ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

เราแต่ละคนต่างก็มีทักษะและความสามารถเฉพาะตัวที่สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นได้ ถึงแม้จะรู้ว่าตนเองมีทักษะและความสามารถ แต่การรู้ว่ามีทักษะและความสามารถอะไรบ้าง และนำมาใช้อย่างไรนั้นเป็นเรื่องยาก ไม่ว่าเราจะเป็นคนหนึ่งที่มีทักษะและความสามารถอันหลากหลาย เย็บปักถักร้อยได้ หรือเข้าสังคมเก่ง ก็ยังมีวิธีการใช้ทักษะและพัฒนาทักษะที่มีนั้นไปพร้อมกันด้วย!

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

รู้จักทักษะของตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เราอาจมีทักษะหลายแบบแต่ไม่รู้ตัวว่ามี ทักษะไม่ใช่แค่ความรู้เท่านั้น แต่เป็นวิธีการเชื่อมโยงข้อมูลและผู้คน ประเภทของทักษะประกอบด้วย ทักษะด้านเทคนิค ทักษะด้านการทำงาน และทักษะส่วนบุคคล [1] ทักษะด้านเทคนิคคือ “วิธีการทำสิ่งต่างๆ” อย่างการซ่อมหรือการสร้างสิ่งต่างๆ การคิดหรือทำตามระเบียบการ อย่างเช่น ช่างยนต์ พยาบาล ศิลปิน หรือนักแข่งรถ ทักษะด้านการทำงานเป็นทักษะที่สามารถช่วยเหลือเราในสถานการณ์ต่างๆ อย่างเช่น การจัดระบบ การบริการลูกค้า การทำงานเป็นทีม และสามารถนำมาใช้ประโยชน์กับอาชีพหรือกิจกรรมต่างๆ มากมาย ทักษะส่วนบุคคลประกอบด้วย การเป็นที่ไว้วางใจ การสามารถตัดสินใจเองได้ การมีสัญชาตญาณดี และการมีความกระตือรือร้น [2]
    • ลองคิดถึงทักษะที่มี และจำแนกว่ามีอะไรบ้าง ลองนึกว่าในอดีตทักษะอะไรช่วยเราไว้ (อย่างการวางแผนแต่งงาน หรือตอบคำถามสัมภาษณ์ได้ดี) และระดมสมองหาทางใช้ทักษะในอนาคต
  2. ไม่มีประโยชน์ที่จะใช้และพัฒนาทักษะที่เราไม่สนุกด้วย ถึงแม้เรามีทักษะที่เชี่ยวชาญ แต่อย่าเสียเวลาใช้และพัฒนาทักษะเหล่านั้น ถ้าเราไม่สนุกที่ได้ใช้มัน จำไว้ว่าเงินไม่สามารถซื้อความสุขได้หรอก [3] ฉะนั้นลองคิดถึงสิ่งต่างๆ ที่ทำแล้วมีความสุขเถอะ
    • เราอาจเข้ากับผู้คนได้ดี มีเสน่ห์ดึงดูดผู้คนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และรักที่จะสร้างมิตร เราอาจต้องการทำงานขาย หรือทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้คนมากมาย อย่างทำงานเป็นอาสาสมัครคอยประสานงาน หรือถ้าสนุกกับการถอดชิ้นส่วน และนำมาประกอบเข้าด้วยกันใหม่ แสดงว่าเราอาจอยากเป็นช่างยนต์ หรือทำงานอดิเรกซ่อมของเล่นเก่า นี้เป็นทักษะที่เรามี! การรู้ตัวว่าทำอะไรแล้วมีความสุขจะทำให้เราสามารถหาสิ่งที่เราอยากทำพบเพื่อใช้ทักษะให้เกิดประโยชน์ และมีความสุขกับสิ่งที่ทำ
  3. คนที่มีเป้าหมายมักจะมีความสุขและประสบความสำเร็จมากกว่า [4] ลองคิดสิว่าเราอยากพัฒนาอะไร และต้องการอะไรบ้างเพื่อพัฒนาทักษะ เมื่อสร้างเป้าหมาย ก็ต้องเป็นเป้าหมายแบบสมาร์ท นั้นคือ ชัดเจน วัดได้ ทำสำเร็จได้ สามารถจดจ่อกับผลลัพธ์ที่ได้ และมีกำหนดเวลา [5]
    • ถ้าเป้าหมายของเราคือการวิ่ง ก็ให้ทำเป้าหมายนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีกว่าต้องการวิ่งฮาล์ฟมาราธอนครั้งแรก หลีกเลี่ยงเป้าหมายทั่วไปและเฉพาะเจาะจงลงไปเท่าที่จะเป็นไปได้
    • ทำให้เป้าหมายวัดได้ด้วยการกำหนดวันที่และสร้างกรอบเวลา เลือกการแข่งวิ่งฮาล์ฟมาราธอนซึ่งกำลังจะจัดขึ้นในคราวต่อไป เราจะได้ฝึกและเตรียมตัวเข้าแข่งขัน จากนั้นสร้างแผนการฝึกขึ้นมา
    • เป้าหมายที่ทำสำเร็จได้เป็นอะไรที่ท้าทายเรา แต่ยังคงอยู่ภายในขอบเขตที่เราทำได้ การเป็นมนุษย์คนแรกที่ได้เหยียบดาวอังคารอาจไกลเกินเอื้อมมากเกินไป แต่การเรียนรู้วิธีขี่มอเตอร์ไซด์น่าจะมีโอกาสทำสำเร็จมากกว่า แม้จะรู้สึกกลัวก็ตาม
    • การจดจ่อกับผลลัพธ์ที่ได้สามารถทำให้เรายังกระตือรือร้นที่จะเดินตามเป้าหมายจนกว่าจะทำสำเร็จ ลองคิดถึงประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อบรรลุเป้าหมายดู และจดจ่ออยู่กับผลลัพธ์ที่จะได้จากเป้าหมายนี้
    • เป้าหมายที่มีกำหนดระยะเวลาจะมีวันที่ต้องทำเป้าหมายให้สำเร็จแทนที่จะตั้งเป้าหมายว่า “ฉันจะปีนเขา” เป้าหมายที่ตั้งกำหนดเวลาไว้ในใจจะทำเรามีความรู้สึกตั้งใจอยากบรรลุเป้าหมายอย่างแท้จริง อย่างเช่น “ฉันจะปีนเขาให้ถึงยอดดอยอินทนนท์ภายใน 16 สิงหาคม”
    • ถ้าอยากรู้วิธีตั้งเป้าหมายมากกว่านี้ ลองดูวิธีการตั้งเป้าหมาย
  4. การศึกษาในมหาวิทยาลัยได้รับการยอมรับจากผู้คน และให้ความน่าเชื่อถือแก่ผู้ที่จบมา ถ้าอยากใช้และพัฒนาทักษะในด้านวิศวกรรม คอมพิวเตอร์ ภาษาต่างประเทศ จิตวิทยา และด้านอื่นๆ การได้เข้าศึกษาสาขาเหล่านี้นั้นมีประโยชน์ โดยเฉพาะเมื่อเราอยากได้งานสาขาใดสาขาหนึ่งนี้
    • ถ้าสนใจหาความรู้มากกว่าหาอาชีพ วิทยาลัยชุมชนเป็นทางเลือกที่เราสามารถจ่ายได้ และมีหลักสูตรหลายหลักสูตรที่เลือกเรียนได้ตามความสนใจ
    • อาจจ้างใครสักคนมาเป็นแบบอย่างในการเรียนรู้ทักษะที่ต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษ เราอาจอยากเป็นครูสอนการเล่นเซิร์ฟ แต่ไม่รู้วิธีสอน ลองจ้างครูสอนเล่นเซิร์ฟสักคน แล้วเรียนรู้ทักษะการสอนจากเขาดู
  5. การสร้างเครือข่ายนั้นเอื้อประโยชน์ในการทำธุรกิจและการใช้ทักษะส่วนบุคคล การมีเครือข่ายเป็นการเปิดโอกาสให้ตนเองเข้าหาข้อมูล ผู้คน และอำนาจ [6] หาทางพบปะคนอื่นๆ ซึ่งทำงานอยู่ในด้านที่เราสนใจ ไม่ว่าจะพบเจอกันผ่านการทำงาน สื่อสังคม หรือพบโดยผ่านเพื่อนของเพื่อนเราอีกที
    • เข้าร่วมชมรมที่สนใจหรือสมาคมวิชาชีพต่างๆ เพื่อช่วยให้เราพบปะผู้คนที่มีความสนใจคล้ายกัน หรืออยู่ในเส้นทางอาชีพเดียวกัน
    • ใช้โอกาสที่ได้พบปะผู้คนที่มีความสนใจเรื่องเดียวกันให้เป็นประโยชน์ ถามว่าพวกเขาพัฒนาทักษะอย่างไร ประสบความสำเร็จอย่างไร และมีอะไรที่ควรหลีกเลี่ยง หรือนำมาคิดใคร่ครวญอีกครั้ง
    • ถ้าอยากเรียนรู้ทักษะอย่างเช่น การเชื่อม ลองลงเรียนดู การลงเรียนจะทำให้มีโอกาสพบผู้คนที่มีความสนใจเรื่องเดียวกัน และเป็นประตูที่เปิดออกสู่การหาวิธีการต่างๆ เพื่อพัฒนาทักษะนี้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ใช้ทักษะ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เราอาจชอบร้องเพลง แต่ไม่รู้จะใช้ทักษะนั้นอย่างไร เราอาจสนใจเรื่องการเขียน แต่ดูเหมือนไม่สามารถหาวิธีการใช้ทักษะนี้ได้ ลองติดต่อกับผู้คนที่อาจช่วยให้เราหาทางใช้ทักษะของเราได้ ถามเพื่อน ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน และผู้คนในสมาคมที่เราสังกัดถึงวิธีการที่จะทำให้มีโอกาสใช้ทักษะ วิทยาลัยในชุมชนบางแห่งมีการทดสอบความถนัด ถึงแม้เราอาจ (หรือไม่อาจ) ใช้ทักษะนี้ในการทำงานตามอาชีพของเรา แต่การทดสอบเหล่านี้ช่วยเราให้เห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของเรา
    • ถามผู้คนรอบข้าง อาจได้รู้ว่าทางโบสถ์ต้องการใช้ทักษะการร้องเพลงของเรา เราอาจรู้ว่าสามารถใช้ทักษะการเขียนในการประกวดงานเขียนต่างๆ หรือลองส่งต้นฉบับให้กับสำนักพิมพ์พิจารณา จงกล้าถาม!
  2. เราอาจอยากเปลี่ยนงาน แต่ไม่มีประสบการณ์ในงานใหม่ อาจอยากกลับไปทำงานหลังจากอยู่บ้านเลี้ยงลูก แต่รู้สึกเหมือนไม่มีทักษะอะไรเอื้อต่องานใหม่ ลองคิดว่ามีทักษะอะไรบ้าง และอวดความสามารถนั้นออกมาเลย! อย่างเช่น งานอยู่บ้านเลี้ยงลูกอาจต้องมีทักษะการจัดระบบที่ยอดเยี่ยม มีทักษะการจัดการเวลา ทักษะในการควบคุมดูแล ทักษะในการสงบสติอารมณ์ภายใต้ความกดดัน และความสามารถในการทำได้หลายหน้าที่ [7] เราหาความรู้ได้เสมอ ประเมินทักษะที่เรามี และประกาศให้ผู้อื่นรับรู้!
    • ฝึกทำแผนผังต้นไม้ ลองคิดถึงบทบาทในปัจจุบันของเรา หรือบทบาทก่อนหน้านี้ แล้วเขียนทักษะซึ่งสัมพันธ์กับบทบาทเหล่านั้น ดูสิว่าทักษะใดคาบเกี่ยวกัน และเป็นทักษะที่นำความสนุกมาให้เรามากที่สุด ทักษะใดช่วยเราเดินหน้าต่อไปได้มากที่สุด [8]
  3. วิธีการใช้ทักษะของเราวิธีหนึ่งคือการเป็นอาสาสมัคร มีองค์การนอกภาครัฐใหญ่ๆ มากมายที่ทำสิ่งดีๆ ให้กับชุมชน การเป็นอาสาสมัครเป็นวิธีการที่ยอดเยี่ยมที่จะค้นพบทักษะของเราด้วย! นอกจากนี้การเป็นอาสาสมัครทำให้เราได้ติดต่อกับผู้คน และเพิ่มทักษะของเราได้ การเป็นอาสาสมัครนั้นดีต่อจิตใจและร่างกาย ทำให้เรามีความมุ่งมั่นตั้งใจ และเพิ่มความมั่นใจในตนเอง [9]
    • เริ่มเป็นอาสาสมัครสถานสงเคราะห์สัตว์สักแห่ง บางทีอาจจะได้รู้ตัวว่าตนเองเป็นคนรักสัตว์ก็ได้
    • บางคนเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือเด็กๆ ด้อยโอกาส และแสดงความปรารถนาที่จะช่วยเด็กๆ เหล่านี้ให้ประสบความสำเร็จ
    • ถ้าสนใจทำงานเบื้องหลัง ให้ลองอาสาเป็นนักควบคุมแสงและเสียงประจำท้องถิ่น
  4. นอกจากการเป็นอาสาสมัครแล้ว การมีส่วนรวมในการช่วยเหลือชุมชน สามารถช่วยเติมเต็มทักษะและเป็นประโยชน์ [10] จะทำงานเป็นอาสาสมัครให้ชุมชนก็ได้ ทำงานให้รัฐบาลท้องถิ่น หรือมีส่วนร่วมช่วยงานในโบสถ์หรือศาสนสถาน ขึ้นอยู่กับว่าเราต้องการใช้หรือพัฒนาทักษะใด
    • ถ้าชอบการออกแบบ ลองออกแบบใบปลิวให้ชุมชนดู ถ้าชอบร้องเพลง ลองร้องที่โบสถ์ มีวิธีใช้ทักษะของเราได้มากมายหลายทาง!
  5. ถ้ามีความใฝ่ฝัน และอยากทำแต่กิจกรรมที่เราชื่นชอบ ลองเอากิจกรรมนั้นมาทำเป็นอาชีพดูสิ ศิลปินหลายคนรู้ว่ารูปแบบการดำเนินชีวิตของศิลปินนั้นยากลำบาก แต่ก็เลือกไล่ตามความฝันอยู่ดี เพราะไม่สามารถนึกภาพตนเองไปทำอย่างอื่นออกได้ เมื่อรายได้ขึ้นอยู่กับการใช้และพัฒนาทักษะแล้ว เราอาจพบวิธีการใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาและวิธีการต่างๆ เพื่อใช้ทักษะของเราอย่างสร้างสรรค์
    • ถ้าเราเป็นคนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ลองทำอาชีพด้านการแสดง การร้องเพลง การเต้นรำ หรือศิลปะ หรือถ้าชอบงานที่ต้องใช้มือ ลองคิดถึงการทำอาชีพช่างไฟฟ้า หรือผู้รับเหมาก่อสร้าง ถ้าชอบดอกไม้ ก็ลองเป็นคนขายดอกไม้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

พัฒนาทักษะ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หาโอกาสเป็นผู้นำเพื่อจะได้ใช้ทักษะ การเป็นผู้นำทำให้เรานำทักษะที่ได้พัฒนาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เพิ่มความรู้และประสบการณ์ของเรา ถ้าผู้คนเห็นเราเป็นผู้นำ ก็อาจคาดหวังว่าเราจะเป็นผู้เชี่ยวชาญ สามารถตัดสินใจ และรับมือกับสถานการณ์ที่ยากลำบากได้ การมีบทบาทในการทำสิ่งเหล่านี้ช่วยให้เราเข้าถึงสิ่งต่างๆ โดยวิธีการต่างๆ ได้ และพิจารณาสิ่งต่างๆ ในมุมมองใหม่ [11] ถ้าเรามีความคิดดีๆ อย่ารอให้ใครทำก่อน ลงมือทำเลย!
    • ลองหาโอกาสเป็นอาสาสมัคร หรือจัดให้มีการบริจาคของเล่นให้กับเด็กๆ เราสามารถเริ่มทำงาน และรับผิดชอบเพิ่มเติม หรือสร้างโครงการใหม่ได้
  2. การเป็นที่ปรึกษาให้ใครสักคนที่มีความสนใจเรื่องเดียวกันกับเราเป็นวิธีการที่ดีเยี่ยมในการเข้าถึงสิ่งที่เราสนใจด้วยวิธีการใหม่ ตอนนี้เรามีบทบาทเป็นครูหรือผู้ให้คำปรึกษาแล้ว ฉะนั้นก็หมายถึงว่าเรามีโอกาสเข้าถึงวิธีการเรียนรู้ใหม่ๆ อย่างสร้างสรรค์ [12]
    • การรู้ว่ามีคนจับตามองเราอยู่จะผลักดันให้เราทำงานได้อย่างดีเยี่ยม
  3. การมีความรู้สึกอยากแข่งขันนั้นเป็นเรื่องปกติและเป็นเรื่องดี การแข่งขันช่วยให้เราเติบโตขึ้นได้ [13] ลองแข่งขันฉันท์มิตรกับคนที่มีทักษะเดียวกันกับเราดูสิ
    • แข่งขันขายรูปภาพให้มากที่สุดในเดือนหนึ่ง หรือสร้างงานที่มีความเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด
    • หาคู่แข่งทางธุรกิจ และถามว่าสนใจอยากแข่งขันกันเป็นระยะเวลาสั้นๆ หรือไม่
  4. การลืมผลตอบรับที่ดีอย่างท้วมท้นทั้งหมดเมือได้รับคำวิจารณ์เชิงลบคำวิจารณ์เดียวนั้นเป็นเรื่องง่าย จดจำความใฝ่ฝันที่จะใช้ทักษะของเราเอาไว้ และพยายามต่อไป ให้ถือว่าคำวิจารณ์นั้นเป็นประโยชน์ ฟังว่าคำวิจารณ์นั้นคืออะไร อย่างเพิ่งหาข้ออ้าง และตระหนักไว้ว่าความผิดพลาดมักมาพร้อมกับความเสี่ยงเสมอ [14]
    • ต้องตระหนักว่าบางครั้งผู้คนก็เอาแต่พูดจาทำร้ายจิตใจ รับผลตอบรับเชิงลบนั้นแบบฟังหูไว้หู เห็นว่าอะไรที่สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ และเดินหน้าต่อไป
  5. วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ดีเยี่ยมในการสร้างเครือข่ายและรับรู้ข่าวสารใหม่ๆ อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรทางอาชีพหรือสมาคมต่างๆ การเข้าร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นทางการช่วยพัฒนาทักษะ หรือไม่ก็ทำให้เชี่ยวชาญทักษะนั้นมากขึ้น
    • เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ หรือเข้าฟังบรรยายซึ่งองค์กรจัดขึ้น ใช้โอกาสนี้พัฒนาทักษะ
  6. เราอาจประสบพบเจอปัญหาความสามารถชะงักงันชั่วคราว หรือรู้สึกเหมือนงานเริ่มอยู่กับที่ อย่ายอมแพ้ หาหนทางที่สร้างสรรค์จัดการความยากลำบาก จากนั้นเดินหน้าต่อไป ทำต่อไป จนเชี่ยวชาญ และพัฒนาให้ดีขึ้น
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,138 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา