ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บางครั้งความรู้สึกของการมีความนับถือตนเองต่ำก็สามารถกลายเป็นความรู้สึกว่าคุณไม่สมควรได้รับอะไรดีๆ ในชีวิต มันจึงจำเป็นที่จะต้องจัดการกับความคิดเหล่านี้และพยายามเปลี่ยนมันทันทีที่จับสังเกตได้ หากความรู้สึกว่าคุณไม่คู่ควรกับอะไรยังคงอยู่หรือกลายเป็นรู้สึกหนักกว่าเดิม คุณอาจต้องมองหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกทางด้านสุขภาพจิตโดยเฉพาะ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

เปลี่ยนความคิดของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หาสาเหตุให้ได้ว่าทำไมคุณถึงรู้สึกว่าตนไม่คู่ควรกับอะไร. การเข้าใจแหล่งที่มาของความรู้สึกเป็นขั้นตอนแรกในการสร้างความเปลี่ยนแปลง คุณไปทำข้อผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงในชีวิตอะไรหรือเปล่า หรือรู้สึกว่ายังมีอะไรในอดีตที่ค้างคาอยู่ในใจ หรือปรารถนาอยากจะกลายเป็นคนอื่น [1]
  2. ทุกคนล้วนมีข้อเสีย แม้กระทั่งในเวลาที่พวกเขาจะดูเลิศหาที่ติมิได้เมื่อมองจากภายนอก เผลอๆ ยังอาจมีใครสักคนมองว่าตัวคุณเองช่างสมบูรณ์แบบเสียด้วยซ้ำไป [2]
  3. บางครั้งเราเกิดความคิดที่ไม่ได้ทำการตรวจสอบ แล้วยินยอมให้มันไปก่อโลกทัศน์ของเรา เช่น คุณอาจคิดว่า “ฉันไม่สมควรได้รับการเลื่อนตำแหน่งเลย เพราะฉันไม่ได้ขยันเต็มที่” สังเกตดูเวลาที่คุณเกิดความคิดเยี่ยงนี้
  4. ตรวจสอบความคิดที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัตินี้อีกครั้ง. จริงหรือที่คุณไม่ได้ขยันทุ่มเทพอให้ได้เลื่อนตำแหน่ง ลองคิดดูสิว่าคุณเคยทำงานได้สำเร็จลุล่วงเมื่อไม่นานมานี้หรือไม่ คุณได้ทำอะไรนอกเหนือไปจากความรับผิดชอบหรือเปล่า [3]
  5. เวลาที่จับได้ว่าตนเองกำลังเกิดความคิดในแง่ลบขึ้นมาโดยอัตโนมัติ พยายามพลิกความคิดนั้น เช่น เวลาที่จับได้ว่าตนเองเริ่มคิดว่าไม่สมควรจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งเพราะไม่ได้ทุ่มเทพอ บอกกับตัวเองอย่างหนักแน่นและชัดเจนว่า “ฉันสมควรได้เลื่อนตำแหน่งแล้ว ฉันทำงานอย่างซื่อสัตย์มาตลอดทั้งห้าปี ฉันทำยอดขายได้ตามเป้าทั้งหกเดือนให้หลังนี้”
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ลดพลังงานเชิงลบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พยายามใช้เวลาอยู่ท่ามกลางคนที่มองโลกในแง่ร้ายให้น้อยลง. พี่สาวคุณทำให้คุณรู้สึกแย่ในเรื่องน้ำหนักตัวทุกครั้งที่พบหน้าเธอหรือเปล่า คนรับซักแห้งเสื้อผ้าของคุณแสดงกิริยาหยาบคายใส่เป็นประจำหรือเปล่า คุณไม่อาจหลบเลี่ยงผู้คนเหล่านี้ได้ตลอดก็จริง แต่พยายามลดจำนวนเวลาที่คุณจะใช้ร่วมกับพวกเขาลงแทน
    • หากคุณรู้สึกว่าถูกรังแกหรือดูหมิ่นด้วยวาจา ลองพิจารณานำเรื่องนี้ไปฟ้องผู้มีอำนาจที่เหมาะสมดู (เช่น สำหรับการถูกดูหมิ่นทางอินเทอร์เน็ต คุณอาจต้องรายงานไปยังผู้ดูแลเว็บไซต์แห่งนั้น คุณอาจต้องฟ้องเจ้านายถ้าโดนเพื่อนร่วมงานรังแก) [4]
  2. นี่อาจหมายถึงคุณจำต้องลองคิดถึงการออกไปเตร็ดเตร่กับคนที่โดยปกติแล้วคุณอาจไม่ได้คบหาสนิทด้วย
    • มีผู้หญิงที่ฟิตเนสซึ่งชอบเอ่ยทักทายถามสารทุกข์สุขดิบกับคุณก่อนเสมอหรือเปล่า บางทีเธออาจอยากออกไปดื่มกาแฟสักแก้วกับคุณก็ได้
    • คนในคลาสเรียนพิเศษของคุณทำให้คุณรู้สึกอบอุ่นทุกสัปดาห์หรือเปล่า บางทีคุณควรจัดให้คนกลุ่มนี้ได้พบปะร่วมกันนอกเวลาเรียน
    • มีเพื่อนร่วมงานที่ชอบเล่าเรื่องน่าสนใจให้คุณฟังอยู่เรื่อยไหม ลองคิดเชื้อเชิญเขาออกไปทานข้าวเที่ยงด้วยกันหน่อยไหม
  3. คุณใช้เวลาอยู่กับโซเชียลมีเดียมากเกินไปเมื่อเทียบกับคนอื่นหรือเปล่า ผู้คนมักจะชอบโพสต์ตัวเองในภาคอุดมคติลงในอินเทอร์เน็ต ดังนั้นถ้าคุณเอาชีวิตตัวเองไปเปรียบกับชีวิตเพื่อนฝูงบนเฟสบุ๊ก คุณอาจไม่ได้ภาพที่ถูกต้องตามจริงนัก [5]
  4. ใช้เวลาอยู่ในสถานที่ซึ่งทำให้คุณมีความสุขนานขึ้น. ชอบเข้าพิพิธภัณฑ์หรือเปล่าละ ห้องสมุดสวยๆ ร้านกาแฟเก๋ๆ หรือสวนสาธารณะที่คุณไปบ่อยๆ ลองเปลี่ยนบรรยากาศรอบด้านเพื่อนำพลังงานแง่บวกเข้ามาในชีวิต [6]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จะพูดออกมาดังๆ หรือพูดในใจก็ได้ และถ้าจะพูดซ้ำมากกว่าหนึ่งครั้งก็ไม่เป็นไร คุณอาจไม่สามารถคิดหาสิ่งที่แตกต่างอยู่ทุกวันได้หรอก โดยเฉพาะในช่วงแรกของการทำแบบนี้ แต่เป็นไปได้ว่าพอคุณเริ่มรู้สึกถึงตัวเองในแง่ดีขึ้นแล้วนั้น คุณจะพบแง่มุมดีๆ ด้านอื่นๆ ให้พูดได้มากขึ้น [7]
  2. โดยเฉพาะถ้าคุณไม่พอใจกับงานและชีวิตส่วนตัว มันจำเป็นที่จะต้องรู้สึกว่าคุณกำลังช่วยคนอื่นๆ จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าความรู้สึกว่าเรากำลังสร้างความแตกต่างสามารถนำไปสู่การพัฒนาความสุขและความคิดว่าตัวเองมีค่าได้ [8] ให้แน่ใจว่าได้พิจารณางานจิตอาสาที่คุณคิดว่าจะทำสำเร็จได้ [9]
    • ถ้าคุณชำนาญเรื่องการรับมือเด็ก ลองคิดเป็นครูสอนพิเศษ
    • ถ้าคุณเจ้าระเบียบและเน้นประสิทธิภาพ ลองคิดถึงการทำงาน ลองคิดเรื่องการช่วยงานในสถานสงเคราะห์อาหาร หรือร้านขายของบริจาคที่จะนำรายได้ไปใช้ในการกุศล
    • ถ้าคุณเชี่ยวชาญเรื่องการก่อสร้าง ลองคิดถึงองค์กรที่สร้างบ้านเพื่อมนุษยธรรม
  3. การทำเป้าหมายเล็กๆ ให้สำเร็จลงได้ทุกวันช่วยให้คุณรู้สึกถึงชัยชนะซ้ำๆ และช่วยเพิ่มความรู้สึกว่าตนเองมีค่า
    • เช่น “ฉันอยากจะลดน้ำหนักสัก 10 กิโลก่อนถึงหน้าร้อน” อาจเป็นเป้าหมายที่ไม่ยืนบนพื้นของความเป็นจริง และอาจทำให้คุณรู้สึกเหมือนคนล้มเหลวถ้าทำตามเป้าไม่ได้
    • ในทางตรงข้าม “ฉันต้องการจะกินมื้อเช้าที่ปราศจากน้ำตาลทุกวันในสัปดาห์นี้” ดูเป็นจริงมากกว่า และหากคุณยึดตามเป้านี้ได้ คุณจะมีโอกาสได้รู้สึกว่าทำสำเร็จตามเป้าทุกวัน [10]
  4. การหัวเราะจะหลั่งสารเคมีที่ “ทำให้รู้สึกดี” ที่เรียกว่าเอ็นดอร์ฟินส์ การหัวเราะบ่อยๆ จะช่วยพัฒนาอารมณ์ความรู้สึกโดยรวมของการมีชีวิตที่ดี ยิ่งไปกว่านั้น การมองสถานการณ์ด้วยอารมณ์ขันช่วยให้มันดูไม่น่ากลัวเท่าไหร่และรบกวนใจได้น้อยลง [11] ลอง
    • ดูการแสดงตลกตามทีวีหรือคาเฟ่
    • ดูซิทคอมที่ชอบ
    • ไปเข้าคลาสโยคะหัวเราะ
    • อ่านหนังสือรวมมุกตลก
    • เล่นกับเด็กเล็กหรือสัตว์เลี้ยงหรือ
    • ไปร้านเหล้าที่จัดให้มีคืนเล่นเกม (โดยมีเกมอย่าง Taboo, Cranium, หรือ Catchphrase) [12]
    • คุณยังอาจจำลองความรู้สึกของการหัวเราะได้โดยการใช้ฟันกัดดินสอค้างไว้สักสิบนาที ร่างกายจะตอบสนองความรู้สึกนี้ในกล้ามเนื้อ และอารมณ์ของคุณจะดีขึ้นมาเล็กน้อย [13]
  5. การออกกำลังกายส่งผลต่อสุขภาพจิตโดยรวมและความรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า การออกกำลังกายที่มีแรงต้านต่ำถึงปานกลาง (เช่น โยคะ เดินในระดับพูดคุยได้ หรือการกวาดใบไม้) มักจะให้ผลได้ดีที่สุด [14]
    • หากคุณไม่มีเวลาเข้ายิม ให้เพิ่มการขยับร่างกายเข้าไปในชีวิตประจำวัน ปิดประตูห้องทำงานแล้วทำท่ากระโดดตบสิบครั้งทุกๆ ชั่วโมง จอดรถในจุดที่ไกลทางเข้าที่สุด เดินขึ้นบันได เดินออกไปทานมื้อเที่ยง
  6. สุขภาพร่างกายที่ดีมักมีส่วนเชื่อมโยงกับความรู้สึกเห็นค่าในตนเอง ยิ่งไปกว่านั้น บรรดาวิตามิน แร่ธาตุ และไขมันดี ล้วนทำให้อารมณ์ดีขึ้น
    • ลดอาหารที่มีน้ำตาลสูง คาเฟอิน และแอลกอฮอล์
    • ทานอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 อย่างเช่น ปลาแซลมอน แม็คเคอเรล หรือปลาเทราต์ เพื่อให้อารมณ์ดีขึ้น
    • ลองอาหารที่อุดมด้วยวิตามินดี เช่น ไข่กับโยเกิร์ต เพื่อเพิ่มเซราโทนิน (สารช่วยให้อารมณ์คงที่) ในสมอง
    • เพิ่มปริมาณการบริโภควิตามินบีโดยการทานผักโขม บร็อคโคลี เนื้อ ไข่ และผลิตภัณฑ์จากนม เพื่อเพิ่มพลังงาน [15]
  7. การนอนหลับส่งผลอย่างใหญ่หลวงต่อสุขภาพจิตและอารมณ์โดยรวม การได้นอนหลับสนิทหนึ่งคืนสามารถเปลี่ยนการมองโลกของคุณได้เลย การจะนอนหลับให้สนิทนั้น ลอง
    • เข้านอนและตื่นเวลาเดิมทุกวัน นี่จะช่วยคุณสร้างจังหวะที่ร่างกายสามารถทำตามได้อย่างต่อเนื่องทุกวัน
    • งีบหลับสั้นๆ เมื่อจำเป็นจริงๆ เท่านั้น และงีบได้คราวละ 15-20 นาทีก็พอ เพื่อจะได้ไม่ตาค้างในตอนกลางคืน
    • หลีกเลี่ยงหน้าจอของทุกอย่าง (โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ แล็ปท็อป เป็นต้น) สักสองชั่วโมงก่อนนอน [16]
  8. ถ้าคุณเป็นคนเคร่งในศาสนา การสวดมนต์อาจเป็นสิ่งเดียวที่คุณต้องการเพื่อให้รู้สึกดีกับชีวิต การสวดในจุดศูนย์รวมของกลุ่ม (เช่นโบสถ์หรือวัด) ทำให้คุณรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ใหญ่กว่าและลดความรู้สึกตัวเองไร้ค่าลงได้ แม่แต่การสวดมนต์คนเดียวก็ทำให้คุณรู้สึกว่าตนเองไม่ได้อยู่อย่างโดดเดี่ยว
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

เข้ารับความช่วยเหลือ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มันสำคัญมากที่คุณต้องเข้าใจว่าไม่ได้อยู่ตัวคนเดียวในการดิ้นรนครั้งนี้ สำหรับใครบางคนแล้วแค่มีเพื่อนหรือญาติพี่น้องที่คอยให้กำลังใจสักคนก็เพียงพอแล้วที่จะไม่รู้สึกว่าคุณไร้คุณค่า
  2. การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้พบว่าคนที่มีเพื่อนคอยเอ่ยชมก่อนจะทำงานใดๆ จนเสร็จนั้นจะทำงานได้ดีกว่าคนที่ไม่ได้รับคำชม “การอ่อยเหยื่อ” ขอคำชมนั้นไม่เห็นจะเป็นไรเลย! เพื่อนพ้องน้องพี่สามารถช่วยเตือนใจคุณให้รู้ว่าคุณนั้นคู่ควรกับสิ่งดีๆ ที่ชีวิตมีให้ [17]
  3. มีทางเป็นไปได้ว่าองค์ประกอบบางอย่างของสุขภาพกายคุณอาจทำให้เกิดความรู้สึกว่าตนเองด้อยค่า แพทย์สามารถช่วยคุณตัดสินใจว่าจะรับอาหารเสริมหรือจะเน้นที่การออกกำลังกาย หรืออาจแนะนำผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางให้
  4. คุณไม่ได้เป็นคนเดียวที่รู้สึกว่าตนเองไม่คู่ควรกับอะไร มองหากลุ่มช่วยเหลือออนไลน์หรือในละแวกที่อาศัย ลอง
  5. สัญญาณที่แสดงว่าคุณอาจต้องการการบำบัดก็เช่น
    • มีอารมณ์ความรู้สึกที่ครอบงำจิตใจอยู่บ่อยๆ
    • เพิ่งผ่านความบอบช้ำทางจิตใจอย่างรุนแรงมา
    • ปวดศีรษะหรือปวดท้องบ่อยๆ หรือมีอาการป่วยที่หาคำอธิบายไม่ได้ และ
    • อยู่ในความสัมพันธ์ขั้นตึงเครียด [18]
  6. หากความรู้สึกว่าคุณไม่คู่ควรกับอะไรยังมีอยู่เป็นเวลานาน คุณอาจเป็นโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้านั้นแตกต่างจากความรู้สึกเศร้า มันเกี่ยวข้องกับความรู้สึกว่าสิ้นหวังและไร้ค่ามาเป็นเวลานาน บางสัญญาณที่แสดงว่าคุณอาจซึมเศร้าและควรไปรับการบำบัดได้แก่
    • หมดความสนใจในเรื่องหรือผู้คนที่คุณเคยสนุกหรือชอบ
    • เซื่องซึมมาระยะเนิ่นนาน
    • มีความเปลี่ยนแปลงในเรื่องความอยากอาหารและการนอนหลับอย่างรุนแรง
    • ไม่สามารถควบคุมสมาธิ
    • อารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง (โดยเฉพาะอารมณ์ขุ่นเคืองที่เพิ่มขึ้น)
    • ไร้ความสามารถควบคุมสมาธิ
    • มีความคิดในแง่ลบมาเป็นเวลานานและหยุดคิดไม่ได้
    • มีการใช้สารเสพติดเพิ่มขึ้น
    • มีอาการปวดที่อธิบายไม่ได้
    • เกลียดชังตนเอง หรือความรู้สึกว่าตนเองนั้นไม่มีค่าอะไรเลย [19]
    โฆษณา

คำเตือน

  • มองหาความช่วยเหลือจากมืออาชีพที่ผ่านการฝึกฝนหากความรู้สึกที่ว่าคุณไม่คู่ควรกับอะไรยังคงอยู่นานเป็นสัปดาห์ หรือถ้าคุณเริ่มรู้สึกว่าเอาแต่รู้สึกเช่นนี้
  • ถ้าความรู้สึกว่าคุณไม่คู่ควรกับอะไรกลายมาเป็นความรู้สึกที่คุณไม่คู่ควรจะมีชีวิตอยู่ ให้มองหาความช่วยเหลือในทันที บอกเพื่อน ญาติสนิท หรือมืออาชีพทางสุขภาพจิต โทรศัพท์หาสายด่วนสุขภาพจิตที่หมายเลข 1667 หรือไปที่สายด่วนป้องกันการฆ่าตัวตาย 02-713-6793 (โทรฟรี)
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 17,274 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา