ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ครั้งแรกที่คุณได้เห็นสมการกำลังสาม (ซึ่งใช้รูปแบบพหุนาม ax 3 + bx 2 + cx + d = 0) มันอาจดูยากจะแก้โจทย์ได้ อย่างไรก็ดี วิธีแก้โจทย์สมการกำลังสามนั้นมีมาหลายศตวรรษแล้ว! มันถูกค้นพบในช่วงศตวรรษที่ 15 โดยนักคณิตศาสตร์ชาวอิตาเลียน นิคโคโล ตาร์ตัลเกลียและเจโรลาโม คาร์ดาโน วิธีการแก้โจทย์สมการยกกำลังสามเป็นหนึ่งในสูตรแรกๆ ที่ยังไม่รู้จักกันในสมัยกรีกและโรมัน การแก้สมการยกกำลังสามอาจยากหน่อย แต่ถ้ามีวิธีที่ถูกต้อง (และมีความรู้พื้นฐานอยู่พอตัว) แม้กระทั่งโจทย์สมการกำลังสามที่ว่าหินๆ ก็ยังสามารถกินนิ่ม

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

แก้โจทย์ด้วยสูตรสมการกำลังสอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ตรวจดูว่าสมการกำลังสามนั้นมีค่าคงที่อยู่ด้วยหรือไม่. ดังที่บอกไว้ข้างต้น สมการกำลังสามนั้นจะอยู่ในรูปแบบ ax 3 + bx 2 + cx + d = 0 b, c, และ d สามารถเป็น 0 โดยไม่ส่งผลอะไรไม่ว่าสมการพหุนามนั้นจะเป็นกำลังสามหรือไม่ นั่นหมายความว่าสมการกำลังสามไม่จำเป็นต้องมีตัวเลข bx 2 , cx , หรือ d ทั้งหมดเพื่อจะเป็นสมการกำลังสาม ในการเริ่มวิธีแก้โจทย์แบบง่ายนี้ ให้ดูว่าในสมการมีค่าคงที่หรือไม่ (เช่น ค่า d ) หากไม่มี คุณสามารถใช้การแก้สมการกำลังสองมาหาคำตอบได้หลังปรับแก้ทางคณิตศาสตร์เพิ่มอีกเล็กน้อย
    • แต่หากสมการนั้น มี ค่าคงที่อยู่ด้วย คุณจำต้องใช้วิธีการแก้โจทย์แบบอื่น ให้ดูด้านล่าง
  2. เนื่องจากสมการพหุนามไม่มีค่าคงที่ ทุกพจน์จึงมีตัวแปร x ติดอยู่ นั่นหมายถึงสามารถแยก x ตัวหนึ่งออกมาจากสมการเพื่อถอดให้มันง่ายขึ้น เขียนสมการเสียใหม่ในรูปแบบของ x ( ax 2 + bx + c )
    • ตัวอย่าง สมมติว่าสมการกำลังสามของเราคือ 3 x 3 + -2 x 2 + 14 x = 0 แยกตัวแปร x หนึ่งตัวออกมาจากสมการ เราก็จะได้ x (3 x 2 + -2 x + 14) = 0
  3. คุณอาจสังเกตเห็นแล้วว่าส่วนหนึ่งของสมการพหุนามใหม่นี้อยู่ในวงเล็บและตรงกับรูปแบบของสมการกำลังสอง ( ax 2 + bx + c) นั่นหมายความว่าเราสามารถหาค่าโดยให้พหุนามนี้เท่ากับศูนย์โดยการแทน a, b, และ c เข้าไปในสมการกำลังสอง ({- b +/-√ ( b 2 - 4 ac )}/2 a ) ทำเช่นนี้เพื่อหาสองคำตอบสำหรับสมการกำลังสามของคุณ
    • ในตัวอย่างของเรา เราจะแทนค่า a, b, และ c (3, -2, และ 14 ตามลำดับ) เข้าไปในสมการกำลังสองดังนี้:
    • คำตอบ 1:
    • คำตอบ 2:
  4. ใช้ศูนย์และคำตอบสมการกำลังสองเป็นคำตอบของสมการกำลังสาม. ในขณะที่สมการกำลังสองอาศัยสองคำตอบ สมการกำลังสามต้องอาศัยถึงสาม คุณได้มาแล้วสองค่า พวกมันเป็นคำตอบที่คุณพบในส่วนของ "สมการกำลังสอง" ภายในวงเล็บของโจทย์ ในกรณีที่สมการของคุณมีคุณสมบัติสำหรับใช้วิธีการแก้สมการแบบ "แยกตัวประกอบ" นี้ คำตอบที่สามจะเป็น 0 เสมอ ขอแสดงความยินดีด้วย คุณเพิ่งแก้สมการยกกำลังสามได้สำเร็จ
    • เหตุผลที่เป็นเช่นนั้นก็เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงพื้นฐานที่ว่า จำนวนใดๆ เมื่อคูณกับศูนย์ก็จะมีค่าเท่ากับศูนย์ เมื่อคุณแยกตัวประกอบในสมการพหุนามมาอยู่ในรูปแบบ x ( ax 2 + bx + c ) = 0 คุณได้แยกมันออกเป็นสอง "ครึ่ง": ครึ่งแรกคือตัวแปร x ทางด้านซ้ายและอีกครึ่งคือสมการกำลังสองในวงเล็บ หากทั้งสอง "ครึ่ง" นี้เท่ากับศูนย์ สมการทั้งสมการก็จะเท่าไปด้วย ดังนั้น คำตอบของสมการกำลังสองในวงเล็บสองคำตอบซึ่งจะทำให้ "ครึ่ง" นั้นเท่ากับศูนย์ จึงเป็นคำตอบสำหรับสมการกำลังสาม เพราะตัว 0 เองจะทำให้ "ครึ่ง" ฝั่งซ้ายเท่ากับศูนย์ไปด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

หาค่าจำนวนเต็มด้วยการแยกตัวประกอบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ให้แน่ใจว่าสมการกำลังสามของคุณมีพจน์ที่เป็นค่าคงที่. ในขณะที่วิธีการด้านบนนั้นสะดวก เพราะคุณไม่ต้องเรียนรู้ทักษะทางคณิตศาสตร์เพิ่มเพื่อใช้มัน แต่มันไม่สามารถแก้ไขโจทย์สมการกำลังสามได้ตลอด หากสมการพหุนามนั้นอยู่ในรูป ax 3 + bx 2 + cx + d = 0 และ d ไม่ได้มีค่าเป็นศูนย์ เคล็ดลับการแยกตัวประกอบด้านบนก็ไม่ได้ผล คุณจำต้องใช้วิธีการที่จะอธิบายในส่วนนี้หรือไม่ก็อีกวิธีด้านล่างเพื่อแก้โจทย์
    • ตัวอย่าง สมมติว่าเราได้รับสมการพหุนาม 2 x 3 + 9 x 2 + 13 x = -6 ในกรณีนี้ การจะทำให้ด้านขวาของสมการเป็น 0 ต้องเอา 6 ไปบวกทั้งสองด้าน ในสมการใหม่จึงเป็น 2 x 3 + 9 x 2 + 13 x + 6 = 0, d = 6 ดังนั้น เราจึงไม่สามารถใช้เคล็ดการแยกตัวประกอบข้างต้นได้
  2. ในการแก้สมการกำลังสาม ให้เริ่มด้วยการหาตัวประกอบของ a (สัมประสิทธิ์ของจำนวน x 3 ) และ d (ค่าคงที่ในตอนท้ายของสมการ) เพื่อเตือนความจำไวๆ ตัวประกอบคือตัวเลขที่สามารถคูณกันเพื่อทำให้เกิดตัวเลขอื่น เช่น คุณสามารถสร้างเลข 6 โดยการคูณเลข 6 กับ 1 และเลข 2 กับ 3 ดังนั้นเลข 1, 2, 3, และ 6 จึงเป็นตัวประกอบของ 6
    • ในโจทย์ตัวอย่าง a = 2 และ d = 6 ตัวประกอบของ 2 คือ 1 กับ 2 ตัวประกอบของ 6 คือ 1, 2, 3, และ 6
  3. ต่อจากนั้น ไล่ค่าที่คุณได้จากการหารตัวประกอบแต่ละตัวของ a ด้วยตัวประกอบแต่ละตัวของ d ซึ่งผลที่ได้มักจะอยู่ในรูปเศษส่วนและมีจำนวนเต็มเพียงไม่กี่ตัว คำตอบจำนวนเต็มของสมการกำลังสามของคุณก็จะเป็นหนึ่งในค่าจำนวนเต็มที่ได้ในลิสต์นี้หรือไม่ก็ค่าเป็นลบของตัวเลขหนึ่งในนี้
    • ในสมการของเรา ตัวประกอบของ a (1, 2) ถูกหารด้วยตัวประกอบของ d (1, 2, 3, 6) ได้ค่าดังนี้: 1, 1/2, 1/3, 1/6, 2, และ 2/3 จากนั้น เราเติมค่าลบเพื่อให้มันสมบูรณ์แบบ: 1, -1, 1/2, -1/2, 1/3, -1/3, 1/6, -1/6, 2, -2, 2/3, และ -2/3 ผลตัวเลขจำนวนเต็มของสมการกำลังสามของเราอยู่ในค่าเหล่านี้แหละ
  4. ใช้การหารสังเคราะห์หรือตรวจคำตอบเองทีละตัว. พอคุณได้ค่าทั้งหมดนี้แล้ว คุณสามารถหาคำตอบจำนวนเต็มสำหรับสมการยกกำลังสามได้โดยแทนค่าเองทีละตัวแล้วหาว่าตัวไหนจะเท่ากับศูนย์ อย่างไรก็ดี ถ้าไม่อยากเสียเวลา ก็มีวิธีที่ช่วยให้เร็วกว่านิดหน่อยโดยใช้เทคนิคที่เรียกว่าการหารสังเคราะห์ คุณจะต้องหารสังเคราะห์ค่าจำนวนเต็มด้วยค่าสัมประสิทธิ์ของ a, b, c, และ d เดิมในสมการยกกำลังสาม หากคุณได้ผลที่เหลือเป็นศูนย์ ค่านั้นคือคำตอบหนึ่งของสมการยกกำลังสาม
    • การหารสังเคราะห์เป็นเรื่องที่ซับซ้อน โปรดหาดูบทความเพิ่มเติมในวิกิฮาว นี่คือตัวอย่างในการผลลัพธ์ของสมการยกกำลังสามโดยการหารสังเคราะห์:
      -1 | 2 9 13 6
      __| -2-7-6
      __| 2 7 6 0
      เนื่องจากเราได้ผลสุดท้ายเป็น 0 เราจึงรู้ว่าหนึ่งในคำตอบจำนวนเต็มของสมการคือ -1
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ใช้วิธีการ "ดิสคริมิแนนต์"

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สำหรับวิธีหาคำตอบของสมการกำลังสามนี้ เราจะใช้สัมประสิทธิ์ของพจน์ในสมการเป็นหลัก ด้วยเหตุผลนี้ ทางที่ดีจึงควรบันทึกพจน์ a, b, c, และ d เอาไว้ก่อนที่จะเริ่มเพื่อคุณจะได้ไม่ลืมว่าแต่ละตัวคืออะไร
    • ตัวอย่าง สำหรับสมการพหุนาม x 3 - 3 x 2 + 3 x – 1 เราจะเขียนว่า a = 1, b = -3, c = 3, และ d = -1 อย่าลืมว่าเวลาที่ตัวแปร x ไม่ได้มีสัมประสิทธิ์ ก็รู้กันว่าสัมประสิทธิ์ของมันคือ 1
  2. การใช้ดิสคริมิแนนต์หาสมการกำลังสามนั้นต้องใช้คณิตศาสตร์เชิงลึก แต่หากคุณทำตามกระบวนการด้วยความระมัดระวัง คุณจะพบว่ามันเป็นเครื่องมือหาคำตอบสมการกำลังสามที่ทรงคุณค่า เริ่มต้นด้วยการหา Δ0 ค่าแรกของค่าสำคัญมากมายที่เราจำเป็นต้องรู้ โดยการแทนที่ค่าที่เหมาะสมลงไปในสูตร b 2 - 3 ac
    • ในตัวอย่างของเรา จะแก้โจทย์ได้ดังต่อไปนี้:
      b 2 - 3 ac
      (-3) 2 - 3(1)(3)
      9 - 3(1)(3)
      9 - 9 = 0 = Δ0
  3. ค่าสำคัญต่อไปที่เราต้องการคือ Δ1 นั้นต้องใช้วิธีเพิ่มมากกว่าเดิมเล็กน้อย แต่ก็หาได้แบบเดียวกับ Δ0 แทนค่าที่เหมาะสมลงไปในสูตร 2 b 3 - 9 abc + 27 a 2 d เพื่อให้ได้ค่าของ Δ1
    • ในตัวอย่างของเรา จะแก้โจทย์ได้ดังต่อไปนี้:
      2(-3) 3 - 9(1)(-3)(3) + 27(1) 2 (-1)
      2(-27) - 9(-9) + 27(-1)
      -54 + 81 - 27
      81 - 81 = 0 = Δ1
  4. ต่อไปเราจะคำนวณ ดิสคริมิแนนต์ ของสมการกำลังสามจากค่าของ Δ0 และ Δ1 ดิสคริมิแนนต์นั้นก็คือตัวเลขที่บ่งบอกให้เรารู้ถึงรากที่สองของพหุนาม (คุณอาจรู้จักดิสคริมิแนนต์ของสมการกำลังสองแล้วโดยไม่รู้ตัวจาก: b 2 - 4 ac ) ในกรณีของสมการกำลังสาม หากดิสคริมิแนนต์เป็นบวก สมการจะได้คำตอบที่เป็นจริงได้สามคำตอบ หากดิสคริมิแนนต์เป็นศูนย์ สมการจะมีคำตอบที่เป็นจริงหนึ่งหรือสองคำตอบ และบางคำตอบอาจเป็นจำนวนร่วมกัน ถ้าดิสคริมิแนนต์เป็นลบ สมการก็จะมีคำตอบที่เป็นจริงคำตอบเดียว (สมการกำลังสามจะมีคำตอบที่เป็นจริงอย่างน้อยหนึ่งคำตอบเสมอ เพราะกราฟจะตัดแกน x อย่างน้อยหนึ่งจุดเสมอ)
    • ในตัวอย่างของเรา เนื่องจากทั้ง Δ0 และ Δ1 = 0 การหา Δ จึงง่ายดาย เราแค่แก้โจทย์ตามต่อไปนี้:
      Δ1 2 - 4Δ0 3 ) ÷ -27 a 2
      (0) 2 - 4(0) 3 ) ÷ -27(1) 2
      0 - 0 ÷ 27
      0 = Δ ดังนั้นสมการของเราจะมี 1 หรือ 2 คำตอบ
  5. ค่าสำคัญตัวสุดท้ายที่จำเป็นต้องคำนวณคือ C ค่าสำคัญนี้จะทำให้เราหารากทั้งสามได้ ให้แก้โจทย์ตามปกติ แทนค่า Δ1 กับ Δ0 ตามจำเป็น
    • ในตัวอย่างของเรานั้น จะหาค่า C ได้ดังต่อไปนี้:
      3 √(√((Δ1 2 - 4Δ0 3 ) + Δ1)/ 2)
      3 √(√((0 2 - 4(0) 3 ) + (0))/ 2)
      3 √(√((0 - 0) + (0))/ 2)
      0 = C
  6. ราก (คำตอบ) สำหรับสมการกำลังสามนั้นจะได้ตามสูตร ( b + u n C + (Δ0/ u n C )) / 3 a โดยที่ u = (-1 + √(-3))/2 และ n เป็นไปได้ทั้ง 1, 2, หรือ 3 แทนค่าลงไปเพื่อแก้โจทย์ มันต้องใช้การคำนวณทางคณิตศาสตร์มากมาย แต่คุณควรจะได้คำตอบที่มีสิทธิเป็นไปได้สามคำตอบ!
    • ในตัวอย่างของเรา เราอาจแก้โจทย์โดยตรวจคำตอบเวลาที่ n เท่ากับ 1, 2, และ 3 คำตอบที่ได้จากการทดสอบเหล่านี้เป็นคำตอบที่มีสิทธิเป็นไปได้ของสมการกำลังสาม ตัวไหนก็ตามที่ได้คำตอบของ 0 เวลาแทนค่าลงไปในสมการจะเป็นคำตอบถูกต้อง เช่น หากเราได้คำตอบ 1 จากการทดสอบของเรา เนื่องจากพอแทนค่า 1 ลงใน x 3 - 3 x 2 + 3 x - 1 จะได้เป็น 0 ดังนั้น 1 จึงเป็นหนึ่งในคำตอบของสมการกำลังสามของเรา
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 120,452 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา