ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การคิดว่าตนเองสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้นได้นั้นเป็นอะไรที่เข้าที และถ้าเราลงมือทำด้วย ชีวิตก็จะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นตามที่ใจคิด ถึงแม้เราอาจไม่เห็นผลการเปลี่ยนแปลงอย่างที่ใจต้องการได้ทุกวันหรือทุกครั้งที่พยายาม แต่การลงมือเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้นไปทีละเล็กทีละน้อยย่อมให้ผลดีแก่เราเข้าสักวัน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ค้นหาสิ่งที่ทำให้ชีวิตดีขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลองคิดดูสิว่าเราต้องการอะไร สิ่งที่มีค่าสำหรับเราคืออะไร เราอยากปรับปรุงอะไรบ้างเพื่อทำให้ชีวิตดีขึ้น อยากมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่านี้ อยากเป็นพ่อแม่ที่ดีกว่านี้ หรือต้องการเห็นเป้าหมายของการทำงานชัดเจนกว่านี้ ไม่ว่าความต้องการคืออะไร จงคิดใคร่ครวญให้ดีและเชื่อสัญชาตญาณของตนเอง [1] [2]
    • ลองเขียนอธิบายความคิดและชีวิตของเราลงในกระดาษ อาจจะตีเส้นแบ่งเป็นช่องต่างๆ เช่น ช่องแรกเป็นเรื่องความสัมพันธ์ ช่องที่สองเป็นเรื่องการเงิน ช่องที่สามเป็นเรื่องกรอบความคิดของเรา (เช่น เราอยากคิดอย่างไร หรืออยากให้ทัศนคติโดยรวมเป็นอย่างไร) [3]
  2. บางครั้งไม่ว่าเราอยากได้บางสิ่งบางอย่างมากแค่ไหน ทำอย่างไรก็ไม่อาจได้มา แต่ถ้าเรารู้ว่าอะไรคือสิ่งที่มีค่าสำหรับเรา และเราตั้งใจจริงที่จะปรับเปลี่ยนหรือยินยอมเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ได้สิ่งที่มีค่านั้นมา เราก็จะไม่ท้อใจโดยง่าย ท้ายที่สุดเราจะสามารถเปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้และรักษาชีวิตที่ดีขึ้นนั้นให้คงอยู่ยืนยาวได้ [4]
    • จงยืนหยัดต่อสู้กับอุปสรรคที่เกิดขึ้นอย่างถึงที่สุด เพราะการปรับปรุงชีวิตให้ดีขึ้นนั้นไม่ใช่สิ่งที่กระทำได้ง่ายดาย
  3. หลังจากเขียนทุกสิ่งที่มีค่าสำหรับเราลงไปแล้ว ลองอ่านและวิเคราะห์เพื่อให้เห็นว่ามีชีวิตด้านไหนที่ควรปรับปรุงมากเป็นพิเศษ [5]
    • ตัวอย่างเช่น เราอยากมีหน้าที่การงานที่ดีขึ้นและมีเงินเดือนมากขึ้น เราก็ไม่เน้นเรื่องการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับผู้อื่นมากนัก
  4. ตัวอย่างเช่น ถ้าเห็นว่าชีวิตการทำงานนั้นสำคัญต่อเรา ก็ให้เราเริ่มปรับปรุงชีวิตด้านนั้นให้ดีขึ้น
    • ตัวอย่างเช่น เราอาจเริ่มเปลี่ยนแปลงชีวิตการทำงานของตนเองด้วยการเรียนหลักสูตรนอกเวลาเพื่อจะได้เป็นนักกฎหมายหรือนักกายภาพบำบัดตามที่ตั้งใจ
  5. การอยากเป็นทนายความที่เก่งที่สุดในโลกหรือมีรายได้ประมาณหนึ่งร้อยเจ็ดสิบแปดล้านบาทต่อปีหลังเรียนจบกฎหมายนั้นเป็นเป้าหมายที่ไกลเกินเอื้อม แทนที่จะตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้ยาก ให้ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน (specific), วัดได้ (measurable), ทำได้จริง (attainable), ตรงกับความต้องการ (relevant) และมีกำหนดระยะเวลา (time-bound) = SMART [6]
    • เป้าหมายที่ชัดเจนนั้นต้องเฉพาะเจาะจง ถ้าเราตั้งเป้าหมายว่า “ฉันจะเป็นทนายสักวันหนึ่ง” ก็อาจไม่รู้ว่าจะได้เป็นทนายเมื่อไร แต่ถ้าเราตั้งเป้าหมายว่า “ฉันจะเป็นทนายให้ได้ภายใน 4 ปี” ก็เป็นอันหมดข้อสงสัยเรื่องกำหนดเวลาในการทำเป้าหมายให้สำเร็จ
    • เป้าหมายที่วัดได้คือเป้าหมายที่สามารถติดตามความก้าวหน้าอย่างค่อยเป็นค่อยไปได้ เราอาจวัดความก้าวหน้าในการเรียนกฎหมายโดยนับจำนวนวิชาที่เราต้องลงเรียนเพื่อให้จบหลักสูตร และขีดฆ่าวิชาที่เรียนจบไปแล้ว
    • เป้าหมายที่ทำได้จริงคือเป้าหมายที่เป็นไปตามความจริง การตั้งเป้าหมายที่จะเป็นทนายที่เก่งที่สุดในโลกไม่ใช่สิ่งที่เราทำได้จริง แต่การเรียนจบกฎหมายและได้งานที่เงินเดือนดีหรือเงินเดือนสูงนั้นเป็นเป้าหมายที่มีโอกาสทำสำเร็จมากกว่า
    • เป้าหมายที่ตรงกับความต้องการคือเป้าหมายที่สอดคล้องกับสิ่งที่เราให้ความสำคัญเพื่อจะได้มีชีวิตที่ดีขึ้น ถ้าเราให้ความสำคัญกับความหมายของการทำงาน (เช่น ใช้กฎหมายช่วยเหลือคนอื่น) และเพิ่มรายได้ ก็แสดงว่าการเป็นทนายคือเป้าหมายที่ตรงกับความต้องการ
    • เป้าหมายที่มีกำหนดระยะเวลาคือเป้าหมายที่ต้องทำให้สำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด เราอาจกำหนดระยะเวลาที่จะทำเป้าหมายย่อยต่างๆ ให้สำเร็จ เช่น ถ้าต้องการเรียนวิชากฎหมายที่สหรัฐอเมริกา เราก็ต้องเข้าสอบ LSAT (แบบทดสอบสำหรับผู้ที่ต้องการเข้าเรียนที่โรงเรียนกฎหมายของที่นั่น) ตามวันเวลาที่กำหนด
  6. ถามตนเองว่าเรายังเห็นความสำคัญของสิ่งที่ตนเองให้คุณค่าในตอนแรกอยู่ไหม เมื่อประสบการณ์ชีวิตเพิ่มขึ้น เราอาจเห็นว่าตนเองเริ่มไปให้ความสำคัญกับสิ่งอื่นแทนก็ได้
    • เราอาจต้องเปลี่ยนเป้าหมายในชีวิตไปบ้าง แต่นี้ไม่ได้หมายความว่าเราทำตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ไม่สำเร็จ หรือทอดทิ้งเป้าหมายเดิมไปแล้ว แต่หมายถึงเราเรียงลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องทำใหม่ และหันมาให้ความสำคัญกับสิ่งอื่นๆ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ใฝ่หาชีวิตที่ดีกว่า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถึงแม้การคำนึงถึงชีวิตในอนาคตเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง (เราต้องวางแผนชีวิต เก็บเงิน เป็นต้น) แต่การมีความสุขอยู่กับชีวิตในปัจจุบันก็สำคัญด้วยเช่นกัน [7]
    • ช่วงระหว่างวันให้หาเวลาหยุดพักสักครู่ สูดลมหายใจเข้าและออก 5 ครั้ง แล้วสังเกตว่าตนเองรู้สึกอย่างไร พยายามอย่าคิดตัดสินอะไรทั้งนั้นแต่แค่รับรู้ความรู้สัมผัสที่เกิดขึ้นก็พอ
  2. งานอดิเรกต่างๆ ช่วยให้เราได้พัฒนาตนเองและฟื้นฟูแรงกายแรงใจ งานอดิเรกจะช่วยกระตุ้นจิตใจและร่างกายให้กระปรี้กระเปร่า ทำให้เรามีโอกาสทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และมีความสุขที่ได้ทำอะไรที่ตนอยากทำ [8]
    • ถ้าไม่รู้ว่าจะทำกิจกรรมอะไรเป็นงานอดิเรก ก็ให้ลองเข้าเว็บไซต์ http://www.meetup.com/
  3. ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าเงินนั้นซื้อความสุขได้ แต่เมื่อเรามีรายได้มาจนถึงประมาณ 2,670,00 บาทต่อปีเท่านั้น และจากนั้นเงินจะไม่มีผลต่อความสุขของเรามากนัก [9]
    • ผลการศึกษานี้บอกให้เรารู้ว่า “ชีวิตที่ดีกว่า” ขึ้นอยู่กับเรากำหนด ยิ่งเรามีรายได้มากขึ้นแม้แต่ 2,670,00 บาทต่อปีขึ้นไป เราก็ยิ่งมีความพึงพอใจในชีวิตยิ่งขึ้น ฉะนั้นสิ่งที่เราต้องใคร่ครวญให้ดีคือ เราต้องการอะไรในชีวิต ชีวิตที่ดีกว่าในแบบฉบับของเรานั้นเป็นอย่างไร และเงินสำคัญสำหรับเรามากไหม [10]
  4. เด็กๆ จะหัวเราะมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเด็กๆ นั้นมีอิสระและมีความสุข ชีวิตเต็มไปด้วยความสนุกสนานและไม่ต้องวิตกกังวลเรื่องใด [11] การเป็นผู้ใหญ่ไม่ได้หมายความว่าชีวิตต้องเคร่งเครียดและหม่นหมอง พยายามหัวเราะและพูดเรื่องตลกทุกวันเพื่อให้รู้สึกเบิกบานและสนุกสนาน
    • ถ้าไม่สามารถหาเรื่องตลกมาให้ตนเองขำได้ ลองดูเดี่ยวไมโครโฟนของโน้ต อุดม หรือรายการตลกทางทีวีก็ได้
  5. ถ้ามีคนรู้จักที่จะมักจะพูดเรื่องที่ทำให้เรารู้สึกหดหู่หรือทำให้เรารู้สึกแย่กับตนเองอยู่เสมอ ให้ตีตัวออกห่างจากคนคนนั้นเสีย ถึงแม้เราจะรู้สึกผิดตอนแรก แต่เมื่อเริ่มไม่ค่อยได้ยินเรื่องเลวร้ายและไม่ต้องรู้สึกแย่กับสิ่งที่เขาพูดแล้ว เราจะรู้สึกดีขึ้นเอง [12]
    • ถ้าคนคนนั้นเป็นเพื่อนสักคนในกลุ่ม ให้พูดคุยกับเขาน้อยลงเรื่อยๆ พูดคุยกับเขานานๆ ครั้ง หรือหยุดติดต่อกับเขาไปเลยทันที
    • ถ้าคนคนนั้นเป็นคนภายในครอบครัวของเราหรือเป็นใครที่เราไปขออาศัยอยู่ด้วย พยายามหลีกเลี่ยงคนคนนั้นด้วยการอยู่กันคนละที่ เช่น ถ้าเขาอยู่ในบ้าน เราก็ออกไปข้างนอกบ้าน หรือถ้าเขาอยู่ที่ห้องนั่งเล่น เราก็อยู่ที่ห้องของตนเอง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

พัฒนาสุขภาพกายและสุขภาพจิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยลดอาการซึมเศร้า เพราะการออกกำลังกายสามารถช่วยคลายความเครียด จึงเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการทำให้ชีวิตดีขึ้น การออกกำลังกายเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้นได้ เพราะการออกกำลังกายช่วยกระตุ้นให้สมองหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เรา “รู้สึกดี” [13]
    • เมื่อออกกำลังกาย ให้เปิดเพลงที่สร้างแรงบันดาลใจให้เราอยากออกกำลังมากกว่านี้ แต่คำนึงถึงสภาพร่างกายและอย่าออกกำลังกายหนักเกินไป!
  2. ถ้าเรากินอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เราก็อาจเจ็บไข้ได้ป่วยได้ ฉะนั้นถ้าเราอยากเปลี่ยนแปลงชีวิตตนเองให้ดีขึ้น กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพจะดีกว่า [14]
    • กินพวกเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ ถั่วเปลือกแข็ง ผลไม้ และผักเพื่อให้สุขภาพที่ดี และควรกินอาหารให้ครบถ้วนและได้สัดส่วน (เช่น กินให้ครบทุกหมู่ในปริมาณที่พอเหมาะ) [15]
  3. การนอนไม่เพียงพออาจเป็นผลให้สุขภาพแย่ลง ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย เศร้าซึม และวิตกกังวล [16] [17]
    • ถ้าเราเป็นคนหลับยาก พยายามทำให้ห้องมืดเข้าไว้ อย่าให้มีเสียงดังรบกวนหรือใส่ที่ปิดหูไว้ พยายามนอนตามเวลาจนเป็นกิจวัตรทุกคืน สังเกตดูว่าเราต้องนอนสักกี่ชั่วโมงในคืนหนึ่งถึงรู้สึกว่าได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และพยายามนอนให้ได้ตามจำนวนชั่วโมงนั้น [18]
  4. คาเฟอินจะทำให้เรารู้สึกกระวนกระวาย จึงมีส่วนทำให้เรารู้สึกเครียดและวิตกกังวล ถ้าชีวิตที่ดีกว่าของเราหมายถึงชีวิตที่มีความเครียดและความวิตกกังวลน้อยลงแล้วละก็ พยายามลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอินลงเถอะ [19]
    • บางครั้งเราก็ต้องดื่มเครื่องดื่มคาเฟอินอย่างไม่อาจเลี่ยงได้ ถ้าสังเกตเห็นว่าเราดื่มเครื่องดื่มคาเฟอินไปสักปริมาณหนึ่งแล้วเป็นผลดีต่อเรา และเห็นว่าประสิทธิภาพในการทำงานสำคัญกว่าการรู้สึกกระวนกระวาย แสดงว่าการลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอินไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเรา ให้ทดลองดื่มในปริมาณต่างๆ แล้วดูสิว่าดื่มปริมาณไหนถึงจะดีต่อการทำกิจกรรมประจำวันของเรามากที่สุด
  5. การเข้ารับคำปรึกษาหรือเข้ารับการบำบัดจิตไม่เพียงช่วยให้ผู้คนรับมือกับปัญหาได้ แต่ยังช่วยฟื้นฟูจิตใจและทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้น [20]
    • สามารถค้นหานักจิตบำบัดหรือผู้ให้คำปรึกษาได้ที่ http://locator.apa.org/
  6. เลิกทำนิสัยและกิจวัตรเดิมๆ ออกมาค้นหา “ความตื่นตัวสูงสุด” ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าการรู้สึกตื่นตัวหรือตื่นเต้นทำให้สมองทำงานและทำให้เราสามารถทำงานได้หลากหลาย [21]
    • วิธีการที่จะทำให้เราออกจากความเคยชินได้แก่ การหางานอดิเรกใหม่ๆ ทำ การทำความรู้จักเพื่อนใหม่ หรือการตั้งเป้าหมายให้ยากขึ้นมาอีกนิด
    • ควรคำนึงถึงสิ่งที่เราต้องการและลักษณะนิสัยของเราด้วย ถ้าการมีชีวิตที่ดีของเราหมายถึงการมีเวลาให้ตนเองคิดตรึกตรองและเราก็เห็นว่าตนเองเป็นคนชอบเก็บตัว แสดงว่าการออกจากความเคยชินอาจไม่เหมาะกับเรา
    • ลองทำดู เราไม่มีทางรู้ได้
  7. ลองสละเวลาช่วยคนอื่นและเราอาจพบว่าสุขภาพกายและสุขภาพจิตดีขึ้น เราสามารถสละเวลาช่วยเหลือคนอื่นได้หลายวิธี ตัวอย่างเช่น [22]
    • อาสาทำอาหารแจกผู้ยากไร้
    • ลองเข้าเว็บไซต์หาข้อมูลงานอาสาสมัครที่เราสนใจ และลองสมัครดู
    • ลองค้นหางานเป็นครูอาสาจากเว็บไซต์ต่างๆ เผื่อจะมีงานสอนวิชาที่เราถนัด
    • ติดตามข่าวสารจากเว็บไซต์หน่วยงานต่างๆ เผื่อมีกิจกรรมรณรงค์เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม เช่น รณรงค์การเก็บขยะ รณรงค์ส่งเสริมสุขภาพ รณรงค์ปลูกป่า เป็นต้น
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับผู้อื่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อเราเป็นมนุษย์ เราก็มีโอกาสที่จะพบกับวันที่เลวร้าย อารมณ์ไม่ดี ฉุนเฉียวง่าย อยากอยู่คนเดียวสักพัก พูดโกหก และเห็นแก่ตัว ให้ระลึกเสมอว่าผู้คนไม่ได้มีชีวิตเป็นไปตามที่ตนเองต้องการเสมอไป ฉะนั้นพยายามอะลุ่มอล่วยให้ผู้อื่นบ้างเหมือนกับที่อะลุ่มอล่วยให้ตนเองเมื่อได้ทำผิดพลาดลงไป [23]
    • แทนที่จะตัดสินอย่างรุนแรงโดยดูจากพฤติกรรมเดียว ให้ลองดูหลายพฤติกรรมประกอบกัน จะเห็นนิสัยของคนคนหนึ่งได้ชัดเจนกว่า
  2. เคยได้รับการ์ดแสดงความขอบคุณจากใครสักคนหรือเปล่า เราอาจรู้สึกดีกว่านี้ถ้าคนคนนั้นมาขอบคุณเราด้วยตนเอง เรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่าเมื่อคนเราพยายามช่วยเหลือผู้อื่นอย่างสุดความสามารถ คนที่ได้รับการช่วยเหลือย่อมรู้สึกซาบซึ้ง ตื้นตันและดีใจ
  3. การพูดนั้นยากเพราะต้องกลั่นความคิดและความรู้สึกออกมาเป็นคำพูดที่เราคิดว่าผู้ฟังจะเข้าใจได้อย่างแท้จริงว่าเราหมายถึงอะไร แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าคำพูดของเรานั้นเป็นไปตามที่ตั้งใจ
    • ทางหนึ่งที่จะช่วยให้เราพูดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นคือใช้เวลาคิดก่อนพูดมากขึ้น ถ้าความคิดเรายังสะเปะสะปะ ให้ลองเรียบเรียงความคิดในหัวก่อนพูดออกมา [25]
  4. ตั้งใจฟังสิ่งที่คนอื่นพูด รับฟังคำพูดเหล่านั้น ถึงแม้เราจะไม่เห็นด้วยกับทัศนคติหรือความคิดเห็นของเขาไปเสียทั้งหมดก็ตาม [26]
  5. พยายามมองในมุมของผู้พูดด้วย ลองเอาใจเขามาใส่ใจเราก่อนตัดสินใคร ถ้าเกิดว่าเพื่อนคนหนึ่งพูดจาห้วนใส่เรา ลองหาสาเหตุสิว่าทำไมเขาถึงทำแบบนั้น แทนที่จะมองว่าเพื่อนคนนั้นเป็นคนปากร้ายหรือเป็นคนไม่ดี ให้คิดเสียว่าเพื่อนอาจเพิ่งเจอเรื่องแย่ๆ มาจากที่ทำงาน หรือเจอคนหยาบคายใส่มาก่อน [28]
  6. ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการใช้เงินสร้างความสุขให้คนอื่นนั้นทำให้เรามีความสุขยิ่งกว่าใช้เงินเพื่อความสุขของตนเองเสียอีก [29] ความคิดแบบนี้เรียกว่า “ยิ่งให้ยิ่งได้” นั้นคือช่วยเหลือผู้อื่น และคนผู้นั้นก็จะไปช่วยเหลือคนอื่นต่อไป
    • ตัวอย่างการช่วยเหลือผู้อื่นเช่น การออกเงินค่าตั๋วหนังให้กับคนที่อยู่ข้างหลังเรา การซื้ออาหารหรือผ้าห่มให้คนไร้บ้าน หรือทำความสะอาดบ้านให้พ่อแม่
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • พยายามทำสิ่งใหม่ๆ สัปดาห์ละครั้ง
  • หาเวลาออกกำลังกายทุกวัน เพราะการออกกำลังกายและสุขภาพที่ดีเป็นที่มาของจิตใจที่อิ่มเอม
  • สำรวจหากิจกรรมใหม่ๆ ทำอยู่เสมอ เช่น การเล่นกระดานโต้คลื่น การดำน้ำ หรืออะไรก็ตามที่เราสนใจ การลองทำกิจกรรมใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้นจะทำให้เรามีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น!
  • เขียนถึงความทรงจำดีๆ หรือพิมพ์รูปถ่ายที่มีความทรงจำดีๆ ออกมาดู เราจะได้ยิ้มและนึกถึงเรื่องราวดีๆ เมื่อเราอ่านหรือมองดูภาพ
โฆษณา

คำเตือน

  • ถึงแม้จะเป็นคนในครอบครัวหรือใครก็ตามที่ทำให้เรารู้สึกเจ็บปวด คำพูดของเขาย่อมทำให้เรารู้สึกหดหู่และไม่มีทางที่จะทำให้รู้สึกดีกับตนเองได้
  • หลีกเลี่ยงคนที่มองอะไรในแง่ลบหรือดูถูกเรา
  • อย่าคบกับ “คนพาล” เพราะพวกคนพาลจะบังคับให้เราทำในสิ่งที่ไม่อยากทำและต้องเสียใจเมื่อทำลงไป
โฆษณา
  1. http://blogs.wsj.com/wealth/2010/09/07/the-perfect-salary-for-happiness-75000-a-year/
  2. http://psychcentral.com/lib/15-tips-to-boost-your-well-being-and-happiness/
  3. http://psychcentral.com/lib/15-tips-to-boost-your-well-being-and-happiness/
  4. https://www.cmha.bc.ca/get-informed/mental-health-information/improving-mh
  5. https://www.cmha.bc.ca/get-informed/mental-health-information/improving-mh
  6. https://www.cmha.bc.ca/get-informed/mental-health-information/improving-mh
  7. https://www.cmha.bc.ca/get-informed/mental-health-information/improving-mh
  8. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/18505314
  9. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/sleep/art-20048379
  10. https://www.cmha.bc.ca/get-informed/mental-health-information/improving-mh
  11. http://www.apa.org/about/policy/resolution-psychotherapy.aspx
  12. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2657838/
  13. https://www.psychologytoday.com/blog/raising-happiness/201002/what-we-get-when-we-give
  14. https://www.psychologytoday.com/blog/living-the-questions/201410/10-reasons-stop-judging-people
  15. http://greatergood.berkeley.edu/images/uploads/Trivers-EvolutionReciprocalAltruism.pdf
  16. http://psychcentral.com/lib/benefits-of-effective-communication/
  17. http://psychcentral.com/lib/benefits-of-effective-communication/
  18. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4091305/
  19. https://www.psychologytoday.com/blog/real-men-dont-write-blogs/201406/why-we-dont-give-each-other-break
  20. http://greatergood.berkeley.edu/images/application_uploads/norton-spendingmoney.pdf

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,420 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา