ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ตะคริวที่ขาหรือบางครั้งเรียกว่า "charley horses" เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว อาจอยู่นานสองสามนาทีไปจนถึงหลายนาที และสามารถสร้างความเจ็บปวดให้เราได้มาก ถึงแม้การหดเกร็งหรือเป็นตะคริวจะสามารถเกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อส่วนใดก็ได้ แต่กล้ามเนื้อที่พบว่ามีส่วนทำให้เกิดตะคริวที่ขามากที่สุดคือกล้ามเนื้อน่องตรงบริเวณขาช่วงล่าง กล้ามเนื้อแฮมสตริงหรือกล้ามเนื้อที่ต้นขาด้านหลัง และกล้ามเนื้อควอดริเซ็บหรือกล้ามเนื้อบริเวณต้นขาด้านหน้า การแก้ตะคริวที่ขาอย่างรวดเร็วจะทำให้อาการเจ็บปวดนั้นคลายลง แต่บางครั้งเราก็ต้องใช้วิธีอื่นเพิ่มเติม ถ้าหากเราเป็นตะคริวที่ขาบ่อยๆ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

แก้ตะคริวที่ขาโดยทันที

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การเป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อเกิดจากการหดหรือเกร็งของกล้ามเนื้อแบบกะทันหันและไม่คาดคิด ถ้าต้องการหายเป็นตะคริวเร็วๆ เราต้องยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวนั้น [1]
    • เราสามารถยับยั้งการหดตัวหรือการเป็นตะคริวได้ด้วยการการยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวนั้น [2]
    • การยืดเหยียดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวจะได้ผลดีถ้าเราสามารถยืดเหยียดกล้ามเนื้อบริเวณนั้นสักประมาณหนึ่งนาทีหรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น เราอาจต้องยืดเหยียดกล้ามเนื้อบริเวณที่เป็นตะคริวอีกครั้ง ถ้าหากเป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อบริเวณนั้นอีก [3]
  2. ถ้าเรามีผ้าขนหนูอยู่ข้างตัว เราสามารถใช้ผ้าขนหนูยืดเหยียดกล้ามเนื้อแฮมสตริงและกล้ามเนื้อน่องได้ [4]
    • นอนหงาย
    • คล้องผ้าขนหนูไว้ที่จมูกเท้าของขาข้างที่เป็นตะคริว ดึงปลายทั้งสองของผ้าขนหนูเอาไว้
    • ทำเข่าให้ตรงไว้และค่อยๆ ยกเข่าขึ้นจนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อด้านหลังขาค่อยๆ ยืดเหยียด
    • ปรับผ้าขนหนูเพื่อให้ข้อเท้างอเข้าหาตัวเอง การทำแบบนี้จะช่วยยืดเหยียดกล้ามเนื้อน่องและคลายเส้นประสาท
    • ทำท่านี้ค้างไว้สัก 30 วินาที
  3. ถ้ากล้ามเนื้อน่องเป็นตะคริว ก็มีท่ายืดเหยียดกล้ามเนื้อสักสองสามท่าที่สามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้ผ้าขนหนูหรือหาพื้นที่สำหรับนอนลง สามท่าที่ว่ามีดังนี้
    • ลงน้ำหนักที่ขาซึ่งเป็นตะคริวและงอเข่าเล็กน้อยขณะที่วางเท้าราบกับพื้น [5]
    • หันหน้าเข้าหาผนัง ยืนห่างจากผนังเล็กน้อย และพิงผนังโดยใช้มือยันผนังไว้ พยายามทำขาข้างที่เป็นตะคริวให้ตรง เท้าและส้นเท้าวางอยู่บนพื้น ขณะที่ลำตัวช่วงบนเอนเข้าหาผนัง [6]
    • ใช้มือทั้งสองข้างยันผนัง นิ้วเท้าของขาข้างที่กล้ามเนื้อน่องเป็นตะคริววางแนบกับผนังและส้นเท้าวางอยู่บนพื้น พยายามทำขาให้ตรงและเอนร่างกายช่วงบนเข้าหาผนังเพื่อยืดเหยียดกล้ามเนื้อน่อง
    • ถ้าไม่สามารถยืนได้ ก็ให้นั่งโดยยืดขาที่เป็นตะคริว พยายามดึงหลังเท้าเข้าหาศีรษะและอก พยายามทำขาให้ตรงเข้าไว้ [7]
  4. ถ้าการใช้ผ้าขนหนูไม่ช่วยให้กล้ามเนื้อแฮมสตริงหายเป็นตะคริว ลองใช้ท่าที่จะแนะนำดังต่อไปนี้ดู
  5. ควรมีเก้าอี้หรืออยู่ใกล้ผนังเพื่อจะได้มีอะไรพยุงตัว งอเข่าของขาข้างที่เป็นตะคริวและจับเท้าไว้ ดึงเท้าขึ้นไปที่บริเวณหลังช่วงล่างและ ก้น [9]
  6. การนวดกล้ามเนื้อบริเวณที่เป็นตะคริวเบาๆ จะช่วยคลายกล้ามเนื้อได้ [10]
  7. การประคบร้อนบริเวณที่เป็นตะคริวสามารถช่วยคลายกล้ามเนื้อและบรรเทาอาการปวดได้ [11]
    • เราจะใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น แผ่นประคบร้อนไฟฟ้า แช่หรืออาบน้ำอุ่นก็ได้ คนส่วนใหญ่จะรู้สึกคลายปวดเมื่อกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวได้รับความอบอุ่น อีกทั้งทำให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้นด้วย [12]
  8. บางคนก็แนะนำให้ใช้น้ำแข็งประคบกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริวดู ลองดูสิว่าระหว่างวิธีประคบร้อนและประคบเย็น วิธีไหนใช้ได้ผลดีกับที่เราที่สุด [13]
    • อย่าใช้น้ำแข็งประคบผิวบริเวณนั้นโดยตรง นำน้ำแข็งมาใส่ถุงขนาดปานกลางและใส่น้ำลงไปในถุงจนเกือบท่วมน้ำแข็ง ไล่อากาศออก รัดถุงให้แน่น จากนั้นนำผ้าขนหนูที่ยังหมาดอยู่มาห่อไว้และนำไปประคบบริเวณที่เป็นตะคริว
    • วิธีที่เร็วอีกวิธีหนึ่งคือใช้ถุงผักแช่แข็งอย่างเช่น ถุงถั่วลันเตาหรือถุงข้าวโพด นำผ้าขนหนูที่ยังหมาดอยู่มาห่อถุงผักแช่แข็งไว้และนำไปประคบบริเวณที่เป็นตะคริว
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ป้องกันไม่ให้เป็นตะคริวที่ขา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าไม่อยากเป็นตะคริวที่ขาอีกคราวหน้า การเข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดตะคริวที่ขาจะช่วยให้เราสามารถหาหนทางป้องกันได้ [14]
  2. หากมีอาการเป็นตะคริวที่ขาบ่อยๆ อายุมาก เป็นโรคเบาหวาน เป็นโรคตับ มีการกดทับเส้นประสาทอันเกิดจากหลังช่วงล่างมีปัญหา ขามีการไหลเวียนเลือดไม่ดี หรือเป็นโรคไทรอยด์ เราอาจเสี่ยงเป็นตะคริวที่ขาได้มากขึ้น [15]
    • ยารักษาโรคบางตัวอย่างเช่น ยาขับปัสสาวะซึ่งใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูงอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายซึ่งโดยปกติคอยรักษาเกลือแร่และอิเล็กโทรไลต์ให้สมดุล แพทย์สามารถปรับเปลี่ยนยารักษาโรคเพื่อช่วยลดอาการเป็นตะคริวที่ขาได้
    • แพทย์สามารถช่วยรักษาโรคที่ก่อให้เกิดอาการเป็นตะคริวที่ขาแก่เราได้ [16]
  3. อย่าออกกำลังกายมากเกินไป ถึงแม้การออกกำลังกายนั้นดีต่อสุขภาพ แต่ถ้าเราเป็นตะคริวที่ขา เราก็จะออกกำลังกายหนักแบบเดิมได้อย่างยากลำบาก [17]
    • ปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย มีการออกกำลังกายที่ทำให้เราได้ใช้กล้ามเนื้อกลุ่มอื่น มีการปรับความหนักของการออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อขาให้เหมาะสม [18]
  4. เราจะเป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อได้มากยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อกล้ามเนื้อล้า ร่างกายเริ่มขาดน้ำ และอิเล็กโทรไลต์ในร่างกายอาจมีไม่เพียงพอ ปัจจัยทั้งหมดอาจเกิดขึ้นพร้อมกันได้ เมื่อออกกำลังกายนาน
    • ถ้าเป็นตะคริวที่ขาบ่อยๆ ลดระยะเวลาในการออกกำลังกายลง จากนั้นจึงค่อยๆ เพิ่มระยะเวลาในการออกกำลังกายทีละนิดเพื่อให้กล้ามเนื้อขาเริ่มชินกับการออกกำลังกายที่หนักมากได้
  5. สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นตะคริวที่ขามากที่สุดคือการขาดน้ำช่วงที่ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาโดยเฉพาะในตอนที่อากาศร้อนจัด [19]
    • ดื่มน้ำเพิ่มก่อนออกกำลังกายและระหว่างออกกำลังกาย การดื่มน้ำขณะที่เป็นตะคริวก็ยังช่วยให้อาการนี้คลายลงได้ [20]
    • การดื่มน้ำอย่างเดียวไม่เพียงพอ เพราะช่วงที่ออกกำลังกายอย่างหนักร่างกายของเราจะใช้อิเล็กโทรไลต์ด้วย เราจึงต้องให้ร่างกายได้รับอิเล็กโทรไลต์เช่นกัน ถ้าอิเล็กโทรไลต์ในร่างกายลดลง จะทำให้กล้ามเนื้อเป็นตะคริว [21]
    • เราจะต้องเพิ่มอิเล็กโทรไลต์ในร่างกายให้มากขึ้นด้วยการดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ ใช้ยาเม็ดเกลือ และกินอาหารที่มีอิเล็กโทรไลต์อย่างเช่น กล้วยและส้ม [22]
    • ร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ฉะนั้นปริมาณอิเล็กโทรไลต์ที่ต้องบริโภคเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นตะคริวที่ขาจึงแตกต่างกันไปตามร่างกายของแต่ละบุคคล
    • ช่วงออกกำลังกายและแม้แต่ช่วงเหงื่อออกในหน้าร้อนเป็นช่วงที่กล้ามเนื้อของเราใช้อิเล็กโทรไลต์มากกว่าปกติ
    • ถ้าเราเป็นตะคริวที่ขาขณะออกกำลังกาย แสดงว่าร่างกายของเราใช้อิเล็กโทรไลต์ที่มีหมดแล้ว ฉะนั้นร่างกายต้องรับอิเล็กโทรไลต์เพิ่ม
    • วิธีที่ง่ายที่สุดซึ่งจะทำให้ร่างกายได้รับอิเล็กโทรไลต์คือการดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ที่มีแคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และโซเดียม เกลือแร่หรืออิเล็กโทรไลต์เหล่านี้จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้ตามปกติ
    • ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเม็ดเกลือ ยาเม็ดเกลือโดยปกติใช้ในนักกีฬาสายเอนดูรานซ์ (endurance) ยาเม็ดเกลือจึงอาจไม่เหมาะใช้กับคนที่ออกกำลังกายระดับเบาไปจนถึงระดับปานกลาง
  6. กินอาหารที่อุดมเป็นด้วยเกลือแร่ซึ่งได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และโซเดียม [23] [24]
    • อาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมและแมกนีเซียมได้แก่ นม ปลา เนื้อ ไข่ และผลไม้
    • กินอาหารที่มีโพแทสเซียมในแต่ละวัน อาหารที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียมได้แก่ กล้วย ปลา อาโวคาโด และมันฝรั่ง
    • เราต้องได้รับเกลือในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ถ้าอากาศร้อนและเราเหงื่อออกเยอะ เราอาจต้องดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ซึ่งมีอิเล็กโทรไลต์ เช่น โซเดียมหรือโซเดียมคลอไรด์
  7. การยืดเหยียดกล้ามเนื้อต่างๆ ก่อนเริ่มวอร์มอัพจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดและความยืดหยุ่นของร่างกาย [25] การยืดเหยียดไม่เพียงแค่ช่วยป้องกันการเป็นตะคริว แต่ยังช่วยทำให้เรามีท่าทางที่ดี มีข้อต่อและกระดูกสันหลังที่แข็งแรง
    • นักกีฬาหลายคนยืนยันว่าตนเองยืดเหยียดหลังออกกำลังกายเพื่อคลายความล้าและความเจ็บของกล้ามเนื้อ การยืดเหยียดอาจช่วยทำให้เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อผ่อนคลาย ปลดปล่อยสารเคมีไม่ดีที่อาจสะสมตัวในช่วงออกกำลังกายและทำให้เลือดไหลเวียนไปที่เนื้อเยื่อกล้ามเนื้ออย่างเพียงพอ [26]
    • ถึงแม้การยืดเหยียดหลังออกกำลังกายไม่สามารถป้องกันการเป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อได้เสมอไป แต่สามารถทำให้สุขภาพของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อเราดีขึ้นได้
  8. ป้องกันอันตรายจากการเป็นตะคริวที่ขาขณะว่ายน้ำ. ถึงแม้การว่ายน้ำจะเป็นการออกกำลังกายที่ดีเยี่ยม แต่การว่ายน้ำก็ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เป็นตะคริวที่ขาได้บ่อยๆ ควรปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยในการว่ายน้ำขณะเริ่มว่ายน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราไม่ว่ายน้ำมาหนึ่งปีและว่ายอยู่ในน้ำเย็น [27]
    • น้ำเย็นจะทำให้การไหลเวียนเลือดไปสู่กล้ามเนื้อขาลดลง เราควรจะป้องกันอันตรายด้วยการอย่าว่ายน้ำเพียงลำพัง เพราะถ้าเราเกิดเป็นตะคริวขณะว่ายน้ำที่ลึกเกินกว่าเท้าจะหยั่งพื้นถึง จะได้ขอความช่วยเหลือหรือมีคนเห็นแล้วเข้ามาช่วยเหลือได้ [28]
  9. อาการเป็นตะคริวที่ขามักจะเกิดขึ้นตอนดึก ถ้าเรามักเป็นตะคริวที่ขาบ่อยๆ ให้ยืดเหยียดกล้ามเนื้อขาก่อนเข้านอนและให้ร่างกายรับน้ำอย่างเพียงพอ [29]
  10. การนั่งนานเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดตะคริวที่ขาได้เช่นกัน [31]
    • ถ้างานที่ทำเป็นงานที่ต้องนั่งอยู่กับที่เป็นประจำ พยายามหยุดพักอย่างน้อยทุก 60 นาทีและลุกเดินเสียบ้าง แม้แต่เพียงแค่ยืนขึ้นและ "ขยับตัวเล็กๆ น้อยๆ" ก็ยังดีกว่านั่งอยู่กับที่ตลอด ถ้ามีเวลาเหลือ พยายามออกไปเดินเล่นช่วงพักกลางวัน [32]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

แก้ตะคริวที่ขาช่วงตั้งครรภ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าเรามีอาการเป็นตะคริวที่ขาบ่อยๆ ช่วงตั้งครรภ์ พบแพทย์เพื่อจะได้ตรวจสอบว่าในช่วงตั้งครรภ์เราได้รับแคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม และโพแทสเซียมเพียงพอหรือไม่ [33]
    • ในการกินอาหารเสริมอย่าปรับเปลี่ยนปริมาณ วิธีการ ระยะเวลา หรืออะไรก็ตามโดยไม่ปรึกษาแพทย์
  2. การยืดเหยียดกล้ามเนื้อซึ่งเป็นตะคริวไม่มีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
  3. ผู้หญิงส่วนใหญ่โดยเฉพาะผู้หญิงที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่สองและสามมักจะมีอาการเป็นตะคริวที่ขาตอนกลางคืน [34]
    • กล้ามเนื้อน่องเป็นกลุ่มกล้ามเนื้อที่พบว่ามักเป็นตะคริวตอนกลางคืนมากที่สุดในช่วงตั้งครรภ์
    • ยืดเหยียดกล้ามเนื้อน่องก่อนเข้านอนทุกคืน เริ่มยืดเหยียดกล้ามเนื้อน่องด้วยการยืนห่างจากผนังหนึ่งช่วงแขน ใช้มือทั้งสองข้างยันผนัง จากนั้นวางเท้าข้างหนึ่งไว้หลังเท้าอีกข้างหนึ่ง
    • ค่อยๆ งอเข่าของขาที่อยู่ใกล้กับผนังมากที่สุดและพยายามทำขาหลังให้ตรงโดยให้ส้นเท้าวางอยู่บนพื้น พยายามทำหลังและเท้าให้ตรง อยู่ในท่านี้ประมาณ 30 วินาที
    • เปลี่ยนไปทำซ้ำกับขาอีกข้าง [35]
  4. เราสามารถยืดเหยียดกล้ามเนื้อแฮมสตริงได้ด้วยการนอนหงายและดึงเข่าเข้ามาหาอก ถ้ามีผู้ช่วย ให้เขาค่อยๆ ช่วยกดเข่าเพื่อทำให้เข่านั้นชิดอกมากขึ้นอีกนิด ระวังอย่าให้ท้องของเราโดนกด [36]
  5. ควรมีเก้าอี้หรืออยู่ใกล้ผนังเพื่อจะได้มีอะไรพยุงตัว งอเข่าของขาข้างที่เป็นตะคริวและจับเท้าไว้ ดึงเท้าขึ้นไปที่บริเวณหลังช่วงล่างและ ก้น [37]
  6. เลือกรองเท้าที่ใส่สบายและมีการรองรับเป็นอย่างดีในบริเวณด้านหลังรองเท้า [38]
    • ตามข้อมูลจาก American College of Foot and Ankle Surgery เท้าของเราจะใหญ่ขึ้นประมาณครึ่งไซส์ในช่วงตั้งครรภ์และเท้าอาจจะยังคงมีขนาดเท่านั้นต่อไป [39]
    • รองเท้าที่ขอแนะนำสำหรับหญิงตั้งครรภ์คือรองเท้าที่สามารถรองรับรอบเท้าได้ดี มีการรองรับข้อเท้าอย่างเพียงพอในบริเวณส้นเท้า
    • อาจลองหาซื้อรองเท้านักกีฬามาใส่ช่วงตั้งครรภ์ก็ได้ [40]
    • พยายามหลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าที่มีส้นสูง [41]
  7. พยายามให้ร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอในช่วงตั้งครรภ์
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

เข้ารับการรักษา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เราต้องพบแพทย์ หากอาการเป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อนั้นรุนแรง เกิดขึ้นบ่อยๆ อยู่นานเกินสองสามนาที และรักษาด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อก็ไม่หาย [43]
  2. แพทย์จะถามคำถามที่ช่วยในการวินิจฉัยว่าสาเหตุของการเป็นตะคริวนั้นคืออะไร [44]
    • คำถามทั่วไปที่แพทย์จะถามได้แก่ เริ่มเป็นตะคริวตั้งแต่เมื่อไหร่ เกิดอาการนี้บ่อยแค่ไหน จะเป็นนานเท่าไหร่ จะเป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อส่วนไหน มีการออกกำลงกายมากน้อยแค่ไหน [45]
    • แพทย์อาจขอรายชื่อยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ถามว่าดื่มแอลกอฮอล์ไหม ถ้าดื่ม ดื่มมากแค่ไหน และมีอาการอื่นๆ เช่น อาเจียน ท้องร่วง เหงื่อออกมากเกินไป หรือปัสสาวะมากเกินไปหรือไม่ [46]
    • ยารักษาโรคอาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายจนมีผลให้เป็นตะคริวที่ขาได้ง่าย ตัวอย่างเช่น ยาบางตัวที่ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูงสามารถปรับวิธีจัดการอิเล็กโทรไลต์และเกลือแร่ของร่างกายให้เปลี่ยนไปได้ [47]
    • แพทย์อาจนำเลือดไปตรวจเพื่อจะได้ทราบถึงปัญหาทางสุขภาพที่ซ่อนอยู่ การตรวจเลือดในกรณีที่เราเป็นตะคริวที่ขาประกอบด้วยการตรวจระดับของเหล็ก แคลเซียม โพแทสเซียม และแมกนีเซียมและตรวจดูว่าร่างกายของเราจัดการกับสารพวกนี้อย่างไร การตรวจทั่วไปอื่นๆ ประกอบด้วยการตรวจการทำงานของไตและต่อมไทรอยด์ [48]
    • แพทย์อาจตรวจการไหลเวียนเลือดด้วยเพื่อจะได้รู้ว่าการไหลเวียนเลือดที่ขานั้นดีไหม [49]
  3. ถ้าขาเริ่มบวม แดง หรือผิวบริเวณที่กล้ามเนื้อเป็นตะคริวเปลี่ยนแปลง ควรไปพบแพทย์ [50]
  4. การมีโรคประจำตัวอาจทำให้เราเสี่ยงที่จะเป็นตะคริวที่ขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราเปลี่ยนรูปแบบการออกกำลังกาย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าใส่กางเกงที่แน่นและคับจนเกินไป
  • สวมใส่รองเท้าที่สบายและรองรับเท้าได้เป็นอย่างดี
  • ถ้าน้ำหนักเกิน อาจต้องลองเข้าโปรแกรมลดน้ำหนักดู
  • การนั่งได้อย่างสบายนั้นสำคัญ ถ้างานที่ทำจำเป็นต้องนั่งอยู่กับที่ เก้าอี้ของเราต้องรองรับได้เป็นอย่างดีและไม่ขัดขวางการไหลเวียนเลือดไปที่ขา
  • ไปพบแพทย์ หากเราเป็นตะคริวที่ขาบ่อยๆ ถึงแม้ทุกคนต่างก็เคยเป็นตะคริวที่ขากันอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นบ่อยๆ พบแพทย์เพื่อจะได้ตรวจดูให้แน่ใจว่าเราไม่ได้เป็นโรคอะไร
  • เหยียดขาขึ้นไปในอากาศสักสองสามนาที จะช่วยแก้ตะคริวได้
โฆษณา
  1. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/muscle-cramp/basics/definition/CON-20014594?p=1
  2. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/muscle-cramp/basics/definition/CON-20014594?p=1
  3. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/muscle-cramp/basics/definition/CON-20014594?p=1
  4. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/muscle-cramp/basics/definition/CON-20014594?p=1
  5. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003193.htm
  6. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/muscle-cramp/basics/causes/con-20014594
  7. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/muscle-cramp/basics/causes/con-20014594
  8. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003193.htm
  9. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003193.htm
  10. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003193.htm
  11. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/muscle-cramp/basics/definition/CON-20014594?p=1
  12. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003193.htm
  13. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003193.htm
  14. http://www.baltictimes.com/news/articles/26533/
  15. http://www.healthguidance.org/entry/14680/1/How-to-Get-Rid-of-Leg-Cramps.html
  16. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003193.htm
  17. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/muscle-cramp/basics/definition/CON-20014594
  18. http://www.baltictimes.com/news/articles/26533/
  19. http://www.baltictimes.com/news/articles/26533/
  20. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/muscle-cramp/basics/definition/CON-20014594?p=1
  21. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/muscle-cramp/basics/definition/CON-20014594?p=1
  22. http://www.npr.org/2011/04/25/135575490/sitting-all-day-worse-for-you-than-you-might-think
  23. http://www.npr.org/2011/04/25/135575490/sitting-all-day-worse-for-you-than-you-might-think
  24. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/expert-answers/leg-cramps-during-pregnancy/faq-20057766
  25. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/expert-answers/leg-cramps-during-pregnancy/faq-20057766
  26. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/expert-answers/leg-cramps-during-pregnancy/faq-20057766
  27. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/muscle-cramp/basics/definition/CON-20014594?p=1
  28. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/muscle-cramp/basics/definition/CON-20014594?p=1
  29. http://geniuspregnancy.com/maternity-wear/how-choose-shoes-during-pregnancy.html
  30. http://geniuspregnancy.com/maternity-wear/how-choose-shoes-during-pregnancy.html
  31. http://geniuspregnancy.com/maternity-wear/how-choose-shoes-during-pregnancy.html
  32. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/expert-answers/leg-cramps-during-pregnancy/faq-20057766
  33. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/expert-answers/leg-cramps-during-pregnancy/faq-20057766
  34. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003193.htm
  35. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003193.htm
  36. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003193.htm
  37. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003193.htm
  38. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/muscle-cramp/basics/definition/CON-20014594?p=1
  39. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003193.htm
  40. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/musclecramps.html
  41. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/muscle-cramp/basics/definition/CON-20014594?p=1
  42. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/muscle-cramp/basics/definition/CON-20014594?p=1

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,542 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา