ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บ่อยครั้งที่คนที่ทำตัวน่ารำคาญไม่รู้ว่าคนอื่นรู้สึกต่อพฤติกรรมที่ตัวเองทำอย่างไร หากคุณรู้สึกว่าพฤติกรรมของคุณอาจสร้างความรำคาญให้คนอื่น คุณก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ต่างๆ ที่จะรบกวนอารมณ์ของคนอื่นๆ ซะ หากคุณคิดว่าพฤติกรรมเหล่านี้เป็นเรื่องรบกวน คนอื่นๆ รอบตัวคุณก็อาจจะคิดเหมือนกัน แต่ถึงอย่างไรก็จำไว้ว่าหากคนจะรักคุณ ถึงอย่างไรเขาก็รัก ดังนั้น อย่าถึงกับเปลี่ยนตัวเอง แค่พัฒนาทัศนคติและนิสัยของตัวเองเพื่อที่จะได้ไม่สร้างความรำคาญใจให้คนอื่นพอ

  1. สร้างความมั่นใจในตัวเอง . บางครั้งอาจมีคนรู้สึกว่าคุณน่ารำคาญเพราะคุณได้ทำอะไรที่คนๆ นั้นคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ เช่น แสดงออกถึงความวิตกกังวล ด่วนสรุปพฤติกรรมคนอื่น หรือประมาทเลินเล่อ คุณไม่ควรจะเปลี่ยนตัวเองเพียงเพราะคนอื่นตีความพฤติกรรมคุณผิดไป แต่ในกรณีอื่น บางทีเราก็เผลอทำตัวน่ารำคาญเพราะรู้สึกไม่มั่นใจหรือพยายามทำสิ่งใดมากเกินไป หากเป็นกรณีแบบนี้ คุณอาจต้องลองพิจารณาดูว่าทำไมคุณถึงทำสิ่งเหล่านั้นลงไปและในที่สุดคุณอาจจะได้ข้อสรุปว่าที่คุณทำไปทั้งหมดก็แค่เพื่อต้องการสร้างความประทับใจต่อคนอื่น แต่สุดท้ายแล้วความพยายามดันส่งผลร้ายต่อตัวคุณเสียเอง!
  2. หยุดทำพฤติกรรมที่ไม่เกิดประโยชน์ . เช่น คุณอาจรู้สึกว่าตัวเองมักหัวเราะมุกคนอื่นเสียงดังเกินไปทั้งๆ ที่บางทีก็ไม่เห็นมีอะไรตลก หรือคุณอาจจะรู้สึกว่าตัวเองมักมีนิสัยชอบ หัวเราะในเวลาที่ไม่เหมาะสม . คุณอาจจะเริ่มมีพฤติกรรมเหล่านี้เพราะคิดว่ายิ่งเสียงดังคนยิ่งสนใจ แต่ตอนนี้กลายเป็นว่าสิ่งนี้ดันทำให้คนที่คุณใช้เวลาด้วยรู้สึกรำคาญ ลองวิธีการอื่นโดยไม่ต้องฝืนและ เป็นตัวของตัวเอง ดู หากคนอื่นรู้สึกรำคาญเวลาที่คุณเป็นตัวของตัวเอง คุณคงต้องลองหาเพื่อนใหม่ที่ยอมรับสิ่งที่คุณเป็นแล้วล่ะ
  3. คนเราทุกคนล้วนมีพื้นที่ส่วนตัว และคุณต้องเรียนรู้ว่าพื้นที่ส่วนตัวของแต่ละคนอยู่ตรงไหนและอย่าล้ำเส้นเข้าไป พื้นที่ส่วนตัวของคนเรานั้นแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมและความรู้สึกของคนแต่ละคนนะ
    • อย่าเที่ยวเดินไปจั๊กจี้คนอื่นโดยอีกฝ่ายไม่ทันตั้งตัว จริงๆ แล้วถ้าอีกฝ่ายไม่ชอบก็อย่าไปแตะต้องตัวเขาเลยจะดีกว่า แต่ถ้าคนที่คุณเล่นด้วยเป็นเพื่อนสนิทและอีกฝ่ายก็ไม่ได้ไม่พอใจอะไรก็เล่นสนุกกันได้ แต่ถ้าไม่ได้สนิทกันก็เก็บไม้เก็บมือไว้ดีกว่านะ
    • อย่าพูดถึงคนอื่นลับหลัง โดยเฉพาะหากคุณยังไม่ได้พูดคุยถึงปัญหาต่อหน้ากับคนๆ นั้นตั้งแต่แรก เรื่องนี้เป็นเรื่องอ่อนไหวทั้งกับเพื่อนและคนสำคัญคนอื่นๆ เลยนะ
    • อย่ายัดเยียดตัวเองหรือทำตัวเป็นแขกไม่ได้รับเชิญ พยายามควบคุมอารมณ์ของตัวเองและอย่าทำตัวล้นเกินไป ให้คนอื่นได้มีพื้นที่ส่วนตัวบ้างหากฝ่ายนั้นต้องการ อย่าโทรหาคนอื่นทุกวัน จำไว้ว่า สิ่งที่น่ารำคาญขั้นสุดคือการตอแยซ้ำๆ
    • อย่าไปยุ่มย่ามกับของของคนอื่นแม้ว่าสิ่งเหล่านั้นอาจไม่ใช่ความลับอะไร เพราะเจ้าของอาจจะรู้สึกว่าถูกคุณคุกคามความเป็นส่วนตัวหากคุณไปจับต้องของในพื้นที่ส่วนตัวของคนๆ นั้น หากคุณอยากจะขอยืมอะไร ขออนุญาตก่อนและให้เจ้าของเป็นคนหยิบให้คุณเองดีกว่า
    • ยุ่งแค่เรื่องของตัวเอง. ระวังไม่เจ๋อเข้าไปในบทสนทนาและพูดอะไรประมาณว่า “คุยเรื่องอะไรกันอยู่เหรอ?” หากคุณได้ยินใครกำลังพูดเรื่องอะไรกับอีกคนและมาทันฟังแค่ท้ายประโยคก็ปล่อยเรื่องนี้ไปเถอะ
  4. รู้จักถ่อมตัว . ถึงคุณจะมีความมั่นใจแต่ไม่จำเป็นว่าคุณต้องแสดงออกว่าตัวเองดีเด่นกว่าคนอื่น อย่าทำหรือพูดอะไรที่จะทำให้คุณดูเป็นคนเย่อหยิ่ง เช่น อวดทรัพย์สินหรือความสำเร็จของตัวเอง
    • อย่าไปเที่ยวแก้แกรมม่าหรือคำที่สะกดผิดหรือความผิดพลาดของคนอื่นเพราะคนส่วนใหญ่ไม่ชอบให้ใครมาแก้หรอก
    • อย่าเที่ยวไปบอกคนนั้คนนี้ว่าความเชื่อของอีกฝ่ายเป็นเรื่องผิด พูดกับอีกฝ่ายดีๆ อย่างสุภาพว่าคุณไม่เห็นด้วย จากนั้นก็แสดงจุดยืนทางความคิดที่ชัดเจน ไม่มีอะไรผิดถูกตราบใดที่คุณไม่ได้ทำร้ายอีกฝ่าย ความเห็นของคุณอาจต่างไปแต่พยายามชี้แจงให้อีกฝ่ายเห็นว่าความเห็นของคุณเป็นเรื่องที่คนอื่นๆ ก็ยอมรับเช่นกัน
    • อย่าบ่นตลอดเวลา จำไว้ว่าโลกไม่ได้หมุนรอบตัวคุณ หากคุณเอาแต่บ่น คนอื่นๆ ก็จะไม่อยากอยู่ใกล้คุณ เรื่องนี้รวมไปถึงการดูถูกตัวเองซึ่งไม่นับว่าเป็นความถ่อมตัวแต่เป็นแค่ภาวะหมกมุ่นเกี่ยวกับตัวเองอีกประเภทต่างหาก การรู้สึกแย่นานๆ ครั้งและบอกเล่าถึงความไม่พอใจเป็นเรื่องปกติ แต่คุณต้องเรียนรู้ที่จะปล่อยวางและก้าวต่อไป ลองอ่านบทความเรื่องวิธีการ มองโลกในแง่ดี ดูสิ
    • ระมัดระวังว่าคนอื่นๆ จะรู้สึกต่อสิ่งที่คุณพูดอย่างไร แม้ว่าสิ่งที่คุณพูดจะผ่านการคิดมาดีแล้วและเป็นเรื่องสำคัญ แต่น้ำเสียงของคุณอาจจะแสดงออกถึงความไม่พอใจ โมโห ทัศนคติที่จองหอง หรือฟังดูแล้วทะลึ่งทะเล้นหรือยโสโอหัง หรืออาจจะสร้างความรู้สึกแง่ลบอื่นๆ ที่ทำให้คนฟังตีความผิดและทำให้ลงท้ายด้วยการไม่ชอบคุณไปเลยก็ได้
  5. การสนทนานั้นเกิดจากคนสองฝ่าย หากคุณเอาแต่พูด อีกฝ่ายอาจจะรู้สึกรำคาญและเลิกคุยกับคุณไปเลยก็ได้ กฎเหล็กก็คือว่าคุณต้องรู้จักฟังมากกว่าพูด คิดก่อนพูด หลีกเลี่ยงไม่เข้าไปแทรกกลางตอนใครกำลังพูดแม้ว่าความคิดจะแล่นเข้ามาในหัวจนรู้สึกว่าต้องพูดอะไรออกไป จำคำคมอันโด่งดังนี้ไว้ว่า “เงียบไว้ดีกว่าพูดออกมาแล้วดูโง่ เงียบไว้ดีกว่าพูดออกมาแล้วทำให้คนอ่านคุณจนทะลุปรุโปร่ง”
  6. ระมัดระวังหากคุณยืนคุยอยู่กับคนอื่นอยู่ตรงทางที่จะเดินไปประตู หรือยืนขวางทางเดินของคนอื่น (ในร้านค้า ห้างสรรพสินค้า หรือที่สนามบิน) หรือหากลูกของคุณโหวกเหวกโวยวายในที่สาธารณะ อย่าร้องเพลงเสียงดังหรือเล่นเพลงที่อาจจะสร้างความรำคาญแก่คนอื่น คิดให้ดีก่อนว่าสิ่งที่คุณทำนั้นจะรบกวนคนรอบกายหรือไม่ แล้วคนอื่นๆ ก็จะ ให้เกียรติ คุณเอง
  7. ทำตัวสุภาพ และรักษาความสะอาด . อย่ามองทะลุเสื้อคนอื่น อย่าผายลมหรือพูดเรื่องท้องไส้ปั่นป่วนในที่สาธารณะ ยกศอกขึ้นบังจมูกและปากเมื่อคุณจามหรือไอ แปรงหรือขัดฟันหลังรับประทานอาหารเพื่อที่กลิ่นปากจะได้ไม่รบกวนคนอื่น อาบน้ำทุกวันและใส่เสื้อผ้าที่สะอาดสะอ้านทุกวันด้วยล่ะ
  8. เรียนรู้ที่จะอ่านการแสดงออกทางสีหน้าและภาษากายของคนอื่ . ใส่ใจกับการแสดงออกทางสีหน้าและภาษากายของคนรอบตัวและฝึกฝนจนสามารถบอกได้ทันทีว่าสิ่งที่คุณทำกำลังสร้างความรำคาญให้คนอื่นอยู่หรือเปล่า
  9. หากมีใครกำลังประสบปัญหา อย่าไปวอแวใกล้ๆ เพราะคิดว่าอีกฝ่ายอาจจะรู้สึกดีขึ้น (เว้นเสียแต่ว่าอีกฝ่ายร้องขอ) หากคุณมีวันแย่ๆ คุณก็คงไม่อยากให้คนอื่นมารบกวนและพยายามปลอบใจอย่างไร้ประโยชน์หรอกใช่ไหม ถามอีกฝ่ายว่าต้องการให้คุณอยู่ด้วยไหม และหากอีกฝ่ายบอกว่า “ไม่” ก็แปลว่า “ไม่” พูดถึงเรื่องที่ให้อีกฝ่ายไม่สบายใจเฉพาะเมื่ออีกฝ่ายเป็นคนเริ่มพูดถึงก่อนเท่านั้น
  10. การทำอะไรซ้ำไปซ้ำมา (เช่น ทำเสียงไม่ชวนฟัง หรือดึงผมคนอื่น ฯลฯ) ไม่ใช่วิธีการ “เรียกร้องความสนใจ” ที่เหมาะสมหรอกนะ หากอีกฝ่ายบอกให้ “หยุด” ก็แปลว่า “หยุด” หากคุณยังดื้อทำต่อโดยไม่หยุด สุดท้ายแล้วอาจจะเสียเพื่อนได้เลยนะ
    • อย่าเลียนแบบพฤติกรรมของคนอื่น เมื่อคุณเลียนแบบคนอื่น คนๆ นั้นอาจจะเกิดรำคาญและเดินหนี หยุดเลียนแบบเพื่อนไม่อย่างนั้นคุณอาจจะเสียเพื่อนไปเลยก็ได้
    • พูดแค่ครั้งเดียว อย่าพูดอะไรซ้ำสองรอบ ไม่อย่างนั้นคนฟังอาจจะพูดกลับมาว่า "ได้ยินแล้วน่า"หรือ “โอเคน่า" และสิ่งที่คุณพูดอาจจะสร้างความรำคาญให้อีกฝ่ายเพราะพวกเขาได้ยินแล้วว่าคุณพูดว่าอะไรและไม่ได้อยากได้ยินซ้ำ
    • อย่าส่งเสียงน่ารำคาญซ้ำไปซ้ำมา หากคุณรู้สึกว่าตัวเองเคาะดินสอบนโต๊ะซ้ำไปมา เคี้ยวน้ำแข็งโดยไม่ปิดปาก กระทืบเท้ากับอะไรบางอย่างหรือทำเสียงอะไรซ้ำๆ ก็หยุดซะ
    • อย่าเถียง คนส่วนใหญ่ไม่ชอบให้ใครเถียง คุณควรแค่บอกไปว่าคุณไม่เห็นด้วยและอย่าไปตั้งตัวว่าตัวเองเป็นผู้รู้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง พวกที่ชอบทำเป็น "รู้ดีทุกอย่าง" น่ะสร้างความรำคาญให้คนอื่นจะตายไป คุณสามารถถกเถียงหรือแลกเปลี่ยนความเห็นกับคนอื่นๆ ในหัวข้อที่เหมาะสมได้หากอีกฝ่ายพร้อมที่จะร่วมวงด้วย แต่อย่าบังคับให้ใครต้องมาถกเถียงกับคุณ หากมีใครบอกคุณว่าไม่อยากพูดถึงเรื่องใดก็ปล่อยตามนั้นเถอะ
  11. เมื่อคุณบอกตัวเองรู้ว่าทำไมใครถึงทำอะไรลงไปโดยไม่ได้ใช้เวลาหาเหตุผลก็เหมือนกับการที่คุณบอกว่าตัวเองสามารถเข้าถึงความรู้อันเป็นเรื่องลี้ลับหรือความจริงที่มนุษย์คนอื่นใดไม่สามารถล่วงรู้ได้นั่นแหละ หรือถ้าให้พูดง่ายๆ ก็คือคุณคิดไปเองว่าตัวเองมีดีและสามารถตัดสินคนอื่นได้ พยายามสังเกตพฤติกรรมของคนอื่นดูก่อนหรือหากจำเป็นก็อาจจะถามอีกฝ่ายโดยพยายามไม่ให้อีกฝ่ายรู้สึกว่าโดนคุกคาม เช่น “ฉันสังเกตเห็นว่าคุณขยับตัวบ่อยมาก เป็นเพราะอะไรหรือคะ?” ยอมรับคำตอบและไม่เซ้าซี้ถามต่อ เช่น หากอีกฝ่ายตอบกลับมาว่า "ใช่ค่ะ ฉันเป็นโลกสมาธิสั้นและพยายามจะควบคุมตัวเองให้ได้มากที่สุดแต่บางทีก็ทำไม่ได้" ก็อย่าไปทำหน้าตาเหมือนไม่เชื่อหรือตอบกลับไปว่า "อะไรก็ช่างเถอะ" โดยทำทีอยากให้เรื่องจบๆ ไป อีกฝ่ายไม่ได้ขอให้คุณมาตัดสินหรือวินิจฉัยโรคให้เขาเสียหน่อย
    • อย่าให้คำแนะนำเว้นเสียแต่ว่าคุณจะประสบปัญหาเดียวกันและเข้าอกเข้าใจอีกฝ่ายจริงๆ คำแนะนำประมาณว่า “อย่างนั้นเองเหรอ แล้วคุณได้ลองใช้ยาไรทาลินดูหรือยัง?” อาจฟังดูน่ารำคาญสุดๆ สำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคสมาธิสั้น หรือถ้าจะให้แย่กว่านั้นก็เช่นคำพูดประมาณว่า “บางทีคุณคงต้องพยายามหนักขึ้นเพื่อควบคุมตัวเองแล้วล่ะ” หรือ “หลานคนที่สองของฉันก็เป็นเหมือนกัน แต่เขาลองทำหกสูงทุกวันอังคารอยู่เป็นปีแล้วก็สูดกลิ่นบลูเบอรี่ผ่านหลอด แล้วตอนนี้เขาก็หายดีเลยล่ะ”
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าพยายามมากเกินไปที่จะเป็นเพื่อนกับคนที่ไม่ต้องการคุณ
  • อย่าส่งเสียงดังและสร้างความมรำคาญแก่ผู้อื่น
  • สิ่งหนึ่งที่มักสร้างความรำคาญให้คนอื่นคือการที่คุณเกาะติดแจและไม่ยอมห่างไปไหนเลย คบเพื่อนเยอะๆ เพื่อที่คุณจะได้ใช้เวลากับคนหลายๆ คนได้และไม่ถูกมองว่าเกาะติดคนใดคนหนึ่งซึ่งเป็นพฤติกรรมที่น่ำคาญ ให้พื้นที่ส่วนตัวแก่คนอื่นบ้างและอย่าติดหนึบกับอีกฝ่ายตลอดเวลา
  • หากคุณไม่แน่ใจว่าตัวเองกำลังทำตัวน่ารำคาญหรือเปล่า ลองถามคนที่คุณไว้ใจและพร้อมจะให้ความเห็นที่ซื่อตรงและก่อประโยชน์แก่คุณดู เตรียมใจพร้อมรับคำวิจารณ์และพร้อมนำคำวิจารณ์กลับไปแก้ไขอย่างสง่างาม คนๆ นั้นอาจจะไม่พร้อมที่จะพูดทุกอย่างกับคุณจนหมดเปลือก ดังนั้น ให้เวลาอีกฝ่ายโดยการอธิบายสถานการณ์ที่คุณกำลังเผชิญรวมไปถึงความคิดและความรู้สึกของคุณและแสดงให้อีกฝ่ายเห็นว่าคุณพร้อมรับคำวิจารณ์ที่ก่อประโยชน์
  • ควบคุมน้ำเสียงของคุณให้ดี อย่าตะโกนหรือพูดเสียงดังใส่คนอื่นหรือพยายามพูดให้ดังกว่าเท่าที่จะสามารถดังได้ ฟังสิ่งที่คนๆ นั้นพูดแล้วค่อยพูดทีหลัง
  • หากสิ่งที่ทำให้คนอื่นรำคาญเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับคุณเช่น เป็นความเชื่อทางศาสนาหรือความเห็นทางการเมือง อย่าละทิ้งความเชื่อไปเพียงเพราะต้องการกลมกลืนกับคนอื่น อย่าปฏิเสธสิ่งที่คุณเชื่อหรือรู้สึก แต่เลือกที่จะแสดงออกมาอย่างเหมาะสม หากคุณเป็นชาวคริสต์ คุณอาจคบหากับคนที่มีความเชื่อเหมือนกันและออกไปโบสถ์หรือทำกิจกรรมทางศาสนาร่วมกันเพื่อที่คุณจะยังสามารถรักษาความเชื่อของตัวเองไว้ได้
  • บอกให้เพื่อนและคนรักของคุณรู้ว่าสามารถพูดคุยถึงความผิดพลาดของคุณได้ตรงๆ สนับสนุนให้คนอื่นรู้จักกล้าพูดว่า “ขอเวลาอยู่คนเดียว” หรือ “หยุดวอแวสักที”หรือ “ฉันรักคุณนะ แต่ใจเย็นๆ หน่อยเถอะ” เราควรกล้าพูดคุยกันถึงปัญหาก่อนจะเกิดปัญหาจริงๆ นะ
  • หากเพื่อนหรือคนในครอบครัวของคุณเริ่มปลีกตัวออกจากคุณ อาจเป็นไปได้ว่าถึงเวลาที่คุณต้องเรียนรู้ที่จะพัฒนาทักษะทางสังคมและการสร้างพื้นที่ส่วนตัวกับนักปรึกษามืออาชีพหรือเข้าร่วมกลุ่มบำบัด การสร้างโลกส่วนตัวที่เหมาะสมนั้นเกิดจากประสบการณ์ในอดีตที่เราไม่สามารถควบคุมได้ การเรียนรู้ที่จะยอมรับประสบการณ์เหล่านั้นอาจจะช่วยให้คุณรู้สึกปลอดภัยที่จะสร้างพื้นที่สวนตัวและเคารพพื้นที่ส่วนตัวของคนอื่นก็ได้นะ
  • อย่าทำตัวเป็นคนช่างเถียง (เพราะคุณอาจจะดูเป็นคนหลงตัวเองได้) การไม่เถียงไม่ได้แปลว่าคุณไม่มีบุคลิกภาพทีน่าเชื่อถือนะ
  • กฎเหล็กก็คือ: ปฏิบัติต่อคนอื่นอย่างที่คุณอยากให้คนอื่นปฏิบัติต่อคุณ
  • ลองพิจารณาตัวเอง เช่น คุณทำให้คนอื่นรู้สึกไม่ดีและคุณไม่รู้ว่าเพราะอะไร ลองถามตัวเองดูว่า "ฉันพูดหรือทำอะไรไปนะ? เรื่องนี้เคยเกิดขึ้นมาก่อนหรือเปล่านะ? เรื่องนี้สร้างความรำคาญให้คนอื่นๆ หรือเปล่านะ?" การหาคำตอบว่าพฤติกรรมใดถูกหรือผิดนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะพฤติกรรมที่ถูกอาจจะทำให้คนรู้สึกไม่ดีได้พอๆ กับพฤติกรรมที่ผิด หากสิ่งที่คุณพูดหรือทำสร้างความไม่พอใจให้คนทั่วไปก็ลองปรับลดลงมา แต่หากสิ่งที่คุณพูดหรือทำสร้างความไม่พอใจให้กับคนเพียงคนเดียวก็ปรับลดและหลีกเลี่ยงไม่ไปใกล้คนๆ นั้นซะ
  • อย่าพูดตอนที่คนอื่นกำลังพูดอยู่
  • การรู้จักอดทนคือหนทางที่ดีที่จะทำให้คุณไม่กลายเป็นคนน่ารำคาญ ความอดทนไม่ใช่เพียงเป็นคุณสมบัติที่ดีแต่ยังดึงดูดให้คนเข้าหากอีกด้วย หากมีใครทำให้คุณรำคาญ อดทนไว้และมองข้ามไปแทนที่จะทำตัวใจร้ายหรือทำตัวน่ารำคาญกลับไป
  • อย่าชี้ข้อผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ของคนอื่นหากคุณอยากให้พวกเขาทำสิ่งใดสำเร็จ
  • หากมีคนขอให้คุณหยุดทำอะไรแล้วครั้งหนึ่ง อย่าทำซ้ำ
  • อย่าทำตัวประหลาดเวลาอยู่กับคนอื่นเพียงเพราะอยากเป็นคนดัง แค่เป็นตัวของตัวเองและถ้าคนเหล่านั้นไม่ชอบที่คุณเป็นตัวเองก็แปลว่าพวกเขาไม่ใช่เพื่อนคุณแล้วล่ะ
  • ทำตัวให้สมอายุและอย่าทำเสียงน่ารำคาญ คนอื่นจะเอือมได้ง่ายๆ เลยนะ
  • ค่อยๆ เริ่มหัดและค่อยๆ ขยับขยายไปเรื่อยๆ การเลิกทุกพฤติกรรมทันทีเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
  • อย่าทำตัวเสแสร้ง หลายคนรำคาญคนแบบนี้จริงๆ นะ
  • กฎสำคัญอีกข้อคือ: อย่าลืมให้พื้นที่ส่วนตัวกับคนอื่นและอย่าทำตัวแตะต้องไม่ได้อยู่ตลอดเวลา
  • อย่าโอ้อวดตัวเมื่อคุณคิดว่าคนเหล่านั้นไม่ชอบคุณ พูดคุยกับพวกเขาตรงๆ เพื่อหาทางออกร่วมกัน
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าด่วนปะทะหรือทำตัวไม่แคร์เมื่อมีเพื่อนบอกว่าคุณน่ารำคาญ รับฟังความเห็นของคนอื่นบ้าง
  • คนเราก็น่ารำคาญเป็นบางเวลากันทั้งนั้น และบางคนก็รีบด่วนวิจารณ์เกินไป คนบางคนก็ขี้รำคาญเกินไปด้วยแหละ
  • คนที่มีอาการสมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่ออะไรได้มีมีอาการออทิสติกอาจจะน่ารำคาญ แต่จำไว้ว่าที่เขาเป็นอย่างนั้นก็เพราะสมองมีการจัดระเบียบข้อมูลที่ต่างไป บางคนที่มีอาการอาจจะสามารถพัฒนาทักษะทางสังคมได้บ้างเมื่อเวลาผ่านไปแต่บางคนก็อาจจะทำไม่ได้เลย อย่าวิจารณ์หรือทำเหมือนคนเหล่านี้เป็นตัวตลก คบหาอีกฝ่ายอย่างเพื่อนและแสดงให้อีกฝ่ายรู้ว่าคุณให้ความสำคัญกับพวกเขา
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 60,340 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา