ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าตัวคุณเองหรือคนที่คุณรักเคยถูกข่มขืนหรือถูกล่วงละเมิดทางเพศ การเยียวยานั้นสามารถเป็นไปได้ เหยื่อที่รอดจากการถูกข่มขืนหรือล่วงละเมิดทางเพศมักจะต้องผ่านขั้นตอนการเยียวยาสามขั้นจากบาดแผลการถูกข่มขืนในระยะเวลาที่ขึ้นอยู่กับสภาพจิตใจของแต่ละคน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

รอดจากระยะรุนแรง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ไม่ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร คุณไม่ได้ทำอะไรเลยที่ทำให้ใครคนนั้นมาข่มขืนหรือล่วงละเมิดทางเพศกับคุณ [1]
    • อย่ากลัวที่จะบอกใครเพราะรู้สึกกลัวหรือรู้สึกว่าจะถูกตำหนิ มันไม่ใช่ความผิดของคุณ ร่างกายของคุณนั้นเป็นของคุณและเป็นของคุณเพียงคนเดียว [2]
    • การข่มขืนและการล่วงละเมิดทางเพศสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและทุกที่ ผู้ชายก็ยังเป็นเหยื่อเช่นกัน [3]
    • คุณไม่ได้ร้องขออยากมีมัน ไม่ได้เกี่ยวด้วยว่าคุณใส่ชุดอะไร และคุณก็ไม่ได้โดดเดี่ยว [4]
    • การถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์หรือถูกล่วงละเมิดทางเพศจากคนที่คุณไปออกเดตด้วยโดยยังเป็นแค่คนรู้จักนั้นเรียกว่าเดตเรป มันไม่สำคัญเลยว่าคุณจะรู้จักเขาหรือไปเดตกับเขา คุณสามารถมีความสัมพันธ์เพียงผิวเผินกับใครสักคนและยังคงถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ยินยอมได้อยู่ดี ถึงมันจะไม่ใช่การกระทำแบบรุนแรง ต้องรู้ว่ามากเกินกว่าครึ่งของคดีข่มขืนนั้นมาจากคนรู้จัก [5]
    • การดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้ยาไม่ได้เป็นข้อแก้ตัวสำหรับใครที่จะมาข่มขืนคุณได้ อาการเมายาอาจทำให้ลดความยับยั้งชั่งใจและมีแนวโน้มไปในทางความรุนแรงเพิ่มขึ้นก็จริง ยากับแอลกอฮอล์ยังลดความสามารถที่คุณจะร้องขอความช่วยเหลือ กระนั้นไม่ว่าฝ่ายไหนจะเป็นคนดื่มหรือใช้ยา ก็ยังไม่ใช่ข้ออ้างที่จะทำการล่วงละเมิดทางเพศได้อยู่ดี [6]
    • ถ้าคุณเป็นผู้ชายและอวัยวะเพศแข็งตัวระหว่างการถูกล่วงละเมิด อย่าอายหรือรู้สึกผิดราวกับว่าคุณชอบมัน การแข็งตัวของอวัยวะเพศนั้นเป็นเพียงปฏิกิริยาของร่างกายตามธรรมชาติเมื่อถูกกระตุ้นถึงแม้ว่าเจ้าตัวจะไม่ได้ต้องการหรือชอบมันเลยก็ตาม คุณไม่ได้ร้องขอต้องการมัน [7]
  2. ถ้าคุณอยู่ในอันตรายหรือได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง ให้โทรศัพท์หาหน่วยฉุกเฉินก่อน ความปลอดภัยของคุณเป็นสิ่งที่สำคัญเหนือกว่าอื่นใด
    • ในสหรัฐอเมริกาให้โทรแจ้ง 911 ส่วนในไทยให้โทรแจ้ง 191
  3. อย่าเพิ่งอาบน้ำ ล้างเนื้อล้างตัว หรือเปลี่ยนเสื้อผ้า. โดยธรรมชาติแล้วคุณจะรู้สึกอยากจะชำระล้างร่องรอยหลักฐานของผู้กระทำผิดนี้ออกไปจากร่างกาย แต่มันเป็นเรื่องสำคัญที่คุณต้องอดใจรอไว้ก่อน [8]
    • ของเหลวในร่างกายใดๆ หรือเศษขนและผมที่ติดอยู่บนตัวคุณของผู้โจมตีสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานชั้นดีในภายหลัง หากคุณตัดสินใจจะฟ้องร้อง
    • การล้างหน้า ร่างกาย หรือเสื้อผ้าเป็นการทำลายหลักฐานสำคัญ
  4. ไปโรงพยาบาลและแจ้งพนักงานว่าคุณถูกล่วงละเมิดและบอกด้วยถ้าการล่วงละเมิดนั้นถึงขั้นล่วงล้ำอวัยวะเพศ [9]
    • ถ้าคุณอนุญาต เจ้าหน้าที่พยาบาลที่ได้รับการฝึกฝนมาเป็นพิเศษจะทำ “การตรวจสอบทางนิติเวช” และใช้ “ชุดอุปกรณ์ตรวจร่องรอยการข่มขืน” เพื่อเก็บตัวอย่างขนและของเหลวสำหรับใช้เป็นหลักฐานทางนิติเวช การผ่านการฝึกฝนมาแล้วของพวกเขาจะช่วยสร้างความมั่นใจว่าพวกเขาละเอียดอ่อนกับความรู้สึกและความต้องการของคุณในช่วงเวลาอันยากลำบากนี้ และพวกเขาจะพยายามทำให้คุณรับกระบวนการเหล่านี้ไหว [10]
    • คุณอาจจำต้องเข้ารับการตรวจสอบและ/หรือรับการรักษาสำหรับโรคที่ติดต่อกันทางเพศและการตั้งครรภ์ การรักษาอาจรวมไปถึงการใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินและยาป้องกันโรคเพื่อป้องกันการติดโรคที่ติดต่อกันทางเพศ [11]
  5. แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบหากคุณไม่แน่ใจว่าตนเองอาจถูกมอมยาหรือถูกล่วงละเมิดในตอนกำลังเมาเหล้า [12]
    • หากคุณสันนิษฐานว่าจะถูกใช้ยาข่มขืน พยายามอย่าปัสสาวะจนกว่าคุณจะไปโรงพยาบาล เพราะพวกเขาจะต้องขอตัวอย่างปัสสาวะไปตรวจสอบเพื่อหาโรฮิพนอลหรือยาข่มขืนตัวอื่น
  6. ในสหรัฐคุณสามารถโทรไปที่สายด่วนการล่วงละเมิดทางเพศแห่งชาติที่ 1-800-656-HOPE (4673) หรือ online เจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับการฝึกฝนมาเป็นพิเศษของที่นั่นจะคอยให้คำแนะนำว่าจะต้องทำอย่างไร [13] ในประเทศไทย คุณสามารถโทรศัพท์ไปที่มูลนิธิเพื่อนหญิงที่ 02-513-2780, 02-513-1001 หรือมูลนิธิปวีณาเพื่อเด็กและสตรีที่ 1134 และ 02-521-9231-2 หรือมูลนิธิผู้หญิงที่ 02-433-5149, 02-435-1246
    • ศูนย์เยียวยาการล่วงละเมิดทางเพศส่วนใหญ่จะมีเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับการฝึกฝนมาคอยพาคุณไปโรงพยาบาลหรือการนัดรับยาเพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องไปตัวคนเดียว
  7. ลองคิดถึงการโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น. การให้ข้อมูลกับทางตำรวจจะนำผู้กระทำต่อคุณเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและป้องกันไม่ให้เขาไปทำอันตรายผู้อื่นอีก [14]
    • ถ้าคุณคิดว่าตัวเองถูกมอมยา ถ้าเป็นไปได้ให้เก็บถ้วยหรือขวดน้ำที่คุณดื่มลงไป อาจต้องมีการตรวจสอบยาเสพติดเพื่อยืนยันการใช้ยาและเป็นหลักฐานที่จะใช้มัดตัวได้ในภายหลัง
    • ยาข่มขืนที่แพร่หลายที่สุดไม่ใช่โรฮิพนอล (Rohypnol) แต่เป็นแอลกอฮอล์ บอกตำรวจไปถ้าหากมีเหล้าและยาเข้ามาเกี่ยวข้อง ถึงแม้คุณจะเต็มใจดื่มหรือใช้ยาก่อนถูกล่วงละเมิดก็ตาม มันไม่ใช่ความผิดของคุณเลย [15]
    • การแจ้งตำรวจยังมีประโยชน์ด้านจิตวิทยาในการช่วยคุณเปลี่ยนตัวเองจากเหยื่อไปเป็นผู้รอดมาได้
  8. ถึงแม้การข่มขืนจะเกิดขึ้นนานเกิน 72 ชั่วโมงไปแล้ว มันก็ยังสำคัญสำหรับคุณอยู่ดีที่จะเข้าแจ้งตำรวจ โทรสายด่วนฉุกเฉิน หรือเข้ารับการรักษาทางแพทย์ [16]
    • หลักฐานจำพวกของเหลวจากร่างกายควรจะถูกตรวจเก็บภายใน 72 ชั่วโมงแรกของการถูกกระทำเพื่อให้ได้ผลดีที่สุด ถึงคุณจะไม่แน่ใจว่าจะแจ้งความหรือเปล่า ให้ทำการตรวจเก็บไว้ก่อนเผื่อจะต้องใช้ยามจำเป็น [17]
  9. พยายามควบคุมตนเองผ่านช่วงรุนแรงของสภาวะอารมณ์ให้ได้. คุณเพิ่งผ่านเหตุการณ์ที่ชวนให้เกิดอาการช็อค ซึมเศร้า กังวลใจ หวาดกลัวจนตื่นตกใจง่าย และฝันร้ายมาหยกๆ นี่เป็นเรื่องปกติและมันจะค่อยๆ ดีขึ้น [18]
    • ผู้ที่รอดมาได้มักรู้สึกผิดและละอายใจ ต้องพบกับรูปแบบการกินการนอนที่ถูกรบกวน และมีปัญหากับการควบคุมสติ
    • บาดแผลในใจที่ผู้รอดจากการถูกข่มขืนหรือล่วงละเมิดทางเพศได้เผชิญเป็นอาการตอบสนองที่เกิดหลังจากความเครียดสะเทือนใจรูปแบบจำเพาะรูปแบบหนึ่ง
  10. ทำความเข้าใจว่าคุณอาจมีอาการทางร่างกายด้วย. คุณอาจบาดเจ็บจากรอยบาด รอยฟกช้ำ มีการบาดเจ็บภายใน หรือผื่นคันจากการถูกทำร้าย มันอาจเป็นแผลคอยสะกิดใจแต่มันก็จะผ่านพ้นไปในที่สุด [19]
    • ปล่อยวางในอาการบาดเจ็บทางกายสักพัก จนกว่าบาดแผลและรอยช้ำจะมีอาการดีขึ้น [20]
    • พยายามลองแช่น้ำอุ่น ทำสมาธิ หรือวิธีการคลายเครียดอื่นๆ ที่ได้ผลสำหรับคุณ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ช่วงระยะปรับเปลี่ยนภายนอก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. จงคาดหมายว่าต้องพบช่วงระยะของการปฏิเสธการรับรู้และการเก็บกด. การปฏิเสธการรับรู้และการเก็บกดความรู้สึกนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามปกติในช่วงระยะที่สองของการเยียวยาจิตใจ ซึ่งเรียกกันว่าช่วงระยะปรับเปลี่ยนภายนอก การกระทำทั้งหมดนี้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการรับมือและเยียวยาปัญหาจิตใจ [21]
    • ผู้รอดจากเหตุการณ์มักจะทำตัวในช่วงระยะนี้ราวกับว่าการถูกล่วงละเมิดทางเพศไม่ได้ส่งผลอะไรต่อชีวิตเธอและมันเป็นแค่ประสบการณ์ทางเพศแย่ๆ การปฏิเสธการรับรู้และเก็บกดไว้ในใจแบบนี้เรียกว่าการพยายามลดทอนปัญหา (minimization) และเป็นการตอบสนองตามปกติเพื่อช่วยให้คุณดำเนินชีวิตต่อไปได้ในระยะสั้น [22]
  2. ผู้รอดจากเหตุการณ์จำเป็นต้องฟื้นสภาวะปกติกลับมาในชีวิต [23]
    • ช่วงนี้ของระยะการปรับเปลี่ยนภายนอกเรียกว่าการกดระงับ (suppression) และมันทำให้คุณได้ทำตัวราวกับว่าการล่วงละเมิดทางเพศนั้นไม่เคยเกิดขึ้น ถึงแม้ว่าคุณจะยังรู้สึกย่ำแย่อยู่ในใจ ก็เหมือนช่วงของการพยายามลดทอนปัญหาของระยะนี้เช่นกัน ช่วงการกดระงับทำให้คุณดำเนินชีวิตต่อได้ในระยะสั้น
  3. คุณอาจรู้สึกอยากจะพูดถึงเรื่องการล่วงละเมิดและความรู้สึกของคุณออกมารวดเดียวกับครอบครัว เพื่อนฝูง สายด่วนสุขภาพจิต หรือหมอบำบัด มันเป็นวิธีการปกติของการรับมือปัญหาที่เรียกว่า การระบายปัญหาออกมาให้เกินจริง (dramatization) แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณกำลังระบาย “ละคร” ออกมาจากสิ่งที่ไม่มีมูล [24]
    • คุณอาจรู้สึกเหมือนบาดแผลนั้นได้เข้ามาควบคุมชีวิตและเปลี่ยนตัวตนของคุณไป โดยเฉพาะถ้าหากสิ่งที่คุณสามารถทำได้และอยากทำคือการพูดระบายออกมา มันเป็นเรื่องปกติที่เราจะอยากปลดปล่อยมันออกมา
  4. ในบางครั้ง ผู้รอดจากเหตุการณ์จำเป็นต้องทำการวิเคราะห์ขบคิดในสิ่งที่เกิดขึ้นและพยายามหาคำอธิบายให้กับตนเองและผู้อื่น คุณอาจถึงกับจำเป็นต้องสวมบทบาทของคนที่มาทำร้ายเพื่อจะได้นึกออกว่าเขาคิดอะไรอยู่ [25]
    • นี่ไม่ได้หมายความว่าคุณกำลังรู้สึกเห็นใจคนที่มาทำร้ายหรือไปแก้ตัวแทนพฤติกรรมของเขา เพื่อที่จะได้ไม่รู้สึกผิดถ้าคุณกำลังพบว่าตัวเองผ่านขั้นตอนการเยียวยาในช่วงระยะนี้
  5. คุณมีสิทธิที่จะไม่พูดถึงการล่วงละเมิดนี้ถ้าคุณไม่รู้สึกอยากจะพูด แม้ว่าคุณจะรู้ดีว่าทั้งครอบครัวและเพื่อนสนิทมีความตั้งใจอยากจะช่วยโดยการเสนอให้คุณระบายความในใจออกมาก็ตาม [26]
    • บางครั้ง ผู้รอดจากเหตุการณ์อาจถึงขั้นต้องเปลี่ยนงาน ย้ายที่อยู่ หรือเปลี่ยนกลุ่มเพื่อนที่คบหาเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกกระตุ้นความรู้สึกและการพูดถึงเหตุการณ์นั้น ไม่ใช่ว่าผู้รอดมาได้ทุกคนจะต้องการสิ่งนี้ ช่วงนี้ของระยะการเยียวยานี้เรียกว่า การโบยบินหนีจากปัญหา (flight) เนื่องจากผู้รอดเหตุการณ์บางคนรู้สึกถึงแรงปรารถนาอยากจะหนีไปให้พ้นจากความเจ็บปวด [27]
  6. อนุญาตให้ตัวเองได้รู้สึกอารมร์ความรู้สึกของตนเอง. ไม่ว่าจะเป็นอาการซึมเศร้า อาการกังวลใจ อาการกลัวจนผวา ฝันร้าย และอารมณ์กราดเกรี้ยวที่คุณรู้สึกอยู่ล้วนแล้วแต่เป็นอาการโดยปกติของการถูกล่วงละเมิดทางเพศทั้งสิ้น [28]
    • ระหว่างช่วงเวลานี้ คุณอาจรู้สึกไม่เต็มใจจะออกจากบ้าน มีปัญหาในการทานอาหารและหลับนอน และปลีกตัวออกห่างจากผู้คนและวงสังคม
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

จัดระเบียบชีวิตใหม่ในระยะยาว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในช่วงขั้นตอนระยะที่สามอันเป็นระยะสุดท้ายของการเยียวยาบาดแผลจากการถูกข่มขืนนั้น ผู้รอดจากเหตุการณ์มักจะพบว่าความทรงจำของเหตุการณ์นั้นหวนกลับคืนมาและยากจะสะกดกลั้นเอาไว้ได้ นี่คือตอนที่การเยียวยาจะเริ่มต้นจริงๆ [29]
    • คุณอาจเห็นภาพย้อนหลังที่คอยกวนใจจนกระทั่งส่งผลกระทบต่อชีวิต นี่เป็นปฏิกิริยาของความเครียดหลังบาดแผลถูกข่มขืนที่เป็นไปโดยปกติ
  2. นี่มักจะเป็นระยะที่ผู้รอดมาจากเหตุการณ์จะรู้สึกพ่ายแพ้ เป็นทุกข์กับการเห็นภาพย้อนหลัง และอาจถึงขั้นคิดฆ่าตัวตาย ถึงความรู้สึกนั้นจะย่ำแย่สักแค่ไหน นี่คือช่วงเวลาที่คุณจะสามารถเริ่มผนวกอดีตเข้ากับความเป็นจริงและเริ่มต้นใหม่ [30]
    • ถึงจุดหนึ่งคุณจะยอมรับได้ว่าการถูกข่มขืนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและคุณจะสามารถเดินหน้าต่อไปได้ [31]
  3. นี่คือเวลาที่คุณจะฟื้นความรู้สึกปลอดภัย ไว้วางใจและควบคุมสถานการณ์กลับคืนมา และคุณจำเป็นจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเพื่อเรียกความรู้สึกนี้ให้เกิดขึ้น [32]
    • เลือกว่าคุณจะถ่ายทอดประสบการณ์อันโหดร้ายนี้กับใคร ที่ไหน เมื่อไหร่. ให้อยู่กับคนที่คอยห่วงใยให้กำลังใจคุณ และจำกัดขอบเขตไว้แค่ว่าจะพูดเฉพาะสิ่งที่คุณรู้สึกสะดวกใจที่จะพูดออกมา [33]
    • คุณมีสิทธิที่จะบอกเรื่องนี้กับใครก็ได้ คนที่ทำผิดบางทีอาจขู่ว่าจะเกิดอันตรายขึ้นในอนาคตถ้าคุณเปิดปากพูดออกมา แต่หนทางเดียวที่พวกเขาจะหยุดทำเช่นนี้จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อคุณเปิดปากพูดออกมา
  4. ผู้ให้คำปรึกษาที่ถูกฝึกฝนมาเป็นพิเศษในการรับมือกับบาดแผลจากการถูกข่มขืนและล่วงละเมิดทางเพศนั้นจะเป็นคนที่เห็นใจและจะช่วยคุณเยียวยาความรู้สึกได้
    • คุณสามารถค้นหารายชื่อผู้ให้คำปรึกษาผ่านทางศูนย์ให้กำลังใจผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศอย่างเช่น RAINN และ the Canadian Association of Sexual Assault Centres .
    • มีกลุ่มบำบัดที่นัดพบกันและแม้กระทั่งห้องแช็ตออนไลน์สำหรับผู้ผ่านเหตุการณ์เหล่านี้มา ค้นหาดูว่าอะไรที่เหมาะกับคุณ [34]
  5. มันอาจใช้เวลาหลายเดือน มันอาจใช้เวลาหลายปี [35]
    • เมื่อเวลาผ่านไป คุณจะให้คำจำกัดความตัวเอง ทัศนคติในการมองโลก และความสัมพันธ์ใหม่ จงให้เวลาตัวเองและอย่าคาดหวังว่ามันจะเยียวยาได้ชั่วข้ามคืน
  6. ขอความช่วยเหลือสำหรับการขึ้นศาลและการดำเนินการตามกฎหมาย. หากคุณไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไรต่อไป ให้โทรศัพท์ขอคำปรึกษาจากศูนย์ให้ความช่วยเหลือ เจ้าหน้าที่ถูกฝึกฝนมาให้สามารถแนะนำคุณผ่านทางกระบวนการต่างๆ และสามารถมาพบคุณได้ถ้าคุณต้องการ [36]
    • คุณไม่จำเป็นต้องแจ้งความถ้าคุณไม่ต้องการ ตำรวจจะทำการเตือนผู้กระทำผิดเพื่อป้องกันไม่ให้เขาทำเช่นนั้นอีก [37]
    • คุณอาจจำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือด้านการเงินจากค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการไม่ได้ไปทำงาน การต้องไปศาล การต้องเข้ารับคำปรึกษาและอื่นๆ อีก ให้หาข้อมูลเพิ่มเติมกับทางศูนย์ให้ความช่วยเหลือ [38]
    • ศูนย์ให้ความช่วยเหลือหลายแห่งจะมีข้อมูลเกี่ยวกับความช่วยเหลือด้านกฎหมายสำหรับเหยื่อที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศที่ทำเพื่อประโยชน์สุขส่วนรวมหรือไม่คิดค่าใช้จ่ายนั่นเอง เจ้าหน้าที่ยังสามาถพาคุณเข้าพบทนายหรือร่วมขึ้นศาลไปพร้อมกับคุณได้
  7. การล่วงละเมิดทางเพศเป็นคดีที่ไม่มีอายุความ นั่นหมายความว่าต่อให้เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อหลายเดือนหรือเป็นปีมาแล้ว คุณก็ยังสามารถแจ้งความกับตำรวจได้ [39]
    • ถ้าคุณเลือกที่จะดำเนินคดีกับผู้ก่อเหตุและคุณได้รับการรักษาทางแพทย์ทันทีหลังเกิดเหตุ เป็นไปได้ว่าหลักฐานทั้งหมดได้ถูกตรวจจัดเก็บไว้หมดแล้ว
    • หากแพทย์หรือพยาบาลใช้ “ชุดอุปกรณ์ตรวจร่องรอยการข่มขืน” หรือได้ “ตรวจสอบเก็บหลักฐานทางนิติเวช” หลักฐานจะถูกจัดเก็บในไฟล์อย่างปลอดภัยซึ่งตำรวจสามารถตรวจดูได้ [40]
    โฆษณา


เคล็ดลับ

  • การเยียวยาไม่ได้หมายความว่าคุณลืมว่ามันเคยเกิดขึ้นหรือคุณไม่เคยรับรู้ในความเศร้าหรืออาการทั้งหลาย แต่การเยียวยาคือการเดินทางส่วนตัวเพื่อจะได้ฟื้นสิ่งต่างๆ ในชีวิตให้กลับมา หวนกลับมามีความไว้วางใจและมีความรอบคอบขึ้น และให้อภัยตนเองสำหรับความรู้สึกผิดและการโทษตัวเองใดๆ [41]
  • คุณไม่จำเป็นจะต้องพัฒนาไปตามแต่ละระยะตามลำดับ การเยียวยาบาดแผลของคนที่รอดมาจากเรื่องนี้ได้แต่ละคนนั้นแตกต่างกันและก้าวหน้าขึ้นหรือถดถอยลงตามกลไกการรับมือกับเหตุการณ์ของคนๆ นั้น
โฆษณา
  1. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2323517/
  2. https://rainn.org/get-information/aftermath-of-sexual-assault/receiving-medical-attention
  3. http://www.sexualityandu.ca/sexual-health/drug_facilitated_sexual_assault/the-hard-facts
  4. https://rainn.org/get-information/sexual-assault-recovery/tips-for-after-an-attack
  5. http://www.sexualityandu.ca/sexual-health/sex-and-the-law/if-it-happens
  6. http://www.sexualityandu.ca/sexual-health/drug_facilitated_sexual_assault/the-hard-facts
  7. http://kidshealth.org/parent/positive/talk/rape.html#cat20018
  8. https://rainn.org/get-information/aftermath-of-sexual-assault/preserving-and-collecting-forensic-evidence
  9. http://uofa.ualberta.ca/-/media/ualberta/students/university-wellness-services/sac/rape-trauma-syndrome-2009.pdf
  10. http://uofa.ualberta.ca/-/media/ualberta/students/university-wellness-services/sac/rape-trauma-syndrome-2009.pdf
  11. https://ohl.rainn.org/online/resources/self-care-after-trauma.cfm
  12. http://uofa.ualberta.ca/-/media/ualberta/students/university-wellness-services/sac/rape-trauma-syndrome-2009.pdf
  13. https://ohl.rainn.org/online/resources/how-long-to-recover.cfm
  14. http://uofa.ualberta.ca/-/media/ualberta/students/university-wellness-services/sac/rape-trauma-syndrome-2009.pdf
  15. https://ohl.rainn.org/online/resources/how-long-to-recover.cfm
  16. https://ohl.rainn.org/online/resources/how-long-to-recover.cfm
  17. http://uofa.ualberta.ca/-/media/ualberta/students/university-wellness-services/sac/rape-trauma-syndrome-2009.pdf
  18. https://ohl.rainn.org/online/resources/how-long-to-recover.cfm
  19. https://ohl.rainn.org/online/resources/how-long-to-recover.cfm
  20. http://uofa.ualberta.ca/-/media/ualberta/students/university-wellness-services/sac/rape-trauma-syndrome-2009.pdf
  21. http://uofa.ualberta.ca/-/media/ualberta/students/university-wellness-services/sac/rape-trauma-syndrome-2009.pdf
  22. https://ohl.rainn.org/online/resources/how-long-to-recover.cfm
  23. http://uofa.ualberta.ca/-/media/ualberta/students/university-wellness-services/sac/rape-trauma-syndrome-2009.pdf
  24. https://www.k-state.edu/counseling/topics/relationships/rape.html
  25. http://www.pandys.org/index.html
  26. https://ohl.rainn.org/online/resources/how-long-to-recover.cfm
  27. https://rainn.org/get-information/aftermath-of-sexual-assault/preserving-and-collecting-forensic-evidence
  28. http://www.sexualityandu.ca/sexual-health/drug_facilitated_sexual_assault/what-to-do-if-it-happens-to-you
  29. https://www.rainn.org/public-policy/legal-resources/compensation-for-rape-survivors
  30. http://www.sexualityandu.ca/sexual-health/sex-and-the-law/sexual-assault
  31. https://rainn.org/get-information/aftermath-of-sexual-assault/preserving-and-collecting-forensic-evidence
  32. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2323517/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 10,388 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา