ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เบียร์ด ดราก้อน หรือมังกรเครา มีบุคลิกสบายๆ มีรูปร่างเหมาะมือ และมีรูปโฉมที่มีเสน่ห์ ทั้งหมดที่ว่ามานี้ทำให้เป็นสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมมาก [1] เบียร์ด ดราก้อนที่เป็นสัตว์เลี้ยงสามารถเพาะพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ดังนั้น คุณจึงสามารถเพาะพันธุ์มังกรเคราในช่วงใดก็ได้ของปี แต่หากจะแน่ใจว่าผสมติดต้องใช้เวลาและการเตรียมการจำนวนมาก ดังนั้น จงแน่ใจว่าคุณเข้าใจกระบวนการทั้งหมดเป็นอย่างดี ก่อนที่จะลงมือเพาะพันธุ์มังกรเคราของคุณ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 5:

เตรียมเพาะพันธุ์เบียร์ด ดราก้อนของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มีลักษณะเฉพาะทางกายภาพหลายประการที่จะช่วยให้คุณแยกแยะเบียร์ดตัวผู้กับตัวเมียได้ ตัวผู้จะมีหัวใหญ่กว่าตัวเมีย นอกจากนี้ ขนาดเส้นรอบวงหน้าท้องระดับสะดือ (Abdominal girth) ของตัวผู้จะเล็กกว่าของตัวเมีย และจะมีตุ้มนูนแถวทวารหนักใหญ่กว่าตัวเมียอีกด้วย [2]
    • อีกวิธีหนึ่งที่จะดูเพศ คือดูรอยนูนของอวัยวะสืบพันธุ์ของเบียร์ดตัวผู้ซึ่งมีอวัยวะเพศสองอัน (hemipenile) เพื่อจะดูเพศ จงจับเบียร์ดคว่ำหน้าบนมือคุณ แล้วค่อยๆ พับหางขึ้นไปทางด้านหลังเป็นมุม 90 องศา ทำอย่างระมัดระวังไม่ให้กระดูกสันหลังตรงส่วนหางเสียหาย หากโคนหางมีรอยนูนขึ้นมาทั้งสองด้าน บ่งชี้ว่าเป็นตัวผู้ หากไม่มีรอยนูนหรือมีรอยนูนเพียงรอยเดียวคือตัวเมีย [3]
  2. จำเป็นที่เบียร์ดต้องอยู่ในสภาพเหมาะสมที่สุดก่อนหน้าการเพาะพันธุ์ สัตว์แพทย์สามารถตรวจร่างกายพวกมันอย่างถี่ถ้วน และบอกให้คุณรู้ว่าพวกมันมีสุขภาพดีหรือจำเป็นต้องรักษาตัว แพทย์ยังสามารถตรวจดูด้วยว่ามังกรเคราของคุณติดเชื้ออะตาดิโนไวรัสหรือไม่ ไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายได้ง่ายในหมู่เบียร์ด และสามารถทำให้เกิดโรคภัยที่ร้ายแรง [4]
    • ไม่สมควรเพาะพันธุ์เบียร์ดหากผลตรวจหาเชื้ออะตาดิโนไวรัสเป็นบวก เพราะเชื้อสามารถส่งต่อจากแม่ไปสู่ลูกได้ [5]
    • จงจำใส่ใจว่าเบียร์ด ดราก้อนที่มีเชื้อไวรัสอาจจะไม่แสดงอาการในตอนทำการทดสอบ ทำให้ได้ผลลัพธ์เป็นผลลบเทียม (false negative result) ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นการดีที่จะทดสอบเบียร์ดของคุณซ้ำๆ ก่อนที่จะเพาะพันธุ์ [6]
    • ให้สัตว์แพทย์ของคุณตรวจเบียร์ดเพื่อทราบอายุ ความยาว และน้ำหนักตัว เบียร์ดซึ่งเหมาะสมที่สุดสำหรับเพาะพันธุ์นั้น ตัวผู้สมควรมีอายุอย่างน้อย 18 เดือน ส่วนตัวเมียสมควรจะมีอายุอย่างน้อย 24 เดือน [7] ทั้งคู่สมควรมีความยาวตั้งแต่ปลายจมูกจนถึงปลายหางอย่างน้อย 18 นิ้ว [8] และตัวเมียสมควรหนักอย่างน้อย 350 กรัม [9]
  3. ตัวเมียจะต้องการอาหารเสริมประจำวันซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมกับวิตามินดี เพื่อช่วยรับประกันว่าไข่ของมันจะมีหินปูนมากพอ และมันจะไม่ขาดแคลเซียมหลังจากวางไข่ ตัวเมียยังต้องการวิตามินรวมทั่วๆ ไปด้วย [10]
    • เบียร์ดตัวเมียสมควรได้รับอาหารเสริมอย่างน้อยนานหลายสัปดาห์ก่อนเพาะพันธุ์ [11] จงพูดคุยกับสัตว์แพทย์ของคุณ หากมีคำถามเรื่องวิธีแทรกอาหารเสริมในอาหารของมังกรเคราตัวเมีย
  4. แม้เบียร์ดตัวเมียและตัวผู้ของคุณจะอยู่ในกรงเดียวกันเพียงชั่วคราว แต่ก็มีความสำคัญที่จะจัดเตรียมสถานที่เพาะพันธุ์ ประการแรกนั้น สถานที่สมควรกว้างพอที่กิ้งก่าเคราวัยผู้ใหญ่สองตัวจะอยู่กันได้อย่างสบาย ร้านขายสัตว์เลี้ยงใกล้บ้านสามารถช่วยให้คุณตัดสินใจเรื่องขนาดกรงที่จำเป็นต้องใช้ [12]
    • ตู้ปลาทำด้วยกระจกเป็นที่นิยมมากสำหรับใช้ใส่เบียร์ด แต่ก็มีกรงชนิดอื่นๆ เช่นกัน รวมทั้งกรงทำด้วยเมลามีน และกรง PVC การใช้มุ้งลวดเป็นฝาปิดด้านบนจะป้องกันไม่ให้เบียร์ดของคุณหลบหนี และยังช่วยให้อากาศหมุนเวียนอีกด้วย [13]
    • ใช้เทอร์โมมิเตอร์เพื่อคงอุณหภูมิโดยรวมที่ระหว่าง 77 - 88 องศาฟาเรนไฮต์ (25 - 31 องศาเซลเซียส) ในช่วงกลางวัน และประมาณ 75 องศาฟาเรนไฮต์ (24 องศาเซลเซียส) ในช่วงกลางคืน [14]
    • ติดตั้งไฟสำหรับอาบแดด (หาซื้อได้ตามร้านขายสัตว์เลี้ยงแถวบ้านคุณ) ไว้ที่ด้านนอกของกรง เพื่อให้มีจุดรวมแสงสำหรับนอนอาบแดดในกรง ณ อุณหภูมิ 105 องศาฟาเรนไฮต์ (40.6 องศาเซลเซียส) [15] [16]
    • วางหลอดไฟชนิดฟูล สเปคตรัม หรือที่ให้แสงเหมือนกับแสงสว่างตามธรรมชาติ ( รังสี UVA และ UVB) ไว้เหนือกรง โดยให้อยู่สูงประมาณหนึ่งฟุต จากจุดที่พวกเบียร์ดน่าจะใช้เวลาอยู่มากที่สุด รังสี UVA และ UVB จากหลอดไฟจะช่วยให้เบียร์ดของคุณมีสุขภาพดี เพราะช่วยให้พวกมันผลิตวิตามินดี [17] [18]
    • จัดวางพวกกิ่งไม้และก้อนหินที่ในกรง กิ่งไม้จะช่วยให้เบียร์ดมีบางสิ่งที่จะใช้ปีนป่าย และก้อนหินจะช่วยให้พวกมันมีโอกาสได้นอนพักและหลบซ่อนตัวจากกันและกัน [19]
  5. กล่องวางไข่คือกล่องที่เบียร์ดตัวเมียจะใช้วางไข่ สมควรเป็นกล่องพลาสติกขนาดจุแปดถึงสิบแกลลอน พร้อมฝาปิดที่มั่นใจได้ และเปิดให้อากาศหมุนเวียนได้ด้วย จงใส่ดินชั้นบนหรือดินที่ใช้ปลูกพืชในกระถาง รวมทั้งทราย ให้สูงประมาณแปดนิ้ว [20]
    • ดินผสมที่ใช้นั้น สมควรมีความชื้นมากพอที่จะจับตัวเป็นก้อนหลวมๆ และขุดได้ง่าย ดินไม่สมควรจะแห้งมากจนพังทลายลงมาเมื่อเบียร์ดตัวเมียพยายามจะกลบไข่ [21] [22]
  6. คุณจำเป็นจะต้องย้ายไข่ออกจากกล่องวางไข่ และนำไปฟัก จะดีที่สุดหากคุณจะซื้อตู้ฟักไข่ที่สร้างไว้แล้วตามร้านขายสัตว์เลี้ยงแถวบ้าน เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ตู้ฟักไข่ยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งนิยมใช้กันสำหรับการฟักไข่เบียร์ด ดราก้อนคือ ยี่ห้อ โฮวาบาเตอร์ (Hovabator) [23]
    • ใช้ภาชนะบรรจุเล็ก ๆ ที่ใส่เวอร์มิคูไลท์ หรือเพอร์ไลท์ (vermiculite or perlite) (หาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ทำสวนแถวบ้านคุณ) จนเต็ม แล้ววางลงในตู้ฟักไข่ ใช้นิ้วโป้งกดบนแต่ละชิ้นให้เป็นรอยบุ๋มตรงที่จะวางไข่ แล้วปิดด้วยฝาที่อากาศสามารถหมุนเวียนได้ [24]
  7. หากเป็นประเทศหนาว จงเตรียมตัวเบียร์ดของคุณสำหรับจุดที่อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำจนเข้าสู่ภาวะจำศีล (brummation). ซึ่งเป็นกระบวนการเพื่อลดอุณหภูมิ และช่วงเวลารับแสง (photoperiod) สำหรับเบียร์ด ในตอนที่เบียร์ดตัวผู้กับตัวเมียอยู่แยกกรงกันนั้น จงลดอุณหภูมิลงให้เหลือ 80 องศาฟาเรนไฮต์ (27องศาเซลเซียส) ในตอนกลางวัน และ 60 องศาฟาเรนไฮต์ (16 องศาเซลเซียส) ในตอนกลางคืน ลดช่วงเวลารับแสงของพวกมันลง: ได้รับแสง 10 ชั่วโมง และอยู่ในความมืด 14 ชั่วโมง [25]
    • คุณอาจสังเกตเห็นว่า เบียร์ดจะกินอาหารน้อยลงและซ่อนตัวมากขึ้นเมื่อถึงจุดที่อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำจนเข้าสู่ภาวะจำศีล (brumation) พวกมันอาจจะอาบแดดน้อยลงด้วย แต่หลังจากเลิกภาวะจำศีล พวกมันจะต้องการกลับไปกินอาหารตามปกติ [26]
    • จุดที่อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำจนเข้าสู่ภาวะจำศีล ( brumation) น่าจะใช้เวลาอย่างน้อยสองหรือสามเดือนก่อนจะทำการผสมพันธุ์ [27]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 5:

-ขยายพันธุ์เบียร์ด ดราก้อนของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เบียร์ดทั้งคู่ของคุณอาจจะยังไม่จับคู่กันในทันที และต้องการเวลาบ้างที่จะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ การเตรียมกรงขังให้พร้อมจะช่วยให้พวกมันสะดวกมากยิ่งขึ้น และเมื่อมังกรเคราตัวผู้พร้อมจะผสมพันธุ์ เคราจะมีสีเข้มมากขึ้นจนเป็นสีดำ [28]
  2. เบียร์ด ดราก้อนของคุณจะแสดงพฤติกรรมเกี้ยวพาราสี ก่อนจะจับคู่กันจริงๆ โดยเบียร์ดทั้งตัวผู้และตัวเมียจะเริ่มผงกหัว ตัวเมียอาจจะเริ่มโบกขาหน้าข้างหนึ่งเพื่อบ่งบอกว่าเต็มใจที่จะเพาะพันธุ์ ส่วนตัวผู้อาจกระทืบเท้าและไล่ต้อนตัวเมียไปรอบๆ กรง [29] [30]
    • เบียร์ดทั้งคู่อาจจะกระตุกหางถี่ๆ อันเป็นพฤติกรรมหนึ่งของการเกี้ยวพาราสี [31]
  3. เพื่อจับคู่ ตัวผู้จะรีบขึ้นคร่อมหลังตัวเมีย และกัดคอของตัวเมียไว้ การกัดคอไว้ช่วยให้ตัวเมียไม่อาจวิ่งหนีไป ก่อนที่กระบวนการจับคู่จะเสร็จสมบูรณ์ [32] หลังจากนั้น ตัวผู้จะกดแนบบริเวณช่องเปิดของอวัยวะขับถ่ายของเสียและระบบสืบพันธุ์ ( cloacal region) กับของตัวเมีย [33] กระบวนการจับคู่ทั้งหมดจะใช้เวลาเพียงสี่ห้านาทีเท่านั้น
  4. หลังจากหนึ่งสัปดาห์ ให้คืนเบียร์ดกลับสู่เข้ากรงแยกกัน. มีคำแนะนำว่าหลังจากจับคู่กัน ให้ทิ้งพวกมันให้อยู่ด้วยกันนานประมาณหนึ่งสัปดาห์ หลังจากนั้น จึงจับใส่กรงแยกกันตามเดิมนานหนึ่งสัปดาห์ ก่อนจะนำกลับมาอยู่ด้วยกันอีกหนึ่งสัปดาห์สำหรับการจับคู่อีกรอบหนึ่ง คุณอาจจำเป็นต้องทำเช่นนี้หลายรอบเพื่อให้แน่ใจว่าจะประสบความสำเร็จในการจับคู่ [34]
    • ยังคงให้อาหารเสริมแก่เบียร์ดตัวเมียต่อไปหลังจากผสมพันธุ์แล้ว. ให้มันออกกำลังกายมากขึ้น และคอยดูให้อิ่มน้ำอยู่เสมอหลังการผสมพันธุ์ เพื่อช่วยให้เบียร์ดตัวเมียเตรียมตัวดียิ่งขึ้นที่จะวางไข่ [35]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 5:

ปล่อยให้ตัวเมียวางไข่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตัวเมียจะแสดงพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่าพร้อมจะวางไข่ เช่น อาจเริ่มเดินกลับไปเดินมาอยู่ในกรง และมองดูกระวนกระวายเล็กๆ เบียร์ดตัวเมียอาจกินอาหารน้อยลง และขุดกรงอย่างบ้าคลั่งด้วย [36] เมื่อเบียร์ดตัวเมียมีพฤติกรรมเช่นนี้ ให้ย้ายไปใส่ในกล่องวางไข่อย่างอ่อนโยน เพื่อให้มันสามารถวางไข่ได้
    • คุณจะมองเห็นได้ง่ายเช่นเดียวกันว่าท้องของตัวเมียเต็มไปด้วยไข่ คุณจะสามารถมองเห็นเส้นกรอบรอบนอกของไข่ ซึ่งจะมองดูเหมือนกับลูกแก้วเล็กๆ [37]
    • ตามปกติ ตัวเมียจะวางไข่ช่วงสี่ถึงหกสัปดาห์หลังการจับคู๋ [38]
  2. คุณจะมองเห็นรอยขุดของเบียร์ดตัวเมียในกล่องวางไข่ เพื่อสร้างพื้นที่ๆ จะวางไข่ อาจทำได้ไม่ง่ายที่จะบอกว่ามันได้วางไข่ไปแล้วหรือยัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณไม่ได้เห็นตอนวางไข่ หากเป็นเช่นนั้น คุณจะรู้ว่าตัวเมียได้ไปวางไข่ไปแล้ว ตอนมองเห็นว่าท้องของมันมองดูพองโต หรือแฟบ [39] นำตัวเมียออกจากลังวางไข่หลังจากมันได้วางไข่แล้ว
    • หากคุณคิดว่าตัวเมียยังไม่ได้วางไข่จนหมดให้พาไปพบกับสัตวแพทย์ในทันที [40] มันอาจกำลังทุกข์ทรมานจากปัญหาไข่ติดค้าง ซึ่งเป็นอาการทางการแพทย์ที่ร้ายแรง และทำให้มันวางไข่ไม่ได้
    • ตามปกติ เบียร์ดตัวเมียจะวางไข่ในช่วงบ่าย หรือ ช่วงหัวค่ำ คุณอาจต้องการจะเฝ้าดูมันในช่วงนี้ของวัน เพื่อดูว่ามันดูพร้อมหรือไม่ที่จะวางไข่ [41]
    • ตามปกตินั้น ตัวเมียจะวางไข่ประมาณ 24 ฟองในแต่ละครั้ง แต่ก็อาจวางไข่เพียงแค่ 15 ฟอง หรือมากถึง 50 ฟองได้เช่นกัน [42] [43] ไข่ที่เป็นกลุ่มๆ เรียกว่า พวงไข่
  3. หลังจากตัวเมียวางไข่แล้ว สมควรย้ายกลับไปใส่ในกรงแยกดังเดิม. โดยทั่วไปนั้น เบียร์ดตัวเมียไม่ได้มีความเป็นแม่มากนัก และเบียร์ดตัวเมียในที่คุมขังมีแนวโน้มที่จะไม่ปกป้องไข่ของมัน [44]
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 5:

ฟักไข่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพื่อจะทำเช่นนี้ ให้ยกไข่โดยใช้สองมือหรือใช้ช้อนคันหนึ่ง จำเป็นที่คุณจะต้องใช้ความอ่อนโยนอย่างที่สุด ขณะกำลังย้ายไข่ที่แม่เบียร์ดเพิ่งวางใหม่ๆ ออกจากกล่องวางไข่ ไปใส่ในตู้ฟักไข่ จงพยายามอย่างดีที่สุด ให้ไข่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับตอนที่คุณพบมันในกล่องวางไข่ อาจช่วยได้หากคุณจะใช้ดินสอทำเครื่องหมายที่ปลายบนสุดของไข่ เพื่อป้องกันไม่ให้คุณวางไข่กลับหัวกลับหางโดยไม่ได้ตั้งใจตอนวางไข่ในตู้ฟักไข่ [45]
    • วางไข่แต่ละฟองลงในภาชนะบรรจุแต่ละอันในตู้ฟักไข่ ไข่สมควรแนบชิดอยู่ในรอยกดด้วยนิ้วหัวแม่มือที่คุณได้ทำไว้ก่อนหน้านี้ จงทำให้แน่ใจว่าไข่ไม่ได้ถูกปกคลุมด้วยเวอร์มิคูไลท์ หรือเพอร์ไลท์ ก่อนจะวางฝาปิดภาชนะบรรจุ [46]
  2. คงอุณหภูมิของตู้ฟักไข่ไว้ที่ 82 - 86 องศาฟาเรนไฮต์ (28 – 30 องศาเซลเซียส). ใช้เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิตัลเพื่อเฝ้าดูอุณหภูมิ หากอุณหภูมิในตู้ฟักไข่ร้อนเกินไป พวกตัวอ่อนอาจจะตายอยู่ที่ข้างในไข่ได้. [47] ตู้ฟักไข่สมควรตั้งอยู่ในห้องที่เย็นกว่าอุณหภูมิในตู้ ห้องที่ร้อนกว่าจะเพิ่มอุณหภูมิในตู้ฟักไข่ ซึ่งจะทำให้พวกตัวอ่อนเสี่ยงจะเป็นอันตราย [48]
    • สมควรคงความชื้นในตู้ฟักไข่ไว้ที่ประมาณ 80% จงวางชามใส่น้ำไว้ในตู้ฟักไข่เพื่อช่วยรักษาระดับความชื้น และคอยเติมน้ำหากจำเป็น [49]
    • ตรวจสอบอุณหภูมิทุกวัน และตรวจสอบความชื้นประมาณสัปดาห์ละสองครั้ง [50]
  3. เฝ้าสังเกตอย่างใกล้ชิดเพื่อดูว่าไข่ดูเปียกชื้นหรือแห้งเกินไป การควบแน่นของไข่อาจทำให้ตัวอ่อนถึงตายได้ จึงมีความสำคัญมากที่จะทำให้แน่ใจว่าไม่ได้มีของเหลวใดๆ เกาะบนไข่ หากไข่มองดูเปียกชื้น ให้เปิดฝาตู้ฟักไข่ออกนาน 24 ชั่วโมง เพื่อไล่ความชื้นส่วนเกิน และปล่อยให้เวอร์มิคูไลท์ หรือเพอร์ไลท์แห้ง [51]
    • หากไข่มีรอยบุ๋ม หรือมองดูเหมือนกำลังจะยุบลง พวกมันอาจจะแห้งเกินไป จงใช้น้ำขนาดอุณหภูมิห้องสร้างความชุ่มชื้นให้กับเวอร์มิคูไลท์ แต่จงทำให้แน่ใจด้วยว่าไม่ได้ทำให้ชื้นเสียจนไข่เบียร์ดเปียก [52]
    • ไข่ที่มีสุขภาพดีและมีตัวจะขยายใหญ่เป็นเท่าตัวจากขนาดดั้งเดิม และเปลี่ยนเป็นสีขาวแบบชอล์ก ส่วนไข่ที่มีสีเหลือง ชมพู หรือเขียวอาจจะไม่ฟักเป็นตัว [53]
    • ไข่ที่มีเชื้อราขึ้นอาจจะฟักเป็นตัวหรือไม่ก็ได้ จงพูดคุยกับสัตวแพทย์หากคุณไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไรกับพวกไข่ที่ขึ้นรา
    • ไข่จะเริ่มฟักภายในประมาณ 60 - 70 วัน [54]
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 5:

การฟักไข่และการดูแลเบียร์ดวัยทารก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เพียงก่อนหน้าที่จะฟักเป็นตัว ไข่อาจจะเริ่มแฟบ และมีหยดน้ำเล็กๆ เกาะ การเปลี่ยนแปลงแบบนี้เป็นปกติ และไม่สมควรจะสับสนกับสัญญาณที่บ่งบอกว่าไข่ไม่สมบูรณ์ คุณยังอาจจะมองเห็นรอยกรีดยาวที่เปลือกนอกของไข่ซึ่งเกิดจากฟันบนปลายจมูกของพวกมัน เจ้าตัวน้อยจะทำรอยกรีดใหญ่พอที่มันจะเอาจมูกกับหัวทะลุขึ้นมา และจะหยุดพักประมาณหนึ่งวันในสภาพหัวยื่นออกจากไข่ [55]
  2. หลีกเลี่ยงการช่วยให้ลูกเบียร์ด ดราก้อนโผล่ออกมาจากไข่. จงปล่อยให้เบียร์ดตัวจิ๋วฟักออกจากไข่ด้วยตัวเอง ซึ่งตามปกติจะใช้เวลาประมาณ 24 -36 ชั่วโมง คุณอาจจะสังเกตเห็นด้วยว่าไข่ทั้งหมดจะฟักเป็นตัวห่างกันหนึ่งหรือสองวัน [56]
    • เก็บลูกเบียร์ดไว้ในตู้ฟักสำหรับ 24 ชั่วโมงแรกของชีวิต เพื่อช่วยให้พวกมันปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ [57]
    • เก็บลูกเบียร์ด ดราก้อนตัวที่ไม่รอดทิ้งไป
  3. ใช้กระดาษชำระอเนกประสงค์ชื้นๆ ปูรองพื้นกรงของพวกมัน จะช่วยให้ลูกเบียร์ดไม่ขาดน้ำในช่วงสองสามสัปดาห์แรกของชีวิต คุณยังสามารถพ่นละอองน้ำใส่พวกมันเบาๆ จนกระทั่งพวกมันเริ่มดื่มน้ำด้วยตัวเอง ในแง่ของอาหารนั้น ไข่แดงในไข่ของลูกเบียร์ด ดราก้อนแต่ละตัว จะช่วยให้มันมีสารอาหารอยู่ได้อีกสี่ห้าวัน ดังนั้น คุณสามารถรอจนถึงวันที่สามเพื่อที่จะป้อนอาหารจริงๆ ให้กับพวกมัน (จิ้งหรีด ผักสีเขียวสับละเอียด) [58]
    • คุณจะต้องใช้ตู้ปลาขนาดความจุอย่างน้อย 20 แกลลอนเพื่อใส่ลูกเบียร์ด และพวกมันจะต้องการตู้ปลาขนาดใหญ่มากขึ้นเมื่อเติบโตขึ้น [59]
    • จัดหาอาหารจำนวนมากพอให้กับลูกๆ เบียร์ด พวกมันจะได้ไม่ต้องเริ่มแทะเล็มหางหรือนิ้วเท้าของกันและกัน [60]
    • แยกลูกเบียร์ด ดราก้อนที่ตัวใหญ่กว่าและมีลักษณะเด่นกว่าออกไปไว้ต่างหาก เพื่อพวกที่ตัวเล็กกว่าจะสามารถกินอาหารได้ [61]
    โฆษณา


  1. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  2. http://www.beardeddragonguide.com/breeding-sexing-bearded-dragon-lizards/
  3. http://www.reptilesmagazine.com/Breeding-Lizards/Breeding-Bearded-Dragons-Wissman/
  4. http://www.thebeardeddragon.org/bearded-dragon-setup.php
  5. http://www.peteducation.com/article.cfm?c=17+1796&aid=2730
  6. http://www.peteducation.com/article.cfm?c=17+1796&aid=2730
  7. http://www.reptilesmagazine.com/Breeding-Lizards/Breeding-Bearded-Dragons-Wissman/
  8. http://www.thebeardeddragon.org/bearded-dragon-setup.php
  9. http://www.peteducation.com/article.cfm?c=17+1796&aid=2730
  10. http://www.reptilesmagazine.com/Breeding-Lizards/Breeding-Bearded-Dragons-Wissman/
  11. http://www.beardeddragonguide.com/breeding-sexing-bearded-dragon-lizards/
  12. http://www.beardeddragonguide.com/breeding-sexing-bearded-dragon-lizards/
  13. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  14. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  15. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  16. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  17. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  18. http://www.reptilesmagazine.com/Breeding-Lizards/Breeding-Bearded-Dragons-Wissman/
  19. http://www.reptilesmagazine.com/Breeding-Lizards/Breeding-Bearded-Dragons-Wissman/
  20. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  21. http://www.reptilesmagazine.com/Breeding-Lizards/Breeding-Bearded-Dragons-Wissman/
  22. http://www.thebeardeddragon.org/bearded-dragon-behavior.php
  23. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  24. https://nationalzoo.si.edu/Animals/ReptilesAmphibians/Facts/FactSheets/Inlandbeardeddragon.cfm
  25. http://www.reptilesmagazine.com/Breeding-Lizards/Breeding-Bearded-Dragons-Wissman/
  26. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  27. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  28. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  29. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  30. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  31. http://beardeddragonsource.com/info-center/health-disease/
  32. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  33. http://www.beardeddragonguide.com/breeding-sexing-bearded-dragon-lizards/
  34. https://nationalzoo.si.edu/Animals/ReptilesAmphibians/Facts/FactSheets/Inlandbeardeddragon.cfm
  35. http://www.reptilesmagazine.com/Breeding-Lizards/Breeding-Bearded-Dragons-Wissman/
  36. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  37. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  38. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  39. http://www.beardeddragonguide.com/breeding-sexing-bearded-dragon-lizards/
  40. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  41. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  42. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  43. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  44. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  45. http://www.beardeddragonguide.com/breeding-sexing-bearded-dragon-lizards/
  46. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  47. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  48. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  49. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  50. http://www.thebeardeddragon.org/bearded-dragon-setup.php
  51. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/
  52. http://www.lllreptile.com/info/library/care-and-husbandry-articles/-/reproductive-biology-of-bearded-dragons/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 28,938 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา