ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การแสดงออกมากเกินไปคือการที่คนๆ หนึ่งมีปฏิกิริยาทางอารมณ์เกินกว่าที่สถานการณ์ควรจะเป็น การแสดงออกมากเกินไปสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ การแสดงออกภายใน และการแสดงออกภายนอก การแสดงออกจากภายนอกมากเกินไปจะอยู่ในรูปแบบของการกระทำและพฤติกรรมที่คนอื่นมองเห็นได้ เช่น การตะคอกใส่ใครสักคน ส่วนการแสดงออกจากภายในมากเกินไปจะอยู่ในรูปแบบของการตอบสนองทางอารมณ์ที่คนอื่นไม่ได้สังเกตเห็น เช่น การตัดสินใจที่จะถอนตัวจากสมาคมการแสดงเพราะคุณไม่ได้รับบทที่คุณอยากจะแสดง การแสดงออกมากเกินไปทั้งสองรูปแบบล้วนส่งผลเสียต่อชื่อเสียง ความสัมพันธ์ และความเชื่อมั่นใจตัวเอง [1] อย่างไรก็ตาม คุณสามารถหลีกเลี่ยงการแสดงออกมากเกินไปได้ด้วยการเรียนรู้ถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการตอบสนองทางอารมณ์ และหาวิธีรับมือในรูปแบบใหม่

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

เรียนรู้รูปแบบความคิดที่ทำให้เกิดความทุกข์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เรียนรู้ถึงรูปแบบความคิดที่ทำให้เกิดความทุกข์. รูปแบบความคิดที่ทำให้เกิดความทุกข์ (Cognitive Distortions) คือรูปแบบความคิดที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติที่ทำให้คนหลีกหนีจากความเป็นจริง สำหรับคนที่มีการแสดงออกมากเกินไปนั้น รูปแบบความคิดส่วนใหญ่จะเกิดจากการตัดสินในด้านลบหรือการวิจารณ์ตัวเองสูงเกินไปซึ่งทำให้คนๆ นั้นรู้สึกลบต่อตัวเอง [2] ถ้าเราไม่เรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบความคิดที่ทำให้เกิดความทุกข์ คนๆ นั้นก็จะไม่สามารถแสดงออกด้วยวิธีที่สะท้อนความเป็นจริงออกมาได้ ทุกๆ อย่างที่ออกมามากเกินจะก่อให้เกิดการแสดงออกที่มากเกินไป [3]
    • อาการเหล่านี้มักมีรูปแบบที่เกิดจากพื้นฐานจากวัยเด็ก เช่น การวางอำนาจ (เช่น พ่อแม่หรือคุณครู) ที่เกิดจากอาการคลั่งใคล้ความสมบูรณ์แบบในระดับสูง คนเหล่านี้จะชอบจับผิดหรือคาดหวังในสิ่งที่ไม่เป็นจริง สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การแสดงออกมากเกินไปได้
    • "อย่าเชื่อในทุกสิ่งที่คุณคิด" การรับรู้ถึงรูปแบบของความคิดที่ทำให้เกิดความทุกข์มากขึ้นนั้นจะช่วยให้คุณสร้างวิธีการแสดงออกในรูปแบบอื่นได้ แค่เพียงคุณคิดอะไรสักอย่างไม่ได้หมายความว่าคุณต้องยอมรับสิ่งนั้นเป็นความจริงโดยทันที การควบคุมความคิดที่ไร้สาระหรือความคิดที่ไม่กลั่นกรองให้ดีจะช่วยให้เป็นอิสระจากความคิดลบๆ ได้
    • แค่เพียงมองเห็นผลลบที่อาจจะเป็นไปได้และมีนิสัยที่ชอบมองโลกในแง่ลบก็จัดเป็นรูปแบบความคิดที่ทำให้เกิดทุกข์โดยทั่วไป
  2. เข้าใจถึงประเภทของความคิดที่ทำให้เกิดทุกข์. ทุกๆ คนล้วนเคยแสดงออกหรือเห็นคนอื่นแสดงออกมากเกินไป ปฏิกิริยาเหล่านั้นอาจจะกลายเป็นนิสัยหรือเป็นวิธีมองโลกไปแล้วสำหรับบางคน โดยปฏิกิริยาเหล่านี้ยังรวมไปถึง
    • การเหมารวมเร็วเกินไป (Over-generalization) ตัวอย่างเช่น เด็กที่เคยมีประสบการณ์ถูกสุนัขกัดอาจจะกลัวสุนัขทุกตัวไปตลอดชีวิต
    • ด่วนสรุป ยกตัวอย่างเช่น เด็กผู้หญิงมักจะกังวลถึงรอบเดือนที่จะมาถึง เด็กผู้ชายมักจะส่งข้อความว่าเขาต้องเปลี่ยนแผนใหม่ เด็กผู้หญิงที่ชอบคิดว่าผู้ชายไม่สนใจเธอหรืออาจจะไม่เคยสนใจเธอ เธอจึงยกเลิกการออกเดท แต่ในความเป็นจริงนั้น ผู้ชายสนใจเธอ
    • "คิดว่าสิ่งที่เป็นอยู่คือหายนะของชีวิต" (Catastrophizing) เช่น ผู้หญิงคนหนึ่งที่ทำเรื่องผิดพลาดในที่ทำงาน เธอจึงกังวลว่าเธอจะถูกไล่ออก และถ้าถูกไล่ออก เธอจะกลายเป็นคนไร้บ้าน ทำให้เธอเป็นทุกข์เพราะคิดมากแทนที่จะสนใจกับการจัดการเวลาของตัวเธอเอง
    • ความคิดที่ไม่ยืดหยุ่นที่ว่า “ไม่ขาวก็ดำ” (Black and White) ยกตัวอย่างเช่น ในวันหยุดของครอบครัว พ่อรู้สึกผิดหวังกับโรงแรมที่มีคุณภาพแย่ พ่อเลยพาลทำลายความสนุกของทุกคนแทนที่จะสนใจกับชายหาดที่สวยงาม เพราะเด็กๆ ก็มักจะใช้เวลาในโรงแรมน้อยอยู่แล้ว
    • "ต้องทำ ควรทำ และน่าจะทำ" คำเหล่านี้มันจะมาคู่กับการตัดสิน ถ้าคุณพบว่าคุณกำลังใช้คำเหล่านี้กับตัวเองในทางลบหรือในเชิงตัดสิน ให้พิจารณาเปลี่ยนแปลงคำพูดของตัวเอง เช่น
      • ทางลบ: “หุ่นฉันเสียหมดแล้ว ฉันควรจะไปยิม” ทางที่ดีขึ้น “ฉันอยากจะมีสุขภาพที่ดีกว่านี้ และฉันจะลองดูว่ามีหลักสูตรออกกำลังกายที่ฉันชอบหรือไม่”
      • ทางลบ “ฉันต้องให้ลูกสนใจฉันเวลาที่ฉันพูดเสียแล้ว” ทางที่ดีขึ้น “ฉันจะพูดอย่างไรให้ลูกฟังฉันมากขึ้นนะ”
      • ทางลบ “ฉันน่าจะสอบวิชานี้ได้เกรดดีกว่าบีสิ” ทางที่ดีขึ้น “ฉันรู้ว่าฉันสามารถทำได้ดีกว่าเกรดบี แต่ถ้าฉันทำไม่ได้ เกรดบีก็เป็นเกรดที่ฉันรับได้”
      • บางครั้งสิ่งนั้นต้องทำ ควรทำ หรือน่าจะทำให้เสร็จ บางสิ่งบางอย่างเราก็ต้องทำให้ได้ในทางใดทางหนึ่ง อย่างไรก็ตาม การเฝ้ามองคำพูดเหล่านี้ในเชิงลบและในเชิงตายตัวจะช่วยให้เรารู้ถึงแนวคิดที่ด้านลบและแนวคิดที่แน่นอนที่ไม่จำเป็น
    • เขียนความคิดที่เกิดขึ้นอัตโนมัติลงในสมุดบันทึก แค่เขียนสิ่งที่คุณคิดก็ช่วยให้คุณรู้ถึงที่มาของมันได้ ความคิดนี้เกิดขึ้นตอนไหน ความคิดนั้นนั้นคืออะไร การทำแบบนี้ช่วยคุณสังเกตความคิดได้ง่ายขึ้น ถามตัวเองดูว่ามีวิธีพิจารณาสาเหตุของความคิดที่ทำให้เกิดทุกข์ด้วยวิธีอื่นหรือไม่ ความคิดที่เกิดขึ้นอัตโนมัตินั้นมีรูปแบบที่แน่นอนหรือไม่ ถ้าใช่ มันเริ่มจากตรงไหนและส่งผลอะไรถึงคุณบ้าง การมีสติรู้ถึงรูปแบบของจิตใต้สำนึกตัวเองจะช่วยให้คุณเลิกแสดงออกมากเกินไปได้ [4]
  3. รูปแบบความคิดที่เกิดขึ้นอัตโนมัติชนิดนี้นั้นเป็นที่รู้จักกันด้วยคำว่า “ไม่ขาวก็ดำ” ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอาการแสดงออกมากเกินไป ความคิดที่เกิดขึ้นอัตโนมัติไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความคิดอย่างมีเหตุผล แต่อยู่บนพื้นฐานของความกลัว ดังนั้น การตอบสนองทางอารมณ์ที่มากเกินไปมักเกิดกับสถานการณ์ที่ตึงเครียด [5]
    • ความคิดที่ว่า “ทำให้สุดหรือไม่ทำเลย” เป็นความคิดที่ทำให้เกิดทุกข์โดยทั่วๆ ไป เพราะบางครั้งเรื่องๆ หนึ่งก็ต้องทำให้สุดหรือไม่ก็ไม่ทำเลย แต่โดยปกติแล้วคุณจะมีวิธีที่ทำเพื่อให้ได้มาซึ่งบางสิ่งหรือเกือบทุกสิ่งที่คุณต้องการ หรือไม่ก็ค้นหาทางเลือกอื่นๆ
    • เรียนรู้ที่จะฟังเชิงวิจารณ์เพื่อสื่อสารกับความคิดของตัวเอง และสังเกตว่าสิ่งนั้นกำลังบอกอะไรกับคุณ ถ้าการพูดกับความคิดของตัวเองนั้นถูกเติมเต็มด้วยความคิดที่ทำให้เกิดความทุกข์ ก็จะช่วยให้คุณรู้ว่า “เสียง” ที่กำลังพูดกับคุณนั้นไม่ใช่ว่าจะถูกต้อง
    • พิจารณาฝึกพูดยืนยันกับตัวเอง (Self-Affirmation) เพื่อติดตามความคิดที่เกิดขึ้นอัตโนมัติ การยืนยันจะช่วยให้คุณปรับเปลี่ยนความคิดทางลบออกไปได้ เปลี่ยนความคิดที่ว่า “ทำให้สุดหรือไม่ทำเลย” ด้วยประโยคที่เป็นแง่บวกจะช่วยสะท้อนความเชื่อที่เกิดขึ้นใหม่ของคุณออกมาได้ ยกตัวอย่างเช่น เตือนตัวเองว่า “ความผิดพลาดไม่ใช่ความล้มเหลว มันเป็นกระบวนการเรียนรู้ ทุกๆ คนล้วนทำผิดพลาด คนอื่นๆ จะเข้าใจเราเอง” [6]
  4. การหยุดตัวเองแล้วหายใจจะช่วยให้คุณมีเวลาพิจารณาถึงทางเลือกที่เป็นไปได้ที่คุณจะแสดงออกมา การทำแบบนี้จะช่วยให้คุณไม่สนใจอยู่กับรูปแบบความคิดที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ให้สูดลมหายใจเข้าทางจมูกโดยนับ 1 ถึง 4 จากนั้น กลั้นลมหายใจเอาไว้แล้วนับ 1 ถึง 3 แล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกทางปากโดยนับ 1 ถึง 5 ให้ทำซ้ำเมื่อจำเป็น [7]
    • เมื่อลมหายใจของคุณเร็วขึ้น ร่างกายจะเชื่อว่าคุณกำลังเข้าสู่ความคิด “จะสู้หรือจะหนี” และเพิ่มระดับความกังวลในตัวคุณเอง คุณจะรู้สึกอยากจะตอบสนองด้วยอารมณ์และความกลัวที่พุ่งสูงขึ้น
    • ถ้าลมหายใจของคุณช้าลง ร่างกายจะเชื่อว่าคุณกำลังสงบ และคุณจะสามารถคิดอย่างมีเหตุผลได้
  5. คนส่วนใหญ่จะมี “ตัวกระตุ้น” ที่ก่อให้เกิดการแสดงออกทางอารมณ์ที่มากเกินไป ตัวกระตุ้นส่วนใหญ่มักจะเป็นความอิจฉา การปฏิเสธ การวิจารณ์ และการควบคุม คุณจะควบคุมการแสดงออกทางอารมณ์ได้ดีขึ้นด้วยการเรียนรู้ตัวกระตุ้นของตัวเอง [8]
    • ความอิจฉาจะเกิดขึ้นเมื่อคนอื่นได้สิ่งที่คุณต้องการ และคุณรู้สึกว่าคุณควรจะได้
    • การปฏิเสธจะเกิดขึ้นเมื่อคนอื่นๆ ในกลุ่มไม่ได้ถูกแยกออกไปหรือถูกเมินเฉย การแยกตัวออกจากกลุ่มจะไปกระตุ้นตัวรับที่สมองในฐานะความเจ็บปวดทางกาย
    • การวิจารณ์จะทำให้คนอื่นมีความคิดที่ทำให้เกิดทุกข์ในรูปแบบการเหมารวมเร็วเกินไป คนๆ นั้นจะสับสนกับการตอบสนองต่อการวิจารณ์ที่ไม่ได้รับการยอมรับในฐานะคนๆ หนึ่ง ซึ่งไม่เพียงแค่การกระทำเดียวเท่านั้นที่จะถูกวิจารณ์
    • ปัญหาการควบคุมจะทำให้เกิดการแสดงออกมากเกินไปเมื่อคุณนั้นกังวลกับการไม่ได้สิ่งที่อยากได้หรือเสียสิ่งที่มีมากเกินไป นอกจากนี้ยังเป็นตัวอย่างของการคิดว่าสิ่งที่เป็นอยู่คือหายนะของชีวิต (Catastrophising)
  6. ถามตัวเองว่า “สิ่งนี้สำคัญแค่ไหน พรุ่งนี้ฉันจะจำได้ไหม หรือปีหน้า แล้วอีก 20 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร” ถ้าคำตอบคือไม่ ไม่คุณจะตอบสนองด้วยอะไรก็ตามในขณะนั้น มันไม่ใช่เรื่องใหญ่เลย ปล่อยให้ตัวเองได้กลับไปตั้งหลักใหม่อีกครั้งและรับรู้ว่าสิ่งนั้นอาจจะไม่ได้สำคัญอะไรมากนัก [9]
    • มีส่วนใดของเหตุการณ์นั้นบ้างที่คุณสามารถยื่นมือช่วยได้ มีวิธีที่คุณสามารถใช้ร่วมกับผู้อื่นเพื่อเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ ถ้ามี ก็ให้ลองทำดู
    • พยายามยอมรับด้วยความเต็มใจว่าอาจจะมีสถานการณ์บางส่วนที่คุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณจะปล่อยให้คนอื่นทำร้ายคุณหรือไม่ควรมีกำแพงกับคนอื่น บางครั้งสิ่งนี้อาจจะหมายถึงการยอมรับว่าคุณไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเหตุการณ์ได้ และตัดสินใจที่จะถอนตัว
  7. เมื่อใครสักคนมีนิสัยที่ไม่สามารถควบคุมความโกรธของตัวเองได้ สมองจะสร้างการเชื่อมต่อกับศูนย์กลางการตอบสนองทางอารมณ์ที่สูงได้ค่อนข้างยาก และสมองอีกส่วนต้องรับผิดชอบในการคิดอย่างมีเหตุผลอยู่แล้ว การเสริมสร้างการเชื่อมต่อระหว่างศูนย์กลางของสมองทั้งสองส่วนจะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงการแสดงออกมากเกินไปได้ [10]
    • พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี (Dialectical Behavioral Therapy: DBT) เป็นวิธีรักษาที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพกับคนที่มีปัญหาการควบคุมอารมณ์ของตัวเอง นอกจากนี้ยังใช้เพื่อเพิ่มระดับการรู้ด้วยตัวเอง (Self-knowledge) และการปรับเปลี่ยนความคิดของตัวเอง (Cognitive restructuring) [11]
    • นิวโรฟีดแบค (Neurofeedback) และไบโอฟีดแบ็ก (Biofeedback) เป็นวิธีรักษาที่ใช้ได้ผลกับคนที่มีปัญหาการควบคุมอารมณ์ของตัวเอง ผู้ป่วยจะได้เรียนรู้ที่จะสังเกตการตอบสนองทางจิตวิทยาของตัวเองและยังช่วยให้ควบคุมการแสดงออกมากเกินไปของตัวเองได้ [12]
  8. การแสดงออกมากเกินไปอาจจะส่งผลเป็นปัญหาค้างคายาวนาน นักบำบัดจะช่วยคุณจัดระเบียบปัญหาเหล่านี้ได้ การเข้าใจถึงสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการแสดงออกมากเกินไปของตัวเองจะช่วยให้คุณควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ [13]
    • ถ้าการแสดงออกมากเกินไปของคุณนั้นส่งผลต่อความสัมพันธ์หรือชีวิตแต่งงาน ให้พิจารณาพบกับนักบำบัดพร้อมกับคู่รักของคุณ
    • นักบำบัดที่ดีจะมีการแนะนำเชิงปฏิบัติสำหรับการควบคุมตัวเองในปัจจุบัน แต่จะมองหาปัญหาจากอดีตของคุณ ซึ่งอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงออกทางอารมณ์ของคุณ
    • อดทนเข้าไว้ ถ้าการแสดงออกทางอารมณ์มากเกินไปนั้นส่งผลให้เกิดปัญหาระยะยาว การรักษาอาจจะต้องใช้เวลาสักหน่อย อย่าคาดหวังว่าจะแก้ไขได้ในข้ามคืน
    • ในบางกรณี คุณอาจจะต้องเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ แม้ว่า “การสนทนาบำบัด” จะช่วยได้เป็นอย่างมาก แต่บางครั้งการรักษาทางการแพทย์ก็ช่วยได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น คนที่แสดงออกมากเกินไปอันเนื่องมาจากโรควิตกกังวล ยารักษาอาการวิตกกังวลก็ช่วยคนกลุ่มนี้ได้
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ดูแลตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. พักผ่อนให้เพียงพอ. การนอนไม่พอนั้นเป็นแหล่งกำเนิดของความเครียดโดยทั่วไป และอาจจะส่งผลให้ควบคุมอารมณ์ได้ยากและอาจจะแสดงออกทางอารมณ์มากเกินไปแม้ในสถานการณ์ประจำวัน การดูแลตัวเองนั้นรวมไปถึงการนอนให้พอด้วยเช่นกัน เพราะถ้าคุณนอนไม่พอ ก็อาจจะทำให้คุณเปลี่ยนรูปแบบการแสดงออกมากเกินไปได้ยากขึ้น [14]
    • หลีกเลี่ยงคาเฟอีนถ้ามันรบกวนการนอนหลับของคุณ คาเฟอีนนั้นพบได้ในเครื่องดื่มอัดลม กาแฟ ชา และอื่นๆ ถ้าคุณกำลังดื่มเครื่องดื่มอะไรสักอย่าง ให้แน่ใจว่าเครื่องดื่มนั้นไม่มีคาเฟอีน
    • ความรู้สึกเหนื่อยจะเพิ่มระดับความเครียด และอาจจะทำให้คุณคิดด้วยเหตุผลยากขึ้น
    • ถ้าคุณไม่สามารถเปลี่ยนตารางการนอนหลับได้ ลองเพิ่มเวลาพักผ่อนไปในตารางเวลาประจำวันดู การงีบสั้นๆ อาจจะช่วยได้
  2. ถ้าคุณหิว คุณจะมีแนวโน้มที่จะแสดงออกมากเกินไปได้ นอกจากนี้ การทานอาหารเป็นเวลายังส่งผลดีต่อสุขภาพอีกด้วย ดูว่าคุณทานอาหารเช้าที่มีโปรตีนเป็นจำนวนมาก และอย่าเลี่ยงน้ำตาลในอาหารเช้า [15]
    • หลีกเลี่ยงการทานอาหารขยะ อาหารที่หวาน และอาหารอื่นๆ ที่อาจจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ขนมขบเคี้ยวที่มีรสหวานอาจทำให้เกิดความเครียดได้
  3. การออกกำลังกายจะช่วยในการควบคุมอารมณ์ และทำให้มีอารมณ์ที่ดีขึ้น การออกกำลังกายระดับปานกลางเป็นเวลา 30 นาที 5 ครั้งต่อสัปดาห์ได้รับการยืนยันว่ามีประโยชน์ต่อการควบคุมอารมณ์ [16]
    • การออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น ว่ายน้ำ เดิน วิ่ง หรือปั่นจักรยาน จะเป็นการบริหารปอดและหัวใจ ให้เพิ่มการออกกำลังกายให้เป็นนิสัยโดยไม่คำนึงว่าคุณจะเลือกออกกำลังกายแบบไหน ถ้าคุณไม่สามารถให้เวลา 30 นาทีต่อวันในการออกกำลังกายได้ ให้เริ่มต้นด้วยออกกำลังกายเป็นเวลาสั้นๆ ก่อน แค่ออกกำลังกายเพียง 10–15 นาทีก็ช่วยพัฒนาร่างกายได้ [17]
    • การเสริมสร้างความแข็งแรง เช่น การเพิ่มน้ำหนักและเพิ่มความคงทน จะช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับกระดูกเช่นกันกับกล้ามเนื้อ
    • การออกกำลังกายแบบยืดหยุ่น เช่น การยืดกล้ามเนื้อและโยคะ จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บได้ โยคะยังช่วยในเรื่องของความเครียดและความวิตกกังวล และโยคะยังได้รับการแนะนำอย่างสูงสำหรับคนที่พยายามหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย
  4. เมื่อใครสักคนไม่ตระหนักถึงความรู้สึกของพวกเขาเองจนถึงเวลาที่พวกเขาแสดงออกมากเกินไปออกมา การเปลี่ยนแปลงอารมณ์อาจจะทำให้ยาก เคล็ดลับก็คือการตระหนักถึงอารมณ์ของตัวเองก่อนที่อารมณ์จะมีมากเกินไป เรียนรู้ที่จะค้นหาวิธีป้องกันตัวเองก่อนที่จะแสดงออกมามากเกินไป [18]
    • สัญญาณอาจจะออกมาจากร่างกายของคุณ เช่น รู้สึกคอแข็งและหัวใจเต้นเร็ว
    • การระบุความรู้สึกหมายถึงคุณสามารถใช้สมองทั้งสองส่วนในการพัฒนาวิธีควบคุมอารมณ์ของตัวเอง
    • ยิ่งคุณตระหนักถึงการตอบสนองภายในตัวเองได้ดีแค่ไหน คุณก็จะรู้สึกถึงอารมณ์ที่พุ่งพล่านมากเกินไปน้อยแค่นั้น
    โฆษณา

คำเตือน

  • อารมณ์ที่แรงกล้าไม่จำเป็นต้องตอบสนองด้วยการแสดงออกมากเกินไปเสมอไป อย่าลดความรู้สึกของตัวเองเพียงเพราะว่าความรู้สึกเหล่านั้นมันรุนแรง
  • ถ้าการแสดงออกมากเกินไปของตัวเองกำลังก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมาย ให้รีบขอความช่วยเหลือทันที
  • บางครั้ง การแสดงออกมากเกินไปอาจจะเป็นอาการของการป่วยทางจิต ถ้าเป็นกรณีนี้ คุณจะต้องมองหาความช่วยเหลือในการดูแลอาการป่วยในขณะที่พยายามหาสาเหตุของการแสดงออกมากเกิน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,701 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา