PDF download ดาวน์โหลดบทความ PDF download ดาวน์โหลดบทความ

ถ้าเผลอทำน้ำมันดินเปรอะเปื้อนตามมือตามตัวขึ้นมา ก็อาจจะทั้งปวดหัวแถมเจ็บตัวได้ ไม่จำเป็นต้องทำงานก่อสร้าง หรือซ่อมแซมอะไรก็เลอะน้ำมันดินได้ เช่น เดินเล่นตามชายหาดแล้วติดมา [1] น้ำมันดินนั้นเหนียวหนึบมาก ล้างทำความสะอาดยาก โดยเฉพาะที่ติดตามผิวหนังของเรา บางคนก็โดนน้ำมันดินลวกผิว หรือก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บอื่นๆ จนต้องหาหมอโดยด่วน คุณล้างน้ำมันดินจากผิวได้โดยเริ่มจากปฐมพยาบาล ประคบเย็นให้น้ำมันดินหลุดลอกจากผิว สุดท้ายกำจัดเศษและขจัดคราบที่อาจตกค้าง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ปฐมพยาบาลเมื่อน้ำมันดินเปื้อนผิว

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เปิดน้ำเย็นราดผิวที่เปื้อนน้ำมันดินสักพัก ถ้าเปื้อนกินวงกว้าง ให้อาบน้ำเย็นไปเลย [2] ย้ำว่าให้เปิดน้ำใส่ผิวที่เลอะน้ำมันดินไว้ประมาณ 20 นาทีขึ้นไป [3] จะช่วยแก้น้ำมันดินลวกผิวได้ ระหว่างนี้ให้เช็คอาการว่าควรไปหาหมอหรือทำความสะอาดน้ำมันดินเองที่บ้านได้ [4]
    • อย่าเพิ่งใช้น้ำเย็นจัดหรือเอาน้ำแข็งประคบน้ำมันดิน จนกว่าจะประเมินอาการแล้วว่าหนักหรือเบา [5]
  2. จริงๆ แล้วพบน้อยมาก แต่ก็มีโอกาสที่น้ำมันดินจะลวกผิวจนบาดเจ็บได้ [6] ถ้าให้ชัวร์ต้องไปหาหมอเพื่อประเมินอาการและตรวจรักษาต่อไป ถ้าผิวไหม้หรือเป็นแผลจะได้รักษาถูกจุด บรรเทาอาการเจ็บปวดไม่สบายตัว แผลจะหายเร็ว ไม่เกิดแผลเป็น ต่อไปนี้คืออาการที่บ่งชี้ว่าควรไปหาหมอทันที
    • ราดน้ำเย็นใส่แล้วน้ำมันดินยังร้อน
    • รู้สึกเหมือนน้ำมันดินลวกผิว
    • น้ำมันดินเลอะกินวงกว้างตามตัวและผิวหนัง
    • น้ำมันดินเลอะรอบๆ หรือกระเด็นเข้าตา [7]
  3. ถอดเสื้อผ้าหรือเครื่องประดับบริเวณที่โดนน้ำมันดิน. ให้ถอดเสื้อผ้าหรือเอาผ้าที่ปกคลุมบริเวณผิวที่โดนน้ำมันดินออก เพื่อลดความร้อน ลดอาการไหม้ของผิว ลดอาการบาดเจ็บไม่สบายตัว แต่ระวังอย่าดึงเสื้อผ้าหรืออื่นๆ ที่โดนน้ำมันดินจนติดแน่นกับผิว ไม่งั้นอาจบาดเจ็บกว่าเดิม ถ้าถอดเสื้อผ้าไม่ได้ แนะนำให้ไปโรงพยาบาลโดยด่วน [8]
  4. อย่าพยายามแกะหรือแงะน้ำมันดินออกจากผิว จนกว่าจะเย็นตัวลง น้ำมันดินต้องหายร้อนโดยสิ้นเชิง ถึงจะเริ่มกำจัดออก เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวหนังข้างใต้บาดเจ็บลุกลาม แบบนี้ถ้ามีแผลก็จะหายเร็ว ไม่ทิ้งแผลเป็นไว้ [9]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ประคบเย็นให้น้ำมันดินหลุดลอก

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. เอาก้อนน้ำแข็งหรือถุงน้ำแข็งประคบน้ำมันดินที่เลอะผิว ถูไปเรื่อยๆ จนน้ำมันดินแข็งหรือถึงขั้นแตกร่อนได้ จะได้แกะน้ำมันดินให้หลุดลอกจากผิวได้ง่าย แล้วค่อยดูแลแผลหรือขจัดคราบต่อไป [10]
    • ถ้าผิวเย็นจนเจ็บ ให้เอาน้ำแข็งออกก่อน ทิ้งน้ำมันดินไว้แบบนั้นสัก 2 - 3 นาที เพื่อป้องกันไม่ให้โดนน้ำแข็งหรือความเย็นกัด [11]
  2. ค่อยๆ ลอกน้ำมันดินที่เย็นจนแข็งออกจากผิวหนัง ถ้าน้ำมันดินแข็งจนแตก ก็ค่อยๆ ลอกเศษน้ำมันดินออกไปเรื่อยๆ จนหมด ตอนลอกน้ำมันดินออกจากผิวอาจจะเจ็บหรือไม่สบายตัวบ้าง เพราะเส้นขนหลุดติดไปด้วย แต่ถ้าเจ็บมากเป็นพิเศษ แนะนำให้ไปโรงพยาบาลจะดีที่สุด ผิวหนังจะไม่บาดเจ็บลุกลามด้วย [12]
    • ถ้าอุณหภูมิร่างกายสูง จนน้ำมันดินนิ่มลง ให้เอาน้ำแข็งถูจนแข็งแตกอีกครั้ง
  3. ถ้าสุดท้ายแล้วลอกน้ำมันดินออกได้ ให้ทำความสะอาดผิวด้วยสบู่อ่อนๆ โดยถูสบู่เบาๆ วนบริเวณที่เพิ่งกำจัดน้ำมันดิน สุดท้ายล้างออกให้สะอาดด้วยน้ำอุ่น จะช่วยขจัดคราบและเศษน้ำมันดินที่ตกค้างได้ รวมถึงกำจัดแบคทีเรียและเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ ในกรณีที่มีแผล [13]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ใช้ของที่มีในบ้าน

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทา Neosporin (polymyxin B sulfate-neomycin sulfate-gramicidin) หรือ Tween 80 (polyoxyethylene 20 sorbitan mono-oleate) ที่ผิวหนังบริเวณที่เลอะน้ำมันดิน จากนั้นทิ้งไว้ให้ซึมเข้าน้ำมันดินบริเวณผิวหนังสัก 2 - 3 นาที แล้วค่อยเช็ดออกเบาๆ ด้วยผ้าสะอาด หรือล้างด้วยน้ำอุ่น เรียกว่าเป็นวิธีที่กำจัดน้ำมันดินได้แบบปลอดภัยและเห็นผลที่สุด โดย 2 ผลิตภัณฑ์นี้ช่วยให้น้ำมันดินแตกตัว ไม่มีสารเคมีอันตราย ใช้แล้วไม่ค่อยเจ็บ ถนอมผิวกว่า [14]
  2. โปะมายองเนสหนาๆ บนน้ำมันดินที่เย็นแล้ว ทิ้งไว้ให้ซึมเข้าน้ำมันดินประมาณ 30 นาทีขึ้นไป มายองเนสจะไปทำให้น้ำมันดินแตกตัว เท่านี้ก็ใช้ผ้าสะอาดหรือแปรงขนนุ่ม เช็ดทั้งมายองเนสและน้ำมันดินออกจากผิวได้เลย ตามด้วยทำความสะอาดไม่ให้เหลือเศษและคราบน้ำมันดิน รวมถึงแบคทีเรีย [15]
  3. ลองเช็คในครัวดู เพราะน้ำมันพืชและอื่นๆ ที่คุณใช้ปรุงอาหารหรือทาตัว สามารถขจัดน้ำมันดินได้ ให้เทน้ำมันที่เลือกราดน้ำมันดินและผิวโดยรอบให้ชุ่ม จากนั้นทิ้งไว้ให้ซึมประมาณ 20 นาที ค่อยลอกหรือขูดน้ำมันดินออกจากผิว ต่อมาล้างหรือเช็ดน้ำมันส่วนเกินและน้ำมันดิน โดยใช้สบู่อ่อนๆ น้ำสะอาด และผ้านุ่มๆ [16] น้ำมันต่อไปนี้ช่วยขจัดน้ำมันดินติดผิวได้
    • น้ำมันทานตะวัน อันนี้เห็นผลที่สุด
    • เนย
    • เบบี้ออยล์
    • น้ำมันคาโนลา [17]
    • น้ำมันมะพร้าว [18]
    • น้ำมันมะกอก [19]
  4. ทาปิโตรเลียมเจลลี่ให้ทั่วผิวที่เลอะน้ำมันดิน และบริเวณโดยรอบ ทิ้งไว้ 5 นาที เพื่อให้ปิโตรเลียมเจลลี่ซึมเข้าน้ำมันดิน จากนั้นเช็ดออกเบาๆ เพื่อกำจัดทั้งปิโตรเลียมเจลลี่และน้ำมันดิน สุดท้ายฟอกสบู่และล้างน้ำให้สะอาด ปราศจากเศษและคราบน้ำมันดิน [20]
    • ถ้ายังไม่หมดน้ำมันดินหรือคราบ ให้ลงปิโตรเลียมเจลลี่อีกรอบ
  5. อาจจะมีหลายแหล่งแนะนำว่าให้ใช้น้ำยาที่มีในบ้านกำจัดน้ำมันดิน เช่น น้ำยาล้างเล็บ แต่บอกเลยว่าพยายามอย่าใช้พวกสารเคมีแรงๆ เพราะจะซึมเข้าผิว เป็นอันตรายได้ ต่อไปนี้คือสารเคมีในบ้านที่ไม่แนะนำให้ใช้ทำความสะอาดน้ำมันดินติดผิว [21]
    • แอลกอฮอล์
    • อะซิโตน
    • น้ำยาล้างเล็บ
    • น้ำมันก๊าด
    • อีเทอร์แอลกอฮอล์
    • น้ำมันเบนซิน
    • แอลดีไฮด์
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

ขัดผิวกำจัดเศษและคราบน้ำมันดิน

PDF download ดาวน์โหลดบทความ
  1. น้ำมันดินถึงจะกำจัดแล้วก็อาจทิ้งคราบติดผิวได้ ให้ขัดออกเบาๆ เพื่อกำจัดทั้งเศษและคราบตกค้าง โดยใช้ผ้าขนหนูสะอาด หรือแปรงขนนุ่ม ขัดเบาๆ บริเวณที่มีคราบหรือเศษน้ำมันดิน จากนั้นฟอกสบู่แล้วล้างด้วยน้ำอุ่นให้สะอาดหมดจด [22]
    • ถ้าจำเป็นก็ขัดซ้ำได้ แต่ย้ำว่าต้องเบามือ
  2. ใช้หินภูเขาไฟ (หินพัมมิส) ขัดวนเบาๆ ที่น้ำมันดินหรือคราบ จะใช้สบู่อ่อนๆ ด้วยก็ได้ จากนั้นล้างออกด้วยน้ำอุ่นแล้วซับให้แห้งด้วยผ้าสะอาด เป็นวิธีขจัดคราบน้ำมันดินเลอะผิวแบบง่ายๆ แต่เห็นผล [23]
  3. ถ้าน้ำมันดินหรือคราบติดแน่น ให้ใช้สครับขัดผิว จะใช้สครับสำเร็จรูปหรือทำเองก็ได้ เวลาใช้ให้ลงสครับทั่วบริเวณที่มีเศษและคราบน้ำมันดิน จากนั้นขัดผิวเบาๆ จนไม่เหลือเศษและคราบน้ำมันดิน [24] ต่อไปนี้คือสูตรสครับง่ายๆ ที่ทำได้เอง [25]
    • เบคกิ้งโซดา
    • น้ำตาล กับ paste น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันมะพร้าว
    • เกลือ กับ paste น้ำมันอัลมอนด์
    • ข้าวโอ๊ตบดละเอียด กับ paste น้ำผึ้ง
  4. ถ้ากำจัดน้ำมันดินจากผิวหนังเองไม่ได้ หรือผิวเกิดอาการบาดเจ็บหลังกำจัดน้ำมันดิน แนะนำให้ไปหาหมอทันที เพื่อตรวจรักษาอาการบาดเจ็บ กำจัดคราบหรือเศษน้ำมันดินตกค้าง เรียกว่ารักษาได้ตรงจุดกว่าทำเองแน่นอน ถ้ามีอาการต่อไปนี้ให้รีบไปหาหมอทันที
    • กำจัดน้ำมันดินออกจากผิวไม่ได้
    • ยังเหลือคราบฝังแน่น
    • เจ็บปวด ไม่สบายตัวต่อเนื่องนานๆ
    • โดนน้ำมันดินแล้วเป็นแผลหรือบาดเจ็บที่ผิวหนัง
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,806 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา