ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

Tuberculosis (TB) หรือวัณโรคนั้น เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายมาก เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis ปกติมักเกิดที่ปอดแต่จริงๆ แล้วก็ลามไปได้ทุกที่ [1] ทุกคนควรได้รับการตรวจคัดกรองวัณโรคถ้าต้องคลุกคลีกับคนป่วยหรือสงสัยว่าตัวเองอาจมีความเสี่ยง การตรวจคัดกรองวัณโรค หรือ Mantoux tuberculin skin test นั้น อีกชื่อหนึ่งคือ PPD test เป็นการใช้อุปกรณ์ตรวจหาวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง [2] แต่การตรวจชนิดนี้จะบอกได้แค่ว่าผู้ป่วยเป็นหรือไม่เป็นวัณโรคเท่านั้น แต่ไม่ได้ละเอียดถึงขั้นบอกว่าเป็นวัณโรคระยะแฝง (latent TB infection) หรือเป็นวัณโรคจริงๆ [3] บทความนี้เป็นข้อมูลที่ควรรู้เท่านั้น คุณควรเข้ารับการตรวจคัดกรองวัณโรคกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างถูกต้องตามขั้นตอนและวิธีการเท่านั้น ถึงจะได้ผลชัดเจนแม่นยำที่สุด

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

รู้จักวัณโรค

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แบคทีเรียต้นตอของวัณโรคนั้นแพร่กระจายได้ตามอากาศ จากการที่ผู้ป่วยวัณโรคไอ จาม พูดคุย กระทั่งร้องเพลง [4] ถ้าคนอื่นหายใจเอาเชื้อเข้าไปก็ติดได้แน่นอน
    • วัณโรคไม่ติดต่อจากการแตะต้องสัมผัสกัน เพราะฉะนั้นถ้าจับมือหรือจับต้องผ้าปูที่นอนหรือฝารองนั่งชักโครกที่คนป่วยใช้ก็ไม่เป็นไร
    • วัณโรคไม่ติดต่อจากการกินอาหารหรือดื่มน้ำร่วมกัน จะใช้แปรงสีฟันร่วมกันหรือจูบกันก็ไม่ติด (แต่แนะนำว่าอย่าเลย เพราะอาจติดโรคอื่นแทน)
  2. เป็นไปได้เหมือนกันที่คุณจะติดเชื้อวัณโรคมาแต่ไม่แสดงอาการ แต่โชคไม่ดีที่การตรวจคัดกรองวัณโรคนั้นบอกไม่ได้ว่าคุณเป็นวัณโรคหรือวัณโรคระยะแฝงกันแน่ [5] [6]
    • คนที่เป็น วัณโรคระยะแฝง คือคนที่ติดเชื้อมาแต่ร่างกายสามารถต้านไว้ได้ คนที่เป็นจะไม่แสดงอาการใดๆ และไม่รู้สึกเจ็บป่วยตรงไหน ที่สำคัญคือจะไม่แพร่เชื้อให้คนอื่นติดต่อไปด้วย การตรวจคัดกรองจะบอกได้เฉพาะว่าคุณมีเชื้อวัณโรคเท่านั้น
    • แต่ถ้าร่างกายไม่สามารถต้านต่อไปได้ ก็จะป่วยด้วยวัณโรคในที่สุด พอเชื้อแพร่กระจายก็จะแสดงอาการหลังจากนั้นไม่นาน แต่บางทีก็ไม่เป็นไรนานเป็นปีๆ จนกว่าระบบภูมิคุ้มกันจะอ่อนแอเพราะอะไรก็ตาม
    • วัณโรค จะแสดงอาการเมื่อร่างกายของผู้ป่วยไม่สามารถยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อวัณโรคได้อีกต่อไป ทำให้แสดงอาการเจ็บป่วยออกมา คนที่เป็นวัณโรคนั้นสามารถแพร่เชื้อไปยังคนอื่นๆ ได้ และเมื่อตรวจคัดกรองก็จะพบเชื้อวัณโรค
  3. จะบอกได้ว่าคุณเป็นวัณโรคหรือเปล่า ก็ต้องทำความรู้จักอาการของวัณโรคกันก่อน [7] ได้แก่
    • ไอหนัก เรื้อรังนาน 3 อาทิตย์ขึ้นไป
    • เจ็บแน่นหน้าอก
    • ไอเป็นเลือดหรือเสมหะเป็นเลือด
    • อ่อนแรง เหนื่อยง่าย
    • น้ำหนักลด
    • ไม่อยากอาหาร
    • จับไข้ หนาวสั่น
    • เหงื่อออกกลางคืน
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เตรียมตรวจคัดกรอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ก่อนจะทำการตรวจคัดกรองวัณโรค คุณต้องเตรียมทุกอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม ได้แก่ [8]
    • ขวดสาร tuberculin (ต้องเก็บไว้ในตู้เย็นเสมอ)
    • ถุงมือยาง
    • เข็มฉีด tuberculin ขนาดเล็กแบบใช้แล้วทิ้ง ประมาณ 1.2 ซีซี หรือน้อยกว่านั้น ส่วนเข็มก็ 25 กรัมหรือเล็กกว่า
    • แผ่น alcohol swab
    • สำลีก้อน
    • ไม้บรรทัดแบบมีมิลลิเมตร
    • ถังสำหรับทิ้งเข็มฉีดยาใช้แล้วโดยเฉพาะ
    • เอกสารของผู้ป่วย
  2. เช็ควันหมดอายุของ tuberculin วันที่เปิดใช้ และเช็คว่าเป็นปริมาณสำหรับฉีดครั้งเดียวหรือหลายครั้ง. ก่อนจะเริ่มตรวจคัดกรองต้องตรวจสอบให้เหมาะสมและปลอดภัยซะก่อน [9]
    • ปกติจะมีวันหมดอายุเขียนอยู่ในฉลาก ว่าใช้ได้ถึงเมื่อไหร่ (ถึงจะยังไม่เปิดขวดก็เถอะ) ถ้าหมดอายุไปแล้วห้ามใช้เด็ดขาด
    • เช็ควันที่เปิดใช้ ที่ฉลากจะมีบอกไว้ด้วยว่าถ้าเปิดขวดแล้วสามารถใช้ได้นานแค่ไหน ถ้าเลยวันที่ควรใช้ไปแล้วก็ห้ามใช้เด็ดขาด หรือจะสอบถามอนามัยหรือสาธารณสุขแถวบ้านก็ได้ ว่าขวดแบบใช้ได้หลายครั้งพอเปิดแล้วจะใช้ได้หลังจากนั้นอีกกี่วัน
    • คู่มือที่มาด้วยกันจะเขียนไว้ชัดเจนว่าเป็นขวดแบบใช้ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง ถ้าเป็นปริมาณสำหรับใช้หลายครั้งแสดงว่ามีวัตถุกันเสียด้วย เพราะเอาไว้ใช้ตรวจคัดกรองผู้ป่วยได้หลายคน
  3. ต้องมีที่ไว้ให้คนรับการตรวจคัดกรองใช้วางแขนราบไป และต้องเป็นสถานที่ที่สว่างและสะอาด [10]
  4. ล้างมือด้วยน้ำอุ่นกับสบู่ ถูไปมาให้ได้ 20 วินาที [11]
    • ใช้กระดาษเช็ดมือให้สะอาด จากนั้นก็สวมถุงมือยาง
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ได้เวลาตรวจคัดกรองวัณโรค

ดาวน์โหลดบทความ
  1. อธิบายข้อมูลต่างๆ ให้คนที่จะตรวจคัดกรองรับทราบ. บอกว่าคืออะไร ตรวจยังไง และต้องใช้เวลานานแค่ไหน อย่าลืมบอกด้วยว่าแต่ละขั้นตอนเป็นยังไง พออธิบายจบครบถ้วนแล้ว ก็เปิดโอกาสให้คนไข้ได้ซักถามตามต้องการ [12]
    • บอกคนไข้ว่าคุณจะฉีดสารในปริมาณน้อยมากเข้าไปในแขนของเขา ถ้าเขามีเชื้อวัณโรค ตรงบริเวณที่ฉีดก็จะแสดงอาการ เช่น บวมหรือนูนแข็งขึ้นมา [13]
    • บอกคนไข้ว่าต้องกลับมาติดตามผลหลังผ่านไป 48 - 72 ชั่วโมง หรือก็คือตรวจดูสภาพบริเวณที่ฉีดสารเข้าไป
    • ถ้าคนไข้ไม่สะดวกกลับมาใน 48 - 72 ชั่วโมง ก็เลื่อนการตรวจคัดกรองไปก่อน ค่อยนัดใหม่อีกครั้งตอนที่สะดวก
  2. ปกติมักฉีดกันที่แขนซ้าย แต่จะฉีดแขนขวาก็ได้ถ้าจำเป็น [14]
    • แขนคนไข้ต้องวางราบบนโต๊ะหรืออะไรที่มั่นคง พร้อมมีแสงส่อง
    • งอข้อศอกเล็กน้อยและหงายฝ่ามือขึ้น
    • หาจุดที่ใต้ศอกลงมา ตรงที่ไม่มีสิ่งกีดขวางการอ่านผลอย่างเส้นขน รอยแผลเป็น เส้นเลือด หรือรอยสัก
  3. ถูให้แรงๆ เลย
    • รอจนแอลกอฮอล์แห้ง
  4. ติดเข็มกับกระบอกฉีดแล้วดูดเอาสารละลาย tuberculin ขึ้นมา. เวลาจะติดเข็มกับกระบอกฉีดยา ให้หมุนเกลียวเข้ากับปลายกระบอกฉีดให้แน่น
    • วางขวดบนพื้นราบ จากนั้นเจาะเข็มเข้าไปในจุกยางบนฝาขวด
    • ดูดสารละลายขึ้นมาโดยดึงลูกสูบออกจากกระบอกให้ตัวสารเข้ามา 1 ส่วน 10 (0.1) มิลลิเมตรขึ้นไป
    • ดึงเข็มออกจากขวด เช็คให้ดีว่าไม่มีฟองอากาศในกระบอกฉีด ถ้ามีให้ไล่อากาศโดยหันปลายเข็มชี้ขึ้นข้างบน แล้วกดลูกสูบเข้าไปเล็กน้อย
  5. ทำความสะอาดด้วยแผ่น alcohol swab โดยเช็ดจากจุดที่จะฉีดวนออกด้านนอก [15]
    • รอจนแห้ง
    • ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้ดึงผิวหนังส่วนนั้นให้ตึง ถือเข็มชีดยาให้ขอบวง (ระหว่างกระบอกกับลูกสูบ) ขนานไปกับท่อนแขน ส่วนปลายเข็มนั้นชี้ขึ้นข้างบน ยืดผิวให้ตึงไว้แล้วจรดเข็มลงไปช้าๆ โดยทำมุม 5 - 15 องศา
  6. พอเข็มแทงเข้าไปในเนื้อแล้วให้ดันเข้าไปอีกประมาณ 3 มิลลิเมตร ปลายเข็มควรจะอยู่ใต้ชั้นผิวหนัง (ใต้ชั้นหนังกำพร้า แต่อยู่แค่ในชั้นหนังแท้)
    • ปล่อยนิ้วที่ดึงผิวให้ตึง จากนั้นถือเข็มฉีดยาไว้ให้มั่น กดลูกสูบฉีดสารเข้าไปใต้ชั้นผิวหนัง คือเลยหนังกำพร้าเข้าไปนิดหนึ่ง
    • ผิวหนังตรงปลายเข็มควรจะนูนซีดขาวขึ้นมาประมาณ 6 - 10 มิลลิเมตรทันทีหลังฉีด
  7. ตอนดึงระวังอย่าไปกดหรือนวดแขนของคนไข้ [16]
  8. สังเกตผิวหนังที่นูนขึ้นมาตรงจุดที่ฉีดสาร เส้นผ่านศูนย์กลางควรจะมีขนาดอย่างน้อย 6 มิลลิเมตร [19]
  9. ย้ำว่าต้องกลับมาติดตามผลในอีก 48 - 72 ชั่วโมง
    • นัดฟังผลให้ชัดเจน
    • ควรให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นคนอ่านผลการตรวจคัดกรอง ไม่ใช่ตัวผู้ป่วยเอง
  10. คนไข้จะได้เตรียมตัว ว่าอาจมีอาการบวม คัน หรือระคายเคืองตรงจุดที่ฉีดสาร และจะหายไปในไม่เกิน 1 อาทิตย์ [22] ที่สำคัญคือต้องย้ำให้คนไข้กลับมาตรวจหากอาการหนักกว่าเดิม
    • ห้ามคนไข้คุ้ยแคะแกะเกาตรงจุดทดสอบ ห้ามแปะพลาสเตอร์ หรือทาครีมแก้คันเด็ดขาด
    • รวมถึงห้ามคนไข้ขัดถูตรงจุดทดสอบด้วย แต่อาบน้ำได้ไม่เป็นไร
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • รู้ไว้ใช่ว่า คุณซ้อมฉีดสารตรวจคัดกรองวัณโรคได้โดยใช้ไส้กรอกดิบแทนผิวหนังคน แล้วฉีดน้ำเข้าไปด้วยกระบอกฉีดยา [23]
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,910 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา