ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ความเศร้ามักจะเป็นสิ่งที่ทนได้ยาก และแทบจะทุกครั้งที่ความเศร้าเกิดขึ้น เราก็มักจะทำทุกอย่างเพื่อที่จะเอาความรู้สึกนั้นออกไปจากชีวิต ซึ่งนั่นหมายความว่า คนเรามักจะจัดว่าความเศร้านั้นเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่มีความสำคัญใดๆ เลย แต่จริงๆ แล้วความเศร้าเป็นการตอบสนองที่มีคุณค่าและเป็นการตอบสนองโดยธรรมชาติต่อเหตุการณ์ที่ยากลำบากในชีวิตและการสูญเสีย มันเป็นสิ่งที่ส่งสัญญาณว่ามีบางสิ่งบางอย่างหายไปแล้ว หรือไม่ก็ส่งสัญญาณว่าคุณต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างเพื่อจัดการกับเรื่องเครียดๆ ที่เกิดขึ้นกับคุณให้ได้ จำไว้ว่า อย่าพยายามหลีกเลี่ยงความเศร้าเด็ดขาด ให้คุณรับรู้สิ่งนั้นเอาไว้และเรียนรู้ที่จะแก้ไขหรือก้าวผ่านจุดๆ นั้นไปให้ได้ [1]

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เรียนรู้เกี่ยวกับความเศร้าของตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความเศร้าคือการตอบสนองโดยธรรมชาติต่อการสูญเสีย ไม่ว่าจะเป็นผลลัพธ์ที่เป็นไปในเชิงลบหรือเป็นผลลัพธ์ที่ไม่เป็นที่ต้องการก็ตาม ซึ่งการสูญเสียนั้นเกิดได้จากหลายๆ สิ่งเช่น การตายของคนที่เรารัก หรือการสูญเสียความเป็นตัวเองไป หรือการสูญเสียสิ่งของที่แต่ก่อนตัวเองเคยครอบครองไว้ ซึ่งความเศร้าที่เกิดจากการสูญเสียนั้นถือว่าเป็นการตอบสนองที่ปกติ
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะรู้สึกเศร้าหากเพื่อนร่วมงานที่ดีของคุณคนหนึ่งลาออกจากงานไป เพราะว่าคุณอาจจะสูญเสียความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานคนนั้นไปด้วย และการสูญเสียอีกแบบหนึ่งที่อาจจะนำพาคุณไปสู่ความเศร้าได้นั้นก็อาจจะมาจากการที่คุณรู้ว่าตัวเองไม่ได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่ตัวเองต้องการ ซึ่งสิ่งนี้อาจจะเป็นความรู้สึกของการสูญเสียผลคาดหวังในอนาคตหรือสูญเสียผลคาดหวังที่ต้องการจะให้เกิดกับตัวเอง [2]
  2. ความเศร้าอาจจะเป็นรากฐานทางอารมณ์ของสิ่งที่คุณกำลังรู้สึกอยู่ก็ได้ ซึ่งรากฐานทางอารมณ์จะเป็นตัวที่อธิบายถึงสาเหตุพื้นฐานของอารมณ์ต่างๆ ที่คุณกำลังรู้สึกอยู่ และตัวอย่างที่พบได้บ่อยสำหรับคนที่มีความเศร้าเป็นรากฐานทางอารมณ์ก็คือ คนที่มักจะตอบโต้ด้วยความโกรธ ยกเว้นคนที่สามารถรับมือกับความเศร้าได้จริงๆ นอกจากนี้ก็อาจจะเป็นในเรื่องของความรู้สึกที่เป็นไปในเชิงกล่าวโทษ อับอาย ริษยา ฯลฯ ซึ่งบ่อยครั้งความรู้สึกเหล่านี้มักจะมีเหตุมาจากความสูญเสียที่นำพาคุณไปสู่ความโศกเศร้านั่นเอง [3]
    • ตัวอย่างเช่น คุณอาจจะโทษใครบางคนว่าเป็นต้นเหตุของการสูญเสียที่เกิดขึ้นกับตัวคุณ เพราะบางทีคุณอาจจะรู้สึกอับอายหากคุณจะโทษตัวเอง และในขณะที่คุณกำลังเศร้า การกล่าวโทษหรือความอับอายของคุณก็คือรากฐานทางอารมณ์ที่คุณจะต้องจัดการแก้ไข
  3. แยกความแตกต่างระหว่างความเศร้าและภาวะซึมเศร้า. ความเศร้านั้นไม่เหมือนกับภาวะซึมเศร้า แม้ว่าความเศร้าอาจจะเป็นอาการของภาวะซึมเศร้าก็ตามที และตั้งแต่สองคำนี้ถูกเอามาใช้ในบริบทที่ผิด มันจึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างสองคำนี้ โดยต่อไปนี้เราก็จะมาอธิบายถึงความหมายและลักษณะอาการของสองคำนี้ให้คุณดู [4] [5] [6]
    • ภาวะซึมเศร้า คือ การตอบสนองในแบบที่อ่อนแอและผิดปกติต่อสิ่งที่ทำให้เกิดความตึงเครียด เช่น ความเศร้า โดยอาการของภาวะซึมเศร้านั้นจะมีความรุนแรงกว่าความเศร้าธรรมดาๆ ตัวอย่างเช่น การสูญเสียความสนใจในการทำสิ่งต่างๆ ที่ครั้งหนึ่งเคยชอบทำไปอย่างสิ้นเชิง โกรธง่าย ร้อนรน เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ไม่มีสมาธิ นอนไม่เป็นเวลา และรู้สึกเหนื่อยล้าตลอดเวลา ซึ่งภาวะซึมเศร้าอาจจะอยู่กับตัวคุณนานเป็นเดือนๆ ก็ได้ [7] นอกจากนี้ ภาวะซึมเศร้านั้นต้องการการบำบัดรักษา เพราะมันจะยิ่งแย่ลงหากว่าปล่อยทิ้งไปเรื่อยๆ
    • ความเศร้า คือ สิ่งที่อาจจะอยู่กับตัวคุณแค่พักหนึ่ง เป็นชั่วโมง หรือเป็นวันๆ ซึ่งมันเป็นการตอบสนองปกติต่อสถานการณ์ด้านลบต่างๆ เช่น เลิกกับแฟน ถูกไล่ออกจากงาน หรือสูญเสียคนที่เรารักไป และมันก็ไม่ใช่สิ่งที่แย่ถ้าคุณจะรู้สึกเศร้า เพราะเป้าหมายของสิ่งนี้ก็คือ การที่คุณรู้สึกและรับรู้ความเศร้าของตัวเองโดยที่ไม่เอาตัวไปยึดติดอยู่แต่ตรงนั้น
  4. ความทุกข์ใจหรือการหมดสิ้นคือลักษณะอาการของการสูญเสียที่มีความรุนแรง โดยมันจะอยู่กับตัวคุณนานกว่าความเศร้าธรรมดาๆ และมีผลกระทบต่ออารมณ์และความรู้ความเข้าใจต่อการใช้ชีวิตประจำวันด้วย [8] ซึ่งจริงๆ แล้ว การทุกข์ใจก็คือวิธีในการรับมือกับความสูญเสียวิธีหนึ่งและเป็นวิธีในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของชีวิตแม้ว่าจะสูญเสียบางอย่างไปแล้ว ซึ่งสิ่งนี้จะมีความแตกต่างกันออกไปสำหรับแต่ละคนและมันมักเกิดขึ้นก่อนที่ความเศร้าจะเกิด และหลังจากที่เกิดการสูญเสีย คุณอาจจะได้เดินทางผ่านขั้นตอนที่หลากหลายในชีวิตอย่างเช่น การไม่ยอมรับ การปลีกตัว ความโกรธ การต่อรอง ความเศร้า หรือการยอมรับ [9] ซึ่งทุกคนย่อมรู้สึกทุกข์ในทางที่แตกต่างกัน ดังนั้น ให้คุณรับรู้สิ่งที่ตัวเองกำลังรู้สึกอยู่ว่ามันเป็นการตอบสนองที่สมเหตุสมผลแล้ว
    • ความทุกข์ใจนั้นเป็นอะไรที่แค่มากกว่าความตาย เพราะคนเราสามารถที่จะทุกข์ใจเพราะการตกงาน การสูญเสียสิ่งของ การสูญเสียความเป็นตัวเอง หรือการสูญเสียอนาคต [10]
  5. แยกความแตกต่างระหว่างความทุกข์ใจและภาวะซึมเศร้า. แม้ว่าสองอย่างนี้จะสามารถเกิดขึ้นพร้อมกันด้วยลักษณะอาการที่เหมือนกัน (ไม่ว่าจะเป็น การเสื่อมถอยทางอารมณ์ ความเศร้า และการหลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม) แต่สองอาการนี้ก็ยังมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดอยู่ โดยภาวะซึมเศร้านั้นจะมีผลกระทบต่อความมั่นใจในตัวเองและรู้สึกเศร้าต่อเนื่องกันเป็นเวลานานๆ ส่วนความทุกข์ใจนั้นไม่ได้ทำให้เกิดความรู้สึกไร้ค่าหรือความไม่เพียงพอ และความเศร้าก็จะลดไปเองเมื่อเวลาผ่านไป นอกจากนี้ ความทุกข์ใจไม่ได้เป็นสิ่งที่ไปกระตุ้นให้เกิดความคิดฆ่าตัวตาย หรือทำให้มีปัญหาการนอนหลับชนิดที่รุนแรง หรือไปเพิ่มความร้อนรนใจ และลดพลังงานในตัวเอง เพราะอาการเหล่านี้เป็นอาการของภาวะซึมเศร้าไม่ใช่อาการของการทุกข์ใจ คนที่ทุกข์ใจยังสามารถสัมผัสกับความสุขในชีวิตได้ (เช่น การคิดบวกเกี่ยวกับการสูญเสีย) ในขณะที่ยังทุกข์ใจอยู่ แต่สำหรับคนที่มีภาวะซึมเศร้า คนๆ นั้นจะมีความยากลำบากในการรับรู้ถึงความสุขในชีวิต [11] [12]
    • มีงานวิจัยกล่าวว่า คนที่มีภาวะซึมเศร้ามาก่อนที่จะเจอกับความทุกข์ใจ มีแนวโน้มที่จะแสดงอาการซึมเศร้าออกมาหรือมีอาการที่รุนแรงมากขึ้นแม้ว่าเรื่องจะผ่านไปเป็นปีแล้ว ซึ่งนี่ไม่ได้หมายความว่าคนๆ นั้นจะทรมานจากอาการซึมเศร้า แต่ประสบการณ์ที่เขาพบเจออาจจะถูกทำให้ซับซ้อนยุ่งเหยิงเพราะความทุกข์ใจของเขาเอง [13]
  6. แม้ว่าความเศร้าจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าคุณได้สูญเสียบางสิ่งบางอย่างไปแล้ว แต่มันก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้คุณสามารถเห็นคุณค่าดีๆ บางอย่างได้ นอกจากนี้ ความเศร้ายังเป็นกลไกการรับมือกับปัญหาที่จะช่วยให้คุณได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและเพื่อนๆ และจำไว้ว่าเมื่อมีใครบางคนเศร้า ครอบครัวและเพื่อนๆ ก็มักจะคอยให้การสนับสนุนและให้กำลังใจคนๆ นั้นอยู่เสมอ นอกจากนี้ ความเศร้ายังช่วยให้คุณสามารถประเมินเป้าหมายหรือคุณค่าในชีวิตเพื่อทำให้คุณใช้ชีวิตอย่างมีความสุขมากขึ้นได้ [14] [15] [16] [17]
    • ตัวอย่างเช่น คุณได้สูญเสียคนที่คุณรักไป และคุณก็รู้สึกเศร้า แต่คุณก็ยังจดจำช่วงเวลาดีๆ ที่คุณมีกับคนที่คุณรักเอาไว้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ก้าวข้ามผ่านความเศร้าของตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปล่อยให้ตัวเองรู้สึกเศร้าบ้าง อย่าทำเป็นรู้สึกเหมือนกับว่าคุณควรจะ “เอาชนะสิ่งนี้ให้ได้” เพราะมันอาจจะนำไปสู่การหลีกเลี่ยงความเศร้า ซึ่งนี่อาจจะเป็นสิ่งที่มากีดกันตัวคุณออกจากประสบการณ์ อารมณ์ และโอกาสอื่นๆ ได้ ตัวอย่างเช่น หากคุณกลัวว่าตัวเองจะเศร้า คุณอาจจะหลีกเลี่ยงการลงสมัครคัดเลือกนักแสดงละครเวทีหรือการสัมภาษณ์งานไปเพราะคุณอาจจะไม่ได้รับคัดเลือกสำหรับสิ่งนั้นก็ได้ จำไว้ว่าความเศร้านั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนว่าคุณได้สูญเสียบางอย่างไปหรือควรที่จะเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างได้แล้ว [18]
    • หากคุณไม่สามารถปล่อยให้ตัวเองเศร้าได้ ให้คุณลองเขียนประโยคต่อไปนี้หรือพูดออกมาดังๆ ว่า....
      • “ฉันเศร้าเวลาที่..................................แต่มันก็โอเคอยู่นะ”
      • “ฉันอนุญาตให้ตัวเองรู้สึกเศร้าเพราะเรื่อง.........ได้”
  2. อย่าดูถูกหรือมองข้ามความรู้สึกของตัวเองหรือปล่อยให้คนอื่นมาทับถมความรู้สึกที่คุณมี คอยเตือนตัวเองไว้ว่าคุณสามารถปล่อยให้ตัวเองเศร้าได้ จำไว้ว่าหากมีใครบางคงพยายามที่จะปลอบใจคุณ นั่นไม่ใช่สิ่งที่ช่วยอะไรคุณได้มากมายและสามารถลดระดับความรู้สึกของคุณได้ [19] [20] ดังนั้น ให้คุณหลีกเลี่ยงการปล่อยให้คนอื่นมาบอกว่าคุณควรรู้สึกยังไงจะดีที่สุด
    • ตัวอย่างเช่น อาจจะมีใครบางคนพยายามชี้ให้คุณเห็นถึงด้านดีๆ ของสถานการณ์ที่คุณเผชิญอยู่ ด้วยการพูดว่า “ถึงตอนนี้คุณจะตกงาน แต่นั่นก็จะทำให้คุณมีเวลาว่างมากขึ้นนะ” ให้คุณค่อยๆ ตอบเพื่อนแบบรักษาน้ำใจไป โดยคุณอาจจะพูดว่า “เรารู้ว่าเธอพยายามจะทำให้เรารู้สึกดีขึ้น แต่งานนี้มันสำคัญกับเรามาก เราต้องการเวลาในการคิดทบทวนถึงสิ่งที่เราเพิ่งจะสูญเสียไป ก่อนที่จะเริ่มต้นหางานใหม่เพื่อมาเติมเต็มเวลาว่างของเรา”
  3. ใช้เวลาอยู่กับเพื่อนหรือคนที่สามารถเข้าใจความรู้สึกคุณได้. ให้คุณโทรหาเพื่อนหรือคนที่คุณรักที่คุณสามารถเล่าเรื่องราวเศร้าๆ ของชีวิตคุณให้ฟังได้ ไม่ว่ามันจะเป็นแค่การรับฟังคุณเฉยๆ หรือการพูดคุยและการช่วยดึงเตือนสติคุณก็ตาม เพื่อนของคุณอาจจะช่วยคุณได้ เมื่อใดก็ตามที่คุณได้อยู่กับคนที่คุณรัก พวกเขาจะคอยพยายามยกระดับจิตใจคุณ และมันก็ไม่ผิดอะไรถ้าคุณจะบอกกับเพื่อน เพื่อนร่วมงาน หรือคนในครอบครัวว่าคุณกำลังเศร้าและต้องการเวลาให้ตัวเองรู้สึกเศร้าสักพัก
    • แม้ว่าคนอื่นอาจจะมีปัญหาในการทำความเข้าใจถึงความเศร้าที่คุณมี จำไว้ว่าคนที่คุณรักนั้นอยากที่จะช่วยคุณก้าวผ่านช่วงเวลานี้ไปอยู่แล้ว
  4. ให้คุณปล่อยตัวเองให้ระบายอารมณ์ต่างๆ ออกมา คุณเคยร้องไห้ออกมาแบบสุดๆ และรู้สึกดีขึ้นมากๆ หลังจากนั้นหรือเปล่า? นั่นเป็นเพราะว่าการร้องไห้คือการระบายทางกายภาพที่ช่วยให้คุณข้ามผ่านอารมณ์นั้นไปได้ ซึ่งก็มีงานวิจัยที่พบว่า ฮอร์โมนความเครียดนั้นจะถูกปล่อยออกมาผ่านน้ำตาด้วย [21] และนอกเหนือจากการร้องไห้แล้ว ก็ยังมีสิ่งอื่นๆ อีกที่คุณสามารถทำเพื่อปลดปล่อยความเศร้าได้ ซึ่งก็มีดังนี้
    • ให้ฟังเพลงเศร้าๆ เพราะมีงานวิจัยพบว่าเพลงเศร้าอาจจะช่วยคุณได้เมื่อคุณกำลังเศร้าอยู่ มันจะเชื่อมโยงคุณไปยังความรู้สึกที่คุณมี และสร้างทางระบายเพื่อช่วยในการปลดปล่อยอารมณ์ออกมา หากคุณยังไม่พร้อมจะรับมือกับความรู้สึกของตัวเอง เสียงดนตรีสามารถดึงความสนใจของคุณออกมาได้จนกว่าคุณจะพร้อมไปต่อและสามารถรับมือกับความเศร้าที่เกิดขึ้นได้ [22] [23]
    • ให้คุณลองเล่าเรื่องดู หากความเศร้าของคุณนั้นตั้งอยู่ในความทุกข์หรือการสูญเสีย ให้คุณเขียนเป็นเรื่องราวออกมาหรือไม่ก็สร้างผลงานศิลปะสักชิ้นหนึ่งพร้อมกับการโฟกัสไปที่รายละเอียดต่างๆ ของคนที่คุณรัก เพราะมันจะช่วยได้มากหากคุณโฟกัสไปที่รายระเอียดต่างๆ ที่คุณสามารถรับรู้ทางประสาทสัมผัสได้ ไม่ว่าจะเป็นการมอง การได้กลิ่น การสัมผัส และการรับรู้รสชาติ จากนั้นให้โฟกัสไปที่ความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อคุณกำลังนึกถึงเรื่องการสูญเสียของตัวเอง [24]
  5. ให้คุณเริ่มเขียนไดอารี่แต่ละครั้งด้วยการเขียนคำ 3 คำที่เชื่อมโยงกับความรู้สึกของคุณหรือสามารถบรรยายความรู้สึกของคุณได้ และจบการเขียนไดอารี่ครั้งนั้นด้วยคำอีก 3 คำที่บรรยายถึงสิ่งที่คุณกำลังรู้สึกอยู่ การเขียนไดอารี่นั้นเป็นอะไรที่มากกว่าการเขียนบรรยายความรู้สึก การบรรยายความคิด และการบรรยายจิตสำนึกไปเรื่อยเปื่อย ดังนั้น ให้คุณตั้งเป้าว่าจะเขียนไดอารี่ให้ได้ทุกวัน โดยให้ตั้งเวลาและเขียนให้ได้นานถึง 5 นาที 10 นาที หรือ 15 นาทีต่อวัน (การเขียนแต่ละครั้งต้องไม่เกิน 15 นาที) [25]
    • หากคุณได้ลองระบายอารมณ์ของตัวเองออกมาแล้ว แต่ว่ายังรู้สึกเศร้าอยู่ นั่นอาจจะมีเหตุผลบางอย่างก็ได้ อาจจะมีบางสถานการณ์หรือความขัดแย้งภายในที่คุณต้องจัดการแก้ไข ซึ่งการเขียนไดอารี่นั้นเป็นวิธีที่ดีในการบันทึกและเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขปัญหานั้น
    • ให้ดูว่าไดอารี่ประเภทไหนที่เหมาะกับตัวคุณ คุณอาจจะเลือกเขียนไดอารี่ด้วยลายมือของตัวเองทั้งหมด หรือใช้ไดอารี่แบบดิจิตอล หรือไม่ก็ใช้ไดอารี่ที่พิมพ์ตารางวันที่มาให้แล้วก็ได้ เพื่อคอยติดตามความคืบหน้าของคุณในช่วงปีนั้น
  6. เปลี่ยนแปลงความเศร้าของตัวเองด้วยการจัดระเบียบสิ่งต่างๆ . ทุกคนล้วนเปลี่ยนแปลงและเข้าใจความรู้สึกของพวกเขาในทางที่แตกต่างกัน หากคุณกำลังรู้สึกมึนงงในชีวิต ให้คุณพยายามจัดระเบียบให้กับตัวเอง โดยให้เขียนลิสต์เกี่ยวกับความรู้สึก ความทรงจำ ความคิดสร้างสรรค์ ความฝัน และอะไรก็ได้ที่ช่วยให้คุณสามารถเปลี่ยนแปลงความเศร้าของตัวเองได้ และในช่วงสุดท้ายของแต่ละวัน ให้คุณเช็คสิ่งที่อยู่ในลิสต์ที่คุณทำไว้ แล้วใช้เวลาสักสองสามนาทีเพื่อเขียนประสบการณ์ของตัวเองพร้อมกับการโฟกัสไปที่ความหวัง ความพอใจ ความสำเร็จ และความสุขกับการตัดสินใจของตัวเองด้วย [26]
    • นอกจากนี้ คุณอาจจะทำการเปลี่ยนแปลงและจัดการกับอารมณ์ของคุณด้วยการทำ to-do list และเขียนการนัดหมายในปฏิทิน รวมถึงวางแผนสำหรับวันถัดไปด้วยก็ได้
  7. เมื่อคุณรู้สึกเศร้าหรือถูกครอบงำไปด้วยความรู้สึกลบๆ คุณอาจจะลืมไปว่าคุณก็มีอารมณ์ด้านบวกอยู่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น การรู้สึกมีความสุข ผ่อนคลาย ตื่นเต้น สนุกสนาน มีกำลังใจ ฯลฯ ดังนั้น ให้ใช้เวลาสักพักเพื่อเขียนและเตือนตัวเองด้วยความทรงจำที่เต็มไปด้วยความสุขและความผ่อนคลาย และบางครั้งคุณก็แค่ต้องจำไว้ว่า คุณรู้สึกแตกต่างออกไปจากเดิมก็เพื่อที่จะทำให้คุณรู้สึกกับบางสิ่งบางอย่างในทางบวกอีกครั้งหนึ่ง [27]
    • ในขณะที่คุณโฟกัสอยู่กับความทรงจำที่ทำให้มีความสุข นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้เวลาในสถานที่ที่ทำให้ความเศร้าของคุณหายไปได้เช่นเดียวกัน คุณอาจจะไปดูหนังหรือใช้เวลาสนุกไปกับเพื่อนๆ ก็ได้ สิ่งเหล่านี้จะทำให้คุณลืมเรื่องความเศร้าไปได้และช่วยเตือนว่าคุณยังสามารถที่จะสนุกไปกับสิ่งอื่นๆ ได้อยู่
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คนบางคนที่ประสบกับภาวะซึมเศร้าจะถูกวินิจฉัยว่าพวกเขาเข้าเกณฑ์ของคนเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ด้วยการวินิจฉัยลักษณะอาการ ความรุนแรง ระยะเวลาของการทรมานจากภาวะนี้ และผลกระทบในการใช้ชีวิตอยู่ในสังคม ซึ่งสิ่งนี้ทำให้บางคนที่ประสบกับความเศร้าที่มากผิดปกติขอเข้ารับการรักษาทางสุขภาพจิต [28]
โฆษณา
  1. http://www.emotionalcompetency.com/sadness.htm
  2. Preston, J. D. (2010). Depression 101: A practical guide to treatments, self-help strategies and prevention relapse.
  3. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2691160/
  4. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2691160/
  5. http://greatergood.berkeley.edu/article/item/four_ways_sadness_may_be_good_for_you
  6. http://www.emotionalcompetency.com/sadness.htm
  7. http://greatergood.berkeley.edu/article/item/virtue_of_sadness
  8. https://www.psychologytoday.com/blog/happiness-in-world/201203/the-benefit-sadness
  9. https://www.psychologytoday.com/blog/insight-is-2020/201103/psychological-purposemeaning-sadness-depression-coping
  10. http://blogs.psychcentral.com/weightless/2012/06/10-ways-to-cope-with-sadness/
  11. https://www.psychologytoday.com/blog/broken-hearts/200910/why-won-t-anyone-let-me-feel-sad
  12. http://blogs.psychcentral.com/weightless/2012/06/10-ways-to-cope-with-sadness/
  13. http://blogs.psychcentral.com/weightless/2012/06/10-ways-to-cope-with-sadness/
  14. https://www.psychologytoday.com/blog/why-music-moves-us/201409/4-reasons-we-listen-sad-music-when-were-sad
  15. http://journaltherapy.com/wp-content/uploads/2011/01/Article-KA-Managing-Grief-through-Journal-Writing.pdf
  16. http://journaltherapy.com/wp-content/uploads/2011/01/Article-KA-Managing-Grief-through-Journal-Writing.pdf
  17. http://journaltherapy.com/wp-content/uploads/2011/01/Article-KA-Managing-Grief-through-Journal-Writing.pdf
  18. http://psychcentral.com/blog/archives/2012/05/02/4-journaling-exercises-to-help-you-manage-your-emotions/
  19. http://psychcentral.com/blog/archives/2013/05/31/how-the-dsm-5-got-grief-bereavement-right/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,279 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา