ดาวน์โหลดบทความ
ดาวน์โหลดบทความ
อาการปวดหลังจากการปวดตึงหรือกล้ามเนื้อหดเกร็งมักเป็นปัญหาที่แก้ยาก ปัญหากล้ามเนื้อหลังหดเกร็งนี้สามารถพบได้ในสัตว์หลายชนิด ซึ่งเป็นผลมาจากกล้ามเนื้อที่ฉีกขาดหรือทำงานหนักเกินไปจนเกิดการอักเสบ การอักเสบนี้จะไปกระตุ้นเส้นประสาทที่เชื่อมโยงกับกล้ามเนื้อหลัง ทำให้สั่งให้กล้ามเนื้อตึงตัวและหดตัว [1] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง จากบทความนี้เราก็จะมีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ในการรักษาอาการกล้ามเนื้อหลังหดเกร็งทางการแพทย์ที่สาสามารถทำได้เองที่บ้าน
ขั้นตอน
-
ใช้แรงกด. เทคนิคนี้มักใช้ลดอาการเจ็บปวดจากอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง โดยก่อนจะขยับตัว พลิกตะแคง หรือลุกขึ้นจากเตียง ให้วางนิ้วทั้ง 4 นิ้ว หรือใช้ปลายนิ้ววางไปบริเวณใกล้ๆ กระดูกสันหลังตรงที่มีกล้ามเนื้อเกร็งขึ้นมา ให้กดลงไปแล้วกดคลึง ถ้าตรงนั้นมีกล้ามเนื้อหดเกร็ง ให้กดแรงขึ้น รอให้เกร็งลดลงก่อนค่อยกดคลึงอีกครั้ง เมื่อทำเสร็จ ให้รอสักครู่
- ลองใช้ 4 นิ้วนั้นไต่บนกล้ามเนื้อเพื่อเช็คว่ากล้ามเนื้อที่หดเกร็งเปลี่ยนไปหรือไม่
-
การรักษาด้วยน้ำ. ขณะอาบน้ำด้วยฝักบัว ให้เปิดเป็นน้ำอุ่นลงบนแผ่นหลัง 2-3 นาที แล้วสลับเป็นเปิดน้ำเย็น 30 วินาที ทำซ้ำจนอาการปวดลดลง
-
เริ่มด้วยการออกกำลังกาย ยืดกล้ามเนื้อ เบาๆ หลังอาการอักเสบลดลง และหดเกร็งของกล้ามเนื้อดีขึ้น. โดยการยืดเส้นใยกล้ามเนื้อนั้น จะช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย และระงับการหดเกร็งได้ และควรออกกำลังกายแบบยืดเหยียดนี้ก่อนการออกกำลังกายอื่นๆ ทุกครั้ง
-
เพิ่มการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงเข้าไปด้วย. ถ้าคุณคือนักเพาะกาย แน่นอนเลยว่าคุณจำเป็นต้องออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรงสมดุลกับกล้ามเนื้อกลุ่มอื่นๆ
- วิดพื้น เพื่อให้กล้ามเนื้อหลังส่วนบนและกล้ามเนื้อไบเซบทำงาน แต่ต้องไม่ละเลยการออกกำลังกล้ามเนื้อหุบสะบักด้วย โดยขณะที่วิดพื้นเพื่อให้ได้หลังส่วนบนนั้น ต้องแน่ใจว่าคุณหนีบหัวไหล่และสะบักไปด้วยเพื่อให้กล้ามเนื้อเหล่านั้นแข็งแรงอย่างแท้จริง
- ออกกำลังกายด้วยการยกน้ำหนักเบาๆ (ดัมเบลล์, เครื่องออกกำลังกายรวมหลายชนิดหรือเคเบิ้ล, ยางยืด หรือ เครื่องออกกำลังกายต่างๆ ) โดยออกให้ได้เต็มช่วงการเคลื่อนไหวของส่วนนั้นๆ อาการเจ็บแบบเสียดแทงบริเวณข้อไหล่ของคุณจะหายไปอย่างรวดเร็ว
- การออกกำลังกายในท่าบินในบริเวณหลัง ก็ช่วยให้ได้ผลดีถ้าใช้น้ำหนักที่เบา ซึ่งการออกกำลังโดยยกน้ำหนักด้วยดัมเบลล์ 1 ปอนด์ อาจต้องออกจำนวนครั้งที่มาก หากหันมาออกในท่าบิน กางแขนและเหยียดแขนออก ก็จะช่วยประหยัดเวลาได้ดี
-
ใช้เทคนิคการยกของที่ดีเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ. เมื่อคุณกำลังจะยกของที่หนัก 25 ปอนด์ หรือ 1 ปอนด์ ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้
- ขยับเข้าไปใกล้ของที่ต้องการจะยก ยืนให้ของอยู่ระหว่างเท้าทั้งสองข้าง และอยู่หลังต่อของเล็กน้อย
- งอเข่างอสะโพก ระวังไม่ให้หลังค่อมงุ้ม
- จับที่ของชิ้นนั้น และต้องมั่นใจว่าจับแน่นแล้ว
- ลุกขึ้นยืนโดยออกแรงจากต้นขาและก้นช่วยในการลุก แขม่วหน้าท้องเพื่อช่วยลดการทำงานของหลังขณะลุกขึ้นยืน
โฆษณา
-
ประคบน้ำแข็งลงไปบนกล้ามเนื้อที่หดเกร็งใน 48-72 ชั่วโมงแรก. โดยให้ประคบทิ้งไว้ 20 นาที แล้วเอาออก 1 ชั่วโมงครึ่งแล้วประคบอีกครั้งนาน 20 นาที ทำซ้ำแบบนี้ให้บ่อยเท่าที่จะทำได้ในช่วง 2-3 วันแรกหลังเริ่มมีอาการ
- ใช้อะไรบางๆ มาวางกั้นระหว่างแผ่นประคบกับผิวหนัง เช่น ผ้าขนหนูบางๆ เพื่อป้องกันการถูกทำลายของเนื้อเยื่อบริเวณนั้นจากความเย็นที่มากเกินไป โดยน้ำแข็งนี้จะช่วยลดอาการอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุของการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ และยังช่วยลดอันตรายด้วยการไม่ต้องรับประทานยาแก้ปวดบ่อยๆ อีกด้วย
-
เริ่มประคบร้อนหลังจากเริ่มมีอาการ 72 ชั่วโมง. ความร้อนชื้นอย่างเช่น แผ่นประคบร้อนชื้น, น้ำอุ่นจากฝักบัว หรือ อ่างน้ำอุ่น มักเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย โดยความร้อนนั้นจะช่วยให้เกิดกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อจากการนำเลือดดีเข้ามาเลี้ยงบริเวณที่กล้ามเนื้อหลังหดเกร็ง นอกจากนั้นยังช่วยทำให้เส้นประสาทและเส้นใยกล้ามเนื้อผ่อนคลายลงอีกด้วย
- หรืออาจจะใช้เย็น/ร้อนสลับกันไปหลังจากเริ่มมีอาการผ่านไป 72 ชั่วโมงได้ โดยนักกายภาพบำบัดบางส่วนแนะนำให้ใช้การประคบร้อนก่อนการยืดกล้ามเนื้อ และใช้ประคบเย็นตามหลังการยืดกล้ามเนื้ออีกครั้ง [2] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา
-
พักผ่อน. คุณไม่จำเป็นที่จะต้องพักผ่อนโดยการนอนอยู่แต่บนเตียง เพียงแค่หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดเกร็งหลัง ได้แก่การยกของหนัก หรือ ออกกำลังกายบางประเภท
- พักผ่อนให้มากทั้งในตอนกลางคืนและหลังการใช้งานหลังอย่างหนัก
-
พักผ่อนอย่างเต็มที่เพียงแค่ 1-2วันเท่านั้น. การพักผ่อนนานเกินไปจะทำให้ได้ผลเสียมากกว่าผลดีในการรักษาอาการกล้ามเนื้อหลังหดเกร็ง
-
ยกขาสองข้างขึ้นสูง. ผู้ป่วยบางคนบอกว่าจะรู้สึกดีมากขึ้นหลังจากยกขาสองข้างขึ้นสูง โดยการยกขาขึ้นสูงนี้ จะช่วยเปลี่ยนความรู้สึกปวดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ให้ไปโฟกัสที่เทคนิคการผ่อนคลายแทน ซึ่งมีวิธีการต่างๆ ดังนี้
- ใช้หมอนรองใต้เข่า
- นอนหงายบนที่นอนแข็ง หรือนอนบนพื้น ในท่ายาขาสูงขึ้นหรือใช้เก้าอี้มารอง โดยให้เข่างอ 90 องศา
- วางเท้าหรือขาท่อนล่างไว้บนที่วางเท้าขณะนั่ง
โฆษณา
-
สังเกตดูว่าเวลาไหนควรไปพบแพทย์มากกว่าการพยายามรักษาด้วยตนเองที่บ้าน. ภาวะกล้ามเนื้อหลังหดเกร็งจะทำให้รู้สึกปวด, เหน็ดเหนื่อย, และอ่อนเพลีย ควรหยุดรักษาต่อด้วยตนเอง แล้วรีบมาพบผู้เชี่ยวชาญ หากมีอาการดังต่อไปนี้
- กล้ามเนื้อหลังหดเกร็งมาก ปวดมากจนไม่สามารถทนได้
- ปวดหลัง และกล้ามเนื้อหลังหดเกร็งขึ้นมาบ่อยๆ หรือเคยปวดอยู่บ่อยๆ ซึ่งอาการนี้อาจเป็นผลจากปัญหาอื่นๆ ได้
- อาการดังกล่าวทำให้ปวดค้างมานานกว่า 2 สัปดาห์
-
รับประทานยาบรรเทาอาการปวด. แพทย์จะสั่งจ่ายยาแก้ปวดนาพรอกเซนหรือไอบูโพรเฟนให้
- สำหรับผู้ที่ปวดรุนแรง แพทย์จะสั่งจ่ายยาคลายกล้ามเนื้อแบบชั่วคราว ซึ่งมักจะเป็นการรักษาอย่างแรกก่อนการรักษาอื่นๆ
- ในผู้ป่วยบางราย อาจต้องพิจารณาให้ยาต้านเศร้า (tricyclic antidepressants) เพื่อช่วยลดการเกร็ง โดยยานี้นิยมใช้ในผู้ป่วยที่ซึมเศร้าที่หาสาเหตุไม่ได้
- และในผู้ป่วยส่วนมาก แพทย์มักจะสั่งจ่ายยา NSAIDS ซึ่งได้แก่ ไอบูโพรเฟนและนาพรอกเซน แต่แพทย์อาจสั่งจ่ายยาที่มีฤทธิ์แรงกว่านี้หากมีอาการปวดมาก
-
ไปพบนักกายภาพบำบัด หรือ ไคโรแพรกเตอร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกระดูก. ในช่วงแรกจะให้การรักษาด้วยความร้อน, อัลตราซาวนด์ และผ่อนคลายกล้ามเนื้อเพื่อรักษาอาการหดเกร็งกล้ามเนื้อ หลังจากนั้นก็จะให้ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพื่อป้องกันการกลับมาเกิดซ้ำ
- ในบางรายกล่าวว่าอาการปวดหลังเรื้อรังสามารถดีขึ้นได้จากการฝังเข็ม [3] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง ให้ศึกษาและตรวจสอบก่อนว่าผู้ทำการรักษาได้รับใบอนุญาตให้ฝังเข็มและมีประสบการณ์ในการฝังเข็มเพื่อบรรเทาอาการปวดหลังหรือไม่
-
ฉีดยา. การฉีดยาแก้ปวด Cortisone อาจสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้เพียงไม่กี่เดือน หากอาการหดเกร็งนั้นทำให้เกิดอาการปวดร้าวลงไปที่ขา. [4] X แหล่งข้อมูลอ้างอิงโฆษณา
เคล็ดลับ
- ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าหากปวดแบบรุนแรงแล้วนั้น อาจต้องการการพักไปช่วงหนึ่งในระยะแรกๆ และอาจโดนกระตุ้นอาการปวดขึ้นมาได้ง่ายๆ แม้ขยับนิดๆ หน่อยๆ จึงค่อนข้างต้องใช้เวลากว่าจะหายดี
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์บางชนิดเพิ่มเติม เพราะบางครั้งการขาดแคลเซียม โพแทสเซียมก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกล้ามเนื้อเกร็งตัวได้ การรับประทานแคลเซียมนั้นได้จากชีส นม หรือโยเกิร์ต ส่วนกล้วย มันฝรั่ง และรำข้าวนั้น เป็นแหล่งอุดมไปด้วยโพแทสเซียม ที่ควรรับประทานเพิ่ม
- หาคนที่เชี่ยวชาญ หรือให้คนในครอบครัวที่พอจะนวดดีๆช่วยนวดให้เพื่อให้หายเร็วขึ้น
- หรือคุณอาจจะลองไปฝังเข็มบริเวณกล้ามเนื้อหลัง เพราะมีงานวิจัยออกมาว่าการฝังเข็มนั้นมีผลดี อาจจะดีกว่าวิธีอื่นเลยก็เป็นได้ [5] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ภาวะกล้ามเนื้อหลังหดเกร็งที่ว่านี้ น้อยรายมากที่จำเป็นจะต้องผ่าตัด ถ้าหากไม่ได้เป็นจากความผิดปกติโรงสร้างมาแต่กำเนิด มีอาการปวดตลอด หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ [6] X แหล่งข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา
คำเตือน
- ห้ามหลับไปพร้อมกับการประคบเย็นหรือร้อนที่ผิวหนัง เพราะจะทำให้เกิดการไหม้ที่ผิวหนัง และการถูกทำลายของเส้นประสาททั้งจากความร้อนและความเย็น
- อย่าเพิ่งกลับไปทำกิจกรรมแบบเดิม ขณะคุณรับประทานยาคลายกล้ามเนื้อ เพราะยาจะช่วยแค่ให้กล้ามเนื้อคลายพอที่จะทำกิจวัตรประจำวันได้โดยไม่เจ็บเท่านั้น หากไปทำเหมือนเดิม อาการจะยิ่งหนักขึ้นนะ
- ยาแก้ปวดชนิดรุนแรงที่ใช้กับอาการปวดรุนแรง มักมีผลข้างเคียงที่รุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ เช่น ตับวาย โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาดังกล่าวนานๆ และก้ามรับประทานยาร่วมกับแอลกอฮอล์เด็ดขาด
- ไม่ใช่แผ่นประคบเย็นแบบสารเคมีวางลงไปบนผิวหนังโดยตรง ควรมีอะไรมารองก่อน เพื่อไม่ให้ผิวหนังไหม้ โดยความเย็นจะไม่ให้ผลเสียเมื่อวางไม่เกิน 15 นาที หรือวางครอบคลุมพื้นที่ผิวของร่างกายมากเกินไป แต่หากจำเป็นต้องใช้ ให้หาเสื้อยืดบางๆมาห่อก่อน
โฆษณา
สิ่งของที่ใช้
- น้ำแข็ง
- เสื้อยืด หรือ ผ้าขนหนู
- แผ่นประคบร้อน
- อุปกรณ์สำหรับออกกำลังกาย
- ยาแก้ปวด ไอบรูโพรเฟน, นาพรอกเซน
- ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาคลายกังวล ยาต้านเศร้า
- ยาฉีดชนิดคอร์ติโซน
ข้อมูลอ้างอิง
- ↑ http://abcnews.go.com/Health/CommonPainProblems/story?id=4047881#.UHnUt_l26Do
- ↑ http://www.losethebackpain.com/treatments/iceorheatforbackpain.html
- ↑ http://en.allexperts.com/q/Acupuncture-1829/2010/7/PAIN-SPASMS-ACUPUNCTURE.htm
- ↑ http://www.mayoclinic.com/health/back-pain/DS00171/DSECTION=treatments-and-drugs
- ↑ http://www.webmd.com/back-pain/news/20090511/acupuncture-may-ease-chronic-back-pain
- ↑ http://www.mayoclinic.com/health/back-pain/DS00171/DSECTION=treatments-and-drugs
โฆษณา