ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

โรคเชื้อราที่เล็บเท้า (onychomycosis) นั้นไม่ใช่เรื่องตลก คุณอาจพบว่าเล็บเท้าของคุณมีสีดำคล้ำขึ้น ส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์ และเปิดอ้า จนกระทั่งหลุดออกไปในที่สุด ฟังดูแล้วน่ากลัวชะมัด แต่อย่าเพิ่งตกอกตกใจไป โรคนี้น่ะรักษาได้ แถมเล็บเท้าของคุณยังสามารถกลับมาสวยงามสุขภาพดีได้ด้วย แต่ก็ขึ้นอยู่กับคุณเอง ที่จะต้องหมั่นดูแลเอาใจใส่ และคอยระวังสังเกตไม่ให้เกิดซ้ำอีก ทั้งนี้ การรักษาเชื้อราที่เล็บเท้านั้นถึงจะง่าย คุณเองก็ทำได้ แต่ก็ต้องใช้เวลา และถ้ารุนแรงมากก็ควรปรึกษาแพทย์ ในบทความนี้ เรามีวิธีขจัดเชื้อราที่เล็บเท้าแบบง่ายๆ แต่ชะงัดนักพร้อมรายละเอียดมาฝากกัน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ปรึกษาแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สำคัญมากว่าเมื่อเป็นแล้วต้องรีบรักษาให้เร็วที่สุด จะได้ยังรักษาง่าย ลดความเสี่ยงการเกิดซ้ำอีก และไม่ลุกลามถึงขั้นต้องถอดเล็บ ข้อควรระวังก็คือ เชื้อรานั้นหายเองไม่ได้ การรักษาเองแบบบ้านๆ นั้นอาจทำได้เพียงแค่ทุเลาอาการเท่านั้น
  2. เรารักษาได้ด้วยมากมายหลายวิธีด้วยกัน ส่วนคุณหมอจะเลือกรักษาคุณด้วยวิธีไหนนั้น ขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นมากหรือน้อย และต้องดูปัจจัยอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย [1] [2] คุณต้องเข้าใจก่อนเลย ว่าวิธีพวกนี้ส่วนใหญ่ก็ใช้เวลารักษาเป็นอาทิตย์ๆ ทั้งนั้นกว่าจะพอเห็นผล และก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณเองด้วย ที่ต้องหมั่นดูแลเอาใจใส่ตัวเองอย่างต่อเนื่องตามที่คุณหมอแนะนำ
    • บางเคสคุณหมออาจจ่ายยาทามาให้ อย่างพวกครีมหรือโลชั่น ซึ่งก็ต้องทาตามคุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัด โดยต้องทำความสะอาดฆ่าเชื้อที่เล็บของคุณก่อน แล้วค่อยทาครีม Canesten หรือยาฆ่าเชื้อรา 2 ครั้งต่อวัน ส่วนจะกี่เดือนนั้นก็ต้องติดตามผลกันไป ถึงช้าหน่อยแต่รับรองว่าเห็นผลแน่
    • ยากินก็นิยมใช้รักษาเชื้อราเช่นกัน ซึ่งก็มีด้วยกันหลายขนาน แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงได้โดยเฉพาะในคนที่มีปัญหาสุขภาพบางประการอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นสำคัญมากว่าคุณหมอที่รักษาเชื้อราของคุณต้องรู้ประวัติการรักษาที่ผ่านมาของคุณโดยละเอียด
    • บางทีคุณหมอก็รักษาด้วยยาต้านเชื้อรา โดยทาไว้ที่เล็บเหมือนยาทาเล็บ ดูเป็นวิธีการรักษาที่ทำได้ง่าย แต่ก็ต้องรักษาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดเท่านั้นเช่นกัน
  3. ย้ำอีกครั้งว่าเป็นเรื่องสำคัญมากที่คุณต้องทำตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด เพราะถ้ารักษาไม่ต่อเนื่องจนเกิดเชื้อราซ้ำละก็ คราวนี้อาจร้ายแรงกว่าเดิม และต้องปรึกษาคุณหมอทุกครั้งก่อนคุณจะทดลองรักษาเพิ่มเติมด้วยวิธีอื่น
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

วิธีดูแลเล็บเท้าที่มีเชื้อราอย่างเหมาะสม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ต้องเปิดเผยนิ้วเท้าที่มีเชื้อราให้อากาศถ่ายเทมากที่สุด. พวกถุงเท้าและรองเท้าอับชื้นนี่แหละเชื้อราชอบนัก พยายามเปลือยเท้าบ่อยๆ ถ้าใส่รองเท้าแตะแทนได้ก็ใส่ไปก่อน ถ้าจำเป็นต้องใส่ถุงเท้าหรือถุงน่อง ต้องซักและเปลี่ยนใหม่ทุกวัน ถ้าซักถุงเท้าขาวแบบฟอกขาวได้ก็ยิ่งดี
  2. รองเท้าคับจะบีบนิ้วเท้าคุณเข้าด้วยกัน เชื้อราจะลุกลามเอา เพราะเท้าจะอุ่น อับชื้น อากาศไม่ถ่ายเท เอื้อต่อการเติบโตของเชื้อรา ถ้าคุณชอบใส่ส้นสูง ก็คงถึงเวลาต้องแยกจากกันสักพัก โดยเฉพาะคู่ที่หัวบีบจนนิ้วเท้าคุณแนบชิดติดกันน่ะ ตอนนี้ให้พยายามใส่แต่รองเท้าที่เปิดโอกาสให้เท้าคุณได้ "หายใจ" ส่วนถุงน่องถ้าเลี่ยงได้ก็ดีเหมือนกัน
  3. หลังอาบน้ำ ว่ายน้ำ หรือกิจกรรมอื่นใดที่ทำให้เท้าของคุณเปียกหรือเหงื่อออก ต้องทำความสะอาดแล้วเช็ดให้แห้งทันที เชื้อราจะได้ไม่ลุกลาม โดยเฉพาะพวกสระสาธารณะหรืออะไรที่เพิ่มความเสี่ยงให้เชื้อราเจริญเติบโตยิ่งต้องระวัง ถ้าเลี่ยงได้ก็เลี่ยงไปก่อน หรือห่อหุ้มเท้าของคุณให้แห้งสนิทไว้แต่เนิ่นๆ
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

วิธีทางเลือกเพิ่มเติม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บอกเลยว่าเชื้อราที่เล็บนั้นรักษายากมาก [3] ที่สำคัญคือต้องใช้เวลานานกว่าจะหายขาด ถ้ารักษามั่วๆ ซั่วๆ ละก็ เดี๋ยวก็กลับมาเป็นอีก เพราะฉะนั้นให้คุณหมอรักษาจะดีที่สุด แล้วระหว่างนั้นถ้าคุณจะใช้วิธีการอื่นเพิ่มเติมก็ไม่ว่ากัน อาจจะเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดหรือรักษาควบคู่กันไป แต่นั่นต้องหลังจากปรึกษาแพทย์แล้วเท่านั้น ว่าวิธีการของคุณจะไม่ขัดกับการรักษาหลักหรือยาที่คุณได้รับจ่ายมา
  2. ถ้าเชื้อราลุกลามอยู่ใต้เล็บจนเล็บเปิดอ้าขึ้นมา ให้แช่เท้าข้างที่เป็น (หรือทั้ง 2 ข้าง) ในน้ำอุ่นประมาณ 20 - 30 นาที จากนั้นให้ขลิบเล็บส่วนเกินออก ใจเย็นๆ ถ้าเห็นเล็บของคุณเปิดอ้าไม่ติดกับนิ้วเพราะเชื้อราที่ด้านใต้ มันเป็นแบบนั้นแหละ เดี๋ยวเราค่อยๆ รักษากันไป ให้คุณตัดเล็บที่ไม่ติดกับนิ้วเท้านี้ไปให้หมด แล้วขูดเจ้าเกล็ดเชื้อราหนาๆ นั่นออกไปซะ อะไรที่ดูแล้วผิดปกตินั่นแหละเอาออกไปให้หมด อย่าลืมดันจมูกเล็บเข้าที่ด้วย แล้วหลังจากนี้ก็ต้องหมั่นดูแลเป็นประจำ
    • ห้ามเอามือฉีกเล็บเท้าเด็ดขาด ต้องตัดด้วยที่ตัดเล็บที่ฆ่าเชื้อแล้วเท่านั้น หรือจะใช้กรรไกรตัดเล็บแบบด้ามยาวก็ได้ ตัดเล็บหลังอาบน้ำนี่แหละสะดวกสุด เพราะเล็บกำลังนิ่มได้ที่เลย
    • ถ้าไปแตะต้องแล้วรู้สึกเจ็บก็หยุดก่อน อย่าไปตัดเอง ให้คุณหมอประจำตัวหรือคุณหมอเฉพาะทางด้านเท้าช่วยดูดีกว่า การถอดเล็บต้องทำอย่างถูกวิธี เล็บใหม่ถึงจะงอกกลับมาได้สมบูรณ์สวยงาม คุณคงไม่อยากได้เล็บหงิกๆ งอๆ ใช่ไหม
  3. ใช้วิค (วิคส์ วาโปรับ) ทา หรือจะใช้ยี่ห้ออื่นที่ใกล้เคียงก็ได้. เอาวางไว้ที่หัวเตียงเลย ส่วนเวลาทาก็ให้ทาบางๆ ตรงนิ้วและเล็บที่เป็นก่อนใส่ถุงเท้า อย่าลืมเช็ดเท้าให้แห้งทุกครั้งก่อนทา จะได้ไม่กลายเป็นการกักเก็บความชื้นไว้ใต้ชั้นวิคที่ทาซะแทน ไม่ว่าจะเป็นยาทาหรือวิคก็ต้องทาต่อเนื่องกันสักพักทั้งนั้นถึงจะเห็นผล แต่วิคก็ดีตรงที่ถูกและไม่อันตรายนี่แหละ
  4. ทุกคืนให้คุณแช่เท้าในน้ำผสมน้ำส้มสายชูแบบเจือจางอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง เพื่อลดค่า pH ของเล็บเท้า เชื้อราจะได้สิ้นซาก จุดสำคัญคือคุณต้องหมั่นทำให้ต่อเนื่อง ทุกคืนได้ยิ่งดี ประมาณ 3 - 6 เดือนก็เห็นผล เรารู้ว่าแค่ฟังก็เหนื่อยแล้ว แต่เห็นผลชะงัดนักแหละ
  5. หมั่นทาเป็นประจำทุกวันทั้งเช้า-เย็น จนกว่าเล็บเท้าของคุณจะแข็งแรง นี่ก็เป็นวิธีแบบธรรมชาติที่ใช้รักษาเชื้อราที่เล็บเท้าได้ผลอยู่เหมือนกัน จะหาซื้อน้ำมันตามร้านขายยาก็ได้ หลายคนเขาแนะนำว่าใช้ tea-tree oil 100% แล้วเห็นผล หรือจะใช้น้ำมันส้มแท้ 5% - 10% ( ระวัง อย่าไปสับสนกับพวกน้ำมันที่ใช้ทำความสะอาดนะ) ที่ผสมกับน้ำส้มสายชู 50% และแอลกอฮอล์ล้างแผล 50% ก็ได้ผลเหมือนกัน อย่าลืมเขย่าให้เข้ากันก่อนใช้ ใช้หลอดหยดใส่ตรงจุดที่เป็น ต้องให้ซึมทั่วทั้งเล็บ ทั้งด้านบน ในซอกข้างๆ และตามขอบ พอเล็บเริ่มยาวให้พยายามเล็มเนื้อตายออกไปเรื่อยๆ เล็บใหม่จะได้งอกมาสวยงามสุขภาพดี
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • แช่เท้าในน้ำที่ผสม tea-tree oil 2 - 3 หยด ประมาณ 20 - 30 นาที จากนั้นผึ่งเท้าให้แห้งสนิท แล้วทาวิคที่นิ้วเท้า หลังทาใส่ถุงเท้าด้วยก็ดี ยาจะได้ออกฤทธิ์นานๆ (จะกลางวันหรือกลางคืนก็ได้) ถ้าหมั่นทำเป็นประจำ ไม่กี่อาทิตย์หรือไม่กี่เดือนก็เห็นผล
    • ผลพลอยได้ของวิธีนี้คือเท้าและรองเท้าของคุณจะหอมสะอาดไปด้วย "โรคน้ำกัดเท้า" ก็ไม่เหลือ
  • ถ้าคุณเป็นโรคเรื้อรังอย่างเบาหวาน โรคเกี่ยวกับระบบไหลเวียนเลือด หรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเชื้อราที่เล็บเท้า
  • Cedarsoles หรือแผ่นรองในรองเท้าที่ทำจากไม้ซีดาร์ ก็เป็นอีกวิธีที่รักษาเชื้อราที่เล็บเท้าได้ เพราะไม้ซีดาร์มีสารต้านแบคทีเรียตามธรรมชาติ ที่ช่วยย่อยสลายจุลินทรีย์ และป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์และเชื้อรา
  • หลังอาบน้ำให้เช็ดเท้าให้แห้งสนิทและดูแลเป็นพิเศษ อย่าลืมใช้แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อทุกอุปกรณ์ที่มาแตะต้องสัมผัสเล็บเท้าของคุณ เชื้อราจะได้ไม่ลามไปที่เล็บอื่น จะทา tea-tree oil กันไว้ก่อนที่เล็บอื่นก็ไม่เสียหาย ที่สำคัญคือต้องใจเย็นๆ กว่าเล็บจะกลับเป็นปกติก็หลายเดือน หมั่นดูแลรักษาไปเรื่อยๆ นั่นแหละดี
  • เวลาเดินตามสระว่ายน้ำหรือที่สาธารณะ ให้ใส่รองเท้าแตะหรือรองเท้าอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน ห้ามเดินเท้าเปล่าเพราะเดี๋ยวจะไปติดเชื้อรามาจากคนอื่นได้
  • ใจร่มๆ เข้าไว้ เล็บไม่ได้งอกกันใน 3 วัน 7 วัน รอสักพักเดี๋ยวก็งอกกลับมาเอง แต่ถ้า 6 เดือนผ่านไปแล้วยังไร้วี่แวว ค่อยร้อนใจไปหาคุณหมอ
  • แช่เท้าในน้ำยาบ้วนปาก 30 นาทีต่อวัน ติดต่อกันประมาณ 2 เดือน
  • แต้มๆ ทิงเจอร์ไอโอดีนตรงขอบเล็บ 2 - 3 ครั้งต่อวันก็ช่วยขจัดเชื้อราได้ อาจต้องทำติดต่อกันเป็นอาทิตย์ๆ ถึงจะเห็นผล แต่ถ้าทำต่อเนื่องไม่ได้ขาด ก็ช่วยฆ่าเชื้อราให้เล็บของคุณกลับมาแข็งแรงได้เหมือนกัน
  • ลองปรึกษาคุณหมอประจำตัวดู ให้ช่วยแนะนำคุณหมอเฉพาะทางเพื่อรับการรักษาต่อไป
  • ล้างเท้าด้วยสบู่ต้านเชื้อรา จากนั้นเช็ดให้แห้งสนิท โดยเฉพาะตรงจุดที่มักอับชื้น (อย่างซอกนิ้ว ซอกเล็บ และใต้ฝ่าเท้า) ทาทั้งเท้าด้วยครีมต้านเชื้อรา พอแห้งแล้วก็ค่อยสวมทับด้วยถุงเท้าที่ฟอกขาวจนสะอาดและแห้งสนิท (การฟอกขาวนี่แหละฆ่าเชื้อราได้ดี)
  • ลองใช้ Canesten Fungal Nail Treatment ดู บางผู้ใช้พบว่าช่วยรักษาอาการเล็บเหลืองและเล็บบางได้
โฆษณา

คำเตือน

  • หลังใช้อุปกรณ์ใดตัดหรือขูดเล็บ ต้องนำมาล้างทำความสะอาดและฆ่าเชื้อทุกครั้ง
  • ถ้าเท้าคุณเหงื่อออกง่าย ความอับชื้นนั้นมักตามมาด้วยเชื้อรา และทำให้คุณรู้สึกเย็นๆ ที่เท้า เวลาเหงื่อระเหยไป
  • ห้ามทาเล็บเด็ดขาดถ้าเล็บยังมีเชื้อราอยู่
  • ใส่ถุงเท้านอนได้แต่ต้องระวัง นอกจากต้องสะอาดแล้ว ยังต้องใส่สบาย ไม่คับแน่น...
  • ถ้าคุณเป็นคนเท้า "เย็น" แต่ไม่มีเหงื่อ ให้ใส่ถุงเท้าสะอาดหลวมๆ บางๆ ให้อากาศถ่ายเท หรือจะห่มผ้าตั้งแต่เข่าลงมาก็ได้ แค่อย่าให้อบเกินไปจนเท้า "แฉะ" ล่ะ
  • ถ้าสังเกตเห็นเชื้อราหรือแผล ติดเชื้อ ที่นิ้วเท้า เท้า หรือขาหายช้าผิดปกติ ให้รีบไปตรวจเลือดกับคุณหมอว่าคุณเป็นเบาหวานหรือเปล่า เพราะคนเป็นเบาหวานเวลาเป็นแผลมักหายช้าหรืออาจลุกลามกลายเป็นเนื้อตาย (gangrene) จนต้องศัลยกรรม (โรคเบาหวานอาจเป็นอันตรายต่อระบบประสาทได้ (neuropathy หรือโรคเส้นประสาท) แถมเป็นได้ทุกจุดในร่างกายนี่สิ!)
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,852 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา