกรธในเชิงสร้างสรรค์กันดีกว่า [17] วิธีการแสดงความโกรธเชิงสร้างสรรค์นั้น เราใช้ข้อเท็จจริง (ที่ไม่ใช้อารมณ์แต่งเติมให้เกินจริง) สื่อสารตรงๆ กับผู้อื่นอย่างสุภาพ ยกตัวอย่างเช่น เราอาจจะพูดว่า “ฉันโกรธที่คุณไม่ยอมบอกฉันก่อนว่าจะกลับบ้านช้า”
  5. หลายคนจัดการกับความโกรธเองได้ที่บ้าน แต่บางคนอาจต้องการผู้เชี่ยวชาญช่วยจัดการ หากประสบกับเหตุการณ์แบบนี้ [18]
    • เรื่องเล็กน้อยก็ทำให้โมโหสุดๆ ได้
    • เวลาโกรธ มักแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง รวมทั้งตะโกน กรีดร้องหรือทุบตี
    • มีปัญหาเรื้อรัง กล่าวคือ อาการดังกล่าวเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก
  6. โปรแกรมนี้ช่วยพัฒนากลยุทธ์ในการจัดการกับความโกรธ [19] โปรแกรมที่มีประสิทธิผลที่ดีจะช่วยให้เราเข้าใจความโกรธ ช่วยวางแผนกลยุทธ์ระยะสั้นเพื่อจัดการกับความโกรธและสร้างทักษะในการควบคุมอารมณ์ได้ ตอนนี้ก็มีทางเลือกหลากหลายที่จะค้นหาโปรแกรมที่ใช่สำหรับคุณ [20]
    • โปรแกรมเฉพาะบุคคลอาจมีใกล้บ้านคุณ โดยแบ่งตามกลุ่มอายุ อาชีพหรือเหตุการณ์ในชีวิตที่เคยพบเจอ
    • การหาโปรแกรมจัดการกับอารมณ์โกรธที่เหมาะกับคุณนั้น ทำได้โดยพิมพ์คำค้นหาในอินเทอร์เน็ตว่า “หลักสูตรการจัดการกับความโกรธ” แล้วตามด้วยชื่อเมือง เขตหรือภูมิภาคที่คุณอยู่ หรืออาจเพิ่มคำค้นโดยใช้คำว่า “สำหรับวัยรุ่น” หรือ “สำหรับผู้ป่วยโรคเครียดจากเหตุการณ์ร้ายแรง” เพื่อค้นหากลุ่มคนที่คล้ายกับตัวคุณเอง
    • คุณสามารถหาโปรแกรมที่ใช่สำหรับตัวเองได้จากการถามแพทย์ จิตแพทย์หรือเข้าปรึกษากับหลักสูตรพัฒนาตนเองที่ศูนย์ชุมชนท้องถิ่นจัดไว้ให้บริการ
  7. วิธีการเรียนรู้การทำจิตใจให้สงบดีที่สุดคือเราต้องรู้ต้นเหตุของความโกรธนั้นและรู้ว่าควรจัดการกับมันอย่างไร จิตแพทย์ช่วยสอนเทคนิกวิธีผ่อนคลายอารมณ์เพื่อนำไปใช้ในสถานการณ์ที่ทำให้เราโกรธได้ จิตแพทย์ยังช่วยพัฒนาทักษะการจัดการกับอารมณ์และทักษะการสื่อสารอีกด้วย [21]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การใช้ชีวิตด้วยใจที่เย็นกว่าเดิม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จงพาตัวเองไปอยู่กับสิ่งที่น่ารื่นรมย์ อาจจะเป็นเทียนหอม ต้นไม้ในกระถาง หรือรูปถ่ายของเพื่อนและครอบครัว ห้อมล้อมตัวคุณเองด้วยสิ่งที่ทำให้คุณมีความสุข เพื่อให้ง่ายต่อการทำจิตใจให้สงบ [23] จัดบ้านหรือที่ทำงานให้โล่ง สดใส สบายตาจะทำให้รู้สึกปลอดโปร่ง มองโลกแง่ดีขึ้นและคลายความเครียดในชีวิตประจำวันได้
    • พยายามจัดสิ่งรอบตัวให้เป็นระเบียบ เป็นสัดส่วนไม่ระเกะระกะมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การที่เราหาของที่จะใช้ได้อย่างสะดวกง่ายดาย ก็ทำให้เรามีแนวโน้มที่จะโกรธน้อยลง
  2. เหตุผลส่วนหนึ่งของอารมณ์โกรธอาจเกิดจากการที่เราไม่มีเวลาให้ตัวเองและมักง่วนอยู่กับการทำงานมากมายก่ายกองที่เราไม่ได้มีใจอยากจะทำ [24] ถ้าเป็นอย่างนั้นละก็ หากคุณชอบวาดรูระบายสี อ่านหนังสือ หรือออกกำลังกาย ก็ลองแทรกสิ่งที่เราอยากจะทำลงไปในตารางประจำวันหรือประจำสัปดาห์ดูบ้าง การได้ใช้เวลากับสิ่งที่ใช่ ได้อยู่ในสถานการณ์ที่ชอบก็ช่วยลดอารมณ์โกรธลงได้
    • ถ้าไม่รู้จริงๆ ว่าตัวเองชอบทำอะไรหรือหาไม่เจอว่าอะไรที่ทำให้เรามีความสุข ลองหาอะไรที่ทำแล้วรู้สึกจิตใจสงบลงกว่าเดิมดูก็ได้
  3. หลายคนคุ้นเคยกับอาการ “โมโหหิว” เราสามารถหลีกเลี่ยงอาการโมโหหิวได้ด้วยการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพอันประกอบด้วยโปรตีน ผักและผลไม้ อาหารเหล่านี้หนักท้อง ช่วยให้หิวช้าลงและรักษาระดับน้ำตาลในเลือด เริ่มต้นวันด้วยอาหารเช้าที่มีประโยชน์ดีต่อสุขภาพจะช่วยให้เราพร้อมลุยกับสิ่งต่างๆตลอดทั้งวัน [25]
  4. การนอนหลับเพียงพอในทุกคืนจะส่งผลดีต่อทั้งร่างกายและจิตใจ [26] การพักผ่อนไม่เพียงพอส่งผลเสียต่อร่างกายมากมาย รวมถึงทำให้ไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม [27] เมื่อร่างกายได้พักผ่อนอย่างเพียงพอจะช่วยให้ใจเย็นและสงบได้ในสถานการณ์ตึงเครียด
    • หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการนอน ลองปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาหารการกินและปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตเพื่อให้หลับได้ง่ายขึ้น บางทีอาจจะต้องใช้ยานอนหลับเป็นตัวช่วยอีกแรง
  5. การหัวเราะอาจจะยากมากๆ โดยเฉพาะเวลาที่กำลังอารมณ์เสีย แต่การยิ้มและหัวเราะช่วยให้เราร่าเริงขึ้นได้ แม้ตอนนั้นจะโกรธอยู่ก็ตาม การหัวเราะช่วยเปลี่ยนกระบวนการทางเคมีต่างๆ ในร่างกายที่ส่งผลให้เราโกรธ [28] ใช้เวลากับการหัวเราะให้มากขึ้นในทุกๆ วันจะช่วยให้เราผ่อนคลายกับชีวิตและช่วยให้มีอารมณ์ขันมากขึ้น แม้จะอยู่ในสถานการณ์เลวร้าย [29]
    • อ่านเรื่องตลกๆ เมื่ออารมณ์ดีขึ้น ลองให้เพื่อนปล่อยมุกฮาๆ หรือไม่ก็ดูคลิปวีดีโอตลกๆ อาจจะช่วยให้อารมณ์ดีได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อ่านหนังสือ การอ่านหนังสือช่วยให้อารมณ์เย็นได้เร็ว โดยเฉพาะเวลาคุณพยายามบังคับตัวเองให้ทำความเข้าใจในสิ่งที่อ่านอยู่
  • นอนพักสักงีบ การนอนพักจะช่วยให้ความโกรธที่กำลังคุกกรุ่นในใจเรานั้นจางหายไปอย่างรวดเร็ว
โฆษณา

คำเตือน

  • เมื่อไหร่ที่รู้สึกควบคุมอารมณ์โกรธไม่อยู่ มีความคิดหรือพฤติกรรมในเชิงรุนแรง ให้ปรึกษาจิตแพทย์ทันที


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 10,390 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา