ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

มีแก๊สในกระเพาะอาหารเยอะหรือเปล่า? มีอาการท้องอืดจนรู้สึกอึดอัดใช่หรือไม่? หลายคนพบว่าการเรอเป็นวิธีที่ช่วยระบายความปั่นป่วนในช่องท้องได้อย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าคุณจะบังคับตัวเองให้เรอออกมาหรือกระตุ้นด้วยวิธีการต่างๆ การเรอสามารถคลายความอึดอัดจากแก๊สในกระเพาะอาหารและช่วยให้คุณกลับมารู้สึกสบายตัวอีกครั้งเมื่อทำควบคู่กับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ทำให้เกิดแรงดัน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. น้ำอัดลม เบียร์ โซดา แชมเปญ หรือเครื่องดื่มอัดแก๊สอื่นๆ ประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งทำให้เกิดฟองฟู่ในเครื่องดื่ม หลังจากที่คุณดื่มเครื่องดื่มอัดแก๊ส แก๊สปริมาณมากจะสะสมอยู่ในช่องท้องจนกระตุ้นให้เรอออกมาและช่วยระบายความปั่นป่วนในช่องท้องได้ ดังนั้นลองดื่มเครื่องดื่มอัดแก๊สสักแก้วดูสิ [1]
    • อย่าดื่มแบบที่คุณดื่มน้ำตามปกติ แต่ให้คุณดื่มหลายๆ อึกติดกันรวดเดียวเพื่อกลืนอากาศเข้าไปในร่างกายมากๆ และเพิ่มโอกาสที่คุณจะเรอออกมาได้แรงขึ้น คุณสามารถทำแบบเดียวกันนี้ได้ในการดื่มจากหลอด
    • เพื่อให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ลองใช้วิธีดื่มน้ำอัดลมเร็วๆ ผ่านทางหลอด
    • อีกหนึ่งวิธีที่คุณสามารถลองได้คือการดื่มจากปากแก้วฝั่งตรงข้าม เริ่มจากถือแก้วไว้ในมือและก้มตัวลงในลักษณะเดียวกับการดื่มน้ำจากก๊อก จากนั้นใช้ปากแตะไว้ที่ปากแก้วฝั่งตรงข้ามและเอียงแก้วช้าๆ ให้น้ำไหลผ่านเข้าสู่ปาก ค่อยๆ จิบและกลืนลงไปทีละนิดก่อนยืดตัวตรงขึ้นดังเดิม
  2. เช่นเดียวกับเครื่องดื่มอัดแก๊ส อาหารที่ทำให้เกิดแก๊สสามารถช่วยขับลมได้เช่นกัน เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมการทานแอปเปิ้ลจึงทำให้คุณเรอออกมาอย่างรุนแรง? ทั้งนี้เนื่องจากแอปเปิ้ลประกอบด้วยแก๊สในปริมาณมากและจะปล่อยแก๊สออกมาเมื่อคุณเคี้ยวและกลืนลงไป นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมแอปเปิ้ลจึงสามารถลอยน้ำได้นั่นเอง ลองกระตุ้นให้เรอออกมาด้วยการทานอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สดู
    • นอกเหนือจากแอปเปิ้ลแล้ว ยังมีอาหารชนิดอื่นๆ ที่ประกอบด้วยแก๊สในปริมาณมาก เช่น ผลไม้ต่างๆ อย่างแพร์หรือพีช หรือขนมซูเฟล่
    • คุณอาจลองเคี้ยวหมากฝรั่งหรือลูกกวาดได้เช่นกัน ซึ่งแม้ว่าหมากฝรั่งและลูกกวาดจะไม่ใช่อาหารที่มีแก๊สมาก แต่การเคี้ยวหมากฝรั่งและลูกกวาดเป็นการทำให้คุณกลืนอากาศลงไปในท้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และส่งผลให้คุณเรอออกมาในที่สุด
  3. หากอาการท้องอืดส่งผลให้คุณรู้สึกไม่สบายตัว การเปลี่ยนท่าทางสามารถช่วยสร้างแรงดันภายในร่างกายจนทำให้ลมถูกขับออกทางปากหรือเรอนั่นเอง ลองยืนขึ้นหากคุณกำลังนั่งหรือเปลี่ยนไปนั่งลงหากคุณกำลังยืน
    • ลองกระตุ้นให้เรอออกมาด้วยการออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การวิ่งเหยาะๆ หรือการออกกำลังกายแบบแอโรบิคเบาๆ ที่อาจช่วยให้ร่างกายขับแก๊สในกระเพาะอาหารออกมาได้ ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจเดินไปมารอบๆ และกระโดดขึ้นลงเป็นระยะทางสั้นๆ โดยลงน้ำหนักที่เนินปลายเท้า
    • อีกหนึ่งวิธีในการกระตุ้นให้เรอออกมาคือนอนคว่ำหน้าและงอเข่าขึ้นแนบหน้าอกก่อนเหยียดแขนทั้งสองข้างไปข้างหน้าให้ไกลที่สุดและแอ่นหลังขึ้น ทำซ้ำเป็นจำนวนครั้งตามต้องการโดยพยายามให้ศีรษะและคออยู่ในระดับเดียวกัน
    • คุณยังสามารถใช้วิธีเอนตัวนอนก่อนเด้งตัวขึ้นมานั่งอย่างรวดเร็ว
  4. ยาลดกรดบางชนิดมีฤทธิ์ในการสร้างแก๊สส่วนเกินในร่างกายเพื่อเป็นการกระตุ้นให้คุณเรอออกมา ในขณะที่ยาลดกรดชนิดอื่นๆ ที่ประกอบด้วยตัวยาไซเมทิโคน (Simethicone) จะออกฤทธิ์สลายฟองแก๊สในกระเพาะอาหารได้โดยไม่จำเป็นต้องเรอออกมา [2] อย่างไรก็ตาม ยาลดกรดแต่ละประเภทล้วนมีคุณสมบัติในการบรรเทาอาการท้องอืดได้เป็นอย่างดี
    • ยาลดกรดยังช่วยป้องกันการเกิดกรดไหลย้อนหรืออาการแสบร้อนกลางอกซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอาการไม่สบายท้องและการเรอ
  5. การกระตุ้นปฏิกิริยาการขย้อน (Gag reflex) เป็นวิธีการที่ไม่สุขสบายนักและอาจทำให้อยากอาเจียนได้ ดังนั้นวิธีนี้จึงควรเป็นทางเลือกสุดท้ายที่คุณใช้เพื่อกระตุ้นให้เรอออกมา อย่างไรก็ตาม หากวิธีอื่นๆ ใช้ไม่ได้ผล คุณอาจพิจารณาเลือกใช้วิธีนี้ในการแก้อาการไม่สบายท้องจากแก๊สในกระเพาะอาหารที่เกิดขึ้น
    • ร่างกายของคนส่วนใหญ่สามารถตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมด้วยการขย้อน คุณสามารถกระตุ้นปฏิกิริยาการขย้อนได้โดยใช้นิ้วสะอาดหรือแปรงสีฟันแตะที่เพดานอ่อนทางช่องปากด้านหลัง
    • จุดประสงค์ของการกระตุ้นปฏิกิริยาการขย้อนไม่ใช่การทำให้อาเจียนแต่เป็นการทำให้เรอออกมา ดังนั้นค่อยๆ แตะอย่างเบามือและกระตุ้นให้พอเกิดการขับลมออกมาเท่านั้น
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

บังคับให้เรอออกมา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การอยู่ในท่านั่งตัวตรงจะช่วยให้ปอดขยายตัวได้ดีและมีความจุเพิ่มขึ้น
    • ผ่อนคลายปอดสบายๆ ก่อนผ่อนลมหายใจออกตามปกติจนกระทั่งปอดของคุณจุอากาศพอดีและไม่ขาดหรือแน่นจนเกินไป
  2. เปิดลำคอและกรามให้กว้างก่อนสูดอากาศเข้าไปทางปากเรื่อยๆ จนกระทั่งคุณรู้สึกว่ามีอากาศผ่านเข้าสู่ลำคอ จากนั้นปิดช่องปากไว้ด้วยลิ้นเพื่อไม่ให้อากาศไหลกลับออกไป
    • สามารถทำได้โดยใช้ปลายลิ้นแตะที่เพดานปาก
    • การสูดอากาศผ่านเข้าสู่ลำคออาจต้องอาศัยการฝึกฝนเล็กน้อย อย่าสูดหายใจเข้าแรงเกินไปจนเผลอกลืนอากาศเข้าไป ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่าคุณรู้สึกท้องอืดมากขึ้นแทน รวมทั้งพยายามกักลมไว้ให้อยู่ในลำคอ
    • ลดลิ้นลงและเปิดริมฝีปากออกเพื่อผ่อนลมออกทางปากช้าๆ
  3. หลายคนพบว่าการกระตุ้นให้เรอออกมาด้วยวิธีนี้สามารถทำได้ง่ายกว่า เพียงปิดกั้นทางเดินหายใจช่วงลำคอไว้แต่ให้คุณผ่อนลมออกมาเหมือนกับกำลังหายใจออกตามปกติ วิธีนี้จะทำให้เกิดแรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้นและช่วยให้อากาศถูกดันไปยังหลอดอาหาร
  4. หากเทคนิคข้างต้นไม่สามารถช่วยให้คุณเรอออกมาได้ ลองทำซ้ำตั้งแต่ขั้นตอนแรกอีกครั้งแต่ในรอบนี้ให้คุณกลืนอากาศให้ผ่านเข้าสู่ลำคอแทน เริ่มจากผ่อนลมหายใจออกเพื่อนำอากาศออกจากปอดให้มากที่สุด จากนั้นหายใจเข้าลึกๆ และกลั้นไว้ให้นานที่สุด หายใจออกก่อนสูดลมหายใจเข้าอีกครั้งและพยายามกลืนอากาศเข้าไป
    • วิธีนี้อาจดูฝืนธรรมชาติของร่างกายอยู่บ้าง เคล็ดลับหนึ่งที่ช่วยให้คุณสามารถกลืนอากาศเข้าไปได้คล่องขึ้นคือการดื่มน้ำเปล่าแก้วหนึ่งเข้าไปในระหว่างที่คุณกลั้นหายใจไว้ พร้อมทั้งใช้มือบีบจมูกไว้เพื่อไม่ให้คุณเผลอผ่อนลมหายใจออก
  5. หลังจากที่กลืนอากาศเข้าไปมากพอแล้ว คุณจะรู้สึกได้ว่ามีแรงดันเพิ่มขึ้นในช่องท้องและหลอดอาหาร ให้คุณเปิดปากและเรอเพื่อขับลมออกมา
    • เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องไว้ในระหว่างที่คุณเรอออกมาเพื่อขับลมให้ได้เยอะและแรงที่สุด
    • พยายามฝึกเรอไปเรื่อยๆ และเมื่อเวลาผ่านไปคุณจะเริ่มเรอออกมาได้ง่ายและสบายใจมากขึ้น
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

บรรเทาอาการท้องอืดเรื้อรัง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สาเหตุทั่วไปของแก๊สในกระเพาะอาหารเกิดจากอาหารที่ทานเข้าไป และอาหารบางชนิดอาจทำให้เกิดแก๊สได้มากกว่าอาหารชนิดอื่นๆ เช่น ถั่วฝัก หอมหัวใหญ่ กะหล่ำปลีและผักตระกูลกะหล่ำอื่นๆ และธัญพืชเต็มเมล็ด ดังนั้นพยายามหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้หรือทานควบคู่กับอาหารเสริมช่วยย่อยอาหารหากคุณกำลังมีอาการท้องอืดเรื้อรัง [3]
    • อาหารชนิดอื่นๆ ที่ทำให้เกิดแก๊สได้แก่ ผลไม้ที่ไฟเบอร์สูง เช่น แอปเปิ้ล พีช ลูกเกด หรือแอปริคอต รวมถึงผักบางชนิดอย่างกระเทียม แตงกวา กะหล่ำดาว หรือถั่วเมล็ดแห้ง ในขณะที่อาหารบางชนิดอย่างเนื้อสัตว์ ปลา ไข่ สัตว์ปีก และคาร์โบไฮเดรตต่างๆ เช่น ข้าว มักไม่ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร [4]
    • ทานโยเกิร์ตโปรไบโอติกซึ่งประกอบด้วยเชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่มีส่วนช่วยในการย่อยอาหารและลดการเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร หรือจะเลือกทานอาหารเสริมเอนไซม์ย่อยอาหารซึ่งมีประสิทธิภาพที่คล้ายคลึงกันก็ได้เช่นกัน
    • ทานอาหารคำเล็กๆ หรือลดปริมาณอาหารในจานลง รวมทั้งหลีกเลี่ยงการอมลูกกวาด ดื่มน้ำผ่านหลอด หรือเคี้ยวหมากฝรั่ง เนื่องจากการกระทำเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุทำให้คุณกลืนอากาศเข้าไปมากจนส่งผลให้อาการท้องอืดแย่ลง [5]
  2. การดื่มน้ำเปล่าหรือเครื่องดื่มอื่นๆ ที่ไม่อัดแก๊สสามารถช่วยลดแก๊สในกระเพาะอาหารและบรรเทาอาการท้องอืดพร้อมทั้งชำระล้างสารพิษในร่างกายออกไป [6] ซึ่งหลายคนพบว่าการดื่มน้ำอุ่นสามารถบรรเทาอาการท้องอืดได้อย่างดีเยี่ยม
    • ดื่มน้ำช้าๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการกลืนอากาศเข้าไปมากขึ้น รวมทั้งเลือกดื่มเครื่องดื่มที่ไม่อัดแก๊ส ไม่เช่นนั้นอาจกลายเป็นว่าคุณรู้สึกท้องอืดมากขึ้นแทนได้
  3. สมุนไพรหลายชนิดมีการกล่าวอ้างสรรพคุณว่าช่วยลดแก๊สในกระเพาะอาหารและบรรเทาอาการท้องอืด จึงนิยมใช้เป็น “ยาขับลม” โดยสมุนไพรเหล่านี้จะออกฤทธิ์รักษาเยื่อบุภายในกระเพาะอาหารพร้อมทั้งควบคุมและประสานงานการทำงานของระบบย่อยอาหาร หรือพูดง่ายๆ คือมีส่วนช่วยในการขับลมนั่นเอง
    • ลองเลือกทานสมุนไพรขับลมต่างๆ และดูว่าสมุนไพรชนิดใดบ้างที่สามารถแก้อาการท้องอืดของคุณได้ดี ยกตัวอย่างเช่น ลองดื่มชาที่ทำจากเปปเปอร์มินต์ ยี่หร่า หรือขิงซึ่งเชื่อว่ามีสรรพคุณในการบรรเทาอาการท้องอืด [7]
    • คุณยังสามารถเลือกทานอาหารที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรและเครื่องเทศที่มีฤทธิ์ในการขับลม เช่น ออลสไปซ์ กานพลู จูนิเปอร์ มะกรูด เสจ ใบไทม์ โหระพา อบเชย และจันทน์เทศ เพื่อบรรเทาอาการท้องอืดได้เช่นกัน
    • คุณสามารถหาซื้อสมุนไพรขับลมได้จากร้านขายยาสมุนไพรหรือซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป
  4. แก๊สในกระเพาะอาหารและอาการท้องอืดสามารถเกิดขึ้นได้เป็นครั้งคราวซึ่งถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา อย่างไรก็ตาม หากคุณพบว่าอาการยังคงไม่ดีขึ้นแม้เวลาผ่านไป อาการดังกล่าวอาจมีสาเหตุจากโรคพื้นเดิม เช่น ความเครียด ภูมิแพ้อาหารแฝง โรคระบบทางเดินอาหาร หรือฟันปลอมที่สวมใส่ไม่พอดี [8]
    • สังเกตพฤติกรรมการทานอาหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร ยกตัวอย่างเช่น การแพ้น้ำตาลแลคโตส (Lactose intolerance) หรือภาวะที่ร่างกายไม่สามารถย่อยผลิตภัณฑ์จากนมได้ อาจเป็นสาเหตุของการเกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร อาการท้องอืด หรืออาการปวดเกร็งท้องได้ [9]
    • ปรึกษาแพทย์หากคุณมักมีอาการท้องอืดอยู่บ่อยๆ โดยไม่สามารถระบุสาเหตุได้
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 48,875 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา