ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

คำว่า “ดื้อรั้น” “ดื้อดึง” และ “ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง” เคยถูกใช้เพื่ออธิบายตัวตนของคุณหรือเปล่า? การเป็นตัวของตัวเองนั้นสำคัญ แต่การประนีประนอม การยอมทำตามและการร่วมมือก็สำคัญเช่นกัน ความหัวรั้นของคุณอาจจะเป็นเหตุผลที่คุณไม่ได้รับเชิญไปงานต่างๆ และคุณอาจจะสูญเสียมิตรภาพหรือแม้แต่โอกาสทางการงาน หากคุณดื้อรั้นและปฏิเสธที่จะทำสิ่งต่างๆ ก็ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแปลงแล้ว การจัดการกับความหัวรั้นของคุณคือการใช้เทคนิคที่ใช้ได้จริงต่างๆ การพัฒนาทักษะการต่อรองและการวิเคราะห์เหตุผลสำหรับความดื้อรั้นของคุณ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การใช้เทคนิคที่ใช้ได้จริง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอาจจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับบางสิ่งที่ได้ยิน สิ่งนี้ให้โอกาสคุณในการได้ยินสิ่งที่คุณอาจจะไม่เคยได้ยินมาก่อนและยังเพิ่มโอกาสในการบรรลุข้อตกลง เมื่อทั้งสองฝ่ายฟังกันและกัน มันก็จะง่ายขึ้นสำหรับทุกคน [1]
    • หากคุณมีแต่เหตุผลที่จะพูดว่า “ไม่” อยู่เต็มหัวเวลาที่อีกฝ่ายกำลังพูดก็แปลว่าคุณไม่ได้ตั้งใจฟัง หากการฟังเป็นเรื่องที่ยากสำหรับคุณก็ให้บอกอีกฝ่ายว่า “โอเค ฉันกำลังฟังเธออยู่” วิธีนี้จะบังคับให้คุณหยุดและตั้งใจฟังอีกฝ่ายหนึ่งพูด
    • สบสายตาเอาไว้ วิธีนี้จะช่วยให้คุณตั้งใจฟังและถ่ายทอดความสนใจในการฟังสิ่งที่อีกฝ่ายพูด
    • อย่าขัดจังหวะเมื่ออีกฝ่ายกำลังพูด คุณควรจะรอจนกว่าอีกฝ่ายพูดจบแล้วจึงพูดเรื่องของคุณและพูดทบทวนสิ่งที่เขาบอกด้วยคำพูดของคุณเอง ทุกครั้งที่คุณทำเช่นนี้คุณจะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตัวเองในฐานะผู้ฟังที่ดี [2]
    • หากผู้พูดกำลังเสียใจ มีความสุขหรือตื่นเต้นเกี่ยวกับสิ่งที่เขากำลังพูด คุณควรจะพูดตอบว่า “ฟังดูเหมือนคุณจะตื่นเต้นกับโอกาสนี้มากๆ ฉันเข้าใจแล้วว่าทำไมมันจึงสำคัญกับคุณเหลือเกิน” คนเราชอบให้มีคนฟังในสิ่งที่พูด เมื่อคุณพูดทบทวนในสิ่งที่คุณได้ยินอย่างถูกต้อง อีกฝ่ายหนึ่งจะรู้ว่าคุณฟังเขาอยู่
  2. ในขณะที่ฟังบางคนพูด คุณอาจจะคิดว่าสิ่งเขาพูดนั้นผิดเพราะคุณ “รู้ทุกอย่าง” ข้อเท็จจริงกับความคิดเห็นนั้นไม่เหมือนกัน ความคิดเห็นของคุณนั้นไม่ได้สำคัญเสมอไปและความรู้ทั้งหมดของคุณก็ไม่ถูกต้องเสมอไปเช่นกัน คุณต้องยอมรับว่าคุณเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทุกวันถึงแม้มันจะซ้ำกับสิ่งที่คุณรู้อยู่แล้วก็ตาม
    • คุณสามารถมีความคิดเห็นแต่คุณไม่สามารถคาดหวังให้คนอื่นเห็นด้วยกับคุณเสมอไป การย้ำความคิดเห็นดังๆ บ่อยๆ หรือใส่ความจะไม่โน้มน้าวให้คนอื่นเห็นด้วยกับคุณ ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะมีความคิดเห็นของตัวเอง
    • ไม่มีใครชอบคนที่รู้ไปหมด หากการรักษาความสัมพันธ์กับครอบครัว เพื่อนและเพื่อนร่วมงานสำคัญกับคุณ คุณก็ต้องพิจารณาความน่าคบหาของตัวเอง [3]
  3. สร้างความไว้ใจให้กับผู้อื่นโดยการเริ่มด้วยก้าวเล็กๆ. ความดื้อรั้นของคุณอาจจะทำให้คนอื่นไม่ไว้ใจคุณ คนส่วนใหญ่จะไม่เอาเปรียบคุณหากคุณหยุดรั้นแบบหัวชนฝาในทุกๆ เรื่อง สำหรับคนที่เอาเปรียบคุณ คุณจะสังเกตเห็นได้ทันทีและคุณจะสามารถตีตัวออกห่างได้ จำไว้ว่าคนประเภทเหล่านี้คือข้อยกเว้นและเป็นส่วนน้อย
    • คุณมีหลายวิธีในการสร้างความไว้ใจในตัวผู้อื่น เริ่มด้วยก้าวเล็กๆ ที่นำไปสู่ก้าวที่ใหญ่กว่า เช่น หากคุณคิดว่าบางคนไม่สามารถรับผิดชอบอะไรได้ ให้ลองขอให้เขาไปรับเสื้อผ้าที่ซักแล้วของคุณจากร้าน นี่คือกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่ำแต่จะทำให้คุณสร้างความไว้ได้ เมื่อคนๆ นั้นแสดงให้เห็นว่าเขาน่าเชื่อถือแล้ว คุณสามารถขอให้เขาทำสิ่งที่สำคัญกว่านั้นได้ ทุกครั้งที่เขาทำสำเร็จคุณก็จะเริ่มไว้ใจเขามากขึ้น
    • ถึงแม้บางคนลืมทำบางอย่างให้คุณก็ไม่ได้แปลว่าคุณไม่สามารถไว้ใจเขาได้ มอบโอกาสครั้งที่สองให้เขาได้รับความไว้วางใจจากคุณและคุณจะยินดีกับสิ่งนี้
  4. เข้าร่วมบทสนทนาและสถานการณ์ต่างๆ ด้วยใจที่เปิดกว้าง เป็นกลางและไม่มีความลำเอียงหรือคำตัดสิน เข้าถึงสิ่งนั้นด้วยทัศนคติที่พร้อมฟังในสิ่งที่บางคนพูดเพื่อที่คุณจะสามารถตัดสินใจอย่างยุติธรรมและรอบคอบ การพิจารณาสิ่งที่ทุกคนพูดจะช่วยเปิดโอกาสให้กับผลลัพธ์ที่เป็นบวก
    • ป้องกันตัวเองจากการสรุปแบบลบๆ โดยใช้เทคนิคที่จะสามารถเห็นภาพได้เหล่านี้ [4] เช่น หลับตาและนึกถึงกล่องที่เต็มไปด้วยเรื่องลบๆ ที่คุณเชื่อเกี่ยวกับคนๆ หนึ่งหรือเหตุการณ์หนึ่งที่คุณควรจะไป นึกภาพตัวเองปิดกล่องนั้น คล้องแม่กุญแจและวางกล่องไว้ข้างๆ เปิดตาและก้าวไปข้างหน้าประหนึ่งว่าคุณได้เดินหนีจากความดื้อรั้นของคุณ วิธีนี้น่าจะช่วยให้คุณได้เริ่มบทสนทนาด้วยใจที่เปิดกว้าง
    • มุ่งความสนใจไปที่ความรู้สึกบวกๆ ที่ได้จากผลลัพธ์ที่ดีและปล่อยให้มันจูงใจคุณตลอดสถานการณ์นี้
  5. อย่าคิดว่าคนอื่นด้อยกว่าตนเสมอไปและให้คิดว่าทุกคนเท่าเทียมกัน มันเป็นเรื่องดีที่คุณมั่นใจในตัวเองและมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง แต่การมีสิ่งเหล่านั้นมากไปสามารถทำให้คุณดูเป็นคนที่ดื้อและโลกแคบ อีกทั้งยังเย่อหยิ่ง สนใจแต่ตัวเองและใจร้าย
    • การเป็นคนถ่อมตนคือคุณต้องเข้าถึงทุกๆ สถานการณ์จากมุมมองที่คุณซาบซึ้งใจที่มี อย่าอวดความสำเร็จของคุณ ดีใจกับสิ่งของและผู้คนที่อยู่ในชีวิตของคุณ หากคุณมีสิ่งนี้และมีความใส่ใจในผู้อื่นสูง คุณจะเห็นว่าความดื้อรั้นของคุณลดลง
    • การเป็นคนที่อ่อนน้อมคือคุณต้องมีความคิดเห็นที่ถ่อมตนและไม่เยินยอตัวเอง เช่น หากคุณมีปริญญาก็อย่าดูถูกคนที่ไม่มีเพราะมีหลายเหตุผลที่คนอื่นไม่ได้เรียนมหาวิทยาลัยและหลายคนที่ประสบความสำเร็จมากกว่าคุณ
  6. เช่น เมื่อคุณแน่ใจว่าคุณถูกต้องหรือคุณปกป้องบางสิ่งที่มีค่า การเป็นคนดื้อจะมีประโยชน์ อีกทั้งในกรณีที่คุณต้องตัดสินใจและผลที่ตามมาส่งผลอย่างใหญ่หลวงกับคุณ ความดื้อของคุณจะช่วยเหลือคุณ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์ แต่ถ้าความดื้อรั้นนั้นอยู่เหนือการควบคุมและส่งผลกับคุณและคนอื่นในทางที่ไม่ดี คุณจะต้องหาวิธีควบคุมมันให้ได้
    • หากคุณหรือทนายกำลังต่อสู้เพื่อสิทธิของคุณ เมื่อนั้นความดื้อจะเป็นประโยชน์
    • หากคุณต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์และคุณกำลังต่อรองกับบริษัทประกัน เมื่อนั้นความดื้ออาจจะช่วยชีวิตคุณไว้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การพัฒนาทักษะการต่อรอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อย่าใช้ความดื้อรั้นเพื่อได้ในสิ่งที่คุณต้องการแต่จงเรียนรู้ความสำคัญของการต่อรองเพื่อที่คุณจะสามารถประนีประนอม ร่วมมือและร่วมใจ คุณจะได้สิ่งที่ต้องการด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพและเป็นมืออาชีพมากขึ้น การสร้างสายสัมพันธ์คือขั้นตอนแรก ผู้คนมักจะเปิดใจกับคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันมากกว่า หากคุณพักความดื้อเอาไว้และเข้าใจผู้คน พวกเขาจะตอบรับคุณในทางที่บวก
    • หาเรื่องที่คุณสนใจร่วมกันกับผู้คนโดยการสังเกตรูปภาพหรือชิ้นงานศิลปะบนผนังหรือบนโต๊ะของเขาและพูดว่า “รูปนี้สวยมาก มันดูเหมือนสถานที่ๆ ฉันเคยเห็นในนิวเม็กซิโกเลย คุณถ่ายรูปนี้ที่ไหน?”
    • เพื่อหาเรื่องที่คุณสนใจร่วมกันกับผู้คน คุณต้องมีบทสนทนาเกี่ยวกับสภาพอากาศ สัตว์เลี้ยงและเด็ก ผู้คนจะตอบขานในเรื่องที่พวกเขาสามารถเข้าใจ หาหัวข้อที่คนๆ นั้นสามารถเข้าใจและพูดเกี่ยวกับมัน การพูดหัวข้อนั้นอีกรอบเมื่อคุณกำลังจะกลับก็เป็นอีกวิธีที่ดีในการจบบทสนทนา
    • คุณจะถูกถามคำถามที่อาจจะทำให้คุณขุ่นเคืองใจ รักษามารยาทเอาไว้และพูดว่า “ด้วยความหวังที่จะแก้ปัญหานี้ ฉันจะพยายามตอบคำถามนั้นโดยไม่รู้สึกไม่ขุ่นเคืองใจ” การพูดสิ่งนี้ออกมาดังๆ จะย้ำเตือนให้คุณมุ่งความสนใจไปที่การสร้างสายสัมพันธ์
    • คุณอาจจะรู้สึกถูกแก่งแย่งชิงดีโดยอีกฝ่าย ฉะนั้นจงจดจำว่าการมีน้ำใจนักกีฬานั้นเกี่ยวข้องกับทุกๆ สถานการณ์ที่มีการแข่งขันสูง [5]
    • รักษาน้ำเสียงที่เป็นมืออาชีพและเป็นมิตรตลอดบทสนทนา
  2. ตั้งเป้าหมายที่จะเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดและสิ่งที่เขาต้องการ หากบางอย่างฟังดูไม่เข้าใจสำหรับคุณก็จงถามหาความกระจ่างแจ้ง จากนั้น แสดงความปรารถนาในวิธีที่จะช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจสิ่งที่คุณต้องการ เมื่อทั้งสองฝ่ายเข้าใจซึ่งกันและกันแล้ว การหล่อหลอมผลลัพธ์ที่เป็นบวกก็จะง่ายขึ้น
    • หากมีสิ่งที่คุณไม่เข้าใจ จงพูดว่า “ฉันไม่รู้ว่าฉันเข้าใจเหตุผลที่คุณต้องใช้รถสัปดาห์หน้าหรือไม่ คุณกำลังบอกว่าคุณจะไม่สามารถมาทำงานได้หรือคุณจะโดนไล่ออกเพราะเหตุผลนั้นใช่ไหม?”
    • คุณอาจจะต้องขอโทษสำหรับการเข้าใจผิด เช่น คุณอาจจะพูดว่า “ฉันขอโทษที่สร้างความเข้าใจผิด ขอฉันลองพูดใหม่อีกรอบนะ”
  3. ความต้องการที่ดื้อดึงของคุณอาจจะไม่มีแรงสนับสนุนที่มีเหตุผลหากความดื้อรั้นของคุณเป็นเทคนิคหลักที่คุณใช้ควบคุมสถานการณ์ คนอื่นๆ อาจจะถอดใจในการพยายามแก้ปัญหากับคุณเพราะคุณยัดเยียดจุดยืนของคุณกับพวกเขา
    • การพูดว่า “เพราะฉันพูดแบบนั้น” ในการต่อรองนั้นไม่ถูกต้องและจะทำให้คุณไม่บรรลุข้อตกลง คุณจะต้องสนับสนุนจุดยืนของคุณกับหลักฐานที่จะช่วยอธิบายสิ่งที่คุณต้องการ เช่น หากคนสำคัญของคุณต้องการให้คุณไปกับเธอที่งานเลี้ยงของบริษัทและคุณไม่อยากไป คุณสามารถพูดว่า “ฉันรู้ว่าฉันอาจจะดูเหมือนคนดื้อแต่เหตุผลที่ฉันไม่อยากไปก็เพราะฉันไม่รู้จักใครเลยและฉันอยากให้เธอไปสนุกกับเพื่อนๆ มากกว่า เธอจะได้ไม่ต้องห่วงว่าฉันจะสนุกหรือไม่ ฉะนั้นไปเถอะ ฉันอยากให้เธอเที่ยวอย่างสนุก”
  4. หากคุณเข้าถึงทุกสถานการณ์ด้วยความตั้งใจที่จะพูดว่า “ไม่” มันจะกีดกันข้อตกลง ความขัดแย้งสามารถแก้ไขได้เร็วขึ้นหากคุณเริ่มด้วยทัศนคติที่ว่า “เราจะทำให้สำเร็จได้อย่างไร?” คุณไม่ได้ให้อำนาจกับใครโดยการใช้วิธีนี้ จริงๆ แล้วการแก้ปัญหาด้วยวิธีที่เหมาะสมคือความสำเร็จที่ทรงพลัง
    • หากคุณผิดใจกับรูมเมทและคุณแก้ปัญหาที่ค้างคาได้แล้ว จงพูดว่า “ฉันดีใจที่เราแก้ปัญหานี้ได้ ไปหากาแฟกับขนมกินกัน ฉันเลี้ยงเอง”
    • เมื่อไรที่คุณผิดใจกับใครสักคน จงรับรู้ความพยายามของเขาในการแก้ปัญหา เช่น คุณสามารถพูดว่า “ฉันซาบซึ้งที่เธอพยายามแก้ปัญหานี้กับฉัน ฉันหวังว่าเราจะลืมมันไปได้สักที”
    • รับรู้เมื่อคุณละความดื้อรั้นและปรับปรุงตัวเอง เช่น พูดว่า “ฉันพยายามทำตัวไม่ดื้อและฉันคิดว่ามันได้ผล เธอคิดแบบนั้นมั้ย?” คุณไม่ได้ยอมรับความอ่อนแอ การเปลี่ยนแปลงคือการแสดงความเข้มแข็ง
  5. มันจะมีช่วงเวลาที่คุณจะไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งได้ หากคุณพยายามเพื่อจะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่นั่นก็คือสิ่งที่คุณสามารถทำได้ คุณอาจจะอยากลองแก้ปัญหาอีกครั้ง โชคไม่ดีที่บางครั้งคุณอาจจะต้องยอมรับมันและเดินหน้าต่อไป
    • คุณสามารถพักจากการกระทำเหล่านั้นเพื่อปล่อยให้ตัวเองและผู้อื่นคิด ใจเย็นลงและสร้างผลลัพธ์น่าจะเป็น
    • บางครั้งผลลัพธ์ที่ดีที่สุดคือการเข้าใจว่าคุณจะไม่มีวันเข้าใจ วิธีนี้จะช่วยให้จิตใจของคุณก้าวข้ามปัญหาได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การวิเคราะห์ความดื้อรั้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ความดื้ออาจจะเป็นผลของการสูญเสียคนหรือสิ่งของในชีวิต คุณอาจจะปกป้องตัวเองจากความสูญเสียที่มากกว่านี้เพราะความสูญเสียในครั้งก่อนนั้นเจ็บปวดเหลือเกิน คุณอาจจะเคยสูญเสียสิ่งของ ผู้คนหรือสถานะทางครอบครัวไป คุณคิดอยู่ในจิตใต้สำนึกว่าหากคุณยืนหยัดกับตัวเองเกี่ยวกับทุกเรื่องแล้วคุณจะไม่เจ็บปวดอีก
    • ที่มาของความดื้อของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่น ความรู้สึกของปมด้อย ความลับที่ถูกเก็บไว้ ความต้องการความสนใจจากผู้อื่นหรือความกลัวเสียอำนาจ เป็นต้น [6]
    • สถานการณ์ที่จุดชนวนความดื้อของแต่ละคน ได้แก่ การเล่นเกมส์ที่มีการแข่งขันสูง เพื่อนที่โรงเรียนอาจจะโดนพักการเรียนและไม่อยากให้ใครรู้จึงปฏิเสธที่จะพูดถึงชั้นเรียน คนๆ หนึ่งโต้เถียงเกี่ยวกับบางอย่างและเข้าข้างฝ่ายหนึ่งเพื่อที่จะต่อต้านทุกคนที่เกี่ยวข้องหรือรูมเมทที่ปฏิเสธที่จะแบ่งปันความรับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่าย
    • โลกที่เต็มไปด้วยความดื้อที่คุณพยายามสร้างนั้นไม่ดี ท้ายที่สุดแล้วคุณจะรู้สึกโดดเดี่ยว หดหู่และอาจจะเผชิญกับปัญหาอื่นๆ ทางจิต [7]
    • คุณเคยเสียศูนย์เมื่อบิดาหรือมารดาจากไป คนรักถูกฆ่าหรืองานในฝันล่มสลายหรือเปล่า? [8] แทนที่จะคงความเป็นคนดื้อ คุณควรเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และหลักในการรับมือที่มีประโยชน์ เช่น เข้าร่วมกิจกรรมที่มีประโยชน์ที่จะทำให้คุณเปิดใจและเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการเศร้าเสียใจ [9] หรือทำสมาธิ [10]
    • คุณเป็นคนที่รุนแรงเพราะบางคนในชีวิตเคยสั่งให้คุณทำแบบนั้นแบบนี้บ่อยๆ และคุณไม่ชอบทำหรือเปล่า? ตอนนี้เมื่อบางคนขอให้คุณทำบางอย่างและคุณจึงพูดว่าจะทำแต่ก็ไม่ทำจึงทำให้อีกฝ่ายโกรธ คุณควรจะรักษาสัญญาเพราะพฤติกรรมที่รุนแรงจะบั่นทอนและทำลายความสัมพันธ์ [11]
  2. ถามตัวเองว่าทำไมคุณจึงต้องเป็นฝ่ายถูกตลอดเวลา. ความไม่มั่นคงมีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์และสามารถนำไปสู่ความเครียดและความซึมเศร้า [12] คุณกลัวว่าคนอื่นจะคิดว่าคุณไร้การศึกษา ประสบความสำเร็จน้อยหรือมีความเป็นคนน้อยกว่าหากคุณแสดงความอ่อนแอออกไปหรือเปล่า? การเชื่อว่าคุณถูกเมื่อมันชัดเจนว่าคุณผิดนั้นจะยิ่งเสริมความไม่มั่นคงของคุณ
    • ยอมรับว่าคุณผิดเมื่อมันชัดเจนว่าคุณผิด คุณจะเห็นว่าโลกยังไม่แตก ที่จริงแล้วคุณจะรู้สึกโล่งและเริ่มเข้าใจว่าการเป็นคนดื้อนั้นบั่นทอนความคิด อารมณ์และความสัมพันธ์ของคุณ
  3. กำหนดสิ่งที่คุณหวังว่าจะได้ด้วยการเป็นคนดื้อ. การเป็นคนที่ดื้อเกินไปนั้นสร้างกำแพงระหว่างคุณกับคนอื่น คุณกำลังผลักคนอื่นออกไปหรือเปล่า? กำแพงนี้ทำให้คุณรู้สึกปลอดภัยหรือเปล่า? ผลที่น่าจะได้คืออะไรและผลลัพธ์ของการกระทำนี้มีประโยชน์กับคุณหรือไม่?
    • ความดื้อของคุณกำลังต่อต้านคุณหรือเปล่า? คุณต้องการความมั่นคงและความสามัคคีแต่การกระทำของคุณทั้งหมดผลักคนอื่นออกไปหรือไม่? คำตอบคือมันไม่มีผลดีกับคุณเลย
    • จริงใจกับตัวเองและเขียนสิ่งที่คุณหวังว่าจะได้จากการเป็นคนดื้อ เช่น คุณคิดว่ามันจะทำให้คุณรู้สึกเหนือคนอื่น มันจะทำให้ชีวิตไม่เปลี่ยนแปลงหรือคุณต้องการพิสูจน์ว่าไม่มีใครสั่งให้คุณทำอะไรได้หรือเปล่า? การคาดหวังสิ่งเหล่านี้นั้นไม่ตรงกับความเป็นจริง การตรวจสอบวิธีการคิดที่ด่างพร้อยนี้สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
    • เขียนสิ่งที่คุณสามารถทำเพื่อหยุดเป็นคนดื้อและสร้างชีวิตที่ไม่ยุ่งเหยิงที่คุณอยากจะใช้
  4. มันต้องใช้ความกล้าหาญและกำลังใจในการขอความช่วยเหลือ หากคุณกำลังลำบากกับการควบคุมความดื้อของคุณ คุณควรติดต่อหน่วยงานที่รับรองแล้วเพื่อขอความช่วยเหลือ คุณสามารถดูแหล่งข้อมูลเหล่านี้ได้จากหน่วยงานต่างๆ เช่น ผู้ให้คำปรึกษาหรือแพทย์ การพูดกับบางคนจะช่วยให้คุยแก้ไขปัญหาและพัฒนาวิธีการรับมือกับทุกสิ่งอย่างมีประสิทธิภาพ [13]
    • หากคุณรู้สึกโดดเดี่ยวเดียวดายมากขึ้น คุณควรโทรหาผู้ให้คำปรึกษาหรือแพทย์เพื่อทำการนัด หากคุณเพิ่งประสบกับความสูญเสียที่ใหญ่หลวง การเป็นคนรั้นในช่วงระยะหนึ่งอาจจะจัดว่าเป็นเรื่องธรรมดา อย่างไรก็ตาม นี่อาจเป็นสัญญาณว่าคุณกำลังเผชิญกับความโศกเศร้าและต้องการความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ [14]
    • การบำบัดทางศิลปะสามารถให้ผลลัพธ์ที่ดี [15]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เคารพความเชื่อของคนอื่นและของตัวเอง
  • รับฟังคำแนะนำจากผู้อื่น
  • รักคนอื่นและยอมให้คนอื่นรักคุณ
  • เมื่อคุณอ่านบทความแบบเดียวกับบทความนี้ที่เกี่ยวกับการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่เป็นบวก คุณจะเพิ่มโอกาสสำหรับความสำเร็จ
  • เมื่อคุณรู้สึกว่าตัวคุณเริ่มจะต่อต้านให้หยุดและคิดว่า “ฉันจะไม่ดื้อและจะเปิดรับโอกาสต่างๆ”
  • เมื่อตัวล่อนั้นดื้อ มันจะเคลื่อนไหวได้ด้วยมารยาท ความใส่ใจและคำเยินยอ
  • เมื่อคุณรู้สึกว่ากำลังจะสูญเสียสิ่งที่สำคัญไป คุณจะมีแนวโน้มที่จะดึงสิ่งนั้นไว้ไม่ให้ใครพรากไป คุณสามารถเรียนรู้ที่จะปล่อยวาง
  • เด็ดเดี่ยวกับความดื้อเพราะมันพยายามจะหยุดคุณไม่ให้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่
  • หากคุณต้องการหยุดเป็นคนดื้อ เลือกวันมาหนึ่งวันเพื่อตั้งใจทำและดูว่าคุณจะรู้สึกอย่างไร คุณอาจจะรู้สึกอึดอัดในช่วงแรก แต่คุณจะค่อยๆ รู้สึกถึงอิสรภาพที่มันนำมาให้
  • การขอโทษต่อความดื้อสามารถทำให้คุณได้เพื่อนกลับมาและมีผลต่อผู้อื่น สร้างนิสัยของการขอโทษเมื่อคุณทำให้บางคนเสียใจหรือพยายามที่จะแก้ตัวเมื่อทำผิด
  • คาดหวังที่จะเป็นฝ่ายผิดบ้าง
  • ฟังและเคารพผู้อื่นแต่ยังคงยืนหยัดเพื่อตัวเอง
  • เรียนรู้ที่จะรับรู้ว่าบางครั้งคุณอาจจะทำร้ายความรู้สึกของคนอื่นด้วยพฤติกรรมที่ดื้อดึงของคุณ
  • คำนึงถึงสังคม เพื่อนและครอบครัวแทนที่จะนึกถึงแต่ตัวเอง
  • ความดื้ออาจจะเป็นผลพลอยได้ของความเห็นแก่ตัว ค้นหาความเป็นไปได้ที่ความเห็นแก่ตัวอาจจะเป็นสาเหตุของปัญหาของคุณ
โฆษณา

คำเตือน

  • รู้ว่าหากนิสัยของคุณมีความดื้อดึงอยู่ในนั้นก็แปลว่าคุณเป็นคนดื้อ อย่างไรก็ตาม คุณสามารถเรียนรู้ที่จะจัดการมันเพื่อที่มันจะไม่เป็นผลเสียกับคุณ
  • ไม่มีคำว่าสายเกินไปสำหรับการขอโทษเพื่อนำตัวเองออกจากสภาวะลำบากใจที่เกิดจากความไม่ยอมใครของคุณ
  • การเป็นคนดื้อสามารถทำให้คุณสูญเสียความสัมพันธ์ งาน โอกาสต่างๆ หรือแม้แต่ชีวิตหากคุณไม่ยอมขอความช่วยเหลือทางการแพทย์เมื่อจำเป็น
  • คุณต้องมีมุมมองเกี่ยวกับผลที่จะตามมาของพฤติกรรมของคุณก่อนที่คุณจะสามารถเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมของคุณมีผลกระทบต่อผู้อื่นและคุณต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติต่อผู้อื่นแบบเดียวกับที่คุณอยากให้ผู้อื่นปฏิบัติกับคุณ
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เริ่มความสัมพันธ์แบบ Friends with Benefits
ทำให้แฟนเก่ากลับมารักคุณอีกครั้ง
รู้ว่าเมื่อไหร่ที่อีกฝ่ายไม่อยากคุยกับคุณแล้ว
รู้ว่าแฟนสาวของคุณแอบไปนอนกับคนอื่นหรือเปล่า
ฟื้นฟูความสัมพันธ์ให้กลับมาดีเหมือนเดิม
ทำให้แฟนเก่าคิดถึงคุณ
จบความสัมพันธ์
ทำให้ใครบางคนรู้สึกผิด
พิชิตหัวใจแฟนเก่ากลับมา หลังจากการเลิกรา
เรียกความเชื่อใจจากเขาหรือเธอกลับมา
ปลอบโยนแฟนสาวของคุณเมื่อเธอรู้สึกแย่
ลืมคนที่ชอบ
แก้ปัญหาเรื่องความเชื่อใจในความสัมพันธ์
ดูว่าเพื่อนอิจฉาคุณหรือไม่
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,769 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา