ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
ยิ่งคุณรู้ว่าจะต้องเจออะไรบ้างจากการเข้าตรวจภายในมากเท่าไหร คุณก็จะยิ่งรู้สึกเป็นกังวลน้อยลง
ขั้นตอน
-
นัดวันเวลา. การนัดหมายตามปกติควรจะนัดในช่วงเวลาที่ไม่มีประจำเดือน แพทย์จะไม่สามารถทำการตรวจได้อย่างสมบูรณ์แบบหากคุณมีประจำเดือนมาในวันนัดหมายพอดี [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- หากคุณมีปัญหาที่เร่งด่วน แจ้งให้ฝ่ายเวชทะเบียนทราบ ทำการนัดวันเวลาแรกที่ยังว่าง และดำเนินการถามหาการช่วยเหลือทางแพทย์ตามที่คุณต้องการ
- ถ้านี่เป็นการเข้าตรวจภายในเป็นครั้งแรก จงบอกให้ผู้ที่ทำตารางรับนัดแก่คุณทราบด้วย ฝ่ายเวชทะเบียนอาจเปลี่ยนแปลงการนัดเพื่อเริ่มประวัติการรักษาของคุณใหม่ และยังอำนวยความสะดวกเป็นพิเศษสำหรับหญิงสาวที่จะต้องเข้าตรวจเป็นหนแรก [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- โปรดสังเกตว่าการตรวจภายในแบบที่เป็นกิจวัตรประจำนั้นทำได้โดยแพทย์ทั่วไป (และปกติก็จะเป็นเช่นนั้น) ไม่จำเป็นต้องพบนรีแพทย์ (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน) แต่อย่างใด เว้นแต่ว่าแพทย์ทั่วไปสันนิษฐานว่าอาจมีปัญหาร้ายแรงใดที่จำต้องใช้ผู้ที่ผ่านการฝึกรักษาในระดับสูงกว่ามาตรวจ
- คำแนะนำให้คุณเข้าตรวจภายในครั้งแรกในช่วงอายุยี่สิบต้นๆ หรือภายในสามปีของการมีเพศสัมพันธ์เป็นครั้งแรก (ขึ้นอยู่กับว่าอย่างใดมาก่อน) คำแนะนำนี้แตกต่างกันไปตามแต่ละสถานที่เนื่องจากมันเป็นแค่แนวทางคร่าวๆ ฉะนั้นหากเกิดสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์ประจำตัวเมื่ออายุถึงเกณฑ์ที่สมควรเข้ารับการตรวจภายในครั้งแรก
- พึงตระหนักว่าหญิงสาวที่มีเพศสัมพันธ์บ่อย หรือมีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือยังไม่มีประจำเดือนเมื่อถึงอายุ 16 ปี ควรจะเข้ารับการตรวจภายในกับแพทย์เป็นกิจวัตรประจำ [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
แช่หรืออาบน้ำอย่างที่เคยทำตามปกติ. ให้ลงแช่น้ำหรืออาบน้ำภายในเวลา 24 ชั่วโมงก่อนเวลานัด และหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ตามปกติคุณไม่ได้ใช้ [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ภายใน 24 ชั่วโมงก่อนการตรวจ อาการระคายเคืองจากการมีเพศสัมพันธ์อาจมีผลทำให้ยากที่จะวินิจฉัยผลการตรวจได้ [5] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ดูแลสำหรับสุภาพสตรีก่อนการตรวจ อย่าฉีดหรือใช้ผลิตภัณฑ์ขจัดกลิ่นกาย สเปรย์ หรือครีมภายใน 24 ชั่วโมงก่อนการตรวจ [6] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- แต่งกายให้เหมาะสม จำไว้ว่าคุณจะต้องถอดเสื้อผ้าออก พยายามหลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่ถอดออกลำบาก
-
พาเพื่อนไปด้วย. ถ้าทำให้คุณสบายใจขึ้น ก็พาญาติสนิท อย่างแม่หรือพี่สาว หรือเพื่อนสนิทไปด้วย [7] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ญาติหรือเพื่อนสามารถรอตรงหน้าห้องตรวจ หรือเข้าไปในห้องพร้อมกับคุณได้
-
เตรียมตัวตอบคำถาม. นี่คือโอกาสที่จะสอบถามทุกอย่างในเรื่องสุขภาพทางด้านเพศหรือการตั้งครรภ์ คำถามครอบคลุมตั้งแต่การคุมกำเนิด การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และสิ่งที่คาดหวังในอนาคต [8] X แหล่งข้อมูลอ้างอิงโฆษณา
-
เตรียมตัวเจอคำถามเกี่ยวกับประวัติการรักษาโดยทั่วไปของคุณ. ตอบคำถามทั้งหมดอย่างครบถ้วนและจริงใจ แพทย์จำต้องรับทราบข้อมูลมากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อรักษาปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างได้ผล และร่วมมือกับคุณในการป้องกันความยุ่งยากในอนาคต [9] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- โรงพยาบาลหรือคลินิกอาจให้คุณตอบคำถามโดยการกรอกแบบสอบถาม ในขณะที่บางแห่งอาจสอบถามตัวต่อตัว
- เตรียมตัวที่จะพูดคุยเรื่องประวัติทางเพศ แพทย์จำต้องทราบว่าคุณมีกิจกรรมทางเพศบ่อยไหม เขาอาจถามปัญหาหน้าอก ท้อง อวัยวะเพศ หรือปัญหาทางเพศที่คุณไม่คิดว่ามันปกติ นั่นรวมถึงการถูกหาผลประโยชน์ทางเพศ หรือถูกล่วงละเมิดทางเพศ [10] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- แพทย์อาจถามถึงการใช้อุปกรณ์คุมกำเนิดที่ผ่านมาหรือที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
-
เตรียมตอบคำถามเกี่ยวกับประจำเดือน. คุณต้องสามารถบอกพยาบาลหรือแพทย์ทราบถึงวันแรกที่มีประจำเดือนครั้งล่าสุด และอายุตอนที่มีประจำเดือนครั้งแรก พวกเขายังอาจถามถึงอายุตอนที่หน้าอกของคุณเริ่มขยาย [11] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- พวกเขาจะถามว่าประจำเดือนคุณมาปกติหรือเปล่า เช่น ทุก 28 วัน ส่วนใหญ่จะมากี่วัน และคุณมีปัญหาอะไรไหม เช่นปวดท้องอย่างรุนแรงตอนมีประจำเดือน [12] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- พวกเขาจะถามว่าคุณมีระยะที่เลือดออกกระปริดกระปรอยหรือเลือดไหลท่วมในขณะมีประจำเดือน พวกเขาจะถามว่าเลือดไหลมากแค่ไหน คุณสามารถตอบคำถามนี้ได้โดยการบอกว่าตัวเองต้องใช้ผ้าอนามัยกี่แผ่น โดยเฉพาะสำหรับเวลา 48 ชั่วโมงแรกของการมีประจำเดือน [13] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
เตรียมให้ข้อมูลถึงปัญหาที่คุณมี. นี่อาจรวมถึงการมีสิ่งผิดปกติไหลออกมาจากช่องคลอด มีกลิ่นเหม็น คันบริเวณอวัยวะเพศ รู้สึกปวดหรือมวนท้องในบริเวณท้องหรืออวัยวะเพศ รู้สึกปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ และมีความเปลี่ยนแปลง อาการปวด หรือปัญหากับทรวงอกหรือไม่ [14] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- แพทย์อาจเลือกที่จะสั่งการตรวจ STI (การติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์) สำหรับคุณได้ถ้าหากคุณหรือแพทย์เห็นว่าจำเป็น การตรวจปัสสาวะสามารถหาโรคหนองในเทียมและ/หรือหนองในได้ และการตรวจเลือดสำหรับ HIV, เริม, และ/หรือซิฟิลิส
- การเข้าตรวจ STI นั้นไม่มีอันตรายแต่อย่างใดถ้าคุณเป็นกังวล เพราะมันมีการรักษาที่มีประสิทธิภาพหากคุณติดเชื้อจริง และการรักษาแต่เนิ่นๆ แทนที่จะปล่อยล่วงไปจะช่วยหลีกเลี่ยงความยุ่งยากในระยะยาว เช่น การรักษาโรคหนองในและ/หรือหนองในเทียมตั้งแต่ระยะแรกจะป้องกันไม่ให้เกิดพัฒนาเป็นโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบ (pelvic inflammatory disease – PID) ในระยะยาวได้ ซึ่งจะเกิดเมื่อเชื้อนั้นฝังตัวนานจนนำไปสู่ปัญหาอย่างการตกไข่หรืออาการปวดอุ้งเชิงกรานเรื้อรังได้
-
บอกแพทย์หากคุณคิดว่าตนเองกำลังตั้งครรภ์. การตรวจปัสสาวะหรือผลแล็บจะช่วยยืนยันการตั้งครรภ์ได้ ถ้าท้องขึ้นมาจริง การนัดหมายกับแพทย์อาจเพิ่มขั้นตอนการฝากครรภ์ไปจนถึงตอนคลอดโฆษณา
-
สอบถามแพทย์ให้อธิบายกระบวนการ. การตรวจบางส่วนอาจชวนให้รู้สึกกระอักกระอ่วนใจ การพูดคุยกับแพทย์ระหว่างตรวจจะช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายขึ้น ขอร้องให้แพทย์ได้อธิบายสิ่งที่จะทำในระหว่างที่ทำอยู่ [15] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- หากคุณได้รับการตรวจโดยแพทย์ผู้ชาย พยาบาลที่เป็นผู้หญิงจะอยู่กับคุณในระหว่างการตรวจตลอดเวลา หากไม่มีใครอยู่ร่วมห้องกับคุณ ให้เอ่ยปากขอมีพยาบาลสังเกตการณ์
- ตอนแรกจะเป็นการตรวจภายนอกก่อน แล้วค่อยไปตรวจภายใน บริเวณภายนอกที่จะถูกตรวจได้แก่ คลิตอริส แคม ปากช่องคลอด และรูทวาร
- การตรวจภายในจะรวมถึงการใช้เครื่องถ่างเพื่อตรวจเยื่อหุ้มช่องคลอด ปากมดลูก การตรวจแปปสเมียร์ และเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อถ้าจำเป็น การตรวจแบบดิจิตอลจะใช้เพื่อตรวจมดลูกกับรังไข่ [16] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- การตรวจทั้งหมดใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที [17] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ถอดเสื้อผ้า. หลังจากการตรวจตามกิจวัตรกับการสอบถามเสร็จสิ้นแล้ว คุณจะได้รับเสื้อคลุมและให้ถอดเสื้อผ้าออก ให้ถอดทุกอย่างออก รวมไปถึงยกทรงกับกางเกงชั้นใน เว้นแต่พยาบาลจะบอกให้ทำอีกแบบ [18] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
สวมเสื้อคลุม. เสื้อคลุมที่ใช้ในการตรวจภายในจะผ่าด้านหน้า เพื่อให้แพทย์สามารถตรวจสอบเต้านมคุณได้ [19] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ส่วนใหญ่แล้ว เสื้อคลุมที่ใช้จะทำจากกระดาษ อาจมีกระดาษอีกชิ้นปิดขึ้นมาถึงบริเวณหน้าตัก
-
ตรวจเต้านม. ตอนแรกจะเป็นการตรวจเต้านม แพทย์จะสัมผัสเต้านมและขยับมือวนเป็นวงกลมหรือลากตรงๆ
- แพทย์จะเช็คเนื้อเต้านมที่อยู่ขึ้นไปถึงบริเวณรักแร้ แพทย์ยังอาจตรวจดูหัวนมว่ามีความผิดปกติใดหรือไม่
- การตรวจเต้านมเพื่อหาดูว่ามีก้อนหรือความผิดปกติใดบ้าง หากคุณรู้สึกไม่สะดวกใจในระหว่างกระบวนการเหล่านี้ก็ควรจะบอกแพทย์ [20] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
ทำการตรวจภายนอก. การตรวจภายนอกจะช่วยให้แพทย์ได้ตรวจหาสัญญาณของอาการระคายเคือง การติดเชื้อ หรือความผิดปกติในเนื้อเยื่อรอบช่องคลอดกับท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นท่อที่นำส่งน้ำปัสสาวะมาจากกระเพาะปัสสาวะ [23] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- แพทย์จะตรวจสอบบริเวณด้วยสายตา และอาจสัมผัสเนื้อเยื่อในบริเวณนี้เพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียดขึ้น เช่น หากแคมของคุณมีสีแดงหรือบวม แพทย์อาจแหวกแคมออกเพื่อตรวจหาความผิดปกติ
-
เตรียมพบแรงกดจากเครื่องถ่าง. ต่อจากนั้น แพทย์จะสอดอุปกรณ์ที่เรียกว่าเครื่องถ่าง เครื่องถ่างอาจทำจากพลาสติกหรือโลหะก็ได้ เครื่องถ่างโลหะอาจทำให้รู้สึกเย็นวาบตอนมันถูกสอดเข้าไป
- มันจะถูกสอดเข้าไปในช่องคลอด จากนั้นจะเปิดปากช่องคลอดให้แพทย์ได้ตรวจเยื่อหุ้มช่องคลอดกับปากมดลูก [24] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- นี่จะทำให้รู้สึกถึงแรงกดแต่ไม่ควรรู้สึกเจ็บ ถ้าคุณรู้สึกเจ็บ ให้บอกแพทย์ เครื่องถ่างนั้นมีหลายขนาด ดังนั้นถ้าอันแรกทำให้เจ็บก็อาจลองเปลี่ยนไปใช้ขนาดอื่นได้ [25] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
รู้ว่าการตรวจแปปเทสต์ (Pap test) คืออะไร. หลังจากแพทย์ได้ตรวจปากมดลูกกับเยื่อหุ้มช่องคลอดแล้ว เขาจะสอดแปรงเล็กๆ ผ่านทางช่องในเครื่องถ่างเพื่อขูดเอาเซลล์จากปากมดลูกออกไป นี่เรียกว่าแปปเทสต์หรือการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และไม่แนะนำให้ทำก่อนอายุ 21 ปี [26] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ตัวอย่างเซลล์จะถูกส่งไปห้องปฏิบัติการและตรวจหาเซลล์ใดๆ ที่ดูผิดปกติหรือมีเชื้อมะเร็งผู้หญิงส่วนใหญ่จะไม่พบความผิดปกติในการทำแปปเทสต์ [27] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ปกติแล้ว คุณจะได้รับผลตรวจแปปสเมียร์ภายใน 10 ถึง 14 วัน
- ถ้าคุณมีปัญหาใดๆ แพทย์อาจต้องการตัวอย่างเพิ่มเติมเพื่อส่งให้ห้องปฏิบัติการได้ตรวจสอบ [28] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
-
พูดคุยกับแพทย์ก่อนลา. เมื่อการตรวจเสร็จสิ้น คุณจะถอดเสื้อคลุมแล้วแต่งตัว พยาบาลจะนำคุณไปยังห้องของแพทย์หรือส่วนตรวจรักษา หรือแพทย์อาจชี้แจงการตรวจคร่าวๆ ให้ฟังในห้อง
- แพทย์จะแจ้งผลตรวจแก่คุณ และตอบคำถามที่ยังค้างคาใจ เขาจะเขียนใบสั่งจ่ายอะไรก็แล้วแต่ที่คุณจำเป็น เช่น ใบสั่งจ่ายยาคุมกำเนิด
โฆษณา
-
สอบถามแพทย์ถึงการนัดหมายคราวต่อไป. การตรวจสอบอย่างแปปสเมียร์นั้นมักทำทุกๆ สองปี อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้หญิงที่เพิ่งเริ่มตรวจใหม่ๆ แนะนำว่าให้ทำแปปเทสต์ทุกปีเพื่อสร้างพื้นฐานของสุขภาพที่ดี สอบถามแพทย์ว่าคุณควรกลับมาตรวจอีกทีเมื่อไหร่
-
มาพบแพทย์เร็วขึ้นถ้าคุณมีปัญหา. ปัญหาอย่างอาการปวดท้อง มีของเหลวไหลออกมาจากช่องคลอด มีอาการแสบ มีกลิ่นแรงหรือเหม็น ปวดบิดในระหว่างมีประจำเดือนอย่างมาก หรือประจำเดือนออกมากระปริดกระปรอย ควรจะทำการนัดหมายทันที [33] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- คุณยังควรมาพบแพทย์เร็วขึ้นถ้าคุณมีคำถามเรื่องการตั้งครรภ์เกิดขึ้นมา เช่น อยากจะเริ่มทานยาคุมกำเนิด คำถามเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยและ/หรือการติดเชื้อทางการมีเพศสัมพันธ์ หรือคำถามเกี่ยวเนื่องกับการตั้งครรภ์ทั้งหลาย
- เมื่อคุณเริ่มมีกิจกรรมทางเพศ แพทย์สามารถช่วยคุณเลือกชนิดของการคุมกำเนิดที่เหมาะกับคุณที่สุดได้ มันอาจรวมถึงอุปกรณ์ที่ต้องใช้ใบสั่งจ่ายจากแพทย์ซึ่งเขาทำให้ได้ และยังช่วยสอยเรื่องวิธีการใช้อีก [34] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- การคุมกำเนิดรูปแบบต่างๆ โดยทั่วไปก็เช่น การทานเม็ดยาคุมกำเนิด ยาคุมกำเนิดชนิดแปะผิวหนัง ชนิดฉีด ถุงยางอนามัย อุปกรณ์ที่ใช้กับช่องคลอดอย่างฝาครอบปากมดลูกหรือห่วงอนามัย (IUD) [35] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- จำไว้ว่านรีแพทย์นั้นได้รับการฝึกมาให้สามารถบอกข้อมูลกับผู้หญิงถึงทางเลือกที่ดีที่สุดของการมีบุตร ฉะนั้นแพทย์จะเต็มใจพบคุณพร้อมให้คำแนะนำแม้มันจะเป็นเพียงคำถามด้านเพศสัมพันธ์ที่คุณมีก็ตาม
-
ทำการตรวจเต้านมด้วยตัวคุณเอง. แพทย์จะแสดงให้คุณดูวิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองเพื่อหาก้อนเนื้อที่อาจเป็นมะเร็งหรือที่ชวนกังวล ให้ตรวจเป็นประจำ พร้อมทั้งแจ้งให้แพทย์ทราบทันทีที่คุณคิดว่าคลำเจอก้อนเนื้อนูนภายในเต้านม [36] X แหล่งข้อมูลอ้างอิงโฆษณา
เคล็ดลับ
- จริงใจในการตอบคำถามแพทย์ แม้จะรู้สึกอายแค่ไหน ข้อมูลที่คุณบอกว่ารู้สึกเจ็บหรือกวนใจตรงไหน รวมไปถึงกิจกรรมทางเพศ จะช่วยให้แพทย์หาวิธีการรักษาที่ดีที่สุดแก่คุณได้
- พึงตระหนักว่าแพทย์ที่รักษาอาจเป็นผู้ชาย แต่ต้องรู้ด้วยว่าพวกเขาทำการตรวจเช่นนี้ตลอดเวลา นางพยาบาลจะอยู่ในห้องตรวจพร้อมคุณ หากคุณไม่ต้องการจะให้แพทย์ผู้ชายตรวจจริงๆ ให้แจ้งล่วงหน้าตอนนัดเวลา
- อย่ากลัวที่จะเอ่ยปากถาม นี่คือเวลาของคุณกับแพทย์ ฉะนั้นจงเอาชนะความเขินอายหรือไม่กล้า แล้วถามในสิ่งที่คุณอยากทราบ
- การตรวจเหล่านี้อาจทำให้เกิดเลือดไหลเป็นบางจุด จึงแนะนำให้พกผ้าอนามัยหรืออุปกรณ์คล้ายคลึงกันติดไปด้วย
โฆษณา
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ https://www.geneseo.edu/health/first_gyno_exam
- ↑ http://youngwomenshealth.org/2013/08/22/pelvic-exam/
- ↑ http://youngwomenshealth.org/2013/08/22/pelvic-exam/
- ↑ http://youngwomenshealth.org/2013/08/22/pelvic-exam/
- ↑ http://www.soc.ucsb.edu/sexinfo/article/annual-gynecological-exams-what-expect
- ↑ http://youngwomenshealth.org/2013/08/22/pelvic-exam/
- ↑ http://youngwomenshealth.org/2013/08/22/pelvic-#exam/
- ↑ https://www.geneseo.edu/health/first_gyno_exam
- ↑ http://youngwomenshealth.org/2013/08/22/pelvic-exam/
- ↑ http://youngwomenshealth.org/2013/08/22/pelvic-exam/
- ↑ http://youngwomenshealth.org/2013/08/22/pelvic-exam/
- ↑ http://youngwomenshealth.org/2013/08/22/pelvic-exam/
- ↑ http://youngwomenshealth.org/2013/08/22/pelvic-exam/
- ↑ http://youngwomenshealth.org/2013/08/22/pelvic-exam/
- ↑ http://youngwomenshealth.org/2013/08/22/pelvic-exam/
- ↑ https://www.geneseo.edu/health/first_gyno_exam
- ↑ https://www.geneseo.edu/health/first_gyno_exam
- ↑ http://youngwomenshealth.org/2013/08/22/pelvic-exam/
- ↑ http://youngwomenshealth.org/2013/08/22/pelvic-exam/
- ↑ http://www.soc.ucsb.edu/sexinfo/article/annual-gynecological-exams-what-expect
- ↑ http://youngwomenshealth.org/2013/08/22/pelvic-exam/
- ↑ http://youngwomenshealth.org/2013/08/22/pelvic-exam/
- ↑ http://www.osteopathic.org/osteopathic-health/about-your-health/health-conditions-library/childrens-health/Pages/first-gynecological-visit.aspx
- ↑ http://www.osteopathic.org/osteopathic-health/about-your-health/health-conditions-library/childrens-health/Pages/first-gynecological-visit.aspx
- ↑ http://www.osteopathic.org/osteopathic-health/about-your-health/health-conditions-library/childrens-health/Pages/first-gynecological-visit.aspx
- ↑ http://www.osteopathic.org/osteopathic-health/about-your-health/health-conditions-library/childrens-health/Pages/first-gynecological-visit.aspx
- ↑ http://www.osteopathic.org/osteopathic-health/about-your-health/health-conditions-library/childrens-health/Pages/first-gynecological-visit.aspx
- ↑ http://www.osteopathic.org/osteopathic-health/about-your-health/health-conditions-library/childrens-health/Pages/first-gynecological-visit.aspx
- ↑ http://www.osteopathic.org/osteopathic-health/about-your-health/health-conditions-library/childrens-health/Pages/first-gynecological-visit.aspx
- ↑ http://www.osteopathic.org/osteopathic-health/about-your-health/health-conditions-library/childrens-health/Pages/first-gynecological-visit.aspx
- ↑ http://youngwomenshealth.org/2013/08/22/pelvic-exam/
- ↑ http://www.ahchealthenews.com/2013/04/16/do-you-really-need-a-gynecologist/
- ↑ http://youngwomenshealth.org/2013/08/22/pelvic-exam/
- ↑ http://youngwomenshealth.org/2013/08/22/pelvic-exam/
- ↑ http://www.plannedparenthood.org/learn/birth-control
- ↑ http://www.soc.ucsb.edu/sexinfo/article/annual-gynecological-exams-what-expect
เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้
มีการเข้าถึงหน้านี้ 11,392 ครั้ง
โฆษณา