ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การมีประจำเดือนเป็นเรื่องธรรมชาติของสาวๆ ทุกคน แม้ว่าประจำเดือนจะเป็นเรื่องน่าเบื่อหน่ายและตึงเครียดในบางครั้ง ทั้งยังสร้างความเจ็บปวดและความไม่สะดวกสบายในบางที อย่างไรก็ตาม หากคุณเตรียมทั้งร่างกายและจิตใจให้พร้อม การรับมือกับประจำเดือนก็จะง่ายดายยิ่งขึ้น เพียงแค่คุณดูแลรักษาร่างกายและจัดการกับอาการต่างๆ ให้ดี คุณก็พร้อมที่จะรับมือกับรอบเดือนในแต่ละเดือนแล้ว

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เตรียมพร้อมก่อนมีประจำเดือน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สาวๆ หลายมักกังวลเกี่ยวกับรอบเดือนที่กำลังจะมาและคิดว่าประจำเดือนเป็นสิ่งที่ต้องทนทรมานให้ผ่านไป ในช่วงที่คุณมีประจำเดือน ฮอร์โมนในสมองของคุณจะเกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลต่ออารมณ์ของคุณ แต่คุณยังคงสามารถเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับประจำเดือนได้ [1] ลองคิดว่าประจำเดือนเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นผู้หญิงและเป็นเรื่องธรรมชาติที่สาวๆ ทุกคนหลีกเลี่ยงไม่ได้
    • การมีประจำเดือนครั้งแรกเป็นสัญญาณที่บอกถึงของการเข้าสู่วัยสาวของเด็กหญิง [2] หากคุณมองว่าการมีประจำเดือนเป็นเรื่องที่น่ายินดี คุณก็จะเลิกกังวลและพร้อมที่จะรับมือกับประจำเดือนที่กำลังจะมาแล้ว
  2. การจดบันทึกรอบเดือนไม่เพียงแจ้งเตือนให้คุณรู้เมื่อประจำเดือนใกล้มา แต่ยังช่วยให้คุณสามารถคำนวณช่วงเวลาไข่ตกและช่วยเวลาที่พร้อมตั้งครรภ์ได้อีกด้วย [3] เนื่องจากประจำเดือนที่มาโดยไม่ได้คาดคิดอาจทำให้คุณรู้สึกยังไม่พร้อมและเครียดได้ คุณสามารถจดบันทึกรอบเดือนตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือนจนถึงวันสุดท้ายได้ในปฏิทิน ไดอารี่ หรือแอพพลิเคชั่นบนมือถือของคุณ
    • มีแอพพลิเคชั่นสำหรับจดบันทึกรอบเดือนและแจ้งเตือนเมื่อประจำเดือนใกล้มามากมายให้ดาวน์โหลดมาใช้งาน เช่น Strawberry Pal หรือ Clue
    • จำไว้ว่าในปีแรกของการมีประจำเดือนนั้น ประจำเดือนมักจะมาไม่ปกติหรือขาดไปเฉยๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติและไม่น่ากังวลใดๆ อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ผ่านปีแรกไปแล้ว ประจำเดือนของคุณก็จะเริ่มมาสม่ำเสมอและสามารถจดบันทึกได้ง่ายยิ่งขึ้น
    • รอบเดือนของสาวๆ แต่ละคนนั้นจะแตกต่างกันไป โดยปกติแล้วรอบเดือนจะอยู่ที่ประมาณ 21-35 วันและช่วงเวลาที่มีประจำเดือนในแต่ละครั้งจะนานประมาณ 2-7 วัน โดยประจำเดือนของคุณอาจมาปกติและไม่คลาดเคลื่อนในแต่ละเดือนหรืออาจมาไม่สม่ำเสมอก็ได้ [4]
    • การจดบันทึกรอบเดือนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งหากคุณมีกิจกรรมทางเพศ เพราะการจดบันทึกรอบเดือนจะช่วยให้คุณสามารถคำนวณช่วงเวลาไข่ตกของคุณ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรรู้เมื่อคุณหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์หรือต้องการจะตั้งครรภ์ [5]
  3. พกผ้าอนามัยหรือแผ่นอนามัยไว้ในกระเป๋าหรือในรถไว้เสมอ เมื่อประจำเดือนมาโดยไม่ทันตั้งตัวและคุณไม่สามารถหาผ้าอนามัยได้ในขณะนั้น คุณก็ยังคงมีผ้าอนามัยไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากประจำเดือนของคุณมาไม่ปกติและไม่สามารถบอกได้อย่างแน่ชัดว่าประจำเดือนครั้งต่อไปจะมาเมื่อไหร่
    • คุณอาจพกผลิตภัณฑ์สำหรับผู้หญิงไว้หลายๆ ชิ้น เพื่อที่คุณจะได้แบ่งให้สาวๆ คนอื่นเมื่อพวกเธอต้องการ
  4. ในช่วงระหว่างการตกไข่ที่เกิดขึ้น 12-16 วันก่อนที่ประจำเดือนจะเริ่มมาเป็นช่วงที่ร่างกายของคุณกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณจะสร้างฮอร์โมนขึ้นมา 2 ชนิดคือโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นร่างกายให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ [6] และในระหว่างนี้ การเผาผลาญพลังงานของร่างกายจะเพิ่มสูงขึ้น ร่างกายของคุณจึงจำเป็นต้องได้รับแคลอรี่เพิ่มขึ้นกว่าปกติ พยายามทานอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กเพื่อชดเชยธาตุเหล็กที่สูญเสียไปทั้งก่อนและระหว่างการมีประจำเดือน [7]
    • เนื้อสัตว์ ถั่ว เลนทิล ไข่ และผักใบเขียวล้วนเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก
    • พยายามทานอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กในช่วงที่มีประจำเดือนเพื่อช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการมีประจำเดือน เช่น ความเหนื่อยล้าหรือตะคริว [8]
    • วิตามินซีมีส่วนช่วยกระตุ้นร่างกายในการดูดซึมธาตุเหล็ก ดังนั้นคุณจึงควรทานอาหารที่มีวิตามินซีสูงเพิ่มมากขึ้น เช่น ส้ม พริกหยวก และผักเคล
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ลดความเจ็บปวดและความไม่สะดวกสบาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สาวๆ โดยส่วนใหญ่มักมีอาการท้องอืดและรู้สึกไม่สบายตัวในช่วงที่มีประจำเดือน อย่างไรก็ตาม คุณสามารถแก้อาการท้องอืดได้ด้วยการดื่มน้ำให้มากขึ้นและพยายามจำกัดปริมาณการดื่มคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง [9] การดื่มน้ำอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดื่มน้ำเปล่า มีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการท้องอืดได้เป็นอย่างดี
  2. สาวๆ หลายคนคงเคยเผชิญกับอาการเจ็บปวดในช่วงที่มีประจำเดือน ซึ่งอาการเจ็บปวดนี้มักเกิดขึ้นควบคู่กับอาการปวดเกร็งที่เกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก คุณสามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดได้โดยทานยาแก้ปวด เช่น ไอบูโพรเฟน อะเซตามีโนเฟน และแอสไพริน ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป โดยปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากเกี่ยวกับปริมาณการใช้ยาในแต่ละครั้ง [10]
    • ปรึกษาแพทย์หากยาแก้ปวดที่ไม่ต้องมีใบสั่งยาใช้ไม่ได้ผลและคุณยังคงมีอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรงในแต่ละครั้งที่คุณมีอาการปวดเกร็ง
  3. ความร้อนจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อหน้าท้องเมื่อคุณมีอาการปวดเกร็ง คุณสามารถใช้แผ่นประคบร้อนหรือกระเป๋าน้ำร้อนมาวางประคบบนหน้าท้องตรงบริเวณที่มีอาการปวดเกร็ง หรือจะอาบน้ำหรือแช่น้ำอุ่นก็ได้เช่นกัน
  4. ในช่วงที่มีประจำเดือน คุณอาจพบว่าตัวเองมีความอยากอาหารมากมายหลายชนิด แต่อาหารที่มีรสเค็มจัด หวานจัด หรือผ่านกระบวนการจะส่งผลให้อาการปวดเกร็งของคุณแย่ลง จึงควรเลือกทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์และให้พลังงานที่เพียงพอในแต่ละวัน และในบางครั้งเมื่อคุณอยากทานขนมบางชนิดอย่างเช่นช็อกโกแลตหรือไอศกรีม คุณก็บรรเทาอาการอยากนี้ได้โดยการทานในปริมาณที่พอเหมาะ [12]
    • อาหารที่มีโพแทสเซียมในปริมาณสูง เช่น กล้วยหรือผักใบเขียว มีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการท้องผูกได้อย่างได้ผล
    • พยายามทานอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม เช่น ถั่ว อัลมอนด์ และผลิตภัณฑ์นม
  5. สาวๆ โดยส่วนใหญ่มักรู้สึกคลื่นไส้ในช่วงที่มีประจำเดือน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้สาวๆ รู้สึกไม่สบายตัวได้ การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายสามารถก่อให้เกิดความรู้สึกอึดอัดในกระเพาะอาหารและลำไส้ หรือคุณอาจรู้สึกคลื่นไส้เนื่องจากอาการเจ็บปวดที่เกิดจากการปวดเกร็งหรือปวดศีรษะ [13] เมื่อคุณเริ่มรู้สึกเบื่ออาหาร ลองทานอาหารรสอ่อนอย่างข้าวขาว แอปเปิ้ล และขนมปังปิ้งที่มีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการปั่นป่วนในช่องท้อง นอกจากนี้ การทานขิงทั้งในรูปแบบน้ำชา อาหารเสริม หรือรากสดก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยบรรเทาอาหารคลื่นไส้ได้อย่างได้ผล
    • รักษาอาการคลื่นไส้ด้วยการทานยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช้สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น นาโพรเซนหรือไอบูโพรเฟน ยาเหล่านี้จะช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ที่เกิดขึ้นจากการมีประจำเดือนเนื่องจากคุณสมบัติในการยับยั้งการผลิตฮอร์โมนที่มีชื่อว่าโพรสตาแกลนดินที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ [14]
  6. การออกกำลังกายเป็นวิธีที่จะช่วยลดอาการเจ็บปวดได้อย่างได้ผล เมื่อคุณออกกำลังกาย ร่างกายของคุณก็จะหลั่งสารแห่งความสุขที่เรียกว่าเอ็นโดรฟินออกมา สารตัวนี้จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและขจัดความรู้สึกไม่สบายตัวจากการมีประจำเดือน [15] อย่างไรก็ตาม คุณอาจต้องออกกำลังกายที่ออกแรงน้อยกว่าปกติหากคุณมีอาการเจ็บปวด
    • การออกกำลังกายแบบเบาเพื่อการอบอุ่นร่างกาย เช่น โยคะ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยบรรเทาอาการท้องอืดให้ดีขึ้น [16]
    • ไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายหากรู้สึกไม่ต้องการ แม้ว่าการออกกำลังกายจะช่วยบรรเทาให้อาการต่างๆ ดีขึ้น แต่คุณไม่จำเป็นต้องฝืนออกกำลังกายเมื่อไม่ต้องการ
  7. แม้ว่าอาการเจ็บปวดและอาการไม่สบายตัวบางส่วนอาจเกิดขึ้นตามปกติในช่วงที่มีประจำเดือน อย่างไรก็ตาม คุณควรปรึกษาแพทย์หากไม่สามารถหยุดยั้งอาการเหล่านี้ได้ คุณสามารถพูดคุยกับแพทย์ปฐมภูมิหรือหรือนรีแพทย์เกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้ โดยแพทย์อาจแนะนำให้คุณเข้าพบและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรืออาจรักษาด้วยการสั่งจ่ายยาแก้ปวด ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต หรือแนะนำให้คุณทานยาคุมกำเนิด [17]
    • ควรปรึกษาแพทย์หากคุณมีเลือดออกจากช่องคลอดในระหว่างมีประจำเดือน ประจำเดือนมามากผิดปกติ มีอาการปวดเกร็งอย่างรุนแรง หรือประจำเดือนมามากกว่า 10 วัน [18]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ดูแลตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในช่วงที่มีประจำเดือน คุณอาจรู้สึกเหนื่อยล้ามากกว่าปกติ อาการเจ็บปวดและความไม่สบายตัวจากอาการปวดเกร็งและท้องอืดจะทำให้คุณนอนหลับสนิทได้ยากขึ้น ส่วนความเหนื่อยล้าสามารถทำให้ความอดทนต่อความเจ็บปวดลดน้อยลงได้ [19] พยายามนอนหลับอย่างน้อย 8 ชั่วโมงในช่วงกลางคืนและหาเวลางีบหลับในระหว่างวันเมื่อร่างกายต้องการ
    • การออกกำลังกายแบบเบา เช่น การทำสมาธิ การเล่นโยคะ หรือการยืดตัว มีส่วนช่วยให้คุณนอนหลับสบายยิ่งขึ้น
    • อุณหภูมิร่างกายจะเพิ่มสูงขึ้นในระหว่างการมีประจำเดือน จึงทำให้ร่างกายของคุณรู้สึกอุ่นขึ้นและส่งผลให้คุณนอนหลับได้ยากขึ้น ดังนั้นคุณจึงควรควบคุมอุณหภูมิในห้องนอนของคุณให้อยู่ที่ 15.5-19 องศาเซลเซียส [20]
  2. สาวๆ โดยส่วนใหญ่มักไม่ชอบสวมใส่เสื้อผ้าที่คับแน่นหรือพอดีตัวจนเกินไปและเสื้อผ้าที่สวมใส่ไม่สบายในช่วงที่มีประจำเดือน คุณควรเลือกสวมเสื้อผ้าที่ทำให้คุณรู้สึกสบายตัวในทุกครั้งที่มีโอกาส และสำหรับสาวๆ ที่มีอาการท้องอืด ควรเลือกสวมใส่เสื้อที่หลวมหรือกางเกงเอวยางยืดเพื่อให้รู้สึกสบายตัวยิ่งขึ้น
  3. ในระหว่างที่มีประจำเดือน คุณควรเลือกสวมกางเกงชั้นในที่คุณไม่กลัวเปื้อน เพราะถึงแม้ว่าคุณจะใช้ผ้าอนามัย แต่ประจำเดือนของคุณอาจยังคงซึมเลอะกางเกงชั้นในได้อยู่ดี ดังนั้น สาวๆ บางคนจึงเตรียมกางเกงชั้นในบางส่วนไว้สำหรับใส่ในช่วงที่มีประจำเดือนโดยเฉพาะ การสวมใส่กางเกงชั้นในบิกินี่แบบเต็มตัวจะทำให้คุณรู้สึกสบายตัวมากกว่ากางเกงชั้นในแบบสายคาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณใช้ผ้าอนามัย
    • ควรเลือกกางเกงชั้นในที่ทำจากผ้าฝ้ายที่ไม่เพียงช่วยให้คุณรู้สึกสบายตัว แต่ยังสามารถลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อราได้อีกด้วย [21]
    • คราบประจำเดือนจะมองเห็นได้น้อยลงบนกางเกงชั้นในสีเข้ม
    • กางเกงชั้นในที่ทำจากผ้าฝ้ายจะช่วยให้บริเวณจุดซ่อนเร้นระบายอากาศได้ดีและอ่อนโยนต่อผิวของคุณ [22]
  4. การมีประจำเดือนสามารถก่อให้เกิดความเครียดและความไม่สะดวกสบายได้ ดังนั้น คุณควรให้เวลาตัวเองสำหรับพักผ่อนหลังจากผ่านช่วงเวลาระหว่างวันและมองหาบริเวณที่สงบเพื่อรวบรวมความคิดและความรู้สึกของคุณ ลองมองหาวิธีการในการผ่อนคลายและหยุดนึกถึงอาการเจ็บปวดหรือความไม่สบายตัวที่คุณอาจกำลังรู้สึกอยู่
    • พยายามทำสิ่งที่ทำให้คุณรู้สึกมีความสุข เช่น ฟังเพลงโปรดหรือเพลงจากศิลปินที่คุณชื่นชอบหรือจัดปาร์ตี้เต้นรำในห้องของคุณ
    • มองหากิจกรรมที่ช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย เช่น ทำสมาธิ เขียนบันทึกประจำวัน วาดรูป ฟังเพลงสบายๆ หรือดูโทรทัศน์
    • การบำบัดรักษาด้วยกลิ่นหอมเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย ลองใช้น้ำมันที่สกัดจากเสจ ลาเวนเดอร์ หรือดอกกุหลาบ
  5. ทบทวนถึงการแปรปรวนของอารมณ์ในระหว่างที่มีประจำเดือน. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนจะส่งผลต่ออารมณ์ของคุณในช่วงที่มีรอบเดือน เช่น คุณอาจรู้สึกเศร้า กังวล หรือหงุดหงิดกับสถานการณ์ต่างๆ ที่โดยปกติแล้วไม่มีผลกระทบใดๆ กับคุณ จำไว้ว่าเมื่อคุณรู้สึกอารมณ์เสียกับสิ่งใดก็ตาม อารมณ์ที่แสดงออกมาของคุณอาจเกิดขึ้นเนื่องจากฮอร์โมนและไม่ใช่ความรู้สึกที่แท้จริงของคุณ ดังนั้น ในระหว่างที่มีประจำเดือน คุณอาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการตัดสินใจครั้งใหญ่หรือสถานการณ์ขัดแย้งต่างๆ
    • คุณอาจจดบันทึกอารมณ์ความรู้สึกของคุณในแต่ละวันในระหว่างที่มีประจำเดือนเพื่อสังเกตดูว่าคุณรู้สึกเศร้าหรือกังวลมากกว่าปกติในช่วงที่มีรอบเดือนหรือไม่
    • หากคุณพบว่าตัวเองมีอารมณ์แปรปรวนอย่างรุนแรงหรือมีความคิดใดๆ เกี่ยวกับการทำร้ายตัวเอง ควรปรึกษาแพทย์โดยทันที [23] คุณอาจกำลังเผชิญกับกลุ่มอาการรุนแรงก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Dysphoric Disorder) ที่มีผลกระทบต่ออารมณ์ความรู้สึกของคุณอย่างรุนแรง
  6. ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 3-6 ชั่วโมง ส่วนผ้าอนามัยแบบสอดควรเปลี่ยนทุกๆ 4-6 ชั่วโมง อย่าใช้ผ้าอนามัยนานเกิน 8 ชั่วโมงเพราะจะทำให้โอกาสเสี่ยงในการเกิดกลุ่มอาการท็อกซิกช็อก (Toxic Shock Syndrome (TSS)) สูงยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม หากเลือกใช้ถ้วยอนามัย คุณสามารถทิ้งไว้ได้นานกว่า 12 ชั่วโมง ทั้งยังเป็นตัวเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย การหมั่นเปลี่ยนผ้าอนามัยจะช่วยให้คุณรู้สึกสดชื่นและมั่นใจได้ว่าประจำเดือนจะไม่ซึมเปื้อน
    • คุณอาจต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยมากขึ้นหากประจำเดือนของคุณมามากหรือในช่วง 2-3 วันแรกของรอบเดือน
    • กลุ่มอาการท็อกซิกช็อกเป็นอาการติดเชื้อที่มีความรุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิต หากคุณเริ่มมีผื่นคันที่ดูคล้ายกับอาการไหม้แดดโดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงบริเวณฝ่ามือหรือฝ่าเท้า ไข้สูง ความดันโลหิตต่ำ หรืออาเจียน ควรปรึกษาแพทย์โดยทันที [24]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • กำลังสงสัยใช่มั้ยว่าควรเลือกใช้ผ้าอนามัยแบบแผ่นหรือแบบสอดดี ผ้าอนามัยแบบสอดจะให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าหากต้องการเล่นกีฬา แต่ในขณะเดียวกัน การใช้ผ้าอนามัยแบบสอดสามารถก่อให้เกิดกลุ่มอาการท็อกซิกช็อกได้ ส่วนผ้าอนามัยแบบแผ่นนั้นสามารถป้องกันการซึมเปื้อนกางเกงชั้นในได้ดี แต่อาจทำให้ประจำเดือนไหลซึมออกมาและคุณไม่สามารถใช้ผ้าอนามัยแบบแผ่นในขณะว่ายน้ำได้
  • หากประจำเดือนเกิดซึมเลอะกางเกงชั้นในของคุณ ควรนำกางเกงชั้นในแช่ใน น้ำเย็น เนื่องจากน้ำอุ่นจะทำให้คราบฝังแน่นยิ่งขึ้น
  • หากคุณต้องการเปลี่ยนผ้าอนามัยในระหว่างคาบเรียน ให้ขออนุญาตอาจารย์ไปห้องน้ำ และหากไม่มีผ้าอนามัย คุณก็สามารถใช้กระดาษชำระแทนได้
  • หากการถือกระเป๋าเดินเข้าห้องน้ำทำให้ดูสะดุดตา คุณสามารถซ่อนผ้าอนามัยไว้ในแขนเสื้อแทนได้
  • มองหาผ้าอนามัยแบบแผ่นหรือแบบสอดที่มีประสิทธิภาพในการซึมซับที่มากพอที่คุณต้องการ สาวๆ แต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกัน และเมื่อคุณใช้ผ้าอนามัยที่ตรงตามความต้องการของคุณ ประจำเดือนก็จะซึมเปื้อนน้อยลงและทำให้คุณรู้สึกมั่นใจยิ่งขึ้น
  • หากคุณกังวลว่าประจำเดือนจะเลอะผ้าปูที่นอนในระหว่างนอนหลับ ให้ใช้ผ้าขนหนูสีเข้มปูรองไว้ด้านล่าง และหากคุณต้องไปนอนค้างที่อื่น คุณอาจเตรียมผ้าห่ม (ที่คุณไม่กลัวเปื้อน) ที่คุณสามารถนำมารองนอนได้
  • หากไม่มีผ้าอนามัย ให้ใช้กระดาษชำระพันรอบกางเกงชั้นในประมาณ 3 รอบเพื่อใช้เป็นผ้าอนามัยฉุกเฉินหรือขอผ้าอนามัยสักแผ่นจากพยาบาลประจำโรงเรียนหรือเพื่อนสาว อย่ากลัวที่จะถาม เพราะทุกคนเข้าใจคุณอย่างแน่นอน
  • หากคุณและเพื่อนๆ กำลังพูดคุยเกี่ยวกับรอบเดือนต่อหน้าหนุ่มๆ ลองใช้คำที่เป็นรหัสลับที่รู้กันในกลุ่มเท่านั้น เช่น ปากกาแดง “ฉันมีปากกาแดง”
  • หากคุณกังวลเกี่ยวกับการซึมเปื้อนในเวลากลางคืน ให้ใช้ผ้าขนหนูรองไว้ด้านล่างและเก็บผ้าอนามัยและกางเกงสำหรับยามฉุกเฉินไว้ในหรือบนโต๊ะข้างเตียง
โฆษณา

คำเตือน

  • ไม่ควรใส่ผ้าอนามัยแบบสอดนานเกิน 8 ชั่วโมง เพราะเมื่อเวลาผ่านไปเกิน 8 ชั่วโมง ความเสี่ยงในการเกิดกลุ่มอาการท็อกซิกช็อกก็จะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
  • อ่านฉลากยาทุกครั้งก่อนเริ่มทานยาทุกประเภทแม้กระทั่งยาที่ไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากร่างกายของคุณมีความไวต่อยาเป็นพิเศษ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ยาทุกครั้งและอย่าทานยาแก้ปวดในขณะที่ท้องยังว่างอยู่
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,999 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา