ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บทบรรณาธิการคือบทความแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นใดประเด็นหนึ่งของคนในกลุ่ม ด้วยเหตุนี้เองจึงมักไม่มีการเซ็นชื่อลงท้ายบทบรรณาธิการ บรรณาธิการจะแสดงความคิดเห็นต่อข้อโต้แย้งที่มีอยู่แล้ว และพยายามโน้มน้าวให้คนอื่นเห็นด้วยกับประเด็นร้อนแรงในปัจจุบันไม่ต่างอะไรกับทนาย โดยแก่นแท้ของมันแล้ว บทบรรณาธิการก็คือความคิดเห็นที่นำเสนอด้านหนึ่งของข่าวนั่นเอง [1]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

พื้นฐานของบทบรรณาธิการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บทบรรณาธิการมีไว้เพื่อครอบงำความคิดเห็นของประชาชน กระตุ้นการคิดเชิงวิพากษ์ และบางครั้งก็เพื่อให้ประชาชนลงมือทำอะไรบางอย่างต่อประเด็นนั้นๆ ประเด็นที่คุณเลือกควรสดใหม่ น่าสนใจ และมีวัตถุประสงค์ โดยทั่วไปบทบรรณาธิการจะแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ [2]
    • อธิบายหรือตีความ : การเขียนรูปแบบนี้จะใช้อธิบายว่าหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารมีจุดยืนต่อประเด็นที่เป็นที่ถกเถียงกันอย่างไรและเพราะอะไร
    • วิพากษ์วิจารณ์ : นอกเหนือไปจากการให้วิธีแก้ปัญหาที่ดีกว่าแล้ว การเขียนรูปแบบนี้จะวิพากษ์วิจารณ์การกระทำที่มีต่อบุคคลที่สาม มักใช้เพื่อให้คนอ่านเห็นว่ามีปัญหาที่ใหญ่กว่าอยู่ตรงหน้า
    • โน้มน้าว : บทบรรณาธิการประเภทนี้จะใช้เพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านลงมือทำ โดยจะเน้นไปที่วิธีแก้ปัญหามากกว่าตัวปัญหาเอง
    • ชมเชย :การเขียนรูปแบบนี้จะใช้เพื่อแสดงการสนับสนุนคนหรือองค์กรในชุมชนที่ทำในสิ่งที่น่ายกย่อง [3]
  2. บทบรรณาธิการเป็นการผสมผสานระหว่างข้อเท็จจริงกับความคิดเห็น ซึ่งไม่ได้เป็นความคิดเห็นของบรรณาธิการเพียงอย่างเดียว แต่เป็นความคิดเห็นของคนทั้งทีม เพราะฉะนั้นการรวบรวมข้อเท็จจริงของคุณจึงควรมีการรายงานและการค้นคว้าข้อมูลที่เป็นกลางด้วย
    • หน้าบทความคิดเห็นพิเศษที่ดีควรจะมี "มุมสะท้อนปัญญา" อย่างน้อยหนึ่งมุมที่เป็น "ข้อสังเกตที่สดใหม่ของตัวเอง" [4] เพราะฉะนั้นรวบรวมข้อเท็จจริงจากหลายๆ แหล่ง ชี้ให้เห็นถึงรูปแบบ ผลลัพธ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น หรือช่องโหว่ของบทวิเคราะห์ในปัจจุบัน
  3. โดยทั่วไปแล้วบทบรรณาธิการจะเป็นบทความที่สะดุดตาคนอ่านและอ่านได้เร็วๆ ไม่ได้ยาวหลายหน้ากระดาษหรือขยายความประเด็นที่พูดถึง และไม่ทำให้ผู้อ่านที่เป็นคนทั่วไปรู้สึกว่าตัวเองพลาดอะไรไป เพราะฉะนั้นบทบรรณาธิการของคุณจะต้องไม่ยาวและไม่เฉพาะทางมากเกินไป
    • เขียนอยู่ที่ประมาณ 600-800 คำ [4] ถ้ายาวกว่านั้นคนอ่านอาจจะข้ามไปได้ บทบรรณาธิการที่กระชับ เฉียบแหลม และเผ็ดร้อนจะมัดใจผู้อ่านได้มากกว่าการบรรยายแบบน้ำท่วมทุ่ง
    • ลบศัพท์เฉพาะวงการทิ้งไป อย่าลืมว่าคนอ่านมาอ่านบทความของคุณเพื่อหาข้อมูลที่เขาพยายามทำความเข้าใจ เพราะฉะนั้นการใช้ศัพท์เทคนิคหรือคำเฉพาะวงการอาจทำให้คนอ่านเบือนหน้าหนีและทำให้บทความของคุณเข้าใจยาก เพราะฉะนั้นเวลาเขียนให้นึกถึงสิ่งที่คนทั่วไปที่ไม่มีความรู้ในด้านนั้นเลยอ่านเข้าใจได้ด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

เขียนบทบรรณาธิการ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เริ่มบทบรรณาธิการด้วยคำพูดที่คล้ายกับประโยคใจความสำคัญ. ย่อหน้าแรกหรือสองย่อหน้าแรกที่เป็นบทนำควรเขียนให้สะดุดตาผู้อ่าน โดยอาจจะเริ่มจากคำถามที่น่าสนใจ คำพูดอ้างอิง หรือจะเป็นการสรุปว่าบทบรรณาธิการนี้พูดถึงเรื่องอะไรก็ได้
    • แสดงข้อโต้แย้งของคุณให้ชัดเจน เนื้อหาต่อจากนี้ในบทบรรณาธิการจะเป็นสิ่งที่มาสนับสนุนความคิดเห็นของคุณ เพราะฉะนั้นคุณต้องเขียนข้อโต้แย้งของคุณให้โดนใจผู้อ่านมากที่สุด แต่ในการที่จะทำเช่นนั้นได้ อย่าใช้คำว่า "ฉัน" เพราะมันจะไปลบจุดแข็งและความน่าเชื่อถือของบทบรรณาธิการและฟังดูไม่ค่อยเป็นทางการเท่าไหร่ [5]
  2. ต้อนผู้อ่านด้วยการอธิบายประเด็นอย่างเป็นกลาง. ส่วนที่เป็นเนื้อหาควรอธิบายประเด็นนั้นๆ อย่างเป็นกลางเหมือนผู้สื่อข่าว และบอกว่าทำไมสถานการณ์นี้ถึงสำคัญกับผู้อ่านหรือสังคมโดยรวม [3]
    • อธิบายว่าใคร ทำอะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน ทำไม และอย่างไร ใส่ข้อมูลพื้นฐานทั้งหมดลงไปและเขียนข้อเท็จจริงหรือคำพูดอ้างอิงจากแหล่งที่เกี่ยวข้อง วิธีนี้จะทำให้คุณมั่นใจได้ว่าอย่างน้อยผู้อ่านทุกคนมีความรู้พื้นฐาน (ที่ถูกต้อง) เกี่ยวกับประเด็นที่อยู่ตรงหน้า
  3. คุณต้องพูดถึงกลุ่มที่คิดตรงกันข้ามกับคุณก่อน ไม่อย่างนั้นการอภิปรายในก้าวต่อๆ ไปจะไม่ชัดเจน แสดงความคิดเห็นของพวกเขาอย่างเป็นกลางด้วยการใช้ข้อเท็จจริงหรือคำพูดอ้างอิง และอย่าใส่ร้ายป้ายสีอีกฝ่ายเด็ดขาด
    • คุณสามารถพูดถึงสิ่งดีๆ ของฝั่งตรงข้ามได้ถ้ามันเป็นข้อเท็จจริง เพราะมันจะแสดงให้เห็นว่าคุณเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้องและให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมของทั้งสองฝั่ง ถ้าคุณไม่สนใจที่จะนำเสนอสิ่งดีๆ ของฝั่งตรงข้าม บทบรรณาธิการของคุณก็จะดูไม่เป็นกลางและไม่ครอบคลุมทุกประเด็น
    • นำเสนอข้อโต้แย้งของฝั่งตรงข้ามและต้องเป็นข้อโต้แย้งที่สำคัญด้วย เพราะการปฏิเสธสิ่งที่ไม่ใช่ประเด็นนั้นไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ นำเสนอให้ชัดเจนว่าความเชื่อและสิ่งที่เขาสนับสนุนคืออะไร
  4. นำเสนอเหตุผล/หลักฐานที่ หักล้างฝั่งตรงข้ามโดยตรง . เริ่มส่วนนี้ด้วยการเปลี่ยนประเด็นจากข้อโต้แย้งของเขามาที่ข้อโต้แย้งของคุณให้ชัดเจน เขียนข้อเท็จจริงและคำพูดอ้างอิงจากคนอื่นๆ ที่สนับสนุนความคิดเห็นของคุณลงไป
    • เริ่มจากเหตุผลที่ชัดเจนที่สามารถอธิบายเพิ่มเติมให้ชัดเจนขึ้นได้อีก อย่าจำกัดตัวเองว่าจะต้องกล่าวถึงความคิดเห็นที่มีอยู่แล้วเท่านั้น แต่ให้ใส่ความคิดเห็นของตัวเองจริงๆ ลงไปด้วย แต่ไม่ว่าเหตุผลของคุณจะเป็นอะไร คุณต้องแสดงจุดยืนข้างใดข้างหนึ่งของข้อโต้แย้งให้ได้ เพราะตรงนี้ไม่มีพื้นที่ให้กับความเป็นกลาง
    • คุณจะอ้างอิงงานวรรณกรรมก็ได้ เพราะมันจะทำให้คุณดูน่าเชื่อถือและแสดงให้เห็นว่าคุณศึกษามามาก [3] เล่าย้อนไปถึงภาพของผู้คนหรือช่วงเวลาในอดีตที่จะช่วยให้ผู้อ่านเห็นภาพ
  5. ข้อนี้ไม่เหมือนกับการให้เหตุผลและการใช้หลักฐานสนับสนุน ถ้าคุณคิดว่าการตัดงบประมาณเพื่อความมั่นคงเป็นเรื่องที่ผิด แล้วคุณคิดว่าควรตัดอะไรแทน คุณจำเป็นต้องเสนอวิธีแก้ไขที่ช่วยแก้ปัญหาได้จริง เพราะถ้าคุณเองไม่รู้วิธีแก้ปัญหา วิธีการอื่นๆ ไม่ว่าจะแย่แค่ไหนก็ถือว่ายังดีกว่าของคุณ
    • วิธีแก้ปัญหาของคุณต้องชัดเจน เป็นเหตุเป็นผล และทำได้จริง จะมาพูดลอยๆ ไม่ได้ และยิ่งไปกว่านั้นคือมันต้องน่าสนใจด้วย ตามหลักการวิธีแก้ปัญหาของคุณจะต้องทำให้ผู้อ่านสนใจที่จะลงมือทำตามข้อมูลและคำตอบที่คุณให้มา
  6. คำพูดที่โดนใจผู้อ่านจะทำให้บทบรรณาธิการของคุณประทับอยู่ในใจของผู้อ่านตลอดไป ใช้คำพูดอ้างอิงหรือคำถามที่ทำให้ผู้อ่านต้องเก็บไปคิด (เช่น ถ้าเราไม่ดูแลสิ่งแวดล้อม แล้วใครจะทำ)
    • จบบทบรรณาธิการด้วยหมัดเด็ด บางคนอ่านจะอ่านบทบรรณาธิการแค่ผ่านๆ แต่ทั้งหมดทั้งมวลแล้วคือหลังจากที่คนอ่านอ่านบทบรรณาธิการของคุณจบ เขาควรจะรู้สึกว่าตัวเองได้รู้อะไรเพิ่มเติมและทำอะไรบางอย่างกับประเด็นนี้ต่อไป
  7. งานเขียนที่ดีจะไม่มีทางดีได้เลยถ้าคนอ่านจะต้องมาปวดหัวกับตัวสะกด หลักภาษา และการใช้เครื่องหมายวรรคตอนผิด ให้คนในทีมช่วยตรวจทานงานของคุณ สองหัวย่อมดีกว่าหัวเดียวอยู่แล้ว
    • ถ้าคุณทำงานในฐานะคนในองค์กร คุณต้องไม่บิดเบือนมุมมองขององค์กร ให้คนในองค์กรอ่านงานของคุณเพื่อให้แน่ใจว่าทุกคน (หรืออย่างน้อยที่สุดคือคนส่วนใหญ่) สนับสนุนข้อโต้แย้งที่คุณกำลังจะนำเสนอสู่สาธาณะ ซึ่งพวกเขาก็อาจจะตั้งคำถามหรือเสนอแนวความคิดที่คุณอาจจะหลุดไปหรือไม่ได้ลงรายละเอียดได้ทันที
    โฆษณา
  • อย่าใช้คำพูดที่พูดกันบ่อยแล้ว เพราะมันจะทำให้มุมมองของคุณฟังดูซ้ำซากและคนอ่านก็จะไม่สนใจ นำเสนอมุมมองให้สดใหม่และแจ่มแจ้งที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • เลือกหัวเรื่องที่ฟังแล้วฉงน คนอ่านหลายคนตัดสินว่าบทความนั้นน่าอ่านหรือไม่จากชื่อเรื่องแค่ไม่กี่คำอย่างเดียว เพราะฉะนั้นชื่อเรื่องจะต้องชัดแต่คมคาย

คำเตือน

  • อย่าใช้คำว่า "ฉัน" หรือ "ผม" เพราะบทความนี้ไม่ได้เป็นความคิดเห็นของคุณคนเดียว
  • อย่าเจาะจงหรือกล่าวโทษตัวบุคคล แต่ให้เจาะจงไปเลยว่าฝั่งตรงข้ามคือกลุ่มคนหรือความเชื่อชุดไหน
  • อย่าใช้คำพูดหยาบคายหรือใส่ร้ายป้ายสี เพราะการหมิ่นประมาทมีความผิดทางอาญาร้ายแรง
  • อย่าคัดลอกผลงานของคนอื่นเด็ดขาด
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 8,309 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา