ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

บางครั้งบางคราวสาวๆ อาจมีความรู้สึกอยากเลื่อนประจำเดือนให้มาช้าลง คุณอาจมีงานพิเศษที่กำลังใกล้เข้ามา หรือกำลังจะลงเล่นกีฬาและไม่อยากให้ประจำเดือนเป็นปัญหากวนใจ สำหรับคุณผู้หญิงส่วนใหญ่ การทำให้ประจำเดือนมาช้าลงเป็นสิ่งที่ทำได้อย่างปลอดภัย หากแต่ก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง เพราะวิธีการที่ง่ายและได้ผลดีที่สุดในการเลื่อนประจำเดือนมักต้องอาศัยยาคุมกำเนิดหรือตัวยาชนิดอื่นๆ ที่ต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายนั่นเอง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

การใช้ยาคุมกำเนิดและฮอร์โมน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ทำเครื่องหมายบนปฏิทินในวันที่ไม่อยากให้ประจำเดือนมา แล้วนับดูสิว่าประจำเดือนของคุณน่าจะมาในช่วงเวลานั้นรึเปล่า. เพราะสาวๆ ที่มีรอบเดือนปกติหรือผู้ที่ทานยาเป็นประจำอยู่แล้วมักทราบเป็นอย่างดีว่าประจำเดือนจะมาเมื่อไหร่
    • วิธีการนี้ทำให้คุณประเมินได้ว่ารอบเดือนของคุณจะตรงกับช่วงวันที่ไม่อยากให้มารึเปล่า และถ้าเกิดชนกันเข้าพอดีก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะคุณสามารถหลีกเลี่ยงการมีประจำเดือนในวันนั้นๆ ได้ หากวางแผนเตรียมการไว้ล่วงหน้า!
    • หากแต่สำหรับสาวๆ ที่รอบเดือนมาไม่ปกติ อาจไม่สามารถทราบล่วงหน้าได้ทุกครั้งว่าประจำเดือนครั้งถัดไปจะมาเมื่อไหร่
  2. ยาคุมกำเนิดส่วนใหญ่มักมาในรูปแบบแพ็ค ซึ่งประกอบด้วยยาตัวออกฤทธิ์ (มีส่วนประกอบของฮอร์โมน) จำนวน 21 เม็ด ตามด้วยยาหลอก (พลาเซโบหรือ “ยาแป้ง”) อีก 7 เม็ด ที่แพ็คเกจยาเป็นเช่นนี้ก็เพื่อช่วยให้คุณทานยาเป็น “กิจวัตร” วันละ 1 เม็ด และทำให้มีเลือดออกจากการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก (ประจำเดือน) ในช่วงทานยาเม็ดหลอกนั่นเอง แต่ถ้าการแข่งกีฬาครั้งสำคัญของคุณกำลังใกล้เข้ามา หรือมีเหตุผลบางอย่างที่ทำให้คุณอยากเลื่อนประจำเดือนออกไป ก็สามารถทำได้โดยอาศัยยาเม็ดคุมกำเนิดนี่ล่ะ โดยมีวิธีการดังนี้ [1]
    • คุณไม่จำเป็นต้องทานยาตัวออกฤทธิ์ 21 เม็ด ตามด้วยยาหลอกอีก 7 เม็ดจนครบถ้วน เพราะสัดส่วน 21 ต่อ 7 ไม่ได้เป็นหลักเกณฑ์ตายตัว เป็นเพียงวิธีการเลียนแบบรอบเดือนตามธรรมชาติของผู้หญิงเราซี่งจะตกอยู่ที่ประมาณ 28 วัน ซึ่งสาวๆ ไม่จำเป็นต้องทานตามสัดส่วนนี้ทุกครั้งไป
  3. ร่างกายจะไม่ผลิตประจำเดือนออกมาในช่วงเวลาที่คุณทานยาตัวออกฤทธิ์ วิธีการนี้มักได้ผลกับคุณผู้หญิงส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่ควรวางใจว่าจะได้ผล 100% เพราะร่างกายของสาวๆ บางคนอาจไม่ตอบสนองต่อการปรับรูปแบบการใช้ยาคุมกำเนิดแบบ “กะทันหัน” [2]
    • ถ้าคุณเพิ่ง “ตระหนักเมื่อเหลือเวลาไม่มากนัก” ว่าอยากเลื่อนประจำเดือนให้มาช้าลง ทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณคือการทาน “ยาตัวออกฤทธิ์” ต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 21 ไปเรื่อยๆ จนถึงวันที่งานสำคัญสิ้นสุดลง จากนั้นจึงหยุดทานยาตัวออกฤทธิ์และกลับไปทานยาหลอกเพื่อให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกและประจำเดือนไหลออกมา
    • ถ้าใช้วิธีการนี้ แพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำให้คุณทิ้งแพ็คยาคุมกำเนิดที่ใช้ไปเพียงบางส่วน (แพ็คที่คุณใช้ทาน “เพิ่ม” เพื่อให้ผ่านช่วงวันงานสำคัญไป) เพื่อให้คุณสามารถนับวันใช้ยาคุมกำเนิดในรอบเดือนถัดไปได้นั่นเอง เพราะรูปแบบแพ็คเกจยา (ซึ่งโดยปกติมักประกอบด้วยยาตัวออกฤทธิ์ 21 เม็ดกับยาหลอกอีก 7 เม็ด) เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สาวๆ ส่วนใหญ่สามารถคำนวณได้ว่าพวกเขาทานยาไปเท่าไหร่แล้วและควรทานแต่ละชนิดในช่วงเวลาใด
  4. วิธีการเลื่อนประจำเดือนที่ได้ผล “แน่นอน” กว่า คือ การเริ่มปรับรูปแบบการใช้ยาคุมกำเนิดเสียแต่เนิ่นๆ เช่น 2-3 เดือนก่อนวันงานสำคัญที่คุณพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้มีประจำเดือน เพราะการปรับแต่เนิ่นๆ (ด้วยการทานยาตัวออกฤทธิ์เพิ่มในช่วงเดือนก่อนวันงาน จากนั้นจึงทานยาตามกิจวัตรเดือนละครั้งต่อไป) จะทำให้ร่างกายของคุณมีเวลาปรับตัวมากพอ [3]
    • ในขั้นตอนนี้คุณจะต้องดูปฏิทินล่วงหน้าเป็นอย่างดี เช่น เมื่อรู้ตัวว่าคุณจะต้องเลื่อนประจำเดือนออกไป 10 วันในอีก 4 เดือนข้างหน้า ให้ยืดระยะเวลาการทานยานตัวออกฤทธิ์อีก 10 วันในช่วงรอบเดือนปัจจุบัน แทนที่จะทำเฉพาะเดือนที่จำเป็นต้องเว้นประจำเดือน
    • จากนั้นจึงทานยาหลอก 7 เม็ด
    • การปรับเปลี่ยนล่วงหน้า 2-3 เดือน (เช่น นักกีฬาที่ต้องลงแข่งอาจต้องทำถ้าการแข่งครั้งสำคัญอย่างเช่นระดับจังหวัดหรือระดับประเทศกำลังใกล้เข้ามา) จะได้ผลดีสุดๆ เพราะเป็นการให้โอกาสร่างกายได้ปรับตัว ทำให้ไม่ต้องเป็นกังวลเรื่องประจำเดือนในวันสำคัญของคุณ
  5. ถ้าคุณกำลังสนใจอยากเว้นหรือเลื่อนประจำเดือนออกไปมากกว่า 1 สัปดาห์หรือ 1 เดือน รู้หรือไม่ว่ามียาคุมกำเนิดบางชนิดที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อยืดระยะเวลาระหว่างรอบเดือนด้วยเช่นเดียวกัน โดยส่วนใหญ่จะทำให้ประจำเดือนของคุณมาในทุกๆ 3 เดือน แทนที่จะมาเดือนละครั้ง วิธีการเช่นนี้เราเรียกว่าการใช้ยาต่อเนื่องหรือการขยายเวลารอบเดือน [4]
    • ยาคุมกำเนิดสำหรับขยายเวลารอบเดือนมีไว้สำหรับทานต่อเนื่องเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ซึ่งยี่ห้อส่วนใหญ่จะกำหนดให้ทานเป็นเวลา 12 สัปดาห์ต่อครั้ง [5]
    • เนื่องจากการใช้ยาในปริมาณดังกล่าวจะทำให้ระดับความสมดุลของฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงไป (ทำให้ประจำเดือนมาทุกๆ 3 เดือน แทนที่จะมาเดือนละครั้ง) ดังนั้นสิ่งสำคัญคือต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทางเลือกนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคุณ แต่ถ้าพูดกันโดยทั่วไป วิธีการนี้ถือว่าไม่เป็นปัญหาใดๆ ถ้าคุณได้รับอนุญาตจากแพทย์ล่วงหน้าว่าสามารถใช้ยาคุมกำเนิดได้
  6. สอบถามแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยานอร์อิทิสเตอโรน (norethisterone). ถ้าคุณรู้สึกไม่สะดวกใจกับการใช้ยาคุมกำเนิดหรือไม่สามารถใช้ได้ แพทย์สามารถจ่ายยาปรับฮอร์โมนที่เรียกกันว่านอร์อิทิสเตอโรนให้แก่คุณแทนได้ โดยเจ้ายานอร์อิทิสเตอโรนนี้จะต้องทานวันละ 3 ครั้งตลอดช่วงระยะเวลาก่อนถึงวันประจำเดือน [6]
    • นอร์อิทิสเตอโรนก็คือฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนนั่นเอง ระดับโพรเจสเทอโรนในร่างกายจะลดลงในช่วงก่อนวันประจำเดือน ซึ่งจะทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกและประจำเดือนเริ่มไหลออกมา การรักษาโพรเจสเทอโรนให้อยู่ในระดับสูงก่อนวันประจำเดือนจึงสามารถเลื่อนหรือหยุดการมีประจำเดือนได้นั่นเอง [7]
    • สำหรับผลข้างเคียงอาจมีอาการท้องอืด ปวดท้อง ปวดเต้านม และความต้องการทางเพศลดลง [8]
  7. ลองพิจารณาการใช้ห่วงอนามัยชนิดหลั่งสารโปรเจสติน (intrauterine device). หากทราบล่วงหน้าว่าอยากเว้นประจำเดือน คุณอาจอยากลองปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ห่วงอนามัยชนิดหลั่งสารโปรเจสติน แพทย์จะสอดห่วงอนามัยซึ่งเป็นอุปกรณ์พลาสติกเล็กๆ รูปร่างคล้ายตัว T เข้าไปในมดลูกของคุณ โดยห่วงอนามัยจะหลั่งสารโปรเจสตินออกมา ซึ่งอาจทำให้ประจำเดือนของคุณเบาบางลงหรือหยุดไปโดยสิ้นเชิงเลยทีเดียว [9]
    • ห่วงอนามัยมีอายุการใช้งาน 5-7 วัน
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ปฏิบัติตามข้อควรระวัง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ปรึกษาแพทย์ถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต. อย่าลืมปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งเมื่อจะปรับแผนการใช้ยาคุมกำเนิดหรือกิจวัตรการออกกำลังกายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น การปรับวิธีการใช้ยาคุมกำเนิดเพื่อเลื่อนประจำเดือนมักเป็นสิ่งที่ทำได้อย่างปลอดภัย แต่ก็ควรปรึกษาแพทย์ถึงการเลื่อนประจำเดือนเป็นครั้งคราวในกรณีที่แพทย์เป็นผู้จ่ายยาคุมกำเนิดให้ เพื่อให้ทราบว่าแพทย์เห็นว่าวิธีการนี้จะปลอดภัยกับปัญหาสุขภาพหรือประวัติทางการแพทย์ของคุณหรือไม่
  2. การเลื่อนประจำเดือนไม่ใช่วิธีป้องกันการตั้งครรภ์แต่อย่างใด ในช่วงเวลานี้คุณจึงไม่มีการป้องกันการตั้งครรภ์เพราะคุณทำให้ประจำเดือนขาดหรือเลื่อนออกไป ยกเว้นในกรณีที่คุณกำลังใช้ยาคุมกำเนิดหรือใส่อุปกรณ์อย่างเช่นห่วงอนามัยคุมกำเนิดอยู่ เพราะฉะนั้นอย่าลืมใช้อุปกรณ์ป้องกัน (เช่น ถุงยางอนามัย) และศึกษาสัญญาณทั่วไปของการตั้งครรภ์ [10]
    • เมื่อไหร่ที่คุณทำให้ประจำเดือนขาดหรือเลื่อนออกไป การตรวจสอบว่าคุณกำลังตั้งครรภ์หรือไม่อาจทำได้ยากขึ้น เพราะการขาดประจำเดือนมักเป็นสัญญาณแรกของการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ การตั้งครรภ์อาจสังเกตได้จากความนิ่มของเต้านม อาการอ่อนแรง และอาการคลื่นไส้ คอยสังเกตสัญญาณการตั้งครรภ์เหล่านี้เอาไว้และทดสอบการตั้งครรภ์เมื่อปรากฏอาการ [11]
  3. การงดเว้นยาคุมกำเนิดตัวหลอกในช่วงที่ใช้ยาชนิดแพ็ค 28 วันมักไม่ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของยาคุมกำเนิดที่ใช้อยู่ลดลง หากแต่ยาคุมกำเนิดไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ คุณจึงยังควรใช้ถุงยาง ยกเว้นในกรณีที่อีกฝ่ายผ่านการตรวจสอบโรคเรียบร้อยแล้ว [12]
    โฆษณา

คำเตือน

  • ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ยาหรือการดำเนินชีวิตครั้งใหญ่
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 36,049 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา