ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อาการไข้เป็นส่วนหนึ่งของกลไกการป้องกันร่างกายตามธรรมชาติของมนุษย์ อุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นช่วยทำลายไวรัสและแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกาย และยังอาจช่วยควบคุมระบบการเผาผลาญและฮอร์โมนในร่างกายด้วย แต่การทำให้ตัวเองเป็นไข้ก็มีความเสี่ยง เพราะฉะนั้นถ้าคุณจะทำให้ตัวเองเป็นไข้ คุณต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก นอกจากนี้คุณก็อาจจะใช้วิธีเพิ่มอุณหภูมิมาตรฐานในร่างกายโดยไม่ต้องทำให้เป็นไข้จริงๆ เพราะการทำเช่นนั้นก็มีประโยชน์ต่อสุขภาพเหมือนกันแต่ไม่มีความเสี่ยง ถ้าอุณหภูมิภายในร่างกายสูงเกิน 40.6 องศาเซลเซียส คุณอาจจะเสี่ยงต่อการเป็นลมแดดและสูญเสียโปรตีนที่สำคัญได้ [1]

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

ทำให้เป็นไข้ด้วยวิธีทางการแพทย์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถ้าคุณตัดสินใจว่าจะพยายามทำให้ตัวเองเป็นไข้ สิ่งแรกที่คุณควรทำก็คือ ปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ นัดแพทย์เพื่อสอบถามเกี่ยวกับวิธีการทำให้เป็นไข้ แพทย์จะแนะนำประโยชน์และอันตรายจากการจงใจทำให้เป็นไข้และบอกว่าคุณมีทางเลือกอะไรบ้าง บางครั้งการรับประทานยาก็ทำให้เป็นไข้ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วจะเป็นผลข้างเคียงที่คล้ายกับอาการแพ้ยามากกว่า [2]
    • การฉีดวัคซีน เช่น โรคคอตีบและบาดทะยัก ก็อาจทำให้เป็นไข้ได้เช่นเดียวกัน [3]
    • ยาจะทำงานโดยการเพิ่มระบบการเผาผลาญหรือกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และอาการไข้ที่เกิดจากยาอาจทำให้มีอาการอื่นได้เช่นเดียวกัน
    • แพทย์ที่ใช้วิธีนี้อาจใช้บาซิลลัสกาลแม็ต-เกแร็ง (BCG) ซึ่งเป็นวัคซีนป้องกันวัณโรค [4]
    • ถ้าแพทย์ไม่แนะนำให้คุณทำให้ตัวเองเป็นไข้ คุณก็ไม่ควรดื้อรั้น อย่าทำให้ตัวเองเป็นไข้ถ้าแพทย์ไม่แนะนำ
  2. ใช้ซาวน่าเพื่อการรักษาหรือเครื่องปรับอุณหภูมิ. ไปที่ศูนย์การแพทย์หรือศูนย์การแพทย์ทางเลือกที่ใช้การบำบัดด้วยไข้อยู่แล้ว ศูนย์การแพทย์เหล่านี้มักจะมีเครื่องซาวน่าอินฟาเรดหรือที่เรียกว่าเครื่องปรับอุณหภูมิ ในการใช้เครื่องปรับอุณหภูมินั้น คุณจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่ทางศูนย์การแพทย์ระบุไว้ ซึ่งตามปกติแล้วเขาจะให้คุณทำให้ภายในร่างกายอบอุ่นก่อนเข้าไปในเครื่องปรับอุณหภูมิ โดยให้คุณดื่มชารากขิงหรือรับประทานรากขิงกับพริกคาเยนชนิดแคปซูลก่อน
    • ก่อนเข้าไปในเครื่องปรับอุณหภูมิ คุณจะต้องถอดเสื้อผ้าและพอกผิวด้วยสมุนไพร ซึ่งมักจะมีขิงผสมอยู่ด้วย
    • พันผ้าขนหนูก่อนเข้าไปในเครื่องปรับอุณหภูมิ ตามมาตรฐานแล้วจะใช้เวลาครั้งละ 60 นาที แต่ถ้าคุณยังไม่แสดงปฏิกิริยาที่เป็นลบ คุณก็อาจจะต้องอยู่ในนั้น 2-3 ชั่วโมง
    • ระหว่างนี้คุณจะต้องดื่มน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณต้องอยู่ในนั้นนานกว่าปกติ
    • ถ้าคุณไม่มีเหงื่อออกภายใน 10 นาทีหรือมีปฏิกิริยาที่เป็นลบ ก็จะใช้เวลาน้อยลง
    • ถ้าเป็นไปได้ด้วยดี เขาก็จะให้คุณไปอาบน้ำอุ่น-เย็นเพื่อปิดรูขุมขน
  3. ในการโต้แย้งเรื่องประโยชน์ของการบำบัดด้วยไข้นั้น แพทย์บางคนแนะนำให้รับประทานยาลดไข้ เช่น แอสไพริน ในปริมาณที่จำกัด ถ้าคุณใช้ยาลดไข้อย่างระมัดระวัง ร่างกายของคุณจะเป็นไข้ในระดับปานกลางที่จะไปกระตุ้นกลไกป้องกันของภูมิคุ้มกัน
    • ฮอร์โมนไพโรเจนที่ร่างกายสร้างขึ้นจะเข้าสู่สมองและทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น
    • นอกจากนี้ก็อาจจะมีการกระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้ออย่างฉับพลัน ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อน เส้นประสาทก็อาจจะไปบีบหลอดเลือดรอบนอก ซึ่งจะไปลดการสูญเสียความร้อนไปยังสภาพแวดล้อม
    • อาจใช้การทำลายเนื้อเยื่อเพื่อให้เกิดความร้อน
    • ความรู้สึกหนาวกระตุ้นให้คุณใส่เสื้อผ้าหลายๆ ชั้นหรือดื่มเครื่องดื่มร้อนๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มอุณหภูมิในร่างกายได้ [5]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

เพิ่มอุณหภูมิในร่างกายด้วยตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อ่างน้ำควบคุมอุณหภูมิ" เทคนิคที่ใช้กันมาหลายร้อยปีนี้ทำงานโดยการกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันธรรมชาติในร่างกาย [6] คุณสามารถเตรียมอ่างน้ำได้เองที่บ้าน ก่อนแช่อ่างอาบน้ำ ให้คุณดื่มชาสมุนไพรร้อนๆ 1 หรือ 2 ถ้วย เช่น ชาขิง ชาสะระแหน่ ชาเปปเปอร์มินต์ ชาผักกระสัง หรือชาพวงทอง ถ้าหัวใจคุณไม่แข็งแรง ให้หยดฮอว์ธอร์นลงไปในชาหลายๆ หยดเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการแช่น้ำร้อน
    • เติมน้ำร้อนลงไปในอ่าง ให้ความร้อนอยู่ระหว่าง 36-37 องศาเซลเซียส
    • แช่ทั้งตัวในอ่างอาบน้ำ ถ้าคุณไม่สามารถลงไปในอ่างอาบน้ำได้ทั้งตัว ให้งอเข่าเพื่อให้ศีรษะแช่อยู่ในน้ำ แต่ให้จมูกกับปากอยู่เหนือน้ำเพื่อให้คุณหายใจได้สะดวก
    • คุณไม่ควรปล่อยให้อุณหภูมิของน้ำลดลงระหว่างนี้ เติมน้ำร้อนเพิ่มเพื่อรักษาความร้อน และในการเติมน้ำแต่ละครั้งควรให้อุณหภูมิน้ำถึง 38 องศาเซลเซียส
    • แช่ตัวในอ่างอาบน้ำประมาณครึ่งชั่วโมง ให้อีกคนช่วยพยุงคุณขึ้นจากน้ำถ้าคุณรู้สึกเหมือนจะเป็นลมหรือเวียนหัวขณะลุกขึ้น [7]
  2. นอกจากการแช่อ่างน้ำเพิ่มอุณหภูมิที่ทำต่อๆ กันมาหลายร้อยปีแล้ว ยังมีการบำบัดด้วยการแช่น้ำร้อนแบบอื่นๆ ที่ทำให้เป็นไข้ได้เช่นกัน เทคนิคหนึ่งที่อ้างว่าสามารถต่อสู้กับโรคมะเร็งได้ก็คือ ให้คุณใส่น้ำร้อนลงไปในอ่างอาบน้ำให้น้ำร้อนมากที่สุดเท่าที่คุณจะทนไหว แต่อย่าให้ถึงกับลวกตัว ผสมดีเกลือฝรั่ง 1,000 กรัม แช่ตัวลงในอ่างอาบน้ำให้ได้มากที่สุด แช่ตัวในน้ำ 20-25 นาทีเต็ม เติมน้ำร้อนลงไปเรื่อยๆ เพื่อให้เกิดความร้อนอย่างต่อเนื่อง ดื่มชารากขิงขณะแช่น้ำเพื่อเพิ่มความร้อนภายในร่างกายพร้อมๆ กับการเพิ่มความร้อนภายนอกจากการแช่น้ำ
    • ระมัดระวังเวลาลุกออกจากอ่างน้ำ ถ้าคุณรู้สึกเหมือนจะเป็นลมหรือเวียนหัว ขอให้คนอื่นมาช่วยพยุงคุณ
    • ผึ่งตัวให้แห้งแทนการใช้ผ้าเช็ดตัว
    • ปูผ้าพลาสติกไว้บนเตียงเพื่อไม่ให้เตียงเปียกและนอนลง ห่มผ้าหลายๆ ชั้นให้มากที่สุด
    • นอนอยู่อย่างนั้น 3-8 ชั่วโมง คุณจะเหงื่อแตกและควรนอนอยู่บนเตียงจนกว่าจะเป็นไข้
    • ตามปกติแล้วไข้จะหายไปหลังจากผ่านไปแล้ว 6-8 ชั่วโมง
    • คุณสามารถทำเทคนิคนี้ซ้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้งได้มากถึง 6-8 สัปดาห์ [8]
  3. การนั่งสมาธิรูปแบบพิเศษที่มีต้นกำเนิดมาจากพระธิเบตนั้นได้รับการอ้างอิงว่า สามารถเพิ่มอุณหภูมิในร่างกายและทำให้เป็นไข้ได้ การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่า การทำสมาธิแบบจี-ทัมโมนั้นสามารถเพิ่มอุณหภูมิของร่างกายให้ไปถึงจุดที่เป็นไข้อ่อนๆ หรือปานกลางได้ โดยมีการสังเกตอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นจากการบังคับลมหายใจแบบแจกัน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการทำสมาธิ และระยะเวลาที่จะรักษาความร้อนไว้ได้นั้นจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของระบบประสาทด้านการรู้คิด (การฝึกสมาธิด้วยการจินตนาการภาพ) ในการฝึกสมาธิด้วย [9]
    • หาวิทยากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญแล้วขอให้เขาแนะแนวทางระหว่างฝึกให้
    • เทคนิคการบังคับลมหายใจแบบแจกันสามารถฝึกได้ที่บ้านเพื่อช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย [10]
    • โดยพื้นฐานแล้วการหายใจแบบแจกันก็คือ การหายใจเอาอากาศที่สะอาดเข้าไป จากนั้นก็หายใจออกเอาอากาศออกมา 85% วิธีนี้จะทำให้เกิดเป็นรูปทรงแจกันตรงหน้าท้องช่วงล่าง
    • เทคนิคนี้สามารถทำควบคู่กับการจินตนาการภาพได้ เช่น นึกภาพไฟกำลังไล่ไปตามกระดูกสันหลัง
  4. การออกกำลังกายและกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างหนักหน่วงช่วยเพิ่มอุณหภูมิแกน การออกกำลังกายหนักๆ ในวันที่อากาศร้อน หรือการใส่เสื้อผ้าหลายๆ ชั้นจะทำให้ร่างกายของคุณเย็นลงและระบายความร้อนได้ยากขึ้น อุณหภูมิแกนก็จะเพิ่มอีก 2-3 องศาเซลเซียส [11] แต่คุณก็ควรระมัดระวังขณะออกกำลังกาย ไม่อย่างนั้นอาจจะเกิดอาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับความร้อนได้ เช่น ตะคริวจากความร้อนและโรคเพลียความร้อน
    • นักกีฬาบางคน เช่น นักมวยปล้ำ จะใส่เสื้อผ้าหลายชั้นหรือแม้กระทั่งถุงพลาสติก และทำกิจกรรมที่กระตุ้นหัวใจและหลอดเลือด เช่น วิ่งและยกน้ำหนัก นอกจากนี้นักกีฬากลุ่มนี้ยังใส่เสื้อผ้าอบซาวน่าด้วยเพื่อเพิ่มอุณหภูมิร่างกายและกำจัดอาการบวมน้ำขณะที่ร่างกายขับน้ำออกจากระบบ
    • อย่าลืมดื่มเครื่องดื่มมากๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
    • ระวังอาการที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยที่เกิดจากความร้อน เช่น เวียนหัว คลื่นไส้ ปัญหาเรื่องจังหวะการเต้นของหัวใจ และปัญหาด้านการมองเห็น
    • ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้ ให้หยุดทันที ผ่อนร่างกายลงแล้วให้ร่างกายได้พัก [12]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รับประทานอาหารที่เพิ่มอุณหภูมิร่างกาย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การรับประทานข้าวกล้องทุกมื้อหรืออย่างน้อยทุกเย็นทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นได้ภายในไม่กี่วัน เพราะคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนในข้าวกล้องจะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานหนักขึ้น กระบวนการย่อยอาหารที่ทำงานหนักขึ้นจะทำให้เกิดความร้อนภายในร่างกาย แต่ธัญพืชเต็มเมล็ดอื่นๆ เช่น ควินัวและบักวีตก็ส่งผลต่อร่างกายในลักษณะเดียวกัน [13]
  2. การรับประทานไอศกรีมหนึ่งหน่วยบริโภคทุกวันจะค่อยๆ เพิ่มอุณหภูมิแกนของร่างกายตลอดระยะเวลาหลายสัปดาห์ การช็อกที่เกิดจากความเย็นที่ร่างกายได้รับจะบังคับให้ร่างกายต้องสร้างความร้อนขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิตก นอกจากนี้อาหารที่มีไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตก็เพิ่มความร้อนในร่างกายขณะที่ระบบย่อยอาหารย่อยอาหารเหล่านี้ด้วย
    • ไขมันจะเคลื่อนผ่านระบบย่อยอาหารช้าเป็นพิเศษ ทำให้ร่างกายต้องเพิ่มความร้อนเพื่อทำงานหนักขึ้น [14]
  3. เติมพริกคาเยน 1/4 ช้อนชาลงไปในอาหารทุกวัน แต่ถ้ามันเผ็ดเกินกว่าจะรับประทานได้ในครั้งเดียว ก็แค่เหยาะลงไปในอาหารแต่ละมื้อ พริกคาเยนมีสารประกอบที่เผ็ดมากเป็นพิเศษที่เรียกว่าแคปไซซิน สารประกอบนี้จะทำให้คุณรู้สึกถึงความเผ็ดร้อนในช่วงแรกขณะที่รับประทานพริกคาเยน แต่ความเผ็ดร้อนที่คุณสัมผัสได้นั้นไม่ได้ทำให้อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลง
    • สิ่งที่เพิ่มอุณหภูมิในร่างกายจริงๆ ก็คือกระบวนการย่อยอาหารที่ย่อยแคปไซซิน
    • พริกจาลาปิโนและพริกฮาบาแนโรก็อาจจะให้ผลลัพธ์แบบเดียวกัน แต่ว่าข้อมูลก็ยังไม่แน่ชัด [15]
  4. น้ำมันมะพร้าวเป็นกรดไขมันอิ่มตัวสายโมเลกุลยาวปานกลาง (MCT) ที่ช่วยเพิ่มอุณหภูมิแกนของร่างกายและกระบวนการเผาผลาญ MCT นั้นเป็นที่รู้กันดีว่าช่วยเพิ่มระบบการเผาผลาญและช่วยลดน้ำหนัก น้ำมันมะพร้าวไม่ได้สะสมในรูปแบบของไขมันแต่เปลี่ยนไปเป็นพลังงาน เพราะฉะนั้นมันจึงเพิ่มอุณหภูมิในร่างกายได้ ซึ่งก็อาจจะมีประโยชน์กับผู้ที่ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ นอกจากนี้น้ำมันมะพร้าวยังมีคุณสมบัติต้านไวรัสและอาจช่วยรักษาระดับกลูโคสในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วย [16]
  5. ถั่วลิสงเป็นแหล่งโปรตีนและกรดไขมันที่ดี และยังมีไนอะซินมากอีกด้วย ซึ่งไนอะซินก็คือวิตามินบีที่ควบคุมการหายใจและการเผาผลาญในระดับเซลล์ เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว ไนอะซินก็จะทำให้เกิดการชำระล้างที่เพิ่มอุณหภูมิในร่างกาย นอกจากนี้ถั่วลิสงยังมีคุณสมบัติต้านสารอนุมูลอิสระและกระตุ้นระบบไหลเวียนเลือดที่ทำงานช้าได้ด้วย [17]
  6. การรับประทานขิงสดขนาดเท่านิ้วหัวแม่โป้งนั้นทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าการรับประทานขิงสดไม่น่าอภิรมย์สำหรับคุณ คุณก็สามารถทำชาขิงได้ด้วยการต้มขิงขนาดเดียวกันนี้ในน้ำเป็นเวลา 5-10 นาที ขิงจะเพิ่มกิจกรรมการย่อย ซึ่งจะช่วยเพิ่มอุณหภูมิในร่างกายได้
    • พืชหัวอย่างอื่นก็อาจจะช่วยได้บ้างเหมือนกัน ถ้าคุณไม่ชอบรับประทานขิง ให้รับประทานแคร์รอต บีทรูต หรือมันเทศแทน [18]
    โฆษณา

คำเตือน

  • แม้ว่าคุณจะวางแผนทำให้เป็นไข้ด้วยตัวเอง คุณก็ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณมีปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อหัวใจ ระบบย่อยอาหาร หรือระบบภูมิคุ้มกันอยู่ก่อนแล้ว
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 68,821 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา