ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

ผดร้อน (หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Miliaria ) เกิดขึ้นเมื่อต่อมเหงื่อที่ผิวหนังอุดตัน ทำให้เหงื่อสะสมอยู่ใต้ผิวหนัง ความร้อน การทำงานในสภาพอากาศที่ร้อน หรือการอาบแดดอาจทำให้เกิดผดร้อนได้ [1] อาการระคายเคืองอันเกิดจากผด"เล็กๆ"เป็นจุดสีแดงนี้อาจสร้างความรำคาญเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราปล่อยให้ตนเองเป็นผดร้อนมานานแค่ไหนแล้ว โชคดีที่ผดร้อนนั้นหายง่าย ถ้าเรารักษาตั้งแต่เริ่มเป็น นำวิธีการง่ายๆ ในบทความนี้มารักษาผดร้อนให้หายกันเถอะ!

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

รักษาผดร้อนให้หายด้วยตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ผดร้อนเกิดจากการที่ตัวเราอยู่ในสภาพอากาศร้อน จึงทำให้เหงื่อออก ยิ่งเราเหงื่อออกน้อย ก็ยิ่งมีเหงื่อไปสะสมอยู่ที่รูขุมขนซึ่งอุดตันอยู่นั้นน้อย อาการระคายเคืองในบริเวณที่เป็นผดร้อนก็จะน้อยลงด้วย ฉะนั้นยิ่งเราสามารถหลีกเลี่ยงสภาพอากาศร้อนได้มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งดี [2]
    • การเข้าไปอยู่ในบริเวณที่มีการเปิดเครื่องปรับอากาศก็เป็นวิธีหลีกเลี่ยงสภาพอากาศร้อนอีกวิธีหนึ่ง การเปิดเครื่องปรับอากาศไม่เพียงทำให้อากาศเย็นสบายเท่านั้น แต่ยังทำให้ ความชื้นน้อยลงไปมากด้วย [3] จึงช่วยบรรเทาอาการผดร้อนได้มาก เพราะถ้าอากาศมีความชื้นสูง เหงื่อก็จะระเหยยาก จึงยิ่งทำให้เป็นผดร้อนหนักขึ้น
  2. ถ้าเรากำลังเป็นผดร้อนอยู่ เราต้องใส่เสื้อผ้าที่ทำให้ผิวหนังของเราสัมผัสกับอากาศที่สดชื่น เพราะจะทำให้เหงื่อและความชื้นที่ผิวหนังสามารถระเหยออกไปได้และป้องกันไม่ให้มีความชื้นเกิดขึ้นในบริเวณที่เป็นผด หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่น
    • นอกจากเราควรใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดีแล้ว เสื้อผ้าควรทำมาจากผ้าที่ระบายอากาศได้ดีด้วย ผ้าอย่างผ้าฝ้ายและผ้าเจอร์ซีย์ซึ่งระบายอากาศได้ดีนั้นเป็นผ้าที่เหมาะที่สุด แต่ผ้าใยสังเคราะห์ล้วนอย่างไนลอนและโพลีเอสเตอร์นั้นเป็นผ้าที่ระบายอากาศได้ ไม่ดี
    • ถ้าเราอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อน เราไม่ควรใส่เสื้อผ้าที่เปิดเผยเนื้อหนังเลย (อย่างเช่น กางเกงขาสั้น เสื้อกล้าม เป็นต้น) การใส่เสื้อผ้าแบบนี้จะทำให้ผิวเราเสี่ยงเกรียมแดด ยิ่งทำให้ผิวหนังของเราระคายเคือง มากขึ้น และอาจได้รับความเสียหาย ฉะนั้นอย่าลืมทาครีมกันแดดให้เพียงพอ หรือใส่เสื้อผ้าหลวมๆ ที่ปกปิดผิวหนังดีกว่า
    • ผู้ที่ทำงานโดยต้องใช้แรงอย่างเช่น คนตัดหญ้า อาจลองทำให้เสื้อผ้าเปียกก่อนทำงาน ควรใส่เสื้อแขนยาวและทำให้เสื้อเปียกอยู่เรื่อยๆ เพื่อป้องไม่ให้เกิดผดร้อน
  3. การออกกำลังจะทำให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นและทำให้เหงื่อออกซึ่งเป็นอะไรที่เรา ไม่ ต้องการเลยในตอนที่กำลังเป็นผดร้อน ถึงแม้การออกกำลังกายจะเป็นผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว แต่ในระยะสั้นการออกกำลังกายทำให้ผดร้อนหายช้าและอาจทำให้อาการหนักขึ้นด้วยซ้ำ ฉะนั้นหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนักไปก่อนและรอจนกว่าผดร้อนจะหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นการออกกกำลังกายในสภาพแวดล้อมที่ร้อนชื้น การออกกำลังกายแบบนี้ได้แก่
    • การเล่นกีฬา
    • การเดินทางไกล
    • การวิ่ง
    • การยกน้ำหนักหรือการออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนักตัวเองเป็นแรงต้าน
    • อื่นๆ
  4. บางครั้งการทำให้ผิวที่เป็นผดร้อนแห้งสนิทนั้นยากลำบากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น ถึงแม้เราจะหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายแล้วก็ตาม เมื่อเกิดกรณีอย่างนี้ ลองทาแป้งทัลคัม แป้งเด็ก หรือแป้งข้าวโพด (ในกรณีจำเป็น) สักเล็กน้อยในบริเวณที่เกิดผดร้อน แป้งจะดูดซับความชื้น ทำให้ผิวแห้ง [4]
    • อาบน้ำ เช็ดตัวให้แห้ง และทาแป้ง แป้งข้าวโพดจะได้ผลมากกว่า ถ้าเราสามารถอยู่บ้านโดยไม่ใส่เสื้อได้สักพัก
    • อย่าใช้แป้งหอมหรือแป้งร่ำ เพราะอาจทำให้ผิวที่เป็นผดร้อนระคายเคืองได้ อย่าทาแป้งใดๆ กับแผลเปิด เพราะอาจทำให้ติดเชื้อได้
  5. ไม่ว่าเราจะเป็นผดแบบใด เราต้องหมั่นรักษาความสะอาดผิวหนัง สิ่งสกปรกและแบคทีเรียอาจทำให้ผดร้อนนั้นติดเชื้อได้ การอาบน้ำตามปกติ (อย่างน้อยวันละครั้งเมื่อเป็นผดร้อน) สามารถช่วยให้ผิวหนังของเราสะอาด ปราศจากสิ่งสกปรกและแบคทีเรีย เมื่ออาบน้ำเสร็จ อย่าใช้ผ้าขนหนูถูตัวให้แห้ง แต่ปล่อยให้ตัวแห้งเองหรือใช้ผ้าขนหนูตบเบาๆให้แห้ง [5] ผ้าขนหนูอาจทำให้ผิวหนังระคายเคืองมากขึ้นและอาจนำแบคทีเรียซึ่งก่อให้เกิดการติดเชื้อมาสู่ผิวหนังได้
  6. เมื่อเราเป็นผดร้อน เราไม่จำเป็นต้องใส่เสื้อผ้าตัวเดิมตลอดทั้งวัน ถ้าหน้าที่หรือความรับผิดชอบของเราทำให้ตนเองไม่สามารถใส่เสื้อผ้าที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกในตอนที่เราเป็นผดร้อน เมื่อถึงบ้านและเตรียมพักผ่อน ถอดเสื้อผ้านั้นออก นี้อาจไม่ใช่วิธีการที่ทำได้ง่ายนัก แต่การทำให้ผิวหนังของเราได้สัมผัสอากาศบ้างก็ยังดีกว่าไม่ให้ผิวหนังได้สัมผัสอากาศเลย
    • ตัวอย่างเช่น สมมติเราอยู่ในป่าร้อนชื้นและเราเป็นผดร้อนที่เท้า แต่งานที่เราทำต้องใส่รองเท้าบูท พอหมดวันและหลังจากอาบน้ำเสร็จ เราก็เปลี่ยนมาใส่รองเท้าแตะ ให้ผิวหนังบริเวณที่เป็นผดร้อนได้สัมผัสอากาศอันสดชื่นให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ อาการจะได้ทุเลาลง
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

รักษาด้วยการใช้ยาทา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. บางครั้งผดร้อนก็ไม่ยอมหายไปเอง เราจึงต้องทาครีมหรือโลชั่น บางอย่าง เพื่อให้ผดร้อนหายเร็วขึ้น ครีมและโลชั่น ส่วนใหญ่ จะไม่ช่วยให้ผดร้อนหายไป ถึงแม้ฉลากจะระบุว่า "บรรเทา" หรือ "เพิ่มความชุ่มชื้น"ก็ตาม ที่จริงแล้วครีมและโลชั่นจำนวนมากอาจทำให้เป็นผดร้อนหนักขึ้นด้วยซ้ำ โดยเฉพาะครีมและโลชั่นที่มีส่วนผสมของสารดังต่อไปนี้
    • ไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) หลายคนเชื่อว่าไฮโดรคอร์ติโซนจะช่วยให้ผดร้อนหาย แต่ในความเป็นจริงแล้วยาตัวนี้ไม่ช่วยและอาจทำให้เป็นหนักขึ้น
    • ปิโตรเลียมหรือน้ำมันแร่ (mineral oil) ส่วนผสมที่เป็นน้ำมันเหล่านี้อาจทำให้รูขุมขนอุดตันได้ รูขุมขนอุดตันก็เป็นสาเหตุหลักของการเกิดผดร้อนอยู่แล้ว [6]
    • น้ำหอม บ่อยครั้งที่น้ำหอมอาจทำให้ผิวหนังระคายเคือง ทำให้เป็นผดร้อนหนักขึ้น
  2. คาลาไมน์จะช่วยบรรเทาอาการคันและปกป้องผิว ลดอาการระคายเคือง นอกจากนี้คาลาไมน์ยังช่วยลดอาการคันซึ่งเกิดจากการเป็นผดร้อนได้ด้วย [7] คาลาไมน์และโลชั่นที่มีคุณสมบัติคล้ายกันนี้สามารถนำมาใช้เป็น ยาสำหรับแก้ผดร้อน ได้
    • ถึงคาลาไมน์จะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่ยาตัวนี้จะเปียกและเหนียวติดเสื้อผ้า ฉะนั้นเมื่อทาคาลาไมน์เรียบร้อนแล้ว ต้องรอให้ยาแห้ง หลังจากทาคาลาไมน์แล้วเราอาจไปนั่งใต้พัดลมก็ได้ ตอนดึกเมื่อทาคาลาไมน์แล้วค่อยนอนบนที่นอนที่สะอาด อย่าลืมว่าคาลาไมน์อาจทิ้งคราบไว้ได้ ฉะนั้นชุดเครื่องนอนที่ใช้จึงไม่ควรเป็นชุดเครื่องนอนที่ดีที่สุดของเรา
    • คาลาไมน์นั้นเป็นยาที่ใช้ได้อย่างปลอดภัยก็จริง แต่ก็อาจมีผลเสียกับยาบางตัวและคนที่มีโรคประจำตัวบางโรคได้ ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้คาลาไมน์ ถ้าตั้งครรภ์ แพ้ยา หรือกำลังอยู่ในช่วงกินยาตามใบสั่งแพทย์ [8]
    • คาลาไมน์หาซื้อได้ตามร้านขายยา
  3. สารนี้เป็นสารที่ช่วยบรรเทาอาการผดร้อนได้ แอนไฮดรัส ลาโนอินลดความระคายเคืองและช่วยลดการอุดตันของต่อมเหงื่อ จึงช่วยป้องกันการเกิดผดร้อนได้ [9]
    • บางคนที่ผิวแพ้ขนแกะอาจมีอาการระคายเคืองหลังใช้แอนไฮดรัส ลาโนอิน [10] ไม่ควรใช้สารนี้ ถ้าแพ้
    • แอนไฮดรัส ลาโนอินสามารถหาซื้อได้ทางอินเตอร์เน็ต
  4. ยาสเตียรอยด์เป็นยาที่ใช้ลดการอักเสบ การระคายเคือง และอาการบวมในบริเวณที่ทา [11] เมื่อนำยาสเตียรอยด์ชนิดทามาใช้กับบริเวณผิวหนังที่เป็นผดร้อน จะสามารถลดความแดงและ "ความแสบ"ของผดร้อนได้เป็นอย่างดี ช่วยให้อาการผดร้อนหายเร็วขึ้น ใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดทาในปริมาณเล็กน้อย
    • ครีมสเตียรอยด์ที่มีความแรงอ่อนสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยา ครีมสเตียรอยด์ที่มีความแรงอ่อนเป็น คนละตัว กับ ยาอนาบอลิก สเตียรอยด์ ซึ่งเป็นยาอันตรายที่ใช้กระตุ้นการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ
    • ยาสเตียรอยด์ชนิดทาอาจเหนียวและเปียก จึงเหมาะสำหรับที่จะใช้ทาในเวลากลางคืน พอใช้ยาเตียรอยด์ทาแล้ว จากนั้นจึงค่อยใส่เสื้อผ้า
  5. ผดร้อนธรรมดาอาจค่อยๆ แย่ลงจนถึงระดับที่กลายเป็นปัญหาได้ หมั่นตรวจสอบสัญญาณอันตรายและการติดเชื้อ ถ้าสังเกตเห็นว่าตนเองหรือผู้ใกล้ชิดมีอาการแบบด้านล่างนี้ พบแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อเริ่มการโหมรักษา (aggressive treatment ) โดยเฉพาะ ถ้าผู้ที่เป็นผดร้อนคือทารก ผู้สูงอายุ หรือคนที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ต้องพามาพบแพทย์โดยด่วน [12]
    • เจ็บมากขึ้น
    • บวมมากขึ้นและไม่หายระคายเคือง
    • มีไข้
    • ผดร้อนมีหนอง หรือมีอะไรไหลซึมออกมา
    • ต่อมน้ำเหลืองที่คอ ขาหนีบ หรือรักแร้โต
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ผดร้อนส่วนใหญ่จะเกิดที่ขาหนีบหรือรักแร้ ฉะนั้นพยายามให้บริเวณเหล่านี้แห้งด้วยการอยู่ในที่มีอากาศถ่ายเทและทาแป้ง พยายามนั่งอยู่หน้าพัดลมหรือในห้องที่เปิดเครื่องปรับอากาศให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  • อย่าเกาบริเวณที่มีผดร้อน เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ลองใส่ถุงมือเรืองแสงตอนกลางคืนเพื่อป้องกันไม่ตนเองเกาขณะหลับ
  • ยาต้านฮิสตามีนอาจช่วยลดอาการคัดได้บ้าง
  • ทารกมีผิวที่บอบบางและมักจะเกิดผดร้อนได้ง่าย ระวังอย่าห่อตัวเด็กในผ้าห่มแน่นเกินไป (ทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก) และเปลี่ยนผ้าอ้อมให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวได้รับความระคายเคือง
  • ถ้าเราอ้วนเกินไป การลดน้ำหนักสามารถช่วยลดโอกาสที่จะเป็นผดร้อนในระยะยาว ผดร้อนมักจะเกิดที่บริเวณรอยพับบนผิวหนัง ซึ่งจะมีมากขึ้นถ้าเรามีไขมันสะสมอยู่ในร่างกายมาก [13]
  • บางแหล่งข้อมูลแนะนำให้ใช้โลชั่นที่มีข้าวโอ๊ตคอลลอยด์เป็นส่วนผสมมาทาแก้ผดร้อน [14]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,596 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา