ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การเอาชนะความล้มเหลวจริงๆ นั้นก็หมายถึงการค้นหาความล้มเหลวที่อยู่ในตัวเองเพื่อที่จะเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง โดยขั้นแรก คุณต้องเอาชนะความรู้สึกของความล้มเหลวให้ได้ก่อน ไม่ว่าจะเป็นความล้มเหลวในเรื่องโปรเจกต์งาน เรื่องความสัมพันธ์ หรือเรื่องเป้าหมายอื่นๆ ที่อาจจะเข้ามาครอบงำจิตใจคุณในระยะแรก แต่ถ้าหากคุณรับรู้ถึงความผิดหวังและยอมรับข้อผิดพลาดของตัวเองได้ คุณก็จะสามารถใช้ชีวิตต่อไปข้างหน้าได้ ซึ่งการมองโลกในแง่ดีอย่างมีเหตุผลจะช่วยทำให้คุณสามารถวางแผนการใหม่ได้โดยที่ไม่ต้องทำให้ตัวเองเสี่ยงเจอกับความล้มเหลวเลย จำไว้ว่า เป้าหมายในระยะยาวของคุณต้องมีความยืดหยุ่นด้วย ซึ่งก็หมายถึงว่า การที่คุณมีความสามารถในการปรับและดำเนินเป้าหมายต่อไปข้างหน้าได้ [1] และความล้มเหลวแต่ละครั้งก็คือสิ่งที่จะเปิดโอกาสให้คุณได้เป็นคนที่แข็งแกร่งและเป็นคนสุขุมมากขึ้น

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

รับรู้ความรู้สึกผ่านความผิดหวัง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เมื่อคุณรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว ในตอนนั้นตัวคุณอาจจะเต็มไปด้วยการโทษตัวเอง ความผิดหวัง และความสิ้นหวัง ซึ่งการยึดติดอยู่กับความรู้สึกที่เจ็บปวดของตัวเองนั้นอาจจะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ความสัมพันธ์ และความสำเร็จในอนาคตของคุณได้ ดังนั้น ให้คุณคอยสังเกตอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวคุณในแต่ละครั้ง สละเวลาบางช่วงเพื่อตรวจดูอารมณ์ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นความโกรธ ความเศร้า ความกลัว หรือความอับอาย [2] เพราะนี่จะทำให้คุณสามารถรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ โดยที่ไม่ต้องไปโทษตัวเองหรือโทษคนอื่นเลย
    • ใช้เวลาสักพักเพื่อพิจารณาความรู้สึกของตัวเอง เพราะถ้าหากคุณพยายามแก้ไขหรือพยายามหลีกเลี่ยงความผิดหวังของตัวเองก่อนที่จะรู้ว่าจริงๆ แล้วตัวเองรู้สึกยังไงกันแน่ คุณอาจกลายเป็นคนที่ดูมุทะลุไปเลยก็ได้
    • การเก็บความรู้สึกเจ็บปวดเอาไว้ข้างในอาจจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ เช่น อาการปวดเรื้อรัง นอนหลับไม่เพียงพอ และแม้แต่โรคหัวใจก็มีโอกาสเป็นไปได้ [3]
  2. หลังจากที่ความผิดหวังในระยะแรกค่อยๆ จางหายไป ให้คุณพยายามยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะคุณจะยิ่งใช้ชีวิตยากขึ้นไปอีกหากคุณโทษตัวเองหรือคนอื่น หรือแกล้งทำเป็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมันไม่สำคัญหรือไม่ได้เกิดขึ้นจริงๆ ดังนั้น ให้คุณเขียนหรือพิจารณาถึงเรื่องทุกอย่างที่เกิดขึ้น ดูว่าปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดเรื่องแบบนั้น และผลลัพธ์ที่ออกมาเป็นแบบไหน โดยให้พูดถึงแต่ข้อเท็จจริง และไม่ต้องกล่าวโทษ ตัดสิน หรืออ้างเหตุผลใดๆ ทั้งสิ้น และให้คุณเขียนลงไปในไดอารี่ถ้าคุณมีสักเล่มหนึ่ง หรือไม่ก็เขียนเป็นจดหมายให้ตัวเองก็ได้ [4]
    • หากการเขียนไม่ใช่สิ่งที่ช่วยระบายความรู้สึกได้ดีเท่าที่ควรสำหรับตัวคุณ ให้คุณหาใครสักคนที่คุณสามารถคุยด้วยได้ ซึ่งเพื่อนที่คุณไว้ใจหรือคนในครอบครัว หรือผู้ให้คำปรึกษา อาจจะช่วยทำให้คุณสามารถยอมรับความเป็นจริงได้ [5]
    • ลองขอมุมมองของใครก็ได้ที่รับรู้ถึงเหตุการณ์ที่คุณเจออยู่ แต่ว่าไม่ได้มีอารมณ์ร่วมกับเหตุการณ์นี้ ตัวอย่างเช่น เพื่อนของคุณอาจจะเห็นสัญญาณเริ่มต้นแห่งรอยร้าวของความสัมพันธ์ที่ล้มเหลวของคุณก็ได้
    • หากคุณรู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถยอมรับความเป็นจริงได้ อย่างเช่น คุณปฏิเสธที่จะพูดคุยหรือรับรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้น หรือมองดูว่าตัวเองอาจจะมีส่วนต่อความล้มเหลวยังไงบ้าง หรือคุณเลือกที่จะมองข้ามผลลัพธ์ที่มาจากสิ่งที่เกิดขึ้น ให้คุณตรวจสอบดูว่ามีอะไรที่มารั้งตัวคุณเอาไว้ อะไรคือสิ่งที่คุณกลัวว่าจะเกิดขึ้นหากคุณรับรู้ถึงความล้มเหลว? [6] ไม่แน่บางทีคุณอาจจะรู้สึกล้มเหลวก็เพราะว่าลูกสาวของคุณมีปัญหาการใช้ยาเสพติด และแทนที่คุณจะพยายามจัดการกับปัญหานี้ คุณกลับปฏิเสธความจริงที่เกิดขึ้นและให้เงินกับลูกของคุณไปซื้อ “เสื้อผ้า” ทั้งๆ ที่คุณรู้ว่าลูกของคุณจะเอาไปซื้อยามาเสพ [7]
    • พิจารณาถึงความกลัวของตัวเองที่ดูไร้เหตุผลและดูมากเกินความจำเป็น [8] คุณกังวลว่าความล้มเหลวของคุณจะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการตั้งคำถามถึงสติปัญญาและความสามารถของคุณหรือเปล่า? คุณจินตนาการว่าคุณเป็นคนเดียวที่เคยพบเจอกับความพ่ายแพ้และเป็นคนเดียวที่กำลังถูกตัดสินจากคนอื่นอยู่หรือไม่? คุณกังวลว่าทุกคนจะผิดหวังหรือหมดความสนใจในตัวคุณหากคุณไม่ประสบความสำเร็จหรือเปล่า?
    • ลองพิจารณาถึงผลลัพธ์ที่เกิดจากการลงมือทำและการไม่ทำดู คุณสามารถทำอะไรให้สำเร็จได้บ้างเมื่อคุณลงมือทำ? และอะไรที่แย่ลงกว่าเดิมเมื่อคุณเลือกที่จะอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไร? [9] บางทีคุณอาจจะรู้สึกว่าความสัมพันธ์ของคุณมันล้มเหลว และเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดจากการเลิกรากันอีกในอนาคตข้างหน้า คุณก็เลยปฏิเสธที่จะออกเดทกับคนอื่นหรือปฏิเสธที่จะพิจารณาถึงสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับความสัมพันธ์ของคุณ จริงอยู่ว่าการอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไรเลย อาจจะป้องกันตัวคุณจากการถูกปฏิเสธหรือความความเจ็บปวดทางอารมณ์ที่เกิดจากการเลิกรากัน แต่สิ่งนี้ก็อาจจะทำให้คุณพลาดความสนุกและมิตรภาพที่ได้จากการออกเดท และอาจจะตัดโอกาสที่จะทำให้คุณได้พบกับความสัมพันธ์ที่ยืนยาวได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

คิดทบทวนสิ่งต่างๆ ผ่านความล้มเหลว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การวางกรอบในด้านบวกคือการค้นพบด้านดีๆ ในสถานการณ์ต่างๆ หรือแม้กระทั่งในความล้มเหลว โดยให้ลองมองไปที่สถานการณ์ที่ทำให้คุณรู้สึกล้มเหลว และลองคิดถึงวิธีการในการบรรยายสถานการณ์นั้นในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งความหมายของ “ความล้มเหลว” นั้นขึ้นอยู่กับแต่ละคน และแทนที่คุณจะพูดว่า “ฉันล้มเหลวในการหางานทำ” ให้คุณพูดว่า “ฉันยังหางานไม่ได้ก็แค่นั้นเอง” หรือ “ฉันหางานมานานเกินกว่าที่ฉันได้คาดหวังไว้แล้วล่ะ” และอย่าพยายามล้างความผิดของตัวเอง แต่ให้พูดโดยที่ไม่ตองใช้การตัดสินใดๆ และพยายามมองหาสิ่งที่ดีที่สุดแทนจะดีกว่า [10]
    • อีกวิธีหนึ่งในการวางกรอบสถานการณ์ใหม่อีกครั้งก็คือ การทำความเข้าใจว่าทำไมความพยายามของคุณถึงไม่ประสบผลสำเร็จ จากนั้นก็นำสิ่งที่พิจารณาได้มาใช้ในการพยายามทำให้สำเร็จอีกครั้ง ซึ่งวิธีการเดียวที่คนๆ หนึ่งจะค้นพบว่าอะไรคือสิ่งที่สามารถนำมาใช้ได้ก็คือ การค้นหาว่าอะไรไม่สามารถนำมาใช้ได้นั่นเอง
    • ความล้มเหลวจะเปิดโอกาสให้คุณได้เรียนรู้จนกว่าคุณจะเข้าใจสิ่งต่างๆ อย่างถูกต้องแล้ว
    • ลองนึกถึงนักกีฬา นักวิทยาศาสตร์ และคนที่ประสบความสำเร็จคนอื่นๆ ที่ได้ลองและล้มเหลวมาหลายต่อหมายครั้งเพียงเพื่อที่จะทำให้ตัวเองไปยังจุดหมายที่ตั้งไว้ดู เป็นที่รู้กันว่า ไมเคิล จอร์แดน นักบาสเกตบอลชื่อดังนั้นถูกตัดชื่อออกจากทีมบาสเกตบอลของโรงเรียน เพียงเพื่อที่จะฝึกซ้อมอย่างหนักและกลายเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล
    • ลองใช้อารมณ์ขันเพื่อให้กำลังใจตัวเองเมื่อคุณรู้สึกหมดหวังดู เช่น “อืม...ตอนนี้ฉันก็ยังหางานทำไม่ได้เลย แต่ฉันคิดว่าตอนนี้ฉันมีความเชี่ยวชาญในการเขียนจดหมายสมัครงานซะแล้วล่ะ” [11] ซึ่งการมองเห็นอารมณ์ขันในสถานการณ์แย่ๆ นั้น จะช่วยทำให้คุณสามารถดึงตัวเองกลับมาและมองเห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงอีกครั้ง
    • อารมณ์ขันคือองค์ประกอบสำคัญของความยืดหยุ่นในชีวิต การหัวเราะให้กับตัวเองจะช่วยทำให้คุณสามารถพาตัวเองข้ามผ่านความยากลำบากต่างๆ ไปได้ [12]
  2. ความล้มเหลวมักจะทำให้คุณโทษตัวเอง หรือแม้แต่ด่าทอตัวเอง ดังนั้นให้คุณเรียนรู้ที่จะแยกแยะรูปแบบความคิดด้านลบ เพื่อที่คุณจะได้สามารถแก้ไขความรู้สึกแย่ๆ พวกนั้นได้ ซึ่งความคิดเหล่านี้ก็อย่างเช่น การคิดแบบแบ่งขั้วตรงกันข้าม (“ฉันต้องทำมันให้ออกมาสมบูรณ์แบบตั้งแต่ครั้งแรก หรือไม่งั้นฉันก็อาจจะต้องยอมแพ้ไปเลย”) หรือคิดว่าสิ่งที่ทำอยู่คือหายนะของชีวิต (“นี่มันแย่มากๆ คงไม่มีทางที่ฉันจะแก้ไขอะไรได้แล้วจริงๆ “) หรือการตราหน้าว่าตัวเองแย่ (“ฉันคือความล้มเหลว ฉันมันของปลอม”) [13]
    • เมื่อคุณสังเกตเห็นว่าความคิดแบบนี้ผุดขึ้นมาในหัวคุณ ให้คุณตั้งคำถามกับความคิดเหล่านั้น ความคิดเหล่านั้นมักจะมาจากที่ที่เป็นอคติและพื้นที่อันตรายที่อยู่ในใจคุณเอง ดังนั้นให้คุณถามตัวเองแทนว่า “สิ่งนี้มันเป็นความจริงหรือเปล่า?” จากนั้นให้ลองมองหาหลักฐานที่สามารถนำมาต่อต้านคำอ้างเหล่านี้ได้ [14]
    • ให้คุณเขียนคำยืนยันที่สามารถเอามาใช้ต่อต้านการพูดกับตัวเองในเชิงลบได้ และถ้าหากคุณคอยแต่จะคิดว่าตัวเองเป็นคนล้มเหลว ให้คุณเขียนบางอย่างลงในกระดาษโพสต์-อิทเช่น “ฉันเป็นคนมีความสามารถ” จากนั้นก็เอาไปติดไว้ที่กระจก แล้วพูดคำนั้นกับตัวเองออกมาดังๆ สิ่งนี้จะทำให้คุณสามารถเริ่มปรับเปลี่ยนความคิดเชิงลบของตัวเองได้ [15]
  3. คุณรู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถหยุดคิดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและย้ำมันซ้ำไปซ้ำมาอยู่ในหัวตัวเองหรือเปล่า? สิ่งนี้เรียกว่าการย้ำคิด และการที่คุณมัวแต่ยึดติดกับสิ่งที่คุณน่าจะทำให้ต่างไปจากเดิมได้หรือยึดติดอยู่กับวิธีการต่างๆ ในการปรับปรุงแก้ไขความล้มเหลว สิ่งนี้ก็แค่จะไปขยายความคิดด้านลบของคุณให้มากขึ้นไปอีก [16]
    • ลองเขียนไดอารี่เพื่อปล่อยวางความคิดที่ครอบงำอยู่ในจิตใจให้ได้พักผ่อนบ้าง เพราะการเอาความคิดนั้นออกไปจากหัวและเขียนลงไปบนกระดาษจะช่วยทำให้คุณได้บรรเทาจากการคิดซ้ำไปซ้ำมาและช่วยเปิดเผยให้เห็นถึงรากฐานความกลัวที่แท้จริงของคุณได้ [17]
    • แทนที่คุณจะคิดย้ำไปย้ำมา ให้คุณหยุดและถามตัวเองว่า “โอเค...ฉันได้เรียนรู้อะไรจากจุดนี้บ้าง?” ไม่แน่บางทีคุณอาจจะได้เรียนรู้ว่าคุณจะต้องออกจากบ้านให้เร็วกว่านี้ 30 นาที เพื่อที่คุณจะได้ไม่ไปสายในการสัมภาษณ์งานครั้งต่อไป [18]
    • ใช้การฝึกสติเพื่อดึงตัวเองให้กลับมายังปัจจุบัน การฝึกสติจะช่วยให้คุณหยุดกังวลถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตและโฟกัสอยู่กับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า โดยคุณอาจจะเริ่มถามตัวเองว่า “วันนี้ฉันสามารถทำอะไรที่แตกต่างออกออกไปได้บ้าง?”
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

กลับสู่สภาพปกติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อะไรคือสิ่งที่ทำให้เป้าหมายของคุณไม่เป็นไปอย่างที่ตั้งใจไว้? เป้าหมายพวกนั้นน่าจะถูกขัดขวางไม่ให้เกิดขึ้นหรือเปล่า? ลองคิดถึงทางออกที่เป็นไปได้ที่คุณอาจจะนำมาใช้ในแผนการ และลองคิดว่าผลลัพธ์ที่ตามมาน่าจะเป็นแบบไหน จากนั้นลองดูว่าความคาดหวังเดิมของคุณมันไม่สมเหตุสมผลหรือเปล่า? โดยให้ลองพูดคุยเกี่ยวกับความคาดหวังของตัวเองกับคนที่คุณรักและเพื่อนร่วมทีม เพื่อดูว่าความคาดหวังเหล่านั้นมันเป็นไปตามหลักความเป็นจริงแค่ไหน
    • หากคุณล้มเหลวในการเลื่อนตำแหน่งในหน้าที่การงาน ให้คุณขอเข้าพบกับเจ้านายคุณเพื่อพูดคุยว่ามีตรงไหนบ้างที่คุณทำไม่ตรงตามจุดประสงค์ของงาน และรอจนกว่าคุณจะก้าวข้ามผ่านระยะเวลาแห่งความเสียใจที่เต็มไปด้วยความรู้สึกผิดหวังในขั้นแรกนี้ให้ได้ก่อน จากนั้นก็ทำความเข้าใจว่าคุณอาจจะผิดพลาดที่ตรงจุดไหน พร้อมกับตั้งคำถามต่างๆ เกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขในอนาคตด้วย
    • หากคุณล้มเหลวในการหางานแบบที่คุณหวังไว้ ให้คุณลองอ่านโปรไฟล์ของคนที่ทำงานแบบที่คุณอยากได้ในอินเทอร์เน็ตดู พวกเขามีวุฒิการศึกษามากกว่าที่คุณมีหรือเปล่า? มีประสบการณ์การทำงานมากกว่าคุณหรือไม่? และพวกเขาเข้าสู่การทำงานในช่วงเวลาที่แตกต่างกันหรือเปล่า?
    • หากคุณผิดหวังในความรัก ให้คุณถามตัวเองว่าคุณสร้างแรงกดดันหรือความคาดหวังต่างๆ ต่อแฟนคุณหรือเปล่า คุณเข้าใจหรือเปล่าว่าอีกฝ่ายรู้สึกยังไงในช่วงที่คบกัน? คุณสนับสนุนเรื่องงานและมิตรภาพต่างๆ ของอีกฝ่ายหรือไม่?
  2. เมื่อคุณได้จัดการกับสาเหตุของความผิดหวังในอดีตแล้ว ให้คุณตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้สำหรับอนาคตข้างหน้า คุณต้องการจะเห็นอะไรเกิดขึ้นในอนาคตบ้าง? การปฏิบัติตัวแบบไหนที่น่าจะสร้างแนวโน้มให้เกิดความสำเร็จ? ให้คุณตรวจสอบเป้าหมายพวกนี้กับคนที่คุณไว้ใจเพื่อดูว่าเป้าหมายใหม่ของคุณนั้นเป็นไปได้มากแค่ไหน [19]
    • ตัวอย่างเช่น หากคุณเพิ่งจะได้วิ่งฮาล์ฟ มาราธอน (13 ไมล์) เป็นครั้งแรก และหวังไว้ว่าจะวิ่งได้ภายใน 7 นาที นั่นแสดงว่าคุณอาจจะมีความต้องการมากเกินไป ดังนั้น ให้คุณพยายามตั้งเป้าหมายสำหรับการแข่งวิ่งครั้งต่อไปว่าต้องวิ่งให้เร็วกว่าครั้งเก่าแค่เพียงเล็กน้อยก็พอ อย่างเช่น หากคุณวิ่งได้ภายใน 10 นาทีแล้ว ให้คุณพยายามใช้เวลาให้น้อยลงเป็น 9.7 นาที และฝึกฝนเพื่อทำตามเวลาที่ตั้งเป้าเอาไว้
    • หากเป้าหมายก่อนหน้านี้ของคุณคือการตีพิมพ์หนังสือของตัวเองในตอนสิ้นปี ให้คุณทำเป้าหมายใหม่ของคุณให้อยู่ในระดับปานกลางก็พอ โดยเป้าหมายใหม่ของคุณอาจจะเป็นการที่คุณขอฟีดแบคต่อฉบับร่างของคุณ และลงทะเบียนเข้าร่วมเวิร์คช็อปการเรียบเรียงแก้ไขนิยาย หรือจะจ้างบรรณาธิการอิสระหรือไรท์ติ้งโค้ชก็ได้
  3. ให้คุณปรับสมดุลระหว่างการคิดในแง่ดีและการวางแผนที่มีความเป็นไปได้ด้วยการฝึกการเทียบเคียงทางจิต โดยขั้นแรก ให้คุณจินตนาการถึงเป้าหมายที่คุณต้องการว่ามันเป็นไปอย่างสวยงามแล้ว และปล่อยให้ตัวเองได้มองเห็นความสำเร็จโดยรวมจากตรงนั้นสักสองสามนาที จากนั้นให้สลับมุมมองเปลี่ยนไปจินตนาการถึงอุปสรรคต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น [20] เพราะการมองเห็นอุปสรรคต่างๆ ในขณะที่กำลังทำเป้าหมายที่เป็นไปได้ให้สำเร็จนั้น สามารถช่วยทำให้คุณรู้สึกกระตือรือร้นและมีความสามารถในการแก้ไขปัญหามากขึ้น ซึ่งถ้าหากเป้าหมายของคุณไม่มีเหตุผล การฝึกจิตด้วยวิธีนี้จะทำให้คุณสามารถปล่อยวางความต้องการที่เป็นไปได้ยากและหันไปโฟกัสกับบางสิ่งบางอย่างที่ดูเป็นไปได้จริงๆ
    • การรับรู้ถึงอุปสรรคต่างๆ ระหว่างตัวคุณและเป้าหมายของคุณนั้น ไม่ควรจะถูกมองว่าเป็นความคิดที่ไม่ดีหรือเป็นความคิดในเชิงลบ เพราะการฝึกการเทียบเคียงทางจิตนั้นจะช่วยทำให้คุณเรียนรู้ที่จะไม่ย้ำคิดย้ำทำกับเป้าหมายที่ไม่สามารถบรรลุได้จริงๆ หรือไม่ยึดติดกับสิ่งที่ไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ [21]
  4. ระดมความคิดต่างๆ และเลือกออกมาสักหนึ่งไอเดียที่ดูเหมือนว่าจะเป็นไอเดียที่มั่นคงที่สุด แล้วใช้การเทียบเคียงทางจิตภายในหัวคุณ เพื่อตรวจสอบทางออกของปัญหา ถามตัวเองว่าคุณมีสิ่งที่จะพาแผนการใหม่ของตัวเองไปยังเป้าหมายหรือเปล่า และปัญหาใหม่ๆ อะไรบ้างที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้น? และคุณจะแก้ปัญหาพวกนั้นยังไง? อะไรบ้างที่ควรจะอยู่เข้าที่เข้าทางก่อนที่คุณจะเริ่มต้นทำตามเป้าหมาย? [22]
    • ให้คุณหลีกเลี่ยงการทำผิดซ้ำซาก และวิธีการใหม่ในการเดินทางเข้าสู่เป้าหมายของคุณ ไม่ควรจะเป็นวิธีการใดก็แล้วแต่ที่เคยทำให้เป้าหมายเดิมของคุณล้มเหลว
    • วางแผนสำรองเอาไว้ เพราะแม้แต่วิธีการที่ดีที่สุดก็สามารถล้มเหลวเพราะความยุ่งยากซับซ้อนที่ไม่คาดคิดได้เช่นกัน ดังนั้น ดูให้แน่ใจว่าคุณเดินทางเข้าสู่เป้าหมายโดยที่เตรียมแผนสำรองที่มั่นคงเอาไว้แล้ว
  5. เมื่อตั้งเป้าหมายใหม่ของตัวเองได้แล้ว และแผนการใหม่ของคุณก็แน่นอนแล้ว ให้คุณเริ่มเดินหน้าทำเป้าหมายนั้นให้สำเร็จ สละเวลาบางส่วนเพื่อตรวจสอบความคืบหน้าของตัวเองเมื่อใดก็ตามที่แต่ละย่างก้าวของคุณก่อให้เกิดผลบางอย่าง โดยคุณสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการเข้าหาเป้าหมายของตัวเองได้ตามสบาย และสิ่งนี้จะทำให้คุณได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับการเดินทางเข้าสู่จุดหมาย ซึ่งส่วนที่เป็นธรรมชาติของกระบวนการนี้ก็คือการปรับแต่งวิธีการเข้าหาเป้าหมายของคุณ และไม่ว่าคุณจะทำเป้าหมายของตัวเองได้สำเร็จหรือต้องพยายามอีกกี่ครั้งก็ตาม สิ่งนี้จะทำให้คุณประสบความสำเร็จอย่างมากในเรื่องของการปรับความยืดหยุ่นให้เข้ากับชีวิตตัวเอง
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,174 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา