ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เกือบทุกคนต้องมีเวลาที่มีเพลงติดอยู่ในหัวสักอาทิตย์ละครั้งสองครั้ง อาการนี้เรียกกันว่า "earworms" หรือ "brainworms" ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งสิ่งที่ดีและผ่อนคลาย หรืออาจเป็นฝันร้าย ต่อไปจะเป็นวิธีจัดการกับเพลงติดหัวแบบนี้ให้ออกไปจากหัวของคุณ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

มีส่วนร่วมกับเพลง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ส่วนใหญ่แล้วเพลงที่ติดหัวหรือ "earworms" นั้น จะเป็นส่วนหนึ่งของเพลง เช่น ท่อนคอรัสที่ติดหูหรือเป็นแค่ท่อนหนึ่งหรือสองท่อน สมองของคุณอาจเล่นท่อนเหล่านี้ซ้ำๆ เพียงแค่เพราะมัน “ติด” อยู่โดยไม่รู้จะไปทางไหนต่อ การฟังเพลงตั้งแต่ต้นจนจบเป็นทางแก้ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถึงแม้ว่าหลายๆ ครั้งมันจะใช้ไม่ได้ผลก็เถอะ [1]
    • การมีส่วนร่วมกับเพลงอาจไม่ได้ผลสำหรับทุกคน ถ้าคุณไม่ชอบไอเดียในการฟังเพลงซ้ำอีกครั้งนั้น ให้เลื่อนลงไปดู เทคนิคการเบี่ยงเบนความสนใจ แทน
  2. เนื้อเพลงที่ไม่ชัดเจนหรือที่หลงลืมไปอาจทำให้สมองของคุณ “สับสน” ได้เช่นกัน หาเนื้อเพลงออนไลน์ ร้องตามให้ดังหรือจะ “ร้องเพลง” เงียบๆ กับตัวเองก็ได้เพื่อให้สมองของคุณได้ประมวลผลเพลงๆ นั้น
    • ถ้าคุณสามารถจำเนื้อร้องได้ นี่อาจเป็นวิธีที่ทำให้เพลงยาวเกินไปที่จะติดอยู่ในหัวของคุณ
  3. ถ้าคุณเล่นเครื่องดนตรีชนิดไหนได้ ให้ลองเล่นเพลงนั้นใหม่ดู การแกะเพลงและหาวิธีเล่นเพลงนั้นเป็นวิธีแก้ปัญหาสำหรับนักดนตรีหลายคน
    • ลองเล่นโน้ตหรือจังหวะที่แตกต่างจากเดิมเพื่อทำลายการเล่นแบบเดิมๆ ซ้ำๆ
  4. แม้คุณจะพบว่ามันยาก แต่ความรู้สึกที่ได้ควบคุมมันจะทำให้คุณกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์น้อยลง ใช้เวลาซักสองสามนาที หรือจนกว่าคุณเริ่มรู้สึกอึดอัดสับสน พยายามเปลี่ยนเพลงโดยใช้วิธีการเหล่านี้:
    • จินตนาการว่าได้เลื่อนปุ่มลดเสียงลง จนกลายเป็น”เหมือน” เสียงกระซิบ
    • จินตนาการว่าใจของคุณเป็นห้องที่ประกอบไปด้วยห้องหลายๆ ห้อง สร้างที่กั้นข้างหน้าเพลงและกันให้มันเข้ามาในพื้นที่ที่เล็กลงอย่างช้าๆ ทุกครั้งที่คุณเพิ่มที่กั้น เพลงจะค่อยๆ เงียบลงและได้ยินชัดน้อยลง
  5. เมื่อเพลงเงียบลงก็เป็นเวลาที่เพลงจบ ใช้เทคนิคการจินตนาการแบบเห็นภาพเพื่อกำจัดเพลงให้ออกจากหัวในครั้งเดียวและตลอดไป:
    • นึกภาพดาบหรือวัตถุคมๆ ในหัวทำลายการเชื่อมต่อกันของจิตใจของคุณและเพลงๆ นั้น
    • นึกภาพรายละเอียดเครื่องเล่นแผ่นเสียงให้มากที่สุด เพ่งใกล้ๆ ไปยังเข็มที่เคลื่อนไหวอยู่บนร่องในขณะที่เพลงกำลังเล่นอยู่ ยกเข็มขึ้นมาและฟังเสียงที่เงียบไปทันที [2]
    • เมื่อคุณไปถึงตอนจบของเพลง ร้องโน้ตสุดท้ายออกมาหรือในใจ และให้เสียงค่อยๆ ลดต่ำลงมาอย่างต่อเนื่องจนต่ำกว่าโน้ตตัวอื่นๆ ในเพลงทั้งหมด วิธีนี้บางครั้งช่วยไม่ให้เพลงเริ่มขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

เบี่ยงเบนความสนใจของตัวเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สำหรับหลายๆ คนแล้ว การเคี้ยวหมากฝรั่งเหมือนจะมีผลต่อความสามารถในการ “ได้ยิน” เพลงในหัวของคุณ [3] และอาจช่วยให้คุณไม่ใส่ใจกับเพลงในระหว่างขั้นตอนต่อไป
  2. จากการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า การสู้กับเพลงจะนำไปสู่การยิ่งคิดถึงมันบ่อยขึ้นและนานขึ้น [4] พยายามไม่ใส่ใจทำนองเพลงในขณะที่คุณคิดถึงอย่างอื่นในใจ ซึ่งอาจไม่ได้เป็นไปได้เสมอไปแต่ต้องใช้เวลาสักสองสามนาทีในการลองทำ
  3. แก้ปัญหาคำสลับอักษร เกมปริศนาครอสเวิร์ด หรือเกมปริศนาอื่นๆ ที่อยู่ในรูปแบบของคำสามารถช่วยขจัดเพลงออกไปจากหัว [5] การคิดถึงคำใช้พื้นที่ในสมองส่วนเดียวกับการคิดเนื้อร้อง ลองตั้งใจแน่วแน่ดู สมองของคุณอาจจะสามารถจดจ่ออยู่กับความคิดหนึ่งความคิดใดได้เท่านั้น
    • ถ้าคุณสังเกตว่าไม่มีความแตกต่างใดๆ และรู้สึกอึดอัด ให้หยุด บางครั้งอาการ earworm ก็อาจแย่ลงได้ถ้าคุณพยายามฝืนสู้กับมัน [4]
  4. เบี่ยงเบนความสนใจของคุณโดยกิจกรรมทางการพูดแบบสงบๆ. กิจกรรมที่ผ่อนคลายอาจช่วยได้ดีที่สุดถ้าคุณรู้สึกกังวลเกี่ยวกับอาการเพลงติดอยู่ในหัวหรือหนักใจที่คุณไม่สามารถควบคุมมันได้ ตัวเลือกเหล่านี้เป็นการทำให้สมองของคุณมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่การฟังและการพูด: [1]
    • ท่องหรืออ่านอะไรออกมาดังๆ
    • จดจ่ออยู่กับบทสนทนา
    • นั่งสมาธิ
    • สวดมนต์
    • อ่านหนังสือ
    • ดูโทรทัศน์
    • เล่นวิดีโอเกมส์ที่มีบทพูดหรือตัวอักษร
  5. เลือกเพลงที่คุณชอบฟังเสมอ เพื่อที่มันจะมาแทนที่เพลงที่ติดอยู่ในหัวของคุณได้ โดยหลักการแล้วคุณจะพบ “ทำนองที่สามารถรักษาได้” ที่จะกำจัดเพลงเก่าออกไปแต่จะไม่มาติดอยู่ในหัวคุณแทน ทำนองที่ว่าส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับตัวบุคคล แต่จากการสำรวจหนึ่ง พบว่ามีบางเพลงที่ได้รับความนิยม ได้แก่: [1]
    • God Save the Queen
    • Karma Chameleon โดย Culture Club
    • Happy Birthday To You
    • The A-Team theme song
    • Kashmir โดย Led Zeppelin
    • Sledgehammer โดย Peter Gabriel
    • ถ้าคุณไม่ชอบไอเดียในการฟังเพลงเหล่านี้ ให้อ่านต่อไปสำหรับคำแนะนำในการหาเพลงของคุณเอง
  6. เริ่มต้นด้วยเพลงที่น่าจะเข้าหัวได้น้อยกว่า หลีกเลี่ยงทำนองที่ “ติดหู” ได้ง่าย และโดยหลักการแล้วให้หาเพลงที่คุณได้ฟังไปแล้วแค่ครั้งหรือสองครั้งก่อนหน้านี้ ยิ่งร้องตามได้ยากเท่าไหร่ เพลงนั้นก็น่าจะยิ่งติดหัวยากขึ้นเท่านั้น
  7. ถ้ายังไม่ได้ผล ก็ต้องใช้วิธีนำไม้ตายออกมา การรักษาด้วยวิธีนี้จะทำให้เพลงนี้ติดหัวของคุณแทน แต่ก็หวังว่ามันจะดีกว่าเพลงก่อน ประเภทของเพลงที่ “ติดหู” ได้แก่:
    • เพลงที่คุณรู้จักเป็นอย่างดี โดยเฉพาะเพลงที่เกี่ยวข้องกับความหลังหรือความทรงจำพิเศษ [6]
    • เพลงที่ร้องตามง่าย ส่วนใหญ่จะเป็นทำนองยาวๆ และเปลี่ยนแปลงระดับเสียงน้อย [7] เพลงป๊อปส่วนใหญ่จะเข้ากับคำจำกัดความนี้
    • เพลงที่มีการร้องซ้ำๆ เช่น เพลงกล่อมเด็ก เพลงที่มีท่อนคอรัสที่ซ้ำไปซ้ำมา และแน่นอน เพลงป๊อปส่วนใหญ่
  8. บางครั้งคุณอาจลืมเพลงที่ติดหัวไปได้ด้วยโจทย์คณิตศาสตร์ที่ต้องใช้ความตั้งใจทั้งหมดของคุณในการแก้โจทย์ [8] พยายามคำนวณ 8208 ÷ 17, หรือลองคิด 2 x 2 x 2 x 2... ให้มากที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้
    • ถ้าโจทย์ยากไปอาจทำให้คุณเบื่อได้ เลือกสิ่งที่อยู่ไม่เกินความสามารถของคุณ [9]
    โฆษณา


เคล็ดลับ

  • ลองเคาะจังหวะที่ต่างออกไปด้วยนิ้วมือ
  • ฟังเสียงที่มีความถี่สม่ำเสมอ แม้ว่าเพลงที่เล่นอยู่ในหัวของคุณจะไม่ได้เกิดขึ้นในแก้วหูแต่เซลล์ประสาทที่ได้รับผลกระทบคือเซลล์เดียวกัน การฟังเสียงที่ดังอย่างสม่ำเสมอจะช่วยทำให้เซลล์เหล่านั้นดีขึ้น
  • ร้องหลายๆ เพลงรวมกันเหมือนการรีมิกซ์
  • คุยกับตัวเองเสียงดังมากๆ
  • ฟังเพลงประกอบภาพยนตร์ ปกติแล้วจะยาวและแบ่งออกเป็นหลายช่วงซึ่งทำให้หลีกเลี่ยงท่อนซ้ำๆ ได้
  • ฟังเพลงอื่นที่ต่างออกไปทั้งในจังหวะและประเภท
  • พยายามเล่นเพลงย้อนกลับไปข้างหน้าในหัว!


โฆษณา

ข้อมูลอ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 http://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0086170
  2. http://www.bbc.com/news/magazine-17302237
  3. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25896521
  4. 4.0 4.1 Beaman, C.P. and T.I. Williams (2010). Earworms (stuck song syndrome): Towards a natural history of intrusive thoughts . British Journal of Psychology 101(4): 637–653.
  5. http://www.telegraph.co.uk/news/science/science-news/9950143/Get-that-tune-out-of-your-head-scientists-find-how-to-get-rid-of-earworms.html
  6. Williamson, Victoria J. and Sagar R. Jilka. Experiencing earworms: An interview study of Involuntary Musical Imagery . Psychology of Music: September 2014, vol. 42, no. 5, pp.653-670
  7. Williamson, Victoria J. and Daniel Müllensiefen. Earworms from Three Angles: Situational Antecedents, Personality Predisposition and the Quest for a Musical Formula . Accessed at http://icmpc-escom2012.web.auth.gr/sites/default/files/papers/1124_Proc.pdf
  8. http://www.bbc.com/news/magazine-17302237
  9. http://www.telegraph.co.uk/news/science/science-news/9950143/Get-that-tune-out-of-your-head-scientists-find-how-to-get-rid-of-earworms.html

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 17,089 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา