ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

สามเหลี่ยมหน้าจั่วคือรูปทรงสามเหลี่ยมที่มีด้านสองด้านมีความยาวเท่ากัน ด้านที่เท่ากันสองด้านนี้จะเชื่อมกับฐาน (ด้านที่สาม) ด้วยมุมที่เท่ากันเสมอ และจะบรรจบกันตรงเหนือจุดกึ่งกลางของเส้นฐาน คุณสามารถทดสอบได้ด้วยตัวเองโดยใช้ไม้บรรทัดกับดินสอสองแท่งที่ยาวเท่ากัน หากคุณเบนสามเหลี่ยมไปยังข้างใดข้างหนึ่ง ปลายดินสอก็จะไม่มาบรรจบกัน คุณสมบัติพิเศษของสามเหลี่ยมหน้าจั่วเหล่านี้ทำให้คุณสามารถคำนวณหาพื้นที่ของมันได้ด้วยข้อมูลเพียงเล็กน้อย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

หาพื้นที่จากความยาวของด้านประกอบฐาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทบทวนเรื่องพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน. สี่เหลี่ยมจัตุรัสกับสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นสี่เหลี่ยมด้านขนาน ดังเช่นรูปทรงที่มีสี่ด้านและมีด้านที่ขนานกันสองคู่ รูปทรงสี่เหลี่ยมด้านขนานทั้งหมดล้วนมีสูตรการหาพื้นที่ง่ายๆ คือ พื้นที่ (Area) เท่ากับฐาน (Base) คูณด้วยความสูง (Height) หรือ A = bh [1] หากคุณวางรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานลงบนพื้นผิวราบเรียบ ฐานจะเป็นความยาวของด้านที่มันทรงตัวอยู่ ความสูงก็เป็นอย่างที่คุณเข้าใจ นั่นคือ มันสูงจากพื้นเท่าไร หรือระยะทางจากฐานไปยังด้านตรงข้าม โดยจะต้องวัดความสูงเป็นมุมฉาก (90 องศา) กับฐานเสมอ
    • ในรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกับสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความสูงจะเท่ากับความยาวของด้านแนวตั้ง เนื่องจากด้านเหล่านี้ตั้งฉากกับพื้น
  2. เปรียบเทียบสามเหลี่ยมกับสี่เหลี่ยมด้านขนาน. รูปทรงสองแบบนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างง่ายๆ แค่ผ่าครึ่งสี่เหลี่ยมด้านขนานเป็นแนวทแยงมุม ก็จะได้สามเหลี่ยมเท่ากันสองรูป เช่นเดียวกันถ้าคุณมีสามเหลี่ยมเท่ากันสองรูป ก็สามารถนำมาประกบกันเป็นสี่เหลี่ยมด้านขนาน นั่นหมายความว่า พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมใดๆ สามารถเขียนอยู่ในรูปแบบ A = ½bh , คือมีขนาดครึ่งหนึ่งของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน
  3. ตอนนี้เมื่อคุณมีสูตรแล้ว “ฐาน” กับ “ความสูง” ของสามเหลี่ยมหน้าจั่วคืออะไรล่ะ ฐานนั้นหาง่ายหน่อย แค่ใช้ด้านที่สาม หรือด้านที่ไม่เท่ากันกับด้านอื่นๆ ของสามเหลี่ยมหน้าจั่ว
    • ตัวอย่าง หากสามเหลี่ยมหน้าจั่วมีด้านที่ยาว 5 ซม., 5 ซม., และ 6 ซม. ก็ให้ใช้ 6 ซม. เป็นฐาน
    • หากรูปสามเหลี่ยมมีด้านเท่ากันทั้งสามด้าน (สามเหลี่ยมด้านเท่า) คุณสามารถเลือกด้านไหนมาเป็นฐานก็ได้ สามเหลี่ยมด้านเท่าเป็นรูปพิเศษของสามเหลี่ยมหน้าจั่ว แต่คุณสามารถหาพื้นที่ได้ด้วยวิธีเดียวกัน [2]
  4. ให้แน่ใจว่าเส้นนั้นตั้งฉากกับฐาน ความยาวของเส้นนี้ก็คือความสูงของสามเหลี่ยม ดังนั้นมันจึงเป็น h พอคุณคำนวณค่าของ h ได้แล้ว คุณก็สามารถหาพื้นที่ได้
    • ในรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วนั้น เส้นที่ว่านี้จะบรรจบฐานตรงจุดกึ่งกลางของเส้นฐานเสมอ
  5. จะสังเกตเห็นว่าเส้นความสูงแบ่งสามเหลี่ยมหน้าจั่วนั้นออกเป็นสามเหลี่ยมมุมฉากที่เท่ากันสองรูป ดูที่ครึ่งหนึ่งที่ถูกแบ่งนั้น และระบุด้านทั้งสามด้าน:
    • ด้านที่มีขนาดสั้นเท่ากับครึ่งหนึ่งของฐาน:
    • ด้านที่สั้นอีกด้านหนึ่งคือความสูง, h
    • ด้านตรงข้ามมุมฉากของสามเหลี่ยมมุมฉากนั้นเป็นหนึ่งในสองด้านที่เท่ากันของสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ขอเรียกมันเป็น s
  6. ใช้ทฤษฎีบทของพีธากอรัส . เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณทราบด้านสองด้านของสามเหลี่ยมมุมฉากและต้องการจะหาด้านที่สาม คุณสามารถใช้ใช้ทฤษฎีบทของพีธากอรัส: (ด้าน 1) 2 + (ด้าน 2) 2 = (ด้านตรงข้ามมุมฉาก) 2 แทนค่าตัวแปรที่เราใช้ในโจทย์ก็จะได้
    • คุณอาจเคยเรียนทฤษฎีบทของพีธากอรัสว่า การเขียนมันเป็น "ด้าน" กับ "ด้านตรงข้ามมุมฉาก" จะช่วยป้องกันความสับสนกับตัวแปรต่างๆ
  7. จำได้ไหมว่าสูตรการหาพื้นที่ใช้ b กับ h , แต่คุณยังไม่ทราบค่าของ h ให้เขียนสมการใหม่เพื่อหา h :


  8. ตอนนี้เมื่อคุณทราบสูตร ก็สามารถใช้สามเหลี่ยมหน้าจั่วที่คุณทราบความยาวด้าน แค่แทนความยาวของฐานลงใน b และความยาวของด้านใดด้านหนึ่งที่เท่ากันเป็น s , จากนั้นคำนวณหาค่าของ h
    • ตัวอย่าง คุณมีสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่มีด้านยาว 5 ซม., 5 ซม., และ 6 ซม. b = 6 และ s = 5
    • แทนค่าเหล่านี้ลงไปในสูตร:





      cm
  9. ตอนนี้คุณมีทุกอย่างที่จะใช้สูตรตามที่บอกตอนต้นของส่วนนี้: A = ½bh แค่แทนค่าของ b กับ h ที่หามาลงไปในสูตรและคำนวณหาคำตอบ จำไว้ว่าคำตอบต้องมีหน่วยเป็นตารางหน่วย
    • จากตัวอย่างที่ว่ามา สามเหลี่ยม 5-5-6 จะมีฐานยาว 6 ซม. กับความสูง 4 ซม.
    • A = ½bh
      A = ½(6cm)(4cm)
      A = 12cm 2
  10. สามเหลี่ยมหน้าจั่วส่วนมากจะมีความยากกว่าตัวอย่างที่แล้ว ความสูงมักจะติดรากที่สองซึ่งไม่สามารถทอนเป็นจำนวนเต็ม หากเป็นเช่นนั้น ให้ทอนความสูงที่ติดรากที่สองให้อยู่ใน รูปแบบเศษส่วนอย่างต่ำ ตามตัวอย่างดังนี้:
    • พื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมที่มีความยาวด้านเท่ากับ 8 ซม., 8 ซม., และ 4 ซม. เป็นเท่าไร
    • ใช้ด้านที่ยาวไม่เท่ากับด้านอื่นเป็นฐาน ซึ่งก็คือ 4 ซม. เป็น b
    • ความสูง

    • ทอนรากที่สองโดยการหาตัวประกอบ:
    • พื้นที่

    • ทิ้งคำตอบไว้อย่างนั้น หรือใช้เครื่องคิดเลขหาค่าทศนิยมโดยประมาณ (ราว 15.49 ตารางเซนติเมตร)
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ใช้ตรีโกณมิติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หากคุณรู้ตรีโกณมิติอยู่บ้าง คุณสามารถหาพื้นที่ของสามเหลี่ยมหน้าจั่วได้แม้จะไม่ทราบความยาวของด้านสามเหลี่ยม ตัวอย่างโจทย์ต่อไปนี้มีข้อมูลให้แค่เพียง: [3]
    • ความยาว s ของด้านที่เท่ากันสองด้านคือ 10 ซม.
    • มุม θ ระหว่างด้านที่เท่ากันนั้นคือ 120 องศา
  2. แบ่งสามเหลี่ยมหน้าจั่วให้เป็นสามเหลี่ยมมุมฉากสองรูป. ลากเส้นลงมาจากมุมยอดระหว่างด้านที่เท่ากันสองด้านลงมาแตะเส้นฐานเป็นมุมฉาก ตอนนี้คุณจะมีสามเหลี่ยมมุมฉากสองรูป
    • เส้นที่ว่านี้จะแบ่งมุม θ ครึ่งหนึ่งพอดี สามเหลี่ยมมุมฉากแต่ละรูปจะมีมุม ½θ, หรือในกรณีนี้คือ (½)(120) = 60 องศา
  3. ตอนนี้เมื่อได้รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก คุณสามารถใช้หลักตรีโกณมิติทั้งไซน์, โคไซน์ และแทนเจนท์ ในโจทย์ตัวอย่างนั้น คุณทราบด้านตรงข้ามมุมฉาก และต้องการหาค่าของ h , หรือด้านที่ประชิดมุมที่ทราบค่า ใช้ข้อเท็จจริงที่ว่าโคไซน์ = ด้านประชิด/ ด้านตรงข้ามมุมฉากเพื่อหาค่า h :
    • cos(θ/2) = h / s
    • cos(60º) = h / 10
    • h = 10cos(60º)
  4. ยังมีด้านที่เราไม่ทราบค่าเหลืออีกหนึ่งด้านในรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งเราจะแทนที่ด้วย x หาค่าของมันโดยการใช้นิยามของไซน์ = ด้านตรงข้าม /ด้านตรงข้ามมุมฉาก:
    • sin(θ/2) = x / s
    • sin(60º) = x / 10
    • x = 10sin(60º)
  5. หาความสัมพันธ์ x กับฐานของสามเหลี่ยมหน้าจั่ว. ตอนนี้คุณสามารถ"ถอยออกมา"ยังสามเหลี่ยมหน้าจั่วหลัก ฐานรวมของมันหรือ b จะเท่ากับ 2 x , เนื่องจากมันถูกแบ่งครึ่งเท่ากันด้วยระยะความยาวของ x
  6. ตอนนี้คุณทราบฐานและความสูง คุณสามารถใช้สูตรการหาพื้นที่มาตรฐาน A = ½bh:



    • คุณสามารถใช้เครื่องคิดเลข (ตั้งค่าเป็นองศา) ซึ่งจะให้คำตอบประมาณ 43.3 ตารางเซนติเมตร หรืออีกทางเลือกให้ใช้คุณสมบัติตรีโกณมิติทอนมันเป็น A = 50sin(120º)
  7. ตอนนี้เมื่อคุณทราบว่าแก้โจทย์ได้อย่างไร คุณก็สามารถยึดเป็นสูตรทั่วไปโดยไม่ต้องย้อนไปทำครบกระบวนการทุกครั้ง หากคุณทำกระบวนการนี้ซ้ำโดยไม่ใช้ค่าจำเพาะบางค่า (และทอนลงโดยใช้คุณสมบัติทางตรีโกณมิติ) ก็จะได้ออกมาดังนี้: [4]
    • s เป็นความยาวของหนึ่งในด้านที่มีความยาวเท่ากัน
    • θ คือมุมระหว่างด้านที่เท่ากันสองด้านนั้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หากคุณมีสามเหลี่ยมมุมฉากหน้าจั่ว (มีด้านเท่ากันสองด้านและมีมุมฉาก) จะหาพื้นที่ได้ง่ายขึ้น หากคุณใช้ด้านที่สั้นกว่าด้านหนึ่งเป็นฐาน ด้านที่สั้นกว่าอีกด้านเป็นความสูง สูตรการหาพื้นที่ A = ½ b * h สามารถทอนเป็น ½s 2 , โดยที่ s คือความยาวของด้านที่สั้นกว่า
  • จำนวนรากที่สองจะมีสองคำตอบ หนึ่งเป็นจำนวนบวกและอีกหนึ่งเป็นจำนวนลบ แต่คุณสามารถเมินคำตอบที่เป็นค่าลบในเรขาคณิตไปได้เลย เพราะคุณไม่สามารถมีรูปสามเหลี่ยมที่มี "ความสูงเป็นลบ" ได้
  • โจทย์ตรีโกณมิติบางข้ออาจให้ข้อมูลด้านอื่น เช่น ความยาวของฐานและมุมหนึ่งมุม (และข้อเท็จจริงที่ว่ามันคือรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว) กลยุทธการแก้โจทย์ก็ยังเหมือนเดิม: แบ่งสามเหลี่ยมหน้าจั่วให้เป็นสามเหลี่ยมมุมฉากสองรูปแล้วหาความสูงโดยใช้หลักตรีโกณมิติ


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 180,719 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา