ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ซีสต์บนใบหน้ามักเกิดจากการอุดตันของซีบัมหรือเคราตินในชั้นผิวหนังหรือรูขุมขน มีสัมผัสคล้ายกับเมล็ดถั่วอยู่ใต้ชั้นผิวหนังและอาจล้อมรอบด้วยรอยสีแดงหรือสีขาวเล็กๆ แม้ว่าซีสต์จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับสิว แต่จะอยู่ในตำแหน่งที่ลึกมากกว่าและไม่ควรกดหรือบีบออกเหมือนอย่างสิว อย่างไรก็ตาม มีวิธีการอื่นๆ อีกมากมายที่จะช่วยเร่งการฟื้นฟูให้ซีสต์มีขนาดก้อนที่เล็กลง รวมถึงยังมีวิธีทางการแพทย์ที่สามารถช่วยกำจัดซีสต์ให้หายดีเป็นปกติได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

รักษาด้วยตัวเองที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เริ่มจากนำผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น โดยระวังอย่าให้น้ำร้อนมากจนเกินไปเพราะอาจทำให้ผิวของคุณเกิดการอักเสบได้ จากนั้นกดผ้าเบาๆ บนซีสต์และตรงบริเวณรอบๆ แล้วทิ้งไว้สักพักจนกระทั่งผ้าเริ่มเย็นลง โดยทำขั้นตอนเหล่านี้ซ้ำอีกครั้งหากผ้าเย็นลงค่อนข้างรวดเร็ว คุณสามารถประคบร้อนที่ซีสต์วันละหลายๆ ครั้งได้ตามต้องการ [1]
    • การประคบร้อนจะช่วยให้โปรตีนหรือน้ำมันในซีสต์กระจายตัวและเร่งกระบวนการฟื้นฟูให้เร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม วิธีนี้อาจใช้ไม่ได้ผลในบางกรณี
    • การประคบร้อนสามารถช่วยให้ซีสต์ฟื้นฟูได้เร็วขึ้นกว่าเดิมถึง 2 เท่า
  2. การกดหรือบีบซีสต์จะทำให้ซีสต์มีอาการแย่ลงกว่าเดิม เนื่องจากซีสต์นั้นแทรกซึมลึกลงไปสู่ชั้นผิวหนังค่อนข้างลึก และหากคุณพยายามกดซีสต์ด้วยตัวเอง (โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์ผู้มีประสบการณ์) ผลลัพธ์ที่ออกมาอาจไม่เป็นที่น่าพอใจมากนัก หรือยิ่งไปกว่านั้นอาจก่อให้เกิดการอักเสบมากขึ้นและทำให้ซีสต์กลับมาแย่ลงกว่าครั้งแรกเนื่องจากการระบายของเหลวที่ไม่สมบูรณ์และการฟื้นฟูที่ไม่เพียงพอ รวมถึงยังอาจส่งผลให้ซีสต์เริ่มเกิดการติดเชื้ออีกด้วย ดังนั้นคุณจึงควรปรึกษาแพทย์สำหรับการรักษาด้วยวิธีนี้และหลีกเลี่ยงการทำด้วยตัวเองโดยเด็ดขาด [2]
  3. หากซีสต์เริ่มเกิดการอักเสบและติดเชื้อ คุณอาจจำเป็นต้องขอคำแนะนำจากแพทย์เกี่ยวกับการรักษา หมั่นสังเกตและเฝ้าระวังสัญญาณและอาการต่างๆ ดังนี้ [3]
    • มีอาการเจ็บหรือกดเจ็บที่บริเวณรอบๆ ซีสต์
    • เกิดรอยแดงที่บริเวณรอบๆ ซีสต์
    • ผิวหนังบริเวณรอบๆ ซีสต์มีความอุ่น
    • มีของเหลวสีขาวอมเทาและกลิ่นแรงไหลซึมออกมาจากซีสต์
    • อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าซีสต์อาจกำลังเกิดการอักเสบหรือติดเชื้อ
    • ซีสต์ที่เกิดขึ้นในดวงตาควรได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์โดยทันที
  4. เข้ารับการรักษาหากซีสต์ยังคงไม่หายดีหลังผ่านไปนานกว่า 1 เดือน. หากซีสต์มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นหรือไม่มีทีท่าว่าจะหายดีเอง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากซีสต์ที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดอาการเจ็บหรือส่งผลในแง่ของความงาม) อย่าลังเลที่จะไปพบแพทย์โดยทันที จำไว้ว่ามีวิธีรักษาทางการแพทย์มากมายที่จะช่วยกำจัดซีสต์บนใบหน้าของคุณ [4]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

รักษาด้วยวิธีทางการแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอาจต้องเข้ารับการตรวจกับแพทย์ทั่วไปเสียก่อนเพื่อดูว่าจำเป็นต้องส่งต่อให้กับแพทย์ผิวหนังหรือไม่ พยายามให้ข้อมูลของประวัติการรักษาที่ถูกต้องกับแพทย์รวมถึงอธิบายอาการของซีสต์อย่างละเอียด [5]
  2. ปรึกษาเกี่ยวกับการรักษาด้วยการเจาะและระบายของเหลวออก. เนื่องจากโดยทั่วไปซีสต์มักบรรจุของเหลวอยู่ภายใน ดังนั้นหากแพทย์ทำการเจาะที่พื้นผิวของซีสต์ ของเหลวโดยส่วนใหญ่ที่อยู่ภายในก็จะระบายออกมา ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการช่วยเร่งกระบวนการฟื้นฟูให้รวดเร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อเสียหนึ่งของการรักษาด้วยวิธีนี้คือไม่สามารถป้องกันการเกิดซ้ำอีกครั้งของซีสต์ได้ ในทางตรงกันข้าม แม้ว่าวิธีนี้จะให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจเป็นอย่างยิ่งในระยะสั้น แต่ก็มักนำไปสู่การเกิดขึ้นซ้ำของซีสต์ได้ในอนาคต อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วยวิธีนี้ยังคงคุ้มค่าที่จะลองและอาจเป็นวิธีการรักษาที่คุณกำลังมองหาอยู่ก็เป็นได้ [6]
    • แพทย์จะทำการเจาะซีสต์ด้วยอุปกรณ์ที่แหลมคมและกำจัดเคราติน ซีบัม หรือสารอื่นๆ ที่อยู่ภายในออกจนหมดเพื่อให้ซีสต์สามารถฟื้นฟูจนหายดี
    • ทำความสะอาดและทำแผลอย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ รวมถึงปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หลังรับการรักษาเพื่อรักษาความสะอาดตรงบริเวณบาดแผล
    • ห้ามเจาะซีสต์ให้แตกออกด้วยตัวเองที่บ้านโดยเด็ดขาด เนื่องจากการเจาะซีสต์ด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้องอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อและแผลเป็นได้
  3. พิจารณาการรักษาด้วยการผ่าตัดหากซีสต์เกิดขึ้นซ้ำอีกครั้ง. [7] หากซีสต์ยังคงเกิดขึ้นซ้ำและไม่สามารถกำจัดให้หายไปได้ไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใดก็ตาม คุณอาจจำเป็นต้องพิจารณาการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยทั่วไปแล้วก่อนเริ่มทำการผ่าตัด แพทย์จะตรวจเช็คเพื่อให้แน่ใจว่าผิวหนังรอบๆ ซีสต์ไม่มีการอักเสบหรืออักเสบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และหากซีสต์ยังคงอักเสบอยู่ แพทย์อาจจำเป็นต้องฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เพื่อลดอาการอักเสบก่อนเริ่มทำการผ่าตัด [8]
    • ในบางกรณีแพทย์อาจทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเล็กอย่างการกำจัดเพียงผิวส่วนนอกของซีสต์ออกเท่านั้นและปล่อยให้ส่วนที่เหลือฟื้นฟูจนหายดีเอง [9]
    • และในบางกรณีแพทย์อาจทำการรักษาโดยการผ่าตัดกำจัดซีสต์ออกทั้งหมด ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดโอกาสการเกิดขึ้นซ้ำอีกครั้งของซีสต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายหลังการผ่าตัด แพทย์จะทำการเย็บปิดแผลไว้นานประมาณ 1 สัปดาห์จึงตัดไหมออก
    • หากคุณต้องการกำจัดซีสต์ออกทั้งหมด ลองปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการผ่าตัดผ่านทางช่องปากเพื่อป้องกันการเกิดแผลเป็น ซึ่งวิธีนี้เป็นเทคนิคการผ่าตัดแบบใหม่ที่กำลังแพร่หลายจากเหตุผลทางด้านความงาม [10]
  4. หลังการผ่าตัด พยายามปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อให้ผลลัพธ์จากการรักษาออกมาดีที่สุด เนื่องจากซีสต์ถูกกำจัดออกจากใบหน้าของคุณ การฟื้นฟูอย่างเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันการเกิดปัญหาด้านความงามในอนาคต ภาวะข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังการผ่าตัดได้แก่ การเกิดแผลเป็น การติดเชื้อ และ/หรือการเกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อใบหน้า
  5. วิธีนี้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับผู้ที่มีซีสต์เกิดขึ้นบนใบหน้าบ่อยครั้ง โดยแพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะสำหรับทานเพื่อป้องกันไม่ให้ซีสต์เกิดเพิ่มมากขึ้น [11]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล (อาบน้ำทุกวัน เปลี่ยนเสื้อผ้าหลังออกกำลังกาย เปลี่ยนผ้าปูที่นอนเป็นประจำ เป็นต้น) เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดหรือการเรื้อรังของซีสต์
  • ดูแลสุขภาพโดยการออกกำลังกายและทานอาหารต้านการอักเสบเพื่อช่วยให้ซีสต์หายดีเป็นปกติเร็วยิ่งขึ้น
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 5,685 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา