ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Tinnitus คืออาการเสียงดังในหู โดยจะได้ยินเสียงวี๊ดแหลม เสียงหึ่งๆ ก้องๆ เสียงคลิก หรือเสียงฟู่อยู่ในหู ไม่ได้ดังมาจากภายนอก มักมีสาเหตุจากอาการบาดเจ็บในหูที่เกิดจากเสียง หรืออาจเพราะหูติดเชื้อ การใช้ยาบางอย่าง ความดันสูง รวมถึงวัยที่ล่วงเลย [1] ส่วนใหญ่อาการแบบนี้จะหายไปเองอย่างรวดเร็ว แต่บางครั้งก็ต้องรักษากับคุณหมอให้โรคหรืออาการอื่นที่เป็นตัวการหายไปซะก่อนถึงจะดีขึ้น โดยใช้ยาอมใต้ลิ้นเช่น สเตียรอยด์ ยากันชัก (barbiturates) โอปิออยด์ (opioids) วิตามิน รวมถึงแร่ธาตุต่างๆ ว่ากันว่ามีคนอเมริกันมากถึง 50 ล้านคนเลยทีเดียวที่มีอาการเสียงดังในหูแบบเรื้อรัง คือเป็นนาน 6 เดือนขึ้นไป ส่วนคนไทยเองก็ถือเป็นโรคที่น่ากังวล เพราะเดี๋ยวนี้ไปไหนมาไหนก็มีแต่ใครๆ ใส่หูฟังด้วยกันทั้งนั้น เราเลยมีวิธีรักษาและดูแลตัวเองเมื่อมีอาการเสียงดังในหูมาฝากกัน [2]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

รักษาอาการเสียงดังในหู

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางทีอาการเสียงดังในหูก็เกิดได้ถ้าขี้หูคุณสะสมหมักหมม ลองล้างทำความสะอาดหูดูจะช่วยบรรเทาอาการได้ รีบไปหาหมอเลยเพราะคุณหมอจะได้ตรวจวินิจฉัยและช่วยล้างทำความสะอาดให้อย่างถูกวิธี
    • เดี๋ยวนี้หมอเขาแนะนำว่าอย่าใช้คอตตอนบัดแคะขี้หูเลย แค่ล้างน้ำก็พอแล้ว แต่ถ้าใครมีขี้หูเยอะจริงๆ จนเกิดอาการเสียงดังในหู ก็ไปหาหมอให้ช่วยทำความสะอาดจะดีกว่า [3]
  2. Somatic Tinnitus เป็นอาการเสียงดังในหูเพราะหัวกระทบกระเทือน โดยเสียงที่ได้ยินจะค่อนข้างดัง อาจเป็นนานตลอดทั้งวันจนยากจะมีสมาธิจดจ่ออยู่กับอะไร และจำอะไรไม่ค่อยได้ อาการเสียงดังในหูชนิดนี้อาจรักษาได้ด้วยการผ่าตัดจัดขากรรไกรใหม่ [4]
  3. ให้คุณหมอตรวจว่าคุณเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด (vascular condition) หรือเปล่า. ถ้าเสียงดังในหูเต้นตุบๆ เป็นจังหวะเดียวกับหัวใจ แสดงว่าเป็นที่โรคหลอดเลือด คุณหมออาจรักษาโดยจ่ายยาให้ แต่ในบางเคสก็ต้องถึงขั้นผ่าตัด
    • Pulsatile Tinnitus (ที่อธิบายไปข้างบน) อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังมีโรคร้ายแรงอย่างความดันสูง ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง เนื้องอกของหลอดเลือด (vascular tumor) หรือหลอดเลือดโป่งพอง (aneurysm) ให้รีบไปหาหมอด่วนถ้าได้ยินเสียงดังตุบๆ อยู่ในหู [5]
  4. รายชื่อยาที่อาจทำให้คุณมีอาการเสียงดังในหูนั้นยาวเป็นหางว่าว เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน Aleve ยาความดัน ยาโรคหัวใจ ยาต้านเศร้า (antidepressants) ไปจนถึงยารักษามะเร็ง ลองปรึกษาคุณหมอดูว่ายาที่คุณใช้อยู่เป็นตัวการของเสียงดังในหูหรือเปล่า และถ้าใช่ ก็ให้คุณหมอแนะนำต่อไปว่าควรเปลี่ยนไปใช้ยาตัวไหนดี [6]
  5. เสียงดังในหูมักเกิดจากเซลล์ขน (hair cells) เล็กจิ๋วในหูนั้นเกิดความเสียหายเพราะอายุที่เยอะขึ้นหรือฟังเสียงดังบ่อยๆ เช่น คนที่ต้องทำงานอยู่กับเครื่องจักร หรือคนที่ฟังเพลงดังๆ บางทีถึงจะแค่เปรี้ยงเดียวแต่ถ้าเสียงดังมากก็ทำเอาคุณหูดับชั่วคราวหรือหูหนวกถาวรได้แล้ว
    • สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้คุณบกพร่องทางการได้ยินก็เช่น การใช้ยาบางตัว กระดูกในหูชั้นกลางแข็งตัว เนื้องอกในระบบการได้ยิน โรคหลอดเลือด ความผิดปกติทางระบบประสาท กระทั่งมาจากพันธุกรรม
    • ความรุนแรงของอาการจะแตกต่างกันไป โดยมีข้อมูลที่ชี้ว่ามีผู้ป่วยถึง 25% ที่อาการรุนแรงขึ้นตามลำดับ ถ้าเป็นขั้นเรื้อรังก็อาจไม่หายขาด แต่ก็พอมีวิธีดูแลตัวเองได้
  6. อาการเสียงดังในหูของคุณอาจไม่หนักมาก เดี๋ยวก็หาย ถ้าเป็นแบบนั้นก็ไม่จำเป็นต้องหาหมอ แต่ถ้าอยู่ๆ ก็เป็นแถมอาการหนัก เป็นนานทั้งอาทิตย์ หรือเริ่มกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แบบนี้ก็ต้องรีบไปหาหมอ รวมถึงในกรณีที่มีอาการข้างเคียงอย่างเหนื่อยอ่อน ไม่ค่อยมีสมาธิจดจ่อ ซึมเศร้า วิตกกังวล หรือจำอะไรไม่ค่อยได้ [7]
    • เตรียมตอบคำถามคุณหมอ ว่าเริ่มเป็นเมื่อไหร่ ได้ยินเสียงแบบไหน เป็นโรคอะไรอยู่บ้าง รวมถึงชื่อยาทุกชนิดที่คุณใช้อยู่
    • จากนั้นคุณหมอจะตรวจร่างกายและวินิจฉัยเพิ่มเติมจากประวัติการเจ็บป่วยของคุณ รวมถึงทดสอบการฟังด้วย นอกจากนั้นก็อาจพิจารณาทำ CT scan หรือ MRI หูเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา (pathology) ต่อไป
    • นอกจากการตรวจวินิจฉัยโดยตรงแล้ว ก็ต้องมีการพิจารณาโรคเบื้องหลังหรือโรคประจำตัวของคุณร่วมด้วย เช่น โรคซึมเศร้า หรือนอนไม่หลับ (insomnia) แล้วจึงวางแผนการรักษาต่อไปด้วยวิธีการอย่างการฝึกรับมือกับอาการเสียงดังในหู (Tinnitus retraining therapy) ใช้เสียงอื่นกลบ (masking) ฝึกตระหนักรู้แบบ biofeedback และเทคนิคการคลายเครียดต่างๆ เป็นต้น
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ดูแลตัวเองเมื่อมีอาการเสียงดังในหู

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อาหารเสริมที่มี Gingko biloba หรือแปะก๊วย มีขายตามร้านขายยาทั่วไป ว่ากันว่าใช้รักษาอาการเสียงดังในหูได้ แต่ยังไม่มีการรับรองทางวิทยาศาสตร์ว่าจะได้ผลมากน้อยแค่ไหน [8] วิธีอื่นที่มีคนลองใช้ก็คือวิตามินบี ซิงค์ การสะกดจิต ไปจนถึงการฝังเข็ม ซึ่งก็ล้วนแล้วแต่น่าจะได้ผลไม่มาก น้อยกว่าการกินอาหารเสริมแปะก๊วยซะอีก [9]
  2. เพราะเครียดมากๆ อาการจะยิ่งหนัก พยายามดูแลรักษาตัวเองไป เพราะเสียงดังในหูไม่ใช่โรคร้ายแรง ถึงคุณจะเป็นชนิดที่รักษาไม่ได้แต่พอเวลาผ่านไปก็จะดีขึ้นเอง ให้ลดเครียดมาคิดหาวิธีอยู่กับอาการนี้ให้เข้าใจและสบายใจจะดีกว่า
    • มีคนถึง 15% เลยทีเดียวที่มีอาการเสียงดังในหูไม่ว่าจะแบบหนักหรือเบาก็ตาม ถือเป็นโรคที่พบบ่อยแต่ไม่ได้อันตรายกับร่างกายจนน่าเป็นห่วง [10]
  3. ถึงจะรักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่ก็มียาที่กินแล้วบรรเทาอาการข้างเคียง ที่เห็นผลชัดเจนก็คือยาต้านเศร้า เช่น Xanax ที่จะทำให้คุณหลับง่ายขึ้น และ Lidocaine ที่ช่วยกดอาการข้างเคียง [11]
  4. เสียงภายนอกมักใช้กลบเสียงดังวี๊ดๆ วิ้งๆ ในหูได้ดี เดี๋ยวนี้ใน Youtube ก็มีคลิปเสียง white noise อย่างเสียงธรรมชาติให้ได้เลือกฟังกัน แต่ถ้าไม่สะดวก จะใช้เสียงของเครื่องใช้ต่างๆ ในบ้านแทนก็ได้ เช่น วิทยุ พัดลม หรือเสียงแอร์
    • เสียงคลอเบาๆ จังหวะสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณนอนหลับสนิทและสบายได้เป็นอย่างดี
  5. เดี๋ยวนี้มีอุปกรณ์ทางการแพทย์หลายอย่างที่ใช้รักษาบรรเทาอาการเสียงดังในหู จากหลักเดียวกับการใช้เสียง white noise เช่น เป็นเหมือนเครื่องช่วยฟัง อีกวิธีใหม่ล่าสุดคือ acoustic therapy หรือการบำบัดด้วยเสียงตามแต่ละเคส ลองปรึกษาคุณหมอดูว่าควรรักษาวิธีไหนตามอาการและงบประมาณของคุณ
    • เครื่องช่วยฟังบรรเทาอาการเสียงดังในหูได้โดยปรับเสียงภายนอกให้ดังขึ้น ส่วนประสาทหูเทียม (cochlear implants) ก็ช่วยได้มากถึง 92% เลยทีเดียว [13]
    • ปรึกษาคุณหมอเรื่อง neuromonics หรือวิธีใหม่ที่ใช้ acoustic therapy รักษาควบคู่ไปกับจิตบำบัด ถือว่ายังเป็นวิธีที่ใหม่มาก ยังต้องทดลองกันต่อไป แต่ก็ถือว่าเป็นวิธีที่น่าสนใจ [14]
  6. ถ้าเสียงยังคงดังในหู ถึงใช้วิธีกลบเสียงก็ไม่ได้ผล ให้ลอง Tinnitus Retraining Therapy (TRT) หรือการบำบัดให้คุณสามารถปรับตัว ใช้ชีวิตอยู่กับอาการเสียงดังในหูได้ วิธี TRT ไม่ใช่การพยายามกำจัดเสียงดังในหู แต่เป็นการบำบัดในระยะยาว ร่วมกับการบำบัดด้วยเสียง เพื่อให้คุณสามารถใช้ชีวิตโดยมีเสียงดังในหูได้ ถ้าเป็น masking หรือการกลบเสียงจะเห็นผลที่สุดภายใน 6 เดือนแรก แต่ TRT จะเห็นผลดีสำหรับคนที่มีอาการเรื้อรังเป็นปีขึ้นไป [15]
  7. ทำใจดีๆ เพราะถ้าเครียดจะทำให้อาการยิ่งแย่ ให้คุณหันไปพักผ่อนนอนหลับให้มากๆ และหมั่นออกกำลังกายแทน อะไรที่ทำให้อาการยิ่งแย่ก็ลด ละ เลิก อย่าดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีนให้มาก รวมถึงงดบุหรี่ด้วย สุดท้ายคือระวังเสียงดังๆ ที่จะทำให้อาการคุณรุนแรงขึ้นแน่นอน [16]
  8. อาการนี้มักทำให้คุณเครียดจนบางทีก็ซึมเศร้า ถึงจะป่วยกาย แต่อย่างน้อยก็ขอให้สบายใจด้วยจิตบำบัด จะบำบัดกับผู้เชี่ยวชาญตามลำพังหรือเข้าร่วมกลุ่มบำบัดของคนที่มีอาการเดียวกันก็ได้ โดยเลือกที่ควบคุมดูแลโดยนักจิตบำบัดผู้เชี่ยวชาญ
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 60,267 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา