ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การตกไข่จะเกิดขึ้นในช่วงระหว่างรอบเดือนของผู้หญิง อันเป็นช่วงที่บรรดาไข่พร้อมผสมถูกปล่อยออกมาจากรังไข่ ถูกท่อนำไข่ดูดเข้าไป และจึงมีโอกาสได้รับการผสมพันธุ์หากมีสเปิร์มตัวใดผ่านเข้ามาจับคู่กับมัน การที่ภาวะตั้งครรภ์จะเกิดขึ้นในช่วงตกไข่เท่านั้น ผู้หญิงหลายคนจึงได้ประโยชน์จากการคำนวณหาเวลา เพื่อวางแผนการมีบุตร แต่วิธีนี้ไม่ควรนำไปใช้ในการคุมกำเนิดตามธรรมชาติ เนื่องจากความไม่แน่นอนของการคาดการณ์ บวกกับโอกาสที่สเปิร์มอาจจะมีชีวิตอยู่ในระบบสืบพันธุ์ได้เกิน 7 วัน ทั้งนี้ หากต้องการให้ผลลัพธ์แม่นยำมากขึ้น คุณควรใช้มากกว่าหนึ่งวิธีในการคำนวณหาระยะตกไข่ และเก็บข้อมูลจากหลายๆ รอบเดือน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

วิธีนับปฏิทิน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. สังเกตและบันทึกรอบเดือน ควบคู่ไปกับวิธีอื่น. นี่ไม่ใช่วิธีที่แม่นยำที่สุด แต่มันง่ายและมีประโยชน์ในการทำควบคู่ไปกับการบันทึกข้อมูลอื่นๆ [1] คุณต้องหาซื้อหรือทำปฏิทินเพื่อใช้ในการบันทึกวัฏจักรรอบประจำเดือนของตัวเอง ขีดวงกลมวันแรกของวัฏจักรรอบเดือน หรือวันที่ประจำเดือนคุณมาวันแรกนั่นเอง จากนั้นคอยสังเกตและติดตามจำนวนวันของแต่ละรอบ ซึ่งปกติจะเฉลี่ยประมาณ 28 วันต่อรอบ
    • จดจำนวนวันของแต่ละรอบเอาไว้ โดยนับวันแรกของการมีประจำเดือนรวมเข้าไปด้วย ส่วนวันสุดท้ายของแต่ละรอบ ก็คือหนึ่งวันก่อนที่จะเริ่มมีประจำเดือนนั่นเอง
    • คอยสังเกตและติดตามเช่นนี้ติดต่อกันเป็นเวลา 8-12 รอบเดือน ยิ่งคุณมีข้อมูลจากหลายรอบเดือน การคำนวณด้วยปฏิทินเช่นนี้ก็ยิ่งได้ผลแม่นยำขึ้น
  2. หลังจากที่คุณคอยสังเกตและติดตามมาเป็นเวลาอย่างน้อย 8 รอบเดือนแล้ว คุณก็เอาข้อมูลมาทำเป็นแผนผังได้ ด้วยการระบุว่าวันที่เท่าไรในแต่ละรอบเดือน เป็นวันแรกที่ประจำเดือนมา ลงในคอลัมน์ช่องแรก และจำนวนวันทั้งหมดของรอบเดือนนั้นในคอลัมน์ที่สอง
    • นอกจากนี้ คุณอาจจะลองใช้โปรแกรมคำนวณระยะตกไข่ได้ทางอินเตอร์เน็ต เช่น WebMD Ovulation Calculator โดยควรทำให้แน่ใจว่า คุณได้ใส่ข้อมูลข้างต้นลงไปทั้งหมดแล้ว ไม่งั้นมันจะไม่ค่อยแม่นยำ
  3. ใช้แผนผังดังกล่าวคาดการณ์ช่วงเจริญพันธ์ในแต่ละรอบเดือน. มันยากที่จะคำนวณหาระยะตกไข่ด้วยการใช้เพียงแค่ปฏิทิน เพียงแต่ว่า การบันทึกจากปฏิทินจะมีประโยชน์ในการคำนวณหาช่วงเจริญพันธุ์ ซึ่งอาจมีความยาวนานต่างกันไปในผู้หญิงแต่ละคน ดังที่อธิบายด้านล่างนี้: [2]
    • คาดการณ์วันแรกของช่วงที่มีภาวะเจริญพันธุ์ ในรอบเดือนปัจจุบัน ด้วยการดูจากรอบเดือนที่สั้นที่สุดตามที่ได้บันทึกมา เอาจำนวนวันของรอบเดือนนั้น มาลบด้วย 18 และนำผลลัพธ์ที่ได้มาคำนวณหาวันแรกที่ช่วงที่มีภาวะเจริญพันธุ์จะเริ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นวันแรกที่มีโอกาสตั้งครรภ์ได้นั่นเอง เช่น หากรอบเดือนที่สั้นที่สุดของคุณ กินเวลา 26 วัน วันแรกของช่วงที่มีภาวะเจริญพันธุ์ก็คือ วันที่ 8 นับจากวันแรกของแต่ละรอบเดือนนั่นเอง (26 - 18= 8) จากนั้น ก็นับจากวันแรกที่มีประจำเดือน เป็นวันที่หนึ่ง นับถัดไปจนกว่าจะครบแปด
    • คาดการณ์วันสุดท้ายของช่วงที่มีภาวะเจริญพันธุ์ ด้วยการดูจากรอบเดือนที่ยาวนานที่สุดของคุณ เอาจำนวนวันในรอบเดือนนั้นมาลบด้วย 11 ผลลัพธ์ที่ได้มาคำนวณหาวันสุดท้ายของช่วงที่มีภาวะเจริญพันธุ์ ซึ่งจะเป็นวันสุดท้ายที่มีโอกาสตั้งครรภ์ได้นั่นเอง เช่น หากรอบเดือนที่สั้นที่สุดของคุณ กินเวลา 31 วัน วันสุดท้ายของช่วงที่มีภาวะเจริญพันธุ์ก็คือ วันที่ 20 นับจากวันแรกของแต่ละรอบเดือนนั่นเอง (31 - 11= 20) จากนั้น คุณก็นับจากวันแรกที่มีประจำเดือน เป็นวันที่หนึ่ง นับถัดไปจนกว่าจะครบยี่สิบ
    • จำไว้ว่า หากประจำเดือนคุณมาสม่ำเสมอมากเท่าไร วิธีนี้ก็ยิ่งแม่นยำมากขึ้นเท่านั้น [3]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

วิธีสังเกตมูกช่องคลอด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มูกช่องคลอดเป็นสารที่ร่างกายผู้หญิงสร้างขึ้นบริเวณปากมดลูกเพื่อป้องกันเชื้อโรค ซึ่งมันจะมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปตลอดรอบเดือน ร่างกายผู้หญิงจะผลิตมูกช่องคลอดออกมาเยอะหน่อย เวลที่อยู่ในระยะตกไข่ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กระบวนการผสมพันธุ์ของไข่ หากคุณรู้รูปแบบของมันได้เมื่อไร ก็จะมีโอกาสในการคาดการณ์ระยะตกไข่ได้เมื่อนั้น
  2. โดยตรวจเช็คทุกวันหลังจากหมดประจำเดือนในรอบนั้น และสังเกตและติดตามความเปลี่ยนแปลงบางอย่างของมูกช่องคลอดในแต่ละช่วงของรอบเดือน จดเอาไว้ในปฏิทิน
    • บันทึกทั้งวันที่คุณมีประจำเดือน วันที่หมดประจำเดือน และวันที่ไม่มีของเหลวออกมาจากช่องคลอด รวมถึงวันที่มีมูกช่องคลอดแบบหนืด เหนียว ลื่น และชุ่มน้ำ
    • นอกจากลักษณะของมูกช่องคลอดที่กล่าวมาแล้ว ให้สังเกตสีของมันด้วย ลองดูว่ามันขุ่นหรือใส
    • พยายามสังเกตและติดตามให้ละเอียดมากเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะในช่วงวันแรกที่คุณยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับวิธีนี้
    • การให้นมบุตร การติดเชื้อ ยาบางชนิด รวมถึงสภาพการณ์บางอย่าง สามารถส่งผลต่อลักษณะของมูกช่องคลอดได้ ดังนั้น พยายามบันทึกปัจจัยเหล่านี้ด้วย
  3. ช่วงวันหรือระยะที่มีการตกไข่ มักจะเป็นวันที่มูกช่องคลอดชุ่มน้ำและลื่นมากที่สุด ส่วนวันอื่นๆ หลังจากนั้น โดยเฉพาะช่วงที่มดลูกแห้งลงอีกครั้ง ถือเป็นช่วงที่มีภาวะเจริญพันธุ์ต่ำสุด
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

สังเกตและติดตามอุณหภูมิหลังพักผ่อน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ช่วงวันก่อนที่จะถึงวันตกไข่ เป็นช่วงที่ผู้หญิงอยู่ในภาวะเจริญพันธุ์มากที่สุด อุณหภูมิร่างกายจะสูงขึ้นเล็กน้อยทันทีที่มีการตกไข่ และอยู่ในอุณหภูมิประมาณนั้นไปจนถึงตอนเริ่มรอบเดือนถัดไป คุณจะพร้อมเจริญพันธุ์มากที่สุดระหว่างวันก่อนที่อุณหภูมิจะเริ่มสูงขึ้นของแต่ละรอบเดือน ด้วยความที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจนแทบสังเกตไม่ได้ ปรอทวัดอุณหภูมิแบบทั่วไปจึงวัดไม่ค่อยได้ คุณหาซื้อปรอทวัดอุณหภูมิหลังพักผ่อน (BTT) ซึ่งเป็นแบบดิจิตอล ได้ตามร้านขายยาชั้นนำทั่วไป
    • บริเวณที่จะวัดอุณหภูมิได้แม่นยำที่สุด คือ ช่องคลอดและทวารหนัก แต่ก็มีปรอท BTT ที่สามารถวัดอุณหภูมิทางปากด้วยเช่นกัน พยายามใช้วิธีการวัดแบบเดิมไปตลอดกระบวนการนี้ และวัดด้วยมุมและความลึกขนาดเดียวกันด้วย [4]
  2. มันสำคัญมากที่ต้องวัดอุณหภูมิในช่วงเวลาเดิมทุกวัน เพราะมันสามารถกระเพื่อมได้ระหว่างวัน ถ้าจะให้ดี วัดทันทีหลังจากตื่นนอน หลังจากนอนหลับมาอย่างน้อยห้าชั่วโมง โดยวัดก่อนที่จะลุกจากเตียง [5] บันทึกอุณหภูมิให้ละเอียดแบบ 1 / 10 องศา ทำเครื่องหมายหรือจุดเอาไว้ ในวันที่คุณมีปัจจัยอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้อุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลง เช่น อาการป่วย อดนอน หรือยาที่ทำให้อุณหภูมิลดลงอย่างแอสไพริน ไทลินอล และโมทริน [6]
    • อุณหภูมิของผู้หญิงโดยเฉลี่ยทั่วไป ก่อนช่วงวันหรือระยะที่มีการตกไข่ อยู่ที่ 96–98 องศาฟาเร็นไฮท์ (35.6–36.7 องศาเซลเซียส) และหลังจากช่วงวันหรือระยะที่มีการตกไข่ จะอยู่ที่ 97–99 องศาฟาเร็นไฮท์ (36.1–37.2 องศาเซลเซียส) หากคุณวัดอุณหภูมิได้แตกต่างจะช่วงองศาที่กล่าวมา ลองเช็คฉลากข้างกล่องปรอทดูก่อนว่า คุณใช้ถูกวิธีหรือไม่
  3. บันทึกอุณหภูมิรายวันของคุณ ในแบบที่คุณสามารถลากเป็นเส้นกราฟได้ คอยสังเกตและติดตามความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
  4. จากรอบหลายเดือนที่ผ่านมา ลองสังเกตช่วงที่อุณหภูมิสูงขึ้น ส่วนใหญ่แล้ว ช่วงดังกล่าวถือว่าช่วงวันหรือระยะที่มีการตกไข่ได้เริ่มขึ้นแล้ว ดังนั้น ช่วงที่คุณพร้อมเจริญพันธุ์มากที่สุด จึงเป็นวันก่อนหน้านั้น หากมีข้อมูลเพียงพอ คุณก็จะรู้ได้ว่า วันไหนในรอบเดือนที่มีโอกาสเป็นช่วงวันหรือระยะที่มีการตกไข่มากที่สุด
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

ใช้อุปกรณ์ช่วยคำนวณช่วงวันหรือระยะที่มีการตกไข่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. 1
    หาซื้ออุปกรณ์ช่วยคำนวณช่วงวันหรือระยะที่มีการตกไข่. ซื้อได้ตามร้านขายยาชั้นนำทั่วไป อุปกรณ์ช่วยคำนวณช่วงวันหรือระยะที่มีการตกไข่จะตรวจจับระดับฮอร์โมน LH จากต่อมไร้ท่อ ผ่านทางปัสสาวะของคุณ ซึ่งจะมีระดับสูงมากกว่าปกติในช่วง 1-2 วันก่อนช่วงวันหรือระยะที่มีการตกไข่ เช่นเดียวกับอุปกรณ์ทดสอบการตั้งครรภ์ตามร้านยาทั่วไป ตัวอุปกรณ์จะมีแผงหน้าปัดตัวเลข พร้อมกับแท่งที่เอาไว้ให้ปัสสาวะไหลผ่านเพื่อนำมาตรวจ
    • นอกจากนี้ ยังมีอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่คุณสามารถใช้ทดสอบน้ำลายแห้งของคุณ ด้วยการส่องกล้องจุลทรรศน์เพื่อหารูปแบบการเรียงตัวที่คล้ายๆ ใบเฟิร์น ซึ่งจะบ่งบอกถึงระดับเอสโตรเจนที่เพิ่มสูงขึ้น ก่อนถึงช่วงวันหรือระยะที่มีการตกไข่ แต่วิธีนี้เชื่อถือได้น้อยกว่าแบบ LH โดยเฉพาะหากคุณมีปัญหาด้านสายตา [7]
  2. จำกัดปริมาณการดื่มน้ำหลายๆ ชั่วโมงก่อนทดสอบ. ปัสสาวะที่เข้มข้นหรือเจือจางเกินไป ล้วนทำให้ผลการทดสอบคลาดเคลื่อนได้ทั้งสิ้น เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีนในวันที่จะทำการทดสอบ รอให้กระเพาะปัสสาวะคุณเต็ม โดยไม่ให้ดื่มน้ำมากหรือน้อยเกินไปในช่วงก่อนหน้านั้น [8]
  3. ปัสสาวะลงบนแท่งทดสอบและรอจนกว่าจะมีแถบสีขึ้นบนหน้าปัด หากแถบสีมีความเข้มใกล้เคียงกับสีอ้างอิง ก็เป็นไปได้สูงว่า คุณอยู่ในช่วงวันหรือระยะที่มีการตกไข่ หากแถบสีที่จางเกินไปอาจเชื่อถือไม่ได้
    • อุปกรณ์ช่วยคำนวณช่วงวันหรือระยะที่มีการตกไข่ อาจจะคำนวณระดับ LH ในปัสสาวะแม่นยำ แต่การเพิ่มขึ้นของ LH จะคงอยู่เพียง 24-48 ชั่วโมงเท่านั้น จึงทำให้มีกรอบเวลาน้อยมากในการวัดระดับ ดังนั้น จึงควรใช้วิธีอื่นร่วมกันหาช่วงวันหรือระยะที่มีการตกไข่ให้หลากหลาย
    • อุปกรณ์การทดสอบบางอย่างอาจแตกต่างกันเล็กน้อย จึงควรอ่านวิธีการให้ถูกต้อง เช่น บางอย่างคุณอาจจะต้องปัสสาวะลงในภาชนะ แล้วจึงจุ่มแท่งทดสอบลงไป หรืออุปกรณ์บางอย่างก็จะเป็นหน้ายิ้มขึ้นมาแทนแถบสี เป็นต้น [9]
  4. ทดสอบทุกวันระหว่างช่วงที่มีโอกาสเป็นไปได้มากที่สุดในรอบเดือนนั้น ดังที่อธิบายไปแล้วในส่วนของการนับปฏิทิน หากคุณทดสอบพลาดไปในรอบเดือนก่อนหน้า และสามารถซื้อหาอุปกรณ์มาใช้ได้โดยไม่ลำบาก ก็ควรจะเพิ่มการทดสอบในรอบเดือนปัจจุบันเป็นวันละสองครั้ง [10]
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

ตรวจหาภาวะเจริญพันธุ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. การใช้วิธีวัดอุณหภูมิหลังพักผ่อน อุปกรณ์ช่วยคำนวณ หรือมูกช่องคลอด คุณอาจจะพบว่าไม่มีความเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวเนื่องกับรอบประจำเดือนและช่วงวันหรือระยะที่มีการตกไข่เกิดขึ้นตามที่คาด แต่การเกิดขึ้นครั้งเดียว มันอาจไม่ได้หมายความว่าคุณมีภาวะตั้งครรภ์ยาก เช่น คุณอาจจะพลาดในการตรวจจับ LH ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ใช้อุปกรณ์ช่วยคำนวณฯ อย่างไรก็ตาม หากคุณไม่พบเจอความเปลี่ยนแปลงอย่างที่ควร เป็นเวลาหลายรอบเดือนติดต่อกัน หรือมีกรอบเวลาช่วงเจริญพันธุ์สั้นกว่าปกติ อาจต้องทำตามขั้นตอนด้านล่าง
  2. หมอสูตินรีเวช หรือผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อระบบสืบพันธุ์ สามารถทำการทดสอบได้แม่นยำมากกว่าการทดสอบเองที่บ้าน [11] ซึ่งอาจมีการตรวจเลือดเพื่อหาระดับฮอรโมนโปรเจสเตอโรนและฮอร์โมนอื่นๆ หรือทดสอบเพื่อตรวจหาความผิดปกติของไทรอยด์ หรือระดับของโปรแลคตินด้วย หากแพทย์สันนิษฐานว่าอาจเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ การทดสอบด้วยอัลตราซาวน์ก็สามารถนำมาใช้ตรวจหาความผิดปกติทางโครงสร้างของระบบสืบพันธุ์ ซึ่งอาจกระทบต่อช่วงวันหรือระยะที่มีการตกไข่ [12]
  3. ผู้ชายก็สามารถตรวจหาภาวะมีบุตรยากได้เช่นกัน ซึ่งมักเริ่มด้วยการทดสอบวัฏจักรของสเปิร์ม เรื่อยไปจนถึงการทดสอบด้วยอัลตราซาวน์ เพื่อหาความบกพร่องในระบบสืบพันธุ์เพศชาย [13]
  4. หากคุณหมอเห็นว่า ภาวะตั้งครรภ์ยากของคุณ เกี่ยวข้องกับการไม่ตกไข่ คุณหมอก้อาจจะจ่ายยาบางตัวให้คุณ ขึ้นอยู่กับสภาพการณ์เฉพาะของคุณ อย่าสันนิษฐานเอาเองว่าการไม่ตั้งครรภ์ของคุณเกิดจากภาวะรังไข่ไม่ผลิตไข่ จนกว่าจะได้รับการตรวจจากแพทย์เสียก่อน เพราะมันมีสาเหตุอันหลากหลายที่เป็นไปได้ หมอของคุณยังอาจทำการตรวจหาโอกาสที่ท่อนำไข่ของคุณจะถูกปิดกั้น หรือปัญหาที่ตัวสเปิร์มเอง ปัญหาในมดลูกและการฝังตัวของไข่ รวมถึงปัญหาคุณภาพของไข่อันเกี่ยวเนื่องกับอายุด้วย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คุณสามารถคาดการณ์ช่วงวันหรือระยะที่มีการตกไข่ได้ด้วยการนับถอยหลัง โดยเริ่มจากวันสิ้นสุดรอบเดือนไป 14 วัน แต่วิธีนี้มีโอกาสคลาดเคลื่อนได้ถึงบวกลบ 3 วัน
  • หากคุณได้สังเกตและติดตามช่วงวันหรือระยะที่มีการตกไข่มาสักพัก แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการพยายามตั้งครรภ์มานานกว่า 6 เดือนขึ้นไปแล้ว ควรไปหาหมอสูตินรีเวชหรือผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อระบบสืบพันธุ์ เพื่อตรวจหาสาเหตุ โดยเฉพาะกรณีที่คุณอายุเกิน 35 ปีแล้ว คุณอาจจะมีปัญหาภาวะเจริญพันธุ์อันสืบเนื่องจากสเปิร์มของฝ่ายชาย หรือปัญหาด้านโครงสร้าง เช่น ท่อนำไข่ตีบตันก็ได้
  • ยิ่งคุณสังเกตและติดตามมานานเท่าไร โอกาสที่ผลลัพธ์จะแม่นยำก็มากขึ้นเท่านั้น หากคุณอายุเกิน 35 และมีกรอบเวลาช่วงเจริญพันธุ์สั้นกว่าปกติ ไม่ว่าด้วยเหตุใด คุณอาจต้องไปปรึกษาแพทย์ขณะที่จะใช้วิธีเหล่านี้
โฆษณา

คำเตือน

  • การสังเกตและติดตามช่วงวันหรือระยะที่มีการตกไข่ไม่ได้ช่วยในเรื่องการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • การสังเกตและติดตามช่วงวันหรือระยะที่มีการตกไข่ ไม่ได้ช่วยในเรื่องการคุมกำเนิด มันเป็นไปไม่ได้ที่จะคาดการณ์ช่วงวันหรือระยะที่มีการตกไข่อย่างแม่นยำร้อยเปอร์เซ็นต์ และบางครั้งสเปิร์มอาจอยู่ได้นานเกิน 7 วันหลังมีเพศสัมพันธ์
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 4,437 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา